อ่านชัด-อ่านครบ กด ดูเวอร์ชั่นสำหรับเว็บ (ด้านล่าง)
เรื่องใหม่น่าสนใจ (ทั้งหมด ที่ )
(เนื้อหา-ข้อสอบ 1,000 ชุุด หมื่นข้อ ภาค กข
+ 40 วิชาเอก) ที่ ห้องสอบด้านขวา หรือ
เว็บฟรีข้อสอบ 1,000 ชุด ที่ ติวสอบดอทคอม
คลิ๊ก www.tuewsob.com โดย อ.นิกร
( คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้
( คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้
เตรียมความรู้ผู้บริหารสถาน (รอง/ผอ.รร.)
เตรียมสอบติวสอบครูผู้ช่วยกรณีพิเศษ + ทั่วไป
ข่าวที่ 44/2562มติ ครม. 29 มกราคม 2562
มติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 29 มกราคม 2562 ที่เกี่ยวข้องกับกระทรวงศึกษาธิการ คือ เห็นชอบการดำเนินงานโครงการศูนย์การเรียนสำหรับเด็กในโรงพยาบาล ช่วงที่ 3 ระยะ 5 ปี (ปีงบประมาณ พ.ศ.2562-2566), เห็นชอบให้เบิกจ่ายงบกลางรายการค่าหนังสือเรียน, การต่อสัญญาใช้ประโยชน์จากพื้นที่ในป่าสงวนแห่งชาติ เพื่อเป็นที่ตั้งโรงเรียน และ แต่งตั้งประธานกรรมการในคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
เห็นชอบการดำเนินงานโครงการศูนย์การเรียนสำหรับเด็กในโรงพยาบาล ช่วงที่ 3 ระยะ 5 ปี
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบและอนุมัติ ตามที่กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เสนอ ดังนี้
1. เห็นชอบโครงการต่อเนื่องจากเดิม “โครงการศูนย์การเรียนสำหรับเด็กเจ็บป่วยเรื้อรังในโรงพยาบาล” โดยเปลี่ยนชื่อเป็น “โครงการศูนย์การเรียนสำหรับเด็กในโรงพยาบาล” ดำเนินการในช่วงที่ 3 ระยะ 5 ปี (ปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 – 2566)
2. อนุมัติกรอบแผนการขยายศูนย์การเรียนสำหรับเด็กในโรงพยาบาล และกรอบอัตรากำลังการจ้างครูอัตราจ้าง 99 ศูนย์ ใน 77 จังหวัด 297 คน
สำหรับกรอบวงเงินงบประมาณ จำนวน 297,148,480 บาท ในปีงบประมาณ พ.ศ.2562 ได้ตั้งงบประมาณรองรับไว้แล้ว จำนวน 28,031,500 บาท ซึ่งหากไม่เพียงพอให้ ศธ.ปรับแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณ เพื่อดำเนินการภายใต้มาตรการด้านงบประมาณเพื่อขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติและแผนแม่บท ตามนัยมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 13 ธันวาคม 2561 ในโอกาสแรกด้วย สำหรับภาระค่าใช้จ่ายในปีต่อ ๆ ไป ให้ ศธ. จัดทำแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณ เพื่อเสนอขอตั้งงบประมาณรายจ่ายประจำปี ตามนัยพระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ พ.ศ. 2561 ตามความเห็นของสำนักงบประมาณ
สาระสำคัญ
โครงการศูนย์การเรียนสำหรับเด็กเจ็บป่วยเรื้อรังในโรงพยาบาล ช่วงที่ 2 (ปีงบประมาณ พ.ศ. 2557-2561) ตามนัยมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 24 กันยายน 2561 ได้ดำเนินการเสร็จสิ้นแล้ว โดยมีการจัดตั้งศูนย์การเรียนฯ จำนวน 53 ศูนย์การเรียน ใน 45 จังหวัด เข้าร่วมเป็นศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อเด็กป่วยในโรงพยาบาลตามพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี รวม 48 ศูนย์การเรียน และมีเด็กเจ็บป่วยเรื้อรังได้รับโอกาสทางการศึกษาเฉลี่ยปีละ 37,558 คน เดือนละ 3,130 คน ในจำนวนนี้สามารถเข้ารับการศึกษาในระบบ/เรียนในสถาบันศึกษาเดิมได้ร้อยละ 77.6
ดังนั้น เพื่อให้สามารถดำเนินโครงการอย่างต่อเนื่อง ศธ. จึงเสนอคณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบการดำเนินงานโครงการต่อเนื่องในช่วงที่ 3 ระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2562-2566) โดยมีเป้าหมายให้เด็กที่มีความบกพร่องทางสุขภาพในวัยเรียนที่จำเป็นต้องได้รับการรักษาอย่างต่อเนื่องในโรงพยาบาลและเป็นอุปสรรคต่อการศึกษาทั่วประเทศ ได้รับบริการจากศูนย์การเรียนฯ จำนวนไม่ต่ำกว่า 50,000 คนต่อปี โดยจะจัดตั้งศูนย์การเรียนฯ ทั่วประเทศให้ครบทุกจังหวัด จำนวน 99 ศูนย์การเรียน และมีครูผู้สอน (อัตราจ้าง) รวมทั้งสิ้น 297 คน รวมทั้งจัดหาวัสดุ สื่อ อุปกรณ์ ครุภัณฑ์ในการดำเนินงานที่เพียงพอและมีประสิทธิภาพ
นอกจากนี้ เห็นควรให้มีการเปลี่ยนชื่อเดิม “โครงการศูนย์การเรียนสำหรับเด็กเจ็บป่วยเรื้อรังในโรงพยาบาล” เป็น “โครงการศูนย์การเรียนสำหรับเด็กในโรงพยาบาล”
จากการดำเนินโครงการศูนย์การเรียนสำหรับเด็กในโรงพยาบาลดังกล่าว จะทำให้เด็กเจ็บป่วยเรื้อรังในโรงพยาบาลได้รับบริการทางการศึกษาขั้นพื้นฐานอย่างทั่วถึงในรูปแบบที่เหมาะสม ไม่เกิดความท้อแท้ และไม่ต้องออกจากโรงเรียนกลางคัน มีสุขภาพกายและสุขภาพจิตที่ดี อยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ รวมทั้งเป็นการประหยัดงบประมาณของรัฐอีกทางหนึ่ง (เด็กเจ็บป่วยเรื้อรังในโรงพยาบาลไม่ต้องเรียนซ้ำชั้น)
เห็นชอบให้เบิกจ่ายงบกลางรายการค่าหนังสือเรียน ปีการศึกษา 2561
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบ ตามที่กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เสนอ ให้ ศธ.เบิกจ่ายงบกลาง เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายรายการค่าหนังสือเรียน ปีการศึกษา 2561 ของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน (สช.) และสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) จำนวน 959 ล้านบาท แยกเป็น สช. 455 ล้านบาท และ สพฐ. 504 ล้านบาท ที่เดิมได้รับจัดสรรเพียงร้อยละ 50 ซึ่งไม่เพียงพอสำหรับการจัดซื้อหนังสือเรียนได้ครบทุกคน
จากนี้ ศธ. จะเร่งดำเนินการจัดทำแผนการใช้จ่ายงบประมาณ ร่วมกับสำนักงบประมาณ และเร่งรัดให้ สช. และ สพฐ. เบิกจ่ายงบกลางรายการค่าหนังสือเรียนไปยังสถานศึกษาในสังกัด ให้แล้วเสร็จภายในเดือนกุมภาพันธ์ 2562 โดยจะมีกลไกติดตาม กำกับการใช้จ่ายงบประมาณให้เกิดความคุ้มค่า ครบถ้วน ทั่วถึง และโปร่งใสต่อไป
การใช้ประโยชน์จากพื้นที่ในป่าสงวนฯ เพื่อเป็นที่ตั้งโรงเรียน
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติ ตามที่กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เสนอให้ ศธ.ได้รับการยกเว้นในการปฏิบัติตามมติ ครม. เมื่อวันที่ 22 สิงหาคม 2543 และ 17 ตุลาคม 2543 เพื่อเข้าใช้ประโยชน์ในพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ ป่าชายเลนหนองจิก จำนวนเนื้อที่ 9 ไร่ 2 งาน 40 ตารางวา โดยเห็นชอบให้ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ดำเนินการขออนุญาตเข้าใช้ประโยชน์ในเขต ป่าสงวนแห่งชาติ ป่าชายเลนหนองจิก ท้องที่ตำบลตุยง อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี เพิ่มเติมอีก 30 ปี เพื่อเป็นสถานที่ตั้งโรงเรียนบ้านปากบางตาวา จังหวัดปัตตานี ซึ่งเปิดทำการสอนที่ตั้งแห่งนี้มาตั้งแต่วันที่ 21 กันยายน 2507 และจะหมดสัญญาเดิมที่กรมป่าไม้ได้อนุญาตให้เข้าไปทำประโยชน์ในเขตป่าสงวนแห่งชาติมีระยะเวลา 30 ปี ตั้งแต่วันที่ 28 ธันวาคม 2530 - 27 ธันวาคม 2560 ครบกำหนดแล้ว
ทั้งนี้ ให้ ศธ. จัดสรรงบประมาณให้กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง เพื่อปลูกและบำรุงป่าชายเลนทดแทนไม่น้อยกว่า 20 เท่าของพื้นที่ป่าชายเลนที่ใช้ประโยชน์ คิดเป็นเนื้อที่ไม่น้อยกว่า 190 ไร่ 2 งาน 40 ตารางวารวมค่าใช้จ่ายทั้งสิ้น 2,323,414 บาท และให้ ศธ.ดำเนินการโดยปรับแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณประจำปีตามความเห็นของสำนักงบประมาณต่อไป
แต่งตั้งประธานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.)
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติ ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการเสนอแต่งตั้ง รองศาสตราจารย์เอกชัย กี่สุขพันธ์ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิด้านการบริหารการศึกษา เป็นประธานกรรมการในคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน แทนตำแหน่งที่ว่าง ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 29 มกราคม 2562 เป็นต้นไป
ที่มา : เว็บ สำนักงานรัฐมนตรีกระทรวงศึกษาธิการ
เตรียมความรู้ผู้บริหารสถาน (รอง/ผอ.รร.)
เตรียมสอบติวสอบครูผู้ช่วยกรณีพิเศษ + ทั่วไป
ข่าวที่ 44/2562มติ ครม. 29 มกราคม 2562
เห็นชอบการดำเนินงานโครงการศูนย์การเรียนสำหรับเด็กในโรงพยาบาล ช่วงที่ 3 ระยะ 5 ปี
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบและอนุมัติ ตามที่กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เสนอ ดังนี้
1. เห็นชอบโครงการต่อเนื่องจากเดิม “โครงการศูนย์การเรียนสำหรับเด็กเจ็บป่วยเรื้อรังในโรงพยาบาล” โดยเปลี่ยนชื่อเป็น “โครงการศูนย์การเรียนสำหรับเด็กในโรงพยาบาล” ดำเนินการในช่วงที่ 3 ระยะ 5 ปี (ปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 – 2566)
2. อนุมัติกรอบแผนการขยายศูนย์การเรียนสำหรับเด็กในโรงพยาบาล และกรอบอัตรากำลังการจ้างครูอัตราจ้าง 99 ศูนย์ ใน 77 จังหวัด 297 คน
สำหรับกรอบวงเงินงบประมาณ จำนวน 297,148,480 บาท ในปีงบประมาณ พ.ศ.2562 ได้ตั้งงบประมาณรองรับไว้แล้ว จำนวน 28,031,500 บาท ซึ่งหากไม่เพียงพอให้ ศธ.ปรับแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณ เพื่อดำเนินการภายใต้มาตรการด้านงบประมาณเพื่อขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติและแผนแม่บท ตามนัยมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 13 ธันวาคม 2561 ในโอกาสแรกด้วย สำหรับภาระค่าใช้จ่ายในปีต่อ ๆ ไป ให้ ศธ. จัดทำแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณ เพื่อเสนอขอตั้งงบประมาณรายจ่ายประจำปี ตามนัยพระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ พ.ศ. 2561 ตามความเห็นของสำนักงบประมาณ
สาระสำคัญ
โครงการศูนย์การเรียนสำหรับเด็กเจ็บป่วยเรื้อรังในโรงพยาบาล ช่วงที่ 2 (ปีงบประมาณ พ.ศ. 2557-2561) ตามนัยมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 24 กันยายน 2561 ได้ดำเนินการเสร็จสิ้นแล้ว โดยมีการจัดตั้งศูนย์การเรียนฯ จำนวน 53 ศูนย์การเรียน ใน 45 จังหวัด เข้าร่วมเป็นศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อเด็กป่วยในโรงพยาบาลตามพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี รวม 48 ศูนย์การเรียน และมีเด็กเจ็บป่วยเรื้อรังได้รับโอกาสทางการศึกษาเฉลี่ยปีละ 37,558 คน เดือนละ 3,130 คน ในจำนวนนี้สามารถเข้ารับการศึกษาในระบบ/เรียนในสถาบันศึกษาเดิมได้ร้อยละ 77.6
ดังนั้น เพื่อให้สามารถดำเนินโครงการอย่างต่อเนื่อง ศธ. จึงเสนอคณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบการดำเนินงานโครงการต่อเนื่องในช่วงที่ 3 ระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2562-2566) โดยมีเป้าหมายให้เด็กที่มีความบกพร่องทางสุขภาพในวัยเรียนที่จำเป็นต้องได้รับการรักษาอย่างต่อเนื่องในโรงพยาบาลและเป็นอุปสรรคต่อการศึกษาทั่วประเทศ ได้รับบริการจากศูนย์การเรียนฯ จำนวนไม่ต่ำกว่า 50,000 คนต่อปี โดยจะจัดตั้งศูนย์การเรียนฯ ทั่วประเทศให้ครบทุกจังหวัด จำนวน 99 ศูนย์การเรียน และมีครูผู้สอน (อัตราจ้าง) รวมทั้งสิ้น 297 คน รวมทั้งจัดหาวัสดุ สื่อ อุปกรณ์ ครุภัณฑ์ในการดำเนินงานที่เพียงพอและมีประสิทธิภาพ
นอกจากนี้ เห็นควรให้มีการเปลี่ยนชื่อเดิม “โครงการศูนย์การเรียนสำหรับเด็กเจ็บป่วยเรื้อรังในโรงพยาบาล” เป็น “โครงการศูนย์การเรียนสำหรับเด็กในโรงพยาบาล”
จากการดำเนินโครงการศูนย์การเรียนสำหรับเด็กในโรงพยาบาลดังกล่าว จะทำให้เด็กเจ็บป่วยเรื้อรังในโรงพยาบาลได้รับบริการทางการศึกษาขั้นพื้นฐานอย่างทั่วถึงในรูปแบบที่เหมาะสม ไม่เกิดความท้อแท้ และไม่ต้องออกจากโรงเรียนกลางคัน มีสุขภาพกายและสุขภาพจิตที่ดี อยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ รวมทั้งเป็นการประหยัดงบประมาณของรัฐอีกทางหนึ่ง (เด็กเจ็บป่วยเรื้อรังในโรงพยาบาลไม่ต้องเรียนซ้ำชั้น)
เห็นชอบให้เบิกจ่ายงบกลางรายการค่าหนังสือเรียน ปีการศึกษา 2561
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบ ตามที่กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เสนอ ให้ ศธ.เบิกจ่ายงบกลาง เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายรายการค่าหนังสือเรียน ปีการศึกษา 2561 ของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน (สช.) และสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) จำนวน 959 ล้านบาท แยกเป็น สช. 455 ล้านบาท และ สพฐ. 504 ล้านบาท ที่เดิมได้รับจัดสรรเพียงร้อยละ 50 ซึ่งไม่เพียงพอสำหรับการจัดซื้อหนังสือเรียนได้ครบทุกคน
จากนี้ ศธ. จะเร่งดำเนินการจัดทำแผนการใช้จ่ายงบประมาณ ร่วมกับสำนักงบประมาณ และเร่งรัดให้ สช. และ สพฐ. เบิกจ่ายงบกลางรายการค่าหนังสือเรียนไปยังสถานศึกษาในสังกัด ให้แล้วเสร็จภายในเดือนกุมภาพันธ์ 2562 โดยจะมีกลไกติดตาม กำกับการใช้จ่ายงบประมาณให้เกิดความคุ้มค่า ครบถ้วน ทั่วถึง และโปร่งใสต่อไป
การใช้ประโยชน์จากพื้นที่ในป่าสงวนฯ เพื่อเป็นที่ตั้งโรงเรียน
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติ ตามที่กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เสนอให้ ศธ.ได้รับการยกเว้นในการปฏิบัติตามมติ ครม. เมื่อวันที่ 22 สิงหาคม 2543 และ 17 ตุลาคม 2543 เพื่อเข้าใช้ประโยชน์ในพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ ป่าชายเลนหนองจิก จำนวนเนื้อที่ 9 ไร่ 2 งาน 40 ตารางวา โดยเห็นชอบให้ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ดำเนินการขออนุญาตเข้าใช้ประโยชน์ในเขต ป่าสงวนแห่งชาติ ป่าชายเลนหนองจิก ท้องที่ตำบลตุยง อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี เพิ่มเติมอีก 30 ปี เพื่อเป็นสถานที่ตั้งโรงเรียนบ้านปากบางตาวา จังหวัดปัตตานี ซึ่งเปิดทำการสอนที่ตั้งแห่งนี้มาตั้งแต่วันที่ 21 กันยายน 2507 และจะหมดสัญญาเดิมที่กรมป่าไม้ได้อนุญาตให้เข้าไปทำประโยชน์ในเขตป่าสงวนแห่งชาติมีระยะเวลา 30 ปี ตั้งแต่วันที่ 28 ธันวาคม 2530 - 27 ธันวาคม 2560 ครบกำหนดแล้ว
ทั้งนี้ ให้ ศธ. จัดสรรงบประมาณให้กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง เพื่อปลูกและบำรุงป่าชายเลนทดแทนไม่น้อยกว่า 20 เท่าของพื้นที่ป่าชายเลนที่ใช้ประโยชน์ คิดเป็นเนื้อที่ไม่น้อยกว่า 190 ไร่ 2 งาน 40 ตารางวารวมค่าใช้จ่ายทั้งสิ้น 2,323,414 บาท และให้ ศธ.ดำเนินการโดยปรับแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณประจำปีตามความเห็นของสำนักงบประมาณต่อไป
แต่งตั้งประธานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.)
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติ ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการเสนอแต่งตั้ง รองศาสตราจารย์เอกชัย กี่สุขพันธ์ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิด้านการบริหารการศึกษา เป็นประธานกรรมการในคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน แทนตำแหน่งที่ว่าง ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 29 มกราคม 2562 เป็นต้นไป
ที่มา : เว็บ สำนักงานรัฐมนตรีกระทรวงศึกษาธิการ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น