อ่านชัด-อ่านครบ กด ดูเวอร์ชั่นสำหรับเว็บ (ด้านล่าง)
เรื่องใหม่น่าสนใจ (ทั้งหมด ที่ )
(เนื้อหา-ข้อสอบ 1,000 ชุุด หมื่นข้อ ภาค กข
+ 40 วิชาเอก) ที่ ห้องสอบด้านขวา หรือ
เว็บฟรีข้อสอบ 1,000 ชุด ที่ ติวสอบดอทคอม
คลิ๊ก www.tuewsob.com โดย อ.นิกร
( คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้
( คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้
เตรียมความรู้ผู้บริหารสถาน (รอง/ผอ.รร.)
เตรียมสอบติวสอบครูผู้ช่วยกรณีพิเศษ + ทั่วไป
เตรียมความรู้ผู้บริหารสถาน (รอง/ผอ.รร.)
เตรียมสอบติวสอบครูผู้ช่วยกรณีพิเศษ + ทั่วไป
ข่าวที่ 18/2562รมช.ศธ. ลงพื้นที่ติดตามผลการดำเนินงานขับเคลื่อนพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดสตูล
พล.อ.สุรเชษฐ์ ชัยวงศ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ พร้อมด้วย พล.อ.สุทัศน์ กาญจนานนท์กุล ที่ปรึกษารัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ลงพื้นที่ติดตามผลการดำเนินงานขับเคลื่อนพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดสตูล ในการประชุมขับเคลื่อนพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดสตูล เมื่อวันศุกร์ที่ 11 มกราคม 2562 ณ โรงเรียนอนุบาลสตูล อ.เมืองสตูล
พล.อ.สุรเชษฐ์ ชัยวงศ์ กล่าวว่า กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ได้เตรียมความพร้อมในการขับเคลื่อนการพัฒนาในพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา โดยในช่วงระหว่างรอร่างพระราชบัญญัติพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาเสร็จสมบูรณ์และประกาศใช้ ซึ่ง ขณะนี้อยู่ในการพิจารณาของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ คาดว่าจะแล้วเสร็จในเดือนมกราคม 2562 มีสาระสำคัญ อาทิ นิยามของคำที่เกี่ยวข้องกับพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา, วัตถุประสงค์, การดำเนินการของจังหวัดอื่น ๆ ที่ประสงค์จะเป็นพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา, ขอบข่ายความรับผิดชอบของศึกษาธิการจังหวัด, เงื่อนไขการเข้าร่วมเป็นสถานศึกษานำร่อง, การประเมินผลการดำเนินงานทุก 3 ปี เป็นต้น
ศธ.ก็ได้ประกาศพื้นที่นวัตกรรมการศึกษานำร่องใน 6 ภาค ซึ่งจังหวัดสตูล อยู่ในพื้นที่ภาคใต้ 11 จังหวัด เป็น 1 ใน 6 พื้นที่นวัตกรรมการศึกษานำร่องที่จัดตั้งขึ้น โดยมีจุดมุ่งหมายในการยกระดับคุณภาพการศึกษาให้เกิดผลสัมฤทธิ์ เปรียบเสมือน "การระเบิดจากข้างใน" โดยนำนวัตกรรม แนวความคิด ตลอดจนองค์ความรู้ และภูมิปัญญาในท้องถิ่น เข้ามาช่วยพัฒนาคุณภาพเด็กและเยาวชน
ทั้งนี้ ศธ. ดำเนินการขับเคลื่อนพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาอย่างเต็มขีดความสามารถ พร้อมทบทวนกฎ ระเบียบต่าง ๆ ที่จะปรับปรุงเพิ่มเติม ให้เกิดความคล่องตัวในการบริหารงานและงบประมาณมากขึ้น และยังได้แต่งตั้งคณะกรรมการขับเคลื่อนฯ และคณะทำงานในแต่ละจังหวัด นำโดยศึกษาธิการจังหวัด พร้อมดึงหน่วยงานทางการศึกษา ภาครัฐ ภาคเอกชน ภาควิชาการ ภาคท้องถิ่น ชุมชน และภาคประชาสังคม เข้ามาร่วมบูรณาการการทำงานในพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาทั้ง 6 แห่ง
จากการรับชมนิทรรศการและผลงานนวัตกรรมการจัดการศึกษาของสตูล รู้สึกประทับใจและต้องขอชื่นชมในความสามารถของเด็กเยาวชน ครู ผู้บริหารโรงเรียน พ่อแม่ ผู้ปกครอง และชุมชน ในโรงเรียนทั้ง 10 แห่งในพื้นที่จังหวัดสตูล ถือว่ามีความก้าวหน้าด้านนวัตกรรมการศึกษาและความร่วมมือกับทุกภาคส่วนเป็นอย่างมาก ส่งผลให้จังหวัดสตูลที่มีทุนเดิมทางการศึกษาที่ดีอยู่แล้ว มีคุณภาพและมีความสำเร็จมากยิ่งขึ้นไปอีก
ทั้งนี้ ขอย้ำว่าในการดำเนินงานให้เป็นไปตามความต้องการของประชาชนในพื้นที่เป็นหลัก ซึ่งเป็นนโยบายของรัฐบาลอยู่แล้ว พร้อมทบทวนให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปี แผนการศึกษาแห่งชาติ และแผนการศึกษาขั้นพื้นฐานอย่างเหมาะสมกับ "ภูมิสังคม" อย่างต่อเนื่อง เมื่อนั้นจึงจะเกิดการพัฒนาที่มีประโยชน์สูงสุดต่อพื้นที่
รมช.ศึกษาธิการ กล่าวด้วยว่า คนไทยนับว่าโชคดีอย่างที่สุด ที่มีพระมหากษัตริย์ที่ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณกับพสกนิกรมาอย่างยาวนาน จึงขอให้ทุกคนน้อมนำ "ศาสตร์พระราชา" ทั้งหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง หลักการทรงงาน พระบรมราโชวาทของในหลวงรัชกาลที่ 9 รวมทั้งพระราชปณิธานของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในหลวงรัชกาลที่ 10 ที่จะสืบสาน รักษา ต่อยอด นำมาเป็นหลักในการทำงาน โดยเฉพาะงานด้านการศึกษา ใช้เป็นกำลังใจในการดำเนินชีวิต ที่จะสร้างความเจริญก้าวหน้า อยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข รู้ รัก สามัคคี และขับเคลื่อนการศึกษาในพื้นที่อย่างยั่งยืน
โดยเฉพาะอย่างยิ่งพระบรมราโชบายในหลวงรัชกาลที่ 9 ซึ่งสอดคล้องกับการยกระดับการศึกษาในพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดสตูล ความว่า "การให้การศึกษาที่ดีนั้น เป็นงานที่ละเอียดลึกซึ้งมาก จำเป็นต้องใช้ความรู้อันกว้างขวาง ใช้ความสุขุมรอบคอบ ประกอบด้วยความตั้งใจ และความเพียรพยายาม และความเพียรพยายามอย่างแรงกล้า จึงจะทำได้สำเร็จ"
ดร.อโณทัย ไทยวรรณศรี ผู้อำนวยการสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา สพฐ. กล่าวรายงานผลการประชุมผู้เกี่ยวข้องในการปฏิรูปการเรียนรู้ในพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดสตูล และการลงพื้นที่ติดตามการดำเนินงานพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา จัดขึ้นระหว่างวันที่ 10-11 มกราคม 2562 ณ ห้องประชุมบัวหลวง โรงเรียนอนุบาลสตูล จังหวัดสตูล ว่ามีวัตถุประสงค์เพื่อสื่อสารสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับการดำเนินงานพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาให้กับสถานศึกษานำร่องและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการปฏิรูปการเรียนรู้ในพื้นที่ และเป็นการแสดงพลังของการมีส่วนร่วมและความพร้อมในการขับเคลื่อนพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดสตูลให้เป็นที่ประจักษ์
ตามแผนการดำเนินงานที่เกิดจากการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนและภาคีเพื่อการศึกษาไทย (TEP) ได้แก่ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย ผู้แทนคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ศูนย์ประสานงานวิจัยเพื่อท้องถิ่นจังหวัดสตูล มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา วิทยาเขตสตูล หน่วยงานทางการศึกษาในจังหวัดสตูล องค์การบริหารส่วนจังหวัดสตูล รวมทั้งมีผู้อำนวยการสถานศึกษา ผู้แทนครู ประธานคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และภาคีเครือข่ายต่าง ๆ ในพื้นที่ รวมจำนวน 149 คน
ที่มา; เว็บ สำนักงานรัฐมนตรีกระทรวงศึกษาธิการ
ข่าวที่ 18/2562รมช.ศธ. ลงพื้นที่ติดตามผลการดำเนินงานขับเคลื่อนพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดสตูล
พล.อ.สุรเชษฐ์ ชัยวงศ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ พร้อมด้วย พล.อ.สุทัศน์ กาญจนานนท์กุล ที่ปรึกษารัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ลงพื้นที่ติดตามผลการดำเนินงานขับเคลื่อนพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดสตูล ในการประชุมขับเคลื่อนพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดสตูล เมื่อวันศุกร์ที่ 11 มกราคม 2562 ณ โรงเรียนอนุบาลสตูล อ.เมืองสตูล
พล.อ.สุรเชษฐ์ ชัยวงศ์ กล่าวว่า กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ได้เตรียมความพร้อมในการขับเคลื่อนการพัฒนาในพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา โดยในช่วงระหว่างรอร่างพระราชบัญญัติพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาเสร็จสมบูรณ์และประกาศใช้ ซึ่ง ขณะนี้อยู่ในการพิจารณาของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ คาดว่าจะแล้วเสร็จในเดือนมกราคม 2562 มีสาระสำคัญ อาทิ นิยามของคำที่เกี่ยวข้องกับพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา, วัตถุประสงค์, การดำเนินการของจังหวัดอื่น ๆ ที่ประสงค์จะเป็นพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา, ขอบข่ายความรับผิดชอบของศึกษาธิการจังหวัด, เงื่อนไขการเข้าร่วมเป็นสถานศึกษานำร่อง, การประเมินผลการดำเนินงานทุก 3 ปี เป็นต้น
ทั้งนี้ ศธ. ดำเนินการขับเคลื่อนพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาอย่างเต็มขีดความสามารถ พร้อมทบทวนกฎ ระเบียบต่าง ๆ ที่จะปรับปรุงเพิ่มเติม ให้เกิดความคล่องตัวในการบริหารงานและงบประมาณมากขึ้น และยังได้แต่งตั้งคณะกรรมการขับเคลื่อนฯ และคณะทำงานในแต่ละจังหวัด นำโดยศึกษาธิการจังหวัด พร้อมดึงหน่วยงานทางการศึกษา ภาครัฐ ภาคเอกชน ภาควิชาการ ภาคท้องถิ่น ชุมชน และภาคประชาสังคม เข้ามาร่วมบูรณาการการทำงานในพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาทั้ง 6 แห่ง
จากการรับชมนิทรรศการและผลงานนวัตกรรมการจัดการศึกษาของสตูล รู้สึกประทับใจและต้องขอชื่นชมในความสามารถของเด็กเยาวชน ครู ผู้บริหารโรงเรียน พ่อแม่ ผู้ปกครอง และชุมชน ในโรงเรียนทั้ง 10 แห่งในพื้นที่จังหวัดสตูล ถือว่ามีความก้าวหน้าด้านนวัตกรรมการศึกษาและความร่วมมือกับทุกภาคส่วนเป็นอย่างมาก ส่งผลให้จังหวัดสตูลที่มีทุนเดิมทางการศึกษาที่ดีอยู่แล้ว มีคุณภาพและมีความสำเร็จมากยิ่งขึ้นไปอีก
ทั้งนี้ ขอย้ำว่าในการดำเนินงานให้เป็นไปตามความต้องการของประชาชนในพื้นที่เป็นหลัก ซึ่งเป็นนโยบายของรัฐบาลอยู่แล้ว พร้อมทบทวนให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปี แผนการศึกษาแห่งชาติ และแผนการศึกษาขั้นพื้นฐานอย่างเหมาะสมกับ "ภูมิสังคม" อย่างต่อเนื่อง เมื่อนั้นจึงจะเกิดการพัฒนาที่มีประโยชน์สูงสุดต่อพื้นที่
รมช.ศึกษาธิการ กล่าวด้วยว่า คนไทยนับว่าโชคดีอย่างที่สุด ที่มีพระมหากษัตริย์ที่ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณกับพสกนิกรมาอย่างยาวนาน จึงขอให้ทุกคนน้อมนำ "ศาสตร์พระราชา" ทั้งหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง หลักการทรงงาน พระบรมราโชวาทของในหลวงรัชกาลที่ 9 รวมทั้งพระราชปณิธานของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในหลวงรัชกาลที่ 10 ที่จะสืบสาน รักษา ต่อยอด นำมาเป็นหลักในการทำงาน โดยเฉพาะงานด้านการศึกษา ใช้เป็นกำลังใจในการดำเนินชีวิต ที่จะสร้างความเจริญก้าวหน้า อยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข รู้ รัก สามัคคี และขับเคลื่อนการศึกษาในพื้นที่อย่างยั่งยืน
โดยเฉพาะอย่างยิ่งพระบรมราโชบายในหลวงรัชกาลที่ 9 ซึ่งสอดคล้องกับการยกระดับการศึกษาในพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดสตูล ความว่า "การให้การศึกษาที่ดีนั้น เป็นงานที่ละเอียดลึกซึ้งมาก จำเป็นต้องใช้ความรู้อันกว้างขวาง ใช้ความสุขุมรอบคอบ ประกอบด้วยความตั้งใจ และความเพียรพยายาม และความเพียรพยายามอย่างแรงกล้า จึงจะทำได้สำเร็จ"
ดร.อโณทัย ไทยวรรณศรี ผู้อำนวยการสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา สพฐ. กล่าวรายงานผลการประชุมผู้เกี่ยวข้องในการปฏิรูปการเรียนรู้ในพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดสตูล และการลงพื้นที่ติดตามการดำเนินงานพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา จัดขึ้นระหว่างวันที่ 10-11 มกราคม 2562 ณ ห้องประชุมบัวหลวง โรงเรียนอนุบาลสตูล จังหวัดสตูล ว่ามีวัตถุประสงค์เพื่อสื่อสารสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับการดำเนินงานพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาให้กับสถานศึกษานำร่องและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการปฏิรูปการเรียนรู้ในพื้นที่ และเป็นการแสดงพลังของการมีส่วนร่วมและความพร้อมในการขับเคลื่อนพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดสตูลให้เป็นที่ประจักษ์
ตามแผนการดำเนินงานที่เกิดจากการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนและภาคีเพื่อการศึกษาไทย (TEP) ได้แก่ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย ผู้แทนคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ศูนย์ประสานงานวิจัยเพื่อท้องถิ่นจังหวัดสตูล มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา วิทยาเขตสตูล หน่วยงานทางการศึกษาในจังหวัดสตูล องค์การบริหารส่วนจังหวัดสตูล รวมทั้งมีผู้อำนวยการสถานศึกษา ผู้แทนครู ประธานคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และภาคีเครือข่ายต่าง ๆ ในพื้นที่ รวมจำนวน 149 คน
ที่มา; เว็บ สำนักงานรัฐมนตรีกระทรวงศึกษาธิการ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น