อ่านชัด-อ่านครบ กด ดูเวอร์ชั่นสำหรับเว็บ (ด้านล่าง)
เรื่องใหม่น่าสนใจ (ทั้งหมด ที่ )
(เนื้อหา-ข้อสอบ 1,000 ชุุด หมื่นข้อ ภาค กข
+ 40 วิชาเอก) ที่ ห้องสอบด้านขวา หรือ
เว็บฟรีข้อสอบ 1,000 ชุด ที่ ติวสอบดอทคอม
คลิ๊ก www.tuewsob.com โดย อ.นิกร
( คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้
( คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้
เตรียมความรู้ผู้บริหารสถาน (รอง/ผอ.รร.)
เตรียมสอบติวสอบครูผู้ช่วยกรณีพิเศษ + ทั่วไป
ข่าวที่ 43/2562 ศธ.ประชุมเชิงปฏิบัติการ ผอ.สพท.ขับเคลื่อนโรงเรียนคุณภาพประจำตำบล
พล.อ.สุรเชษฐ์ ชัยวงศ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานเปิดการประชุมเชิงปฏิบัติการผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา "โครงการโรงเรียนคุณภาพประจำตำบล (1 ตำบล 1 โรงเรียนคุณภาพ)" พร้อมทั้งมอบนโยบายแก่ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาทั่วประเทศและผู้เกี่ยวข้องกว่า 200 คน เมื่อวันอาทิตย์ที่ 27 มกราคม 2562 ณ โรงแรมเอวาน่า กรุงเทพ บางนา
นายบุญรักษ์ ยอดเพชร เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กล่าวรายงานว่า "โครงการโรงเรียนคุณภาพประจำตำบล" เป็นโครงการที่จะสร้างคุณภาพด้านการศึกษาให้กับประเทศ โดยมีเป้าหมายขับเคลื่อนการพัฒนาโรงเรียนในท้องถิ่นระดับตำบล ให้เป็นโรงเรียนคุณภาพประจำตำบล มุ่งเสริมสร้างความเข้มแข็งทางวิชาการ เป็นแหล่งเรียนรู้ด้านคุณธรรม จริยธรรม งานอาชีพ และสุขอนามัย ตลอดจนเป็นศูนย์รวมบริการการศึกษาแก่นักเรียนและชุมชน ที่จะช่วยเพิ่มโอกาสการเข้าถึงการศึกษาอย่างมีคุณภาพ ลดความเหลื่อมล้ำทางด้านการศึกษาแก่นักเรียนในท้องถิ่นชนบท ส่งผลต่อการแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจและสังคมด้วย และส่งเสริมการมีส่วนร่วมของเอกชน บ้าน วัด รัฐ และโรงเรียน
โดยวางกรอบการพัฒนาคุณภาพนักเรียนตอบโจทย์ใน 6 ระดับ ได้แก่
1) โจทย์ระดับโลก: ส่งเสริมทักษะในศตวรรษที่ 21 และเตรียมผู้เรียนสู่ยุคดิจิทัล
2) โจทย์ระดับประเทศ: ยุทธศาสตร์ชาติ ระยะ 20 ปี, นโยบายประเทศไทย 4.0, ศาสตร์พระราชา ทั้งหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง หลักการทรงงาน 23 ข้อ และพระบรมราโชวาทของในหลวงรัชกาลที่ 9 และพระบรมราโชบายของในหลวงรัชกาลที่ 10 ด้านการศึกษา 4 ข้อ คือ มีทัศนคติที่ถูกต้องต่อบ้านเมือง มีพื้นฐานชีวิตที่มั่นคง มีงานทำ มีอาชีพ และเป็นพลเมืองที่ดี
3) โจทย์ระดับภาคของประเทศไทย: ค้นหาสิ่งที่ต้องพัฒนา จุดแข็งจุดอ่อน
4) โจทย์การพัฒนากลุ่มจังหวัดและจังหวัด: การบริหารจัดการทรัพยากรเพื่อตอบโจทย์ผู้เรียนในระยะยาว
5) โจทย์การพัฒนาตามบริบทอำเภอ/ตำบล/ท้องถิ่น: การพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนในพื้นที่ สร้างความสุขสู่ชุมชน
6) โจทย์การพัฒนานักเรียนตามความแตกต่างและศักยภาพเป็นรายบุคคล: ส่งเสริมการศึกษาตามความถนัดของนักเรียน ชี้แนะให้คำแนะนำในสิ่งที่เด็กถนัดและทำได้ดี
พล.อ.สุรเชษฐ์ ชัยวงศ์ รมช.ศึกษาธิการ กล่าวว่า สืบเนื่องจากการลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือโครงการโรงเรียนคุณภาพประจำตำบล คือ กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงมหาดไทย กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และกระทรวงพลังงาน ซึ่งถือเป็นวาระเร่งด่วนที่จะต้องขับเคลื่อนโครงการโรงเรียนคุณภาพประจำตำบลให้ทันก่อนเปิดภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2562 พร้อมให้มีการสำรวจความต้องการและความพร้อมของโรงเรียนในโครงการ ทั้งโครงสร้างพื้นฐาน ความขาดแคลนวัสดุอุปกรณ์ต่าง ๆ เพื่อให้การช่วยเหลือสนับสนุนโดยเร็ว
ทั้งนี้ มีแผนที่จะขยายผลโครงการตามลำดับ โดยเพิ่มหน่วยงานที่จะร่วมดำเนินการ คือ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และกระทรวงวัฒนธรรม รวมเป็น 8 กระทรวง ตลอดจนขอความร่วมมือจากภาควิชาการ ภาคเอกชน และภาคประชาชน รวมทั้งเตรียมขยายไปยังโรงเรียนมัธยมศึกษาประจำอำเภอ หรือโรงเรียนในพื้นที่พิเศษต่อไปในอนาคตด้วย
ขอเน้นย้ำเกี่ยวกับการทำงานขับเคลื่อนแบบบูรณาการเชื่อมโยงระหว่างหน่วยงาน อาทิ การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย ที่จะต้องเชื่อมโยงสู่ประชาชน ชุมชน ดึงอาชีวศึกษาเข้ามาช่วยสนับสนุนในเรื่องของทักษะวิชาชีพ เพื่อให้การเรียนหลักสูตรต่าง ๆ ของสำนักงาน กศน. ช่วยให้เรียนจบแล้วมีงานทำ เป็นต้น
เมื่อนั้นจึงจะเชื่อมโยงไปสู่ "ตำบลมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน" ตามนโยบายรัฐบาลและยุทธศาสตร์ชาติ ระยะ 20 ปี สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้มีความสำคัญต่อการสร้างความเข้มแข็งและความสมบูรณ์ในการดำเนินงาน รวมไปถึงบูรณาการเชื่อมโยงโครงการโรงเรียนคุณภาพประจำตำบลกับโครงการที่มีลักษณะคล้ายคลึงกัน อาทิ โครงการโรงเรียนสานพลังประชารัฐ โครงการโรงเรียนดีใกล้บ้าน โครงการโรงเรียนร่วมพัฒนา เป็นต้น เพื่อมุ่งสู่ผลสำเร็จในการเป็นที่ยอมรับของชุมชน มุ่งสร้างคนสู่การมีงานทำ เน้นย้ำการมีส่วนร่วม
ในส่วนของการดำเนินงานโครงการให้เกิดผลลัพธ์อย่างเป็นรูปธรรมโดยเร็ว ต้องดำเนินการร่วมกันทั้งในระดับสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา (สพท.) และสถานศึกษา โดยก่อนที่จะเริ่มดำเนินโครงการ จะต้องมีการวางแผนและเสนอความต้องการด้านบุคลากรและสถานศึกษา ทั้งในเรื่องของการตรวจสอบข้อมูลพื้นฐาน ระบบสารสนเทศ และความต้องการต่าง ๆ ที่จะนำไปสู่การวางแผนและเสนอขอรับการสนับสนุน พร้อมสร้างการมีส่วนร่วมในทุกภาคส่วน อาทิ หน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาชน ภาคประชาสังคม ตลอดจนชุมชนและท้องถิ่น ตามบทบาทหน้าที่ภารกิจและความรับผิดชอบของตนเอง พร้อม ๆ กับอธิบายให้เด็กและเยาวชนเห็นภาพอย่างชัดเจน เกี่ยวกับการดำเนินงานและแนวทางในการปฏิบัติโครงการโรงเรียนคุณภาพประจำตำบล เชื่อมโยงไปสู่ยุทธศาสตร์ชาติ และแผนงานต่าง ๆ เช่น แผนการศึกษา แผนการพัฒนาทั้งในระดับภาคและพื้นที่ เมื่อนั้นจึงจะทำให้การขับเคลื่อนโครงการเกิดความเข้มแข็ง ส่งผลต่อการสร้างนักเรียนของเรา ให้มีความเข้มแข็งทั้งทางวิชาการ คุณธรรม จริยธรรม ตลอดจนมีงานทำ และเติบโตในสังคมได้อย่างมีคุณภาพ ซึ่งจะส่งผลต่อการลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา ไปจนถึงทางเศรษฐกิจของสังคมและประเทศต่อไป
นอกจากนี้ กระทรวงศึกษาธิการได้ให้ความสำคัญกับการบริหารงานและปฏิบัติงานในภูมิภาค ตามการบริหารงานในระดับภาพรวมของประเทศ จำนวน 6 ภาค ได้แก่ ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก ภาคใต้ และภาคใต้ชายแดน พร้อมแต่งตั้งศึกษาธิการภาค ซึ่งเปรียบเสมือนเป็นผู้แทนของกระทรวงศึกษาธิการในการอำนวยการ ประสานงาน และกำกับติดตามงานด้านการศึกษาในพื้นที่ภาค และงานต่าง ๆ ที่ได้รับมอบหมาย จึงขอให้ศึกษาธิการภาคทั้ง 6 ท่าน ได้ช่วยกำกับดูแลและสร้างความเข้าใจแก่ผู้อำนวยการโรงเรียนทั้ง 7,100 แห่ง เพื่อให้เกิดความร่วมมือในการขับเคลื่อนและดำเนินงานให้แล้วเสร็จภายในเดือนกุมภาพันธ์นี้ด้วย
ในส่วนของกระทรวงศึกษาธิการ จะจัดประชุมชี้แจงในระดับภาค เพื่อสร้างความเข้าใจควบคู่ไปกับการทำงานในระดับเขตพื้นที่ด้วย พร้อมจะเผยแพร่ข้อสรุปความคิดเห็นจากการประชุมในครั้งนี้ ให้โรงเรียนในทุกระดับในแต่ละเขตพื้นที่ได้รับรู้ เพื่อสร้างความเข้าใจในทิศทางเดียวกันต่อไป
ข้อคิดเห็นของผู้เข้าร่วมประชุม
-
ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามุกดาหาร เขต 1 "คาดหวังจะเห็นโรงเรียนมีความพร้อมด้านอาคาร สถานที่ และสภาพแวดล้อม อาทิ ห้องปฏิบัติการต่าง ๆ ครูสอนภาษาชาวต่างชาติ มีสื่อเทคโนโลยี อุปกรณ์การเรียนการสอนครบครัน, มีคุณภาพและมาตรฐานเทียบเท่าโรงเรียนในเมือง, มีงบประมาณเพียงพอต่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษา, คณะกรรมการบริหารงานได้อย่างแท้จริง ได้รับความร่วมมือจากทุกภาคส่วน และเป็นต้นแบบศูนย์กลางการเรียนรู้ของตำบล ในส่วนของการบริหาร ต้องการผู้บริหารที่มีภาวะผู้นำ เป็นกัลยาณมิตร ตลอดจนมีวิสัยทัศน์กว้างไกล ทุ่มเทเสียสละ และเป็นที่ยอมรับของชุมชน นอกจากนี้ ต้องการครูที่มีความเมตตา เอาใจใส่ และช่วยเหลือศิษย์อย่างเต็มที่ พร้อมทั้งมีความรู้ความสามารถด้านวิชาการส่งเสริมการเรียนรู้ทั้งทางกายจิตใจ และอารมณ์ ตลอดจนมีคุณธรรมจริยธรรม และจรรยาบรรณอันดีงาม สามารถเป็นแบบอย่างและต้นแบบที่ดีให้กับเด็กได้ สิ่งสำคัญคือ ผู้เรียนมีความสุขในการเรียนเป็นคนดีและมีความรู้รอบด้าน มีความสามัคคี มีระเบียบวินัย มีลักษณะอันพึงประสงค์ จบแล้วมีงานทำหรือสามารถศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้น และเป็นพลังสำคัญในการพัฒนาประเทศชาติได้"
-
ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 3 "สิ่งที่ต้องการเห็นการเปลี่ยนแปลงคือ โรงเรียนคุณภาพประจำตำบลเป็นโรงเรียนของชุมชนอย่างแท้จริง มีอิสระในการบริหารสถานศึกษาด้วยหลักธรรมาภิบาล การมีส่วนร่วม และสร้างโอกาสให้นักเรียนการพัฒนาตนเองอย่างเต็มที่ ส่วนผู้บริหารโรงเรียนต้องมีวิสัยทัศน์กว้างไกล พัฒนานักเรียนและบุคลากรให้มีความรู้ความสามารถ มีภาวะผู้นำและพร้อมทำงานร่วมกับสังคมและชุมชน ที่สำคัญคือ ครูที่มีความสามารถในการจัดการเรียนการสอนอย่างหลากหลายตอบสนองความต้องการของผู้เรียน โดยใช้สื่อเทคโนโลยี และนวัตกรรมช่วยให้เด็กคิดเป็น ทำเป็น แก้ปัญหาได้ และมีจิตวิญญาณของการเป็นครู มุ่งสู่การพัฒนานักเรียนให้มีคุณภาพ มีทักษะชีวิตที่ดี นำความคิดและองค์ความรู้ไปปรับใช้ในชีวิตประจำวัน มีสุขภาพกายและใจที่แข็งแรง เป็นคนดี และมีจิตสาธารณะ
นอกจากนี้ เสนอให้พัฒนาอย่างเร่งด่วนในประเด็นของการสร้างความเชื่อมั่นและศรัทธาต่อการดำเนินโครงการที่ยั่งยืน สร้างความตระหนักแก่บุคลากรในโรงเรียน เพื่อร่วมดำเนินการอย่างต่อเนื่องและจริงจังพร้อม ๆ กับเปิดโอกาสให้ชุมชนและผู้ปกครองได้เข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาต่อไป"
-
ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 1 "เสนอให้โรงเรียนเป็นโรงเรียนประจำตำบลที่มีคุณภาพอย่างแท้จริง นักเรียนเรียนรู้อย่างมีความสุข อ่านออก เขียนได้ มีความรู้ด้านภาษา ทันเทคโนโลยีคิดวิเคราะห์เป็น มีคุณธรรม และห่างไกลยาเสพติด โดยผู้บริหารเป็นหัวใจสำคัญในการสร้างวัฒนธรรมในองค์กร พร้อมสร้างความเข้าใจถึงงานที่จะต้องทำและเป้าหมายของโครงการ นั่นก็คือ การจัดการศึกษาเรียนรู้เพื่อสร้างทักษะและพัฒนาคนให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ด้วยความรักที่ต้องการจะเห็นเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น และเกิดประโยชน์ต่อผู้เรียนเป็นสำคัญ เช่นเดียวกับครูที่จะต้องมีทักษะ มีความเข้าใจในการจัดการศึกษา ตลอดจนเข้าใจจุดหมายปลายทางของโครงการว่าต้องการอะไร พร้อมกับมีความรักความเมตตาต่อลูกศิษย์ และมุ่งมั่นทำงานในหน้าที่ความรับผิดชอบอย่างเต็มความสามารถ"
เตรียมความรู้ผู้บริหารสถาน (รอง/ผอ.รร.)
เตรียมสอบติวสอบครูผู้ช่วยกรณีพิเศษ + ทั่วไป
ข่าวที่ 43/2562 ศธ.ประชุมเชิงปฏิบัติการ ผอ.สพท.ขับเคลื่อนโรงเรียนคุณภาพประจำตำบล
พล.อ.สุรเชษฐ์ ชัยวงศ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานเปิดการประชุมเชิงปฏิบัติการผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา "โครงการโรงเรียนคุณภาพประจำตำบล (1 ตำบล 1 โรงเรียนคุณภาพ)" พร้อมทั้งมอบนโยบายแก่ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาทั่วประเทศและผู้เกี่ยวข้องกว่า 200 คน เมื่อวันอาทิตย์ที่ 27 มกราคม 2562 ณ โรงแรมเอวาน่า กรุงเทพ บางนา
นายบุญรักษ์ ยอดเพชร เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กล่าวรายงานว่า "โครงการโรงเรียนคุณภาพประจำตำบล" เป็นโครงการที่จะสร้างคุณภาพด้านการศึกษาให้กับประเทศ โดยมีเป้าหมายขับเคลื่อนการพัฒนาโรงเรียนในท้องถิ่นระดับตำบล ให้เป็นโรงเรียนคุณภาพประจำตำบล มุ่งเสริมสร้างความเข้มแข็งทางวิชาการ เป็นแหล่งเรียนรู้ด้านคุณธรรม จริยธรรม งานอาชีพ และสุขอนามัย ตลอดจนเป็นศูนย์รวมบริการการศึกษาแก่นักเรียนและชุมชน ที่จะช่วยเพิ่มโอกาสการเข้าถึงการศึกษาอย่างมีคุณภาพ ลดความเหลื่อมล้ำทางด้านการศึกษาแก่นักเรียนในท้องถิ่นชนบท ส่งผลต่อการแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจและสังคมด้วย และส่งเสริมการมีส่วนร่วมของเอกชน บ้าน วัด รัฐ และโรงเรียน
โดยวางกรอบการพัฒนาคุณภาพนักเรียนตอบโจทย์ใน 6 ระดับ ได้แก่
1) โจทย์ระดับโลก: ส่งเสริมทักษะในศตวรรษที่ 21 และเตรียมผู้เรียนสู่ยุคดิจิทัล
2) โจทย์ระดับประเทศ: ยุทธศาสตร์ชาติ ระยะ 20 ปี, นโยบายประเทศไทย 4.0, ศาสตร์พระราชา ทั้งหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง หลักการทรงงาน 23 ข้อ และพระบรมราโชวาทของในหลวงรัชกาลที่ 9 และพระบรมราโชบายของในหลวงรัชกาลที่ 10 ด้านการศึกษา 4 ข้อ คือ มีทัศนคติที่ถูกต้องต่อบ้านเมือง มีพื้นฐานชีวิตที่มั่นคง มีงานทำ มีอาชีพ และเป็นพลเมืองที่ดี
3) โจทย์ระดับภาคของประเทศไทย: ค้นหาสิ่งที่ต้องพัฒนา จุดแข็งจุดอ่อน
4) โจทย์การพัฒนากลุ่มจังหวัดและจังหวัด: การบริหารจัดการทรัพยากรเพื่อตอบโจทย์ผู้เรียนในระยะยาว
5) โจทย์การพัฒนาตามบริบทอำเภอ/ตำบล/ท้องถิ่น: การพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนในพื้นที่ สร้างความสุขสู่ชุมชน
6) โจทย์การพัฒนานักเรียนตามความแตกต่างและศักยภาพเป็นรายบุคคล: ส่งเสริมการศึกษาตามความถนัดของนักเรียน ชี้แนะให้คำแนะนำในสิ่งที่เด็กถนัดและทำได้ดี
2) โจทย์ระดับประเทศ: ยุทธศาสตร์ชาติ ระยะ 20 ปี, นโยบายประเทศไทย 4.0, ศาสตร์พระราชา ทั้งหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง หลักการทรงงาน 23 ข้อ และพระบรมราโชวาทของในหลวงรัชกาลที่ 9 และพระบรมราโชบายของในหลวงรัชกาลที่ 10 ด้านการศึกษา 4 ข้อ คือ มีทัศนคติที่ถูกต้องต่อบ้านเมือง มีพื้นฐานชีวิตที่มั่นคง มีงานทำ มีอาชีพ และเป็นพลเมืองที่ดี
3) โจทย์ระดับภาคของประเทศไทย: ค้นหาสิ่งที่ต้องพัฒนา จุดแข็งจุดอ่อน
4) โจทย์การพัฒนากลุ่มจังหวัดและจังหวัด: การบริหารจัดการทรัพยากรเพื่อตอบโจทย์ผู้เรียนในระยะยาว
5) โจทย์การพัฒนาตามบริบทอำเภอ/ตำบล/ท้องถิ่น: การพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนในพื้นที่ สร้างความสุขสู่ชุมชน
6) โจทย์การพัฒนานักเรียนตามความแตกต่างและศักยภาพเป็นรายบุคคล: ส่งเสริมการศึกษาตามความถนัดของนักเรียน ชี้แนะให้คำแนะนำในสิ่งที่เด็กถนัดและทำได้ดี
ทั้งนี้ มีแผนที่จะขยายผลโครงการตามลำดับ โดยเพิ่มหน่วยงานที่จะร่วมดำเนินการ คือ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และกระทรวงวัฒนธรรม รวมเป็น 8 กระทรวง ตลอดจนขอความร่วมมือจากภาควิชาการ ภาคเอกชน และภาคประชาชน รวมทั้งเตรียมขยายไปยังโรงเรียนมัธยมศึกษาประจำอำเภอ หรือโรงเรียนในพื้นที่พิเศษต่อไปในอนาคตด้วย
ขอเน้นย้ำเกี่ยวกับการทำงานขับเคลื่อนแบบบูรณาการเชื่อมโยงระหว่างหน่วยงาน อาทิ การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย ที่จะต้องเชื่อมโยงสู่ประชาชน ชุมชน ดึงอาชีวศึกษาเข้ามาช่วยสนับสนุนในเรื่องของทักษะวิชาชีพ เพื่อให้การเรียนหลักสูตรต่าง ๆ ของสำนักงาน กศน. ช่วยให้เรียนจบแล้วมีงานทำ เป็นต้น
เมื่อนั้นจึงจะเชื่อมโยงไปสู่ "ตำบลมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน" ตามนโยบายรัฐบาลและยุทธศาสตร์ชาติ ระยะ 20 ปี สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้มีความสำคัญต่อการสร้างความเข้มแข็งและความสมบูรณ์ในการดำเนินงาน รวมไปถึงบูรณาการเชื่อมโยงโครงการโรงเรียนคุณภาพประจำตำบลกับโครงการที่มีลักษณะคล้ายคลึงกัน อาทิ โครงการโรงเรียนสานพลังประชารัฐ โครงการโรงเรียนดีใกล้บ้าน โครงการโรงเรียนร่วมพัฒนา เป็นต้น เพื่อมุ่งสู่ผลสำเร็จในการเป็นที่ยอมรับของชุมชน มุ่งสร้างคนสู่การมีงานทำ เน้นย้ำการมีส่วนร่วม
ในส่วนของการดำเนินงานโครงการให้เกิดผลลัพธ์อย่างเป็นรูปธรรมโดยเร็ว ต้องดำเนินการร่วมกันทั้งในระดับสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา (สพท.) และสถานศึกษา โดยก่อนที่จะเริ่มดำเนินโครงการ จะต้องมีการวางแผนและเสนอความต้องการด้านบุคลากรและสถานศึกษา ทั้งในเรื่องของการตรวจสอบข้อมูลพื้นฐาน ระบบสารสนเทศ และความต้องการต่าง ๆ ที่จะนำไปสู่การวางแผนและเสนอขอรับการสนับสนุน พร้อมสร้างการมีส่วนร่วมในทุกภาคส่วน อาทิ หน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาชน ภาคประชาสังคม ตลอดจนชุมชนและท้องถิ่น ตามบทบาทหน้าที่ภารกิจและความรับผิดชอบของตนเอง พร้อม ๆ กับอธิบายให้เด็กและเยาวชนเห็นภาพอย่างชัดเจน เกี่ยวกับการดำเนินงานและแนวทางในการปฏิบัติโครงการโรงเรียนคุณภาพประจำตำบล เชื่อมโยงไปสู่ยุทธศาสตร์ชาติ และแผนงานต่าง ๆ เช่น แผนการศึกษา แผนการพัฒนาทั้งในระดับภาคและพื้นที่ เมื่อนั้นจึงจะทำให้การขับเคลื่อนโครงการเกิดความเข้มแข็ง ส่งผลต่อการสร้างนักเรียนของเรา ให้มีความเข้มแข็งทั้งทางวิชาการ คุณธรรม จริยธรรม ตลอดจนมีงานทำ และเติบโตในสังคมได้อย่างมีคุณภาพ ซึ่งจะส่งผลต่อการลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา ไปจนถึงทางเศรษฐกิจของสังคมและประเทศต่อไป
นอกจากนี้ กระทรวงศึกษาธิการได้ให้ความสำคัญกับการบริหารงานและปฏิบัติงานในภูมิภาค ตามการบริหารงานในระดับภาพรวมของประเทศ จำนวน 6 ภาค ได้แก่ ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก ภาคใต้ และภาคใต้ชายแดน พร้อมแต่งตั้งศึกษาธิการภาค ซึ่งเปรียบเสมือนเป็นผู้แทนของกระทรวงศึกษาธิการในการอำนวยการ ประสานงาน และกำกับติดตามงานด้านการศึกษาในพื้นที่ภาค และงานต่าง ๆ ที่ได้รับมอบหมาย จึงขอให้ศึกษาธิการภาคทั้ง 6 ท่าน ได้ช่วยกำกับดูแลและสร้างความเข้าใจแก่ผู้อำนวยการโรงเรียนทั้ง 7,100 แห่ง เพื่อให้เกิดความร่วมมือในการขับเคลื่อนและดำเนินงานให้แล้วเสร็จภายในเดือนกุมภาพันธ์นี้ด้วย
ในส่วนของกระทรวงศึกษาธิการ จะจัดประชุมชี้แจงในระดับภาค เพื่อสร้างความเข้าใจควบคู่ไปกับการทำงานในระดับเขตพื้นที่ด้วย พร้อมจะเผยแพร่ข้อสรุปความคิดเห็นจากการประชุมในครั้งนี้ ให้โรงเรียนในทุกระดับในแต่ละเขตพื้นที่ได้รับรู้ เพื่อสร้างความเข้าใจในทิศทางเดียวกันต่อไป
ข้อคิดเห็นของผู้เข้าร่วมประชุม
- ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามุกดาหาร เขต 1 "คาดหวังจะเห็นโรงเรียนมีความพร้อมด้านอาคาร สถานที่ และสภาพแวดล้อม อาทิ ห้องปฏิบัติการต่าง ๆ ครูสอนภาษาชาวต่างชาติ มีสื่อเทคโนโลยี อุปกรณ์การเรียนการสอนครบครัน, มีคุณภาพและมาตรฐานเทียบเท่าโรงเรียนในเมือง, มีงบประมาณเพียงพอต่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษา, คณะกรรมการบริหารงานได้อย่างแท้จริง ได้รับความร่วมมือจากทุกภาคส่วน และเป็นต้นแบบศูนย์กลางการเรียนรู้ของตำบล ในส่วนของการบริหาร ต้องการผู้บริหารที่มีภาวะผู้นำ เป็นกัลยาณมิตร ตลอดจนมีวิสัยทัศน์กว้างไกล ทุ่มเทเสียสละ และเป็นที่ยอมรับของชุมชน นอกจากนี้ ต้องการครูที่มีความเมตตา เอาใจใส่ และช่วยเหลือศิษย์อย่างเต็มที่ พร้อมทั้งมีความรู้ความสามารถด้านวิชาการส่งเสริมการเรียนรู้ทั้งทางกายจิตใจ และอารมณ์ ตลอดจนมีคุณธรรมจริยธรรม และจรรยาบรรณอันดีงาม สามารถเป็นแบบอย่างและต้นแบบที่ดีให้กับเด็กได้ สิ่งสำคัญคือ ผู้เรียนมีความสุขในการเรียนเป็นคนดีและมีความรู้รอบด้าน มีความสามัคคี มีระเบียบวินัย มีลักษณะอันพึงประสงค์ จบแล้วมีงานทำหรือสามารถศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้น และเป็นพลังสำคัญในการพัฒนาประเทศชาติได้"
- ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 3 "สิ่งที่ต้องการเห็นการเปลี่ยนแปลงคือ โรงเรียนคุณภาพประจำตำบลเป็นโรงเรียนของชุมชนอย่างแท้จริง มีอิสระในการบริหารสถานศึกษาด้วยหลักธรรมาภิบาล การมีส่วนร่วม และสร้างโอกาสให้นักเรียนการพัฒนาตนเองอย่างเต็มที่ ส่วนผู้บริหารโรงเรียนต้องมีวิสัยทัศน์กว้างไกล พัฒนานักเรียนและบุคลากรให้มีความรู้ความสามารถ มีภาวะผู้นำและพร้อมทำงานร่วมกับสังคมและชุมชน ที่สำคัญคือ ครูที่มีความสามารถในการจัดการเรียนการสอนอย่างหลากหลายตอบสนองความต้องการของผู้เรียน โดยใช้สื่อเทคโนโลยี และนวัตกรรมช่วยให้เด็กคิดเป็น ทำเป็น แก้ปัญหาได้ และมีจิตวิญญาณของการเป็นครู มุ่งสู่การพัฒนานักเรียนให้มีคุณภาพ มีทักษะชีวิตที่ดี นำความคิดและองค์ความรู้ไปปรับใช้ในชีวิตประจำวัน มีสุขภาพกายและใจที่แข็งแรง เป็นคนดี และมีจิตสาธารณะ
นอกจากนี้ เสนอให้พัฒนาอย่างเร่งด่วนในประเด็นของการสร้างความเชื่อมั่นและศรัทธาต่อการดำเนินโครงการที่ยั่งยืน สร้างความตระหนักแก่บุคลากรในโรงเรียน เพื่อร่วมดำเนินการอย่างต่อเนื่องและจริงจังพร้อม ๆ กับเปิดโอกาสให้ชุมชนและผู้ปกครองได้เข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาต่อไป" - ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 1 "เสนอให้โรงเรียนเป็นโรงเรียนประจำตำบลที่มีคุณภาพอย่างแท้จริง นักเรียนเรียนรู้อย่างมีความสุข อ่านออก เขียนได้ มีความรู้ด้านภาษา ทันเทคโนโลยีคิดวิเคราะห์เป็น มีคุณธรรม และห่างไกลยาเสพติด โดยผู้บริหารเป็นหัวใจสำคัญในการสร้างวัฒนธรรมในองค์กร พร้อมสร้างความเข้าใจถึงงานที่จะต้องทำและเป้าหมายของโครงการ นั่นก็คือ การจัดการศึกษาเรียนรู้เพื่อสร้างทักษะและพัฒนาคนให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ด้วยความรักที่ต้องการจะเห็นเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น และเกิดประโยชน์ต่อผู้เรียนเป็นสำคัญ เช่นเดียวกับครูที่จะต้องมีทักษะ มีความเข้าใจในการจัดการศึกษา ตลอดจนเข้าใจจุดหมายปลายทางของโครงการว่าต้องการอะไร พร้อมกับมีความรักความเมตตาต่อลูกศิษย์ และมุ่งมั่นทำงานในหน้าที่ความรับผิดชอบอย่างเต็มความสามารถ"
ที่มา : เว็บ สำนักงานรัฐมนตรีกระทรวงศึกษาธิการ
ที่มา : เว็บ สำนักงานรัฐมนตรีกระทรวงศึกษาธิการ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น