อ่านชัด-อ่านครบ กด ดูเวอร์ชั่นสำหรับเว็บ (ด้านล่าง)
เรื่องใหม่น่าสนใจ (ทั้งหมด ที่ )
(เนื้อหา-ข้อสอบ 1,000 ชุุด หมื่นข้อ ภาค กข
+ 40 วิชาเอก) ที่ ห้องสอบด้านขวา หรือ
เว็บฟรีข้อสอบ 1,000 ชุด ที่ ติวสอบดอทคอม
คลิ๊ก www.tuewsob.com โดย อ.นิกร
( คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้
( คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้
เตรียมความรู้ผู้บริหารสถาน (รอง/ผอ.รร.)
เตรียมสอบติวสอบครูผู้ช่วยกรณีพิเศษ + ทั่วไป
ข่าวที่ 35/2562ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล บรรยายพิเศษ "ยุทธศาสตร์พระราชทาน เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา กับการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้"
จังหวัดนราธิวาส - ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล เลขาธิการมูลนิธิชัยพัฒนา บรรยายพิเศษ "ยุทธศาสตร์พระราชทาน เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา กับการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้" ในการประชุมเสริมสร้างการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนตามกลไกประชารัฐ ครั้งที่ 9 (1/2562) จัดโดยสำนักงาน คปต.ส่วนหน้า เมื่อวันที่ 24 มกราคม 2562 ณ หอประชุมมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ โดยมี พล.อ.สุรเชษฐ์ ชัยวงศ์ หัวหน้าผู้แทนพิเศษของรัฐบาล และรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ, รองผู้ว่าราชการจังหวัดนราธิวาส, พล.อ.สุทัศน์ กาญจนานนท์กุล ที่ปรึกษา รมช.ศธ., พล.ท.พรศักดิ์ พูลสวัสดิ์ แม่ทัพภาคที่ 4, ศึกษาธิการภาคทั่วประเทศ, ศึกษาธิการจังหวัด, ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา, ผู้บริหาร ข้าราชการ และบุคลากรหลายหน่วยงาน, คณะผู้แทนพิเศษของรัฐบาล, ผู้แทนหน่วยงานราชการต่างๆ, ผู้นำศาสนา, ผู้นำชุมชน, นักศึกษา และผู้แทนภาคประชาชนในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ เข้าร่วมรับฟังกว่า 600 คน
มูลนิธิชัยพัฒนา : ชัยชนะที่ได้มาจากการพัฒนา
ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล บรรยายตอนหนึ่งว่า ในอดีต พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร ในหลวงรัชกาลที่ 9 ได้เคยเสด็จพระราชดำเนินมายังจังหวัดนราธิวาส เป็นเวลา 2 เดือนทุกปี พระองค์เคยสอนในการทำงานอย่าทำแค่ผิวเผิน การนำสิ่งใดไปปฏิบัติ ต้องให้ลงถึงแก่น ไม่ใช่แค่เปลือก โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเอาชนะปัญหาความยากจน พระองค์จึงทรงพระราชดำริให้จัดตั้ง "มูลนิธิชัยพัฒนา" โดยทรงดำรงตำแหน่งเป็นนายกกิตติมศักดิ์ และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เป็นองค์ประธาน เพื่อสนับสนุนช่วยเหลือประชาชนในลักษณะของการดำเนินงานพัฒนาต่าง ๆ ในกรณีที่ต้องถูกจำกัดด้วยเงื่อนไขของกฎเกณฑ์ ระเบียบ หรืองบประมาณที่ระบบราชการไม่สามารถดำเนินการได้ทันที จนเป็นเหตุให้การแก้ไขปัญหาไม่สอดคล้อง หรือทันกับสถานการณ์ที่จำเป็นเร่งด่วนที่จะต้องกระทำโดยเร็ว
การที่มูลนิธิชัยพัฒนาเข้ามาดำเนินการเช่นนี้ ส่งผลให้ประชาชนได้รับประโยชน์อย่างแท้จริง รวดเร็วฉับพลัน โดยไม่ตกอยู่ภายใต้ข้อจำกัดใด ๆ ทั้งสิ้น อาจกล่าวได้ว่าการดำเนินงานของมูลนิธิชัยพัฒนาเป็นการช่วยให้กระบวนการพัฒนา เกิดความสมบูรณ์ขึ้น ชื่อมูลนิธิจึงมีความหมายว่า "ชัยชนะที่ได้มาจากการพัฒนา" ซึ่งชัยของการพัฒนานี้มีจุดประสงค์ คือ "ความสงบ ความเจริญ ความอยู่ดีกินดี" (พระราชดำรัสพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว วันที่ 4 ธันวาคม 2537)
พระองค์ทรงเป็นองค์เอกอัครศาสนูปถัมภกทุกศาสนา
นอกจากนี้ พระองค์ทรงเป็นองค์เอกอัครศาสนูปถัมภกทุกศาสนา สำหรับพระราชดำรัสเกี่ยวกับศาสนาอิสลาม เช่น
"...ศาสนาอิสลามนี้ มีความดีเป็นพื้นฐาน เพราะว่าศาสนาอิสลามสอนให้ทุกคนเป็นพลเมืองดี ทุกคนมีความเข้มแข็ง มีวินัย และมีความปรารถนาดีต่อกันนี้ เป็นหลักที่สำคัญ ประชาชนที่นับถือศาสนาอิสลามจึงมีส่วนสำคัญในการสร้างบ้านเมืองให้เจริญและ มั่นคง..."
(พระราชดำรัส พระราชทานแก่คณะธรรมจาริก ณ พระตำหนักทักษิณราชนิเวศน์ จังหวัด นราธิวาส วันที่ 22 สิงหาคม 2516)
มองทุกอย่างที่ฉันทำ จดทุกอย่างที่ฉันพูด สรุปทุกอย่างที่ฉันคิด
เมื่อครั้งที่ ดร.สุเมธ ได้ทำงานรับใช้เบื้องพระยุคลบาท พระองค์เคยมีคำสอนที่บอกถึงนัยะในความละเอียดของการทำงาน เช่น "มองทุกอย่างที่ฉันทำ จดทุกอย่างที่ฉันพูด สรุปทุกอย่างที่ฉันคิด"
ในขณะที่ ดร.สุเมธ มองว่าคนไทยมักชอบสร้างปัญหาและแก้ปัญหา มากกว่าที่จะวางแผนทำให้ไม่เกิดปัญหา ทำให้หลายเรื่องต้องตามไปแก้ปัญหาภายหลัง เช่น รถติดมาก ๆ ก่อนแล้วจึงตามไปแก้ปัญหา ซึ่งอยากให้ตั้งโจทย์ง่าย ๆ ไว้คิด เช่น ถ้าไม่มีข้าว ไม่มีดิน แผ่นดินเลี้ยงดูเราทุกรูปแบบ เราต้องรักษาพัฒนาแผ่นดิน วันนี้กรุงเทพฯ และหลายเมืองทั่วโลกไม่มีแม้แต่อากาศดี ๆ ให้หายใจ มนุษย์กำลังไปสู่ความตายจากการทำลายตนเอง
นี่เป็นตัวอย่างหนึ่งของการที่พระองค์ทรงต้องการพัฒนาเพื่อให้เกิด "การพัฒนาอย่างยั่งยืน" เพราะฉะนั้น ภารกิจสำคัญของเราในวันนี้ คือ ต้องรักษาแผ่นดินและสิ่งแวดล้อมให้ได้เอาไว้อย่างยั่งยืน เพราะทุกศาสนา รวมทั้งศาสนาอิสลาม ต่างสอนให้รักษาความสะอาด หากเราไม่ "เข้าใจ" ในเรื่องเหล่านี้ ก็จะทำให้ไม่สามารถ "เข้าถึง" และ "พัฒนา" ได้ กลายเป็นตกต่ำไปเรื่อย ๆ จนทำลายตัวเองในที่สุด
บางส่วนของพระราชดำรัสด้าน การศึกษาในพื้นที่ชายแดนใต้
ในเรื่องการศึกษาในพื้นที่ชายแดนใต้ ดร.สุเมธ กล่าวว่า พระองค์ทรงให้ความสำคัญต่อการศึกษาในจังหวัดชายแดนภาคใต้เป็นอย่างมาก อาทิ พระราชดำรัสพระราชทานในคราวเสด็จฯ เยี่ยมราษฎรจังหวัดยะลา ณ คุรสัมมนาคาร ภาคศึกษา 2 เมื่อวันที่ 23 มีนาคม 2502
"…การศึกษาที่นี่สำคัญมาก ให้พยายามจัดให้ดี ให้พลเมืองสามารถพูดภาษาไทยได้ แม้จะพูดได้ไม่มากนัก เพียงแต่พอรู้เรื่องกันก็ยังดี เท่าที่ผ่านมาคราวนี้มีผู้ไม่รู้ภาษาไทย ต้องใช้ล่ามแปลควรให้พูดเข้าใจกันได้ เพื่อสะดวกในการติดต่อซึ่งกันและกัน…"
เน้นย้ำทรงให้ทำเพื่อส่วนรวม
พระองค์ทรงปฏิบัติโดยเสมอ "ทรงให้ทำเพื่อส่วนรวม" โดย ดร.สุเมธ ได้ยกตัวอย่างพระบรมราโชวาทเกี่ยวกับการทำงานเพื่อส่วนรวม และพระบรมราโชวาทต่อข้าราชการ เพื่อต้องการให้เราทำเพื่อประโยชน์ให้ชาติบ้านเมือง เพราะหากเราเอาแต่ประโยชน์ส่วนตัวแล้ว บ้านเมืองอยู่ไม่ได้ เราก็อยู่ไม่ได้ ข้าราชการทุกคนจึงต้องทำงานด้วยสติ สำนึกต่อหน้าที่ที่จะต้องทำเพื่อส่วนรวมเสมอ
"เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา" แก้ปัญหาจังหวัดชายแดนใต้ได้อย่างไร
สิ่งต่าง ๆ ที่เกริ่นมาข้างต้น ดร.สุเมธ บอกว่า ล้วนเกี่ยวข้องกับยุทธศาสตร์พระราชทาน "เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา" ที่เราควรน้อมนำมาประยุกต์ใช้ในการทำงานและแก้ไขปัญหาในเรื่องต่าง ๆ รวมทั้งการพัฒนาในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ เพื่อความสงบ สันติ สมานฉันท์ และความเจริญที่ยั่งยืน โดยยกตัวอย่างบางส่วน ดังนี้
เข้าใจ "เข้าใจเขา – เข้าใจเรา"
- เข้าใจเขา - คือ เข้าใจว่า ก่อนจะทำอะไร ต้องมีความเข้าใจเสียก่อน ได้แก่ เข้าใจสถานการณ์ว่าเกิดอะไรขึ้นเป็นอย่างไร เข้าใจภูมิประเทศ เข้าใจผู้คนในหลากหลายปัญหา ทั้งทางด้านกายภาพ ด้านจารีตประเพณีและวัฒนธรรม ด้านสภาวการณ์เศรษฐกิจ สังคมในพื้นที่ เป็นต้น
สำหรับจังหวัดชายแดนภาคใต้ ต้องเข้าใจว่า อะไรที่เป็นเงื่อนไขทำให้เกิดปัญหาความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ทั้งในมิติภูมิศาสตร์ ประวัติศาสตร์ ศาสนาอิสลามที่คนส่วนใหญ่ในพื้นที่นับถือ สภาพสังคม วัฒนธรรม จารีตประเพณีท้องถิ่น วิถีชีวิต ปัญหา ความต้องการต่างๆ ของชุมชน ซึ่งต้องอาศัยการแสวงหาความรู้ เช่น การทำประชาพิจารณ์ เข้าไปพูดคุย คลุกคลีกับคนในพื้นที่ เก็บรวบรวมข้อมูลอย่างรอบด้านจากคนในพื้นที่ที่ประสบปัญหา
- เข้าใจเรา - ระหว่างการดำเนินการนั้น ต้องทำให้ผู้ที่เราจะไปทำงานกับเขาหรือทำงานให้เขานั้น “เข้าใจ” เราด้วย เพราะถ้าเราเข้าใจเขาแต่ฝ่ายเดียว โดยที่เขาไม่เข้าใจเรา ประโยชน์คงจะไม่เกิดขึ้นตามที่เรามุ่งหวังไว้
สำหรับจังหวัดชายแดนภาคใต้ ต้องให้ประชาชนในพื้นที่เข้าใจเรา ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐว่าต้องการเข้าไปช่วยเหลือจริง ๆ ให้เห็นถึงความจริงใจในการแก้ปัญหา สร้างความเข้าใจให้เกิดขึ้นกับคนในพื้นที่เชื่อมั่นในนโยบายของรัฐในการแก้ปัญหา
ทั้งนี้ ต้องรับฟังความเห็นของผู้อื่น เคารพความคิดที่แตกต่าง ทำงานอย่างผู้รู้จริง ศึกษาข้อมูลอย่างเป็นระบบ การทำตามลำดับขั้น แก้ปัญหาที่จุดเล็ก เน้นความต้องการของประชาชน ระเบิดจากข้างใน และต้องเข้าใจโลก เข้าใจภูมิภาค เข้าใจประเทศ ไปจนถึงเข้าใจชุมชน
เข้าถึง คือ เมื่อรู้ปัญหาแล้ว เข้าใจแล้ว ก็ต้องเข้าถึงเพื่อให้นำไปสู่การปฏิบัติให้ได้ และเมื่อเข้าถึงแล้วจะต้องทำอย่างไรให้เขาอยากเข้าถึงเราด้วย
สำหรับจังหวัดชายแดนภาคใต้ ต้องเข้าถึงพื้นที่และประชาชนในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ตามกระบวนการทำงาน ทำให้ทราบถึงลักษณะของพื้นที่และความรู้สึกนึกคิด ปัญหาต่าง ๆ ของคนในพื้นที่ วัฒนธรรมและจารีตประเพณีของเขา และเขาต้องอยากเข้าถึงเราด้วย โดยต้องทำให้ผู้ที่อยู่ในพื้นที่เข้าใจและไว้วางใจ และให้ความร่วมมือกับเจ้าหน้าที่ของรัฐ มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นปรึกษาหารือร่วมกัน โดยได้รับความร่วมมือจากผู้นำศาสนา ผู้นำชุมชนและคนในพื้นที่
ดังนั้น การเข้าถึงต้องคำนึงถึง "ภูมิสังคม" ซึ่งหมายถึง
ภูมิศาสตร์ : ธรรมชาติ ภูมิประเทศ ทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม ดิน - น้ำ - ลม - ไฟ
สังคมวิทยา : คน อุปนิสัย ภูมิปัญญา ค่านิยม วัฒนธรรมประเพณี
นอกจากนี้ ต้องเข้าถึงการวางระบบบริหาร เช่น บริการที่จุดเดียว เข้าถึงอิสระและเสรีภาพ กระบวนการยุติธรรมจากรัฐ พึ่งตนเอง พร้อมทั้งการส่งเสริมคนดีและคนเก่งด้วย
พัฒนา เมื่อต่างฝ่ายต่างเข้าใจกัน ต่างฝ่ายอยากจะเข้าถึงกันแล้ว การพัฒนาจะเป็นการตกลงร่วมกันทั้งสองฝ่าย ทั้งผู้ให้และผู้รับ ระเบิดจากข้างใน
สำหรับจังหวัดชายแดนภาคใต้ เป็นเรื่องของการเข้าใจปัญหาและสาเหตุของปัญหาในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยได้รับความร่วมมือจากประชาชนในพื้นที่ร่วมแก้ปัญหาอย่างจริงจัง บนหลักของสันติ ความจริงใจ ความกล้าหาญ ความเสียสละ โดยการใช้ทักษะการบริหารจัดการที่สามารถรวมเอาปัจจัยต่าง ๆ เช่น ทุน คน องค์ความรู้ เทคโนโลยี ศาสนา วัฒนธรรม ฯลฯ มาทำให้สังคมในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ดีขึ้น เจริญขึ้น และมีความสงบ สันติสุขเกิดขึ้น
ทั้งนี้ ขอให้เน้นการมีส่วนร่วม ประชาพิจารณ์ รู้ รัก สามัคคี ทำงานแบบองค์รวม มุ่งประโยชน์คนส่วนใหญ่เป็นหลัก ไม่ติดตำรา ทำให้ง่าย simplicity เพื่อมุ่งพัฒนาให้เกิดความยั่งยืน
น้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ในการดำเนินงาน
ดร.สุเมธ กล่าวด้วยว่า ต้องการให้พวกเราน้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ในการดำเนินงาน จึงได้กล่าวถึงคำจำกัดความเต็ม ๆ ของปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในหลวงรัชกาลที่ 9 ดังนี้
"เศรษฐกิจพอเพียง เป็นปรัชญาชี้ถึงแนวการดำรงอยู่และปฏิบัติตนของประชาชนในทุกระดับ ตั้งแต่ระดับครอบครัว ระดับชุมชน จนถึงระดับรัฐ ทั้งในการพัฒนาและบริหารประเทศให้ดำเนินไปในทางสายกลาง โดยเฉพาะการพัฒนาเศรษฐกิจเพื่อให้ก้าวทันต่อโลกยุคโลกาภิวัตน์ ความพอเพียง หมายถึง ความพอประมาณ ความมีเหตุผล รวมถึงความจำเป็นที่จะต้องมีระบบภูมิคุ้มกันในตัวที่ดีพอสมควร ต่อการมีผลกระทบใด ๆ อันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทั้งภายนอกและภายใน
ทั้งนี้ จะต้องอาศัยความรอบรู้ ความรอบคอบ และความระมัดระวังอย่างยิ่งในการนำวิชาการต่าง ๆ มาใช้ในการวางแผนและการดำเนินการทุกขั้นตอน และขณะเดียวกัน จะต้องเสริมสร้างพื้นฐานจิตใจของคนในชาติ โดยเฉพาะเจ้าหน้าที่ของรัฐ นักทฤษฎี และนักธุรกิจในทุกระดับ ให้มีสำนึกในคุณธรรม ความซื่อสัตย์สุจริต และให้มีความรอบรู้ที่เหมาะสม ดำเนินชีวิตด้วยความอดทน ความเพียร มีสติปัญญา และความรอบคอบ เพื่อให้สมดุลและพร้อมต่อการรองรับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและกว้างขวาง ทั้งด้านวัตถุ สังคม สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรมจากโลกภายนอกได้เป็นอย่างดี"
ดร.สุเมธ สรุปการบรรยายในครั้งนี้ โดยกล่าวว่า การน้อมนำความรู้ที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร พระราชทานในการปฏิบัติงาน จะเป็นไปเพื่อประโยชน์สุขของประชาชน ความเจริญของส่วนรวม ซึ่งจะส่งผลให้ประเทศชาติดำรงอยู่ได้อย่างมั่นคงและยั่งยืนตลอดไป
เตรียมความรู้ผู้บริหารสถาน (รอง/ผอ.รร.)
เตรียมสอบติวสอบครูผู้ช่วยกรณีพิเศษ + ทั่วไป
ข่าวที่ 35/2562ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล บรรยายพิเศษ "ยุทธศาสตร์พระราชทาน เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา กับการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้"
จังหวัดนราธิวาส - ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล เลขาธิการมูลนิธิชัยพัฒนา บรรยายพิเศษ "ยุทธศาสตร์พระราชทาน เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา กับการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้" ในการประชุมเสริมสร้างการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนตามกลไกประชารัฐ ครั้งที่ 9 (1/2562) จัดโดยสำนักงาน คปต.ส่วนหน้า เมื่อวันที่ 24 มกราคม 2562 ณ หอประชุมมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ โดยมี พล.อ.สุรเชษฐ์ ชัยวงศ์ หัวหน้าผู้แทนพิเศษของรัฐบาล และรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ, รองผู้ว่าราชการจังหวัดนราธิวาส, พล.อ.สุทัศน์ กาญจนานนท์กุล ที่ปรึกษา รมช.ศธ., พล.ท.พรศักดิ์ พูลสวัสดิ์ แม่ทัพภาคที่ 4, ศึกษาธิการภาคทั่วประเทศ, ศึกษาธิการจังหวัด, ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา, ผู้บริหาร ข้าราชการ และบุคลากรหลายหน่วยงาน, คณะผู้แทนพิเศษของรัฐบาล, ผู้แทนหน่วยงานราชการต่างๆ, ผู้นำศาสนา, ผู้นำชุมชน, นักศึกษา และผู้แทนภาคประชาชนในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ เข้าร่วมรับฟังกว่า 600 คน
การที่มูลนิธิชัยพัฒนาเข้ามาดำเนินการเช่นนี้ ส่งผลให้ประชาชนได้รับประโยชน์อย่างแท้จริง รวดเร็วฉับพลัน โดยไม่ตกอยู่ภายใต้ข้อจำกัดใด ๆ ทั้งสิ้น อาจกล่าวได้ว่าการดำเนินงานของมูลนิธิชัยพัฒนาเป็นการช่วยให้กระบวนการพัฒนา เกิดความสมบูรณ์ขึ้น ชื่อมูลนิธิจึงมีความหมายว่า "ชัยชนะที่ได้มาจากการพัฒนา" ซึ่งชัยของการพัฒนานี้มีจุดประสงค์ คือ "ความสงบ ความเจริญ ความอยู่ดีกินดี" (พระราชดำรัสพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว วันที่ 4 ธันวาคม 2537)
นอกจากนี้ พระองค์ทรงเป็นองค์เอกอัครศาสนูปถัมภกทุกศาสนา สำหรับพระราชดำรัสเกี่ยวกับศาสนาอิสลาม เช่น
"...ศาสนาอิสลามนี้ มีความดีเป็นพื้นฐาน เพราะว่าศาสนาอิสลามสอนให้ทุกคนเป็นพลเมืองดี ทุกคนมีความเข้มแข็ง มีวินัย และมีความปรารถนาดีต่อกันนี้ เป็นหลักที่สำคัญ ประชาชนที่นับถือศาสนาอิสลามจึงมีส่วนสำคัญในการสร้างบ้านเมืองให้เจริญและ มั่นคง..." (พระราชดำรัส พระราชทานแก่คณะธรรมจาริก ณ พระตำหนักทักษิณราชนิเวศน์ จังหวัด นราธิวาส วันที่ 22 สิงหาคม 2516)
เมื่อครั้งที่ ดร.สุเมธ ได้ทำงานรับใช้เบื้องพระยุคลบาท พระองค์เคยมีคำสอนที่บอกถึงนัยะในความละเอียดของการทำงาน เช่น "มองทุกอย่างที่ฉันทำ จดทุกอย่างที่ฉันพูด สรุปทุกอย่างที่ฉันคิด"
ในขณะที่ ดร.สุเมธ มองว่าคนไทยมักชอบสร้างปัญหาและแก้ปัญหา มากกว่าที่จะวางแผนทำให้ไม่เกิดปัญหา ทำให้หลายเรื่องต้องตามไปแก้ปัญหาภายหลัง เช่น รถติดมาก ๆ ก่อนแล้วจึงตามไปแก้ปัญหา ซึ่งอยากให้ตั้งโจทย์ง่าย ๆ ไว้คิด เช่น ถ้าไม่มีข้าว ไม่มีดิน แผ่นดินเลี้ยงดูเราทุกรูปแบบ เราต้องรักษาพัฒนาแผ่นดิน วันนี้กรุงเทพฯ และหลายเมืองทั่วโลกไม่มีแม้แต่อากาศดี ๆ ให้หายใจ มนุษย์กำลังไปสู่ความตายจากการทำลายตนเอง
นี่เป็นตัวอย่างหนึ่งของการที่พระองค์ทรงต้องการพัฒนาเพื่อให้เกิด "การพัฒนาอย่างยั่งยืน" เพราะฉะนั้น ภารกิจสำคัญของเราในวันนี้ คือ ต้องรักษาแผ่นดินและสิ่งแวดล้อมให้ได้เอาไว้อย่างยั่งยืน เพราะทุกศาสนา รวมทั้งศาสนาอิสลาม ต่างสอนให้รักษาความสะอาด หากเราไม่ "เข้าใจ" ในเรื่องเหล่านี้ ก็จะทำให้ไม่สามารถ "เข้าถึง" และ "พัฒนา" ได้ กลายเป็นตกต่ำไปเรื่อย ๆ จนทำลายตัวเองในที่สุด
ในเรื่องการศึกษาในพื้นที่ชายแดนใต้ ดร.สุเมธ กล่าวว่า พระองค์ทรงให้ความสำคัญต่อการศึกษาในจังหวัดชายแดนภาคใต้เป็นอย่างมาก อาทิ พระราชดำรัสพระราชทานในคราวเสด็จฯ เยี่ยมราษฎรจังหวัดยะลา ณ คุรสัมมนาคาร ภาคศึกษา 2 เมื่อวันที่ 23 มีนาคม 2502
"…การศึกษาที่นี่สำคัญมาก ให้พยายามจัดให้ดี ให้พลเมืองสามารถพูดภาษาไทยได้ แม้จะพูดได้ไม่มากนัก เพียงแต่พอรู้เรื่องกันก็ยังดี เท่าที่ผ่านมาคราวนี้มีผู้ไม่รู้ภาษาไทย ต้องใช้ล่ามแปลควรให้พูดเข้าใจกันได้ เพื่อสะดวกในการติดต่อซึ่งกันและกัน…"
เน้นย้ำทรงให้ทำเพื่อส่วนรวม
พระองค์ทรงปฏิบัติโดยเสมอ "ทรงให้ทำเพื่อส่วนรวม" โดย ดร.สุเมธ ได้ยกตัวอย่างพระบรมราโชวาทเกี่ยวกับการทำงานเพื่อส่วนรวม และพระบรมราโชวาทต่อข้าราชการ เพื่อต้องการให้เราทำเพื่อประโยชน์ให้ชาติบ้านเมือง เพราะหากเราเอาแต่ประโยชน์ส่วนตัวแล้ว บ้านเมืองอยู่ไม่ได้ เราก็อยู่ไม่ได้ ข้าราชการทุกคนจึงต้องทำงานด้วยสติ สำนึกต่อหน้าที่ที่จะต้องทำเพื่อส่วนรวมเสมอ
สิ่งต่าง ๆ ที่เกริ่นมาข้างต้น ดร.สุเมธ บอกว่า ล้วนเกี่ยวข้องกับยุทธศาสตร์พระราชทาน "เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา" ที่เราควรน้อมนำมาประยุกต์ใช้ในการทำงานและแก้ไขปัญหาในเรื่องต่าง ๆ รวมทั้งการพัฒนาในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ เพื่อความสงบ สันติ สมานฉันท์ และความเจริญที่ยั่งยืน โดยยกตัวอย่างบางส่วน ดังนี้
เข้าใจ "เข้าใจเขา – เข้าใจเรา"
- เข้าใจเขา - คือ เข้าใจว่า ก่อนจะทำอะไร ต้องมีความเข้าใจเสียก่อน ได้แก่ เข้าใจสถานการณ์ว่าเกิดอะไรขึ้นเป็นอย่างไร เข้าใจภูมิประเทศ เข้าใจผู้คนในหลากหลายปัญหา ทั้งทางด้านกายภาพ ด้านจารีตประเพณีและวัฒนธรรม ด้านสภาวการณ์เศรษฐกิจ สังคมในพื้นที่ เป็นต้น
สำหรับจังหวัดชายแดนภาคใต้ ต้องเข้าใจว่า อะไรที่เป็นเงื่อนไขทำให้เกิดปัญหาความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ทั้งในมิติภูมิศาสตร์ ประวัติศาสตร์ ศาสนาอิสลามที่คนส่วนใหญ่ในพื้นที่นับถือ สภาพสังคม วัฒนธรรม จารีตประเพณีท้องถิ่น วิถีชีวิต ปัญหา ความต้องการต่างๆ ของชุมชน ซึ่งต้องอาศัยการแสวงหาความรู้ เช่น การทำประชาพิจารณ์ เข้าไปพูดคุย คลุกคลีกับคนในพื้นที่ เก็บรวบรวมข้อมูลอย่างรอบด้านจากคนในพื้นที่ที่ประสบปัญหา
สำหรับจังหวัดชายแดนภาคใต้ ต้องเข้าใจว่า อะไรที่เป็นเงื่อนไขทำให้เกิดปัญหาความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ทั้งในมิติภูมิศาสตร์ ประวัติศาสตร์ ศาสนาอิสลามที่คนส่วนใหญ่ในพื้นที่นับถือ สภาพสังคม วัฒนธรรม จารีตประเพณีท้องถิ่น วิถีชีวิต ปัญหา ความต้องการต่างๆ ของชุมชน ซึ่งต้องอาศัยการแสวงหาความรู้ เช่น การทำประชาพิจารณ์ เข้าไปพูดคุย คลุกคลีกับคนในพื้นที่ เก็บรวบรวมข้อมูลอย่างรอบด้านจากคนในพื้นที่ที่ประสบปัญหา
- เข้าใจเรา - ระหว่างการดำเนินการนั้น ต้องทำให้ผู้ที่เราจะไปทำงานกับเขาหรือทำงานให้เขานั้น “เข้าใจ” เราด้วย เพราะถ้าเราเข้าใจเขาแต่ฝ่ายเดียว โดยที่เขาไม่เข้าใจเรา ประโยชน์คงจะไม่เกิดขึ้นตามที่เรามุ่งหวังไว้
สำหรับจังหวัดชายแดนภาคใต้ ต้องให้ประชาชนในพื้นที่เข้าใจเรา ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐว่าต้องการเข้าไปช่วยเหลือจริง ๆ ให้เห็นถึงความจริงใจในการแก้ปัญหา สร้างความเข้าใจให้เกิดขึ้นกับคนในพื้นที่เชื่อมั่นในนโยบายของรัฐในการแก้ปัญหา
สำหรับจังหวัดชายแดนภาคใต้ ต้องให้ประชาชนในพื้นที่เข้าใจเรา ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐว่าต้องการเข้าไปช่วยเหลือจริง ๆ ให้เห็นถึงความจริงใจในการแก้ปัญหา สร้างความเข้าใจให้เกิดขึ้นกับคนในพื้นที่เชื่อมั่นในนโยบายของรัฐในการแก้ปัญหา
ทั้งนี้ ต้องรับฟังความเห็นของผู้อื่น เคารพความคิดที่แตกต่าง ทำงานอย่างผู้รู้จริง ศึกษาข้อมูลอย่างเป็นระบบ การทำตามลำดับขั้น แก้ปัญหาที่จุดเล็ก เน้นความต้องการของประชาชน ระเบิดจากข้างใน และต้องเข้าใจโลก เข้าใจภูมิภาค เข้าใจประเทศ ไปจนถึงเข้าใจชุมชน
เข้าถึง คือ เมื่อรู้ปัญหาแล้ว เข้าใจแล้ว ก็ต้องเข้าถึงเพื่อให้นำไปสู่การปฏิบัติให้ได้ และเมื่อเข้าถึงแล้วจะต้องทำอย่างไรให้เขาอยากเข้าถึงเราด้วย
สำหรับจังหวัดชายแดนภาคใต้ ต้องเข้าถึงพื้นที่และประชาชนในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ตามกระบวนการทำงาน ทำให้ทราบถึงลักษณะของพื้นที่และความรู้สึกนึกคิด ปัญหาต่าง ๆ ของคนในพื้นที่ วัฒนธรรมและจารีตประเพณีของเขา และเขาต้องอยากเข้าถึงเราด้วย โดยต้องทำให้ผู้ที่อยู่ในพื้นที่เข้าใจและไว้วางใจ และให้ความร่วมมือกับเจ้าหน้าที่ของรัฐ มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นปรึกษาหารือร่วมกัน โดยได้รับความร่วมมือจากผู้นำศาสนา ผู้นำชุมชนและคนในพื้นที่
สำหรับจังหวัดชายแดนภาคใต้ ต้องเข้าถึงพื้นที่และประชาชนในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ตามกระบวนการทำงาน ทำให้ทราบถึงลักษณะของพื้นที่และความรู้สึกนึกคิด ปัญหาต่าง ๆ ของคนในพื้นที่ วัฒนธรรมและจารีตประเพณีของเขา และเขาต้องอยากเข้าถึงเราด้วย โดยต้องทำให้ผู้ที่อยู่ในพื้นที่เข้าใจและไว้วางใจ และให้ความร่วมมือกับเจ้าหน้าที่ของรัฐ มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นปรึกษาหารือร่วมกัน โดยได้รับความร่วมมือจากผู้นำศาสนา ผู้นำชุมชนและคนในพื้นที่
ดังนั้น การเข้าถึงต้องคำนึงถึง "ภูมิสังคม" ซึ่งหมายถึง
ภูมิศาสตร์ : ธรรมชาติ ภูมิประเทศ ทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม ดิน - น้ำ - ลม - ไฟ
สังคมวิทยา : คน อุปนิสัย ภูมิปัญญา ค่านิยม วัฒนธรรมประเพณี
ภูมิศาสตร์ : ธรรมชาติ ภูมิประเทศ ทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม ดิน - น้ำ - ลม - ไฟ
สังคมวิทยา : คน อุปนิสัย ภูมิปัญญา ค่านิยม วัฒนธรรมประเพณี
นอกจากนี้ ต้องเข้าถึงการวางระบบบริหาร เช่น บริการที่จุดเดียว เข้าถึงอิสระและเสรีภาพ กระบวนการยุติธรรมจากรัฐ พึ่งตนเอง พร้อมทั้งการส่งเสริมคนดีและคนเก่งด้วย
พัฒนา เมื่อต่างฝ่ายต่างเข้าใจกัน ต่างฝ่ายอยากจะเข้าถึงกันแล้ว การพัฒนาจะเป็นการตกลงร่วมกันทั้งสองฝ่าย ทั้งผู้ให้และผู้รับ ระเบิดจากข้างใน
สำหรับจังหวัดชายแดนภาคใต้ เป็นเรื่องของการเข้าใจปัญหาและสาเหตุของปัญหาในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยได้รับความร่วมมือจากประชาชนในพื้นที่ร่วมแก้ปัญหาอย่างจริงจัง บนหลักของสันติ ความจริงใจ ความกล้าหาญ ความเสียสละ โดยการใช้ทักษะการบริหารจัดการที่สามารถรวมเอาปัจจัยต่าง ๆ เช่น ทุน คน องค์ความรู้ เทคโนโลยี ศาสนา วัฒนธรรม ฯลฯ มาทำให้สังคมในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ดีขึ้น เจริญขึ้น และมีความสงบ สันติสุขเกิดขึ้น
สำหรับจังหวัดชายแดนภาคใต้ เป็นเรื่องของการเข้าใจปัญหาและสาเหตุของปัญหาในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยได้รับความร่วมมือจากประชาชนในพื้นที่ร่วมแก้ปัญหาอย่างจริงจัง บนหลักของสันติ ความจริงใจ ความกล้าหาญ ความเสียสละ โดยการใช้ทักษะการบริหารจัดการที่สามารถรวมเอาปัจจัยต่าง ๆ เช่น ทุน คน องค์ความรู้ เทคโนโลยี ศาสนา วัฒนธรรม ฯลฯ มาทำให้สังคมในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ดีขึ้น เจริญขึ้น และมีความสงบ สันติสุขเกิดขึ้น
ทั้งนี้ ขอให้เน้นการมีส่วนร่วม ประชาพิจารณ์ รู้ รัก สามัคคี ทำงานแบบองค์รวม มุ่งประโยชน์คนส่วนใหญ่เป็นหลัก ไม่ติดตำรา ทำให้ง่าย simplicity เพื่อมุ่งพัฒนาให้เกิดความยั่งยืน
น้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ในการดำเนินงาน
ดร.สุเมธ กล่าวด้วยว่า ต้องการให้พวกเราน้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ในการดำเนินงาน จึงได้กล่าวถึงคำจำกัดความเต็ม ๆ ของปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในหลวงรัชกาลที่ 9 ดังนี้
"เศรษฐกิจพอเพียง เป็นปรัชญาชี้ถึงแนวการดำรงอยู่และปฏิบัติตนของประชาชนในทุกระดับ ตั้งแต่ระดับครอบครัว ระดับชุมชน จนถึงระดับรัฐ ทั้งในการพัฒนาและบริหารประเทศให้ดำเนินไปในทางสายกลาง โดยเฉพาะการพัฒนาเศรษฐกิจเพื่อให้ก้าวทันต่อโลกยุคโลกาภิวัตน์ ความพอเพียง หมายถึง ความพอประมาณ ความมีเหตุผล รวมถึงความจำเป็นที่จะต้องมีระบบภูมิคุ้มกันในตัวที่ดีพอสมควร ต่อการมีผลกระทบใด ๆ อันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทั้งภายนอกและภายในทั้งนี้ จะต้องอาศัยความรอบรู้ ความรอบคอบ และความระมัดระวังอย่างยิ่งในการนำวิชาการต่าง ๆ มาใช้ในการวางแผนและการดำเนินการทุกขั้นตอน และขณะเดียวกัน จะต้องเสริมสร้างพื้นฐานจิตใจของคนในชาติ โดยเฉพาะเจ้าหน้าที่ของรัฐ นักทฤษฎี และนักธุรกิจในทุกระดับ ให้มีสำนึกในคุณธรรม ความซื่อสัตย์สุจริต และให้มีความรอบรู้ที่เหมาะสม ดำเนินชีวิตด้วยความอดทน ความเพียร มีสติปัญญา และความรอบคอบ เพื่อให้สมดุลและพร้อมต่อการรองรับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและกว้างขวาง ทั้งด้านวัตถุ สังคม สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรมจากโลกภายนอกได้เป็นอย่างดี"
ดร.สุเมธ สรุปการบรรยายในครั้งนี้ โดยกล่าวว่า การน้อมนำความรู้ที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร พระราชทานในการปฏิบัติงาน จะเป็นไปเพื่อประโยชน์สุขของประชาชน ความเจริญของส่วนรวม ซึ่งจะส่งผลให้ประเทศชาติดำรงอยู่ได้อย่างมั่นคงและยั่งยืนตลอดไป
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น