อ่านชัด-อ่านครบ กด ดูเวอร์ชั่นสำหรับเว็บ (ด้านล่าง)
เรื่องใหม่น่าสนใจ (ทั้งหมด ที่ )
(เนื้อหา-ข้อสอบ 1,000 ชุุด หมื่นข้อ ภาค กข
+ 40 วิชาเอก) ที่ ห้องสอบด้านขวา หรือ
เว็บฟรีข้อสอบ 1,000 ชุด ที่ ติวสอบดอทคอม
คลิ๊ก www.tuewsob.com โดย อ.นิกร
( คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้
( คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้
เตรียมความรู้ผู้บริหารสถาน (รอง/ผอ.รร.)
เตรียมสอบติวสอบครูผู้ช่วยกรณีพิเศษ + ทั่วไป
เตรียมความรู้ผู้บริหารสถาน (รอง/ผอ.รร.)
เตรียมสอบติวสอบครูผู้ช่วยกรณีพิเศษ + ทั่วไป
ผู้ได้รับพระราชทานรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดลเยือนศิริราช พร้อมแสดงปาฐกถาในผลงานที่ได้รับรางวัลอันเป็นประโยชน์ต่อมวลมนุษยชาติ
เมื่อวันที่ 30 มกราคม 2561 ศาสตราจารย์ ดร.นายแพทย์ประสิทธิ์ วัฒนาภา คณบดีคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล ในฐานะรองประธานมูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล ในพระบรมราชูปถัมภ์ พร้อมด้วยผู้บริหารคณะฯ ให้การต้อนรับ ผู้ได้รับพระราชทานรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล ประจำปี 2560 ในโอกาสมาเยือนคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ในฐานะหน่วยงานที่ริเริ่มรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล และแสดงปาฐกถาเกี่ยวกับผลงานที่ได้รับรางวัล ณ รพ.ศิริราช
ผู้ได้รับพระราชทานรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดลฯ ประกอบด้วย สาขาการแพทย์ นายแพทย์อีริค ดี. กรีน (Eric D. Green) และ สาขาการสาธารณสุข ได้แก่ ศาสตราจารย์พอร์ทเตอร์ ดับเบิลยู. แอนเดอร์สัน จูเนียร์ (Prof. Porter W. Anderson, Jr.) นายแพทย์จอห์น บี. รอบบินส์ (Dr. John B. Robbins) แพทย์หญิงราเชล ชเนียสัน (Dr.Rachel Schneerson) และศาสตราจารย์นายแพทย์มธุราม ซานโตชาม (Prof.Mathuram Santosham) ซึ่งในวันที่ 31 มกราคม 2561 สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จฯ แทนพระองค์ พระราชทานรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล ประจำปี 2560 ณ พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท ในพระบรมมหาราชวัง
ที่มา : เว็บ https://mahidol.ac.th/th/2018/mahidol-award-2/
รางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล เป็นรางวัลที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้จัดตั้งขึ้นเพื่อถวายเป็นพระราชานุสรณ์แด่สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก ผู้ทรงบำเพ็ญประโยชน์ต่อวงการแพทย์ การสาธารณสุข การพยาบาล การเภสัชกรรม ทันตศึกษา การประมงกองทัพเรือ และการศึกษาของประเทศ เป็นคุณูปการโดยเฉพาะอย่างยิ่ง เกี่ยวกับการแพทย์ของประเทศไทย ทรงทำนุบำรุงโรงเรียนราชแพทยาลัย และโรงพยาบาลศิริราชให้ทันสมัย ทั้งทรงเป็นผู้แทนรัฐบาลไทย ในการเจรจากับมูลนิธิร็อกกี้เฟลเล่อร์ ให้มาช่วยเหลือปรับปรุงการแพทย์ของไทย เป็นการวางรากฐานให้การแพทย์ของไทย เจริญรุ่งเรืองทัดเทียมอารยประเทศในปัจจุบัน จนได้รับการถวายพระสมัญญานามว่า องค์บิดาแห่งการแพทย์แผนปัจจุบันของไทย และองค์บิดาแห่งการสาธารณสุขของไทย เป็นการสนองพระมหากรุณาธิคุณให้พระเกียรติยืนยง อยู่ในแผ่นดินนี้และแผ่ขจรขจายไปทั่วโลก
ที่มา ; https://th.wikipedia.org/wik
21 พฤศจิกายน 2561 ณ ห้องสมเด็จพระบรมราชชนก ชั้น 2 ตึกสยามินทร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล ศาสตราจารย์คลินิก นายแพทย์สุพัฒน์ วาณิชย์การ เลขาธิการมูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดลในพระบรมราชูปถัมภ์ เป็นประธานแถลงข่าวประกาศผลตัดสินผู้ได้รับพระราชทานรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดลประจำปี 2561 จัดโดย มูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดลในพระบรมราชูปถัมภ์ ซึ่ง สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเป็นองค์ประธาน กล่าวความเป็นมาของรางวัลฯ โดย ศาสตราจารย์ ดร.นายแพทย์ประสิทธิ์ วัฒนาภา คณบดีคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ในฐานะรองประธานมูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดลฯ จากนั้น นางสาวบุษฎี สันติพิทักษ์ อธิบดีกรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ ในฐานะประธานคณะอนุกรรมการฝ่ายประชาสัมพันธ์มูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดลฯ ประกาศผลการตัดสินผู้ได้รับพระราชทานรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดลประจำปี 2561 ศาสตราจารย์นายแพทย์วิจารณ์ พานิช ประธานคณะกรรมการรางวัลนานาชาติมูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดลฯชี้แจงเหตุผลในการคัดเลือกผู้ที่ได้รับพระราชทานรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดลประจำปี 2561 และร่วมกล่าวความยินดี โดย นายสตัฟฟาน แฮร์สเตริม (H. E. Mr. Staffan Herrstrom) เอกอัครราชทูตราชอาณาจักรสวีเดนประจำประเทศไทย นายปีเตอร์ เฮย์มอนด์ (Mr. Peter Haymond) อุปทูตสถานเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทย
ผู้ได้รับพระราชทานรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล สาขาการแพทย์ มี 2 ท่าน ดังนี้
1)ศาสตราจารย์นายแพทย์ไบรอัน เจ. ตรูเคอร์ (Professor Brian J. Druker) ศาสตราจารย์อายุรศาสตร์ และผู้อำนวยการสถาบันมะเร็งในท์ มหาวิทยาลัยการแพทย์และวิทยาศาสตร์แห่งโอเรกอนสหรัฐอเมริกา ผู้มีผลงานสำคัญในการศึกษาค้นคว้า และวิจัยจนเป็นผู้นำในการพัฒนาหนึ่งในยาต้นแบบของการรักษาโรคมะเร็งแบบมุ่งเป้า คือ อิมาทินิบ สำหรับการรักษาโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวเรื้อรังชนิดซีเอ็มแอล
2)ศาสตราจารย์ ดร.แมรี่ แคลร์ คิง (Professor Dr. Mary-Claire King) ศาสตราจารย์เวชพันธุศาสตร์ ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยวอชิงตัน สหรัฐอเมริกา เป็นผู้ค้นพบยีนที่เป็นสาเหตุของโรคมะเร็งเต้านม ซึ่งเป็นมะเร็งที่พบบ่อยที่สุดในผู้หญิงมีผู้ป่วยใหม่ที่ได้รับการวินิจฉัยมะเร็งเต้านมปีละกว่าสองล้านคน และมีผู้ป่วยเสียชีวิตจากโรคนี้มากถึงสองแสนคนในแต่ละปี
ผู้ได้รับพระราชทานรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล สาขาการสาธารณสุข มี 2 ท่าน ดังนี้
1)ศาสตราจารย์ นายแพทย์จอห์น ดี. คลีเมนส์ (Professor John D. Clemens) ผู้อำนวยการบริหารศูนย์วิจัยโรคท้องร่วงนานาชาติ ประเทศบังคลาเทศ ศาสตราจารย์วุฒิคุณระบาดวิทยามหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ลอสแองเจลิส สหรัฐอเมริกา
2)ศาสตราจารย์นายแพทย์ยอน อาร์. โฮล์มเกรน (Professor Jan R. Holmgren) ศาสตราจารย์จุลชีววิทยาการแพทย์ และผู้อำนวยการสถาบันวัคซีนแห่งมหาวิทยาลัยโกเธนเบิร์ก ประเทศสวีเดน ศาสตราจารย์นายแพทย์จอห์น ดี. คลีเมนส์ และศาสตราจารย์นายแพทย์ยอน อาร์. โฮล์มเกรนทำงานร่วมกันเป็นเวลากว่า 30 ปี ในการศึกษาค้นคว้าวิจัยและพัฒนาวัคซีนป้องกันอหิวาตกโรคชนิดกิน ผลงานการศึกษาตั้งแต่ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการสร้างภูมิต้านทานป้องกันอหิวาตกโรคไปสู่การผลิตวัคซีนชนิดกินที่ได้รับการทดสอบทางคลินิกจนเป็นที่ยอมรับโดยองค์การอนามัยโลกของศาสตราจารย์นายแพทย์จอห์น ดี. คลีเมนส์ และ ศาสตราจารย์ นายแพทย์ยอน อาร์. โฮล์มเกรน ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงนโยบายจากวัคซีนชนิดฉีดเป็นการแนะนำให้ใช้วัคซีนชนิดกินแทนและสนับสนุนคลังวัคซีนสำหรับหลายประเทศทั่วโลกที่มีปัญหา หรือมีความเสี่ยงต่อการระบาดของอหิวาตกโรค ทำให้ช่วยป้องกันโรคได้ในวงกว้าง ลดการเสียชีวิตจากอหิวาตกโรคได้ในประชากรหลายล้านคนทั่วโลก
รางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล ได้รับพระบรมราชานุญาตให้จัดตั้งขึ้นเพื่อเทิดพระเกียรติ สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก โดยมอบเป็นรางวัลให้บุคคล หรือองค์กรทั่วโลกที่มีผลงานดีเด่นเป็นประโยชน์ต่อมนุษยชาติด้านการแพทย์ 1 รางวัลและด้านการสาธารณสุข 1 รางวัล แต่ละรางวัลประกอบด้วยเหรียญรางวัล ประกาศนียบัตร และเงินรางวัล 100, 000 เหรียญสหรัฐ สำหรับปี พ. ศ. 2561 นี้เป็นปีที่ 27 ของการมอบรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล มีผู้เสนอชื่อเข้ารับรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล จำนวน 49 รายจาก 25 ประเทศ การพิจารณาคัดเลือกผู้สมควรได้รับรางวัล พิจารณากลั่นกรองโดยกรรมการที่ปรึกษาทางวิชาการ และคณะกรรมการรางวัลนานาชาติ แล้วนำเสนอให้คณะกรรมการมูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดลในพระบรมราชูปถัมภ์ ซึ่งสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเป็นประธานตัดสินเป็นขั้นสุดท้าย
สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จฯ แทนพระองค์ พระราชทานรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล ประจำปี 2561 ในวันพฤหัสบดีที่ 31 มกราคม 2562 เวลา 17. 30 น. ณ พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท ในพระบรมมหาราชวัง โดยในวันที่ 30 มกราคม 2562 คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล ในฐานะผู้ริเริ่มรางวัลอันทรงเกียรติจะเชิญผู้รับพระราชทานรางวัลฯ มาเยือน และแสดงปาฐกถาเกียรติยศในผลงานที่ได้รับด้วย
รายละเอียดทั้งหมด ที่นี่
https://mahidol.ac.th/th/2018/prince-mahidol-award/
เมื่อวันที่ 30 มกราคม 2561 ศาสตราจารย์ ดร.นายแพทย์ประสิทธิ์ วัฒนาภา คณบดีคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล ในฐานะรองประธานมูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล ในพระบรมราชูปถัมภ์ พร้อมด้วยผู้บริหารคณะฯ ให้การต้อนรับ ผู้ได้รับพระราชทานรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล ประจำปี 2560 ในโอกาสมาเยือนคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ในฐานะหน่วยงานที่ริเริ่มรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล และแสดงปาฐกถาเกี่ยวกับผลงานที่ได้รับรางวัล ณ รพ.ศิริราช
ผู้ได้รับพระราชทานรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดลฯ ประกอบด้วย สาขาการแพทย์ นายแพทย์อีริค ดี. กรีน (Eric D. Green) และ สาขาการสาธารณสุข ได้แก่ ศาสตราจารย์พอร์ทเตอร์ ดับเบิลยู. แอนเดอร์สัน จูเนียร์ (Prof. Porter W. Anderson, Jr.) นายแพทย์จอห์น บี. รอบบินส์ (Dr. John B. Robbins) แพทย์หญิงราเชล ชเนียสัน (Dr.Rachel Schneerson) และศาสตราจารย์นายแพทย์มธุราม ซานโตชาม (Prof.Mathuram Santosham) ซึ่งในวันที่ 31 มกราคม 2561 สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จฯ แทนพระองค์ พระราชทานรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล ประจำปี 2560 ณ พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท ในพระบรมมหาราชวัง
ที่มา : เว็บ https://mahidol.ac.th/th/2018/mahidol-award-2/
รางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล เป็นรางวัลที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้จัดตั้งขึ้นเพื่อถวายเป็นพระราชานุสรณ์แด่สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก ผู้ทรงบำเพ็ญประโยชน์ต่อวงการแพทย์ การสาธารณสุข การพยาบาล การเภสัชกรรม ทันตศึกษา การประมงกองทัพเรือ และการศึกษาของประเทศ เป็นคุณูปการโดยเฉพาะอย่างยิ่ง เกี่ยวกับการแพทย์ของประเทศไทย ทรงทำนุบำรุงโรงเรียนราชแพทยาลัย และโรงพยาบาลศิริราชให้ทันสมัย ทั้งทรงเป็นผู้แทนรัฐบาลไทย ในการเจรจากับมูลนิธิร็อกกี้เฟลเล่อร์ ให้มาช่วยเหลือปรับปรุงการแพทย์ของไทย เป็นการวางรากฐานให้การแพทย์ของไทย เจริญรุ่งเรืองทัดเทียมอารยประเทศในปัจจุบัน จนได้รับการถวายพระสมัญญานามว่า องค์บิดาแห่งการแพทย์แผนปัจจุบันของไทย และองค์บิดาแห่งการสาธารณสุขของไทย เป็นการสนองพระมหากรุณาธิคุณให้พระเกียรติยืนยง อยู่ในแผ่นดินนี้และแผ่ขจรขจายไปทั่วโลก
ที่มา ; https://th.wikipedia.org/wik
21 พฤศจิกายน 2561 ณ ห้องสมเด็จพระบรมราชชนก ชั้น 2 ตึกสยามินทร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล ศาสตราจารย์คลินิก นายแพทย์สุพัฒน์ วาณิชย์การ เลขาธิการมูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดลในพระบรมราชูปถัมภ์ เป็นประธานแถลงข่าวประกาศผลตัดสินผู้ได้รับพระราชทานรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดลประจำปี 2561 จัดโดย มูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดลในพระบรมราชูปถัมภ์ ซึ่ง สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเป็นองค์ประธาน กล่าวความเป็นมาของรางวัลฯ โดย ศาสตราจารย์ ดร.นายแพทย์ประสิทธิ์ วัฒนาภา คณบดีคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ในฐานะรองประธานมูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดลฯ จากนั้น นางสาวบุษฎี สันติพิทักษ์ อธิบดีกรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ ในฐานะประธานคณะอนุกรรมการฝ่ายประชาสัมพันธ์มูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดลฯ ประกาศผลการตัดสินผู้ได้รับพระราชทานรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดลประจำปี 2561 ศาสตราจารย์นายแพทย์วิจารณ์ พานิช ประธานคณะกรรมการรางวัลนานาชาติมูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดลฯชี้แจงเหตุผลในการคัดเลือกผู้ที่ได้รับพระราชทานรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดลประจำปี 2561 และร่วมกล่าวความยินดี โดย นายสตัฟฟาน แฮร์สเตริม (H. E. Mr. Staffan Herrstrom) เอกอัครราชทูตราชอาณาจักรสวีเดนประจำประเทศไทย นายปีเตอร์ เฮย์มอนด์ (Mr. Peter Haymond) อุปทูตสถานเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทย
ผู้ได้รับพระราชทานรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล สาขาการแพทย์ มี 2 ท่าน ดังนี้
1)ศาสตราจารย์นายแพทย์ไบรอัน เจ. ตรูเคอร์ (Professor Brian J. Druker) ศาสตราจารย์อายุรศาสตร์ และผู้อำนวยการสถาบันมะเร็งในท์ มหาวิทยาลัยการแพทย์และวิทยาศาสตร์แห่งโอเรกอนสหรัฐอเมริกา ผู้มีผลงานสำคัญในการศึกษาค้นคว้า และวิจัยจนเป็นผู้นำในการพัฒนาหนึ่งในยาต้นแบบของการรักษาโรคมะเร็งแบบมุ่งเป้า คือ อิมาทินิบ สำหรับการรักษาโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวเรื้อรังชนิดซีเอ็มแอล
2)ศาสตราจารย์ ดร.แมรี่ แคลร์ คิง (Professor Dr. Mary-Claire King) ศาสตราจารย์เวชพันธุศาสตร์ ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยวอชิงตัน สหรัฐอเมริกา เป็นผู้ค้นพบยีนที่เป็นสาเหตุของโรคมะเร็งเต้านม ซึ่งเป็นมะเร็งที่พบบ่อยที่สุดในผู้หญิงมีผู้ป่วยใหม่ที่ได้รับการวินิจฉัยมะเร็งเต้านมปีละกว่าสองล้านคน และมีผู้ป่วยเสียชีวิตจากโรคนี้มากถึงสองแสนคนในแต่ละปี
1)ศาสตราจารย์นายแพทย์ไบรอัน เจ. ตรูเคอร์ (Professor Brian J. Druker) ศาสตราจารย์อายุรศาสตร์ และผู้อำนวยการสถาบันมะเร็งในท์ มหาวิทยาลัยการแพทย์และวิทยาศาสตร์แห่งโอเรกอนสหรัฐอเมริกา ผู้มีผลงานสำคัญในการศึกษาค้นคว้า และวิจัยจนเป็นผู้นำในการพัฒนาหนึ่งในยาต้นแบบของการรักษาโรคมะเร็งแบบมุ่งเป้า คือ อิมาทินิบ สำหรับการรักษาโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวเรื้อรังชนิดซีเอ็มแอล
2)ศาสตราจารย์ ดร.แมรี่ แคลร์ คิง (Professor Dr. Mary-Claire King) ศาสตราจารย์เวชพันธุศาสตร์ ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยวอชิงตัน สหรัฐอเมริกา เป็นผู้ค้นพบยีนที่เป็นสาเหตุของโรคมะเร็งเต้านม ซึ่งเป็นมะเร็งที่พบบ่อยที่สุดในผู้หญิงมีผู้ป่วยใหม่ที่ได้รับการวินิจฉัยมะเร็งเต้านมปีละกว่าสองล้านคน และมีผู้ป่วยเสียชีวิตจากโรคนี้มากถึงสองแสนคนในแต่ละปี
ผู้ได้รับพระราชทานรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล สาขาการสาธารณสุข มี 2 ท่าน ดังนี้
1)ศาสตราจารย์ นายแพทย์จอห์น ดี. คลีเมนส์ (Professor John D. Clemens) ผู้อำนวยการบริหารศูนย์วิจัยโรคท้องร่วงนานาชาติ ประเทศบังคลาเทศ ศาสตราจารย์วุฒิคุณระบาดวิทยามหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ลอสแองเจลิส สหรัฐอเมริกา
2)ศาสตราจารย์นายแพทย์ยอน อาร์. โฮล์มเกรน (Professor Jan R. Holmgren) ศาสตราจารย์จุลชีววิทยาการแพทย์ และผู้อำนวยการสถาบันวัคซีนแห่งมหาวิทยาลัยโกเธนเบิร์ก ประเทศสวีเดน ศาสตราจารย์นายแพทย์จอห์น ดี. คลีเมนส์ และศาสตราจารย์นายแพทย์ยอน อาร์. โฮล์มเกรนทำงานร่วมกันเป็นเวลากว่า 30 ปี ในการศึกษาค้นคว้าวิจัยและพัฒนาวัคซีนป้องกันอหิวาตกโรคชนิดกิน ผลงานการศึกษาตั้งแต่ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการสร้างภูมิต้านทานป้องกันอหิวาตกโรคไปสู่การผลิตวัคซีนชนิดกินที่ได้รับการทดสอบทางคลินิกจนเป็นที่ยอมรับโดยองค์การอนามัยโลกของศาสตราจารย์นายแพทย์จอห์น ดี. คลีเมนส์ และ ศาสตราจารย์ นายแพทย์ยอน อาร์. โฮล์มเกรน ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงนโยบายจากวัคซีนชนิดฉีดเป็นการแนะนำให้ใช้วัคซีนชนิดกินแทนและสนับสนุนคลังวัคซีนสำหรับหลายประเทศทั่วโลกที่มีปัญหา หรือมีความเสี่ยงต่อการระบาดของอหิวาตกโรค ทำให้ช่วยป้องกันโรคได้ในวงกว้าง ลดการเสียชีวิตจากอหิวาตกโรคได้ในประชากรหลายล้านคนทั่วโลก
1)ศาสตราจารย์ นายแพทย์จอห์น ดี. คลีเมนส์ (Professor John D. Clemens) ผู้อำนวยการบริหารศูนย์วิจัยโรคท้องร่วงนานาชาติ ประเทศบังคลาเทศ ศาสตราจารย์วุฒิคุณระบาดวิทยามหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ลอสแองเจลิส สหรัฐอเมริกา
2)ศาสตราจารย์นายแพทย์ยอน อาร์. โฮล์มเกรน (Professor Jan R. Holmgren) ศาสตราจารย์จุลชีววิทยาการแพทย์ และผู้อำนวยการสถาบันวัคซีนแห่งมหาวิทยาลัยโกเธนเบิร์ก ประเทศสวีเดน ศาสตราจารย์นายแพทย์จอห์น ดี. คลีเมนส์ และศาสตราจารย์นายแพทย์ยอน อาร์. โฮล์มเกรนทำงานร่วมกันเป็นเวลากว่า 30 ปี ในการศึกษาค้นคว้าวิจัยและพัฒนาวัคซีนป้องกันอหิวาตกโรคชนิดกิน ผลงานการศึกษาตั้งแต่ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการสร้างภูมิต้านทานป้องกันอหิวาตกโรคไปสู่การผลิตวัคซีนชนิดกินที่ได้รับการทดสอบทางคลินิกจนเป็นที่ยอมรับโดยองค์การอนามัยโลกของศาสตราจารย์นายแพทย์จอห์น ดี. คลีเมนส์ และ ศาสตราจารย์ นายแพทย์ยอน อาร์. โฮล์มเกรน ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงนโยบายจากวัคซีนชนิดฉีดเป็นการแนะนำให้ใช้วัคซีนชนิดกินแทนและสนับสนุนคลังวัคซีนสำหรับหลายประเทศทั่วโลกที่มีปัญหา หรือมีความเสี่ยงต่อการระบาดของอหิวาตกโรค ทำให้ช่วยป้องกันโรคได้ในวงกว้าง ลดการเสียชีวิตจากอหิวาตกโรคได้ในประชากรหลายล้านคนทั่วโลก
รางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล ได้รับพระบรมราชานุญาตให้จัดตั้งขึ้นเพื่อเทิดพระเกียรติ สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก โดยมอบเป็นรางวัลให้บุคคล หรือองค์กรทั่วโลกที่มีผลงานดีเด่นเป็นประโยชน์ต่อมนุษยชาติด้านการแพทย์ 1 รางวัลและด้านการสาธารณสุข 1 รางวัล แต่ละรางวัลประกอบด้วยเหรียญรางวัล ประกาศนียบัตร และเงินรางวัล 100, 000 เหรียญสหรัฐ สำหรับปี พ. ศ. 2561 นี้เป็นปีที่ 27 ของการมอบรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล มีผู้เสนอชื่อเข้ารับรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล จำนวน 49 รายจาก 25 ประเทศ การพิจารณาคัดเลือกผู้สมควรได้รับรางวัล พิจารณากลั่นกรองโดยกรรมการที่ปรึกษาทางวิชาการ และคณะกรรมการรางวัลนานาชาติ แล้วนำเสนอให้คณะกรรมการมูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดลในพระบรมราชูปถัมภ์ ซึ่งสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเป็นประธานตัดสินเป็นขั้นสุดท้าย
สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จฯ แทนพระองค์ พระราชทานรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล ประจำปี 2561 ในวันพฤหัสบดีที่ 31 มกราคม 2562 เวลา 17. 30 น. ณ พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท ในพระบรมมหาราชวัง โดยในวันที่ 30 มกราคม 2562 คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล ในฐานะผู้ริเริ่มรางวัลอันทรงเกียรติจะเชิญผู้รับพระราชทานรางวัลฯ มาเยือน และแสดงปาฐกถาเกียรติยศในผลงานที่ได้รับด้วย
รายละเอียดทั้งหมด ที่นี่
รายละเอียดทั้งหมด ที่นี่
https://mahidol.ac.th/th/2018/prince-mahidol-award/
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น