หน้าหลัก ติวสอบดอทคอม เว็บฟรีข้อสอบออนไลน์

หน้าหลัก ติวสอบดอทคอม เว็บฟรีข้อสอบออนไลน์
หน้าหลัก ติวสอบดอทคอม เว็บฟรีข้อสอบออนไลน์

พัฒนาความรู้ สู่ รอง./ผอ.รร. ปี 2567

พัฒนาความรู้ สู่ รอง./ผอ.รร. ปี 2567
พัฒนาความรู้ สู่ รอง./ผอ.รร. ปี 2567

คลิ๊ก "สมัครพัฒนาความรู้สู่ผู้บริหาร / ครูผู้ช่วย

คลิ๊ก... สมัคร พัฒนาความรู้ สู่ ครูผู้ช่วย
คลิ๊ก... สมัคร พัฒนาความรู้ สู่ ผู้บริหาร

ติวสอบดอทคอม (เตรียมสอบครูผู้ช่วย-ผู้บริหาร-บุคลากร การศึกษา)

ติวสอบดอทคอม (เตรียมสอบครูผู้ช่วย-ผู้บริหาร-บุคลากร การศึกษา)
ติวสอบดอทคอม (เว็บฟรีข้อสอบออนไลน์ สอบครู ผู้บริหาร บุคลากร)

วันพุธที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2562

ศธ.ขับเคลื่อนแนวทางการบูรณาการด้านการศึกษาภาคเหนือ

อ่านชัด-อ่านครบ กด ดูเวอร์ชั่นสำหรับเว็บ (ด้านล่าง)

เรื่องใหม่น่าสนใจ  (ทั้งหมด ที่ )


(เนื้อหา-ข้อสอบ 1,000 ชุุด หมื่นข้อ ภาค กข


40 วิชาเอก) ที่ ห้องสอบด้านขวา หรือ 


เว็บฟรีข้อสอบ 1,000 ชุด ที่ ติวสอบดอทคอม 

คลิ๊ก www.tuewsob.com โดย อ.นิกร




 คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้   


ข่าวที่ 22/2562ศธ.ขับเคลื่อนแนวทางการบูรณาการด้านการศึกษาภาคเหนือ

พล.อ.สุรเชษฐ์ ชัยวงศ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานการประชุมมอบนโยบายและแนวทางการบูรณาการด้านการศึกษาระดับภาค (ภาคเหนือ) เพื่อสร้างการรับรู้ ความเข้าใจ ทิศทาง นโยบาย และแนวทางการบูรณาการด้านการศึกษาระดับภาค พร้อมทั้งแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในการบูรณาการด้านการศึกษาระดับภาค (ภาคเหนือ) เพื่อนำแนวทางการบูรณาการการพัฒนาการศึกษาไปสู่การปฏิบัติในระดับภาค โดยมีผู้บริหารเข้าร่วม อาทิ พล.อ.สุทัศน์ กาญจนานนท์กุล ที่ปรึกษารัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ, นายการุณ สกุลประดิษฐ์ ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ, ดร.สุเทพ ชิตยวงษ์ เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา, นายศรีชัย พรประชาธรรม เลขาธิการ กศน., ผู้บริหารศึกษาธิการภาค (ศธภ.) ภาคเหนือ ศึกษาธิการจังหวัด (ศธจ.) ภาคเหนือ ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา (สพท.) และผู้เกี่ยวข้องเข้าร่วม เมื่อวันที่ 14 มกราคม 2562 ณ สำนักงานศึกษาธิการภาค 15 จังหวัดเชียงใหม่
พล.อ.สุรเชษฐ์ ชัยวงศ์ กล่าวว่า การลงพื้นที่เพื่อติดตามการขับเคลื่อนการบูรณาการแผนการศึกษาระดับภูมิภาคครั้งนี้ ได้เชิญศึกษาธิการภาคทั้ง 6 ภาค ที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติแต่งตั้งเมื่อเร็ว ๆ นี้ เพื่อมาพิจารณางานที่ได้เริ่มดำเนินการ รวมทั้งเป็นการกำหนดทิศทางการทำงานในพื้นที่ระดับภูมิภาคให้เกิดการเชื่อมโยงกันอย่างเป็นระบบ ซึ่งมีองค์กรหลักในการทำงานคือ สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ (สป.) สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) และสำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา (สกศ.)
โดยส่วนกลาง จะเป็นผู้กำหนดนโยบายและให้การสนับสนุน รวมถึงข้อระเบียบต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ส่วนในพื้นที่ การบริหารราชการที่รัฐบาลกำหนดให้เป็น 6 ภาค ได้แก่ ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก ภาคใต้ และภาคใต้ชายแดน จะมีศึกษาธิการจังหวัด ตลอดจนส่วนราชการในระดับจังหวัด ร่วมกันทำงานเชื่อมโยงกันหมด เพื่อส่งผลให้เกิดผลสัมฤทธิ์ด้านศึกษาอย่างเป็นรูปธรรมและเกิดความยั่งยืน สอดคล้องกับทิศทางการพัฒนาประเทศในบริบทและมิติต่าง ๆ และบรรลุตามวิสัยทัศน์ของประเทศไทยในปี 2580
 
การประชุมครั้งนี้
แต่ละองค์กรหลักได้รายงานต่อที่ประชุม
ได้รับทราบความก้าวหน้า
แนวทางการบูรณาการ
ด้านการศึกษาระดับภาค (ภาคเหนือ)
 
 
1. สป.ศธ. นำเสนอแนวทางบูรณาการด้านการศึกษาระดับภาค ให้ความสำคัญด้านข้อมูลสารสนเทศ
นายอำนาจ วิชยานุวัติ รองปลัดกระทรวงศึกษาธิการ กล่าวว่า ที่ประชุมได้มีการมอบหมายการทำงาน 3 ส่วนด้วยกัน คือ 1) สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ โดยมีสำนักงานศึกษาธิการภาค 15 เป็นตัวอย่าง และเชิญศึกษาธิการภาคอีก 5 ภาค รวมถึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้องใน สป. คือ สำนักงาน ก.ค.ศ./กศน./สช./ศธจ.ในพื้นที่ มาร่วมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเพิ่มเติม โดยได้กำหนดแนวทางการบูรณาการด้านการศึกษาระดับภาค (ภาคเหนือ) คือ 1) ประชาชนทุกกลุ่มวัยได้รับการศึกษาในระบบต่าง ๆ และเรียนรู้ตลอดชีวิต 2) เด็กและเยาวชน ผู้เรียน มีทัศนคติที่ถูกต้อง มีพื้นฐานชีวิตที่เข้มแข็ง 3) การจัดการศึกษาสอดคล้องกับทิศทางการพัฒนาประเทศ ที่เป็นการบูรณาการแผนงาน โครงการให้มีความสอดคล้องเชื่อมโยงกัน
รวมทั้งการจัดทำงบประมาณเชิงบูรณาการ สามารถตอบสนองต่อการพัฒนาภาคเหนือ คือ "ฐานเศรษฐกิจสร้างสรรค์มูลค่าสูง เชื่อมโยงเศรษฐกิจกับประเทศในกลุ่มอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง"
อย่างไรก็ตาม สิ่งที่ ศธ. ให้ความสำคัญเป็นอันดับแรกคือ ข้อมูลสารสนเทศ โดยรัฐบาลมอบหมายให้ ศธ. ดูแล Big Data 2 เรื่อง คือ ข้อมูลจำนวนเด็กในวัยเรียน และข้อมูลความต้องการกำลังคนด้านอาชีวศึกษา ซึ่งส่วนภูมิภาคจะมีบทบาทสำคัญในการเชื่อมโยงข้อมูลเหล่านี้ด้วย เพื่อให้เกิดการบูรณาการร่วมกันกับส่วนกลางอย่างแท้จริง

2. อาชีวะ เชื่อมโยงทุกหน่วยต่อเนื่อง เร่งจัดทำ Big Data ของศูนย์ประสานงานฯ  ภาคเหนือ 3 ศูนย์ย่อยให้เสร็จในเดือนกุมภาพันธ์นี้
นายสุเทพ ชิตยวงษ์ เลขาธิการ กอศ. กล่าวว่า สอศ. มีการบูรณาการร่วมกับ สพฐ./สกอ./กศน. อย่างต่อเนื่อง เช่น เรื่องของหลักสูตรของอาชีวศึกษาที่เชื่อโยงกับการศึกษาขั้นพื้นฐานและอุดมศึกษา โดยจะดำเนินการก่อนเปิดภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2562, เรื่องการจัดการศึกษาของผู้พิการ ปัจจุบันมีเด็กที่อยู่ในระบบจำนวน 4,343 คน, โครงการทุนการศึกษาเฉลิมราชกุมารี นักเรียนของอาชีวศึกษาได้รับทุน จำนวน 120 ทุน, การจัดการศึกษาเรียนร่วมหลักสูตรอาชีวศึกษาและมัธยมศึกษาตอนปลาย (ทวิศึกษา) ปีที่ผ่านมา สอศ. จัดสรรงบประมาณจำนวน 237 ล้านบาท มีผู้เรียน 40,000 คน ตลอดจนดำเนินงานโครงการโรงเรียนประชารัฐประชารัฐ ร่วมกับหน่วยงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งเป็นการบูรณาการที่เป็นรูปธรรมอย่างชัดเจน
นายศุภพิสิษฐ์ ไกรศรวัชร ผู้อำนวยการวิทยาลัยพณิชยการบึงพระพิษณุโลก รายงานเกี่ยวกับข้อมูลศูนย์ประสานงานการผลิตและพัฒนากำลังคนอาชีวศึกษาภาคเหนือ มีจำนวน 3 ศูนย์ ประกอบด้วย 1) ศูนย์ประสานงานการผลิตและพัฒนากำลังคนอาชีวศึกษาภาคเหนือตอนบน 1 และ 2  2) ศูนย์ประสานงานการผลิตและพัฒนากำลังคนอาชีวศึกษาภาคเหนือตอนล่าง 1 และ 3) ศูนย์ประสานงานการผลิตและพัฒนากำลังคนอาชีวศึกษาภาคเหนือตอนล่าง 2
ซึ่งทุกศูนย์ฯ มีภารกิจเร่งงดวน คือ จัดเก็บข้อมูลสถานประกอบการที่ลงทะเบียนกับกรมโรงงานอุตสาหกรรม โดยจัดประชุมผู้รับผิดชอบของสถาบันอาชีวศึกษาภาคเหนือตามศูนย์กลุ่มจังหวัด เพื่อชี้แจงแนวทางการปฏิบัติงาน ในการนำสถานประกอบการที่จดทะเบียนกับกรมโรงงานอุตสาหกรรม มาลงทะเบียนในระบบ Big Data System ให้เสร็จสิ้นทั้งหมดภายในเดือนกุมภาพันธ์ 2562

3. สถาบัน กศน.ภาคเหนือ ร่วมขับเคลื่อนระดับพื้นที่ ขานรับนโยบายของรัฐบาล
นายศรีชัย พรประชาธรรม เลขาธิการ กศน. กล่าวถึงการดำเนินงานตามนโยบายของรัฐบาล โดยชูบทบาทของ "สถาบัน กศน.ภาคเหนือ" เพื่อบูรณาการร่วมกับศึกษาธิการภาคและศึกษาธิการจังหวัด ตามโครงสร้างการขับเคลื่อนการปฏิรูปการศึกษาในภูมิภาคของ ศธ. ซึ่งมีผลงานดำเนินงาน ดังนี้
1) สนับสนุนการขยายผลชุมชนต้นแบบตามโครงการไทยนิยม ยั่งยืน เป้าหมายคือให้เกิดความชัดเจนสำเร็จเป็นรูปธรรม และให้ความสำคัญกับระบบรายงานเป็นพิเศษ มีการกำหนดช่วงเวลาการทำงานให้มีความชัดเจน รวมถึงดำเนินการไปให้ครบทุกชุมชนต้นแบบ
2) มอบหมายให้สถาบัน กศน.ภาคเหนือ เข้าไปเป็นผู้ชี้แจงดำเนินการแก้ไขปัญหาประชากรที่อยู่นอกระบบ การศึกษาในภูมิภาค โดยตั้งเป้าให้เป็นแห่งแรกที่สามารถทำการเก็บประชากรตกหล่นให้ได้ผลมากที่สุด จากนั้นจึงดำเนินการคืนเด็กตกหล่นเหล่านี้เข้าสู่ระบบการศึกษา ซึ่งมีเป้าหมายจะทำให้สำเร็จก่อนเปิดภาคเรียนในเดือนมีนาคม 2562
3) ขยายผลการอบรมหลักสูตรการค้าออนไลน์อย่างเป็นรูปธรรม โดยเน้นที่หน้าเพจของร้านค้า ซึ่งได้รับความร่วมมือและคำปรึกษาจากมหาวิทยาลัยบูรพา เข้ามาช่วยดำเนินการและให้แนวคิดในการพัฒนาหลักสูตร
4) ส่งเสริมให้ประชากรอ่านออกเขียนได้ ซึ่ง กศน.มีวัตถุดิบที่เป็นเรื่องของการอ่านในพื้นที่อยู่แล้ว คือห้องสมุดของ กศน.จำนวนกว่า 900 แห่ง มีห้องสมุดทุกรูปแบบ เช่น ห้องสมุดชาวตลาด ห้องสมุดชาวเรือ ห้องสมุดเคลื่อนที่ เป็นต้น โดยปีนี้ กศน.จะเพิ่มเรื่องการอ่านให้ประชาชนสามารถอ่านออกเขียนได้ครบทั้ง 4 กระบวนการทักษะ คือ ฟัง พูด อ่าน เขียน ตลอดจนส่งเสริมการเรียนภาษาที่ 2 และ 3 เพื่อขานรับยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปีอีกด้วย
5) ส่งเสริมการเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม คือการบริหารจัดการขยะภายในชุมชน รวมทั้งการลดการใช้พลาสติกลงให้ได้
นอกจากนี้ จะขอเสนอเปิดสถาบัน กศน.ภาคใต้ชายแดนเพิ่มให้ครบ 6 ภาค เนื่องจากเดิม กศน.มี 5 ภาค ขณะที่สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ กำหนดภาคการพัฒนาออกเป็น 6 ภาค จึงควรเพิ่มสถาบัน กศน.ภาคใต้ชายแดนขึ้น เพื่อขอบูรณาการร่วมกับศึกษาธิการภาคใต้ชายแดนและสำนักงาน กศน.ภายใต้ข้อสั่งการสำคัญที่เรียกว่า กศน.เข้มแข็ง ในปี 2562 ให้ได้

 
รมช.ศธ.มอบแนวทางดำเนินงาน และข้อเสนอแนะในการทำงาน
พล.อ.สุรเชษฐ์ ชัยวงศ์ กล่าวเพิ่มเติมภายหลังรับฟังรายงานของทุกหน่วยงานว่า การประชุมครั้งนี้เป็นการชี้แจงทิศทางการทำงานที่ชัดเจนมาก ซึ่งแต่ละหน่วยงานชี้ให้เห็นแล้วว่าจะเชื่อมโยงการทำงานในส่วนของภาคเหนืออย่างไร จึงฝากแนวทางดำเนินการ ดังนี้
  • ให้ไปดำเนินการเพิ่มเติมในส่วนขยายให้เชื่อมโยงกัน  ซึ่งศึกษาธิการภาคจะต้องมีลักษณะประจำตัว คือ "เป็นนักเชื่อมโยง" ไม่ว่าจะเป็นในระดับภาคหรือในระดับพื้นที่ เพื่อให้เกิดการบูรณาการอย่างแท้จริง
  • พื้นที่นวัตกรรมการศึกษา 6 ภาค  ถือเป็นเรื่องใหม่ที่คาดว่าจะเข้าสู่การพิจารณาของ สนช.ในเร็ว ๆ นี้ จะเป็นการพัฒนาการศึกษาแบบที่เรียกว่าพลิกโฉมหรือมีการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญ โดยนำร่องภาคละ 1 จังหวัด ที่เชียงใหม่ (ภาคเหนือ) ศรีสะเกษ (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ) กาญจนบุรี (ภาคกลาง) สตูล (ภาคใต้) และยะลา-นราธิวาส-ปัตตานี (ภาคใต้ชายแดน) เพื่อให้เกิดความรอบคอบ ซึ่งเมื่อออกเป็น พ.ร.บ.แล้ว จะมีการออกเป็นกฎหมายบังคับใช้ โดยให้มีกรอบการทำงาน 7 ปี มีการทบทวนเป็นระยะ หากการนำร่องก้าวหน้าด้วยดี ก็จะทำให้เกิดความเข้มแข็งในลำดับต่อไป ซึ่งในส่วนของ สพฐ.ก็ได้มีการขยายงานเรื่องนี้ โดยการนำเทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามาใช้ในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา ซึ่งมีการประชุม "EDU Digital 2019" ที่จังหวัดเชียงใหม่ เมื่อต้นเดือนที่ผ่านมา และจะดำเนินการในภาคอื่น ๆ ต่อไป
  • การพัฒนาคุณภาพประชากรด้วยการออกกำลังกาย หรือการนำการกีฬาเข้าสู่วงการศึกษาตามนโยบายของรัฐบาล  ศธ.ได้รับมอบหมายดำเนินการรณรงค์ให้ประชาชนร่วมออกกำลังกาย โดยในห้วง 3-4 เดือนที่ผ่านมา ศธ.เปิดสถานศึกษาให้ประชาชนได้เข้ามาใช้เล่นกีฬาและออกกำลังกาย โดยเฉพาะสถานศึกษาของ สพฐ. ที่มีกว่า 30,000 แห่ง จึงขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ไปดำเนินการในส่วนนี้ต่อไป เพราะพื้นฐานสุขภาพเป็นเรื่องที่จะทำให้เกิดคุณภาพของประชากรทั้งการพัฒนาจิตใจ ร่างกาย ทักษะความรู้เพิ่มเติม รวมถึงการมีคุณธรรมด้วย
  • ให้แต่ละภาคจัดทำข้อมูลสารสนเทศของทุกภาคให้เป็นระบบ โดยใช้งบประมาณ ฐานข้อมูล และบุคลากรที่มีอยู่แล้วมาดำเนินการ เนื่องจากเมื่อ "ฐานข้อมูลมีความสมบูรณ์" ก็จะนำไปสู่การทำงาน กำกับดูแล ติดตามผลได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  • เน้นสร้างการรับรู้ความเข้าใจให้เกิดขึ้น  ขณะที่การดำเนินงานทุกขั้นตอน ทุกหน่วยงานต้องสร้างการรับรู้ควบคู่ไปด้วย และหากมีความจำเป็นในเรื่องของระเบียบต่าง ๆ ก็สามารถนำเสนอเข้ามาได้
รมช.ศึกษาธิการ กล่าวเพิ่มเติมด้วยว่า มติ ครม. เมื่อเร็ว ๆ นี้ ได้รับทราบเรื่องที่ประเทศไทยจะเป็นประธานการจัดประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียน ซึ่ง ศธ. มีประเด็นที่เกี่ยวข้อง คือ การแลกเปลี่ยนนักศึกษา การแก้ไขปัญหาประชากรวัยเรียนที่อยู่นอกระบบการศึกษา และการเรียนรู้ของอาชีวศึกษา จึงขอให้ทุกหน่วยงานที่รับผิดชอบเตรียมข้อมูลนำเสนอในที่ประชุมด้วย โดยเฉพาะ กศน./สอศ.จะต้องเป็นเจ้าภาพในการประชุม เนื่องจากได้มีการคัดกรองและผ่านมติของที่ประชุมรัฐมนตรีศึกษาอาเซียน ให้เป็นเจ้าภาพการประชุมในเรื่องดังกล่าว ซึ่งถือเป็นเกียรติยศของประเทศไทยที่ได้เป็นเจ้าภาพในครั้งนี้


ที่มา; เว็บ สำนักงานรัฐมนตรีกระทรวงศึกษาธิการ

 คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้   

โดย  อ./ผอ.นิกร  ติวสอบดอทคอม 
(ฟรีสรุป-ข้อสอบ-เฉลย ภาค กขค)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

พัฒนาความรู้ครูผู้ช่วย 4 ภาค

พัฒนาความรู้ครูผู้ช่วย 4 ภาค
พัฒนาความรู้ครูผู้ช่วย 4 ภาค

ห้องสนทนา บน facebook

ห้องสนทนา บน facebook
ห้องสนทนาติวสอบดอทคอม

ข้อสอบออนไลน์ "ติวสอบดอทคอม" ชุดใหม่

คู่มือเตรียมสอบผู้บริหาร ภาค ก ข ค

แจ้งย้ายเว็บไปที่ www.tuewsob.com

คู่มือเตรียมสอบผู้บริหาร ภาค ก ข ค (ปรับปรุงใหม่)

รวม เล่ม + แผ่นพับ + ชีตช่วยจำ + DVD เนื้อหา + เสียงบรรยาย + EMS = 800 บาท
สนใจ คู่มือ ภาค ก ข ค ผู้บริหาร คลิ๊กเลย

สั่งจอง... โอนเงินเข้าชื่อบัญชี นายนิกร เพ็งลี ธนาคารกรุงไทย สาขาจอหอ บัญชีเลขที่ 341-1-38912-5 โอนเงินแล้วกรุณาโทรแจ้ง
0872494141 หรือ 0839660030

คู่มือ เตรียมสอบผู้บริหาร

คู่มือ เตรียมสอบผู้บริหาร
คู่มือ เตรียมสอบผู้บริหาร

ติวสอบออนไลน์ บน facebook

ติวสอบออนไลน์ บน facebook
ติวสอบออนไลน์ บน facebook

คลังหนังสือ ติวสอบดอทคอม

คลังหนังสือ ติวสอบดอทคอม
คลังหนังสือ ติวสอบดอทคอม

ติวสอบดอทคอม

ติวสอบดอทคอม
ติวสอบดอทคอม