อ่านชัด-อ่านครบ กด ดูเวอร์ชั่นสำหรับเว็บ (ด้านล่าง)
เรื่องใหม่น่าสนใจ (ทั้งหมด ที่ )
(เนื้อหา-ข้อสอบ 1,000 ชุุด หมื่นข้อ ภาค กข
+ 40 วิชาเอก) ที่ ห้องสอบด้านขวา หรือ
เว็บฟรีข้อสอบ 1,000 ชุด ที่ ติวสอบดอทคอม
คลิ๊ก www.tuewsob.com โดย อ.นิกร
( คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้
( คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้
เตรียมความรู้ผู้บริหารสถาน (รอง/ผอ.รร.)
เตรียมสอบติวสอบครูผู้ช่วยกรณีพิเศษ + ทั่วไป
ข่าว ที่ 34/2562รมช.ศธ. ประชุมคณะกรรมการฯ โรงเรียนร่วมพัฒนา ที่จังหวัดเชียงราย
ศาสตราจารย์คลินิก นพ.อุดม คชินทร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการพัฒนานวัตกรรมการบริหารจัดการศึกษาในรูปแบบโรงเรียนร่วมพัฒนา (Partnership School) เพื่อรองรับการขับเคลื่อนการปฏิรูปการศึกษาตามนโยบาย Thailand 4.0 ครั้งที่ 1/2562 พร้อมทั้งตรวจเยี่ยมโรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 15 (เวียงเก่าแสนภูวิทยาประสาท) ซึ่งเป็นโรงเรียนต้นแบบการเตรียมอาชีพให้กับนักเรียน โดยมี ผศ.วีรสิทธิ์ สิทธิไตรย์ ที่ปรึกษารัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ, รศ.นพ.ปรีชา สุนทรานันท์ ผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ, นายสนิท แย้มเกษร รองเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน, ผู้บริหารภาคเอกชนที่ให้การสนับสนุน, ผู้บริหารสถานศึกษา, ผู้แทนชุมชน ตลอดจนคณะครู และนักเรียน ให้การต้อนรับและเข้าร่วมงาน เมื่อวันจันทร์ที่ 21 มกราคม 2562 ณ โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 15 (เวียงเก่าแสนภูวิทยาประสาท) อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย
ประชุมคณะกรรมการพัฒนานวัตกรรมการบริหารจัดการศึกษาในรูปแบบโรงเรียนร่วมพัฒนา (Partnership School)
รมช.ศึกษาธิการ กล่าวว่า รัฐบาลและกระทรวงศึกษาธิการ มีนโยบายในการยกระดับและพัฒนาคุณภาพการศึกษาในรูปแบบโรงเรียนร่วมพัฒนา (Partnership School) โดยสนับสนุนให้ทุกภาคส่วนเข้ามามีส่วนร่วมจัดการศึกษา มุ่งหวังให้การยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาประสบผลสำเร็จ รวมทั้งเป็นการสร้างโรงเรียนที่มีคุณภาพเทียบเท่าโรงเรียนในเมืองให้กับประชาชนในพื้นที่ บุตรหลานได้เรียนใกล้บ้านมีความอบอุ่นปลอดภัย เตรียมทักษะชีวิตและทักษะอาชีพ ตลอดจนเป็นศูนย์กลางพัฒนาคนทุกช่วงวัยเชื่อมโยงสู่ชุมชน
สำหรับโรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 15 ได้มีแนวทางในการพัฒนาทักษะอาชีพโดยใช้แนวคิดในรูปแบบเดียวกับโรงเรียนร่วมพัฒนา กระทรวงศึกษาธิการจึงได้นำผู้อำนวยการโรงเรียนในโครงการโรงเรียนร่วมพัฒนา รุ่นที่ 1 จำนวน 50 แห่ง มาศึกษาดูงานเพื่อนำความรู้ได้รับกลับไปวางแผนขับเคลื่อนโรงเรียนร่วมพัฒนาให้มีความเข้มแข็งและประสบผลสำเร็จต่อไป
ผศ.วีรสิทธิ์ สิทธิไตรย์ ที่ปรึกษารัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ กล่าวว่า ขณะนี้โรงเรียนร่วมพัฒนามีเป้าหมายและกรอบการดำเนินงานที่ชัดเจน อีกทั้งได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และคนในชุมชน ซึ่งหลายท่านก็ได้เปลี่ยนวิธีการทำงานและเปลี่ยนวิธีคิด ก้าวข้ามปัญหาและอุปสรรคมุ่งไปสู่ความสำเร็จ ทั้งนี้ โรงเรียนร่วมพัฒนารุ่นแรกถือเป็นโครงการนำร่อง และในอนาคตควรมีโรงเรียนในรูปแบบดังกล่าวประมาณ 5,000 แห่ง เพื่อให้เกิดผลกระทบเชิงบวกกับนักเรียน ประชาชน และประเทศชาติ โดยจะเป็นการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานรูปแบบใหม่ และคาดหวังว่าโรงเรียนร่วมพัฒนา รุ่นที่ 1 จะเป็นรุ่นพี่และเป็นต้นแบบนำระบบการศึกษาที่ทำงานร่วมกันทุกภาคส่วนไปสู่ความเป็นสากลได้
ผู้แทนภาคเอกชนที่ให้การสนับสนุนโรงเรียนร่วมพัฒนา กล่าวว่า การได้มาร่วมประชุมและศึกษาดูงานในครั้งนี้ ถือเป็นโอกาสอันดีที่ได้มารับทราบความชัดเจนและกรอบการทำงานของโรงเรียนร่วมพัฒนา พร้อมทั้งได้พบปะกับผู้อำนวยการโรงเรียนในโครงการฯ ที่ภาคเอกชนให้การสนับสนุน ซึ่งการศึกษาดูงานโรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 15 ที่เป็นต้นแบบด้านการเตรียมอาชีพและสามารถพัฒนาสถานศึกษาให้มีความยั่งยืน ทำให้สามารถนำความรู้กลับไปปรับใช้ในการพัฒนาโรงเรียนร่วมพัฒนาร่วมกับผู้อำนวยการโรงเรียนได้
ผู้แทนผู้อำนวยการโรงเรียนในโครงการโรงเรียนร่วมพัฒนา รุ่นที่ 1 กล่าวว่า ผู้บริหารสถานศึกษาตามโครงการโรงเรียนร่วมพัฒนาได้รับความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโครงการฯ มากขึ้น อันจะนำไปสู่แนวทางการปฏิบัติตามแผนและกรอบการดำเนินงานที่ได้กำหนดไว้ในระยะเวลา 5 ปี โดยมีวัตถุประสงค์สำคัญ 4 ด้าน คือ การบริหารจัดการ การยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษา การสร้างทักษะชีวิตและอาชีพ และการสร้างคนดีสู่การพัฒนาชุมชน อีกทั้ง ถือเป็นโอกาสสำคัญที่สถานศึกษาได้ทำงานร่วมกับภาคเอกชนและมีผลการดำเนินงานที่เป็นรูปธรรมชัดเจน
นอกจากนี้ ที่ประชุมรับทราบความก้าวหน้าการดำเนินงานโรงเรียนร่วมพัฒนา ซึ่งได้รายงานต่อ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ในการประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อนการปฏิรูปเพื่อรองรับการปรับเปลี่ยนตามนโยบาย Thailand 4.0 เมื่อวันที่ 3 มกราคม 2562 โดยโรงเรียนร่วมพัฒนา รุ่นที่ 1 ได้เริ่มดำเนินการในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2561 มีโรงเรียนเข้าร่วมโครงการ จำนวน 50 โรงเรียนใน 34 จังหวัด เป็นสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) จำนวน 47 แห่ง, สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) จำนวน 2 แห่ง และสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) จำนวน 1 แห่ง ซึ่งมีผู้สนับสนุนภาคเอกชนและหน่วยงานต่าง ๆ จำนวน 12 แห่ง
สำหรับโครงการโรงเรียนร่วมพัฒนา รุ่นที่ 2 จะเริ่มดำเนินการในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2562 โดยมีสถานศึกษาแสดงความจำนงเข้าร่วมโครงการ จำนวน 71 แห่ง เป็นสถานศึกษาสังกัด สพฐ. จำนวน 65 แห่ง และ สอศ. จำนวน 6 แห่ง ในขณะที่มีภาคเอกชนให้ความสนใจเป็นผู้สนับสนุนรายใหม่ จำนวน 11 แห่ง รวมสถานศึกษารุ่นที่ 1 และ 2 จำนวน 121 แห่งใน 54 จังหวัด โดยจะมีพิธีลงนามบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือ "โครงการโรงเรียนร่วมพัฒนา" (Partnership School Project) ระหว่างกระทรวงศึกษาธิการ กับหน่วยงานผู้ให้การสนับสนุนภาคเอกชน โดยมี พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม เป็นประธาน ทั้งนี้ กระทรวงศึกษาธิการตั้งเป้าหมายให้มีโรงเรียนร่วมพัฒนาครอบคลุมทั้ง 76 จังหวัดและกรุงเทพมหานคร ภายในปี 2562
นอกจากนี้ ที่ประชุมได้รับทราบความก้าวหน้าของคณะกรรมการสถานศึกษาโครงการโรงเรียนร่วมพัฒนาซึ่งราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 17 มกราคม 2562 ได้เผยแพร่ระเบียบคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ว่าด้วยการกำหนดองค์ประกอบ หลักเกณฑ์ วิธีการสรรหา และจำนวนกรรมการสถานศึกษา สำหรับสถานศึกษารูปแบบโรงเรียนร่วมพัฒนา พ.ศ. 2561 ซึ่งลงนามโดยประธานกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (นายปิยะบุตร ชลวิจารณ์) โดยกำหนดให้แต่ละสถานศึกษามี "คณะกรรมการสถานศึกษา" จำนวน 15 คน มาจากบุคคลหลายฝ่ายในชุมชน พร้อมกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการสรรหาประธานกรรมการและกรรมการ เพื่อเสนอผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาพิจารณาแต่งตั้ง
อีกทั้งได้รับทราบแนวทางการติดตาม ประเมินผล และวิจัย โครงการโรงเรียนร่วมพัฒนา ซึ่งคณะกรรมการติดตาม ประเมินผลและวิจัย ได้กำหนดปฏิทินการดำเนินการติดตาม ประเมินผลและวิจัย โรงเรียนร่วมพัฒนารุ่นที่ 1 ในช่วงภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2562 โดยจะเป็นการติดตามและประเมินผลเชิงบวก เมื่อพบเจอปัญหาจะให้คำแนะนำและร่วมกันหาทางแก้ไข โดยคาดว่าจะรายงานผลการติดตามและประเมินให้คณะกรรมการฯ ทราบในช่วงเดือนมิถุนายน 2562
เตรียมความรู้ผู้บริหารสถาน (รอง/ผอ.รร.)
เตรียมสอบติวสอบครูผู้ช่วยกรณีพิเศษ + ทั่วไป
ข่าว ที่ 34/2562รมช.ศธ. ประชุมคณะกรรมการฯ โรงเรียนร่วมพัฒนา ที่จังหวัดเชียงราย
ศาสตราจารย์คลินิก นพ.อุดม คชินทร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการพัฒนานวัตกรรมการบริหารจัดการศึกษาในรูปแบบโรงเรียนร่วมพัฒนา (Partnership School) เพื่อรองรับการขับเคลื่อนการปฏิรูปการศึกษาตามนโยบาย Thailand 4.0 ครั้งที่ 1/2562 พร้อมทั้งตรวจเยี่ยมโรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 15 (เวียงเก่าแสนภูวิทยาประสาท) ซึ่งเป็นโรงเรียนต้นแบบการเตรียมอาชีพให้กับนักเรียน โดยมี ผศ.วีรสิทธิ์ สิทธิไตรย์ ที่ปรึกษารัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ, รศ.นพ.ปรีชา สุนทรานันท์ ผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ, นายสนิท แย้มเกษร รองเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน, ผู้บริหารภาคเอกชนที่ให้การสนับสนุน, ผู้บริหารสถานศึกษา, ผู้แทนชุมชน ตลอดจนคณะครู และนักเรียน ให้การต้อนรับและเข้าร่วมงาน เมื่อวันจันทร์ที่ 21 มกราคม 2562 ณ โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 15 (เวียงเก่าแสนภูวิทยาประสาท) อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย
ประชุมคณะกรรมการพัฒนานวัตกรรมการบริหารจัดการศึกษาในรูปแบบโรงเรียนร่วมพัฒนา (Partnership School)
รมช.ศึกษาธิการ กล่าวว่า รัฐบาลและกระทรวงศึกษาธิการ มีนโยบายในการยกระดับและพัฒนาคุณภาพการศึกษาในรูปแบบโรงเรียนร่วมพัฒนา (Partnership School) โดยสนับสนุนให้ทุกภาคส่วนเข้ามามีส่วนร่วมจัดการศึกษา มุ่งหวังให้การยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาประสบผลสำเร็จ รวมทั้งเป็นการสร้างโรงเรียนที่มีคุณภาพเทียบเท่าโรงเรียนในเมืองให้กับประชาชนในพื้นที่ บุตรหลานได้เรียนใกล้บ้านมีความอบอุ่นปลอดภัย เตรียมทักษะชีวิตและทักษะอาชีพ ตลอดจนเป็นศูนย์กลางพัฒนาคนทุกช่วงวัยเชื่อมโยงสู่ชุมชน
สำหรับโรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 15 ได้มีแนวทางในการพัฒนาทักษะอาชีพโดยใช้แนวคิดในรูปแบบเดียวกับโรงเรียนร่วมพัฒนา กระทรวงศึกษาธิการจึงได้นำผู้อำนวยการโรงเรียนในโครงการโรงเรียนร่วมพัฒนา รุ่นที่ 1 จำนวน 50 แห่ง มาศึกษาดูงานเพื่อนำความรู้ได้รับกลับไปวางแผนขับเคลื่อนโรงเรียนร่วมพัฒนาให้มีความเข้มแข็งและประสบผลสำเร็จต่อไป
ผศ.วีรสิทธิ์ สิทธิไตรย์ ที่ปรึกษารัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ กล่าวว่า ขณะนี้โรงเรียนร่วมพัฒนามีเป้าหมายและกรอบการดำเนินงานที่ชัดเจน อีกทั้งได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และคนในชุมชน ซึ่งหลายท่านก็ได้เปลี่ยนวิธีการทำงานและเปลี่ยนวิธีคิด ก้าวข้ามปัญหาและอุปสรรคมุ่งไปสู่ความสำเร็จ ทั้งนี้ โรงเรียนร่วมพัฒนารุ่นแรกถือเป็นโครงการนำร่อง และในอนาคตควรมีโรงเรียนในรูปแบบดังกล่าวประมาณ 5,000 แห่ง เพื่อให้เกิดผลกระทบเชิงบวกกับนักเรียน ประชาชน และประเทศชาติ โดยจะเป็นการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานรูปแบบใหม่ และคาดหวังว่าโรงเรียนร่วมพัฒนา รุ่นที่ 1 จะเป็นรุ่นพี่และเป็นต้นแบบนำระบบการศึกษาที่ทำงานร่วมกันทุกภาคส่วนไปสู่ความเป็นสากลได้
ผู้แทนภาคเอกชนที่ให้การสนับสนุนโรงเรียนร่วมพัฒนา กล่าวว่า การได้มาร่วมประชุมและศึกษาดูงานในครั้งนี้ ถือเป็นโอกาสอันดีที่ได้มารับทราบความชัดเจนและกรอบการทำงานของโรงเรียนร่วมพัฒนา พร้อมทั้งได้พบปะกับผู้อำนวยการโรงเรียนในโครงการฯ ที่ภาคเอกชนให้การสนับสนุน ซึ่งการศึกษาดูงานโรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 15 ที่เป็นต้นแบบด้านการเตรียมอาชีพและสามารถพัฒนาสถานศึกษาให้มีความยั่งยืน ทำให้สามารถนำความรู้กลับไปปรับใช้ในการพัฒนาโรงเรียนร่วมพัฒนาร่วมกับผู้อำนวยการโรงเรียนได้
ผู้แทนผู้อำนวยการโรงเรียนในโครงการโรงเรียนร่วมพัฒนา รุ่นที่ 1 กล่าวว่า ผู้บริหารสถานศึกษาตามโครงการโรงเรียนร่วมพัฒนาได้รับความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโครงการฯ มากขึ้น อันจะนำไปสู่แนวทางการปฏิบัติตามแผนและกรอบการดำเนินงานที่ได้กำหนดไว้ในระยะเวลา 5 ปี โดยมีวัตถุประสงค์สำคัญ 4 ด้าน คือ การบริหารจัดการ การยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษา การสร้างทักษะชีวิตและอาชีพ และการสร้างคนดีสู่การพัฒนาชุมชน อีกทั้ง ถือเป็นโอกาสสำคัญที่สถานศึกษาได้ทำงานร่วมกับภาคเอกชนและมีผลการดำเนินงานที่เป็นรูปธรรมชัดเจน
นอกจากนี้ ที่ประชุมรับทราบความก้าวหน้าการดำเนินงานโรงเรียนร่วมพัฒนา ซึ่งได้รายงานต่อ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ในการประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อนการปฏิรูปเพื่อรองรับการปรับเปลี่ยนตามนโยบาย Thailand 4.0 เมื่อวันที่ 3 มกราคม 2562 โดยโรงเรียนร่วมพัฒนา รุ่นที่ 1 ได้เริ่มดำเนินการในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2561 มีโรงเรียนเข้าร่วมโครงการ จำนวน 50 โรงเรียนใน 34 จังหวัด เป็นสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) จำนวน 47 แห่ง, สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) จำนวน 2 แห่ง และสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) จำนวน 1 แห่ง ซึ่งมีผู้สนับสนุนภาคเอกชนและหน่วยงานต่าง ๆ จำนวน 12 แห่ง
สำหรับโครงการโรงเรียนร่วมพัฒนา รุ่นที่ 2 จะเริ่มดำเนินการในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2562 โดยมีสถานศึกษาแสดงความจำนงเข้าร่วมโครงการ จำนวน 71 แห่ง เป็นสถานศึกษาสังกัด สพฐ. จำนวน 65 แห่ง และ สอศ. จำนวน 6 แห่ง ในขณะที่มีภาคเอกชนให้ความสนใจเป็นผู้สนับสนุนรายใหม่ จำนวน 11 แห่ง รวมสถานศึกษารุ่นที่ 1 และ 2 จำนวน 121 แห่งใน 54 จังหวัด โดยจะมีพิธีลงนามบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือ "โครงการโรงเรียนร่วมพัฒนา" (Partnership School Project) ระหว่างกระทรวงศึกษาธิการ กับหน่วยงานผู้ให้การสนับสนุนภาคเอกชน โดยมี พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม เป็นประธาน ทั้งนี้ กระทรวงศึกษาธิการตั้งเป้าหมายให้มีโรงเรียนร่วมพัฒนาครอบคลุมทั้ง 76 จังหวัดและกรุงเทพมหานคร ภายในปี 2562
นอกจากนี้ ที่ประชุมได้รับทราบความก้าวหน้าของคณะกรรมการสถานศึกษาโครงการโรงเรียนร่วมพัฒนาซึ่งราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 17 มกราคม 2562 ได้เผยแพร่ระเบียบคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ว่าด้วยการกำหนดองค์ประกอบ หลักเกณฑ์ วิธีการสรรหา และจำนวนกรรมการสถานศึกษา สำหรับสถานศึกษารูปแบบโรงเรียนร่วมพัฒนา พ.ศ. 2561 ซึ่งลงนามโดยประธานกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (นายปิยะบุตร ชลวิจารณ์) โดยกำหนดให้แต่ละสถานศึกษามี "คณะกรรมการสถานศึกษา" จำนวน 15 คน มาจากบุคคลหลายฝ่ายในชุมชน พร้อมกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการสรรหาประธานกรรมการและกรรมการ เพื่อเสนอผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาพิจารณาแต่งตั้ง
อีกทั้งได้รับทราบแนวทางการติดตาม ประเมินผล และวิจัย โครงการโรงเรียนร่วมพัฒนา ซึ่งคณะกรรมการติดตาม ประเมินผลและวิจัย ได้กำหนดปฏิทินการดำเนินการติดตาม ประเมินผลและวิจัย โรงเรียนร่วมพัฒนารุ่นที่ 1 ในช่วงภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2562 โดยจะเป็นการติดตามและประเมินผลเชิงบวก เมื่อพบเจอปัญหาจะให้คำแนะนำและร่วมกันหาทางแก้ไข โดยคาดว่าจะรายงานผลการติดตามและประเมินให้คณะกรรมการฯ ทราบในช่วงเดือนมิถุนายน 2562
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น