อ่านชัด-อ่านครบ กด ดูเวอร์ชั่นสำหรับเว็บ (ด้านล่าง)
เรื่องใหม่น่าสนใจ (ทั้งหมด ที่ )
(เนื้อหา-ข้อสอบ 1,000 ชุุด หมื่นข้อ ภาค กข
+ 40 วิชาเอก) ที่ ห้องสอบด้านขวา หรือ
เว็บฟรีข้อสอบ 1,000 ชุด ที่ ติวสอบดอทคอม
คลิ๊ก www.tuewsob.com โดย อ.นิกร
( คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้
( คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้
เตรียมความรู้ผู้บริหารสถาน (รอง/ผอ.รร.)
เตรียมสอบติวสอบครูผู้ช่วยกรณีพิเศษ + ทั่วไป
เตรียมความรู้ผู้บริหารสถาน (รอง/ผอ.รร.)
เตรียมสอบติวสอบครูผู้ช่วยกรณีพิเศษ + ทั่วไป
รายการ “ศาสตร์พระราชา สู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน” วันศุกร์ที่ 4 มกราคม 2562
พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี กล่าวในรายการ “ศาสตร์พระราชา สู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน” ออกอากาศทางโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย วันศุกร์ที่ 4 มกราคม 2562 เวลา 20.15 น.
สวัสดีปีใหม่ พ่อแม่พี่น้องชาวไทยที่รักทุกท่าน
รายการ “ศาสตร์พระราชา สู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน” ในคืนวันนี้ เป็นครั้งแรกของปีใหม่ พ.ศ. 2562 ซึ่งก็เป็นปีใหม่ครั้งที่ 5 นะครับ ที่รัฐบาลและ คสช. นำความสงบสุขกลับคืนมาสู่พี่น้องประชาชนชาวไทย ให้สามารถใช้ชีวิตได้อย่างเป็นปกติสุข และนำพาชาติบ้านเมืองไปสู่ความ “มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน” อย่างไรก็ตามปัญหาของประเทศเป็นปัญหาเชิงโครงสร้าง อาจจำเป็นต้องอาศัยเวลา และการบริหารจัดการในรูปแบบใหม่ที่เราเรียกว่า “กลไกประชารัฐ” ทำให้เราต้องกำหนดให้มียุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี และการปฏิรูปประเทศ 13 ด้าน ตามที่เราทุกคนทราบกันดีแล้วในขณะนี้ บางเรื่องก็อาจจะเป็นเรื่องที่ไกลตัว ผมก็อยากให้คิดว่าเป็นความรู้รอบตัว เพื่อเราจะอยู่ร่วมกันในสังคมอย่างมีความสุข บางเรื่องที่ใกล้ตัว ผมก็อยากให้ทุกคนได้รับรู้ เข้าใจ และร่วมมือกัน คิด พูด ทำ ในสิ่งที่ถูกต้องและเหมาะสม เพื่อจะได้ไม่เสียสิทธิ์ ถูกโกงสิทธิ์ และรักษาสิทธิ์ของตนเอง ที่สำคัญคือไม่นำไปสู่ความขัดแย้ง เพราะสังคมประชาธิปไตย เราทุกคนนั้นมีเสรีภาพ แต่ต้องอยู่ภายใต้กรอบของกฎหมาย แต่ทั้งเรื่องใกล้และไกลตัวของแต่ละคน ผมได้นำมากล่าวแล้วในรายการนี้ และทุก ๆ ครั้งที่มีโอกาส เพราะรัฐบาลนี้ เป็นรัฐบาลของคนไทยทั้งประเทศ เราจะต้องดูแลทุกพื้นที่ ทุกคน ทุกกลุ่ม ทุกฝ่าย เราจะต้องไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลังนะครับ
โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญหาหนี้นอกระบบ ของพี่น้องเกษตรกรและผู้มีรายได้น้อยที่เป็นส่วนหนึ่ง ที่เป็นคนส่วนใหญ่ของกลไกการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ หากปัญหานี้ ไม่ได้รับการแก้ไขอย่างยั่งยืน ก็จะเป็นเหมือนมะเร็งเรื้อรัง ฉุดรั้งการพัฒนาประเทศไม่มีวันสิ้นสุด ทั้งนี้ รัฐบาลโดยศูนย์ปฏิบัติการป้องกันปราบปรามการฉ้อโกงทรัพย์สินของประชาชน ได้บังคับใช้กฎหมายกับกลุ่มผู้มีอิทธิพล ที่เอารัดเอาเปรียบประชาชนผู้ด้อยโอกาส จนสามารถไกล่เกลี่ย ส่งคืนทรัพย์สินให้กับประชาชน ราว 15,000 คนทั่วประเทศ คิดเป็นมูลค่าทรัพย์สินรวมกว่า 16,000 ล้านบาท เป็นโฉนดที่ดินมากกว่า 11,700 ฉบับ พื้นที่รวมประมาณ 37,000 ไร่ โดยขณะนี้ก็ยังคงดำเนินการอย่างต่อเนื่อง พี่น้องประชาชนที่ยังประสบปัญหาในลักษณะนี้อยู่ ก็ขออย่าได้ลังเลนะครับ สามารถโทรสายด่วน 1155 ได้ตลอดเวลา
พี่น้องประชาชนที่เคารพครับ
วันนี้ผมขอหยิบยก อีก 2 ประเด็นหลัก ๆ ที่เป็นการแก้ปัญหาในอดีตได้อย่างยั่งยืนนะครับ
เรื่องแรกก็คือ ปัญหาด้านการศึกษา เราคงปฏิเสธไม่ได้ว่า ปัญหาความเหลื่อมล้ำได้ส่งผลร้ายต่อพัฒนาการของประเทศมายาวนานทั้งทางเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง ซึ่งหนึ่งในต้นตอของปัญหาของความเหลื่อมล้ำของไทยก็คือการศึกษา ที่เป็นรากฐานสำคัญที่สุดในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของประเทศเป็นประตูสู่โอกาส ทำให้ประชาชนเข้าถึงความรู้ ความเข้าใจ ได้รับประสบการณ์และทักษะในการประกอบสัมมาอาชีพ ซึ่งก็จะเป็นพื้นฐานในการสร้างรายได้ การปรับเปลี่ยนและพัฒนาตนเอง ให้เข้ากับภาวะแวดล้อมใหม่ ๆ ได้อย่างเหมาะสม รวมถึงการเรียนรู้ รับฟัง และวิเคราะห์ข่าวสารข้อมูลต่าง ๆ เพื่อนำมาใช้ในการดำรงชีวิตได้ ที่สำคัญ “ความรู้ คู่คุณธรรม” เป็นเงื่อนไขสำคัญในการสร้างภูมิคุ้มกัน ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงอีกด้วยนะครับ
ประเด็นการพัฒนา ปฏิรูปการศึกษานี้ เป็นเรื่องที่ทุกรัฐบาลให้ความสำคัญ และพยายามแก้ไขปัญหาในหลาย ๆ ด้านมาอย่างต่อเนื่อง แม้จะมีงบประมาณและลงทุนด้านการศึกษามากกว่า 5 แสนล้านบาทต่อปี แต่ปัญหานี้ยังคงเรื้อรังและรุนแรงขึ้น ส่งผลต่อความเชื่อมั่นทาง เศรษฐกิจ สังคม เป็นอุปสรรคสำคัญของประเทศไทย ในการที่จะก้าวออกจากกับดักรายได้ปานกลาง ไปสู่การเป็นประเทศรายได้สูง รัฐบาลนี้ได้ร่วมกับผู้ทรงคุณวุฒิทางการศึกษาและผู้สนับสนุนจากหลายฝ่าย เร่งดำเนินการสำหรับ กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) ภายใต้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ให้จัดตั้งกองทุนเพื่อใช้ในการช่วยเหลือผู้ขาดแคลนทุนทรัพย์ ลดความเหลื่อมล้ำในการศึกษา เสริมสร้างและพัฒนาคุณภาพและประสิทธิภาพครู โดยให้รัฐจัดสรรงบประมาณให้แก่กองทุน โดยให้กองทุนมีการบริหารจัดการที่เป็นอิสระ ซึ่งมีวัตถุประสงค์ของกองทุน เพื่อจะดูแลและส่งเสริมความเสมอภาคทางการศึกษาในหลายมิติ เช่น ส่งเสริมเด็กปฐมวัยให้มีพัฒนาการสมวัย และพร้อมเข้าสู่ระบบการศึกษาช่วยเหลือและสนับสนุนให้เยาวชนผู้ขาดแคลนทุนทรัพย์และผู้ด้อยโอกาส ได้สำเร็จการศึกษาขั้นพื้นฐานได้รับการศึกษาและพัฒนาศักยภาพ ทักษะในการประกอบอาชีพตามความถนัด ส่งเสริมสถานศึกษาให้มีการเรียนการสอน ที่เอื้อต่อการพัฒนาผู้เรียนตามความถนัดและศักยภาพของตน อีกทั้งให้มีการพัฒนาคุณภาพครูให้สามารถจัดการเรียนการสอน เพื่อพัฒนาเด็กและเยาวชนตามพื้นฐาน และศักยภาพที่แตกต่างกัน ในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ลดความเหลื่อมล้ำในการศึกษา และสนองความต้องการด้านกำลังแรงงานของประเทศ
เนื่องจากการทำงานของกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษานี้ ต้องดูแลกลุ่มเป้าหมายที่เป็นผู้ขาดแคลนทุนทรัพย์และด้อยโอกาส ตั้งแต่เด็กแรกเกิดไปจนถึงกลุ่มวัย 18 ปีขึ้นไปทั้งหมด รวมทั้งสิ้นประมาณ 4.3 ล้านราย ซึ่งต้องดำเนินการให้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ช่วยอย่างตรงจุด และงบประมาณไม่รั่วไหล ในการนี้ ทาง กสศ. ได้จัดให้มีระบบสารสนเทศเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา หรือเรียกว่า ไอ-ซี (iSEE) ที่เป็นระบบรายงานข้อมูลจากฐานข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data) ของ กสศ. เพื่อจะช่วยให้ผู้ทำนโยบายมองเห็นสถานการณ์ความเหลื่อมล้ำได้ชัดเจนในทุกพื้นที่ทั่วประเทศ และเป็นเครื่องมือให้กับหน่วยงานต่าง ๆ ที่มีภารกิจในการลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา เพื่อไม่ให้มีเยาวชนคนใดถูกทอดทิ้ง โดย กสศ. และ สพฐ. (สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน) ได้เริ่มดำเนินงานแล้วในปีการศึกษา 2561 และเมื่อมีการพัฒนาแล้วเสร็จระบบ iSEE จะประกอบด้วยข้อมูลของเด็กและเยาวชนผู้ขาดแคลนทุนทรัพย์และด้อยโอกาสมากกว่า 4 ล้านคนทั้งในและนอกระบบการศึกษา เชื่อมโยงกับเลขประจำตัว 13 หลักของเด็กและครอบครัว กับฐานข้อมูลขนาดใหญ่ของรัฐ หรือ 6 กระทรวงที่เกี่ยวข้อง ประกอบไปด้วยข้อมูลต่าง ๆ อาทิ สถานะครัวเรือน ภาพถ่ายสภาพบ้านเรือน รายได้ผู้ปกครอง ข้อมูลเด็กด้านสุขภาพ สภาพปัญหา พฤติกรรมเสี่ยง ความต้องการด้านการเรียน ความช่วยเหลือ อัตราการมาเรียน ผลการเรียน เป็นต้น
ข้อมูลที่รายงานผ่านระบบ iSEE นี้ประกอบด้วยข้อมูลจากฐานข้อมูล Big Data จากโครงการใน 4 ส่วนหลักก็คือ
1. ข้อมูลผลการค้นหาและคัดกรองกลุ่มเป้าหมาย ได้มีการพัฒนาจนสามารถครอบคลุมการคัดกรองนักเรียนในสังกัด สพฐ. มากกว่า 2 ล้านคนทั่วประเทศ โดยใช้ข้อมูลต่าง ๆ เช่น ข้อมูลรายได้ สถานะครัวเรือน ภูมิสารสนเทศของนักเรียนและครอบครัว เป็นต้น
2. ข้อมูลผลการจัดสรรเงินอุดหนุนอย่างมีเงื่อนไข โดยมุ่งจัดสรรงบประมาณเพื่อแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำเป็นรายบุคคล ผ่านการจัดสรรงบประมาณให้ตรงตามความต้องการของผู้เรียนแต่ละคนอย่างแท้จริง (Demand-side Financing) ระบบ iSEE จึงสามารถรายงานการได้รับเงินอุดหนุนของนักเรียนทั้ง 500,000 คนได้เป็นรายบุคคล ทั้งการโอนเงินเข้าสู่บัญชีเงินฝากของนักเรียนและผู้ปกครอง หรือภาพถ่ายพร้อมพิกัด GIS ของการรับเงินสดของนักเรียนและผู้ปกครอง โดยมีการลงชื่อรับรองการรับเงินอิเล็กทรอนิกส์กำกับด้วย
3. ระบบติดตามเงื่อนไขการรับเงินอุดหนุน โดยจะมีการรายงานเงื่อนไขการรับเงินอุดหนุนของแต่ละคนที่ครูกรอกเข้ามาเป็นรายภาคการศึกษา ซึ่งจะต้องรายงานการบันทึกข้อมูลผ่านแอพพลิเคชั่น CCT ที่ช่วยครูประหยัดเวลาในการติดตาม และบันทึกผลการปฏิบัติงานตามเงื่อนไขการรับเงินอุดหนุนของนักเรียนยากจนพิเศษ ที่กำหนดไว้ว่าต้องมีอัตราการมาเรียนเกินกว่าร้อยละ 80 ตลอดปีการศึกษา รวมทั้งพิจารณาน้ำหนักและส่วนสูงของเด็ก เพื่อดูแลให้มีพัฒนาการที่สมวัยโดยแอพพลิเคชั่น CCT จะเชื่อมข้อมูลน้ำหนักและส่วนสูงของนักเรียนที่มีการบันทึกเข้ามาโดยอัตโนมัติ นอกจากนี้ ครูจะสามารถแจ้งนักเรียนที่ขาดเรียนในแต่ละวัน โดยการทำงานในทุกขั้นตอนนี้ ไม่ได้ใช้กระดาษเลยนะครับ (Paperless)
และ 4. ระบบส่งต่อข้อมูลเชื่อมกับฐานข้อมูลขนาดใหญ่ของหน่วยงานต่าง ๆ ผ่านหมายเลขประจำตัวประชาชน 13 หลัก สำหรับบูรณาการการทำงานเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษาของ กสศ. เข้ากับ 6 กระทรวงหลักที่เกี่ยวข้อง โดยสามารถเรียกดูข้อมูลรายงาน สถานการณ์ความเหลื่อมล้ำ และจำนวนนักเรียนยากจนพิเศษได้ตลอดเวลา รวมทั้งข้อมูลของสถานศึกษาทั้ง 30,000 แห่ง ผลการเบิกจ่ายงบประมาณของกองทุนฯ ทั้งในระดับประเทศ จังหวัด สถานศึกษา ไปจนถึงระดับผู้เรียน ซึ่งต่อไปจะเชื่อมโยงกับข้อมูลของโครงการลดความเหลื่อมล้ำต่าง ๆ ของภาครัฐอีกด้วย เช่น โครงการลงทะเบียนเพื่อสวัสดิการแห่งรัฐ และโครงการเงินอุดหนุนเด็กแรกเกิด ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ข้อมูลในระบบ iSEE นี้ ผ่านการคัดกรองและตรวจสอบถึง 3 ชั้น ได้แก่ (1) การตรวจสอบข้อมูลเชิงประจักษ์ ทั้งด้านรายได้และสถานะครัวเรือน ผ่านแอพพลิเคชั่น CCT (2) การรับรองข้อมูลของทั้งผู้ปกครอง ครู และกำนันหรือผู้ใหญ่บ้าน (3) การรับรองของคณะกรรมการสถานศึกษาที่ประกอบด้วยผู้นำชุมชน ผู้นำศาสนา และข้าราชการหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ โดยหลังการเปิดระบบเมื่อวันที่ 21 ธันวาคม ที่ผ่านมา มีนักเรียนยากจนพิเศษอย่างมีเงื่อนไขทั้งสิ้นกว่า 4 แสนรายนะครับ
ที่ผ่านมา การสร้างการเปลี่ยนแปลงทางการศึกษาของประเทศยังถือว่าทำได้ไม่มากเท่าที่เราคาดหวัง ส่วนหนึ่งมาจากงบประมาณที่ลงไปสนับสนุนไม่ตรงจุดอย่างที่ควรจะเป็น ทำให้ยังมีความเหลื่อมล้ำให้เห็นอยู่ในปัจจุบัน ระบบ iSEE นี้ ถือว่าเป็นการนำเทคโนโลยีมาช่วยภาครัฐเพื่อให้สามารถดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพ โปร่งใส และตรงกับความต้องการของเยาวชนของชาติแต่ละรายได้ อีกทั้งยังมีเงื่อนไขที่นักเรียนต้องปฏิบัติเพื่อให้ได้รับความช่วยเหลือด้วย ผมขอขอบคุณทุกท่านนะครับ ที่ช่วยกันพลิกโฉมการบริหารจัดการระบบการศึกษาของประเทศ และขอให้ กสศ. กระทรวงศึกษาธิการและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้เร่งดำเนินการเพื่อให้ได้รับความร่วมมือจากโรงเรียนและครูในการกรอกข้อมูลที่ถูกต้องและทันสมัยอยู่เสมอ รวมทั้งการเชื่อมโยงข้อมูลที่ต้องดูแลความเป็นส่วนตัวของข้อมูลนักเรียนเหล่านี้ด้วยนะครับ
นอกเหนือไปจากการทำงานของกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษาแล้ว รัฐบาลนี้ ยังเร่งวางรากฐานการปฏิรูปและพัฒนาการศึกษา เพื่อจะรองรับการปรับเปลี่ยนตามนโยบาย ไทยแลนด์ 4.0 และลดปัญหาความเหลื่อมล้ำของประเทศ โดยช่องทางหนึ่งที่สำคัญ ได้แก่ การสนับสนุนให้จัดการศึกษาในรูปแบบโรงเรียนร่วมพัฒนา (Partnership School) ขึ้น อันเป็นแนวคิดการสร้างนวัตกรรมการบริหารจัดการสถานศึกษา ภายใต้บทบาท ความร่วมมือ ระหว่างกระทรวงศึกษาธิการ กับบริษัท มูลนิธิ องค์กร หรือสถาบันต่าง ๆ จำนวนมาก ที่ให้การสนับสนุนทรัพยากร และมีส่วนร่วมในการบริหารสถานศึกษาตามโครงการนี้ โดยทำงานร่วมกันตามรูปแบบประชารัฐ ซึ่งในปีที่ผ่านมา มีสถานศึกษาเข้าร่วมโครงการ 50 แห่ง จาก 34 จังหวัด และในปีนี้ จะขยายให้ครอบคลุมทั้ง 77 จังหวัดทั่วประเทศ มีสถานศึกษาเข้าร่วมโครงการ รวมทั้งสิ้น 185 แห่ง
เป้าหมายของการยกระดับการศึกษา ตามโครงการโรงเรียนร่วมพัฒนานี้ ได้แก่ การสร้างการมีส่วนร่วมของภาคส่วนต่าง ๆ ในการบริหารจัดการ ร่วมพัฒนาและสนับสนุนสถานศึกษา เพื่อจะพัฒนาคุณภาพและสร้างนวัตกรรมในการบริหารจัดการสถานศึกษา ให้สามารถยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน รวมทั้งเตรียมความพร้อมสำหรับอนาคตให้แก่ผู้เรียน เพื่อจะให้สถานศึกษาได้รับโอกาสในการพัฒนาอย่างทั่วถึง สามารถเป็นแหล่งเรียนรู้ตลอดชีวิตของทุกคนในชุมชนอีกด้วย ซึ่งเป็นศูนย์กลางการพัฒนาทักษะและคุณภาพชีวิต และนำไปสู่การช่วยลดปัญหาความเหลื่อมล้ำของประเทศได้
ในการดำเนินงานเพื่อให้เกิดโรงเรียนร่วมพัฒนานี้ ได้มีการปลดล็อคกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการ การจัดสรรงบประมาณ รวมถึงการบริหารงานบุคคล และลักษณะวิชาการให้เหมาะสม อีกทั้งได้มีการกำหนดรูปแบบและเกณฑ์การคัดเลือกสถานศึกษา เพื่อพัฒนาเป็นต้นแบบของโรงเรียนร่วมพัฒนา มีการคัดเลือกภาคเอกชนและผู้ร่วมสนับสนุน มีการวางระบบการบริหารการเปลี่ยนแปลง และการขยายผลความสำเร็จในอนาคต
ซึ่งปัจจัยสำคัญที่จะนำไปสู่ความสำเร็จของการส่งเสริมโรงเรียนร่วมพัฒนา ได้แก่
(1) การมีส่วนร่วมในการบริหารสถานศึกษา ทั้งจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และชุมชนในพื้นที่
(2) การบริหารงานบุคคล ที่เอกชนผู้สนับสนุน จะเข้ามามีส่วนร่วมในคณะกรรมการสถานศึกษาหรือที่ปรึกษา ที่สามารถประเมินผลงาน และคัดเลือกบุคลากรเข้าทำงานต่อไปได้อีกด้วย
(3) การบริหารงบประมาณ ที่มีการจัดทำบัญชีให้ตรงกับมาตรฐาน ตรวจสอบได้ โดยจัดทำบัญชีแยกต่างหากจากงบประมาณจากภาครัฐ อย่างชัดเจน
(4) การบริหารงานวิชาการ ที่มีการร่วมพัฒนาหลักสูตร การจัดการเรียนการสอน การพัฒนาสื่อการเรียนรู้ การวัดและประเมินผลให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้เรียน ผู้ปกครอง ชุมชน และบริบทของสถานศึกษา
และ (5) การติดตามผลและวิจัยในระดับองค์การและระดับสถานศึกษา ในรูปแบบคณะทำงานและการสรรหาบุคคลภายนอก มาเป็นผู้ติดตามประเมินผลด้วย
โครงการนี้ ถือเป็นอีกหนึ่งโครงการที่สะท้อนถึงการให้ความสำคัญที่จะร่วมมือกันในการพัฒนาบุคลากรของประเทศ ให้มีทักษะที่เหมาะสมกับความต้องการ และความชอบของตนเอง รองรับการเปลี่ยนแปลงเข้าสู่ยุค 4.0 และสอดคล้องกับความต้องการของเอกชน ในการขับเคลื่อนกิจกรรมการผลิตสินค้าและบริการต่าง ๆ ผมขอชื่นชมนะครับ ขอขอบคุณทุกฝ่าย ที่มีส่วนร่วมในการดำเนินงานให้สัมฤทธิ์ผลอย่างเป็นรูปธรรมและต่อเนื่อง ทำให้การปฏิรูปทางการศึกษาของประเทศได้ก้าวข้ามอุปสรรคไปอีกหนึ่งขั้น ทั้งนี้ ยังมีอีกหลายสถานศึกษา ที่สนใจจะเข้าร่วมโครงการโรงเรียนร่วมพัฒนา ซึ่งหากภาคเอกชน บริษัทห้างร้าน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในพื้นที่โรงเรียนตั้งอยู่นั้น มีความสนใจ ก็สามารถจะเข้ามาร่วมกันสนับสนุนสถานศึกษา ช่วยลูก ช่วยหลานของเราในชุมชน และเป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาคุณภาพเยาวชนให้กับประเทศได้นะครับ
พี่น้องประชาชนที่รักครับ
สำหรับเรื่องที่ 2 เป็นเรื่องการสร้างความยั่งยืนให้กับการประมงของไทย แม้ว่าประเทศไทยจะได้ชื่อว่า “ในน้ำมีปลา ในนามีข้าว” ที่สะท้อนให้เห็นถึงความอุดมสมบูรณ์ทางทรัพยากรธรรมชาติก็ตาม หากเราไม่มีการบริหารจัดการ หรือไม่รักษาสมดุล หรือใช้อย่างไม่ยั้งคิด ไม่ทดแทน ไม่ให้โอกาสฟื้นฟู สุดท้าย ลูกหลานของเรา จะพบกับความขาดแคลนได้
การทำการประมงของไทยในอดีต มีการใช้เครื่องมือทำลายล้างมากมาย และรุนแรง ทำให้ทรัพยากรสัตว์น้ำลดลง ทำให้ต้องออกเรือไกลขึ้นกว่าจะหาปลาได้ ส่งผลให้คุณภาพชีวิตของลูกเรือไม่ดี เกิดปัญหาการใช้แรงงานบังคับและค้ามนุษย์ ประกอบกับกฎกติกาที่มีอยู่ มีความล้าสมัย ทั้ง พ.ร.บ. ประมง (พ.ศ. 2490) และ พ.ร.บ. เรือไทย (พ.ศ. 2481) ไม่เป็นสากล จนเกิดปัญหาการประมงผิดกฎหมาย (IUU) และปัญหาค้ามนุษย์ตามมา ประเทศไทยอาจจะไม่สามารถส่งสินค้าประมงไปประเทศอื่น ๆ ได้ เนื่องจากเขาต้องการรับซื้อสินค้าที่มีคุณภาพ หมายถึง มีที่มาที่ไป ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม และไม่ใช้แรงงานจากการค้ามนุษย์
รัฐบาลนี้ได้เข้ามาแก้ไขปัญหา ตลอดระยะเวลากว่า 3 ปี ก็ได้ยึดหลักแก้ปัญหาด้วยการทำประมงที่ยั่งยืน ส่งผลดีต่อรุ่นลูก รุ่นหลาน ให้มีรายได้ โดยจะต้องเคารพกติกาสากล ด้วยการรักษาความสมดุล 3 ส่วน ก็คือ เรือจับปลา คนจับปลา และการทำการประมง ที่มีกฎกติการองรับ โดยกำหนดกรอบการทำงานออกเป็น 6 ด้าน ได้แก่ ด้านกฎหมาย ด้านการจัดการกองเรือ ด้านการติดตาม ควบคุม และเฝ้าระวัง (MCS) ด้านการตรวจสอบย้อนกลับ ด้านการบังคับใช้กฎหมาย และด้านแรงงานภาคประมง ซึ่งต้องดำเนินการไปพร้อม ๆ กัน ด้วยการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน โดยเฉพาะพี่น้องชาวประมง จนนำมาสู่การจัดสรรวันทำประมง ตามตารางที่กำหนด แยกตามกลุ่มสัตว์น้ำและเครื่องมือประมง โดยมีการออกใบอนุญาตทำการประมงเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ของประเทศ
ผลจากการดำเนินการที่ผ่านมา ทำให้ทรัพยากรสัตว์น้ำกลับมาอุดมสมบูรณ์อีกครั้ง เห็นได้จากการบันทึกการทำประมงของชาวประมงพาณิชย์ (logbook) ในปี 2561 ที่มีปริมาณการจับสัตว์น้ำได้เพิ่มมากขึ้นกว่าปี 2560 ประมาณ 200,000 ตัน อีกทั้งเสียงสะท้อนจากพี่น้องชาวประมงพื้นบ้าน และเครือข่ายสมัชชาประมงพื้นบ้านประเทศไทย ว่าสามารถจับสัตว์น้ำได้มากขึ้น ปลาตัวใหญ่ขึ้น
ทั้งนี้ จากผลการดำเนินการดังกล่าว รัฐบาลได้มอบหมายให้กรมประมงปรับเพิ่มวันทำการประมง ประจำปีการประมง 2561 เริ่มตั้งแต่ 1 ม.ค. – 31 มี.ค. 62 สำหรับเรือประมงพาณิชย์ ทั้งฝั่งอ่าวไทยและอันดามัน อันเป็นผลสัมฤทธิ์จากการแก้ไขปัญหาการทำประมงผิดกฎหมาย ที่ทำให้ท้องทะเลไทยมีความยั่งยืน ซึ่งเป็นทิศทางการทำงานของรัฐบาลนี้ ในเวลากว่า 3 ปี ที่ผ่านมา ที่สะท้อนให้เห็นถึงความสำเร็จในการแก้ปัญหาที่ยั่งยืนให้กับภาคการประมงของไทย ขอขอบคุณทุกท่านที่มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งเจ้าหน้าที่ ข้าราชการ พี่น้องชาวประมงทั้งหลาย ทั้งระบบนะครับ
พี่น้องประชาชนครับ
สภาพแวดล้อมของโลก นับว่าเป็นปัจจัยภายนอกที่เราไม่สามารถควบคุมได้ แต่เราจำเป็นต้องสนใจ ติดตามและรู้เท่าทัน เพื่อการปรับตัวให้สอดรับการสถานการณ์ อาทิ สงครามการค้าที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน และอาจส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจโลกอย่างมาก ในช่วงปี 2562 นี้ ก็ขอให้ทุกคนได้ติดตามอย่างต่อเนื่อง เพราะทุกอย่างมีความเชื่อมโยงกันทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของการเงิน การคลัง ของประชาคมโลก ประเทศต่าง ๆ รวมไปถึงผลกระทบที่จะมีต่อเศรษฐกิจของไทย และพวกเราทุกคน ไม่ทางตรงก็ทางอ้อม ดังนั้น เราต้องสร้างความเข้มแข็งจากภายในของเราเองให้ได้ ต้องช่วยกัน ต้องพัฒนา ต้องปรับเปลี่ยนตัวเองไปด้วยนะครับ
ส่วนความเปลี่ยนแปลงของสภาพลมฟ้าอากาศ ที่ปัจจุบันทวีความรุนแรงขึ้น เราควบคุมได้ยาก แต่สามารถบรรเทาผลกระทบได้ หากมีการเตรียมและการสร้างการรับรู้ที่ดี อาทิ พายุโซนร้อนปาบึก ตามที่กรมอุตุนิยมวิทยาได้ออกประกาศแจ้งเตือนมาอย่างต่อเนื่องนั้น ปัจจุบันกำลังเข้าสู่ทะเลอ่าวไทย และขึ้นฝั่งในพื้นที่จังหวัดภาคใต้ของไทย เป็นเหตุให้ภาคใต้จะมีฝนตกหนัก ถึงหนักมาก มีน้ำสะสมเพิ่มขึ้น จนอาจเกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลากในหลายพื้นที่ และทะเลก็จะมีคลื่นสูง
โดยจังหวัดทางภาคใต้ ทั้งฝั่งอ่าวไทยและฝั่งอันดามัน ได้รับผลกระทบในวงกว้าง รัฐบาลได้มีการแจ้งเตือนพี่น้องประชาชน และเตรียมการในทุกด้านล่วงหน้า โดยกองบัญชาการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ (บกปภ.ช.) ได้เน้นย้ำให้แต่ละจังหวัดเฝ้าระวัง ติดตามสภาพอากาศ ปริมาณฝน ระดับน้ำ ประเมินสถานการณ์และแนวโน้มอย่างใกล้ชิดและต่อเนื่อง เตรียมการเผชิญเหตุ พร้อมทั้งกำหนดแนวทางการรับมือ ป้องกัน และแก้ไข และฟื้นฟูปัญหา ให้สอดคล้องกับสภาพความเสี่ยงภัยในแต่ละพื้นที่ รวมทั้งจัดเตรียมความพร้อมให้ครอบคลุมในทุก ๆ ด้าน อาทิ ด้านการช่วยเหลือบรรเทาทุกข์ ทั้งอาหาร เวชภัณฑ์ ยารักษาโรค ชุดเคลื่อนที่เร็ว รถและเรือกู้ภัย ระบบไฟฟ้าสำรองและการสื่อสาร ที่ต้องมีความพร้อม 100% ไปจนถึงเตรียมแผนการเผชิญเหตุ แผนอพยพ และแผนการฟื้นฟูภายหลังการเกิดเหตุให้ครอบคลุม รวดเร็วทั้งระบบ จึงขอให้พี่น้องประชาชนเชื่อฟังคำสั่ง คำแนะนำของเจ้าหน้าที่ เพื่อให้การบริหารจัดการภัยธรรมชาติในครั้งนี้ เป็นไปด้วยความเรียบร้อย ทุกคนได้รับการดูแลอย่างทั่วถึง และเท่าเทียม ขอให้ทุกคนปลอดภัยทุกคนนะครับ
สุดท้ายนี้ เมื่อวันก่อน ผมได้มีโอกาสเข้าเฝ้าฯ สมเด็จพระสังฆราชฯ ณ วัดราชบพิธ เนื่องในโอกาสเทศกาลวันขึ้นปีใหม่ ซึ่งท่านประทานหนังสือ “ดูใจของเรา” (Look into your mind) เพื่อเป็นสิริมงคลแก่ชีวิต ผมเห็นว่าจะเป็นประโยชน์อย่างมาก สำหรับพี่น้องประชาชนทุกคน จึงอยากแนะนำให้ทุกคนได้หาอ่าน ศึกษาให้ลึกซึ้ง ทำความเข้าใจ แล้วน้อมนำไปปฏิบัติด้วยนะครับ
ขอบคุณนะครับ ขอให้ทุกคน ทุกครอบครัว ปลอดภัย ผ่านพ้นอุปสรรคไปได้ด้วยดี สวัสดีปีใหม่อีกครั้งนะครับ ขอให้ทุกคนมีความสุขในช่วงปี 2562 และตลอดไป สวัสดีครับ
ที่มา; เว็บ รัฐบาลไทย
พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี กล่าวในรายการ “ศาสตร์พระราชา สู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน” ออกอากาศทางโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย วันศุกร์ที่ 4 มกราคม 2562 เวลา 20.15 น.
สวัสดีปีใหม่ พ่อแม่พี่น้องชาวไทยที่รักทุกท่าน
รายการ “ศาสตร์พระราชา สู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน” ในคืนวันนี้ เป็นครั้งแรกของปีใหม่ พ.ศ. 2562 ซึ่งก็เป็นปีใหม่ครั้งที่ 5 นะครับ ที่รัฐบาลและ คสช. นำความสงบสุขกลับคืนมาสู่พี่น้องประชาชนชาวไทย ให้สามารถใช้ชีวิตได้อย่างเป็นปกติสุข และนำพาชาติบ้านเมืองไปสู่ความ “มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน” อย่างไรก็ตามปัญหาของประเทศเป็นปัญหาเชิงโครงสร้าง อาจจำเป็นต้องอาศัยเวลา และการบริหารจัดการในรูปแบบใหม่ที่เราเรียกว่า “กลไกประชารัฐ” ทำให้เราต้องกำหนดให้มียุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี และการปฏิรูปประเทศ 13 ด้าน ตามที่เราทุกคนทราบกันดีแล้วในขณะนี้ บางเรื่องก็อาจจะเป็นเรื่องที่ไกลตัว ผมก็อยากให้คิดว่าเป็นความรู้รอบตัว เพื่อเราจะอยู่ร่วมกันในสังคมอย่างมีความสุข บางเรื่องที่ใกล้ตัว ผมก็อยากให้ทุกคนได้รับรู้ เข้าใจ และร่วมมือกัน คิด พูด ทำ ในสิ่งที่ถูกต้องและเหมาะสม เพื่อจะได้ไม่เสียสิทธิ์ ถูกโกงสิทธิ์ และรักษาสิทธิ์ของตนเอง ที่สำคัญคือไม่นำไปสู่ความขัดแย้ง เพราะสังคมประชาธิปไตย เราทุกคนนั้นมีเสรีภาพ แต่ต้องอยู่ภายใต้กรอบของกฎหมาย แต่ทั้งเรื่องใกล้และไกลตัวของแต่ละคน ผมได้นำมากล่าวแล้วในรายการนี้ และทุก ๆ ครั้งที่มีโอกาส เพราะรัฐบาลนี้ เป็นรัฐบาลของคนไทยทั้งประเทศ เราจะต้องดูแลทุกพื้นที่ ทุกคน ทุกกลุ่ม ทุกฝ่าย เราจะต้องไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลังนะครับ
โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญหาหนี้นอกระบบ ของพี่น้องเกษตรกรและผู้มีรายได้น้อยที่เป็นส่วนหนึ่ง ที่เป็นคนส่วนใหญ่ของกลไกการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ หากปัญหานี้ ไม่ได้รับการแก้ไขอย่างยั่งยืน ก็จะเป็นเหมือนมะเร็งเรื้อรัง ฉุดรั้งการพัฒนาประเทศไม่มีวันสิ้นสุด ทั้งนี้ รัฐบาลโดยศูนย์ปฏิบัติการป้องกันปราบปรามการฉ้อโกงทรัพย์สินของประชาชน ได้บังคับใช้กฎหมายกับกลุ่มผู้มีอิทธิพล ที่เอารัดเอาเปรียบประชาชนผู้ด้อยโอกาส จนสามารถไกล่เกลี่ย ส่งคืนทรัพย์สินให้กับประชาชน ราว 15,000 คนทั่วประเทศ คิดเป็นมูลค่าทรัพย์สินรวมกว่า 16,000 ล้านบาท เป็นโฉนดที่ดินมากกว่า 11,700 ฉบับ พื้นที่รวมประมาณ 37,000 ไร่ โดยขณะนี้ก็ยังคงดำเนินการอย่างต่อเนื่อง พี่น้องประชาชนที่ยังประสบปัญหาในลักษณะนี้อยู่ ก็ขออย่าได้ลังเลนะครับ สามารถโทรสายด่วน 1155 ได้ตลอดเวลา
พี่น้องประชาชนที่เคารพครับ
วันนี้ผมขอหยิบยก อีก 2 ประเด็นหลัก ๆ ที่เป็นการแก้ปัญหาในอดีตได้อย่างยั่งยืนนะครับ
เรื่องแรกก็คือ ปัญหาด้านการศึกษา เราคงปฏิเสธไม่ได้ว่า ปัญหาความเหลื่อมล้ำได้ส่งผลร้ายต่อพัฒนาการของประเทศมายาวนานทั้งทางเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง ซึ่งหนึ่งในต้นตอของปัญหาของความเหลื่อมล้ำของไทยก็คือการศึกษา ที่เป็นรากฐานสำคัญที่สุดในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของประเทศเป็นประตูสู่โอกาส ทำให้ประชาชนเข้าถึงความรู้ ความเข้าใจ ได้รับประสบการณ์และทักษะในการประกอบสัมมาอาชีพ ซึ่งก็จะเป็นพื้นฐานในการสร้างรายได้ การปรับเปลี่ยนและพัฒนาตนเอง ให้เข้ากับภาวะแวดล้อมใหม่ ๆ ได้อย่างเหมาะสม รวมถึงการเรียนรู้ รับฟัง และวิเคราะห์ข่าวสารข้อมูลต่าง ๆ เพื่อนำมาใช้ในการดำรงชีวิตได้ ที่สำคัญ “ความรู้ คู่คุณธรรม” เป็นเงื่อนไขสำคัญในการสร้างภูมิคุ้มกัน ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงอีกด้วยนะครับ
ประเด็นการพัฒนา ปฏิรูปการศึกษานี้ เป็นเรื่องที่ทุกรัฐบาลให้ความสำคัญ และพยายามแก้ไขปัญหาในหลาย ๆ ด้านมาอย่างต่อเนื่อง แม้จะมีงบประมาณและลงทุนด้านการศึกษามากกว่า 5 แสนล้านบาทต่อปี แต่ปัญหานี้ยังคงเรื้อรังและรุนแรงขึ้น ส่งผลต่อความเชื่อมั่นทาง เศรษฐกิจ สังคม เป็นอุปสรรคสำคัญของประเทศไทย ในการที่จะก้าวออกจากกับดักรายได้ปานกลาง ไปสู่การเป็นประเทศรายได้สูง รัฐบาลนี้ได้ร่วมกับผู้ทรงคุณวุฒิทางการศึกษาและผู้สนับสนุนจากหลายฝ่าย เร่งดำเนินการสำหรับ กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) ภายใต้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ให้จัดตั้งกองทุนเพื่อใช้ในการช่วยเหลือผู้ขาดแคลนทุนทรัพย์ ลดความเหลื่อมล้ำในการศึกษา เสริมสร้างและพัฒนาคุณภาพและประสิทธิภาพครู โดยให้รัฐจัดสรรงบประมาณให้แก่กองทุน โดยให้กองทุนมีการบริหารจัดการที่เป็นอิสระ ซึ่งมีวัตถุประสงค์ของกองทุน เพื่อจะดูแลและส่งเสริมความเสมอภาคทางการศึกษาในหลายมิติ เช่น ส่งเสริมเด็กปฐมวัยให้มีพัฒนาการสมวัย และพร้อมเข้าสู่ระบบการศึกษาช่วยเหลือและสนับสนุนให้เยาวชนผู้ขาดแคลนทุนทรัพย์และผู้ด้อยโอกาส ได้สำเร็จการศึกษาขั้นพื้นฐานได้รับการศึกษาและพัฒนาศักยภาพ ทักษะในการประกอบอาชีพตามความถนัด ส่งเสริมสถานศึกษาให้มีการเรียนการสอน ที่เอื้อต่อการพัฒนาผู้เรียนตามความถนัดและศักยภาพของตน อีกทั้งให้มีการพัฒนาคุณภาพครูให้สามารถจัดการเรียนการสอน เพื่อพัฒนาเด็กและเยาวชนตามพื้นฐาน และศักยภาพที่แตกต่างกัน ในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ลดความเหลื่อมล้ำในการศึกษา และสนองความต้องการด้านกำลังแรงงานของประเทศ
เนื่องจากการทำงานของกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษานี้ ต้องดูแลกลุ่มเป้าหมายที่เป็นผู้ขาดแคลนทุนทรัพย์และด้อยโอกาส ตั้งแต่เด็กแรกเกิดไปจนถึงกลุ่มวัย 18 ปีขึ้นไปทั้งหมด รวมทั้งสิ้นประมาณ 4.3 ล้านราย ซึ่งต้องดำเนินการให้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ช่วยอย่างตรงจุด และงบประมาณไม่รั่วไหล ในการนี้ ทาง กสศ. ได้จัดให้มีระบบสารสนเทศเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา หรือเรียกว่า ไอ-ซี (iSEE) ที่เป็นระบบรายงานข้อมูลจากฐานข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data) ของ กสศ. เพื่อจะช่วยให้ผู้ทำนโยบายมองเห็นสถานการณ์ความเหลื่อมล้ำได้ชัดเจนในทุกพื้นที่ทั่วประเทศ และเป็นเครื่องมือให้กับหน่วยงานต่าง ๆ ที่มีภารกิจในการลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา เพื่อไม่ให้มีเยาวชนคนใดถูกทอดทิ้ง โดย กสศ. และ สพฐ. (สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน) ได้เริ่มดำเนินงานแล้วในปีการศึกษา 2561 และเมื่อมีการพัฒนาแล้วเสร็จระบบ iSEE จะประกอบด้วยข้อมูลของเด็กและเยาวชนผู้ขาดแคลนทุนทรัพย์และด้อยโอกาสมากกว่า 4 ล้านคนทั้งในและนอกระบบการศึกษา เชื่อมโยงกับเลขประจำตัว 13 หลักของเด็กและครอบครัว กับฐานข้อมูลขนาดใหญ่ของรัฐ หรือ 6 กระทรวงที่เกี่ยวข้อง ประกอบไปด้วยข้อมูลต่าง ๆ อาทิ สถานะครัวเรือน ภาพถ่ายสภาพบ้านเรือน รายได้ผู้ปกครอง ข้อมูลเด็กด้านสุขภาพ สภาพปัญหา พฤติกรรมเสี่ยง ความต้องการด้านการเรียน ความช่วยเหลือ อัตราการมาเรียน ผลการเรียน เป็นต้น
รายการ “ศาสตร์พระราชา สู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน” ในคืนวันนี้ เป็นครั้งแรกของปีใหม่ พ.ศ. 2562 ซึ่งก็เป็นปีใหม่ครั้งที่ 5 นะครับ ที่รัฐบาลและ คสช. นำความสงบสุขกลับคืนมาสู่พี่น้องประชาชนชาวไทย ให้สามารถใช้ชีวิตได้อย่างเป็นปกติสุข และนำพาชาติบ้านเมืองไปสู่ความ “มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน” อย่างไรก็ตามปัญหาของประเทศเป็นปัญหาเชิงโครงสร้าง อาจจำเป็นต้องอาศัยเวลา และการบริหารจัดการในรูปแบบใหม่ที่เราเรียกว่า “กลไกประชารัฐ” ทำให้เราต้องกำหนดให้มียุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี และการปฏิรูปประเทศ 13 ด้าน ตามที่เราทุกคนทราบกันดีแล้วในขณะนี้ บางเรื่องก็อาจจะเป็นเรื่องที่ไกลตัว ผมก็อยากให้คิดว่าเป็นความรู้รอบตัว เพื่อเราจะอยู่ร่วมกันในสังคมอย่างมีความสุข บางเรื่องที่ใกล้ตัว ผมก็อยากให้ทุกคนได้รับรู้ เข้าใจ และร่วมมือกัน คิด พูด ทำ ในสิ่งที่ถูกต้องและเหมาะสม เพื่อจะได้ไม่เสียสิทธิ์ ถูกโกงสิทธิ์ และรักษาสิทธิ์ของตนเอง ที่สำคัญคือไม่นำไปสู่ความขัดแย้ง เพราะสังคมประชาธิปไตย เราทุกคนนั้นมีเสรีภาพ แต่ต้องอยู่ภายใต้กรอบของกฎหมาย แต่ทั้งเรื่องใกล้และไกลตัวของแต่ละคน ผมได้นำมากล่าวแล้วในรายการนี้ และทุก ๆ ครั้งที่มีโอกาส เพราะรัฐบาลนี้ เป็นรัฐบาลของคนไทยทั้งประเทศ เราจะต้องดูแลทุกพื้นที่ ทุกคน ทุกกลุ่ม ทุกฝ่าย เราจะต้องไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลังนะครับ
โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญหาหนี้นอกระบบ ของพี่น้องเกษตรกรและผู้มีรายได้น้อยที่เป็นส่วนหนึ่ง ที่เป็นคนส่วนใหญ่ของกลไกการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ หากปัญหานี้ ไม่ได้รับการแก้ไขอย่างยั่งยืน ก็จะเป็นเหมือนมะเร็งเรื้อรัง ฉุดรั้งการพัฒนาประเทศไม่มีวันสิ้นสุด ทั้งนี้ รัฐบาลโดยศูนย์ปฏิบัติการป้องกันปราบปรามการฉ้อโกงทรัพย์สินของประชาชน ได้บังคับใช้กฎหมายกับกลุ่มผู้มีอิทธิพล ที่เอารัดเอาเปรียบประชาชนผู้ด้อยโอกาส จนสามารถไกล่เกลี่ย ส่งคืนทรัพย์สินให้กับประชาชน ราว 15,000 คนทั่วประเทศ คิดเป็นมูลค่าทรัพย์สินรวมกว่า 16,000 ล้านบาท เป็นโฉนดที่ดินมากกว่า 11,700 ฉบับ พื้นที่รวมประมาณ 37,000 ไร่ โดยขณะนี้ก็ยังคงดำเนินการอย่างต่อเนื่อง พี่น้องประชาชนที่ยังประสบปัญหาในลักษณะนี้อยู่ ก็ขออย่าได้ลังเลนะครับ สามารถโทรสายด่วน 1155 ได้ตลอดเวลา
พี่น้องประชาชนที่เคารพครับ
วันนี้ผมขอหยิบยก อีก 2 ประเด็นหลัก ๆ ที่เป็นการแก้ปัญหาในอดีตได้อย่างยั่งยืนนะครับ
เรื่องแรกก็คือ ปัญหาด้านการศึกษา เราคงปฏิเสธไม่ได้ว่า ปัญหาความเหลื่อมล้ำได้ส่งผลร้ายต่อพัฒนาการของประเทศมายาวนานทั้งทางเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง ซึ่งหนึ่งในต้นตอของปัญหาของความเหลื่อมล้ำของไทยก็คือการศึกษา ที่เป็นรากฐานสำคัญที่สุดในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของประเทศเป็นประตูสู่โอกาส ทำให้ประชาชนเข้าถึงความรู้ ความเข้าใจ ได้รับประสบการณ์และทักษะในการประกอบสัมมาอาชีพ ซึ่งก็จะเป็นพื้นฐานในการสร้างรายได้ การปรับเปลี่ยนและพัฒนาตนเอง ให้เข้ากับภาวะแวดล้อมใหม่ ๆ ได้อย่างเหมาะสม รวมถึงการเรียนรู้ รับฟัง และวิเคราะห์ข่าวสารข้อมูลต่าง ๆ เพื่อนำมาใช้ในการดำรงชีวิตได้ ที่สำคัญ “ความรู้ คู่คุณธรรม” เป็นเงื่อนไขสำคัญในการสร้างภูมิคุ้มกัน ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงอีกด้วยนะครับ
ประเด็นการพัฒนา ปฏิรูปการศึกษานี้ เป็นเรื่องที่ทุกรัฐบาลให้ความสำคัญ และพยายามแก้ไขปัญหาในหลาย ๆ ด้านมาอย่างต่อเนื่อง แม้จะมีงบประมาณและลงทุนด้านการศึกษามากกว่า 5 แสนล้านบาทต่อปี แต่ปัญหานี้ยังคงเรื้อรังและรุนแรงขึ้น ส่งผลต่อความเชื่อมั่นทาง เศรษฐกิจ สังคม เป็นอุปสรรคสำคัญของประเทศไทย ในการที่จะก้าวออกจากกับดักรายได้ปานกลาง ไปสู่การเป็นประเทศรายได้สูง รัฐบาลนี้ได้ร่วมกับผู้ทรงคุณวุฒิทางการศึกษาและผู้สนับสนุนจากหลายฝ่าย เร่งดำเนินการสำหรับ กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) ภายใต้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ให้จัดตั้งกองทุนเพื่อใช้ในการช่วยเหลือผู้ขาดแคลนทุนทรัพย์ ลดความเหลื่อมล้ำในการศึกษา เสริมสร้างและพัฒนาคุณภาพและประสิทธิภาพครู โดยให้รัฐจัดสรรงบประมาณให้แก่กองทุน โดยให้กองทุนมีการบริหารจัดการที่เป็นอิสระ ซึ่งมีวัตถุประสงค์ของกองทุน เพื่อจะดูแลและส่งเสริมความเสมอภาคทางการศึกษาในหลายมิติ เช่น ส่งเสริมเด็กปฐมวัยให้มีพัฒนาการสมวัย และพร้อมเข้าสู่ระบบการศึกษาช่วยเหลือและสนับสนุนให้เยาวชนผู้ขาดแคลนทุนทรัพย์และผู้ด้อยโอกาส ได้สำเร็จการศึกษาขั้นพื้นฐานได้รับการศึกษาและพัฒนาศักยภาพ ทักษะในการประกอบอาชีพตามความถนัด ส่งเสริมสถานศึกษาให้มีการเรียนการสอน ที่เอื้อต่อการพัฒนาผู้เรียนตามความถนัดและศักยภาพของตน อีกทั้งให้มีการพัฒนาคุณภาพครูให้สามารถจัดการเรียนการสอน เพื่อพัฒนาเด็กและเยาวชนตามพื้นฐาน และศักยภาพที่แตกต่างกัน ในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ลดความเหลื่อมล้ำในการศึกษา และสนองความต้องการด้านกำลังแรงงานของประเทศ
เนื่องจากการทำงานของกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษานี้ ต้องดูแลกลุ่มเป้าหมายที่เป็นผู้ขาดแคลนทุนทรัพย์และด้อยโอกาส ตั้งแต่เด็กแรกเกิดไปจนถึงกลุ่มวัย 18 ปีขึ้นไปทั้งหมด รวมทั้งสิ้นประมาณ 4.3 ล้านราย ซึ่งต้องดำเนินการให้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ช่วยอย่างตรงจุด และงบประมาณไม่รั่วไหล ในการนี้ ทาง กสศ. ได้จัดให้มีระบบสารสนเทศเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา หรือเรียกว่า ไอ-ซี (iSEE) ที่เป็นระบบรายงานข้อมูลจากฐานข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data) ของ กสศ. เพื่อจะช่วยให้ผู้ทำนโยบายมองเห็นสถานการณ์ความเหลื่อมล้ำได้ชัดเจนในทุกพื้นที่ทั่วประเทศ และเป็นเครื่องมือให้กับหน่วยงานต่าง ๆ ที่มีภารกิจในการลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา เพื่อไม่ให้มีเยาวชนคนใดถูกทอดทิ้ง โดย กสศ. และ สพฐ. (สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน) ได้เริ่มดำเนินงานแล้วในปีการศึกษา 2561 และเมื่อมีการพัฒนาแล้วเสร็จระบบ iSEE จะประกอบด้วยข้อมูลของเด็กและเยาวชนผู้ขาดแคลนทุนทรัพย์และด้อยโอกาสมากกว่า 4 ล้านคนทั้งในและนอกระบบการศึกษา เชื่อมโยงกับเลขประจำตัว 13 หลักของเด็กและครอบครัว กับฐานข้อมูลขนาดใหญ่ของรัฐ หรือ 6 กระทรวงที่เกี่ยวข้อง ประกอบไปด้วยข้อมูลต่าง ๆ อาทิ สถานะครัวเรือน ภาพถ่ายสภาพบ้านเรือน รายได้ผู้ปกครอง ข้อมูลเด็กด้านสุขภาพ สภาพปัญหา พฤติกรรมเสี่ยง ความต้องการด้านการเรียน ความช่วยเหลือ อัตราการมาเรียน ผลการเรียน เป็นต้น
ข้อมูลที่รายงานผ่านระบบ iSEE นี้ประกอบด้วยข้อมูลจากฐานข้อมูล Big Data จากโครงการใน 4 ส่วนหลักก็คือ
1. ข้อมูลผลการค้นหาและคัดกรองกลุ่มเป้าหมาย ได้มีการพัฒนาจนสามารถครอบคลุมการคัดกรองนักเรียนในสังกัด สพฐ. มากกว่า 2 ล้านคนทั่วประเทศ โดยใช้ข้อมูลต่าง ๆ เช่น ข้อมูลรายได้ สถานะครัวเรือน ภูมิสารสนเทศของนักเรียนและครอบครัว เป็นต้น
2. ข้อมูลผลการจัดสรรเงินอุดหนุนอย่างมีเงื่อนไข โดยมุ่งจัดสรรงบประมาณเพื่อแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำเป็นรายบุคคล ผ่านการจัดสรรงบประมาณให้ตรงตามความต้องการของผู้เรียนแต่ละคนอย่างแท้จริง (Demand-side Financing) ระบบ iSEE จึงสามารถรายงานการได้รับเงินอุดหนุนของนักเรียนทั้ง 500,000 คนได้เป็นรายบุคคล ทั้งการโอนเงินเข้าสู่บัญชีเงินฝากของนักเรียนและผู้ปกครอง หรือภาพถ่ายพร้อมพิกัด GIS ของการรับเงินสดของนักเรียนและผู้ปกครอง โดยมีการลงชื่อรับรองการรับเงินอิเล็กทรอนิกส์กำกับด้วย
3. ระบบติดตามเงื่อนไขการรับเงินอุดหนุน โดยจะมีการรายงานเงื่อนไขการรับเงินอุดหนุนของแต่ละคนที่ครูกรอกเข้ามาเป็นรายภาคการศึกษา ซึ่งจะต้องรายงานการบันทึกข้อมูลผ่านแอพพลิเคชั่น CCT ที่ช่วยครูประหยัดเวลาในการติดตาม และบันทึกผลการปฏิบัติงานตามเงื่อนไขการรับเงินอุดหนุนของนักเรียนยากจนพิเศษ ที่กำหนดไว้ว่าต้องมีอัตราการมาเรียนเกินกว่าร้อยละ 80 ตลอดปีการศึกษา รวมทั้งพิจารณาน้ำหนักและส่วนสูงของเด็ก เพื่อดูแลให้มีพัฒนาการที่สมวัยโดยแอพพลิเคชั่น CCT จะเชื่อมข้อมูลน้ำหนักและส่วนสูงของนักเรียนที่มีการบันทึกเข้ามาโดยอัตโนมัติ นอกจากนี้ ครูจะสามารถแจ้งนักเรียนที่ขาดเรียนในแต่ละวัน โดยการทำงานในทุกขั้นตอนนี้ ไม่ได้ใช้กระดาษเลยนะครับ (Paperless)
และ 4. ระบบส่งต่อข้อมูลเชื่อมกับฐานข้อมูลขนาดใหญ่ของหน่วยงานต่าง ๆ ผ่านหมายเลขประจำตัวประชาชน 13 หลัก สำหรับบูรณาการการทำงานเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษาของ กสศ. เข้ากับ 6 กระทรวงหลักที่เกี่ยวข้อง โดยสามารถเรียกดูข้อมูลรายงาน สถานการณ์ความเหลื่อมล้ำ และจำนวนนักเรียนยากจนพิเศษได้ตลอดเวลา รวมทั้งข้อมูลของสถานศึกษาทั้ง 30,000 แห่ง ผลการเบิกจ่ายงบประมาณของกองทุนฯ ทั้งในระดับประเทศ จังหวัด สถานศึกษา ไปจนถึงระดับผู้เรียน ซึ่งต่อไปจะเชื่อมโยงกับข้อมูลของโครงการลดความเหลื่อมล้ำต่าง ๆ ของภาครัฐอีกด้วย เช่น โครงการลงทะเบียนเพื่อสวัสดิการแห่งรัฐ และโครงการเงินอุดหนุนเด็กแรกเกิด ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ข้อมูลในระบบ iSEE นี้ ผ่านการคัดกรองและตรวจสอบถึง 3 ชั้น ได้แก่ (1) การตรวจสอบข้อมูลเชิงประจักษ์ ทั้งด้านรายได้และสถานะครัวเรือน ผ่านแอพพลิเคชั่น CCT (2) การรับรองข้อมูลของทั้งผู้ปกครอง ครู และกำนันหรือผู้ใหญ่บ้าน (3) การรับรองของคณะกรรมการสถานศึกษาที่ประกอบด้วยผู้นำชุมชน ผู้นำศาสนา และข้าราชการหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ โดยหลังการเปิดระบบเมื่อวันที่ 21 ธันวาคม ที่ผ่านมา มีนักเรียนยากจนพิเศษอย่างมีเงื่อนไขทั้งสิ้นกว่า 4 แสนรายนะครับ
ที่ผ่านมา การสร้างการเปลี่ยนแปลงทางการศึกษาของประเทศยังถือว่าทำได้ไม่มากเท่าที่เราคาดหวัง ส่วนหนึ่งมาจากงบประมาณที่ลงไปสนับสนุนไม่ตรงจุดอย่างที่ควรจะเป็น ทำให้ยังมีความเหลื่อมล้ำให้เห็นอยู่ในปัจจุบัน ระบบ iSEE นี้ ถือว่าเป็นการนำเทคโนโลยีมาช่วยภาครัฐเพื่อให้สามารถดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพ โปร่งใส และตรงกับความต้องการของเยาวชนของชาติแต่ละรายได้ อีกทั้งยังมีเงื่อนไขที่นักเรียนต้องปฏิบัติเพื่อให้ได้รับความช่วยเหลือด้วย ผมขอขอบคุณทุกท่านนะครับ ที่ช่วยกันพลิกโฉมการบริหารจัดการระบบการศึกษาของประเทศ และขอให้ กสศ. กระทรวงศึกษาธิการและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้เร่งดำเนินการเพื่อให้ได้รับความร่วมมือจากโรงเรียนและครูในการกรอกข้อมูลที่ถูกต้องและทันสมัยอยู่เสมอ รวมทั้งการเชื่อมโยงข้อมูลที่ต้องดูแลความเป็นส่วนตัวของข้อมูลนักเรียนเหล่านี้ด้วยนะครับ
นอกเหนือไปจากการทำงานของกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษาแล้ว รัฐบาลนี้ ยังเร่งวางรากฐานการปฏิรูปและพัฒนาการศึกษา เพื่อจะรองรับการปรับเปลี่ยนตามนโยบาย ไทยแลนด์ 4.0 และลดปัญหาความเหลื่อมล้ำของประเทศ โดยช่องทางหนึ่งที่สำคัญ ได้แก่ การสนับสนุนให้จัดการศึกษาในรูปแบบโรงเรียนร่วมพัฒนา (Partnership School) ขึ้น อันเป็นแนวคิดการสร้างนวัตกรรมการบริหารจัดการสถานศึกษา ภายใต้บทบาท ความร่วมมือ ระหว่างกระทรวงศึกษาธิการ กับบริษัท มูลนิธิ องค์กร หรือสถาบันต่าง ๆ จำนวนมาก ที่ให้การสนับสนุนทรัพยากร และมีส่วนร่วมในการบริหารสถานศึกษาตามโครงการนี้ โดยทำงานร่วมกันตามรูปแบบประชารัฐ ซึ่งในปีที่ผ่านมา มีสถานศึกษาเข้าร่วมโครงการ 50 แห่ง จาก 34 จังหวัด และในปีนี้ จะขยายให้ครอบคลุมทั้ง 77 จังหวัดทั่วประเทศ มีสถานศึกษาเข้าร่วมโครงการ รวมทั้งสิ้น 185 แห่ง
เป้าหมายของการยกระดับการศึกษา ตามโครงการโรงเรียนร่วมพัฒนานี้ ได้แก่ การสร้างการมีส่วนร่วมของภาคส่วนต่าง ๆ ในการบริหารจัดการ ร่วมพัฒนาและสนับสนุนสถานศึกษา เพื่อจะพัฒนาคุณภาพและสร้างนวัตกรรมในการบริหารจัดการสถานศึกษา ให้สามารถยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน รวมทั้งเตรียมความพร้อมสำหรับอนาคตให้แก่ผู้เรียน เพื่อจะให้สถานศึกษาได้รับโอกาสในการพัฒนาอย่างทั่วถึง สามารถเป็นแหล่งเรียนรู้ตลอดชีวิตของทุกคนในชุมชนอีกด้วย ซึ่งเป็นศูนย์กลางการพัฒนาทักษะและคุณภาพชีวิต และนำไปสู่การช่วยลดปัญหาความเหลื่อมล้ำของประเทศได้
ในการดำเนินงานเพื่อให้เกิดโรงเรียนร่วมพัฒนานี้ ได้มีการปลดล็อคกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการ การจัดสรรงบประมาณ รวมถึงการบริหารงานบุคคล และลักษณะวิชาการให้เหมาะสม อีกทั้งได้มีการกำหนดรูปแบบและเกณฑ์การคัดเลือกสถานศึกษา เพื่อพัฒนาเป็นต้นแบบของโรงเรียนร่วมพัฒนา มีการคัดเลือกภาคเอกชนและผู้ร่วมสนับสนุน มีการวางระบบการบริหารการเปลี่ยนแปลง และการขยายผลความสำเร็จในอนาคต
ซึ่งปัจจัยสำคัญที่จะนำไปสู่ความสำเร็จของการส่งเสริมโรงเรียนร่วมพัฒนา ได้แก่
(1) การมีส่วนร่วมในการบริหารสถานศึกษา ทั้งจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และชุมชนในพื้นที่
(2) การบริหารงานบุคคล ที่เอกชนผู้สนับสนุน จะเข้ามามีส่วนร่วมในคณะกรรมการสถานศึกษาหรือที่ปรึกษา ที่สามารถประเมินผลงาน และคัดเลือกบุคลากรเข้าทำงานต่อไปได้อีกด้วย
(3) การบริหารงบประมาณ ที่มีการจัดทำบัญชีให้ตรงกับมาตรฐาน ตรวจสอบได้ โดยจัดทำบัญชีแยกต่างหากจากงบประมาณจากภาครัฐ อย่างชัดเจน
(4) การบริหารงานวิชาการ ที่มีการร่วมพัฒนาหลักสูตร การจัดการเรียนการสอน การพัฒนาสื่อการเรียนรู้ การวัดและประเมินผลให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้เรียน ผู้ปกครอง ชุมชน และบริบทของสถานศึกษา
และ (5) การติดตามผลและวิจัยในระดับองค์การและระดับสถานศึกษา ในรูปแบบคณะทำงานและการสรรหาบุคคลภายนอก มาเป็นผู้ติดตามประเมินผลด้วย
โครงการนี้ ถือเป็นอีกหนึ่งโครงการที่สะท้อนถึงการให้ความสำคัญที่จะร่วมมือกันในการพัฒนาบุคลากรของประเทศ ให้มีทักษะที่เหมาะสมกับความต้องการ และความชอบของตนเอง รองรับการเปลี่ยนแปลงเข้าสู่ยุค 4.0 และสอดคล้องกับความต้องการของเอกชน ในการขับเคลื่อนกิจกรรมการผลิตสินค้าและบริการต่าง ๆ ผมขอชื่นชมนะครับ ขอขอบคุณทุกฝ่าย ที่มีส่วนร่วมในการดำเนินงานให้สัมฤทธิ์ผลอย่างเป็นรูปธรรมและต่อเนื่อง ทำให้การปฏิรูปทางการศึกษาของประเทศได้ก้าวข้ามอุปสรรคไปอีกหนึ่งขั้น ทั้งนี้ ยังมีอีกหลายสถานศึกษา ที่สนใจจะเข้าร่วมโครงการโรงเรียนร่วมพัฒนา ซึ่งหากภาคเอกชน บริษัทห้างร้าน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในพื้นที่โรงเรียนตั้งอยู่นั้น มีความสนใจ ก็สามารถจะเข้ามาร่วมกันสนับสนุนสถานศึกษา ช่วยลูก ช่วยหลานของเราในชุมชน และเป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาคุณภาพเยาวชนให้กับประเทศได้นะครับ
พี่น้องประชาชนที่รักครับ
สำหรับเรื่องที่ 2 เป็นเรื่องการสร้างความยั่งยืนให้กับการประมงของไทย แม้ว่าประเทศไทยจะได้ชื่อว่า “ในน้ำมีปลา ในนามีข้าว” ที่สะท้อนให้เห็นถึงความอุดมสมบูรณ์ทางทรัพยากรธรรมชาติก็ตาม หากเราไม่มีการบริหารจัดการ หรือไม่รักษาสมดุล หรือใช้อย่างไม่ยั้งคิด ไม่ทดแทน ไม่ให้โอกาสฟื้นฟู สุดท้าย ลูกหลานของเรา จะพบกับความขาดแคลนได้
การทำการประมงของไทยในอดีต มีการใช้เครื่องมือทำลายล้างมากมาย และรุนแรง ทำให้ทรัพยากรสัตว์น้ำลดลง ทำให้ต้องออกเรือไกลขึ้นกว่าจะหาปลาได้ ส่งผลให้คุณภาพชีวิตของลูกเรือไม่ดี เกิดปัญหาการใช้แรงงานบังคับและค้ามนุษย์ ประกอบกับกฎกติกาที่มีอยู่ มีความล้าสมัย ทั้ง พ.ร.บ. ประมง (พ.ศ. 2490) และ พ.ร.บ. เรือไทย (พ.ศ. 2481) ไม่เป็นสากล จนเกิดปัญหาการประมงผิดกฎหมาย (IUU) และปัญหาค้ามนุษย์ตามมา ประเทศไทยอาจจะไม่สามารถส่งสินค้าประมงไปประเทศอื่น ๆ ได้ เนื่องจากเขาต้องการรับซื้อสินค้าที่มีคุณภาพ หมายถึง มีที่มาที่ไป ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม และไม่ใช้แรงงานจากการค้ามนุษย์
รัฐบาลนี้ได้เข้ามาแก้ไขปัญหา ตลอดระยะเวลากว่า 3 ปี ก็ได้ยึดหลักแก้ปัญหาด้วยการทำประมงที่ยั่งยืน ส่งผลดีต่อรุ่นลูก รุ่นหลาน ให้มีรายได้ โดยจะต้องเคารพกติกาสากล ด้วยการรักษาความสมดุล 3 ส่วน ก็คือ เรือจับปลา คนจับปลา และการทำการประมง ที่มีกฎกติการองรับ โดยกำหนดกรอบการทำงานออกเป็น 6 ด้าน ได้แก่ ด้านกฎหมาย ด้านการจัดการกองเรือ ด้านการติดตาม ควบคุม และเฝ้าระวัง (MCS) ด้านการตรวจสอบย้อนกลับ ด้านการบังคับใช้กฎหมาย และด้านแรงงานภาคประมง ซึ่งต้องดำเนินการไปพร้อม ๆ กัน ด้วยการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน โดยเฉพาะพี่น้องชาวประมง จนนำมาสู่การจัดสรรวันทำประมง ตามตารางที่กำหนด แยกตามกลุ่มสัตว์น้ำและเครื่องมือประมง โดยมีการออกใบอนุญาตทำการประมงเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ของประเทศ
ผลจากการดำเนินการที่ผ่านมา ทำให้ทรัพยากรสัตว์น้ำกลับมาอุดมสมบูรณ์อีกครั้ง เห็นได้จากการบันทึกการทำประมงของชาวประมงพาณิชย์ (logbook) ในปี 2561 ที่มีปริมาณการจับสัตว์น้ำได้เพิ่มมากขึ้นกว่าปี 2560 ประมาณ 200,000 ตัน อีกทั้งเสียงสะท้อนจากพี่น้องชาวประมงพื้นบ้าน และเครือข่ายสมัชชาประมงพื้นบ้านประเทศไทย ว่าสามารถจับสัตว์น้ำได้มากขึ้น ปลาตัวใหญ่ขึ้น
ทั้งนี้ จากผลการดำเนินการดังกล่าว รัฐบาลได้มอบหมายให้กรมประมงปรับเพิ่มวันทำการประมง ประจำปีการประมง 2561 เริ่มตั้งแต่ 1 ม.ค. – 31 มี.ค. 62 สำหรับเรือประมงพาณิชย์ ทั้งฝั่งอ่าวไทยและอันดามัน อันเป็นผลสัมฤทธิ์จากการแก้ไขปัญหาการทำประมงผิดกฎหมาย ที่ทำให้ท้องทะเลไทยมีความยั่งยืน ซึ่งเป็นทิศทางการทำงานของรัฐบาลนี้ ในเวลากว่า 3 ปี ที่ผ่านมา ที่สะท้อนให้เห็นถึงความสำเร็จในการแก้ปัญหาที่ยั่งยืนให้กับภาคการประมงของไทย ขอขอบคุณทุกท่านที่มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งเจ้าหน้าที่ ข้าราชการ พี่น้องชาวประมงทั้งหลาย ทั้งระบบนะครับ
พี่น้องประชาชนครับ
สภาพแวดล้อมของโลก นับว่าเป็นปัจจัยภายนอกที่เราไม่สามารถควบคุมได้ แต่เราจำเป็นต้องสนใจ ติดตามและรู้เท่าทัน เพื่อการปรับตัวให้สอดรับการสถานการณ์ อาทิ สงครามการค้าที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน และอาจส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจโลกอย่างมาก ในช่วงปี 2562 นี้ ก็ขอให้ทุกคนได้ติดตามอย่างต่อเนื่อง เพราะทุกอย่างมีความเชื่อมโยงกันทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของการเงิน การคลัง ของประชาคมโลก ประเทศต่าง ๆ รวมไปถึงผลกระทบที่จะมีต่อเศรษฐกิจของไทย และพวกเราทุกคน ไม่ทางตรงก็ทางอ้อม ดังนั้น เราต้องสร้างความเข้มแข็งจากภายในของเราเองให้ได้ ต้องช่วยกัน ต้องพัฒนา ต้องปรับเปลี่ยนตัวเองไปด้วยนะครับ
ส่วนความเปลี่ยนแปลงของสภาพลมฟ้าอากาศ ที่ปัจจุบันทวีความรุนแรงขึ้น เราควบคุมได้ยาก แต่สามารถบรรเทาผลกระทบได้ หากมีการเตรียมและการสร้างการรับรู้ที่ดี อาทิ พายุโซนร้อนปาบึก ตามที่กรมอุตุนิยมวิทยาได้ออกประกาศแจ้งเตือนมาอย่างต่อเนื่องนั้น ปัจจุบันกำลังเข้าสู่ทะเลอ่าวไทย และขึ้นฝั่งในพื้นที่จังหวัดภาคใต้ของไทย เป็นเหตุให้ภาคใต้จะมีฝนตกหนัก ถึงหนักมาก มีน้ำสะสมเพิ่มขึ้น จนอาจเกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลากในหลายพื้นที่ และทะเลก็จะมีคลื่นสูง
โดยจังหวัดทางภาคใต้ ทั้งฝั่งอ่าวไทยและฝั่งอันดามัน ได้รับผลกระทบในวงกว้าง รัฐบาลได้มีการแจ้งเตือนพี่น้องประชาชน และเตรียมการในทุกด้านล่วงหน้า โดยกองบัญชาการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ (บกปภ.ช.) ได้เน้นย้ำให้แต่ละจังหวัดเฝ้าระวัง ติดตามสภาพอากาศ ปริมาณฝน ระดับน้ำ ประเมินสถานการณ์และแนวโน้มอย่างใกล้ชิดและต่อเนื่อง เตรียมการเผชิญเหตุ พร้อมทั้งกำหนดแนวทางการรับมือ ป้องกัน และแก้ไข และฟื้นฟูปัญหา ให้สอดคล้องกับสภาพความเสี่ยงภัยในแต่ละพื้นที่ รวมทั้งจัดเตรียมความพร้อมให้ครอบคลุมในทุก ๆ ด้าน อาทิ ด้านการช่วยเหลือบรรเทาทุกข์ ทั้งอาหาร เวชภัณฑ์ ยารักษาโรค ชุดเคลื่อนที่เร็ว รถและเรือกู้ภัย ระบบไฟฟ้าสำรองและการสื่อสาร ที่ต้องมีความพร้อม 100% ไปจนถึงเตรียมแผนการเผชิญเหตุ แผนอพยพ และแผนการฟื้นฟูภายหลังการเกิดเหตุให้ครอบคลุม รวดเร็วทั้งระบบ จึงขอให้พี่น้องประชาชนเชื่อฟังคำสั่ง คำแนะนำของเจ้าหน้าที่ เพื่อให้การบริหารจัดการภัยธรรมชาติในครั้งนี้ เป็นไปด้วยความเรียบร้อย ทุกคนได้รับการดูแลอย่างทั่วถึง และเท่าเทียม ขอให้ทุกคนปลอดภัยทุกคนนะครับ
สุดท้ายนี้ เมื่อวันก่อน ผมได้มีโอกาสเข้าเฝ้าฯ สมเด็จพระสังฆราชฯ ณ วัดราชบพิธ เนื่องในโอกาสเทศกาลวันขึ้นปีใหม่ ซึ่งท่านประทานหนังสือ “ดูใจของเรา” (Look into your mind) เพื่อเป็นสิริมงคลแก่ชีวิต ผมเห็นว่าจะเป็นประโยชน์อย่างมาก สำหรับพี่น้องประชาชนทุกคน จึงอยากแนะนำให้ทุกคนได้หาอ่าน ศึกษาให้ลึกซึ้ง ทำความเข้าใจ แล้วน้อมนำไปปฏิบัติด้วยนะครับ
ขอบคุณนะครับ ขอให้ทุกคน ทุกครอบครัว ปลอดภัย ผ่านพ้นอุปสรรคไปได้ด้วยดี สวัสดีปีใหม่อีกครั้งนะครับ ขอให้ทุกคนมีความสุขในช่วงปี 2562 และตลอดไป สวัสดีครับ
( คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้
( คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น