หน้าหลัก ติวสอบดอทคอม เว็บฟรีข้อสอบออนไลน์

หน้าหลัก ติวสอบดอทคอม เว็บฟรีข้อสอบออนไลน์
หน้าหลัก ติวสอบดอทคอม เว็บฟรีข้อสอบออนไลน์

พัฒนาความรู้ สู่ รอง./ผอ.รร. ปี 2567

พัฒนาความรู้ สู่ รอง./ผอ.รร. ปี 2567
พัฒนาความรู้ สู่ รอง./ผอ.รร. ปี 2567

คลิ๊ก "สมัครพัฒนาความรู้สู่ผู้บริหาร / ครูผู้ช่วย

คลิ๊ก... สมัคร พัฒนาความรู้ สู่ ครูผู้ช่วย
คลิ๊ก... สมัคร พัฒนาความรู้ สู่ ผู้บริหาร

ติวสอบดอทคอม (เตรียมสอบครูผู้ช่วย-ผู้บริหาร-บุคลากร การศึกษา)

ติวสอบดอทคอม (เตรียมสอบครูผู้ช่วย-ผู้บริหาร-บุคลากร การศึกษา)
ติวสอบดอทคอม (เว็บฟรีข้อสอบออนไลน์ สอบครู ผู้บริหาร บุคลากร)

วันพุธที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2562

ปลด “ใบเหลือง” IUU เพื่อการประมงไทยที่ยั่งยืน

อ่านชัด-อ่านครบ กด ดูเวอร์ชั่นสำหรับเว็บ (ด้านล่าง)

เรื่องใหม่น่าสนใจ  (ทั้งหมด ที่ )


(เนื้อหา-ข้อสอบ 1,000 ชุุด หมื่นข้อ ภาค กข


40 วิชาเอก) ที่ ห้องสอบด้านขวา หรือ 


เว็บฟรีข้อสอบ 1,000 ชุด ที่ ติวสอบดอทคอม 

คลิ๊ก www.tuewsob.com โดย อ.นิกร





 คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้   


ปลด “ใบเหลือง” IUU เพื่อการประมงไทยที่ยั่งยืน

IUU Fishing คืออะไร ?

IUU ย่อมาจาก Illegal, Unreported and Unregulated Fishing ซึ่งหมายถึงการทำประมงที่ผิดกฎหมาย ขาดการรายงาน และไร้การควบคุม ซึ่งในขณะนี้ไทยได้รับใบเหลืองที่หมายถึงว่า สหภาพยุโรปกำหนดให้ไทยเป็นประเทศที่มีความเสี่ยงที่จะถูกจัดให้เป็นประเทศที่ไม่ให้ความร่วมมือ (possibility of identifying as non-cooperating country) ภายใต้กฎระเบียบ IUU ของสหภาพยุโรป ซึ่งใบเหลืองถือเป็นเพียงการประกาศเตือนในเบื้องต้น เปิดโอกาสให้มีการเจรจาและแก้ไขปรับปรุงได้ ซึ่ง IUU Fishing นั้น
  • เป็นภัยคุกคามอย่างใหญ่หลวงต่อการทำการประมงอย่างยั่งยืน
  • ทำลายทรัพยากรธรรมชาติทางทะเล
  • ส่งผลกระทบต่อระบบสังคมและเศรษฐกิจ

ทำไมไทยจึงได้ใบเหลือง ?

เพราะขาดการป้องกันและยับยั้งการทำประมงที่ผิดกฎหมาย
ขาดการรายงาน และไร้การควบคุม ไทยจึงได้รับใบเหลือง IUU
ไทยในฐานะรัฐเจ้าของธงเรือ (Flag State) รัฐเจ้าของท่า (Port State) รัฐชายฝั่ง (Coastal State) และรัฐเจ้าของตลาด (Market State) ยังไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ตามพันธกรณีของกฎหมายสากล และยังไม่มีการดำเนินการเพื่อป้องกัน ยับยั้งและกำจัดการทำประมง IUU เท่าที่ควร นอกจากนี้ ยังขาดการติดตาม ควบคุม และดูแลกระบวนการตรวจสอบย้อนกลับสำหรับสัตว์น้ำและผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำ ทั้งที่นำเข้ามาเพื่อการแปรรูปและส่งออกไปยังประเทศในแถบยุโรป ทำให้สหภาพยุโรปจำเป็นที่จะต้องออกประกาศแจ้งเตือนอย่างเป็นทางการ (ให้ใบเหลือง) แต่ยังไม่มีผลต่อการระงับการนำเข้าสินค้าประมงที่จับโดยเรือไทยที่ส่งไปขายในตลาดสหภาพยุโรปแต่อย่างใด ซึ่งสหภาพยุโรปให้ระยะเวลาไทยในการปรับปรุงแก้ไขภายใน 6 เดือน นับจากวันที่ได้รับการแจ้งขึ้นบัญชีอย่างเป็นทางการ

หากไม่สามารถแก้ปัญหา IUU Fishing ได้ จะเกิดผลกระทบต่อระบบสังคมและเศรษฐกิจอย่างไร ?

สินค้าประมงไม่สามารถส่งออกไปยุโรปได้ ส่งผลให้ต้องเลิกจ้างงานจำนวนมาก
จากการถูกห้ามสินค้าในอุตสาหกรรมประมงที่ส่งเข้าไปขายในประเทศทางยุโรป โดยในภาพรวมจะทำให้ไทยสูญเสียมูลค่าการส่งออกนับแสนล้าน ผู้ประกอบอาชีพทำการประมงทั้งระบบจะประสบกับวิกฤต ทั้งเจ้าของกิจการเรือประมงในประเทศ แรงงานทั้งไทยและแรงงานต่างด้าว รวมทั้งผู้ประกอบการต้นทาง เช่น ผู้ประกอบการผลิตน้ำแข็ง อุปกรณ์การประมง รวมถึงผู้ประกอบการปลายทาง เช่น ผู้ส่งออกสินค้า ผู้จัดจำหน่าย ด้วย

การดำเนินการของไทยเพื่อแก้ไขปัญหา IUU Fishing

รัฐบาลเดินหน้าแก้ไข พลิกวิกฤติให้เป็นโอกาส
กับ 6 ด้านที่ต้องลงมือทำทันที
ไทยได้พลิกวิกฤติให้เป็นโอกาสด้วยการให้ความร่วมมือกับสหภาพยุโรปที่จะเข้ามาช่วยไทยแก้ไขปัญหาการประมง IUU และปัญหาด้านประมงอื่น ๆ ที่เรื้อรังมานาน เพื่อเป้าหมายในการสร้างระบบการบริหารจัดการประมงไทยให้มีประสิทธิภาพและยั่งยืนมากยิ่งขึ้น ซึ่งถือเป็นการยกระดับมาตรฐานการประมงไทยให้ได้ โดยได้มุ่งเน้นสร้างการมีส่วนร่วมในการแก้ปัญหาจากทุกภาคส่วน จัดระบบติดตามงาน มีผู้รับผิดชอบ และฐานข้อมูลที่ชัดเจน เช่น เรื่องจำนวนเรือ จำนวนท่าเทียบเรือ การวิเคราะห์เป้าหมาย กระบวนการบังคับ การใช้กฎหมายที่ส่งผลกระทบต่อชาวประมง พร้อมปรับแก้กฎหมายที่ไม่สอดคล้องกับการปฏิบัติโดยนำเทคโนโลยีมาช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน รวมทั้งสร้างบทบาทในเวทีต่างประเทศ พร้อมกันนี้ได้กำหนดกรอบแก้ไขปัญหาใน 6 เรื่องสำคัญของประเด็น 6 ด้าน ดังนี้
  • ด้านกฎหมาย มีการกำหนดเขตทะเล ชายฝั่ง ตาม พ.ร.ก. การประมง พ.ศ. 2558 ประกาศบังคับใช้เมื่อวันที่ 14 พ.ย. 58 พ.ร.ก. การประมง (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2560 ประกาศบังคับใช้เมื่อวันที่ 29 มิ.ย. 60 โดยได้ปรับแก้ไขในบางมาตราเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบังคับใช้กฎหมาย ทั้งนี้ ปัจจุบันได้กำหนดเขตทะเลชายฝั่งตามสภาพภูมิประเทศของแต่ละจังหวัด กำหนดมาตรการ ควบคุม เฝ้าระวัง ทั้งเรือประมงในน่านน้ำและนอกน่านน้ำ การแจ้งเข้า-ออกของศูนย์ PIPO การติดระบบติดตามเรือ (VMS) รวมไปถึงการจัดระเบียบท่าเทียบเรือ
  • ด้านการจัดการกองเรือ มีความชัดเจนของกองเรือประมง รวมทั้งเรือจม เรือหาย หรือขายไปต่างประเทศ ปัจจุบันพบว่าเรือประมงไทยสร้างความชัดเจนของสถานะจำนวนเรือประมงที่แน่นอน ทั้งพื้นบ้านและพาณิชย์ จัดทำอัตลักษณ์และวัดขนาดเรือประมง พาณิชย์ทุกลำ สำรวจความมีอยู่จริงแก้ปัญหาสวมเรือ (จม/ผุพัง/ขายไปที่อื่น) ควบคุมเรือที่ไม่มีใบอนุญาต และเรือที่มีคดีไม่ให้ออกไปทำประมงทั้งในและนอกน่านน้ำ ลดผลกระทบด้วยการซื้อเรือคืน และลดจำนวนเรือด้วยการควบรวมเรือประมง
  • ด้านการติดตาม ควบคุม เฝ้าระวัง (MCS) มีการจัดตั้งศูนย์ควบคุมและเฝ้าระวังการทำการประมง (FMC) จัดตั้งศูนย์ควบคุมการแจ้งเรือเข้าออก (PIPO) 32 ศูนย์ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ โดยปรับโครงสร้างของศูนย์ฯ และจำนวนเจ้าหน้าที่ให้สอดคล้องกับจำนวนเรือประมงที่แจ้งเข้าออก และจัดตั้งจุดตรวจเรือประมงส่วนหน้า (FIP) 19 ศูนย์ เพื่อเข้าไปสนับสนุนและประเมินผลการปฏิบัติ การติดระบบติดตามเรือประมง (VMS) ปัจจุบันมีผลบังคับให้เรือประมงพาณิชย์ (30 ตันกรอสขึ้นไป) และเรือสนับสนุนต่าง ๆ ต้องติด VMS ซึ่งได้ติดตั้งเรียบร้อยแล้ว
  • ด้านการตรวจสอบย้อนกลับ (Traceability) ปัจจุบันมีการจดทะเบียนท่าเทียบเรือทั้งหมด 1,063 ท่า เพื่ออำนวยความสะดวกในการบริหารจัดการและจัดระบบทุกท่าเทียบเรือ โดยต้องผ่านการตรวจสุขอนามัยและมีเอกสารการกำกับการซื้อขายด้วย ทั้งนี้ เพื่อให้สามารถติดตาม ตรวจสอบสอบผลิตภัณฑ์ย้อนกลับไปยังแหล่งที่มาของสัตว์น้ำ และเพื่อให้มั่นใจว่าไม่มีสัตว์น้ำจากการทำประมง IUU ขึ้นท่า แปรรูป และส่งออกไปจากประเทศ
  • ด้านการบังคับใช้กฎหมาย ได้เพิ่มประสิทธิภาพบังคับใช้กฎหมาย โดยประชุมหารือร่วมกันระหว่าง ตำรวจ อัยการ ศาล และตัวแทนจากสหรัฐฯ ซึ่งมีกรอบการทำงานที่ชัดเจนและรวดเร็ว โดยศาลอาญาได้ตั้งคณะผู้พิพากษาคดีประมงแยกเป็นการเฉพาะ รวมทั้งกำหนดเวลาพิจารณาคดีให้แล้วเสร็จภายใน 6 เดือน
  • ด้านแรงงาน ดำเนินการการปรับปรุง พ.ร.ก. บริหารแรงงานต่างด้าว (คาดว่าบังคับใช้ในเดือน มิ.ย. 61) การเข้าเป็นภาคีต่าง ๆ ภายในปี 61 เช่น C29 (แรงงานบังคับ), C188 (ความปลอดภัยการทำงานในทะเล), ILO98 (ส่งเสริมการเจรจา ต่อรอง) มีการวางระบบตรวจสอบแรงงานที่ศูนย์ PIPO อย่างชัดเจน เช่น แรงงานที่เข้าออกต้องตรงกัน ทั้งจำนวนและตัวตน การจัดล่ามสัมภาษณ์แรงงาน เพื่อสืบสวนการเอารัดเอาเปรียบ พฤติกรรมบังคับแรงงาน การค้ามนุษย์ แรงงานเด็ก โดยแต่งตั้งคณะทำงานส่งเสริมแรงงานสัมพันธ์เพื่อส่งเสริมการรวมตัวของแรงงานประมงไทยและข้ามชาติ และมีการแถลงข่าวจัดตั้งสหภาพแรงงานลูกเรือประมงไทยและข้ามชาติ เป็นองค์กรลูกจ้างตามกฎหมาย เพื่อส่งเสริมการรวมตัว คุ้มครองสิทธิ์ จากนั้น จะมีการประชุมด้านแรงงานระหว่างประเทศไทยกับสหภาพยุโรป (EU) ภายในเดือน พ.ค. 61
นอกจากนี้ ครม. ยังได้มีมติ (3 เม.ย. 61) อนุมัติในหลักการแต่งตั้งคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยการประมงปลอดจากสัตว์น้ำและสินค้าประมงจากการทำประมงผิดกฎหมาย ขาดการรายงาน และไร้การควบคุม เพื่อทำหน้าที่กำหนดนโยบาย กำกับดูแล ขับเคลื่อน และผลักดัน เพื่อให้การดำเนินงานให้ไทยปลอดจากสัตว์น้ำและสินค้าประมง IUU เป็นไปด้วยความถูกต้อง รวดเร็ว และบรรลุผลสำเร็จตามเจตจำนงด้วย

ที่มา; เว็บ https://pmdu.soc.go.th/iuu/3920

 คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้   

โดย  อ./ผอ.นิกร  ติวสอบดอทคอม 
(ฟรีสรุป-ข้อสอบ-เฉลย ภาค กขค)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

พัฒนาความรู้ครูผู้ช่วย 4 ภาค

พัฒนาความรู้ครูผู้ช่วย 4 ภาค
พัฒนาความรู้ครูผู้ช่วย 4 ภาค

ห้องสนทนา บน facebook

ห้องสนทนา บน facebook
ห้องสนทนาติวสอบดอทคอม

ข้อสอบออนไลน์ "ติวสอบดอทคอม" ชุดใหม่

คู่มือเตรียมสอบผู้บริหาร ภาค ก ข ค

แจ้งย้ายเว็บไปที่ www.tuewsob.com

คู่มือเตรียมสอบผู้บริหาร ภาค ก ข ค (ปรับปรุงใหม่)

รวม เล่ม + แผ่นพับ + ชีตช่วยจำ + DVD เนื้อหา + เสียงบรรยาย + EMS = 800 บาท
สนใจ คู่มือ ภาค ก ข ค ผู้บริหาร คลิ๊กเลย

สั่งจอง... โอนเงินเข้าชื่อบัญชี นายนิกร เพ็งลี ธนาคารกรุงไทย สาขาจอหอ บัญชีเลขที่ 341-1-38912-5 โอนเงินแล้วกรุณาโทรแจ้ง
0872494141 หรือ 0839660030

คู่มือ เตรียมสอบผู้บริหาร

คู่มือ เตรียมสอบผู้บริหาร
คู่มือ เตรียมสอบผู้บริหาร

ติวสอบออนไลน์ บน facebook

ติวสอบออนไลน์ บน facebook
ติวสอบออนไลน์ บน facebook

คลังหนังสือ ติวสอบดอทคอม

คลังหนังสือ ติวสอบดอทคอม
คลังหนังสือ ติวสอบดอทคอม

ติวสอบดอทคอม

ติวสอบดอทคอม
ติวสอบดอทคอม