อ่านชัด-อ่านครบ กด ดูเวอร์ชั่นสำหรับเว็บ (ด้านล่าง)
เรื่องใหม่น่าสนใจ (ทั้งหมด ที่ )
(เนื้อหา-ข้อสอบ 1,000 ชุุด หมื่นข้อ ภาค กข
+ 40 วิชาเอก) ที่ ห้องสอบด้านขวา หรือ
เว็บฟรีข้อสอบ 1,000 ชุด ที่ ติวสอบดอทคอม
คลิ๊ก www.tuewsob.com โดย อ.นิกร
( คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้
( คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้
เตรียมความรู้ผู้บริหารสถาน (รอง/ผอ.รร.)
เตรียมสอบติวสอบครูผู้ช่วยกรณีพิเศษ + ทั่วไป
ข่าวที่ 37/2562 ม.มหิดล เตรียมร่วมมือกับ ม.บูรพา ผลิตพัฒนากำลังคนให้สอดคล้องกับภาคอุตสาหกรรม รองรับพื้นที่ EEC เน้นหลักสูตรฝึกอบรมระยะสั้นและภาษาอังกฤษ
ศ.คลินิก นพ.อุดม คชินทร รมช.ศธ. ประชุมหารือกับ ดร.คณิต แสงสุพรรณ เลขาธิการคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) เพื่อดึงมหาวิทยาลัยนอกเขต EEC เข้ามาช่วยผลิตพัฒนากำลังคนให้สอดคล้องกับภาคอุตสาหกรรมในพื้นที่ โดย ม.มหิดล-บูรพา จะร่วมฝึกอบรมระยะสั้น และส่งเสริม Technical English ให้กับกำลังคนในแต่ละสาขาอาชีพ
เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 24 มกราคม 2562 ณ ห้องประชุมราชวัลลภ, ศาสตราจารย์คลินิก นพ.อุดม คชินทร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานการประชุมหารือความร่วมมือด้านการศึกษาในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) โดยมี ดร.คณิต แสงสุพรรณ เลขาธิการคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก, ศาสตราจารย์คลินิก นพ.สุวัฒน์ เบญจพลพิทักษ์ รักษาการแทนรองอธิการบดีฝ่ายการศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล, ผู้แทนสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา และผู้บริหารมหาวิทยาลัยมหิดล เข้าร่วมประชุม
ศาสตราจารย์คลินิก นพ.อุดม คชินทร กล่าวว่า การหารือร่วมกันในครั้งนี้เพื่อให้สถาบันอุดมศึกษาที่ไม่ได้ตั้งอยู่ในเขต EEC เช่น มหาวิทยาลัยมหิดล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฯลฯ ได้เห็นทิศทางในการเข้ามาช่วยมหาวิทยาลัยในพื้นที่ผลิตและพัฒนากำลังคนให้สอดคล้องกับภาคอุตสาหกรรม และลดข้อจำกัดด้านต่าง ๆ โดยมีแนวทางนำผู้ที่ทำงานอยู่แล้ว ทั้งที่จบการศึกษาในระดับ ปวช./ปวส./ปริญญาตรี มารับการพัฒนาทักษะและสมรรถนะหลักสูตรระยะสั้น เป็นเวลา 6 เดือน-1 ปี เพื่อมาเรียนรู้ทักษะและเทคโนโลยีสมัยใหม่ เมื่อจบหลักสูตรแล้วได้รับใบประกาศ
นอกจากนี้ ยังมีแนวทางที่จะส่งเสริม Technical English ให้กับกำลังคนในแต่ละสาขาอาชีพ เพื่อให้ผู้เรียนได้พัฒนาทักษะภาษาอังกฤษในวิชาชีพ และสอบใบรับรองวิชาชีพด้านช่างต่าง ๆ ในระดับสากลได้ ทำให้ได้ค่าตอบแทนเพิ่มขึ้นด้วย
ดร.คณิต แสงสุพรรณ กล่าวว่า จากข้อมูลการสำรวจกำลังคนในพื้นที่ EEC พบว่า ยังขาดแคลนกำลังคนและช่างที่มีความสามารถด้านวิทยาศาสตร์และทักษะทางวิศวกรรมศาสตร์ กว่า 50,000 คน ในขณะที่สถาบันการศึกษาในพื้นที่ผลิตกำลังคนด้านสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์จำนวนมาก จึงเกิดความไม่สมดุลกัน ดังนั้น แนวคิดการร่วมจัดการศึกษาของสถาบันอุดมศึกษา ที่มีความเชี่ยวชาญในสาขาที่ตอบโจทย์อุตสาหกรรมเป้าหมายหลักของประเทศ First S-curve และ New S-curve จึงเป็นเรื่องที่ดีอย่างมาก
สำหรับมหาวิทยาลัยมหิดล อาจจะจัดการฝึกอบรมทักษะและสมรรถนะในรูปแบบหลักสูตรระยะสั้นร่วมกับมหาวิทยาลัยบูรพา ในฐานะมหาวิทยาลัยแม่ข่ายภาคตะวันออก พร้อมทั้งส่งเสริมให้หารือกับนักลงทุนและสถานประกอบการโดยตรง ถึงคุณลักษณะและสมรรถนะกำลังคนที่สถานประกอบการต้องการ เพื่อผลิตกำลังคนที่มีคุณภาพ จบการศึกษาแล้วสามารถทำงานได้ทันที ซึ่งถือเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อความเจริญในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก
ศ.คลินิก นพ.สุวัฒน์ เบญจพลพิทักษ์ กล่าวว่า มหาวิทยาลัยมหิดล มีความยินดีที่จะร่วมมือด้านการศึกษา เพื่อสนับสนุนความต้องการด้านกำลังคนของกลุ่มอุตสาหกรรมที่เข้ามาลงทุนในประเทศไทย โดยมีแนวทางที่จะบูรณาการความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยบูรพา ซึ่งเป็นสถาบันอุดมศึกษาในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก ทั้งนี้ มหาวิทยาลัยมหิดลจัดหลักสูตรการเรียนการสอนระยะสั้นอยู่แล้ว และขณะนี้อยู่ระหว่างการรวบรวมข้อมูลด้านต่าง ๆ เพื่อดำเนินการผลิตและพัฒนากำลังคนในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกต่อไป
ที่มา : เว็บ สำนักงานรัฐมนตรีกระทรวงศึกษาธิการ
เตรียมความรู้ผู้บริหารสถาน (รอง/ผอ.รร.)
เตรียมสอบติวสอบครูผู้ช่วยกรณีพิเศษ + ทั่วไป
ข่าวที่ 37/2562 ม.มหิดล เตรียมร่วมมือกับ ม.บูรพา ผลิตพัฒนากำลังคนให้สอดคล้องกับภาคอุตสาหกรรม รองรับพื้นที่ EEC เน้นหลักสูตรฝึกอบรมระยะสั้นและภาษาอังกฤษ
ศ.คลินิก นพ.อุดม คชินทร รมช.ศธ. ประชุมหารือกับ ดร.คณิต แสงสุพรรณ เลขาธิการคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) เพื่อดึงมหาวิทยาลัยนอกเขต EEC เข้ามาช่วยผลิตพัฒนากำลังคนให้สอดคล้องกับภาคอุตสาหกรรมในพื้นที่ โดย ม.มหิดล-บูรพา จะร่วมฝึกอบรมระยะสั้น และส่งเสริม Technical English ให้กับกำลังคนในแต่ละสาขาอาชีพ
นอกจากนี้ ยังมีแนวทางที่จะส่งเสริม Technical English ให้กับกำลังคนในแต่ละสาขาอาชีพ เพื่อให้ผู้เรียนได้พัฒนาทักษะภาษาอังกฤษในวิชาชีพ และสอบใบรับรองวิชาชีพด้านช่างต่าง ๆ ในระดับสากลได้ ทำให้ได้ค่าตอบแทนเพิ่มขึ้นด้วย
ดร.คณิต แสงสุพรรณ กล่าวว่า จากข้อมูลการสำรวจกำลังคนในพื้นที่ EEC พบว่า ยังขาดแคลนกำลังคนและช่างที่มีความสามารถด้านวิทยาศาสตร์และทักษะทางวิศวกรรมศาสตร์ กว่า 50,000 คน ในขณะที่สถาบันการศึกษาในพื้นที่ผลิตกำลังคนด้านสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์จำนวนมาก จึงเกิดความไม่สมดุลกัน ดังนั้น แนวคิดการร่วมจัดการศึกษาของสถาบันอุดมศึกษา ที่มีความเชี่ยวชาญในสาขาที่ตอบโจทย์อุตสาหกรรมเป้าหมายหลักของประเทศ First S-curve และ New S-curve จึงเป็นเรื่องที่ดีอย่างมาก
สำหรับมหาวิทยาลัยมหิดล อาจจะจัดการฝึกอบรมทักษะและสมรรถนะในรูปแบบหลักสูตรระยะสั้นร่วมกับมหาวิทยาลัยบูรพา ในฐานะมหาวิทยาลัยแม่ข่ายภาคตะวันออก พร้อมทั้งส่งเสริมให้หารือกับนักลงทุนและสถานประกอบการโดยตรง ถึงคุณลักษณะและสมรรถนะกำลังคนที่สถานประกอบการต้องการ เพื่อผลิตกำลังคนที่มีคุณภาพ จบการศึกษาแล้วสามารถทำงานได้ทันที ซึ่งถือเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อความเจริญในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก
ศ.คลินิก นพ.สุวัฒน์ เบญจพลพิทักษ์ กล่าวว่า มหาวิทยาลัยมหิดล มีความยินดีที่จะร่วมมือด้านการศึกษา เพื่อสนับสนุนความต้องการด้านกำลังคนของกลุ่มอุตสาหกรรมที่เข้ามาลงทุนในประเทศไทย โดยมีแนวทางที่จะบูรณาการความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยบูรพา ซึ่งเป็นสถาบันอุดมศึกษาในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก ทั้งนี้ มหาวิทยาลัยมหิดลจัดหลักสูตรการเรียนการสอนระยะสั้นอยู่แล้ว และขณะนี้อยู่ระหว่างการรวบรวมข้อมูลด้านต่าง ๆ เพื่อดำเนินการผลิตและพัฒนากำลังคนในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกต่อไป
ที่มา : เว็บ สำนักงานรัฐมนตรีกระทรวงศึกษาธิการ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น