อ่านชัด-อ่านครบ กด ดูเวอร์ชั่นสำหรับเว็บ (ด้านล่าง)
เรื่องใหม่น่าสนใจ (ทั้งหมด ที่ )
(เนื้อหา-ข้อสอบ 1,000 ชุุด หมื่นข้อ ภาค กข
+ 40 วิชาเอก) ที่ ห้องสอบด้านขวา หรือ
เว็บฟรีข้อสอบ 1,000 ชุด ที่ ติวสอบดอทคอม
คลิ๊ก www.tuewsob.com โดย อ.นิกร
( คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้
( คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้
เตรียมความรู้ผู้บริหารสถาน (รอง/ผอ.รร.)
เตรียมสอบติวสอบครูผู้ช่วยกรณีพิเศษ + ทั่วไป
ข่าวที่ 48/2562รมช.ศธ." ศ.คลินิก นพ.อุดม คชินทร " ปาฐกถาพิเศษ “ฝ่าวิกฤตการศึกษาไทยด้วยคุณภาพ”
ศาสตราจารย์คลินิก นพ.อุดม คชินทร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ปาฐกถาพิเศษเรื่อง “ฝ่าวิกฤตการศึกษาไทยด้วยคุณภาพ” ในการประชุมวิชาการระดับชาติ ด้านการประกันคุณภาพการศึกษา ครั้งที่ 1 จัดโดยมหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี มหาวิทยาลัยศรีนคริทรวิโรฒ และมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เมื่อเร็ว ๆ นี้ ณ โรงแรมพูลแมน คิง เพาเวอร์ กรุงเทพ ซ.รางน้ำ โดยมีผู้บริหารและคณาจารย์ เข้าร่วม 452 คน จาก 44 สถาบัน
ศาสตราจารย์คลินิก นพ.อุดม คชินทร กล่าวปาฐกถาตอนหนึ่งว่า จากผลการจัดการอุดมศึกษาของไทย ซึ่งสะท้อนจากผลการจัดอันดับขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ ประจำปี 2561 (IMD World Competitiveness 2018) ในส่วนของปัจจัยโครงสร้างพื้นฐาน หมวดย่อยด้านการศึกษา พบว่ามีอันดับลดลงจากอันดับ 54 ในปี 2017 เป็นอันดับ 56 ในปี 2018 ประกอบกับผลการจัดอันดับมหาวิทยาลัยไทยของ World University Ranking ในปัจจุบัน พบว่าการอุดมศึกษาไทยยังไม่สะท้อนถึงการสร้างบุคลากรที่มีทุนมนุษย์เพื่อเข้าสู่วิชาชีพ และทุนทางปัญญาที่เอื้อต่อการสร้างนวัตกรรมของชาติ
จึงเป็นอีกเหตุผลหนึ่งที่ทำให้ประเทศยังติดอยู่ในกลุ่มประเทศรายได้ปานกลาง (Middle Income Trap)รวมทั้งปัจจัยด้านผู้เรียนที่มีจำนวนลดลง ทั้งในภาพรวมของมหาวิทยาลัยรัฐ ลดลงร้อยละ 10-15 และในมหาวิทยาลัยเอกชน ทั้งมหาวิทยาลัยเอกชนขนาดใหญ่ ที่นักศึกษาลดลงร้อยละ 20-30 และกลุ่มมหาวิทยาลัยเอกชนขนาดเล็ก ที่นักศึกษาลดลงมากถึงร้อยละ 50-70 จึงเป็นเรื่องที่น่าห่วงใยมากว่ามหาวิทยาลัยจะอยู่ได้อย่างไร
ดังนั้น จึงได้กระตุ้นเตือนต่อที่ประชุมไปแล้วว่า ถึงเวลาแล้วที่สถาบันอุดมศึกษาต้องตื่นตัวต่อแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงข้างต้น รวมทั้งแนวโน้มใหม่ของโลกในศตวรรษที่ 21 ทั้งการปรับตัวสู่สังคมเศรษฐกิจฐานความรู้ยุคโลกาภิวัตน์ (Globalizing Knowledge-Based Economy) การปรับนโยบายและเส้นทางการผลิตไปสู่การเพิ่มมูลค่าของทรัพยากร (Value-Added Segment) และการขับเคลื่อนที่มุ่งเน้นด้านผลิตภัณฑ์ และการบริการที่อาศัยองค์ความรู้และนวัตกรรม (Knowledge-Intensive and Innovation-Driven Products and Services) เชื่อมโยงสู่การเปลี่ยนแปลงการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ซึ่งเรื่องของการเรียนกับการทำงานเป็นเรื่องเดียวกัน ผู้เรียนสามารถเรียนนอกมหาวิทยาลัย เรียนได้ทุกที่ทุกเวลา โดยจะเน้นเรียนในลักษณะ Module เน้นสมรรถนะและทักษะมากกว่าความรู้ ตลอดจนเรียนเพื่อสร้างความท้าทาย และสร้างวัฒนธรรมการเรียนรู้ตลอดชีวิต เพื่อพัฒนาตนเอง
สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ จะช่วยให้สามารถ “ฝ่าวิกฤตการศึกษาไทยด้วยคุณภาพ” โดยการสร้างคนไทย 4.0 ที่มีความคิดทันสมัยทันโลก ที่สำคัญคือ “มหาวิทยาลัยต้องคิดใหญ่ให้ได้” เพื่อพัฒนากำลังคนให้เป็น HighLevel Quality Workforce พัฒนางานวิจัยไปสู่การสร้างนวัตกรรม กลุ่มเป้าหมายของสถาบันอุดมศึกษาก็เปลี่ยนแปลงไป มิใช่เพียงเด็กมัธยมศึกษากว่า 3 แสนคนเช่นเดิม ซึ่งมีแนวโน้มอัตราการเกิดลดลงอย่างต่อเนื่อง แต่หมายถึงคนทำงานและผู้สูงอายุอีกกว่า 10 ล้านคน ที่ต้องการพัฒนาทักษะ สมรรถนะ และความรู้ใหม่ ๆ เพื่อตอบโจทย์การทำงานจริงที่จะต้องใช้เครื่องมือและอุปกรณ์ตลอดจนเทคโนโลยีที่มีความก้าวหน้าทันสมัยมากขึ้น
สิ่งสำคัญของการอุดมศึกษาก็คือ “เรื่องของคุณภาพ” ซึ่งมหาวิทยาลัยมักจะถูกคาดหวังว่าจะผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพ เป็นพลเมืองโลกที่ประสบความสำเร็จ มีความสุข และมีความสามารถในการแก้ไขปัญหาของสังคม ประเทศ และโลกได้ และแน่นอนว่า คำว่า “คุณภาพ” มีความหมายหลายอย่าง โดยในส่วนของคุณภาพสำหรับการอุดมศึกษา มีคำจำกัดความหมายรวมถึง 3 ปัจจัย ได้แก่ การเป็นไปตามมาตรฐานหรือข้อกำหนด การสร้างความพึงพอใจต่อผู้ใช้หรือลูกค้า และจะต้องมีต้นทุนการดำเนินงานที่เหมาะสม โดยจะต้องดำเนินการเรื่องการประกันคุณภาพควบคู่ไปด้วยเสมอ
ศาสตราจารย์ นพ.บรรจง มไหสวริยะ รักษาการแทนอธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวถึงการจัดประชุมในครั้งนี้ว่า มหาวิทยาลัยมหิดลได้ตระหนักในความสำคัญในการใช้ระบบคุณภาพ เป็นเครื่องมือในการบริหารองค์กรสู่ความเป็นเลิศ โดยเริ่มจากปี 2553 ได้มีการพัฒนาเกณฑ์ MUQD มาใช้ในมหาวิทยาลัย จากนั้นนำเกณฑ์ EdPEx และเกณฑ์ AUN-QA มาตรวจประเมินอย่างต่อเนื่องโดยลำดับ จนนำสู่การปฏิบัติทั่วทั้งมหาวิทยาลัยในปี 2558 เป็นต้นมา
มหาวิทยาลัยมหิดล จึงได้ริเริ่มจัดการประชุมวิชาการระดับชาติ ด้านการประกันคุณภาพการศึกษา “Thailand Quality Education Forum 2019” ขึ้นเป็นครั้งแรก ในหัวข้อ “Accountable QA: Commitment to Success” เพื่อเป็นเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้านการประกันคุณภาพการศึกษา ทั้งในระดับหลักสูตร คณะ และสถาบัน ระหว่างมหาวิทยาลัยในประเทศไทย สนับสนุนการใช้ระบบคุณภาพเพื่อยกระดับมาตรฐานการศึกษาระดับอุดมศึกษา และเพื่อพัฒนาเครือข่ายบุคลากรด้านการประกันคุณภาพ ตลอดจนเพื่อเฉลิมฉลองวาระครบ 50 ปี แห่งการพระราชทานนาม และ 131 ปี มหาวิทยาลัยมหิดล ซึ่งในปีนี้มีกิจกรรมประกอบด้วย การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ความสำเร็จ ผ่านการบรรยาย การเสวนา การนำเสนอผลงาน และการสร้างเครือข่ายเรียนรู้ร่วมกัน
ที่มา : เว็บ สำนักงานรัฐมนตรีกระทรวงศึกษาธิการ
เตรียมความรู้ผู้บริหารสถาน (รอง/ผอ.รร.)
เตรียมสอบติวสอบครูผู้ช่วยกรณีพิเศษ + ทั่วไป
ข่าวที่ 48/2562รมช.ศธ." ศ.คลินิก นพ.อุดม คชินทร " ปาฐกถาพิเศษ “ฝ่าวิกฤตการศึกษาไทยด้วยคุณภาพ”
ศาสตราจารย์คลินิก นพ.อุดม คชินทร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ปาฐกถาพิเศษเรื่อง “ฝ่าวิกฤตการศึกษาไทยด้วยคุณภาพ” ในการประชุมวิชาการระดับชาติ ด้านการประกันคุณภาพการศึกษา ครั้งที่ 1 จัดโดยมหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี มหาวิทยาลัยศรีนคริทรวิโรฒ และมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เมื่อเร็ว ๆ นี้ ณ โรงแรมพูลแมน คิง เพาเวอร์ กรุงเทพ ซ.รางน้ำ โดยมีผู้บริหารและคณาจารย์ เข้าร่วม 452 คน จาก 44 สถาบัน
จึงเป็นอีกเหตุผลหนึ่งที่ทำให้ประเทศยังติดอยู่ในกลุ่มประเทศรายได้ปานกลาง (Middle Income Trap)รวมทั้งปัจจัยด้านผู้เรียนที่มีจำนวนลดลง ทั้งในภาพรวมของมหาวิทยาลัยรัฐ ลดลงร้อยละ 10-15 และในมหาวิทยาลัยเอกชน ทั้งมหาวิทยาลัยเอกชนขนาดใหญ่ ที่นักศึกษาลดลงร้อยละ 20-30 และกลุ่มมหาวิทยาลัยเอกชนขนาดเล็ก ที่นักศึกษาลดลงมากถึงร้อยละ 50-70 จึงเป็นเรื่องที่น่าห่วงใยมากว่ามหาวิทยาลัยจะอยู่ได้อย่างไร
ดังนั้น จึงได้กระตุ้นเตือนต่อที่ประชุมไปแล้วว่า ถึงเวลาแล้วที่สถาบันอุดมศึกษาต้องตื่นตัวต่อแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงข้างต้น รวมทั้งแนวโน้มใหม่ของโลกในศตวรรษที่ 21 ทั้งการปรับตัวสู่สังคมเศรษฐกิจฐานความรู้ยุคโลกาภิวัตน์ (Globalizing Knowledge-Based Economy) การปรับนโยบายและเส้นทางการผลิตไปสู่การเพิ่มมูลค่าของทรัพยากร (Value-Added Segment) และการขับเคลื่อนที่มุ่งเน้นด้านผลิตภัณฑ์ และการบริการที่อาศัยองค์ความรู้และนวัตกรรม (Knowledge-Intensive and Innovation-Driven Products and Services) เชื่อมโยงสู่การเปลี่ยนแปลงการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ซึ่งเรื่องของการเรียนกับการทำงานเป็นเรื่องเดียวกัน ผู้เรียนสามารถเรียนนอกมหาวิทยาลัย เรียนได้ทุกที่ทุกเวลา โดยจะเน้นเรียนในลักษณะ Module เน้นสมรรถนะและทักษะมากกว่าความรู้ ตลอดจนเรียนเพื่อสร้างความท้าทาย และสร้างวัฒนธรรมการเรียนรู้ตลอดชีวิต เพื่อพัฒนาตนเอง
สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ จะช่วยให้สามารถ “ฝ่าวิกฤตการศึกษาไทยด้วยคุณภาพ” โดยการสร้างคนไทย 4.0 ที่มีความคิดทันสมัยทันโลก ที่สำคัญคือ “มหาวิทยาลัยต้องคิดใหญ่ให้ได้” เพื่อพัฒนากำลังคนให้เป็น HighLevel Quality Workforce พัฒนางานวิจัยไปสู่การสร้างนวัตกรรม กลุ่มเป้าหมายของสถาบันอุดมศึกษาก็เปลี่ยนแปลงไป มิใช่เพียงเด็กมัธยมศึกษากว่า 3 แสนคนเช่นเดิม ซึ่งมีแนวโน้มอัตราการเกิดลดลงอย่างต่อเนื่อง แต่หมายถึงคนทำงานและผู้สูงอายุอีกกว่า 10 ล้านคน ที่ต้องการพัฒนาทักษะ สมรรถนะ และความรู้ใหม่ ๆ เพื่อตอบโจทย์การทำงานจริงที่จะต้องใช้เครื่องมือและอุปกรณ์ตลอดจนเทคโนโลยีที่มีความก้าวหน้าทันสมัยมากขึ้น
สิ่งสำคัญของการอุดมศึกษาก็คือ “เรื่องของคุณภาพ” ซึ่งมหาวิทยาลัยมักจะถูกคาดหวังว่าจะผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพ เป็นพลเมืองโลกที่ประสบความสำเร็จ มีความสุข และมีความสามารถในการแก้ไขปัญหาของสังคม ประเทศ และโลกได้ และแน่นอนว่า คำว่า “คุณภาพ” มีความหมายหลายอย่าง โดยในส่วนของคุณภาพสำหรับการอุดมศึกษา มีคำจำกัดความหมายรวมถึง 3 ปัจจัย ได้แก่ การเป็นไปตามมาตรฐานหรือข้อกำหนด การสร้างความพึงพอใจต่อผู้ใช้หรือลูกค้า และจะต้องมีต้นทุนการดำเนินงานที่เหมาะสม โดยจะต้องดำเนินการเรื่องการประกันคุณภาพควบคู่ไปด้วยเสมอ
ที่มา : เว็บ สำนักงานรัฐมนตรีกระทรวงศึกษาธิการ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น