อ่านชัด-อ่านครบ กด ดูเวอร์ชั่นสำหรับเว็บ (ด้านล่าง)
เรื่องใหม่น่าสนใจ (ทั้งหมด ที่ )
(เนื้อหา-ข้อสอบ 1,000 ชุุด หมื่นข้อ ภาค กข
+ 40 วิชาเอก) ที่ ห้องสอบด้านขวา หรือ
เว็บฟรีข้อสอบ 1,000 ชุด ที่ ติวสอบดอทคอม
คลิ๊ก www.tuewsob.com โดย อ.นิกร
( คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้
( คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้
เตรียมความรู้ผู้บริหารสถาน (รอง/ผอ.รร.)
เตรียมสอบติวสอบครูผู้ช่วยกรณีพิเศษ + ทั่วไป
ข่าวที่ 505/2561 ประชุมปฏิบัติการขับเคลื่อนพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดกาญจนบุรี
เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 27 ธันวาคม 2561 พล.อ.สุทัศน์ กาญจนานนท์กุล ที่ปรึกษารัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานการประชุมปฏิบัติการโรงเรียนในโครงการพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดกาญจนบุรี ณ โรงแรมราชศุภมิตร (อาร์ เอส โฮเต็ล) จังหวัดกาญจนบุรี
พล.อ.สุทัศน์ กาญจนานนท์กุล กล่าวว่า การจัดตั้งพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา เป็นนโยบายปฏิรูปการศึกษาของรัฐบาล ซึ่งมอบให้กระทรวงศึกษาธิการประกาศจัดตั้งพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา 6 พื้นที่ คือ ระยอง (ภาคตะวันออก) สตูล (ภาคใต้) ศรีสะเกษ (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ) เชียงใหม่ (ภาคเหนือ) กาญจนบุรี (ภาคกลาง) และปัตตานี-ยะลา-นราธิวาส (ภาคใต้ชายแดน) เพื่อให้เกิดการพัฒนานวัตกรรมการศึกษาในทิศทางใหม่ ๆ และนำนวัตกรรมเหล่านั้นไปใช้ให้สอดคล้องกับบริบทของพื้นที่
ในส่วนของจังหวัดกาญจนบุรีนั้น จากการที่ได้รับฟังรายงานผลการดำเนินงาน ต้องขอขอบคุณสำหรับความร่วมมือของทุกภาคส่วนในจังหวัดที่บูรณาการการดำเนินงานในพื้นที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ แม้ว่าจะพบปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินงานอยู่บ้าง อาทิ การขาดแคลนครูผู้สอนและบุคลากรทางการศึกษาในโรงเรียนขนาดเล็ก, การพัฒนาสื่ออุปกรณ์การสอน เป็นต้น ทำให้ทุกภาคส่วนได้ร่วมกันพัฒนาการจัดการระบบการศึกษา เพื่อลดความเหลื่อมล้ำของสถานศึกษาในพื้นที่ การให้ความสำคัญกับการใช้ภาษาไทยให้แตกฉานเชื่อมโยงกับการใช้สื่อและเทคโนโลยี รวมทั้งเปิดโอกาสให้ภาคีเครือข่ายเข้ามาช่วยจัดการศึกษาด้วย อย่างไรก็ตาม สำหรับโรงเรียนที่ยังไม่ได้เข้าร่วมโครงการพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาในระยะแรก สามารถศึกษาและเรียนรู้จากโรงเรียนนำร่องที่มีบริบทคล้ายคลึงกัน เพื่อนำไปปรับใช้ตามแนวทางการดำเนินการและบริบทของพื้นที่ต่อไปได้
นายสมเจต จงศุภวิศาลกิจ รองผู้ว่าราชการจังหวัดกาญจนบุรี กล่าวว่า จังหวัดกาญจนบุรีเป็นจังหวัดที่มีประวัติศาสตร์มาอย่างยาวนาน โดยมีพื้นที่ใหญ่เป็นอันดับ 3 ของประเทศ มีประชากรประมาณ 8.6 แสนคน และเนื่องจากเป็นจังหวัดที่มีขนาดใหญ่ ทำให้มีความแตกต่างในหลายส่วน ทั้งด้านภูมิประเทศที่เป็นภูเขา แม่น้ำ ที่สูง ชุมชนเมือง ที่ดินอุดมสมบูรณ์และแห้งแล้ง ด้านอาชีพ และด้านเชื้อชาติ ซึ่งในปัจจุบันมีนักท่องเที่ยวเข้ามาท่องเที่ยวในสถานที่ต่าง ๆ ของจังหวัดกาญจนบุรีกว่า 8 ล้านคนต่อปี ทำให้เกิดธุรกิจบริการขึ้น ดังนั้น หากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง สามารถจัดการศึกษาให้ตอบสนองความต้องการที่แตกต่างของสังคมในแต่ละพื้นที่ได้ ก็จะทำให้การพัฒนาคุณภาพการศึกษาของจังหวัดกาญจนบุรีดำเนินการได้ดียิ่งขึ้น
นายวิทยาเกียรติ เงินดี ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 1 กล่าวว่า ประเทศไทยจำเป็นต้องพัฒนาคุณภาพการศึกษาอย่างเร่งด่วน เพื่อพัฒนาคนให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงในสภาพสังคมและเศรษฐกิจในศตวรรษที่ 21 อย่างไรก็ตาม การยกระดับคุณภาพการศึกษา ในภาพรวมยังไม่อยู่ในระดับที่น่าพึงพอใจ กระทรวงศึกษาธิการจึงได้จัดตั้งพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาขึ้น เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของการปฏิรูปและยกระดับคุณภาพการศึกษา โดยการบริหารงานในพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจะมีความคล่องตัวและมีอิสระมากขึ้น ส่งเสริมให้ทุกภาคส่วนมามีส่วนร่วมจัดการศึกษา พร้อมทั้งพัฒนาครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียนให้สามารถคิดค้นนวัตกรรมที่เหมาะสมกับบริบทของพื้นที่ และขยายไปยังพื้นที่อื่นในจังหวัดกาญจนบุรีอย่างทั่วถึง
เตรียมความรู้ผู้บริหารสถาน (รอง/ผอ.รร.)
เตรียมสอบติวสอบครูผู้ช่วยกรณีพิเศษ + ทั่วไป
ข่าวที่ 505/2561 ประชุมปฏิบัติการขับเคลื่อนพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดกาญจนบุรี
เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 27 ธันวาคม 2561 พล.อ.สุทัศน์ กาญจนานนท์กุล ที่ปรึกษารัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานการประชุมปฏิบัติการโรงเรียนในโครงการพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดกาญจนบุรี ณ โรงแรมราชศุภมิตร (อาร์ เอส โฮเต็ล) จังหวัดกาญจนบุรี
พล.อ.สุทัศน์ กาญจนานนท์กุล กล่าวว่า การจัดตั้งพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา เป็นนโยบายปฏิรูปการศึกษาของรัฐบาล ซึ่งมอบให้กระทรวงศึกษาธิการประกาศจัดตั้งพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา 6 พื้นที่ คือ ระยอง (ภาคตะวันออก) สตูล (ภาคใต้) ศรีสะเกษ (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ) เชียงใหม่ (ภาคเหนือ) กาญจนบุรี (ภาคกลาง) และปัตตานี-ยะลา-นราธิวาส (ภาคใต้ชายแดน) เพื่อให้เกิดการพัฒนานวัตกรรมการศึกษาในทิศทางใหม่ ๆ และนำนวัตกรรมเหล่านั้นไปใช้ให้สอดคล้องกับบริบทของพื้นที่
ในส่วนของจังหวัดกาญจนบุรีนั้น จากการที่ได้รับฟังรายงานผลการดำเนินงาน ต้องขอขอบคุณสำหรับความร่วมมือของทุกภาคส่วนในจังหวัดที่บูรณาการการดำเนินงานในพื้นที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ แม้ว่าจะพบปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินงานอยู่บ้าง อาทิ การขาดแคลนครูผู้สอนและบุคลากรทางการศึกษาในโรงเรียนขนาดเล็ก, การพัฒนาสื่ออุปกรณ์การสอน เป็นต้น ทำให้ทุกภาคส่วนได้ร่วมกันพัฒนาการจัดการระบบการศึกษา เพื่อลดความเหลื่อมล้ำของสถานศึกษาในพื้นที่ การให้ความสำคัญกับการใช้ภาษาไทยให้แตกฉานเชื่อมโยงกับการใช้สื่อและเทคโนโลยี รวมทั้งเปิดโอกาสให้ภาคีเครือข่ายเข้ามาช่วยจัดการศึกษาด้วย อย่างไรก็ตาม สำหรับโรงเรียนที่ยังไม่ได้เข้าร่วมโครงการพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาในระยะแรก สามารถศึกษาและเรียนรู้จากโรงเรียนนำร่องที่มีบริบทคล้ายคลึงกัน เพื่อนำไปปรับใช้ตามแนวทางการดำเนินการและบริบทของพื้นที่ต่อไปได้
นายสมเจต จงศุภวิศาลกิจ รองผู้ว่าราชการจังหวัดกาญจนบุรี กล่าวว่า จังหวัดกาญจนบุรีเป็นจังหวัดที่มีประวัติศาสตร์มาอย่างยาวนาน โดยมีพื้นที่ใหญ่เป็นอันดับ 3 ของประเทศ มีประชากรประมาณ 8.6 แสนคน และเนื่องจากเป็นจังหวัดที่มีขนาดใหญ่ ทำให้มีความแตกต่างในหลายส่วน ทั้งด้านภูมิประเทศที่เป็นภูเขา แม่น้ำ ที่สูง ชุมชนเมือง ที่ดินอุดมสมบูรณ์และแห้งแล้ง ด้านอาชีพ และด้านเชื้อชาติ ซึ่งในปัจจุบันมีนักท่องเที่ยวเข้ามาท่องเที่ยวในสถานที่ต่าง ๆ ของจังหวัดกาญจนบุรีกว่า 8 ล้านคนต่อปี ทำให้เกิดธุรกิจบริการขึ้น ดังนั้น หากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง สามารถจัดการศึกษาให้ตอบสนองความต้องการที่แตกต่างของสังคมในแต่ละพื้นที่ได้ ก็จะทำให้การพัฒนาคุณภาพการศึกษาของจังหวัดกาญจนบุรีดำเนินการได้ดียิ่งขึ้น
นายวิทยาเกียรติ เงินดี ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 1 กล่าวว่า ประเทศไทยจำเป็นต้องพัฒนาคุณภาพการศึกษาอย่างเร่งด่วน เพื่อพัฒนาคนให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงในสภาพสังคมและเศรษฐกิจในศตวรรษที่ 21 อย่างไรก็ตาม การยกระดับคุณภาพการศึกษา ในภาพรวมยังไม่อยู่ในระดับที่น่าพึงพอใจ กระทรวงศึกษาธิการจึงได้จัดตั้งพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาขึ้น เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของการปฏิรูปและยกระดับคุณภาพการศึกษา โดยการบริหารงานในพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจะมีความคล่องตัวและมีอิสระมากขึ้น ส่งเสริมให้ทุกภาคส่วนมามีส่วนร่วมจัดการศึกษา พร้อมทั้งพัฒนาครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียนให้สามารถคิดค้นนวัตกรรมที่เหมาะสมกับบริบทของพื้นที่ และขยายไปยังพื้นที่อื่นในจังหวัดกาญจนบุรีอย่างทั่วถึง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น