อ่านชัด-อ่านครบ กด ดูเวอร์ชั่นสำหรับเว็บ (ด้านล่าง)
เรื่องใหม่น่าสนใจ (ทั้งหมด ที่ )
(เนื้อหา-ข้อสอบ 1,000 ชุุด หมื่นข้อ ภาค กข
+ 40 วิชาเอก) ที่ ห้องสอบด้านขวา หรือ
เว็บฟรีข้อสอบ 1,000 ชุด ที่ ติวสอบดอทคอม
คลิ๊ก www.tuewsob.com โดย อ.นิกร
( คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้
( คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้
เตรียมความรู้ผู้บริหารสถาน (รอง/ผอ.รร.)
เตรียมสอบติวสอบครูผู้ช่วยกรณีพิเศษ + ทั่วไป
เตรียมความรู้ผู้บริหารสถาน (รอง/ผอ.รร.)
เตรียมสอบติวสอบครูผู้ช่วยกรณีพิเศษ + ทั่วไป
ข่าวที่ 9/2562 EDU Digital 2019 จังหวัดเชียงใหม่
พล.อ.สุรเชษฐ์ ชัยวงศ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานเปิดงานประชุมวิชาการ "EDU Digital 2019" การขับเคลื่อนการศึกษาด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล โดยมี พล.อ.สุทัศน์ กาญจนานนท์กุล ที่ปรึกษารัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ, นายบุญรักษ์ ยอดเพชร เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน, ศึกษาธิการภาค, ศึกษาธิการจังหวัด, ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา, ผู้บริหารสถานศึกษา ตลอดจนคณะครูและบุคลากรทางการศึกษา จำนวน 350 คน เข้าร่วมงาน เมื่อวันเสาร์ที่ 5 มกราคม 2562 ณ โรงแรมโลตัส ปางสวนแก้ว จังหวัดเชียงใหม่
พล.อ.สุรเชษฐ์ ชัยวงศ์ กล่าวว่า การศึกษาถือเป็นต้นทางที่สำคัญสำหรับการพัฒนาชาติในทุกมิติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านนวัตกรรม ที่ในโลกยุคปัจจุบันเทคโนโลยีและดิจิทัลเข้ามามีความสำคัญกับการพัฒนาประเทศ ประกอบกับการที่กระทรวงศึกษาธิการได้ประกาศให้จังหวัดเชียงใหม่ เป็น 1 ใน 6 พื้นที่นวัตกรรมการศึกษานำร่อง จึงได้จัดการประชุมวิชาการในครั้งนี้ขึ้น
โดยขอให้ทุกฝ่ายร่วมกันจัดการศึกษาให้มีความเข้มแข็ง (Education Strong) โดยเฉพาะผู้บริหารสถานศึกษาและครู ซึ่งเป็นผู้มีบทบาทสำคัญและอยู่ใกล้ชิดกับนักเรียนมากที่สุดรองจากพ่อแม่ผู้ปกครอง ขอให้ช่วยกันวางแผนและพัฒนาการศึกษาให้มีผลสัมฤทธิ์ที่ดีที่สุด สำหรับหน่วยงานในกระทรวงศึกษาธิการนั้น ควรมีการบูรณาการร่วมกัน โดยคำนึงถึงยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี เป็นหลัก ซึ่งที่ผ่านมาแต่ละองค์กรหลักของ ศธ. ก็ได้ทำการศึกษาและวิเคราะห์ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี พร้อมพิจารณาบทบาทหน้าที่ของตนว่า สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ด้านใด เพื่อใช้เป็นแนวทางจัดการศึกษาอย่างเหมาะสม
สำหรับการจัดการศึกษาด้วยเทคโนโลยีดิจิทัลและนวัตกรรม สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ ข้อที่ 3 "ด้านการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์ "มีการปฏิรูปกระบวนการเรียนรู้ตอบสนองการเปลี่ยนแปลงในศตวรรษที่ 21, การใช้ Digital Platform เป็นต้น อีกทั้งยังสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ ข้อที่ 6 "ด้านการปรับสมดุลและพัฒนาระบบบริหารจัดการภาครัฐ" เกี่ยวกับการนำนวัตกรรม เทคโนโลยี ข้อมูลขนาดใหญ่ และระบบการทำงานดิจิทัล มาประยุกต์ใช้ให้เชื่อมโยง โดยยึดหลักธรรมาภิบาล
นอกจากนี้ ขอให้น้อมนำศาสตร์พระราชา หลักการทรงงาน และพระบรมราโชวาท ของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร (ในหลวงรัชกาลที่ 9) มาเป็นแนวทางการขับเคลื่อนการทำงาน อาทิ พระบรมราโชวาทตอนหนึ่งว่า "งานด้านการศึกษาเป็นงานสำคัญที่สุดอย่างหนึ่งของชาติ เพราะความเจริญและความเสื่อมของชาตินั้น ขึ้นอยู่กับการศึกษาของพลเมืองเป็นข้อใหญ่ ดังนั้น จึงต้องจัดการศึกษาให้เข้มแข็งยิ่งขึ้น" (ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรแก่บัณฑิตวิทยาลัยวิชาการศึกษา ประสานมิตร 12 ธันวาคม 2512) รวมทั้งพระบรมราโชบายด้านการศึกษาของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร (ในหลวงรัชกาลที่ 10) ที่มุ่งสร้างพื้นฐานให้แก่ผู้เรียน 4 ด้าน ได้แก่ การสร้างทัศนคติที่ดีต่อบ้านเมือง, การสร้างลักษณะพื้นฐานที่มั่นคง มีคุณธรรม, เรียนแล้วมีงานทำ มีอาชีพ และเป็นพลเมืองดี โดยรัฐบาลได้น้อมนำศาสตร์พระราชาและพระบรมราโชวาทมาเป็นหลักในการกำหนดนโยบายต่าง ๆ ด้วย
รมช.ศึกษาธิการ กล่าวด้วยว่า ในปัจจุบันเด็ก ๆ มีโทรศัพท์มือถือแทบทุกคน ซึ่งเทคโนโลยีมีทั้งคุณและโทษ จึงขอฝากครูสอนเด็กให้รู้ทั้งประโยชน์จากการใช้เทคโนโลยี พร้อม ๆ กับให้ความรู้เรื่องการป้องกันอันตรายจากโลกไซเบอร์ด้วย เพื่อให้เด็กเติบโตเป็นคนเก่งและคนดี มีคุณธรรม มีทักษะชีวิต ส่งผลให้ประเทศชาติมีทรัพยากรมนุษย์ที่มีความเข้มแข็งอย่างแท้จริง
ที่มา; เว็บ สำนักงานรัฐมนตรีกระทรวงศึกษาธิการ
ข่าวที่ 9/2562 EDU Digital 2019 จังหวัดเชียงใหม่
พล.อ.สุรเชษฐ์ ชัยวงศ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานเปิดงานประชุมวิชาการ "EDU Digital 2019" การขับเคลื่อนการศึกษาด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล โดยมี พล.อ.สุทัศน์ กาญจนานนท์กุล ที่ปรึกษารัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ, นายบุญรักษ์ ยอดเพชร เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน, ศึกษาธิการภาค, ศึกษาธิการจังหวัด, ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา, ผู้บริหารสถานศึกษา ตลอดจนคณะครูและบุคลากรทางการศึกษา จำนวน 350 คน เข้าร่วมงาน เมื่อวันเสาร์ที่ 5 มกราคม 2562 ณ โรงแรมโลตัส ปางสวนแก้ว จังหวัดเชียงใหม่
พล.อ.สุรเชษฐ์ ชัยวงศ์ กล่าวว่า การศึกษาถือเป็นต้นทางที่สำคัญสำหรับการพัฒนาชาติในทุกมิติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านนวัตกรรม ที่ในโลกยุคปัจจุบันเทคโนโลยีและดิจิทัลเข้ามามีความสำคัญกับการพัฒนาประเทศ ประกอบกับการที่กระทรวงศึกษาธิการได้ประกาศให้จังหวัดเชียงใหม่ เป็น 1 ใน 6 พื้นที่นวัตกรรมการศึกษานำร่อง จึงได้จัดการประชุมวิชาการในครั้งนี้ขึ้น
โดยขอให้ทุกฝ่ายร่วมกันจัดการศึกษาให้มีความเข้มแข็ง (Education Strong) โดยเฉพาะผู้บริหารสถานศึกษาและครู ซึ่งเป็นผู้มีบทบาทสำคัญและอยู่ใกล้ชิดกับนักเรียนมากที่สุดรองจากพ่อแม่ผู้ปกครอง ขอให้ช่วยกันวางแผนและพัฒนาการศึกษาให้มีผลสัมฤทธิ์ที่ดีที่สุด สำหรับหน่วยงานในกระทรวงศึกษาธิการนั้น ควรมีการบูรณาการร่วมกัน โดยคำนึงถึงยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี เป็นหลัก ซึ่งที่ผ่านมาแต่ละองค์กรหลักของ ศธ. ก็ได้ทำการศึกษาและวิเคราะห์ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี พร้อมพิจารณาบทบาทหน้าที่ของตนว่า สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ด้านใด เพื่อใช้เป็นแนวทางจัดการศึกษาอย่างเหมาะสม
สำหรับการจัดการศึกษาด้วยเทคโนโลยีดิจิทัลและนวัตกรรม สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ ข้อที่ 3 "ด้านการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์ "มีการปฏิรูปกระบวนการเรียนรู้ตอบสนองการเปลี่ยนแปลงในศตวรรษที่ 21, การใช้ Digital Platform เป็นต้น อีกทั้งยังสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ ข้อที่ 6 "ด้านการปรับสมดุลและพัฒนาระบบบริหารจัดการภาครัฐ" เกี่ยวกับการนำนวัตกรรม เทคโนโลยี ข้อมูลขนาดใหญ่ และระบบการทำงานดิจิทัล มาประยุกต์ใช้ให้เชื่อมโยง โดยยึดหลักธรรมาภิบาล
นอกจากนี้ ขอให้น้อมนำศาสตร์พระราชา หลักการทรงงาน และพระบรมราโชวาท ของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร (ในหลวงรัชกาลที่ 9) มาเป็นแนวทางการขับเคลื่อนการทำงาน อาทิ พระบรมราโชวาทตอนหนึ่งว่า "งานด้านการศึกษาเป็นงานสำคัญที่สุดอย่างหนึ่งของชาติ เพราะความเจริญและความเสื่อมของชาตินั้น ขึ้นอยู่กับการศึกษาของพลเมืองเป็นข้อใหญ่ ดังนั้น จึงต้องจัดการศึกษาให้เข้มแข็งยิ่งขึ้น" (ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรแก่บัณฑิตวิทยาลัยวิชาการศึกษา ประสานมิตร 12 ธันวาคม 2512) รวมทั้งพระบรมราโชบายด้านการศึกษาของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร (ในหลวงรัชกาลที่ 10) ที่มุ่งสร้างพื้นฐานให้แก่ผู้เรียน 4 ด้าน ได้แก่ การสร้างทัศนคติที่ดีต่อบ้านเมือง, การสร้างลักษณะพื้นฐานที่มั่นคง มีคุณธรรม, เรียนแล้วมีงานทำ มีอาชีพ และเป็นพลเมืองดี โดยรัฐบาลได้น้อมนำศาสตร์พระราชาและพระบรมราโชวาทมาเป็นหลักในการกำหนดนโยบายต่าง ๆ ด้วย
รมช.ศึกษาธิการ กล่าวด้วยว่า ในปัจจุบันเด็ก ๆ มีโทรศัพท์มือถือแทบทุกคน ซึ่งเทคโนโลยีมีทั้งคุณและโทษ จึงขอฝากครูสอนเด็กให้รู้ทั้งประโยชน์จากการใช้เทคโนโลยี พร้อม ๆ กับให้ความรู้เรื่องการป้องกันอันตรายจากโลกไซเบอร์ด้วย เพื่อให้เด็กเติบโตเป็นคนเก่งและคนดี มีคุณธรรม มีทักษะชีวิต ส่งผลให้ประเทศชาติมีทรัพยากรมนุษย์ที่มีความเข้มแข็งอย่างแท้จริง
ที่มา; เว็บ สำนักงานรัฐมนตรีกระทรวงศึกษาธิการ
( คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้
( คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น