อ่านชัด-อ่านครบ กด ดูเวอร์ชั่นสำหรับเว็บ (ด้านล่าง)
เรื่องใหม่น่าสนใจ (ทั้งหมด ที่ )
(เนื้อหา-ข้อสอบ 1,000 ชุุด หมื่นข้อ ภาค กข
+ 40 วิชาเอก) ที่ ห้องสอบด้านขวา หรือ
เว็บฟรีข้อสอบ 1,000 ชุด ที่ ติวสอบดอทคอม
คลิ๊ก www.tuewsob.com โดย อ.นิกร
( คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้
( คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้
เตรียมความรู้ผู้บริหารสถาน (รอง/ผอ.รร.)
เตรียมสอบติวสอบครูผู้ช่วยกรณีพิเศษ + ทั่วไป
เตรียมความรู้ผู้บริหารสถาน (รอง/ผอ.รร.)
เตรียมสอบติวสอบครูผู้ช่วยกรณีพิเศษ + ทั่วไป
ข่าวที่ 13/2562มติ ครม.ด้านการศึกษา 8 มกราคม 2562
มติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 8 มกราคม 2562 ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับกระทรวงศึกษาธิการ เห็นชอบแต่งตั้งข้าราชการให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง จำนวน 10 ราย และ เห็นชอบแผนการใช้เงินปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 ของ กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) ในวงเงิน 6,063.04 ล้านบาทและ ทุนประเดิมงวดที่ 2 อีก 300 ล้านบาท
1) เห็นชอบแต่งตั้งข้าราชการให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง 10 ราย
1. นายอัมพร พินะสา ผู้ช่วยเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ดำรงตำแหน่ง รองเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
2. นายธวัชชัย อุ่ยพานิช รองศึกษาธิการภาค 9 (ชลบุรี) ดำรงตำแหน่ง รองเลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา
3. นางสาวประดินันท์ สดีวงศ์ รองเลขาธิการสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย ดำรงตำแหน่ง ผู้ตรวจราชการกระทรวงศึกษาธิการ
4. นางสาวชฎารัตน์ สิงหเดชากุล ผู้ช่วยเลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา ดำรงตำแหน่ง ผู้ตรวจราชการกระทรวงศึกษาธิการ
5. นางรักขณา ตัณฑวุฑโฒ รองศึกษาธิการภาค 1 (ปทุมธานี) ดำรงตำแหน่ง ศึกษาธิการภาค 1 (ปทุมธานี)
6. นายประหยัด อนุศิลป์ รองศึกษาธิการภาค 6 (นครศรีธรรมราช) ดำรงตำแหน่ง ศึกษาธิการภาค 6 (นครศรีธรรมราช)
7. นายสันติ แสงระวี รองศึกษาธิการภาค 8 (ยะลา) ดำรงตำแหน่ง ศึกษาธิการภาค 8 (ยะลา)
8. นายชอุ่ม กรไกร รองศึกษาธิการภาค 13 (อุบลราชธานี) ดำรงตำแหน่ง ศึกษาธิการภาค 9 (ชลบุรี)
9. นายธีรพงษ์ สารแสน รองศึกษาธิการภาค 10 (อุดรธานี) ดำรงตำแหน่ง ศึกษาธิการภาค 10 (อุดรธานี)
10. นายนิสิต ชายภักตร์ รองศึกษาธิการภาค 7 (ภูเก็ต) ดำรงตำแหน่ง ศึกษาธิการภาค 15 (เชียงใหม่)
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งเป็นต้นไป เพื่อทดแทนตำแหน่งที่ว่าง และรองนายกรัฐมนตรี (พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง) ได้ให้ความเห็นชอบด้วยแล้ว
2) เห็นชอบการจัดสรรเงิน กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.)
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) เสนอ คือ เห็นชอบแผนการใช้เงินปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 ของ กสศ. ในวงเงิน 6,063.04 ล้านบาท และเห็นชอบในหลักการในการจัดสรรทุนประเดิมงวดที่ 2 แก่ กสศ. จำนวน 300 ล้านบาท
สาระสำคัญ
1. กสศ.เป็นหน่วยงานของรัฐและมีฐานะเป็นนิติบุคคลที่ไม่เป็นส่วนราชการหรือรัฐวิสาหกิจ ที่ตั้งขึ้นใหม่ตามพระราชบัญญัติกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา พ.ศ. 2561 (มีผลใช้บังคับเมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2561) โดยกองทุนมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความเสมอภาคทางการศึกษา เพื่อใช้ในการช่วยเหลือผู้ขาดแคลนทุนทรัพย์ ลดความเหลื่อมล้ำในการศึกษา เสริมสร้างและพัฒนาคุณภาพและประสิทธิภาพครูและอาจารย์ และพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของชาติให้มีความรู้ ความสามารถ และคุณธรรม รวมทั้งมีศักยภาพที่จะดำรงชีวิตโดยพึ่งพาตนเองได้ อย่างมั่นคง
2. ที่ผ่านมา กสศ. ได้รับการจัดสรรงบประมาณ ดังนี้
2.1 ทุนประเดิมงวดแรก จำนวน 700 ล้านบาท ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 11 กันยายน 2561
2.2 เงินรายปีสำหรับดำเนินภารกิจ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2561 จำนวน 499.19 ล้านบาท ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 11 กันยายน 2561
2.3 เงินรายปีสำหรับดำเนินภารกิจ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 จำนวน 2,537.37 ล้านบาท ตามนัยพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2562
3. คณะกรรมการบริหาร กสศ. (ตามมาตรา 51 แห่งพระราชบัญญัติกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา พ.ศ. 2561) มีมติเมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2561 เห็นชอบแผนการใช้เงิน กสศ. ปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 ซึ่งสอดคล้องกับแผนการดำเนินงานและงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 ที่คณะกรรมการบริหาร กสศ. ได้อนุมัติด้วยแล้ว โดยแผนการดำเนินงานและแผนการใช้เงิน ปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 มีสาระสำคัญ ดังนี้
3.1 วิสัยทัศน์ : เด็ก เยาวชน และประชาชนที่ขาดแคลนทุนทรัพย์หรือด้อยโอกาส ทุกคนมีโอกาสพัฒนาตนเองตามศักยภาพและเข้าถึงการศึกษาที่มีคุณภาพ
3.2 พันธกิจ : การบรรลุวิสัยทัศน์ระดับประเทศข้างต้น กสศ. จะเน้นบทบาท ดังนี้ (1) ลงทุนที่ใช้ความรู้นำเพื่อช่วยเหลือและสร้างโอกาสทางการศึกษาแก่กลุ่มเป้าหมาย (2) พัฒนาตัวแบบปฏิรูปหรือนวัตกรรมที่มีประสิทธิภาพสูง เพื่อส่งผ่านตัวแบบปฏิรูปไปยังหน่วยงานหลักสำหรับขยายผลในระยะยาว (3) เสนอแนะมาตรการหรือจัดการศึกษาวิจัยอย่างมีส่วนร่วมเพื่อสร้างความเปลี่ยนแปลงเชิงนโยบาย และ (4) ระดมการมีส่วนร่วมอย่างสร้างสรรค์จากทุกภาคส่วน
3.3 เป้าประสงค์ : (1) ผู้ขาดแคลนทุนทรัพย์และด้อยโอกาสได้รับการช่วยเหลือและมีโอกาสในการศึกษาพัฒนาตามศักยภาพ (2) ครูและหน่วยจัดการเรียนรู้ทั้งในและนอกระบบได้รับการพัฒนาอย่างทั่วถึง โดยเฉพาะกลุ่มผู้ด้อยโอกาส และ (3) ภาครัฐและสังคมมีแนวทางในการลดความเหลื่อมล้ำและสร้างความเสมอภาคทางการศึกษาที่ได้ผลยิ่งขึ้น
3.4. ยุทธศาสตร์ 7 ยุทธศาสตร์ ได้แก่
1) สร้างความมั่นใจในศักยภาพและประสิทธิภาพหน่วยบริการ
2) กระตุ้นการให้ทุนการศึกษาที่สอดคล้องกับเป้าหมายประเทศ
3) เสริมสร้างระบบธรรมาภิบาลในการทำงานร่วมกับภาคี
4) สร้างความเข้มแข็งให้จังหวัดมีกลไกความพร้อมในการสร้างความเสมอภาคทางการศึกษา
5) ยกระดับความสามารถในการพัฒนาครูทั้งในระบบและนอกระบบ
6) พัฒนาองค์ความรู้เพื่อการจัดการเชิงระบบเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษาที่มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
7) กระตุ้นให้ทุกภาคส่วนร่วมสร้างสังคมแห่งโอกาสและความเสมอภาคทางการศึกษา
3.5. แผนการดำเนินงานและแผนการใช้เงิน ปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 กสศ. ได้ปรับแผนการดำเนินงาน ปี 2563 ให้มี 7 กลุ่มแผนงาน หรือ 15 แผนงาน (จากเดิม ปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 มีจำนวน 12 แผนงาน) ที่มีความสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ตามมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา พ.ศ. 2561 โดยมีแผนการใช้เงิน ปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 ในวงเงิน 6,063.04 ล้านบาท ครอบคลุมกลุ่มเป้าหมายจำนวนมากกว่า 1.8 ล้านคน ดังนี้
1) กลุ่มแผนงานพัฒนาองค์ความรู้และเทคโนโลยีสารสนเทศ ได้แก่ (1.1) พัฒนาองค์ความรู้และฐานข้อมูลต่อเนื่อง (1.2) พัฒนาองค์ความรู้และนวัตกรรมเพื่อสนับสนุนภาคีและ กสศ. และ (1.3) พัฒนาองค์ความรู้เชิงระบบเพื่อสนับสนุนการปฏิรูปการศึกษา
2) กลุ่มแผนงานระบบเงินอุดหนุนต้นแบบ ส่งเสริมโอกาสและพัฒนาคุณภาพนักเรียน [สถานศึกษากว่า 30,000 แห่ง นักเรียนยากจนพิเศษระดับประถมศึกษาปีที่ 1 – มัธยมศึกษา ปีที่ 3 จำนวน 1.50 ล้านคน ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) และโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน นักเรียนอนุบาลยากจน จำนวน 184,021 คน ในสังกัด ศธ.]
3) กลุ่มแผนงานพัฒนาครูและสถานศึกษา ได้แก่ (3.1) ครูนอกระบบการศึกษา และ (3.2) โรงเรียนและสถานศึกษา
4) กลุ่มแผนงานส่งเสริมการจัดระบบพื้นที่ต้นแบบสำหรับ 3 กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ เด็กปฐมวัย เด็กนอกระบบการศึกษา และประชากรวัยแรงงาน (อายุ 17 – 24 ปี) ประกอบด้วย (4.1) พัฒนากลไกจังหวัดตามร่างพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ (4.2) เด็กนอกระบบการศึกษา – สำรวจและนำเข้าสู่ระบบการศึกษา (4.3) ประชากรวัยแรงงานด้อยโอกาส – ฝึกอาชีพระยะสั้น และ (4.4) เด็กปฐมวัย – เตรียมความพร้อมเข้าสู่โรงเรียน
5) กลุ่มแผนงานสนับสนุนการสร้างโอกาสในการศึกษาต่อระดับสูง* ได้แก่ สร้างนวัตกรสายอาชีพ สร้างครูรุ่นใหม่สำหรับพื้นที่ห่างไกล (*หมายเหตุ : โครงการตามกลุ่มแผนงานสนับสนุนการสร้างโอกาสในการศึกษาต่อระดับสูงเป็นงบประมาณผูกพันจนกว่าผู้เรียนจะสำเร็จการศึกษาตามหลักสูตร)
6) กลุ่มแผนงานสร้างการมีส่วนร่วมและระดมทุน ได้แก่ การมีส่วนร่วม อย่างสร้างสรรค์
7) กลุ่มแผนงานพัฒนาระบบงาน ได้แก่ สร้างเสริมระบบธรรมาภิบาลและ การบริหารจัดการความเสี่ยง บริหารและพัฒนาระบบงาน
ที่มา; เว็บ สำนักงานรัฐมนตรีกระทรวงศึกษาธิการ
ข่าวที่ 13/2562มติ ครม.ด้านการศึกษา 8 มกราคม 2562
1. นายอัมพร พินะสา ผู้ช่วยเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ดำรงตำแหน่ง รองเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
2. นายธวัชชัย อุ่ยพานิช รองศึกษาธิการภาค 9 (ชลบุรี) ดำรงตำแหน่ง รองเลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา
3. นางสาวประดินันท์ สดีวงศ์ รองเลขาธิการสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย ดำรงตำแหน่ง ผู้ตรวจราชการกระทรวงศึกษาธิการ
4. นางสาวชฎารัตน์ สิงหเดชากุล ผู้ช่วยเลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา ดำรงตำแหน่ง ผู้ตรวจราชการกระทรวงศึกษาธิการ
5. นางรักขณา ตัณฑวุฑโฒ รองศึกษาธิการภาค 1 (ปทุมธานี) ดำรงตำแหน่ง ศึกษาธิการภาค 1 (ปทุมธานี)
6. นายประหยัด อนุศิลป์ รองศึกษาธิการภาค 6 (นครศรีธรรมราช) ดำรงตำแหน่ง ศึกษาธิการภาค 6 (นครศรีธรรมราช)
7. นายสันติ แสงระวี รองศึกษาธิการภาค 8 (ยะลา) ดำรงตำแหน่ง ศึกษาธิการภาค 8 (ยะลา)
8. นายชอุ่ม กรไกร รองศึกษาธิการภาค 13 (อุบลราชธานี) ดำรงตำแหน่ง ศึกษาธิการภาค 9 (ชลบุรี)
9. นายธีรพงษ์ สารแสน รองศึกษาธิการภาค 10 (อุดรธานี) ดำรงตำแหน่ง ศึกษาธิการภาค 10 (อุดรธานี)
10. นายนิสิต ชายภักตร์ รองศึกษาธิการภาค 7 (ภูเก็ต) ดำรงตำแหน่ง ศึกษาธิการภาค 15 (เชียงใหม่)
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งเป็นต้นไป เพื่อทดแทนตำแหน่งที่ว่าง และรองนายกรัฐมนตรี (พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง) ได้ให้ความเห็นชอบด้วยแล้ว
2) เห็นชอบการจัดสรรเงิน กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.)
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) เสนอ คือ เห็นชอบแผนการใช้เงินปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 ของ กสศ. ในวงเงิน 6,063.04 ล้านบาท และเห็นชอบในหลักการในการจัดสรรทุนประเดิมงวดที่ 2 แก่ กสศ. จำนวน 300 ล้านบาท
สาระสำคัญ
1. กสศ.เป็นหน่วยงานของรัฐและมีฐานะเป็นนิติบุคคลที่ไม่เป็นส่วนราชการหรือรัฐวิสาหกิจ ที่ตั้งขึ้นใหม่ตามพระราชบัญญัติกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา พ.ศ. 2561 (มีผลใช้บังคับเมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2561) โดยกองทุนมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความเสมอภาคทางการศึกษา เพื่อใช้ในการช่วยเหลือผู้ขาดแคลนทุนทรัพย์ ลดความเหลื่อมล้ำในการศึกษา เสริมสร้างและพัฒนาคุณภาพและประสิทธิภาพครูและอาจารย์ และพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของชาติให้มีความรู้ ความสามารถ และคุณธรรม รวมทั้งมีศักยภาพที่จะดำรงชีวิตโดยพึ่งพาตนเองได้ อย่างมั่นคง
2. ที่ผ่านมา กสศ. ได้รับการจัดสรรงบประมาณ ดังนี้
2.1 ทุนประเดิมงวดแรก จำนวน 700 ล้านบาท ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 11 กันยายน 2561
2.2 เงินรายปีสำหรับดำเนินภารกิจ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2561 จำนวน 499.19 ล้านบาท ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 11 กันยายน 2561
2.3 เงินรายปีสำหรับดำเนินภารกิจ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 จำนวน 2,537.37 ล้านบาท ตามนัยพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2562
3. คณะกรรมการบริหาร กสศ. (ตามมาตรา 51 แห่งพระราชบัญญัติกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา พ.ศ. 2561) มีมติเมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2561 เห็นชอบแผนการใช้เงิน กสศ. ปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 ซึ่งสอดคล้องกับแผนการดำเนินงานและงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 ที่คณะกรรมการบริหาร กสศ. ได้อนุมัติด้วยแล้ว โดยแผนการดำเนินงานและแผนการใช้เงิน ปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 มีสาระสำคัญ ดังนี้
3.1 วิสัยทัศน์ : เด็ก เยาวชน และประชาชนที่ขาดแคลนทุนทรัพย์หรือด้อยโอกาส ทุกคนมีโอกาสพัฒนาตนเองตามศักยภาพและเข้าถึงการศึกษาที่มีคุณภาพ
3.2 พันธกิจ : การบรรลุวิสัยทัศน์ระดับประเทศข้างต้น กสศ. จะเน้นบทบาท ดังนี้ (1) ลงทุนที่ใช้ความรู้นำเพื่อช่วยเหลือและสร้างโอกาสทางการศึกษาแก่กลุ่มเป้าหมาย (2) พัฒนาตัวแบบปฏิรูปหรือนวัตกรรมที่มีประสิทธิภาพสูง เพื่อส่งผ่านตัวแบบปฏิรูปไปยังหน่วยงานหลักสำหรับขยายผลในระยะยาว (3) เสนอแนะมาตรการหรือจัดการศึกษาวิจัยอย่างมีส่วนร่วมเพื่อสร้างความเปลี่ยนแปลงเชิงนโยบาย และ (4) ระดมการมีส่วนร่วมอย่างสร้างสรรค์จากทุกภาคส่วน
3.3 เป้าประสงค์ : (1) ผู้ขาดแคลนทุนทรัพย์และด้อยโอกาสได้รับการช่วยเหลือและมีโอกาสในการศึกษาพัฒนาตามศักยภาพ (2) ครูและหน่วยจัดการเรียนรู้ทั้งในและนอกระบบได้รับการพัฒนาอย่างทั่วถึง โดยเฉพาะกลุ่มผู้ด้อยโอกาส และ (3) ภาครัฐและสังคมมีแนวทางในการลดความเหลื่อมล้ำและสร้างความเสมอภาคทางการศึกษาที่ได้ผลยิ่งขึ้น
3.4. ยุทธศาสตร์ 7 ยุทธศาสตร์ ได้แก่
1) สร้างความมั่นใจในศักยภาพและประสิทธิภาพหน่วยบริการ
2) กระตุ้นการให้ทุนการศึกษาที่สอดคล้องกับเป้าหมายประเทศ
3) เสริมสร้างระบบธรรมาภิบาลในการทำงานร่วมกับภาคี
4) สร้างความเข้มแข็งให้จังหวัดมีกลไกความพร้อมในการสร้างความเสมอภาคทางการศึกษา
5) ยกระดับความสามารถในการพัฒนาครูทั้งในระบบและนอกระบบ
6) พัฒนาองค์ความรู้เพื่อการจัดการเชิงระบบเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษาที่มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
7) กระตุ้นให้ทุกภาคส่วนร่วมสร้างสังคมแห่งโอกาสและความเสมอภาคทางการศึกษา
3.5. แผนการดำเนินงานและแผนการใช้เงิน ปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 กสศ. ได้ปรับแผนการดำเนินงาน ปี 2563 ให้มี 7 กลุ่มแผนงาน หรือ 15 แผนงาน (จากเดิม ปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 มีจำนวน 12 แผนงาน) ที่มีความสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ตามมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา พ.ศ. 2561 โดยมีแผนการใช้เงิน ปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 ในวงเงิน 6,063.04 ล้านบาท ครอบคลุมกลุ่มเป้าหมายจำนวนมากกว่า 1.8 ล้านคน ดังนี้
1) กลุ่มแผนงานพัฒนาองค์ความรู้และเทคโนโลยีสารสนเทศ ได้แก่ (1.1) พัฒนาองค์ความรู้และฐานข้อมูลต่อเนื่อง (1.2) พัฒนาองค์ความรู้และนวัตกรรมเพื่อสนับสนุนภาคีและ กสศ. และ (1.3) พัฒนาองค์ความรู้เชิงระบบเพื่อสนับสนุนการปฏิรูปการศึกษา
2) กลุ่มแผนงานระบบเงินอุดหนุนต้นแบบ ส่งเสริมโอกาสและพัฒนาคุณภาพนักเรียน [สถานศึกษากว่า 30,000 แห่ง นักเรียนยากจนพิเศษระดับประถมศึกษาปีที่ 1 – มัธยมศึกษา ปีที่ 3 จำนวน 1.50 ล้านคน ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) และโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน นักเรียนอนุบาลยากจน จำนวน 184,021 คน ในสังกัด ศธ.]
3) กลุ่มแผนงานพัฒนาครูและสถานศึกษา ได้แก่ (3.1) ครูนอกระบบการศึกษา และ (3.2) โรงเรียนและสถานศึกษา
4) กลุ่มแผนงานส่งเสริมการจัดระบบพื้นที่ต้นแบบสำหรับ 3 กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ เด็กปฐมวัย เด็กนอกระบบการศึกษา และประชากรวัยแรงงาน (อายุ 17 – 24 ปี) ประกอบด้วย (4.1) พัฒนากลไกจังหวัดตามร่างพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ (4.2) เด็กนอกระบบการศึกษา – สำรวจและนำเข้าสู่ระบบการศึกษา (4.3) ประชากรวัยแรงงานด้อยโอกาส – ฝึกอาชีพระยะสั้น และ (4.4) เด็กปฐมวัย – เตรียมความพร้อมเข้าสู่โรงเรียน
5) กลุ่มแผนงานสนับสนุนการสร้างโอกาสในการศึกษาต่อระดับสูง* ได้แก่ สร้างนวัตกรสายอาชีพ สร้างครูรุ่นใหม่สำหรับพื้นที่ห่างไกล (*หมายเหตุ : โครงการตามกลุ่มแผนงานสนับสนุนการสร้างโอกาสในการศึกษาต่อระดับสูงเป็นงบประมาณผูกพันจนกว่าผู้เรียนจะสำเร็จการศึกษาตามหลักสูตร)
6) กลุ่มแผนงานสร้างการมีส่วนร่วมและระดมทุน ได้แก่ การมีส่วนร่วม อย่างสร้างสรรค์
7) กลุ่มแผนงานพัฒนาระบบงาน ได้แก่ สร้างเสริมระบบธรรมาภิบาลและ การบริหารจัดการความเสี่ยง บริหารและพัฒนาระบบงาน
ที่มา; เว็บ สำนักงานรัฐมนตรีกระทรวงศึกษาธิการ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น