หน้าหลัก ติวสอบดอทคอม เว็บฟรีข้อสอบออนไลน์

หน้าหลัก ติวสอบดอทคอม เว็บฟรีข้อสอบออนไลน์
หน้าหลัก ติวสอบดอทคอม เว็บฟรีข้อสอบออนไลน์

พัฒนาความรู้ สู่ รอง./ผอ.รร. ปี 2567

พัฒนาความรู้ สู่ รอง./ผอ.รร. ปี 2567
พัฒนาความรู้ สู่ รอง./ผอ.รร. ปี 2567

คลิ๊ก "สมัครพัฒนาความรู้สู่ผู้บริหาร / ครูผู้ช่วย

คลิ๊ก... สมัคร พัฒนาความรู้ สู่ ครูผู้ช่วย
คลิ๊ก... สมัคร พัฒนาความรู้ สู่ ผู้บริหาร

ติวสอบดอทคอม (เตรียมสอบครูผู้ช่วย-ผู้บริหาร-บุคลากร การศึกษา)

ติวสอบดอทคอม (เตรียมสอบครูผู้ช่วย-ผู้บริหาร-บุคลากร การศึกษา)
ติวสอบดอทคอม (เว็บฟรีข้อสอบออนไลน์ สอบครู ผู้บริหาร บุคลากร)

วันอังคารที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2557

ไครเมียลงประชามติ ชี้ 93% โหวตหนุนผนึกรวมรัสเซีย

(คลิ๊กอ่านรายชื่อเขตที่เปิดสอบครูผู้ช่วย ครั้งที่ 1 ปี 2557 90 เขต 39 เอก 1759 อัตรา


ข้อสอบออนไลน์ (สอบครู-ผู้บริหาร-บุคลากรการศึกษา) ชุดใหม่ล่าสุด





ติวสอบออนไลน์ ชุด สรุปย่อ ความรอบรู้ทั่วไป



ลิงค์ข้อสอบ  ที่เกี่ยวข้องกับ  "นโยบายรัฐบาล"  โดย ติวสอบดอทคอม

คลิ๊ก )  สมัครติวสอบครูผู้ช่วย ปี 2557 กรณีปกติ + พิเศษ (20 จุด) ที่




ไครเมียลงประชามติ ชี้ 93% โหวตหนุนผนึกรวมรัสเซีย







          ไครเมียจัดลงประชามติว่าด้วยเรื่องการแยกดินแดนไปรวมรัสเซีย ผลสำรวจความเห็นชี้มีผู้โหวตเห็นด้วยกว่า 93 เปอร์เซ็นต์


          เมื่อวันที่ 16 มีนาคม 2557 สำนักข่าวบีบีซี รายงานว่า ไครเมียส่อเค้าผนึกรวมรัสเซียอย่างยากที่จะต้านทานได้ เมื่อผลสำรวจความเห็นระหว่างเลือกตั้ง พบประชาชนไครเมียราว 93 เปอร์เซ็นต์ ลงประชามติเห็นด้วยกับการให้ไครเมียผนึกรวมกับรัสเซีย  ชี้มีประชาชนออกมาใช้สิทธิในการลงประชามติสูงเป็นประวัติการณ์ เกินกว่า 80 เปอร์เซ็นต์ของผู้มีสิทธิทั้งหมด ท่ามกลางการประณามของชาติตะวันตกที่บอกว่าเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย



          รายงานระบุว่า ในการลงประชามติที่มีขึ้นในไครเมีย เมื่อวันที่ 16 มีนาคมที่ผ่านมา ผู้มีสิทธิเลือกตั้งทุกคนจะต้องเลือกโหวตระหว่างเห็นด้วยและไม่เห็นด้วยกับการให้ไครเมียแยกตัวออกจากยูเครน แล้วผนึกรวมกับรัสเซีย  และจากการสอบถามความเห็นระหว่างเลือกตั้ง พบว่าประชาชนราว 93 เปอร์เซ็นต์โหวตเห็นด้วยที่จะให้ไครเมียผนึกรวมกับรัสเซีย ซึ่งก็ไม่น่าแปลกใจ เพราะตามสถิติแล้ว ในไครเมียมีประชาชนที่พูดภาษารัสเซียมากถึง 58.5 เปอร์เซ็นต์ ขณะที่ชาวพื้นถิ่นยูเครนมีเพียง 24.4 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น ส่วนประชาชนฝ่ายต่อต้านรัสเซียในไครเมียก็มีเพียง 12.1 เปอร์เซ็นต์จากการสัมภาษณ์ออลกา โคซิโก ประชาชนผู้มาใช้สิทธิลงประชามติ ระบุว่า เธอเองโหวตให้ไครเมียผนึกรวมกับรัสเซีย เพราะไม่ต้องการอยู่ในประเทศที่พวกเผด็จการมากุมอำนาจในกรุงเคียฟ เธอคิดว่ารัสเซียจะปกป้องประชาชนไครเมีย

          ทั้งนี้ สำหรับการลงประชามติครั้งนี้ มีประชาชนออกมาใช้สิทธิมากกว่า 80 เปอร์เซ็นต์ของทั้งหมด อย่างไรก็ดี ก็ยังมีประชาชนฝ่ายต่อต้านรัสเซียที่บอยคอตต์การลงประชามติครั้งนี้ แต่ดูเหมือนจะไม่สามารถเคลื่อนไหวต้านทานเสียงข้างมากได้ ขณะที่ทางรัฐสภาไครเมียจะเดินหน้าขอผนึกรวมเป็นส่วนหนึ่งของรัสเซียในวันที่ 17 มีนาคมนี้



          อย่างไรก็ดี ทางฝั่งชาติตะวันตกยังคงคัดค้านและประณามการลงประชามติดังกล่าว โดยนายจอห์น แคร์รี่ รัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐฯ ได้ประกาศว่า วอชิงตันจะไม่ยอมรับผลประชามติในไครเมีย ที่มีจุดประสงค์ในการแบ่งแยกดินแดนที่ประชากรส่วนใหญ่เป็นผู้ใช้ภาษารัสเซีย ออกจากยูเครน การกระทำเช่นนี้เป็นเรื่องไม่ชอบธรรมและขัดต่อกฎบัตรสหประชาชาติ



          แต่ถึงอย่างนั้น ทางประธานาธิบดีวลาดิมีร์ ปูติน ของรัสเซีย ก็ได้แถลงตอบโต้ชาติตะวันตกว่า การลงประชามตินั้นชี้ให้เห็นความต้องการของประชาชนอย่างแท้จริง ทุกอย่างเป็นไปอย่างชอบธรรมแล้ว รัสเซียจะเคารพต่อการตัดสินใจของประชาชนไครเมีย







ที่มา: เว็บ กาปุคดอทคอม

บทความที่เกี่ยวข้อง
วิกฤตการณ์ไครเมีย พ.ศ. 2557 เป็นวิกฤตการณ์ทางการทูตในเขตปกครองตนเองไครเมีย ประเทศยูเครน อันเป็นผลสืบเนื่องจากการปฏิวัติยูเครน พ.ศ. 2557 ซึ่งโค่นรัฐบาลประธานาธิบดีวิคเตอร์ ยานูคอวิชในกรุงเคียฟ เมืองหลวงของประเทศ ตั้งแต่วันที่ 23 กุมภาพันธ์ มีกลุ่มชาติพันธุ์รัสเซียบางกลุ่มจัดการประท้วงคัดค้านเหตุการณ์ในกรุงเคียฟ และต้องการความสัมพันธ์หรือบูรณาการกับประเทศรัสเซียใกล้ชิดยิ่งขึ้ นอกเหนือไปจากการเพิ่มอัตตาณัติหรือให้เอกราชแก่ไครเมียถ้าเป็นไปได้[1] การประท้วงบางจุดมิได้ทั้งเกิดขึ้นเองหรือจำกัดอยู่บริเวณใดบริเวณหนึ่งทั้งหมด[2] กลุ่มอื่น ซึ่งที่โดดเด่นประกอบด้วยชาวตาตาร์ไครเมียและชาติพันธุ์ยูเครน เดินขบวนสนับสนุนการปฏิวัติ[3] ยานูคอวิชที่ถูกโค่นอำนาจลี้ภัยไปยังรัสเซีย และเรียกร้องให้กองทัพรัสเซียเข้าแทรกแซงและรักษา "กฎหมายและความสงบเรียบร้อย" ในยูเครน โดยเฉพาะอย่างยิ่งไครเมีย อย่างลับ ๆ[4]
วันที่ 27 กุมภาพันธ์ ทหารติดอาวุธและสวมหน้ากากโดยไม่มีเครื่องยศซึ่งมีพฤติการณ์นิยมรัสเซียยึดอาคารสำคัญจำนวนหนึ่งในไครเมีย รวมทั้งอาคารรัฐสภาและท่าอาากศยานสองแห่ง[5][6] [7] กลุ่มชายดังกล่าวทำลายโทรคมนาคมและบริการอินเทอร์เน็ตแทบทั้งหมดระหว่างไครเมียกับยูเครนส่วนที่เหลือ[8] ภายใต้การปิดล้อมและมีผู้ชุมนุมอยู่ภายใน สภาไครเมียสูงสุดปลดรัฐบาลของสาธารณรัฐปกครองตนเองและเปลี่ยนตัวประธานสภารัฐมนตรีไครเมีย อะนาโทลีย์ มอฮิลอว์ (Anatolii Mohyliov) เป็นเซร์ฮีย์ อัคซอนอว์ (Sergey Aksyonov)[9] กองกำลังรัสเซียซึ่งประจำอยู่ในไครเมียตามความตกลงทวิภาคีได้รับการเสริมกำลังและเรือรบสองลำจากกองเรือบอลติกของรัสเซียละเมิดน่านน้ำยูเครน[10][11] รัฐบาลยูเครนกล่าวหารัสเซียว่าแทรกแซงกิจการภายในของรัสเซีย ขณะที่ฝ่ายรัสเซียปฏิเสธการกล่าวหาดังกล่าวอย่างเป็นทางการ[12]
วันที่ 1 มีนาคม รัฐสภารัสเซียให้อำนาจประธานาธิบดีวลาดีมีร์ ปูตินใช้กำลังทหารในยูเครน หลังมีการร้องขอความช่วยเหลือจากผู้นำนิยมรัสเซียอย่างไม่เป็นทางการที่เพิ่งได้รับแต่งตั้ง เซร์ฮีย์ อัคซอนอว์[13][14] รักษาการประธานาธิบดียูเครน โอเล็กซันดร์ ทูร์ชินอฟ (Oleksandr Turchynov) มีคำสั่งว่าการแต่งตั้งนายกรัฐมนตรีไครเมียไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ[15][16] แหล่งข่าวฝ่ายนิยมรัฐบาลอ้างว่าอาจมีการปลอมแปลงระหว่างการลงมติจัดการลงประชามติเอกราชปี 2557 และการเปลี่ยนแปลงรัฐบาลในไครเมี[17] สำนักงานอัยการสูงสุดแถลงว่า ผลใด ๆ จากการลงประชามติแย้งกับรัฐธรรมนูญแห่งยูเครนและไครเมีย ซึ่งต้องมีการลงประชามติทั่วประเทศ[18] ผู้นำชาวตาตาร์ไครเมียกล่าวว่าพวกตนจะไม่เข้าร่วมหรือยอมรับการลงประชามติแยกประเทศใด ๆ[19]
วันที่ 2 มีนาคม ยูเครนประกาศพร้อมรบเต็มกำลังและระดมพลทั่วประเทศ[20] รองนายกรัฐมนตรีไครเมีย Rustam Temirgaliev รายงานว่ากองกำลังติดอาวุธทั้งหมดในดินแดนไครเมียล้วนถูกปลดอาวุธหรือเปลี่ยนฝ่ายแล้ว[21] กระทรวงกลาโหมยูเครนอ้างว่ารายงานเหล่านี้ไม่เป็นความจริง[22][23] ไม่นานจากนั้น หัวหน้ากองทัพเรือยูเครน Denis Berezovsky ประกาศในแถลงการณ์ทางโทรทัศน์ว่าเขาปฏิเสธไม่ปฏิบัติตามคำสั่งจากรัฐบาลที่ประกาศตนเองในกรุงเคียฟและประกาศความภักดีต่อทางการและประชาชนไครเมีย นายกรัฐมนตรีรัสเซีย ดมิทรี เมดเวเดฟ ประณามรัฐบาล Yatsenyuk ว่าไม่ชอบธรรม[24][25] กองทัพเรือรัสเซียเริ่มการฝึกซ้อมทางทหารในมณฑลคาลินินกราด ใกล้กับพรมแดนลิทัวเนียและโปแลนด์[26][27] ประธานาธิบดีลิทัวเนียและโปแลนด์เรียกร้องการหารือตามสนธิสัญญานาโต ข้อ 4[28][29] วันเดียวกัน ช่องโทรทัศน์ที่รัฐบาลรัสเซียเป็นเจ้าของบางส่วน แชแนลวันรัสเซีย ออกรายงานเน้นว่า ชาวยูเครน 140,000 คนได้หลบหนีมายังรัสเซียผ่านพรมแดน ซึ่งได้เกิดการโต้เถียงเพราะรายงานดังกล่าวรวมภาพการจราจรติดขัดบนถนนไปยังโปแลนด์ มิใช่รัสเซีย[30][31]
สภาแอตแลนติกเหนือและสหภาพยุโรปจะจัดการประชุมสุดยอดผู้นำฉุกเฉินในประเด็นดังกล่าว[32][33] สหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร ฝรั่งเศส เยอรมนีและสหภาพยุโรปประณามรัสเซีย โดยกล่าวหาว่ารัสเซียละเมิดกฎหมายระหว่างประเทศและละเมิดอธิปไตยของยูเครน
วันที่ 4 มีนาคม ปูตินหยุดการฝึกซ้อมทางทหารและถอนกำลังกลับจากพรมแดนยูเครน[34] ปูตินแถลงในการจัดประชุมผู้สื่อข่าวว่าทหารที่ยึดครองฐานทัพมิใช่ทหารรัสเซีย หากแต่เป็นกำลังป้องกันตนเองท้องถิ่น เขากล่าวว่าขณะนี้ยังไม่มีความจำเป็นที่จะส่งกองกำลังเข้าไปในยูเครน แต่รัสเซียสงวนสิทธิที่จะใช้ทุกวิถีทางเป็นทางเลือกสุดท้ายต่อความเสี่ยงเกิดอนาธิปไตย[35] ปูตินแถลงสนับสนุนการกำหนดการปกครองด้วยตนเองของชาวไครเมียเพื่อตัดสินสถานภาพของตนเกี่ยวกับยูเครน แต่อ้างว่ารัสเซียจะไม่ผนวกไครเมียด้วยกำลัง[36]
สภาไครเมียสูงสุดลงมติเมื่อสมัยประชุมวันที่ 6 มีนาคมว่าด้วยการเข้าเป็นส่วนหนึ่งของสหพันธรัฐรัสเซียอย่างเต็มตัวหลังเป็นส่วนหนึ่งของประเทศยูเครนมานานกว่า 6 ทศวรรษ[37] การวินิจฉัยของสภาสูสุดจะถูกเสนอต่อชาวไครเมียผ่านการลงประชามติหากรัสเซียรับคำร้องดังกล่าว การลงประชามติเดิมประกาศกำหนดไว้เมื่อวันที่ 30 มีนาคม จะเลื่อนขึ้นมาเป็นวันที่ 16 มีนาคม 2557 และคำถามจะถูกเปลี่ยนเพื่อสะท้อนการลงมติเมื่อวันที่ 6 มีนาคมของสภาสูงสุดว่าจะสนองรับการรวมชาติกับรัสเซียหรือไม่[37]




ฏิทินสอบครูผู้ช่วย 17-24 มี.ค. ว่าง 1.7 พัน อัตรา
          ก.ค.ศ.เคาะปฏิทินสอบครูผู้ช่วย 17-24 มี.ค.นี้ สอบครูผู้ช่วยอัตราว่าง 1,700 อัตรา ใน 40 วิชาเอก สาขาคณิตเปิดรับมากสุด
          นายอภิชาติ จีระวุฒิ เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) เปิดเผยว่า ขณะนี้สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ได้หารือร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.) เพื่อกำหนดปฏิทินการสอบแข่งขันเพื่อบรรจุและแต่งตั้งบุคคลเข้ารับราชการเป็นข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครูผู้ช่วยกรณีทั่วไป ครั้งที่ 1 ปี พ.ศ.2557 แล้วหลังจากที่ประชุม ก.ค.ศ.นัดที่ผ่านมาได้เห็นชอบการปรับปรุงหลักเกณฑ์และวิธีการสอบแข่งขัน และได้มอบให้ สพฐ.และ ก.ค.ศ.มากำหนดปฏิทินดังกล่าว มีรายละเอียดดังนี้ ประกาศรับสมัครสอบแข่งขัน 17-24 มีนาคม ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์สอบแข่งขันภายในวันที่ 8 เมษายน ดำเนินการสอบแข่งขันภาค ก. ความรอบรู้ ความสามารถทั่วไป และความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับความประพฤติและการปฏิบัติของวิชาชีพครู วันที่ 19 เมษายน ภาค ข. ความรู้ความสามารถที่ใช้เฉพาะตำแหน่ง วันที่ 20 เมษายน ประกาศรายชื่อผู้ทีสิทธิ์สอบภาค ค. หรือสอบสัมภาษณ์ ภายในวันที่ 24 เมษายน สอบภาค ค. ตั้งแต่วันที่ 27 เมษายน เป็นต้นไป และจะประกาศผลการสอบแข่งขันภายในวันที่ 2 พฤษภาคม โดย สพฐ.จะเสนอให้ที่ประชุม ก.ค.ศ.รับทราบต่อไป และคาดว่าไม่น่าจะมีการปรับเปลี่ยนอะไรอีก
          เลขาธิการ กพฐ.กล่าวต่อว่า สำหรับเขตพื้นที่การศึกษาที่จะดำเนินการสอบแข่งขันครั้งนี้มีจำนวน 87 เขตพื้นที่การศึกษา และ 1 สำนักบริหารการศึกษาพิเศษ มีอัตราว่างที่สอบแข่งขันใน 40 วิชาเอก จำนวน 1,700 อัตรา แยกเป็นสาขาวิชาเอกดังนี้ ภาษาไทย 275 อัตรา คณิตศาสตร์ 364 อัตรา ภาษาอังกฤษ 189 อัตรา ภาษาจีน 45 อัตรา ภาษาเกาหลี 1 อัตรา ภาษาญี่ปุ่น 9 อัตรา ภาษาฝรั่งเศส 2 อัตรา วิทยาศาสตร์ 65 อัตรา วิทยาศาสตร์ทั่วไป 31 อัตรา ฟิสิกส์ 84 อัตรา เคมี 28 อัตรา ชีววิทยา 18 อัตรา สังคมศึกษา 94 อัตรา พลศึกษา 66 อัตรา สุขศึกษา 7 อัตรา ดนตรีศึกษา 29 อัตรา ดนตรีไทย 15 อัตรา ดนตรีสากล 21 อัตรา ดุริยางคศิลป์ 2 อัตรา ศิลปศึกษา 30 อัตรา ทัศนศิลป์ 5 อัตรา วิจิตรศิลป์ 1 อัตรา นาฏศิลป์ 38 อัตรา คอมพิวเตอร์ 52 อัตรา อุตสาหกรรมศิลป์ 6 อัตรา เกษตร 8 อัตรา คหกรรม 9 อัตรา ปฐมวัย/อนุบาลศึกษา 111 อัตรา ประถมศึกษา 46 อัตรา จิตวิทยาและการแนะแนว 11 อัตรา เทคโนโลยีทางการศึกษา 3 อัตรา บรรณารักษ์ 5 อัตรา การเงิน/บัญชี 10 อัตรา วัดผลและประเมินผลการศึกษา 2 อัตรา โสตทัศนศึกษา 1 อัตรา ธุรกิจ 1 อัตรา การศึกษาพิเศษ 4 อัตรา กิจกรรมบำบัด 4 อัตรา กายภาพบำบัด 4 อัตรา หูหนวกศึกษา 4 อัตรา
          ทั้งนี้ สำหรับเขตพื้นที่การศึกษาที่เปิดสอบแข่งขันในครั้งนี้ อาทิ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา (สพม.) 6 ฉะเชิงเทรา จำนวน 131 อัตรา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา (สพป.) ระนอง 81 อัตรา สพป.ภูเก็ต 73 อัตรา สพม.2 กรุงเทพมหานคร จำนวน 65 อัตรา สพป.สมุทรสาคร 55 อัตรา สพป.สุราษฎร์ธานี เขต 3 จำนวน 50 อัตรา สพป.พังงา 49 อัตรา เป็นต้น.

(คลิ๊กอ่านรายชื่อเขตที่เปิดสอบครูผู้ช่วย ครั้งที่ 1 ปี 2557 
90 เอก 39 เอก 1759 อัตรา
          

ที่มา: http://www.thaipost.net









... เน็ตช้า คลิ๊กที่ http://tuewsob.blogspot.com

... ห้องวิชาเอกครู ห้อง 1 คลิ๊กที่ http://tuewsobkru.blogspot.com

... ห้องวิชาเอกครู ห้อง 2 คลิ๊กที่ http://tuewsob2011.blogspot.com

... (ห้องข้อสอบใหม่) ..สอบครู..สอบผู้บริหาร..สอบบุคลากร ที่
"ติวสอบดอทคอม " เขียน-สร้าง-บรรยาย โดย (ผอ.นิกร  เพ็งลี)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

พัฒนาความรู้ครูผู้ช่วย 4 ภาค

พัฒนาความรู้ครูผู้ช่วย 4 ภาค
พัฒนาความรู้ครูผู้ช่วย 4 ภาค

ห้องสนทนา บน facebook

ห้องสนทนา บน facebook
ห้องสนทนาติวสอบดอทคอม

ข้อสอบออนไลน์ "ติวสอบดอทคอม" ชุดใหม่

คู่มือเตรียมสอบผู้บริหาร ภาค ก ข ค

แจ้งย้ายเว็บไปที่ www.tuewsob.com

คู่มือเตรียมสอบผู้บริหาร ภาค ก ข ค (ปรับปรุงใหม่)

รวม เล่ม + แผ่นพับ + ชีตช่วยจำ + DVD เนื้อหา + เสียงบรรยาย + EMS = 800 บาท
สนใจ คู่มือ ภาค ก ข ค ผู้บริหาร คลิ๊กเลย

สั่งจอง... โอนเงินเข้าชื่อบัญชี นายนิกร เพ็งลี ธนาคารกรุงไทย สาขาจอหอ บัญชีเลขที่ 341-1-38912-5 โอนเงินแล้วกรุณาโทรแจ้ง
0872494141 หรือ 0839660030

คู่มือ เตรียมสอบผู้บริหาร

คู่มือ เตรียมสอบผู้บริหาร
คู่มือ เตรียมสอบผู้บริหาร

ติวสอบออนไลน์ บน facebook

ติวสอบออนไลน์ บน facebook
ติวสอบออนไลน์ บน facebook

คลังหนังสือ ติวสอบดอทคอม

คลังหนังสือ ติวสอบดอทคอม
คลังหนังสือ ติวสอบดอทคอม

ติวสอบดอทคอม

ติวสอบดอทคอม
ติวสอบดอทคอม