(คลิ๊กอ่าน) รายชื่อเขตที่เปิดสอบครูผู้ช่วย ครั้งที่ 1 ปี 2557 90 เอก 39 เอก 1759 อัตรา
ข้อสอบออนไลน์ (สอบครู-ผู้บริหาร-บุคลากรการศึกษา) ชุดใหม่ล่าสุด
ติวสอบออนไลน์ ชุด สรุปย่อ ความรอบรู้ทั่วไป
ลิงค์ข้อสอบ ที่เกี่ยวข้องกับ "นโยบายรัฐบาล" โดย ติวสอบดอทคอม
http://tuewsob.blogspot.com/2013/11/blog-post_4.html
http://www.tuewsob.com/rr164.html
http://www.tuewsob.com/rr%20157%20pu%201.html
http://tuewsob.blogspot.com/2013/10/132556.html
http://tuewsob.blogspot.com/2013/10/blog-post_31.html
http://www.tuewsob.com/rr164.html
http://www.tuewsob.com/rr%20157%20pu%201.html
http://tuewsob.blogspot.com/2013/10/132556.html
http://tuewsob.blogspot.com/2013/10/blog-post_31.html
ศาลรธน.มีมติเสียงข้างมากรับคำร้องผู้ตรวจฯตีความเลือกตั้งโมฆะ นัดรับฟังคำชี้แจงผู้เกี่ยวข้อง19มี.ค.ขณะที่ไม่รับคำร้องพิจารณาสถานของรัฐบาลรักษาการณ์
เมื่อวันที่ 12 มี.ค. ผู้ข่าวรายงานว่า ศาลรัฐธรรมนูญ ได้เผยแพร่เอกสารข่าว ภายหลังการประชุมตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ว่า คณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ได้มีพิจารณาวินิจฉัยในคำร้องของผู้ตรวจการแผ่นดิน เสนอเรื่องขอให้ศาลรัฐธรรมนูญ พิจารณาวินิจฉัย ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 245 (1) ว่า การจัดการเลือกตั้ง ส.ส. เป็นการทั่วไป เมื่อวันที่ 2 ก.พ. ตามพระราชกฤษฎีกายุบสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ.2556 เป็นการเลือกตั้งที่ไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญหรือไม่ โดยในคำร้องนี้ ผู้ร้องได้รับหนังสือร้องเรียนจากประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งที่เห็นว่า กกต. ปฏิบัติหน้าที่ไม่ชอบด้วยบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ จึงเสนอเรื่องขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ มาตรา 245(1) ว่า การจัดการเลือกตั้ง ส.ส. เป็นการทั่วไป เมื่อวันที่ 2 ก.พ. เป็นการเลือกตั้งไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ ขอให้เพิกถอนการเลือกตั้งครั้งนี้ และให้มีการดำเนินการจัดการให้มีการเลือกตั้ง ส.ส. เป็นการทั่วไปขึ้นใหม่ให้เป็นไปตามบทบัญญัติและเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญต่อไป โดยศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาแล้วมีมติเสียงข้างมาก มีคำสั่ง ให้รับคำร้องไว้พิจารณาวินิจฉัย และกำหนดให้มีการรับฟังคำชี้แจงของประธาน กกต. หรือผู้แทน นายกรัฐมนตรีหรือผู้แทน และประธานผู้ตรวจการแผ่นดินหรือผู้แทน ในวันที่ 19 มี.ค. ตั้งแต่เวลา 09.30 น
อย่างไรก็ตามในการพิจารณาวันนี้ ศาลรัฐธรรมนูญมีคำสั่ง ไม่รับคำร้องในหลายกรณีอาทิ กรณีที่ นายไทกร พลสุวรรณ อดีตแกนนำกองทัพประชาชนโค่นระบอบทักษิณ และนายเศวต ทินกูล อดีต ส.ส.ร.ปี 2550 ที่ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัย ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 212 ว่า คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) และ นายกรัฐมนตรี กระทำการขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญหรือไม่ กรณีที่มีประกาศพระราชกฤษฎีกายุบสภา และให้มีการเลือกตั้งเป็นการทั่วไปในวันที่ 2 ก.พ. 57 แต่ปรากฏว่า กกต. ไม่สามารถจัดให้มีการเลือกตั้งพร้อมกันทั่วประเทศได้ และ กกต.เองก็ได้ส่งคำร้องให้ ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย ว่ากรณีที่มีผู้สมัครรับเลือกตั้ง ส.ส. ได้ไม่ครบตามรัฐธรรมนูญมาตรา 93 วรรคหนึ่ง จะสามารถกำหนดวันเลือกตั้งขึ้นใหม่ได้หรือไม่ ซึ่งศาลรัฐธรรมนูญก็ได้วินิจฉัยว่า กรณีที่มีเหตุจำเป็นต้องกำหนดวันเลือกตั้ง ส.ส. ขึ้นใหม่ ต่างจากที่กำหนดไว้ใน พ.ร.ฎ. ก็อาจกระทำได้ โดยให้นายกรัฐมนตรี ปรึกษาหารือกับ กกต. แต่นายกฯ ยังคงยืนยันให้มีการเลือกตั้งตาม พ.ร.ฎ. ในวันที่ 2 ก.พ. ซึ่งทราบดีว่า กกต. ไม่สามารถจัดเลือกตั้งได้ครบทุกเขตได้ อันเป็นเหตุให้การเลือกตั้งไม่เป็นไปตามรัฐธรรมนูญ และ กกต. ยังไม่สามารถประกาศผลและรับรองผลเลือกตั้ง ได้ ไม่สามารถเรียกประชุมสภาครั้งแรกได้ภายใน 30 วันหลังจากการเลือกตั้ง และ ไม่สามารถเลือกนายกรัฐมนตรีได้ภายใน 30 วันหลังจากเปิดสภาครั้งแรก
โดยศาลรัฐธรรมนูญ พิจาณาแล้วเห็นว่าตามคำร้อง มิได้เป็นการขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า บทบัญญัติแห่งกฎหมายใด ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ หรือเป็นกรณีที่ไม่อาจใช้สิทธิ์โดยวิธีการอื่นได้แล้ว ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 212 ประกอบข้อกำหนดศาลรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยวิธีพิจารณาและการทำคำวินิจฉัย พ.ศ. 2550 ข้อ 21 ที่มีหลักเกณฑ์ว่า (1) ต้องเป็นบุคคลซึ่งถูกละเมิดสิทธิ์ หรือเสรีภาพ โดยบทบัญญัติแห่งกฎหมายตามที่รัฐธรรมนูญนี้รับรองไว้ (2) บุคคลนั้นต้องยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญ เพื่อมีคำวินิจฉัยว่าบทบัญญัติแห่งกฎหมายนั้นขัดหรือแย้งกับรัฐธรรมนูญ และ (3) ต้องเป็นกรณีที่ไม่อาจใช้สิทธิ์โดยวิธีการอื่นได้แล้ว จึงมีคำสั่งไม่รับคำร้องไว้พิจารณาวินิจฉัย
นอกจากนี้คณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ยังมีมติไม่รับคำร้องของนายถาวร เสนเนียม แกนนำ กปปส. ที่ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 68 ว่า ครม. กระทำการเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจในการปกครองประเทศโดยวิธีการซึ่งมิได้เป็นไปตามวิถีทางที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญนี้หรือไม่ เนื่องจาก การเลือกตั้ง ส.ส. เป็นการทั่วไปเมื่อวันที่ 2 ก.พ. ไม่อาจนำไปสู่การเรียกประชุมรัฐสภา ได้ภายใน 30 วัน ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 127 ทำให้การดำเนินการต่างๆของสภาลำดับต่อไปไม่อาจทำได้ และไม่อาจนำไปสู่การที่ สภาฯ จะพิจารณาแต่งตั้งนายกฯให้แล้วเสร็จได้ภายใน 30 วัน นับตั้งแต่มีการเรียกประชุมครั้งแรก ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 172 กรณีจึงปรากฏชัดแจ้งว่า การแต่งตั้ง ครม.ชุดใหม่เข้ามาทำหน้าที่ตามรัฐธรรมนูญ ไม่อาจเกิดขึ้นได้การอยู่ในตำแหน่งของผู้ร้องต่อไปจึงเป็นการดำรงอยู่ที่ขัดเจตนาของรัฐธรรมนูญ ดังนั้นการที่ผู้ร้องอยู่ในตำแหน่งต่อไป ย่อมเป็นการรำรงอยู่ด้วยวิธีการที่ไม่เป็นไปตามวิถีทางที่รัฐธรรมนูญกำหนดไว้ ผู้ร้องจึงขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า ผู้ถูกร้องสิ้นสภาพ หรือให้ยุติการอยู่ในตำแหน่งเพื่อปฏิบัติหน้าที่ต่อไป
โดยศาลพิจารณาแล้วเห็นว่า การกระทำของ ครม. ตามคำกล่าวอ้างของผู้ร้องยัง ไม่มีมูลกรณีเป็นการกระทำเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจในการปกครองประเทศโดยวิธีการซึ่งมิได้เป็นไปตามวิถีทางที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ กรณีนี้จึงยังไม่ต้องด้วยหลักเกณฑ์และเงื่อนไขตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 68 ที่ศาลจะรับคำร้องไว้พิจารณาวินิจฉัย.
ที่มา ; เว็บนสพ.เดลินิวส์
ก.ค.ศ.เคาะปฏิทินสอบครูผู้ช่วย 17-24 มี.ค.นี้ สอบครูผู้ช่วยอัตราว่าง 1,700 อัตรา ใน 40 วิชาเอก สาขาคณิตเปิดรับมากสุด
นายอภิชาติ จีระวุฒิ เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) เปิดเผยว่า ขณะนี้สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ได้หารือร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.) เพื่อกำหนดปฏิทินการสอบแข่งขันเพื่อบรรจุและแต่งตั้งบุคคลเข้ารับราชการเป็นข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครูผู้ช่วยกรณีทั่วไป ครั้งที่ 1 ปี พ.ศ.2557 แล้วหลังจากที่ประชุม ก.ค.ศ.นัดที่ผ่านมาได้เห็นชอบการปรับปรุงหลักเกณฑ์และวิธีการสอบแข่งขัน และได้มอบให้ สพฐ.และ ก.ค.ศ.มากำหนดปฏิทินดังกล่าว มีรายละเอียดดังนี้ ประกาศรับสมัครสอบแข่งขัน 17-24 มีนาคม ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์สอบแข่งขันภายในวันที่ 8 เมษายน ดำเนินการสอบแข่งขันภาค ก. ความรอบรู้ ความสามารถทั่วไป และความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับความประพฤติและการปฏิบัติของวิชาชีพครู วันที่ 19 เมษายน ภาค ข. ความรู้ความสามารถที่ใช้เฉพาะตำแหน่ง วันที่ 20 เมษายน ประกาศรายชื่อผู้ทีสิทธิ์สอบภาค ค. หรือสอบสัมภาษณ์ ภายในวันที่ 24 เมษายน สอบภาค ค. ตั้งแต่วันที่ 27 เมษายน เป็นต้นไป และจะประกาศผลการสอบแข่งขันภายในวันที่ 2 พฤษภาคม โดย สพฐ.จะเสนอให้ที่ประชุม ก.ค.ศ.รับทราบต่อไป และคาดว่าไม่น่าจะมีการปรับเปลี่ยนอะไรอีก
เลขาธิการ กพฐ.กล่าวต่อว่า สำหรับเขตพื้นที่การศึกษาที่จะดำเนินการสอบแข่งขันครั้งนี้มีจำนวน 87 เขตพื้นที่การศึกษา และ 1 สำนักบริหารการศึกษาพิเศษ มีอัตราว่างที่สอบแข่งขันใน 40 วิชาเอก จำนวน 1,700 อัตรา แยกเป็นสาขาวิชาเอกดังนี้ ภาษาไทย 275 อัตรา คณิตศาสตร์ 364 อัตรา ภาษาอังกฤษ 189 อัตรา ภาษาจีน 45 อัตรา ภาษาเกาหลี 1 อัตรา ภาษาญี่ปุ่น 9 อัตรา ภาษาฝรั่งเศส 2 อัตรา วิทยาศาสตร์ 65 อัตรา วิทยาศาสตร์ทั่วไป 31 อัตรา ฟิสิกส์ 84 อัตรา เคมี 28 อัตรา ชีววิทยา 18 อัตรา สังคมศึกษา 94 อัตรา พลศึกษา 66 อัตรา สุขศึกษา 7 อัตรา ดนตรีศึกษา 29 อัตรา ดนตรีไทย 15 อัตรา ดนตรีสากล 21 อัตรา ดุริยางคศิลป์ 2 อัตรา ศิลปศึกษา 30 อัตรา ทัศนศิลป์ 5 อัตรา วิจิตรศิลป์ 1 อัตรา นาฏศิลป์ 38 อัตรา คอมพิวเตอร์ 52 อัตรา อุตสาหกรรมศิลป์ 6 อัตรา เกษตร 8 อัตรา คหกรรม 9 อัตรา ปฐมวัย/อนุบาลศึกษา 111 อัตรา ประถมศึกษา 46 อัตรา จิตวิทยาและการแนะแนว 11 อัตรา เทคโนโลยีทางการศึกษา 3 อัตรา บรรณารักษ์ 5 อัตรา การเงิน/บัญชี 10 อัตรา วัดผลและประเมินผลการศึกษา 2 อัตรา โสตทัศนศึกษา 1 อัตรา ธุรกิจ 1 อัตรา การศึกษาพิเศษ 4 อัตรา กิจกรรมบำบัด 4 อัตรา กายภาพบำบัด 4 อัตรา หูหนวกศึกษา 4 อัตรา
ทั้งนี้ สำหรับเขตพื้นที่การศึกษาที่เปิดสอบแข่งขันในครั้งนี้ อาทิ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา (สพม.) 6 ฉะเชิงเทรา จำนวน 131 อัตรา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา (สพป.) ระนอง 81 อัตรา สพป.ภูเก็ต 73 อัตรา สพม.2 กรุงเทพมหานคร จำนวน 65 อัตรา สพป.สมุทรสาคร 55 อัตรา สพป.สุราษฎร์ธานี เขต 3 จำนวน 50 อัตรา สพป.พังงา 49 อัตรา เป็นต้น.
ที่มา: http://www.thaipost.net
... เน็ตช้า คลิ๊กที่ http://tuewsob.blogspot.com
... ห้องวิชาเอกครู ห้อง 1 คลิ๊กที่ http://tuewsobkru.blogspot.com
... ห้องวิชาเอกครู ห้อง 2 คลิ๊กที่ http://tuewsob2011.blogspot.com
... (ห้องข้อสอบใหม่) ..สอบครู..สอบผู้บริหาร..สอบบุค ลากร ที่
"ติวสอบดอทคอม " เขียน-สร้าง-บรรยาย โดย (ผอ.นิกร เพ็งลี)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น