(คลิ๊กอ่าน) รายชื่อเขตที่เปิดสอบครูผู้ช่วย ครั้งที่ 1 ปี 2557 90 เขต 39 เอก 1759 อัตรา
ข้อสอบออนไลน์ (สอบครู-ผู้บริหาร-บุคลากรการศึกษา) ชุดใหม่ล่าสุด
ติวสอบออนไลน์ ชุด สรุปย่อ ความรอบรู้ทั่วไป
ลิงค์ข้อสอบ ที่เกี่ยวข้องกับ "นโยบายรัฐบาล" โดย ติวสอบดอทคอม
http://tuewsob.blogspot.com/2013/11/blog-post_4.html
http://www.tuewsob.com/rr164.html
http://www.tuewsob.com/rr%20157%20pu%201.html
http://tuewsob.blogspot.com/2013/10/132556.html
http://tuewsob.blogspot.com/2013/10/blog-post_31.html
http://www.tuewsob.com/rr164.html
http://www.tuewsob.com/rr%20157%20pu%201.html
http://tuewsob.blogspot.com/2013/10/132556.html
http://tuewsob.blogspot.com/2013/10/blog-post_31.html
ข่าวสำนักงานรัฐมนตรี 66/2557
รมว.ศธ.แถลงข่าว O-Net
รมว.ศธ.แถลงข่าว O-Net
ศึกษาธิการ – นายจาตุรนต์ ฉายแสง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ให้สัมภาษณ์ต่อสื่อมวลชนเกี่ยวกับการนำผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-Net) ไปใช้เป็นส่วนหนึ่งของการสำเร็จการศึกษาตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน เมื่อวันที่ 19 มีนาคม 2557 ที่ห้องประชุมราชวัลลภ
รมว.ศธ.กล่าวว่า จากที่ได้มีข้อห่วงใยเรื่องการกำหนดแนวปฏิบัติเกี่ยวกับการนำผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-Net) ไปใช้เป็นส่วนหนึ่งของการสำเร็จการศึกษาตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน ที่ได้ออกเป็นประกาศ ศธ.ตามการเสนอของสถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (สทศ.) ในการนี้ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ได้หารือกับองค์กรที่มีสถานศึกษาในสังกัด พบว่าการนำเอาการทดสอบกลางมาใช้ในระบบการศึกษา เป็นการดำเนินงานที่มีแนวความคิดสอดคล้องกัน เพื่อให้ผู้ที่อยู่ในระบบการศึกษาทราบว่าการจัดการเรียนการสอนในภาพรวมทั้งประเทศมีผลสัมฤทธิ์อย่างไร และจะเป็นประโยชน์ต่อสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา โรงเรียน และครูอาจารย์
ในส่วนของ สทศ. ได้มีประกาศเมื่อวันที่ 4 ธันวาคม 2556 เป็นเรื่องสืบเนื่องจากที่ ศธ.มีการหารือในสมัยที่ศาสตราจารย์ ดร.สุชาติ ธาดาธำรงเวช เป็น รมว.ศธ. ตั้งแต่เดือนเมษายน 2555 โดยมีแนวความคิดในขณะนั้นว่าจะให้ใช้ผลประเมินระดับสถานศึกษาต่อผลประเมินระดับชาติจาก 80 : 20 ให้เป็น 70 : 30 ในปีการศึกษา 2556 และ 60 : 40 ในปีการศึกษา 2557 และตั้งแต่ปีการศึกษา 2558 ให้ปรับสัดส่วนเป็น 50 : 50 แต่ยังไม่มีผลในทางปฏิบัติ เนื่องจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องไม่ทราบรายละเอียดจากปัญหาเรื่องการเวียนหนังสือ ในการหารือกับ สพฐ.มีความเห็นไปในทิศทางเดียวกัน จึงจะมีการนำเอาประกาศดังกล่าวไปศึกษา เพื่อนำไปสู่การให้คำแนะนำต่อสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษาในสังกัดต่อไป
นอกจากนี้ จะมีการเพิ่มน้ำหนักข้อสอบกลางสำหรับนักเรียนชั้น ป.2 ป.4 ป.5 ม.1 และ ม.2 โดยใช้ข้อสอบกลางที่จัดทำโดย สพฐ. ร้อยละ 15 และข้อสอบที่จัดทำโดยสำนักงานเขตพื้นที่ร่วมกับสถานศึกษา ร้อยละ 15 รวมเป็น ร้อยละ 30 การจัดสอบแบบนี้ไม่ได้ทำให้มีการสอบมากขึ้น เพียงแต่เพิ่มน้ำหนักสำหรับการสอบ O-Net ของนักเรียนที่จะจบช่วงชั้นปี เท่ากับว่าเป็นการใช้ข้อสอบกลางในการสอบปลายปีแทนการใช้ข้อสอบของสถานศึกษา เพื่อจะได้ทราบถึงมาตรฐาน ผลสัมฤทธิ์ของสถานศึกษาและเขตพื้นที่การศึกษา
การวัดผลจากการใช้ข้อสอบกลางไม่ได้มุ่งที่จะทำให้เกิดแรงกดดัน แต่ต้องการให้ผู้จัดการศึกษาเกิดความรู้ความเข้าใจ นำไปสู่การพัฒนา และส่งเสริมให้เกิดความเท่าเทียมมากยิ่งขึ้น สำหรับสถานศึกษาที่มีลักษณะหรือเงื่อนไขพิเศษ ก็ต้องมากำหนดเป้าหมายในการวิเคราะห์ ตีความผลการสอบ เช่น สถานศึกษาที่ไม่ได้ใช้ภาษาไทยเป็นภาษาแม่ จำเป็นต้องวัดความรู้ภาษาไทยเหมือนสถานศึกษาทั่วไป แต่ในการตีความและการพัฒนาเพื่อแก้ปัญหา จะต้องหาทางแก้ปัญหาที่มีลักษณะเฉพาะที่สอดคล้องกับสถานศึกษา คือ การพัฒนาหลักสูตรการเรียนภาษาไทยสำหรับผู้ที่ใช้ภาษาไทยเป็นภาษาที่สอง เป็นต้น
ในขั้นตอนต่อไป จะมีการนำเรื่องที่ สพฐ.หารือกับองค์กรที่มีสถานศึกษาในสังกัด และประกาศของ สทศ.เวียนให้ทราบโดยทั่วกันให้ชัดเจนอีกครั้งหนึ่ง และจะมีการรับฟังความคิดเห็นเพิ่มเติม ทั้งเรื่อง O-Net และการทดสอบกลางในที่ประชุมคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานทั้งนี้ เห็นว่าควรจะมีการจัดเสวนาเพื่อให้เห็นถึงภาพรวมของระบบการทดสอบวัดผลของระบบการศึกษาของประเทศไทย การทดสอบวัดผลที่ สพฐ.ดำเนินการอยู่ จะมีผลทำให้สามารถคาดการณ์ได้ว่าผลสอบ O-Net จะโยงไปถึงการทดสอบวัดผลที่อิงมาตรฐานนานาชาติได้อย่างไร ในการดำเนินการต่างๆ ก็จะทำให้เชื่อมโยงระหว่างผู้รับผิดชอบแต่ละส่วนเข้ามาร่วมกัน ซึ่งในคณะกรรมการของ สทศ.มีผู้แทนองค์กรหลักอยู่แล้ว แต่การทำข้อสอบกลางของ สพฐ.จะมีการเชิญผู้แทนจาก สทศ. คณบดีคณะครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์ และผู้แทนจากสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) เข้าร่วมตลอดกระบวนการ
ขณะนี้ผลสอบ O-Net ประกาศออกมาแล้ว แต่มีข้อมูลน้อยมาก จึงขอให้ สทศ.และ สพฐ.ทำการวิเคราะห์เบื้องต้น เพื่อชี้แจงต่อสังคมให้ทราบทั้งในแง่มุมของ สทศ.และ สพฐ. เมื่อมีรายละเอียดถึงผลการสอบของกลุ่มสถานศึกษาขนาดใหญ่ สถานศึกษาขนาดกลาง และสถานศึกษาขนาดเล็ก ผลการสอบของภูมิภาค ก็จะนำเอาผลสอบนั้นมาวิเคราะห์ แล้วนำมาเสนอต่อสื่อมวลชนและสังคมให้ทราบต่อไป เพื่อให้เกิดการนำเอาผลสอบมาเป็นประโยชน์ต่อการจัดการศึกษา การปรับปรุงการจัดการศึกษาและการจัดการเรียนการสอน
ที่มา ; เว็บข่าวสำนักงานรัฐมนตรี กระทรวงศึกษาธิการ
ปฏิทินสอบครูผู้ช่วย 17-24 มี.ค. ว่าง 1.7 พัน อัตรา
ก.ค.ศ.เคาะปฏิทินสอบครูผู้ช่วย 17-24 มี.ค.นี้ สอบครูผู้ช่วยอัตราว่าง 1,700 อัตรา ใน 40 วิชาเอก สาขาคณิตเปิดรับมากสุด
นายอภิชาติ จีระวุฒิ เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) เปิดเผยว่า ขณะนี้สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ได้หารือร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.) เพื่อกำหนดปฏิทินการสอบแข่งขันเพื่อบรรจุและแต่งตั้งบุคคลเข้ารับราชการเป็นข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครูผู้ช่วยกรณีทั่วไป ครั้งที่ 1 ปี พ.ศ.2557 แล้วหลังจากที่ประชุม ก.ค.ศ.นัดที่ผ่านมาได้เห็นชอบการปรับปรุงหลักเกณฑ์และวิธีการสอบแข่งขัน และได้มอบให้ สพฐ.และ ก.ค.ศ.มากำหนดปฏิทินดังกล่าว มีรายละเอียดดังนี้ ประกาศรับสมัครสอบแข่งขัน 17-24 มีนาคม ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์สอบแข่งขันภายในวันที่ 8 เมษายน ดำเนินการสอบแข่งขันภาค ก. ความรอบรู้ ความสามารถทั่วไป และความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับความประพฤติและการปฏิบัติของวิชาชีพครู วันที่ 19 เมษายน ภาค ข. ความรู้ความสามารถที่ใช้เฉพาะตำแหน่ง วันที่ 20 เมษายน ประกาศรายชื่อผู้ทีสิทธิ์สอบภาค ค. หรือสอบสัมภาษณ์ ภายในวันที่ 24 เมษายน สอบภาค ค. ตั้งแต่วันที่ 27 เมษายน เป็นต้นไป และจะประกาศผลการสอบแข่งขันภายในวันที่ 2 พฤษภาคม โดย สพฐ.จะเสนอให้ที่ประชุม ก.ค.ศ.รับทราบต่อไป และคาดว่าไม่น่าจะมีการปรับเปลี่ยนอะไรอีก
เลขาธิการ กพฐ.กล่าวต่อว่า สำหรับเขตพื้นที่การศึกษาที่จะดำเนินการสอบแข่งขันครั้งนี้มีจำนวน 87 เขตพื้นที่การศึกษา และ 1 สำนักบริหารการศึกษาพิเศษ มีอัตราว่างที่สอบแข่งขันใน 40 วิชาเอก จำนวน 1,700 อัตรา แยกเป็นสาขาวิชาเอกดังนี้ ภาษาไทย 275 อัตรา คณิตศาสตร์ 364 อัตรา ภาษาอังกฤษ 189 อัตรา ภาษาจีน 45 อัตรา ภาษาเกาหลี 1 อัตรา ภาษาญี่ปุ่น 9 อัตรา ภาษาฝรั่งเศส 2 อัตรา วิทยาศาสตร์ 65 อัตรา วิทยาศาสตร์ทั่วไป 31 อัตรา ฟิสิกส์ 84 อัตรา เคมี 28 อัตรา ชีววิทยา 18 อัตรา สังคมศึกษา 94 อัตรา พลศึกษา 66 อัตรา สุขศึกษา 7 อัตรา ดนตรีศึกษา 29 อัตรา ดนตรีไทย 15 อัตรา ดนตรีสากล 21 อัตรา ดุริยางคศิลป์ 2 อัตรา ศิลปศึกษา 30 อัตรา ทัศนศิลป์ 5 อัตรา วิจิตรศิลป์ 1 อัตรา นาฏศิลป์ 38 อัตรา คอมพิวเตอร์ 52 อัตรา อุตสาหกรรมศิลป์ 6 อัตรา เกษตร 8 อัตรา คหกรรม 9 อัตรา ปฐมวัย/อนุบาลศึกษา 111 อัตรา ประถมศึกษา 46 อัตรา จิตวิทยาและการแนะแนว 11 อัตรา เทคโนโลยีทางการศึกษา 3 อัตรา บรรณารักษ์ 5 อัตรา การเงิน/บัญชี 10 อัตรา วัดผลและประเมินผลการศึกษา 2 อัตรา โสตทัศนศึกษา 1 อัตรา ธุรกิจ 1 อัตรา การศึกษาพิเศษ 4 อัตรา กิจกรรมบำบัด 4 อัตรา กายภาพบำบัด 4 อัตรา หูหนวกศึกษา 4 อัตรา
ทั้งนี้ สำหรับเขตพื้นที่การศึกษาที่เปิดสอบแข่งขันในครั้งนี้ อาทิ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา (สพม.) 6 ฉะเชิงเทรา จำนวน 131 อัตรา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา (สพป.) ระนอง 81 อัตรา สพป.ภูเก็ต 73 อัตรา สพม.2 กรุงเทพมหานคร จำนวน 65 อัตรา สพป.สมุทรสาคร 55 อัตรา สพป.สุราษฎร์ธานี เขต 3 จำนวน 50 อัตรา สพป.พังงา 49 อัตรา เป็นต้น.
ที่มา: http://www.thaipost.net
... เน็ตช้า คลิ๊กที่ http://tuewsob.blogspot.com
... ห้องวิชาเอกครู ห้อง 1 คลิ๊กที่ http://tuewsobkru.blogspot.com
... ห้องวิชาเอกครู ห้อง 2 คลิ๊กที่ http://tuewsob2011.blogspot.com
... (ห้องข้อสอบใหม่) ..สอบครู..สอบผู้บริหาร..สอบบุค ลากร ที่
"ติวสอบดอทคอม " เขียน-สร้าง-บรรยาย โดย (ผอ.นิกร เพ็งลี)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น