หน้าหลัก ติวสอบดอทคอม เว็บฟรีข้อสอบออนไลน์

หน้าหลัก ติวสอบดอทคอม เว็บฟรีข้อสอบออนไลน์
หน้าหลัก ติวสอบดอทคอม เว็บฟรีข้อสอบออนไลน์

พัฒนาความรู้ สู่ รอง./ผอ.รร. ปี 2567

พัฒนาความรู้ สู่ รอง./ผอ.รร. ปี 2567
พัฒนาความรู้ สู่ รอง./ผอ.รร. ปี 2567

คลิ๊ก "สมัครพัฒนาความรู้สู่ผู้บริหาร / ครูผู้ช่วย

คลิ๊ก... สมัคร พัฒนาความรู้ สู่ ครูผู้ช่วย
คลิ๊ก... สมัคร พัฒนาความรู้ สู่ ผู้บริหาร

ติวสอบดอทคอม (เตรียมสอบครูผู้ช่วย-ผู้บริหาร-บุคลากร การศึกษา)

ติวสอบดอทคอม (เตรียมสอบครูผู้ช่วย-ผู้บริหาร-บุคลากร การศึกษา)
ติวสอบดอทคอม (เว็บฟรีข้อสอบออนไลน์ สอบครู ผู้บริหาร บุคลากร)

วันศุกร์ที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

สรุปข่าวการประชุมคณะรัฐมนตรีนอกสถานที่จังหวัดลพบุรี

ข้อสอบออนไลน์ ชุดใหม่





ติวสอบออนไลน์ ชุด นโยบายรัฐบาล


ลิงค์ข้อสอบ  ที่เกี่ยวข้องกับ  "นโยบายรัฐบาล"


สรุปข่าวการประชุมคณะรัฐมนตรีนอกสถานที่จังหวัดลพบุรี

 (1 พฤศจิกายน 2556)  เมื่อเวลา 09.00 . ณ ห้องประชุม ชั้น 9 อาคาร 90 ปี มหาวิทยาลัยราชภัฎเทพสตรี  จังหวัดลพบุรี  นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เป็นประธานการประชุมคณะรัฐมนตรีนอกสถานที่ ครั้งที่ 5/2556   
                                จากนั้น นายธีรัตถ์  รัตนเสวี โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี  พร้อมด้วย นายภักดีหาญส์                หิมะทองคำ ร้อยโทหญิง สุณิสา  เลิศภควัต   และนายชลิตรัตน์ จันทรุเบกษา  รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี  ได้แถลงข่าวผลการประชุมคณะรัฐมนตรี สรุปสาระสำคัญได้ดังนี้
                                1.            เรื่อง       ขออนุมัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2556 งบกลาง รายการ                                                  เงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น (สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ)
                                2.            เรื่อง       “การขยายระยะเวลาแผนแม่บทพัฒนาความปลอดภัยด้านอัคคีภัยแห่งชาติและ                                                                   ยุทธศาสตร์การป้องกันและแก้ไขปัญหาไฟป่า การเผาในที่โล่ง และมลพิษหมอก                                                                              ควัน และ แผนปฏิบัติการป้องกันและแก้ไขปัญหาไฟป่า การเผาในที่โล่ง และ                                                               มลพิษหมอกควัน พ.ศ. 2556-2562 ภายใต้แผนแม่บทพัฒนาความปลอดภัยด้าน                                                        อัคคีภัยแห่งชาติ
                                3.            เรื่อง      ร่างบันทึกความเข้าใจระหว่างกระทรวงพลังงานแห่งราชอาณาจักรไทยและ                                                                       กระทรวงพลังงานแห่งสหพันธรัฐรัสเซียว่าด้วยความร่วมมือด้านพลังงาน
                                4.            เรื่อง       กฎกระทรวงกำหนดการจัดทำ ปัก ติดตั้งป้ายจราจร เครื่องหมายจราจร หรือ                                                                        สัญญาณจราจร สำหรับการจราจรบนทางหลวง พ.ศ. 2556
                                5.            เรื่อง       ร่างพระราชบัญญัติการกลับไปใช้สิทธิในบำเหน็จบำนาญตามพระราชบัญญัติ                                                                   บำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. 2494 พ.ศ. ....
                                6.            เรื่อง       สรุปผลการสำรวจภาวะการทำงานของประชากร เดือนสิงหาคม พ.ศ. 2556
                                7.            เรื่อง       การลงนามในร่างพิธีสารสรุปความตกลงเปิดตลาดทวิภาคีระหว่างประเทศไทยและ                                                          เซเชลส์ภายใต้กระบวนการภาคยานุวัติเป็นสมาชิกองค์การการค้าโลกของเซเชลส์
                                8.            เรื่อง       การให้ความช่วยเหลือนักศึกษาในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่ได้รับผลกระทบ                                                              จากสถานการณ์ทางการเมืองในสาธารณรัฐอาหรับอียิปต์
                9.            เรื่อง       การปรับปรุงค่าตอบแทนข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ปี 2556
                                                และปี 2557  
                                10.          เรื่อง       แนวทางการปรับปรุงแผนยุทธศาสตร์กระทรวง และแผนพัฒนาจังหวัดและกลุ่ม                                                               จังหวัด
                                11.          เรื่อง       ผลการประชุมร่วมภาครัฐและเอกชนเพื่อแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจในภูมิภาค
                                                                ครั้งที่ 5/2556
                                12.         เรื่อง       ความก้าวหน้าในการดำเนินงานโครงการแก้ไขปัญหายางพาราทั้งระบบ ปี 2557






                                13.         เรื่อง       แต่งตั้ง
                                                                1. การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญประเภทบริหารระดับสูง (กระทรวง                                                                            คมนาคม)
                                                                2. แต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการกองทุนเพื่อความปลอดภัยใน                                                                      การใช้รถใช้ถนน
                                                                3.  การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง                                                                 (กระทรวงศึกษาธิการ)


*****************************************************
 เอกสารชุดนี้เป็นเอกสารข่าวสรุปผลการประชุมคณะรัฐมนตรีเท่านั้น
สำหรับมติคณะรัฐมนตรีอย่างเป็นทางการกรุณาตรวจสอบที่สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี
 โทร . 0 2280-9000
สำนักโฆษกขอเชิญติดตามการถ่ายทอดสดการแถลงข่าวผลการประชุมคณะรัฐมนตรี
ทุกวันอังคาร หรือวันที่มีการประชุม ทางสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย ทาง F.M. 92.5
ในเขตกรุงเทพมหานคร ส่วนต่างจังหวัด
รับฟังได้ทางสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทยประจำจังหวัด
สำนักโฆษก   สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี โทร. 0 2288-4396

1. เรื่อง ขออนุมัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2556 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น (สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ)
                                คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามความเห็นสำนักงบประมาณดังนี้
                                1. ให้สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติบรรจุโครงการบูรณปฏิสังขรณ์พระวิหารสมเด็จ พระศรีนครินทราบรมราชชนนี และพระบรมธาตุเจดีย์ศรีนครินทรา วัดสันติคีรีญาณสังวราราม จังหวัดเชียงราย โครงการอุดหนุนก่อสร้างอาคารศาสนสถานวัดแก้วฟ้า จังหวัดนนทบุรี และโครงการจัดสร้างพุทธมณฑลเชียงใหม่ไว้ในแผนปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2557 งบเงินอุดหนุน เงินอุดหนุนทั่วไป รายการเงินอุดหนุนการบูรณปฏิสังขรณ์วัดและการพัฒนาวัด ซึ่งมีงบประมาณอยู่จำนวน 362,017,200 บาท ตามความจำเป็นและเหมาะสมในโอกาสแรกก่อน
                                2. ให้กรมศิลปากรซึ่งเป็นหน่วยงานที่มีภารกิจรับผิดชอบโดยตรง กำหนดโครงการบูรณาปฏิสังขรณ์โลหะปราสาท วัดราชนัดดารามวรวิหาร กรุงเทพมหานคร ไว้ในแผนการดำเนินงานของกรมศิลปากรและขอรับการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีตามความจำเป็นและเหมาะสมตามขั้นตอนต่อไป

2. เรื่อง การขยายระยะเวลาแผนแม่บทพัฒนาความปลอดภัยด้านอัคคีภัยแห่งชาติและยุทธศาสตร์การป้องกันและแก้ไขปัญหาไฟป่า การเผาในที่โล่ง และมลพิษหมอกควัน และ แผนปฏิบัติการป้องกันและแก้ไขปัญหาไฟป่า การเผาในที่โล่ง และมลพิษหมอกควัน พ.ศ. 2556-2562 ภายใต้แผนแม่บทพัฒนาความปลอดภัยด้านอัคคีภัยแห่งชาติ
                                คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติและเห็นชอบตามที่คณะกรรมการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ (กปภ.ช.) เสนอ ดังนี้
                                1. อนุมัติให้ขยายระยะเวลาแผนแม่บทพัฒนาความปลอดภัยด้านอัคคีภัยแห่งชาติ จาก พ.ศ. 2549 - 2559 เป็น พ.ศ. 2549 - 2562
                                2. อนุมัติให้ขยายระยะเวลายุทธศาสตร์การป้องกันและแก้ไขปัญหาไฟป่าการเผาในที่โล่ง และมลพิษหมอกควัน จาก พ.ศ. 2553 – 2559 เป็น .ศ. 2556 – 2562
                                3. เห็นชอบแผนปฏิบัติการป้องกันและแก้ไขปัญหาไฟป่า การเผาในที่โล่งและมลพิษหมอกควัน พ.ศ. 2556 – 2562 ภายใต้แผนแม่บทพัฒนาความปลอดภัยด้านอัคคีภัยแห่งชาติ
                                4. เห็นชอบให้กระทรวง กรม องค์กร และหน่วยงานภาครัฐ รัฐวิสาหกิจ จังหวัด อำเภอ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และภาคส่วนอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องถือปฏิบัติตามแผนแม่บทพัฒนาความปลอดภัยด้านอัคคีภัยแห่งชาติ และยุทธศาสตร์การป้องกันและแก้ไขปัญหาไฟป่า การเผาในที่โล่ง และมลพิษหมอกควัน
                                แผนปฏิบัติการป้องกันและแก้ไขปัญหาไฟป่า การเผาในที่โล่งและมลพิษหมอกควัน                  พ.ศ. 2556 – 2562 ภายใต้แผนแม่บทพัฒนาความปลอดภัยด้านอัคคีภัยแห่งชาติ มีเป้าหมาย ดังนี้
                                1. การจัดการไฟป่า ลดพื้นที่ไฟไหม้ป่าให้เหลือเพียงไม่เกินปีละ 300,000 ไร่
                                2. จัดการเศษวัสดุเหลือใช้จากภาคการเกษตรทดแทนการเผาในพื้นที่อย่างน้อยปีละ 600,000 ไร่
                                3. ลดการเผาขยะมูลฝอยในที่โล่งโดยจัดให้มีการกำจัดขยะมูลฝอยอย่างถูกหลักวิธีและปลอดภัยไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 ของจังหวัดทั้งหมดและมีการใช้ประโยชน์มูลฝอยไม่ต่ำกว่าร้อยละ 30 ของปริมาณมูลฝอยที่เกิดขึ้นในแต่ละพื้นที่

3. เรื่อง ร่างบันทึกความเข้าใจระหว่างกระทรวงพลังงานแห่งราชอาณาจักรไทยและกระทรวงพลังงานแห่งสหพันธรัฐรัสเซียว่าด้วยความร่วมมือด้านพลังงาน
                                คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบและอนุมัติตามที่กระทรวงพลังงาน (พน.) เสนอ ดังนี้
                                1. เห็นชอบและอนุมัติให้มีการลงนามในร่างบันทึกความเข้าใจระหว่าง พน. แห่งราชอาณาจักรไทย และ พน. แห่งสหพันธรัฐรัสเซียว่าด้วยความร่วมมือด้านพลังงาน
                                2. อนุมัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน (หรือผู้ที่ได้รับมอบอำนาจจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน) เป็นผู้ลงนามในร่างบันทึกความเข้าใจฯ 
                                3. มอบหมายให้กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) จัดทำหนังสือมอบอำนาจเต็มให้แก่ผู้ลงนามในข้อ 2.
                                4. หากมีความจำเป็นต้องแก้ไขปรับปรุงถ้อยคำของร่างบันทึกความเข้าใจฯ ในส่วนที่มิใช่สาระสำคัญ เพื่อให้สอดคล้องกับผลประโยชน์และนโยบายของไทย ให้ พน. หารือร่วมกับกรมสนธิสัญญาและกฎหมาย กต. เพื่อพิจารณาดำเนินการในเรื่องนั้น ๆ แทนคณะรัฐมนตรี โดยไม่ต้องนำเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาอีกครั้ง
                                สาระสำคัญของเรื่อง
                                สรุปสาระสำคัญของร่างบันทึกความเข้าใจฯ
                                1. ร่างบันทึกความเข้าใจฯ ระบุสาขาความร่วมมือด้านพลังงาน ได้แก่ น้ำมันและผลิตภัณฑ์น้ำมัน ก๊าซธรรมชาติ ถ่านหิน ไฟฟ้า พลังงานหมุนเวียน และพลังงานทางเลือก และความร่วมมืออื่น ๆ ที่เห็นชอบร่วมกัน
                                2. รูปแบบความร่วมมือกำหนดให้ทั้งสองฝ่ายดำเนินการจัดตั้งคณะทำงานร่วม (Joint Working Group) เพื่อกำหนดโครงการความร่วมมือและการทำงานร่วมกันระยะยาวที่ครอบคลุมตามทิศทางของกิจกรรม และกำหนดมาตรการสำหรับความสนับสนุนจากรัฐบาลที่จำเป็นเพื่อให้โครงการสามารถประสบความสำเร็จได้
                                3. บันทึกความเข้าใจฯ จะมีผลบังคับเป็นระยะเวลา 3 ปีนับตั้งแต่วันที่มีการลงนามและจะต่ออายุโดยอัตโนมัติเป็นระยะเวลาเดียวกัน เว้นแต่ว่าคู่สัญญาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจะแจ้งให้คู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งทราบถึงความตั้งใจที่จะไม่ขอต่ออายุบันทึกความเข้าใจนี้ โดยการสิ้นสุดการใช้บันทึกความเข้าใจนี้จะไม่มีผลต่อกิจกรรมและโครงการความร่วมมือต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น  หรือที่กำลังดำเนินการอยู่ตามบันทึกความเข้าใจนี้ จนกว่ากิจกรรมและโครงการนั้น ๆ จะเสร็จสิ้น หรือแล้วแต่ที่คู่สัญญาทั้งสองจะตกลงกันเป็นอย่างอื่น
                                4. ในข้อ 7 ของร่างบันทึกความเข้าใจฯ ได้ระบุว่าบันทึกวามเข้าใจดังกล่าวมิใช่สนธิสัญญาระหว่างประเทศ หรือเอกสารที่มีผลผูกพันทางกฎหมายใด ๆ จึงไม่ก่อให้เกิดสิทธิหรือพันธกรณีภายใต้บังคับของกฎหมายระหว่างประเทศ
                                5. บันทึกความเข้าใจดังกล่าวจะจัดทำเป็น 3 ภาษา คือ ภาษาอังกฤษ ภาษาไทย และภาษารัสเซีย โดยหากมีข้อโต้แย้งและมีการตีความที่คลาดเคลื่อน จะยึดร่างบันทึกความเข้าใจฉบับภาษาอังกฤษเป็นหลักในการตีความ

4. เรื่อง กฎกระทรวงกำหนดการจัดทำ ปัก ติดตั้งป้ายจราจร เครื่องหมายจราจร หรือสัญญาณจราจร สำหรับการจราจรบนทางหลวง พ.ศ. 2556
                                คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามมติคณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี คณะที่ 2 (ฝ่ายสังคมและกฎหมาย) ในคราวประชุมครั้งที่ 8/2556 วันพฤหัสบดีที่ 3 ตุลาคม 2556 ตามที่รองนายกรัฐมนตรี (นายพงศ์เทพ เทพกาญจนา) ประธานกรรมการเสนอ ที่มีมติเห็นชอบกฎกระทรวงกำหนดการจัดทำ ปัก ติดตั้งป้ายจราจร เครื่องหมายจราจร หรือสัญญาณจราจร สำหรับการจราจรบนทางหลวง พ.ศ. 2556 ตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอ โดยให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยร่วมกันลงนามในกฎกระทรวงฉบับนี้ใหม่ สำหรับงบประมาณในการดำเนินการในเรื่องนี้ให้เป็นไปตามความเห็นของสำนักงบประมาณ
สาระสำคัญของกฎกระทรวง
                                1. กำหนดคำนิยาม “เครื่องหมายจราจร” “การจราจร” “ผู้ขับขี่” “คนเดินเท้า” “รถ” “รถยนต์” “รถบรรทุก” “รถโดยสารประจำทาง” “ รถจักรยานยนต์” “รถพ่วง” “รถกึ่งพ่วง” “รถสามล้อ” “รถจักรยาน” “ล้อเลื่อนลากเข็น” “ทางเดินรถ” “ทางเดินรถทางเดียว” “ทางร่วมทางแยก” “วงเวียน” “ช่องเดินรถ” “ช่องเดินรถประจำทาง” “ขอบทาง” “ทางข้าม” “เขตปลอดภัย” “สัญญาณจราจร”
                               2. กำหนดเครื่องหมายจราจรแบ่งเป็น 2 ประเภท ได้แก่ ป้ายจราจร และเครื่องหมายจราจรบนพื้นทาง
                                3. หมวด 1 ป้ายจราจร
                                                3.1 กำหนดป้ายจราจรแบ่งเป็น 3 ประเภท ได้แก่ ป้ายบังคับ ป้ายเตือน และป้ายแนะนำ
                                                3.2 ส่วนที่ 1 ป้ายบังคับ
                                                                กำหนดความหมายป้ายบังคับ ป้ายบังคับแบ่งเป็น 2 ชนิด ได้แก่
                                                                3.2.1 ป้ายบังคับที่แสดงความหมายตามรูปแบบและลักษณะที่กำหนด เช่น ป้าย “หยุด” ป้าย “ให้ทาง” ป้าย “ให้รถสวนทางมาก่อน” ป้าย “ห้ามแซง” เป็นต้น
                                                                3.2.2 ป้ายบังคับที่แสดงด้วยข้อความ หรือสัญลักษณ์ หรือทั้งสองอย่างรวมกัน
                                                3.3 ส่วนที่ 2 ป้ายเตือน
                                                                กำหนดความหมายป้ายเตือน ป้ายเตือนแบ่งเป็น 3 ชนิด ได้แก่
                                                                3.3.1 ป้ายเตือนตามรูปแบบและลักษณะที่กำหนด เช่น ป้าย “ทางโค้งต่าง ๆ” ป้าย “ทางแยกต่าง ๆ” ป้าย “วงเวียนข้างหน้า” เป็นต้น
                                                                3.3.2 ป้ายเตือนที่แสดงด้วยข้อความ หรือสัญลักษณ์ หรือทั้งสองอย่างรวมกัน
                                                                3.3.3 ป้ายเตือนในงานก่อสร้างต่าง ๆ เช่น ป้าย “สำรวจทาง” ป้าย “งานก่อสร้าง” ป้าย “คนทำงาน” เป็นต้น
                                                3.4 ส่วนที่ 3 ป้ายแนะนำ
                                                                กำหนดความหมายป้ายแนะนำ ป้ายแนะนำแบ่งเป็น 2 ชนิด ได้แก่
                                                                3.4.1 ชนิดพื้นป้ายสีขาว มีข้อความ เครื่องหมาย หรือเส้นขอบป้ายเป็นสีดำ
                                                                3.4.2 ชนิดพื้นป้ายสีเขียว หรือสีน้ำเงิน หรือสีน้ำตาล หรือสีอื่น มีข้อความ เครื่องหมาย เส้นขอบป้ายฯ
                                4. หมวด 2 เครื่องหมายจราจรบนพื้นทาง
                                                4.1 กำหนดเครื่องหมายจราจรบนพื้นทาง แบ่งเป็น 2 ประเภท ได้แก่ เครื่องหมายจราจรบนพื้นทางประเภทบังคับ และเครื่องหมายจราจรบนพื้นทางประเภทเตือน
                                                4.2 ส่วนที่ 1 เครื่องหมายจราจรบนพื้นทางประเภทบังคับ
                                                                กำหนดเครื่องหมายจราจรบนพื้นทางประเภทบังคับให้มีรูปแบบ และลักษณะที่กำหนด ดังนี้
                                                                4.2.1 เครื่องหมายจราจรตามแนวทางเดินรถ ได้แก่ “เส้นแบ่งทิศทางจราจรปกติ” “เส้นแบ่งทิศทางจราจรห้ามแซง” “เส้นแบ่งทิศทางจราจรห้ามแซงเฉพาะด้าน” เป็นต้น
                                                                4.2.2 เครื่องหมายจราจรขวางแนวทางเดินรถ เช่น “เส้นหยุด” “เส้นให้ทาง” “เส้นทางข้าม” เป็นต้น
                                                                4.2.3 เครื่องหมายอื่น ๆ เช่น “ลูกศร” “ให้ทาง” “เขตปลอดภัยหรือเกาะสี” เป็นต้น
                                                4.3 ส่วนที่ 2 เครื่องหมายจราจรบนพื้นทางประเภทเตือน
                                                                กำหนดเครื่องหมายจราจรบนพื้นทางประเภทเตือน ให้มี รูปแบบและลักษณะที่กำหนด เช่น “เส้นขอบทาง” “เส้นแนวช่องเดินรถผ่านทางแยก” “เส้นชะลอความเร็ว” เป็นต้น
                                5. หมวด 3 สัญญาณจราจร
                                                กำหนดให้สัญญาณจราจร ได้แก่ เครื่องหมายควบคุมการจราจรที่เป็นโคมสัญญาณไฟจราจร หรือสัญญาณที่เจ้าหน้าที่แสดงให้ผู้ขับขี่ปฏิบัติ สัญญาณจราจรที่ใช้ควบคุมการจราจรบนทางหลวง แบ่งเป็น 2 ประเภท ได้แก่
                                                5.1 สัญญาณไฟจราจร เช่น “โคมสัญญาณไฟจราจรสีแดง” “โคมสัญญาณไฟจราจรสีเขียว” เป็นต้น
                                                5.2 สัญญาณธง เช่น เจ้าหน้าที่ยกธงแดง และเจ้าหน้าที่ยกธงเขียว


5. เรื่อง ร่างพระราชบัญญัติการกลับไปใช้สิทธิในบำเหน็จบำนาญตามพระราชบัญญัติบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. 2494 พ.ศ. ....
                                คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาเสนอดังนี้
                                1. เห็นชอบร่างพระราชบัญญัติการกลับไปใช้สิทธิในบำเหน็จบำนาญตามพระราชบัญญัติบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. 2494 พ.ศ. .... ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว และให้ส่งคณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎรพิจารณาก่อนเสนอสภาผู้แทนราษฎรพิจารณาต่อไป
                                2. เห็นชอบข้อสังเกตของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา (คณะกรรมการกฤษฎีกา (คณะที่ 12) และมอบหมายให้กระทรวงการคลังรับข้อสังเกตดังกล่าวไปพิจารณาดำเนินการต่อไป ดังนี้
                                                2.1 การกำหนดระยะเวลาดำเนินการในขั้นตอนต่าง ๆ ในร่างพระราชบัญญัตินี้ซึ่งกำหนดไว้เป็นวันที่ตามปฏิทินนั้น อาจเกิดข้อขัดข้องได้ เนื่องจากเป็นร่างพระราชบัญญัติที่ต้องผ่านกระบวนการพิจารณาของรัฐสภาเพื่อพิจารณาเห็นชอบเสียก่อน และยังต้องดำเนินการอื่นที่เกี่ยวข้องก่อนตราเป็นพระราชบัญญัติขึ้นใช้บังคับ หากไม่สามารถดำเนินการดังกล่าวให้เสร็จสิ้นภายในกำหนดระยะเวลาการพิจารณาร่างกฎหมายที่กระทรวงการคลังได้คาดการณ์ไว้ ก็อาจส่งผลกระทบต่อเนื้อหาบางส่วนของร่างพระราชบัญญัติและเกิดปัญหาในการบังคับใช้ต่อไปได้
                                                2.2 การที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติอนุมัติตามมติของคณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี คณะที่ 3 (ฝ่ายเศรษฐกิจ) ในการยกเว้นภาษีเงินได้สำหรับเงินสะสมและผลประโยชน์ของเงินสะสม รวมทั้งเงินบำนาญส่วนเพิ่ม เพื่อเป็นการช่วยเหลือและลดภาระให้แก่ข้าราชการและผู้รับบำนาญ ซึ่งเป็นสมาชิกกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) โดยสมัครใจ ในการกลับไปใช้สิทธิในบำเหน็จบำนาญตามระบบเดิมนั้น   ไม่สมควรนำเรื่องดังกล่าวมากำหนดไว้ในร่างพระราชบัญญัตินี้ แต่อย่างไรก็ตาม หากคณะรัฐมนตรีเห็นสมควรก็อาจกระทำได้โดยดำเนินการตามประมวลรัษฎากรในการตราพระราชกฤษฎีกาเพื่อยกเว้นภาษีเงินได้ดังกล่าวต่อไป
                                สาระสำคัญของร่างพระราชบัญญัติ
                                กำหนดให้ข้าราชการซึ่งเป็นสมาชิก กบข. และผู้รับบำนาญและทหารกองหนุนมีเบี้ยหวัด ซึ่งเคยเป็นสมาชิก กบข. ที่รับราชการอยู่ในวันก่อนที่บทบัญญัติ หมวด 3 สมาชิก และสิทธิประโยชน์ของสมาชิกแห่งพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. 2539 ใช้บังคับ สามารถกลับไปใช้สิทธิในบำเหน็จบำนาญตามพระราชบัญญัติบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. 2494 ได้

6. เรื่อง สรุปผลการสำรวจภาวะการทำงานของประชากร เดือนสิงหาคม พ.ศ. 2556
                                คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบสรุปผลการสำรวจภาวะการทำงานของประชากร เดือนสิงหาคม พ.ศ. 2556 ตามที่ กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เสนอ ดังนี้
                                สำนักงานสถิติแห่งชาติ ได้ทำการสำรวจภาวะการทำงานของประชากรเป็นประจำทุกเดือนโดยสอบถามประชากรที่มีอายุ 15 ปีขึ้นไป ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่าง ทุกจังหวัดทั่วประเทศมีครัวเรือนตกเป็นตัวอย่าง 27,960 ครัวเรือนต่อเดือน สำหรับในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2556 ในภาพรวมสถานการณ์แรงงานมีจำนวนผู้ว่างงานเพิ่มขึ้น 9.3 หมื่นคน (จาก 2.24 แสนคน เป็น 3.17 แสนคน) เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปี 2555 หากเปรียบเทียบกับช่วงเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2556 จำนวนผู้ว่างงานลดลง 3.8 หมื่นคน (จาก 3.55 แสนคน เป็น 3.17 แสนคน) สำหรับสาระสำคัญการสำรวจสรุปได้ดังนี้
                                1. ผู้ที่อยู่ในกำลังแรงงาน
                                ผู้ที่อยู่ในกำลังแรงงาน มีจำนวนทั้งสิ้น 39.31 ล้านคน ประกอบด้วย ผู้มีงานทำ 38.95 ล้านคน ผู้ว่างงาน 0.32 ล้านคน และผู้ที่รอฤดูกาล 0.04 ล้านคน ทั้งนี้ ผู้ที่อยู่ในกำลังแรงงานมีจำนวนลดลงจากช่วงเวลาเดียวกันของปี 2555 จำนวน 4.9 แสนคน (จาก 39.80 ล้านคน เป็น 39.31 ล้านคน)
                                2. ผู้มีงานทำ
                                ผู้มีงานทำ 38.95 ล้านคน ลดลงจากช่วงเวลาเดียวกันของปี 2555 จำนวน 5.9 แสนคน (จาก 39.54 ล้านคน เป็น 38.95 ล้านคน) หรือลดลงร้อยละ 1.5 ซึ่งมีผู้ทำงานเพิ่มขึ้นและลดลงในสาขาต่าง ๆ ได้ดังนี้
                                                2.1 ผู้ทำงานลดลง ได้แก่ ผู้ทำงานภาคเกษตรกรรม 2.4 แสนคน (จาก 16.46 ล้านคน) เป็น 16.22 ล้านคน) สาขาการก่อสร้าง 2.2 แสนคน (จาก 2.30 ล้านคน เป็น 2.08 ล้านคน) สาขาการขายส่งและการขายปลีก การซ่อมยานยนต์ และรถจักรยานยนต์ 1.7 แสนคน (จาก 5.76 ล้านคน เป็น 5.59 ล้านคน) สาขาการผลิต 1.3 แสนคน (จาก 5.68 ล้านคน เป็น 5.55 ล้านคน) สาขาการขนส่ง และสถานที่เก็บสินค้า 1.1 แสนคน (จาก 1.07 ล้านคน เป็น 0.96 ล้านคน) สาขาการศึกษา 9.0 หมื่นคน (จาก 1.20 ล้านคน เป็น 1.11 ล้านคน)
                                                2.2 ผู้ทำงานเพิ่มขึ้น ได้แก่ สาขากิจกรรมด้านสุขภาพ และงานสังคมสงเคราะห์ 1.4 แสนคน (จาก 0.61 ล้านคน เป็น 0.75 ล้านคน) สาขากิจกรรมทางการเงิน และการประกันภัย 4.0 หมื่นคน (จาก 0.37 ล้านคน เป็น 0.41 ล้านคน) เป็นต้น
                                3. ผู้ว่างงาน
                                                3.1 ผู้ว่างงานทั่วประเทศมีจำนวน 3.17 แสนคน คิดเป็นอัตราการว่างงานร้อยละ 0.8 ของกำลังแรงงาน (เพิ่มขึ้น 9.3 หมื่นคน เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปี 2555) ประกอบด้วย ผู้ว่างงานที่ไม่เคยทำงานมาก่อนจำนวน 1.44 แสนคน อีกส่วนหนึ่งเป็นผู้ว่างงานที่เคยทำงานมาก่อนจำนวน 1.73 แสนคน โดยเป็นผู้ว่างงานที่มาจากภาคบริการและการค้า 1.04 แสนคน ภาคการผลิต 5.3 หมื่นคน และภาคเกษตรกรรม 1.6 หมื่นคน
                                                3.2 ผู้ว่างงานเป็นผู้มีการศึกษาอยู่ในระดับอุดมศึกษา 1.44 แสนคน ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น 7.3 หมื่นคน มัธยมศึกษาตอนปลาย 4.9 หมื่นคน ระดับประถมศึกษา 3.9 หมื่นคน และไม่มีการศึกษาและต่ำกว่าประถมศึกษา 1.2 หมื่นคน
                                                3.3 ผู้ว่างงานส่วนใหญ่อยู่ในภาคกลาง 8.5 หมื่นคน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 7.9 หมื่นคน ภาคใต้และภาคเหนือ มีผู้ว่างงานเท่ากันคือ 6.3 หมื่นคน และกรุงเทพมหานคร 2.7 หมื่นคน หากคิดเป็นอัตราการว่างงาน ภาคใต้มีอัตราการว่างงานสูงสุดร้อยละ 1.2 ภาคกลางและภาคเหนือมีอัตราการว่างงานเท่ากันคือ ร้อยละ 0.9 กรุงเทพมหานครร้อยละ 0.7 และภาคตะวันออกเฉียงเหนือร้อยละ 0.6

7. เรื่อง การลงนามในร่างพิธีสารสรุปความตกลงเปิดตลาดทวิภาคีระหว่างประเทศไทยและเซเชลส์ภายใต้กระบวนการภาคยานุวัติเป็นสมาชิกองค์การการค้าโลกของเซเชลส์
                                คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงพาณิชย์ (พณ.) เสนอ ดังนี้
                                1.  เห็นชอบในสารัตถะของร่างพิธีสารสรุปความตกลงเปิดตลาดทวิภาคีระหว่างประเทศไทยและเซเชลส์ (Seychalles) ภายใต้กระบวนการภาคยานุวัติเป็นสมาชิกองค์การการค้าโลก (World Trade Organization : WTO) ของเซเชลส์
                                2. มอบหมายให้เอกอัครราชทูตผู้แทนถาวรไทยประจำ WTO หรือผู้แทนเป็นผู้ลงนามในร่างพิธี           สารฯ 
                                3. มอบหมายให้กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) จัดทำหนังสือมอบอำนาจเต็ม (Full Powers) ให้แก่เอกอัครราชทูตผู้แทนถาวรไทยประจำ WTO หรือผู้แทนเป็นผู้ลงนามในร่างพิธีสารฯ

8. เรื่อง การให้ความช่วยเหลือนักศึกษาในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ทางการเมืองในสาธารณรัฐอาหรับอียิปต์
                                คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการให้ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) ดำเนินการช่วยเหลือนักศึกษาไทย จำนวน 1,200 คน ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้กลับไปศึกษาต่อประเทศอียิปต์ โดยมีค่าใช้จ่ายในกรอบวงเงิน 46,448,700 บาท โดยให้เบิกจ่ายจากงบประมาณรายจ่าย ตามความเห็นสำนักงบประมาณ ดังนี้
                                1. ให้ ศอ.บต. ปรับแผนการใช้จ่ายงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2556 แผนงานแก้ไขปัญหาและพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ งบรายจ่ายอื่น รายการโครงการขับเคลื่อนแผนปฏิบัติการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ จำนวน 5,000,000 บาท ซึ่งกระทรวงการคลังได้อนุมัติให้กันเงินไว้เบิกเหลื่อมปีแล้ว
                                2. งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2556 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น จำนวน 41,448,700 บาท ซึ่งกระทรวงการคลังได้อนุมัติให้กันเงินไว้เบิกเหลื่อมปีแล้ว

9. เรื่อง การปรับปรุงค่าตอบแทนข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ปี 2556 และปี 2557  
                                คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามมติคณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี คณะที่ 2 (ฝ่ายสังคมและกฎหมาย) ในคราวประชุมครั้งที่ 9/2556 เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 10 ตุลาคม 2556 ตามที่รองนายกรัฐมนตรี (นายพงศ์เทพ เทพกาญจนา) ประธานกรรมการเสนอ ที่มีมติเห็นชอบข้อเสนอการปรับปรุงค่าตอบแทนข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ปี 2556 และปี 2557 ตามที่กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.)เสนอ ดังนี้  
                                1. เห็นชอบหลักเกณฑ์และวิธีการกำหนดอัตราเงินเดือนสำหรับคุณวุฒิที่คณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.) รับรองเพื่อบรรจุและแต่งตั้งเป็นข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
                                2. เห็นชอบการกำหนดอัตราเงินเดือนสำหรับคุณวุฒิที่ ก.ค.ศ. รับรองเพื่อบรรจุและแต่งตั้งเป็นข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา โดยให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2556 และตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2557 มีหลักการ คือ กำหนดอัตราเงินเดือนแรกบรรจุให้ใกล้เคียงกับข้าราชการพลเรือนสามัญ และยึดโยงตามบัญชีเงินเดือนชั่วคราวของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาที่มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ
                                3. เห็นชอบหลักเกณฑ์และวิธีการกำหนดอัตราเงินเดือนและจำนวนเงินที่ได้ปรับตามคุณวุฒิที่ ก.ค.ศ. รับรอง
                                4. เห็นชอบการกำหนดอัตราเงินเดือนและจำนวนเงินที่ได้ปรับตามคุณวุฒิที่ ก.ค.ศ. รับรอง (การปรับเงินเดือนชดเชยผู้ได้รับผลกระทบจากการปรับอัตราเงินเดือนแรกบรรจุใหม่) โดยให้มีผลใช้บังคับในวันที่ 1 มกราคม 2556 และในวันที่ 1 มกราคม 2557
                                5. อนุมัติให้ใช้จ่ายงบประมาณสำหรับการปรับอัตราเงินเดือนสำหรับคุณวุฒิที่ ก.ค.ศ. รับรองเพื่อบรรจุและแต่งตั้งเป็นข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา และการปรับเงินเดือนชดเชยผู้ได้รับผลกระทบจากการปรับอัตราเงินเดือนแรกบรรจุใหม่ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2556 ถึงวันที่ 30 กันยายน 2557 จำนวนเงินที่ใช้ปรับเพิ่ม 2,526,782,130 บาท โดยให้ใช้เงินเหลือจ่ายของแต่ละส่วนราชการก่อน หากไม่พอให้ใช้จ่ายจากงบกลาง รายการเงินเลื่อนเงินเดือนและเงินปรับวุฒิข้าราชการ งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2556 และประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2557
                                โดยในส่วนงบประมาณสำหรับดำเนินการให้เป็นไปตามความเห็นของสำนักงบประมาณ  
                                สาระสำคัญของเรื่อง
                                ศธ. รายงานว่า     
                                1. โดยที่มติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 10 เมษายน 2555 เห็นชอบการปรับเงินเดือนแรกบรรจุตามคุณวุฒิการศึกษาและการปรับเงินเดือนชดเชยให้ข้าราชการและเจ้าหน้าที่ของรัฐ (ข้าราชการพลเรือนสามัญ) ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2556 และวันที่ 1 มกราคม 2557 ดังนั้น เพื่อให้บรรลุเป้าหมายตามนโยบายรัฐบาลที่กำหนดให้ผู้ที่จบการศึกษาระดับปริญญาตรีมีรายได้เดือนละไม่น้อยกว่า 15,000 บาท ก.ค.ศ. จึงกำหนดอัตราเงินเดือนและค่าตอบแทนที่ควรได้รับให้สอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาล โดยอาศัยอำนาจตามมาตรา 19 (15)  แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2547 และได้นำเรื่องการปรับปรุงดังกล่าวเสนอ ก.ค.ศ. แล้ว เมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม 2556 ซึ่งที่ประชุมมีมติเห็นชอบตามข้อเสนอดังกล่าว โดยมีรายละเอียดสรุปได้ ดังนี้
                                                1.1 หลักเกณฑ์และวิธีการกำหนดอัตราเงินเดือนสำหรับคุณวุฒิที่ ก.ค.ศ. รับรองเพื่อบรรจุและแต่งตั้งเป็นข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา มีดังนี้
                                                                1.1.1 กำหนดอัตราเงินเดือนตามคุณวุฒิที่ ก.ค.ศ. รับรองเพื่อบรรจุและแต่งตั้งผู้เข้ารับราชการเป็นข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2556 จนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2556 ให้ได้รับเงินเดือนตามคุณวุฒิ ตามบัญชีอัตราเงินเดือนสำหรับคุณวุฒิที่ ก.ค.ศ. รับรอง เพื่อบรรจุและแต่งตั้งเป็นข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ตามข้อ 1.2) ในช่องอัตราเงินเดือนใหม่ (1) และตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2557 เป็นต้นไป ให้ได้รับเงินเดือนตามคุณวุฒิ ตามบัญชีอัตราเงินเดือนสำหรับคุณวุฒิที่ ก.ค.ศ. รับรองเพื่อบรรจุและแต่งตั้งเป็นข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ตามข้อ 1.2) ในช่องอัตราเงินเดือนใหม่ (2)
                                                                1.1.2 การกำหนดอัตราเงินเดือนสำหรับผู้ได้รับการบรรจุและแต่งตั้งเป็นข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งบุคลากรทางการศึกษาอื่นตามมาตรา 38 ค. (2) ให้ดำเนินการตามหนังสือสำนักงาน ก.ค.ศ. ที่ ศธ 0206.5/ว 4 ลงวันที่ 15 มีนาคม 2556
                                                                1.1.3 การกำหนดอัตราเงินเดือนสำหรับผู้ได้รับการบรรจุและแต่งตั้งเป็นข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งบุคลากรทางการศึกษาอื่น ตามมาตรา 38 ค. (2) ให้ดำเนินการตามหนังสือสำนักงาน ก.ค.ศ. ที่ ศธ 0206.5 /ว 4 ลงวันที่ 15 มีนาคม 2556
                                                                1.1.4 ในกรณีที่ต่างไปจากหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดไว้นี้ให้เสนอ ก.ค.ศ. พิจารณา
                                               1.2 การกำหนดอัตราเงินเดือนสำหรับคุณวุฒิที่ ก.ค.ศ. รับรองเพื่อบรรจุและแต่งตั้งเป็นข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา โดยให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2556 และตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2557 (มีหลักการ คือ กำหนดอัตราเงินเดือนแรกบรรจุให้ใกล้เคียงกับข้าราชการพลเรือนสามัญ และยึดโยงตามบัญชีเงินเดือนชั่วคราวของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาที่มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ) มีดังนี้
ลำดับที่
คุณวุฒิ
อันดับ
อัตราเงินเดือน (บาทต่อเดือน)
เดิมตั้งแต่วันที่
1 มกราคม 2555
ใหม่
ใช้บังคับตั้งแต่วันที่
1 มกราคม 2556
(1)
1 มกราคม 2557
(2)
1.
ปริญญาตรี หลักสูตร 4 ปี
ครูผู้ช่วย
11,920*
11,680**
13,470*
13,300*
15,050*
15,000**
2.
ปริญญาตรี หลักสูตร 5 ปี
ครูผู้ช่วย
12,530*
12,480**
14,300*
14,100**
15,800*
15,800**
3.
ประกาศนียบัตรบัณฑิตที่มีหลักสูตรการศึกษาไม่น้อยกว่า 1 ปี ต่อจากวุฒิปริญญาตรีหลักสูตร 4 ปี
ครูผู้ช่วย
12,530*
12,480**
14,300*
14,100**
15,800*
15,800**
4.
ปริญญาตรี หลักสูตร 6 ปี
ครูผู้ช่วย
15,430*
15,300**
16,570*
16,400**
17,690*
17,500**
5.
ปริญญาโททั่วไป
ครูผู้ช่วย
15,430*
15,300**
16,570*
16,400**
17,690*
17,500**
6.
ปริญญาโทที่มีหลัก สูตรกำหนด เวลาศึกษาไม่น้อยกว่า 2 ปี ต่อจากวุฒิปริญญาตรีที่มีหลักสูตรกำหนด เวลาศึกษาไม่น้อยกว่า 5 ปี
ครูผู้ช่วย
16,570*
16,310**
17,690*
17,410**
18,690*
18,510**
7.
ปริญญาเอก
ครูผู้ช่วย
19,100*
19,000**
20,320*
20,000**
21,150*
21,000**

หมายเหตุ * หมายถึง อัตราเงินเดือนสำหรับคุณวุฒิที่ ก.ค.ศ. รับรอง
                  ** หมายถึง อัตราเงินเดือนสำหรับคุณวุฒิที่ ก.พ. รับรอง
                                               1.3 หลักเกณฑ์และวิธีการกำหนดอัตราเงินเดือนและจำนวนเงินที่ได้ปรับตามคุณวุฒิที่ ก.ค.ศ. รับรอง มีสาระสำคัญสรุปได้ดังนี้
                                                                1.3.1 กำหนดให้ผู้ที่ได้รับการบรรจุและแต่งตั้งเป็นข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาก่อนวันที่ 1 มกราคม 2556 ได้รับเงินปรับเพิ่มตามคุณวุฒิสำหรับข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตามอัตราเงินเดือนและจำนวนเงินที่ได้ปรับ ในวันที่ 1 มกราคม 2556 ดังนี้
                                                                                1) ให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาที่รับเงินเดือนในช่อง (1) ได้รับการปรับเงินเดือนเพิ่มขึ้นตามอัตราที่กำหนดไว้ในช่อง (2) ทั้งนี้ เงินเดือนหลังปรับแล้วจะต้องเป็นไปตามที่กำหนดไว้ในช่อง (3)
                                                                                                ให้ปรับเงินเดือนตามวรรคแรกหลังการให้มี หรือเลื่อน เปลี่ยนตำแหน่ง ย้าย หรือโอนที่มีผลในวันที่ 1 มกราคม 2556
                                                                                2) ในกรณีที่ผู้มีอำนาจสั่งบรรจุและแต่งตั้งได้มีคำสั่งให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาผู้ใด ได้รับเงินเดือนตามคุณวุฒิที่ได้รับเพิ่มขึ้น หรือสูงขึ้นก่อนวันที่ 1 มกราคม 2556 ให้ผู้นั้นได้รับเงินเดือนเพิ่มขึ้นตามคุณวุฒิที่เพิ่มขึ้นหรือสูงขึ้นตามข้อ 1) ด้วย
                                                                                3) ให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาผู้มีคุณวุฒิที่ ก.ค.ศ. รับรอง เพิ่มขึ้นหรือสูงขึ้น ก่อนวันที่ 1 มกราคม 2556 และเป็นผู้มีสิทธิได้รับการเพิ่มวุฒิ  แต่ผู้มีอำนาจสั่งบรรจุและแต่งตั้งไม่สามารถสั่งให้ได้รับเงินเดือนตามคุณวุฒิที่ได้รับเพิ่มขึ้นหรือสูงขึ้น  เนื่องจากเงินเดือนเท่ากับหรือสูงกว่าเงินเดือนแรกบรรจุของคุณวุฒิที่ได้รับเพิ่มขึ้นหรือสูงขึ้นนั้น ให้ผู้นั้นได้รับเงินเดือนเพิ่มขึ้นตามคุณวุฒิที่ได้รับเพิ่มขึ้นหรือสูงขึ้น ตามข้อ 1)
                                                    1.3.2 กำหนดให้ผู้ที่ได้รับการบรรจุหรือแต่งตั้งเป็นข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาก่อนวันที่ 1 มกราคม 2557 ได้รับเงินปรับเพิ่มตามคุณวุฒิสำหรับข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตามอัตราเงินเดือนและจำนวนเงินที่ได้ปรับ ในวันที่ 1 มกราคม 2557 ดังนี้
                                                1) ให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาที่รับเงินเดือนในช่อง (1) ได้รับการปรับเงินเดือนเพิ่มขึ้นตามอัตราที่กำหนดไว้ในช่อง (2) ทั้งนี้ เงินเดือนหลังปรับแล้วจะต้องเป็นไปตามที่กำหนดไว้ในช่อง (3)
                                                            ให้ปรับเงินเดือนตามวรรคแรกหลังการให้มีหรือ เลื่อนวิทยฐานะ เปลี่ยนตำแหน่ง ย้าย หรือโอน ที่มีผลในวันที่ 1 มกราคาม 2557
                                                2) ในกรณีที่ผู้มีอำนาจสั่งบรรจุและแต่งตั้งได้มีคำสั่ง ให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาผู้ใด ได้รับเงินเดือนตามคุณวุฒิที่ได้รับเพิ่มขึ้นหรือสูงขึ้นก่อนวันที่ 1 มกราคม 2557 ให้ผู้นั้นได้รับเงินเดือนเพิ่มขึ้นตามคุณวุฒิที่เพิ่มขึ้นหรือสูงขึ้นตามข้อ 1) ด้วย
                                                3) ให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาผู้มีคุณวุฒิที่ ก.ค.ศ. รับรองเพิ่มขึ้นหรือสูงขึ้น ก่อนวันที่ 1 มกราคม 2557 และเป็นผู้มีสิทธิได้รับการเพิ่มวุฒิ  แต่ผู้มีอำนาจสั่งบรรจุและแต่งตั้งไม่สามารถสั่งให้ได้รับเงินเดือนตามคุณวุฒิที่ได้รับเพิ่มขึ้นหรือสูงขึ้น เนื่องจากเงินเดือนเท่ากับหรือสูงกว่าเงินเดือนแรกบรรจุของคุณวุฒิที่ได้รับเพิ่มขึ้นหรือสูงขึ้นนั้น ให้ผู้นั้นได้รับเงินเดือนเพิ่มขึ้นตามคุณวุฒิที่ได้รับเพิ่มขึ้นหรือสูงขึ้น ตามข้อ 1)
                                                    1.3.3 กรณีข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาซึ่งดำรงตำแหน่งอยู่ก่อนวันที่ 24 ธันวาคม 2547 และ ก.ค.ศ. ได้กำหนดให้ดำรงตำแหน่งครูตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2547 โดยเป็นผู้ไม่มีคุณวุฒิระดับปริญญาที่กำหนดในมาตรฐานกำหนดตำแหน่งสำหรับครูให้ได้รับการปรับเพิ่มเงินเดือนตามคุณวุฒิปริญญาตรี  หลักสูตร 4 ปี ในวันที่ 1 มกราคม 2556 และในวันที่ 1 มกราคม 2557 ให้ดำเนินการตามข้อ 1.3.1 และข้อ 1.3.2
                                                สำหรับในวันที่ 1 มกราคม 2555 ให้ดำเนินการตามหลักเกณฑ์และวิธีการกำหนดอัตราเงินเดือนสำหรับคุณวุฒิที่ ก.ค.ศ. รับรองฯ ตามหนังสือสำนักงาน ก.ค.ศ. ด่วนมากที่ ศธ 0206.7/ว 30 ลงวันที่ 4 ธันวาคม 2555 ข้อ 3.1.3.2
                                                    1.3.4 การกำหนดอัตราเงินเดือนสำหรับผู้ได้รับการบรรจุและแต่งตั้งเป็นข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา  ตำแหน่งบุคลากรทางการศึกษาอื่นตามมาตรา 38 ค.(2) ให้ดำเนินการตามหนังสือสำนักงาน ก.ค.ศ. ที่ ศธ 0206.5/ว 4 ลงวันที่ 15 มีนาคม 2556
                                                    1.3.5 ในกรณีที่ต่างไปจากหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดไว้นี้ให้เสนอ ก.ค.ศ. พิจารณา
                                        1.4 การกำหนดอัตราเงินเดือนและจำนวนเงินที่ได้รับตามคุณวุฒิที่ ก.ค.ศ. รับรอง (โดยเปรียบเทียบกับอัตราเงินเดือนและจำนวนเงินที่ได้ปรับตามคุณวุฒิที่ ก.พ. รับรอง) ใช้บังคับในวันที่ 1 มกราคม 2556 และวันที่ 1 มกราคม 2557
                                        1.5 ในส่วนงบประมาณสำหรับการปรับอัตราเงินเดือนสำหรับคุณวุฒิ ที่ ก.ค.ศ. รับรองเพื่อบรรจุและแต่งตั้งเป็นข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาและการปรับเงินเดือนชดเชยผู้ได้รับผลกระทบจากการปรับอัตราเงินเดือนแรกบรรจุใหม่ ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2556 ถึงวันที่ 30 กันยายน 2557 จำนวนเงินที่ใช้ปรับเพิ่มรวมทั้งสิ้น 2,526,782,130 บาท

10. เรื่อง  แนวทางการปรับปรุงแผนยุทธศาสตร์กระทรวง และแผนพัฒนาจังหวัดและกลุ่มจังหวัด
                                คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบตามที่สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.)  เสนอ ดังนี้
1.             รับทราบผลการประชุมเรื่อง แนวทางการปรับปรุงแผนยุทธศาสตร์กระทรวง  และแผนพัฒนา
จังหวัดและกลุ่มจังหวัด
2.             มอบหมาย สศช. สำนักงบประมาณ (สงป.)   สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ
(กพร.)   และกระทรวงมหาดไทย (มท.) ดำเนินการประสานจังหวัดในการปรับปรุงยุทธศาสตร์จังหวัดและกลุ่มจังหวัด และจัดทำแผนปฏิบัติการประจำปี 2558
3.             มอบหมายให้ สศช. สงป. และ กพร. ประสานส่วนราชการดำเนินการปรับปรุงแผนและ
ยุทธศาสตร์ระดับกระทรวงให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ประเทศในระยะยาว  และจัดทำแผนปฏิบัติการประจำปี 2558  ให้สอดคล้องและสนับสนุนการแก้ไขปัญหาของจังหวัดตามแผนพัฒนาจังหวัดและกลุ่มจังหวัด
                                สาระสำคัญของเรื่อง
                                สศช. สงป.  กพร. และ มท.  ได้ร่วมกับจังหวัด ดำเนินการปรับปรุงแผนแผนพัฒนาจังหวัดและกลุ่มจังหวัด  ระยะ 4 ปี  เพื่อนำไปสู่การจัดทำแผนปฏิบัติการจังหวัด ประจำปี 2558 สำหรับประกอบการจัดทำคำของบประมาณประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2558 และคำรับรองการปฏิบัติงานของจังหวัด ซึ่งมีความคืบหน้าในการดำเนินงาน ดังนี้
1.             เมื่อวันที่ 28 ตุลาคม 2556 มท. และ สศช. ได้นำเสนอภาพรวมผลการทบทวน
แผนพัฒนาจังหวัดและกลุ่มจังหวัด  4 ปี  (พ.ศ. 2558-2561)  ต่อที่ประชุมผู้ว่าราชการจังหวัดทั่วประเทศ โดยมีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน  ณ ตึกสันติไมตรี ทำเนียบรัฐบาล  ที่ประชุมได้รับทราบผลการประเมิน  และภาพรวมการปรับปรุงแผนพัฒนาจังหวัดและกลุ่มจังหวัด  และนายกรัฐมนตรีได้มีข้อสั่งการ ดังนี้ 
1.1      มอบหมายให้จังหวัดและหน่วยงานไปทบทวนและปรับแผนยุทธศาสตร์กระทรวงและ
แผนพัฒนาจังหวัดและกลุ่มจังหวัด โดยนำตัวชี้วัดของจังหวัดและกลุ่มจังหวัดที่สำคัญมาใช้ในการทบทวนยุทธศาสตร์จังหวัดและกลุ่มจังหวัด ให้มีความชัดเจนและสอดคล้องกับศักยภาพของพื้นที่ และให้มีความครอบคลุมทุกมิติทั้งด้านความสามารถในการแข่งขัน  ด้านการลดความเหลื่อมล้ำ  ด้านการสร้างการเติบโตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม  และด้านการเพิ่มประสิทธิภาพภาครัฐ  รวมทั้ง จัดลำดับความสำคัญของแผนงาน / โครงการเพื่อประกอบการจัดทำคำของบประมาณประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2558
                                                1.2 มอบหมายให้จังหวัดศึกษาวิเคราะห์และกำหนดเป้าหมายรวม เป้าหมายระดับ ยุทธศาสตร์ของแผนยุทธศาสตร์จังหวัดและกลุ่มจังหวัด โดยจะต้องตอบโจทย์ของประเทศ ได้แก่ (1) กรอบยุทธศาสตร์ประเทศ (2) กรอบยุทธศาสตร์การเตรียมความพร้อมเข้าสู่ประชาคมอาเซียน (3) โครงการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่ง วงเงิน 2 ล้านล้านบาท (4) แผนการบริหารจัดการน้ำ วงเงิน 350,000 ล้านบาท และ (5) การจัดทำโซนนิ่งภาคเกษตรและผังเมือง รวมทั้งกำหนดเป้าหมายรวม 4 ปี และจำแนกค่าเป้าหมายรายปีให้ชัดเจน ทั้งนี้ แผนงาน/โครงการต้องมีความเชื่อมโยงตั้งแต่ต้นน้ำ – กลางน้ำ - ปลายน้ำ โดยพิจารณาทั้งด้านการเพิ่มรายได้ และการลดต้นทุน รวมถึงการใช้ประโยชน์จากโครงการลงทุนของรัฐบาลและผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากกรอบยุทธศาสตร์ต่าง ๆ
                                2. เมื่อวันที่ 30 ตุลาคม 2556 นายกรัฐมนตรีได้มีการประชุมหารือร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ กระทรวงคมนาคม กระทรวงมหาดไทย สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ  สำนักงานประมาณ สศช. และเลขาธิการนายกรัฐมนตรี เพื่อพิจารณาแนวทางการปรับปรุงแผนพัฒนาจังหวัดและกลุ่มจังหวัด โดยมีผลการประชุมสรุปได้ ดังนี้
                                                2.1 มอบหมายสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) และ สศช. จัดทำแผนที่จังหวัด ที่ประกอบด้วยชั้นข้อมูล (Layer) ต่าง ๆ ที่แสดงให้เห็นถึงตัวชี้วัดที่สำคัญตามกรอบยุทธศาสตร์ประเทศ เพื่อแสดงให้เห็นถึงข้อมูลข้อเท็จจริงที่สำคัญ ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการวางแผนรวมถึงการปรับแผนยุทธศาสตร์กระทรวง และแผนพัฒนาจังหวัดและกลุ่มจังหวัด ประกอบด้วย
                                                                (1) การสร้างความสามารถในการแข่งขัน เช่น ข้อมูลโครงสร้างพื้นฐาน (เส้นทางคมนาคมขนส่ง โครงการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่ง 2 ล้านล้านบาท ด่านการค้าชายแดน แหล่งน้ำ เขื่อน/อ่างเก็บน้ำ) พื้นที่โซนนิ่งภาคเกษตร จุดท่องเที่ยว จำนวนประชากร และพื้นที่โครงการเมืองใหม่ เป็นต้น
                                                                (2) การสร้างโอกาสความเสมอภาคและเท่าเทียมกันทางสังคม เช่น การศึกษา สาธารณสุข ปัญหาอาชญากรรม ยาเสพติด เป็นต้น
                                                                (3) การสร้างการเติบโตบนคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เช่น พื้นที่การตัดไม้ทำลายป่า ปัญหาขยะ สิ่งแวดล้อม มลพิษ หมอกควัน เป็นต้น
                                                                (4) การปรับสมดุลและพัฒนาระบบการบริหารจัดการภาครัฐ
                                                2.2 มอบหมาย สศช. พิจารณาปรับปรุงยุทธศาสตร์ประเทศให้มีความชัดเจน เพื่อเป็นกรอบแนวทางให้หน่วยงานและจังหวัดนำไปปรับปรุงแผนยุทธศาสตร์กระทรวง และแผนพัฒนาจังหวัดและกลุ่มจังหวัด
                                                2.3 มอบหมายให้ สศช. สงป. กพร. และมท. ร่วมกันประสานกระทรวงและจังหวัด ในการจัดทำและปรับปรุงแผนยุทธศาสตร์กระทรวง และแผนพัฒนาจังหวัดและกลุ่มจังหวัด ให้มีความสอดคล้องกับกรอบยุทธศาสตร์ประเทศที่ได้มีการปรับปรุงใหม่แล้ว รวมทั้งสอดคล้องกับค่าตัวชี้วัดเป้าหมายในการพัฒนาประเทศ ซึ่งประกอบด้วยข้อมูลที่สำคัญ ดังนี้
                                                                (1)  ข้อมูลทั่วไป เช่น ตัวชี้วัด ปัญหาและโอกาส ปัจจัยที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลง เช่น ประชาคมอาเซียน โครงสร้างพื้นฐาน การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ โครงสร้างประชากร เป็นต้น
                                                                (2) ข้อมูลเฉพาะ  ได้แก่ สัดส่วนของแหล่งรายได้ทางเศรษฐกิจ  (ทั้งของเดิมและของใหม่) สัดส่วนต้นทุนค่าใช้จ่ายทางเศรษฐกิจ อัตราส่วนของผลิตภาพแรงงาน เป็นต้น
                                                                (3) เป้าหมายและแนวทางการแก้ไข  เกี่ยวข้องกับการแก้ไขปัญหา การกำหนดเป้าหมายหรือทิศทางการพัฒนา โอกาสและความท้าทายที่ต้องเตรียมตัว  และการแก้ไขปัญหาการจัดการในภาครัฐหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง
                                                                (4) ความสอดคล้องกับกรอบแผนงาน เช่น แผนงานตามยุทธศาสตร์ประเทศแผนงานเฉพาะของจังหวัด และแผนงานของกระทรวง
                                                                (5) แผนปฏิบัติการในแต่ละปีที่ชัดเจน
                                                                (6) ประโยชน์และผลที่คาดว่าจะได้รับการพัฒนา
                                                                (7) แผนกำลังคนและแผนงบประมาณ
                                                2.4 มอบหมายให้ สศช. สงป.  กพร. และ มท.  ประสานหน่วยงานและจังหวัดในการจัดทำแผนงาน / โครงการปีงบประมาณ 2558 เพื่อให้การดำเนินงานของหน่วยงานสามารถสนับสนุนการพัฒนาของจังหวัดได้อย่างมีประสิทธิภาพ และสอดคล้องกับตัวชี้วัดและเป้าหมายของจังหวัด 
                                                2.5 มอบหมายให้ สศช. จัดทำแบบฟอร์มประกอบการจัดทำแผนยุทธศาสตร์กระทรวงและแผนพัฒนาจังหวัดและกลุ่มจังหวัด  ให้แก่หน่วยงานและจังหวัดสำหรับดำเนินการตาม­ข้อ 2.1-2.4
                                3. ปฏิทินการทำงาน
                                                3.1 วันที่ 29 ตุลาคม – 15 พฤศจิกายน 2556 จังหวัดและกลุ่มจังหวัดพิจารณาและปรับปรุงแผนฯ 4 ปี  ตามความเห็นของนายกรัฐมนตรี และจัดทำแผนปฏิบัติการประจำปี 2558 
                                                3.2 วันที่ 15 พฤศจิกายน 2556 จังหวัดและกลุ่มจังหวัดส่งแผนที่ปรับปรุงให้ฝ่ายเลขานุการ กนจ.
                                                3.3 วันที่ 22 พฤศจิกายน 2556 สศช. จัดประชุมร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อพิจารณาเป้าหมายและแผนฯ ของจังหวัด เพื่อให้กระทรวงกำหนดแผนดำเนินงานร่วมกับจังหวัดเป้าหมาย
                                                3.4 วันที่ 4 ธันวาคม 2556 อ.น.ก.จ. พิจารณาแผนฯ  4 ปี และแผนปฏิบัติการประจำปี 2558
                                                3.5 วันที่ 12 ธันวาคม 2556 เสนอ กนจ.  พิจารณาแผนฯ  4 ปี และแผนปฏิบัติการประจำปี 2558
                                                3.6 วันที่ 17 ธันวาคม 2556 เสนอ  ครม.  พิจารณาให้ความเห็นชอบแผนฯ 47 ปี  เพื่อนำไปจัดทำแผนปฏิบัติการประจำปี 2558 ต่อไป

11. เรื่อง  ผลการประชุมร่วมภาครัฐและเอกชนเพื่อแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจในภูมิภาค ครั้งที่ 5/2556
                                คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบและเห็นชอบตามที่สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เสนอ ดังนี้
1. รับทราบผลการประชุมร่วมภาครัฐและเอกชนเพื่อแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจ
ในภูมิภาค ครั้งที่ 5/2556 เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 31 ตุลาคม 2556 ณ จังหวัดลพบุรี
2. เห็นชอบตามมติที่ประชุมร่วมภาครัฐและเอกชนเพื่อแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจ
ในภูมิภาค
ครั้งที่ 5/2556 ณ จังหวัดลพบุรี และมอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับไปดำเนินการตามมติ
ที่ประชุมตามข้อ
2 รวมทั้งรายงานผลการดำเนินงานให้สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติต่อไป
                ตามที่นายกรัฐมนตรีได้เป็นประธานการประชุมร่วมภาครัฐและเอกชนเพื่อแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจในภูมิภาค ครั้งที่ 5/2556 เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 31 ตุลาคม 2556 เวลา 15.30 น. ณ ห้องประชุมชั้น 3 อาคาร 90 ปี มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี อำเภอเมือง จังหวัดลพบุรี โดยมีผู้เข้าร่วมการประชุม ประกอบด้วย รองนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรี ผู้บริหารหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง และสถาบันภาคเอกชน ได้แก่ คณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน (กกร.) (สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และสมาคมธนาคารไทย) สภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (สทท.) สภาธุรกิจตลาดทุนไทย และผู้แทนภาคเอกชนในพื้นที่กลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนบน 2 ประกอบด้วย จังหวัดลพบุรี อ่างทอง สิงห์บุรี และชัยนาท นั้น
                สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ขอเสนอผลการประชุมต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรีอย่างเป็นทางการนอกสถานที่ ณ จังหวัดลพบุรี ดังนี้
                สาระสำคัญของเรื่อง
ผลการประชุมร่วมภาครัฐและเอกชนเพื่อแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจในภูมิภาค ครั้งที่ 5/2556 ซึ่งได้มีการพิจารณาข้อเสนอของคณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน (กกร.) สภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย และสภาธุรกิจตลาดทุนไทย รวม 5 เรื่อง 23 ประเด็น สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้
1. การส่งเสริมการค้าและการลงทุน (เสนอโดย กกร.)
1.1 ข้อเสนอ
1)        ขอให้สนับสนุนโครงการส่งเสริมการผลิตสินค้าเกษตรและยกระดับการผลิตอาหารปลอดภัย (Food Safety) ประกอบด้วย (1) การยกระดับการผลิตอาหารปลอดภัย (Food Safety) 4 ด้าน คือ การพัฒนาด้านห่วงโซ่อุปทาน การพัฒนาด้านสิ่งอำนวยความสะดวก การพัฒนาด้านขับเคลื่อนอุปสงค์ และการสร้างความยั่งยืน และ (2) การส่งเสริมการผลิตสินค้าเกษตรเพื่อความมั่นคงด้านอาหารและเป็นฐานวัตถุดิบแก่ภาคอุตสาหกรรมอาหารเพื่อให้กลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนบน 2 (ลพบุรี สิงห์บุรี ชัยนาท อ่างทอง) นำไปจัดทำโครงการส่งเสริมการผลิตพืชหลัก วิจัยพันธุ์พืชที่ให้ผลผลิตสูงและพัฒนาปรับปรุงคุณภาพดิน และจัดตั้งโรงเรียนเกษตรเพื่ออาชีพเกษตรกร
2)        ขอให้สนับสนุนจัดตั้งโครงการต้นแบบในการแปรรูปและ
ใช้ประโยชน์จากเถ้าแกลบให้เป็นสารปรับปรุงดิน และมีแร่ธาตุที่เป็นสารอาหารให้กับพืช โดยเฉพาะการปลูกข้าว
เพื่อสนับสนุนโครงการปลูกข้าวในเชิงอุตสาหกรรม โดยพื้นที่ตั้งโครงการจะอยู่ใกล้โรงไฟฟ้าชีวมวลที่ใช้แกลบเป็นเชื้อเพลิงที่ตำบลมะขามเฒ่า อำเภอวัดสิงห์ จังหวัดชัยนาท
3)        ขอให้กระทรวงมหาดไทยศึกษาการบริหารจัดการขยะในชุมชนครบวงจรสอดรับกับยุทธศาสตร์ของประเทศ เรื่อง การบริหารจัดการของภาครัฐ โดยมีแนวทางดำเนินการ ดังนี้ (1) กำหนดรูปแบบโรงพักขยะมาตรฐาน สัดส่วน ขยายตามจำนวนประชากรในพื้นที่ มีระบบการแยกขยะรีไซเคิล ขยะอินทรีย์ มีโรงหมักก๊าซ ทำปุ๋ยอินทรีย์ และอัดขยะเชื้อเพลิง (Refuse Derived Fuel: RDF) (2) สร้างโรงพักขยะ 1 แห่ง ต่อ 1 อำเภอ เป็นต้นแบบ ก่อนขยายไประดับตำบล และ (3) โรงไฟฟ้าพลังงานขยะ ขนาด 5 - 10 เมกะวัตต์ จังหวัดละแห่ง โดยใช้ขยะเชื้อเพลิง RDF จากโรงพักขยะทั่วทั้งจังหวัด
4)        ขอให้สนับสนุนจังหวัดลพบุรีเป็นเขตส่งเสริมพิเศษการลงทุนด้านพลังงานทดแทน บริเวณเขตวังเพลิง - ม่วงค่อม ติดทางหลวงแผ่นดินที่ 21 เส้นทางไปจังหวัดเพชรบูรณ์ จำนวน 12 ตารางกิโลเมตร (7,500 ไร่) โดยให้ผู้ประกอบการได้รับสิทธิประโยชน์เหมือนกับ
สิทธิประโยชน์ของโครงการที่ตั้งอยู่ในเขตนิคมอุตสาหกรรมหรือเขตอุตสาหกรรมที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุน
1.2 มติที่ประชุม
1)        มอบหมายให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เป็นหน่วยงานหลัก ร่วมกับกระทรวงสาธารณสุข (สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กระทรวงอุตสาหกรรม และภาคเอกชนที่เกี่ยวข้อง หารือร่วมกันเพื่อปรับปรุงรายละเอียดของโครงการส่งเสริมการผลิตสินค้าเกษตรและยกระดับการผลิตอาหารปลอดภัยครบวงจรในพื้นที่ 4 จังหวัด ประกอบด้วย ลพบุรี ชัยนาท สิงห์บุรี และอ่างทอง ให้มีความชัดเจนโดยใช้ประโยชน์จากงานวิจัยที่มีอยู่ของหน่วยงานต่างๆ เช่น สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ เป็นต้น
2)        มอบหมายให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เป็นหน่วยงานหลักร่วมกับกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ และภาคเอกชนที่เกี่ยวข้องศึกษาความเป็นไปได้และความเหมาะสมในการจัดตั้งโครงการแปรรูปเถ้าแกลบ โดยพิจารณาใช้ประโยชน์จากงานวิจัยของหน่วยงานต่างๆ เป็นพื้นฐานในการดำเนินการด้วย
3)        มอบหมายให้กระทรวงมหาดไทย กระทรวงพลังงาน และกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเป็นเจ้าภาพร่วมในการดำเนินการขับเคลื่อนการบริหารจัดการขยะในชุมชน เพื่อให้เกิดการบริหารจัดการโครงการได้อย่างยั่งยืน โดยเชื่อมโยงกลไกดำเนินการที่มีอยู่ในพื้นที่ และสร้างกระบวนการให้ท้องถิ่นและชุมชนมีส่วนร่วมดำเนินโครงการให้เป็นโครงการนำร่องและขยายผลการดำเนินงานในพื้นที่ที่มีศักยภาพต่อไป
4)        มอบหมายให้กระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงการคลัง และกระทรวงพลังงานพิจารณาความเป็นไปได้ในการให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีแก่กิจการด้านการส่งเสริมพลังงานทดแทนเป็นกรณีพิเศษ โดยคำนึงถึงการใช้ประโยชน์พื้นที่ ความเหมาะสมของอุตสาหกรรม ผลกระทบต่อทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และสิทธิของประชาชนและชุมชนในการดำเนินโครงการ
2. การพัฒนาโครงข่ายคมนาคมและระบบโลจิสติกส์ (เสนอโดย กกร.)
2.1 ข้อเสนอ
1)        ขอให้เร่งรัดโครงการทางหลวง 4 ช่องจราจร ทางหลวงแนวใหม่สายทางหลวงหมายเลข 3195 บรรจบทางหลวงหมายเลข 32 (ทางเลี่ยงเมืองอ่างทอง) ระยะทาง
5
.1 กิโลเมตร
2)        ขอให้เร่งรัดโครงการขยายถนน 4 ช่องจราจร ทางเลี่ยงเมืองลพบุรี (ทางหลวงหมายเลข 366) ระยะทาง 19 กิโลเมตร
3)        ขอให้เร่งรัดโครงการก่อสร้างทางเลี่ยงเมืองลพบุรีด้านเหนือ
4 ช่องจราจร
ระยะทาง 13 กิโลเมตร
4)        ขอให้เร่งรัดโครงการเชื่อมโยงโครงข่ายระหว่างจังหวัด โดยการขยายช่องการจราจรเป็น 4 ช่องจราจร ตลอดเส้นทาง รวม 2 เส้นทาง ได้แก่ (1) ทางหลวงหมายเลข 309 ตอนสิงห์บุรี-อ่างทอง และทางหลวงหมายเลข 311 ตอนสิงห์บุรี-ชัยนาท (อ่างทอง-สิงห์บุรี-ชัยนาท)
รวมระยะทาง 38
.513 กิโลเมตร และ (2) ทางหลวงหมายเลข 3032 ตอนสิงห์บุรี-สุพรรณบุรี
5)        ขอให้เร่งรัดการปรับปรุงทางแยกต่างระดับชัยนาทที่ถนน
สายเอเชีย (ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 32
) (กม. 131+595)
6)        ขอให้สนับสนุนโครงการศึกษาทางหลวงแนวใหม่ 4 ช่องจราจร แยกทางหลวงหมายเลข 32 ทางเลี่ยงเมืองลพบุรี (366) ระยะทาง 25 กิโลเมตร เพื่อพัฒนาโครงข่าย
การคมนาคมและขนส่งระหว่างภูมิภาคและระบบขนส่งทางน้ำและระบบขนส่งทางรางในกลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนบน 2 ตามแผนการลงทุนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของประเทศ (2 ล้านล้านบาท)
7)        ขอให้สนับสนุนโครงการศึกษาสร้างเกาะกลางแบบยกตัว ถนนพหลโยธิน (ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1) ตรงสี่แยกเข้าชัยนาท-บ้านกล้วย กม. 280+578 (แยกหลวงพ่อโอ-ท่าน้ำอ้อย) ระยะทาง 24.984 กิโลเมตร เพื่อลดอุบัติเหตุและป้องกันการสูญเสียชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนที่อาศัยอยู่บริเวณใกล้เคียงและผู้ใช้เส้นทาง
2.2 มติที่ประชุม
1)        มอบหมายให้กระทรวงคมนาคมรับข้อเสนอของภาคเอกชนไปประกอบการพิจารณาจัดลำดับความสำคัญของการดำเนินโครงการ ดังนี้ (1) โครงการทางหลวง 4 ช่องจราจร
ทางหลวงแนวใหม่สายทางหลวงหมายเลข 3195 บรรจบทางหลวงหมายเลข 32
(ทางเลี่ยงเมืองอ่างทอง)
(2) โครงการขยายถนน 4 ช่องจราจร ทางเลี่ยงเมืองลพบุรี (ทางหลวงหมายเลข 366) ระยะทาง 19 กิโลเมตร (3) โครงการก่อสร้างทางเลี่ยงเมืองลพบุรีด้านเหนือ 4 ช่องจราจร ระยะทาง 13 กิโลเมตร (4) โครงการเชื่อมโยงโครงข่ายระหว่างจังหวัด โดยการขยายช่องการจราจรเป็น 4 ช่องจราจร ตลอดเส้นทาง รวม 2 เส้นทาง และ
(5) การปรับปรุงทางแยกต่างระดับชัยนาทที่ถนนสายเอเชีย (ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 32
) (กม. 131+595) ตามความจำเป็นเร่งด่วน เพื่อขอรับการจัดสรรงบประมาณประจำปีตามขั้นตอนปกติต่อไป
2)        มอบหมายให้กระทรวงคมนาคมดำเนินโครงการศึกษาทางหลวงแนวใหม่ 4 ช่องจราจร แยกทางหลวงหมายเลข 32 ทางเลี่ยงเมืองลพบุรี (366) ระยะทาง 25 กิโลเมตร
ในรายละเอียดเพิ่มเติม
3)        มอบหมายให้กระทรวงคมนาคมประสานสำนักงบประมาณ
เพื่อขอรับการจัดสรรงบประมาณในการดำเนินโครงการศึกษาสร้างเกาะกลางแบบยกตัว ถนนพหลโยธิน
(ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1
) ตรงสี่แยกเข้าชัยนาท-บ้านกล้วย กม. 280+578 (แยกหลวงพ่อโอ-ท่าน้ำอ้อย) ระยะทาง 24.984 กิโลเมตร
3. การส่งเสริมการท่องเที่ยว (เสนอโดย กกร.)
3.1 ข้อเสนอ
ขอให้สนับสนุนโครงการ ยกระดับศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงบ้านดอนแฝก เป็นศูนย์เรียนรู้วิถีชีวิตเศรษฐกิจพอเพียง และจำหน่ายสินค้าชุมชนตามลำน้ำแม่ลา-การ้อง จังหวัดสิงห์บุรี เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงเกษตรระดับชุมชน
3.2 มติที่ประชุม
มอบหมายให้สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติประสานกับกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงมหาดไทย และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับไปศึกษาในรายละเอียดของการดำเนินโครงการและขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากงบจังหวัดและกลุ่มจังหวัดแบบบูรณาการ ประจำปีงบประมาณ พ.. 2558 ตามขั้นตอนต่อไป ทั้งนี้
ให้มุ่งเน้นการส่งเสริมกิจกรรมการท่องเที่ยวเพื่อกระตุ้นการเดินทางของนักท่องเที่ยวควบคู่ไปด้วย และ
ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและชุมชนที่เกี่ยวข้องมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการโครงการ
4. รายงานการติดตามความคืบหน้าประเด็นข้อเสนอตามมติ กรอ.ภูมิภาค ครั้งที่
1
-7/2555 และครั้งที่ 1/2556 (เสนอโดย สศช.)
4.1 ข้อเสนอ
1)        สศช. รายงานที่ประชุมว่า สืบเนื่องจากมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 10 มิถุนายน 2556 ได้มอบหมายให้ สศช. ในฐานะฝ่ายเลขานุการ กรอ.ภูมิภาค รับไปประชุมหารือกับภาคเอกชน เพื่อเร่งรัดการดำเนินงานและจัดลำดับความสำคัญตามศักยภาพของประเด็นการพัฒนา และนำเสนอผลการดำเนินการต่อที่ประชุม กรอ.ภูมิภาค และคณะรัฐมนตรีพิจารณาตามขั้นตอน
2)        เมื่อวันที่ 13, 16, 27 สิงหาคม 2556 และวันที่ 11 ตุลาคม 2556 สศช. ได้จัดประชุมหารือร่วมกับภาคเอกชน ได้แก่ กกร. สภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สภาธุรกิจตลาดทุนไทย เพื่อติดตามและตรวจสอบความคืบหน้าการดำเนินการตามมติ กรอ.ภูมิภาค
ครั้งที่ 1
-7/2555 และ ครั้งที่ 1/2556 รวม 8 ครั้ง จำนวน 153 ประเด็น และได้กำหนดหลักเกณฑ์การแบ่งประเด็นข้อเสนอออกเป็น 2 กลุ่ม ดังนี้
(1)          กลุ่มที่ดำเนินการแล้วตามมติคณะรัฐมนตรี ได้แก่ ประเด็นข้อเสนอซึ่งหน่วยงานรับผิดชอบหลักและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับไปดำเนินการตามที่ที่ประชุม
กรอ.ภูมิภาค และคณะรัฐมนตรีได้มีมติให้รับไปดำเนินการและมีความคืบหน้ามาโดยลำดับ ซึ่งมีจำนวน
122 ประเด็น
(2)          กลุ่มที่อยู่ระหว่างดำเนินการ ได้แก่ ประเด็นข้อเสนอซึ่งหน่วยงานรับผิดชอบหลักและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับไปดำเนินการแล้ว แต่ยังมีความคืบหน้าในการดำเนินการล่าช้า ทั้งนี้ กลุ่มที่อยู่ระหว่างดำเนินการ จำแนกเป็น (1) กลุ่มที่มีความสำคัญยิ่งและต้องดำเนินการขับเคลื่อนอย่างเร่งด่วน (2) กลุ่มที่มีความสำคัญและต้องดำเนินการในเวลาที่เหมาะสม (3) กลุ่มที่มีความสำคัญน้อย
แต่ต้องดำเนินการในเวลาที่เหมาะสม และ (4) กลุ่มที่ต้องทบทวน/ปรับปรุงข้อเสนอ และดำเนินการให้สอดคล้องกับสถานการณ์ ซึ่งมีจำนวน 31 ประเด็น ทั้งนี้ ภาคเอกชนได้จัดกลุ่มเป็น 4 กลุ่มย่อยที่จะขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับไปพิจารณาเร่งรัดดำเนินการอย่างต่อเนื่อง ดังนี้
(2.1)       กลุ่มที่ 1     กลุ่มที่มีความสำคัญยิ่งและต้องดำเนินการขับเคลื่อนอย่างเร่งด่วน เช่น (1) การยกระดับจุดผ่อนปรน/เปิดจุดผ่านแดน (2) การสนับสนุนงบประมาณโครงการพัฒนาระบบบริการสุขภาพภาคเหนือตอนล่าง จังหวัดพิษณุโลก เพื่อเป็น Medical Excellence Centre/Medical Tourism และ (3) การทบทวนการขยายสิทธิให้นักลงทุนนอกภาคีอาเซียน (Non Party) ภายใต้ความตกลงการค้าเสรีบริการ เป็นต้น
(2.2)       กลุ่มที่ 2     กลุ่มที่มีความสำคัญและต้องดำเนินการในเวลาที่เหมาะสม เช่น (1) การจัดตั้งอุทยานวิทยาศาสตร์ภาคใต้อย่างเต็มรูปแบบในระยะที่ 2 ของโครงการ และ (2) โครงการยกระดับสนามบินอุบลราชธานี เพื่อรองรับการเป็นศูนย์กลางการบินใน
อินโดจีน และผลักดันให้มีเที่ยวบินและสายการบินต่างประเทศในอินโดจีนมาลงที่สนามบินอุบลราชธานี และบินไปยังเมืองสำคัญๆ ของกลุ่มอินโดจีนโดยตรง เป็นต้น
(2.3)       กลุ่มที่ 3     กลุ่มที่มีความสำคัญน้อย แต่ต้องดำเนินการในเวลาที่เหมาะสม (ไม่มี)
(2.4)       กลุ่มที่ 4     กลุ่มที่ต้องทบทวน/ปรับปรุงข้อเสนอ และรอดำเนินการให้สอดคล้องกับสถานการณ์ เช่น (1) โครงการจัดตั้งศูนย์การศึกษาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จังหวัดอุดรธานี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี (2) โครงการสร้างห้องแช่เยือกแข็งผลไม้เพื่อเป็นศูนย์กลางการกระจายสินค้าและส่งออกผลไม้ของภาคตะวันออก และ (3) การพัฒนาตลาดพันธบัตรองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เป็นต้น
ทั้งนี้ ภาคเอกชนได้จัดลำดับความสำคัญของประเด็นข้อเสนอในกลุ่มที่ 1 กลุ่มที่มีความสำคัญยิ่งและต้องดำเนินการขับเคลื่อนอย่างเร่งด่วน เพื่อติดตามและเร่งรัด
การดำเนินการหารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่างต่อเนื่อง เช่น การยกระดับจุดผ่อนปรน/เปิดจุดผ่านแดน
การยกระดับจุดผ่อนปรน/เปิดจุดผ่านแดน การยกระดับจุดผ่อนปรน/เปิดจุดผ่านแดน การสนับสนุนงบประมาณโครงการพัฒนาระบบบริการสุขภาพภาคเหนือตอนล่าง จังหวัดพิษณุโลก เพื่อเป็น
Medical Excellence Centre/Medical Tourism ในวงเงิน 2,900 ล้านบาท และการทบทวนการขยายสิทธิให้
นักลงทุนนอกภาคีอาเซียน
(Non Party) ภายใต้ความตกลงการค้าเสรีบริการ เป็นต้น
3)        สำหรับการประชุม กรอ.ภูมิภาค ครั้งที่ 2-4/2556 ณ จังหวัดฉะเชิงเทรา กำแพงเพชร และพระนครศรีอยุธยา มีประเด็นข้อเสนอรวม 48 ประเด็น มีหลายประเด็นที่เข้าสู่ระบบปกติของการดำเนินงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องแล้ว เช่น (1) โครงการพัฒนาถนนสระบุรี-ปากบาง (สบ.4001) เป็นถนนวัฒนธรรมไท-ยวน เพื่อการท่องเที่ยว (2) โครงการศึกษาการจัดตั้ง ศูนย์บูรณาการการค้าและนวัตกรรมแปรรูปข้าวไทย และ (3) โครงการพัฒนาคลัสเตอร์อุตสาหกรรมการเกษตร Agro Industry Commodity (Model: ข้าว) เป็นต้น ทั้งนี้ ฝ่ายเลขานุการจะได้ติดตามผลการดำเนินการและรายงานต่อที่ประชุม กรอ.ภูมิภาค อย่างต่อเนื่อง
4.2 มติที่ประชุม
1)        รับทราบผลการติดตามความคืบหน้าประเด็นข้อเสนอตามมติ
กรอ.ภูมิภาค ครั้งที่ 1
-7/2555 และครั้งที่ 1/2556 ตามที่ฝ่ายเลขานุการเสนอ
2)        มอบหมายให้สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ในฐานะฝ่ายเลขานุการรับประเด็นข้อเสนอในกลุ่มที่ 1 กลุ่มที่มีความสำคัญยิ่งและ
ต้องดำเนินการขับเคลื่อนอย่างเร่งด่วน ไปประชุมหารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และเสนอที่ประชุม
กรอ.ภูมิภาค ต่อไป
3)        มอบหมายให้ภาคเอกชน โดยคณะกรรมการร่วมภาคเอกชน
3 สถาบัน (กกร
.) เป็นแกนหลักร่วมติดตามความคืบหน้าประเด็นข้อเสนอในกลุ่มที่ดำเนินการแล้วตามมติคณะรัฐมนตรีจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่อไป
5. เรื่องอื่นๆ รวม 10 เรื่อง ดังนี้ (เสนอโดย สทท./กกร./สศช.)
5.1 การปรับการขอรับใบอนุญาตประกอบกิจการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานทดแทนให้เป็นศูนย์บริการแบบเบ็ดเสร็จ
1)        ข้อเสนอ
ขอแก้ไขปัญหาการขอรับใบอนุญาตประกอบกิจการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานทดแทน ดังนี้ (1) ควรควบรวมอำนาจการออกใบอนุญาตประเภทต่างๆ ให้อยู่ในอำนาจอนุมัติของหน่วยงานเดียวที่รับผิดชอบดูแลตาม พระราชบัญญัติการประกอบกิจการพลังงานพ.ศ. 2550 คือ คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) เพื่อลดขั้นตอนในการปฏิบัติงาน โดยให้ใช้เฉพาะกับกิจการพลังงานทดแทนเท่านั้น และ (2) ควรมีการออกระเบียบประมวลหลักการปฏิบัติงาน (Code of Practice; COP) ในการจัดการด้านสิ่งแวดล้อมกับโรงไฟฟ้าพลังงานทดแทนทุกประเภท เพื่อให้ผู้ประกอบการทราบสิ่งที่ต้องปฏิบัติให้ถูกต้อง เพื่อสร้างการอนุมัติที่เป็นแบบอัตโนมัติแทนการพิจารณาข้อมูลเป็นรายโครงการ ซึ่งจะลดขั้นตอนของการตรวจสอบ และการอนุมัติได้อย่างมาก

2)        มติที่ประชุม
มอบหมายให้กระทรวงพลังงานร่วมกับกระทรวงอุตสาหกรรม
พิจารณาดำเนินการเพื่อเร่งรัดการปรับปรุงกฎหมายเพื่อลดความซ้ำซ้อน ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่
24 กันยายน 2556
5.2 การขอให้ปรับอัตราส่วนเพิ่มให้กับโรงไฟฟ้าชุมชนจากพลังงานทดแทน ขนาดไม่เกิน 1 เมกะวัตต์
1)        ข้อเสนอ
ขอให้ปรับอัตราส่วนเพิ่มให้กับโรงไฟฟ้าชุมชนจากพลังงานทดแทน ขนาดไม่เกิน 1 เมกะวัตต์ โดยกำหนดอัตราส่วนเพิ่มสำหรับโรงไฟฟ้าชุมชนขนาดไม่เกิน 1 เมกะวัตต์
แบบ
Public Private Partnership (PPP) เพื่อให้ใช้จุดเด่นของชุมชนที่เป็นเจ้าของหรือเป็นผู้จัดหาวัตถุดิบ (Feed-stock) มาร่วมกับจุดแข็งของภาคเอกชนที่มีเทคโนโลยี การจัดการ และเงินทุน พร้อมมาร่วมลงทุนในโครงการ ดังนี้ (1) ออกกฎเกณฑ์ที่ชัดเจนในการจัดตั้งเป็นโรงไฟฟ้าชุมชนชีวภาพ เช่น การมีส่วนร่วมของชุมชน ขนาดของโรงไฟฟ้า สัดส่วนการถือหุ้น เพื่อให้เกิดความร่วมมือระหว่างชุมชนที่พร้อมร่วมลงทุน และเอกชนที่มีศักยภาพ (2) เพิ่มอัตราค่าไฟฟ้าที่ให้อัตราส่วนเพิ่ม (Adder) ของโรงไฟฟ้าชุมชนขนาดเล็กที่ขายไฟฟ้าไม่เกิน
1 เมกะวัตต์ ในระยะไม่เกิน 7 ปี และ (3) กำหนดโควตาแต่ละประเภทเพื่อไม่ให้เป็นภาระกับค่า
Ft
มากจนเกินไป
2)        มติที่ประชุม
มอบหมายให้กระทรวงพลังงานเร่งรัดการประกาศใช้อัตรารับซื้อไฟฟ้าพลังงานทดแทนแบบ Feed-in-Tariff (FiT) ของแต่ละประเภทของพลังงานทดแทนที่ชัดเจนโดยเร็ว
โดยให้มีการพิจารณาร่วมกับภาคเอกชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งปรับปรุงกฎหมายและระเบียบ
ที่เกี่ยวข้องเพื่อสนับสนุนให้มีการรับซื้อไฟฟ้าจากโรงไฟฟ้าชุมชนมากขึ้น
5.3 โครงการคูปองนวัตกรรมเพื่อพัฒนาขีดความสามารถ SMEs ไทย
สู่ประชาคมอาเซียน ระยะที่ 2
(Innovation Coupon for SMEs)
1)        ข้อเสนอ
ขอให้สนับสนุนโครงการคูปองนวัตกรรมเพื่อพัฒนาขีดความสามารถ SMEs ไทยสู่ประชาคมอาเซียน ระยะที่ 2 (Innovation Coupon for SMEs) โดย (1) รับทราบผลการดำเนินงานโครงการคูปองนวัตกรรมสำหรับผู้ประกอบการ SMEs ในระยะที่ 1 (ปี 2553 2555) และ (2) พิจารณาให้ความเห็นชอบในหลักการ เพื่อดำเนินโครงการฯ ในระยะที่ 2 (ตุลาคม 2556 ธันวาคม 2559)
2)        มติที่ประชุม
รับทราบผลการดำเนินงานโครงการคูปองนวัตกรรมเพื่อพัฒนาขีดความสามารถ SMEs ไทยระยะที่ 1 (ปี 25532555) ในเบื้องต้น และมอบหมายให้กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเป็นหน่วยงานหลักร่วมกับกระทรวงอุตสาหกรรม สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ศึกษารายละเอียดการดำเนินโครงการคูปองนวัตกรรมเพื่อพัฒนาขีดความสามารถ SMEs ไทยสู่ประชาคมอาเซียน ระยะที่ 2 โดยให้นำผลการประเมินโครงการฯ ระยะที่ 1 มาประกอบการพิจารณา และเสนอคณะรัฐมนตรี
ตามขั้นตอนต่อไป
5.4              ข้อเสนอความเห็นต่อการเจรจาขยายขอบเขตความตกลงว่าด้วยการค้าสินค้า IT (ITA Expansion) ของประเทศไทย
1)        ข้อเสนอ
ขอให้ทบทวนการเข้าร่วมการเจรจาขยายขอบเขตความตกลงว่าด้วยการค้าสินค้า IT (ITA Expansion) ของประเทศไทย โดยปรับรายการสินค้าตามหลักและเจตนารมณ์ของรายการสินค้า IT ให้ชัดเจน และกำหนดพิกัดศุลกากรให้ถูกต้องตามหลักศุลกากรสากล รวมทั้งเลือกรายการสินค้า IT ที่มีความชัดเจน และนำมาประกาศยกเว้นอากรขาเข้าภายใต้โครงสร้างภาษีของประเทศไทยในลักษณะของ GSP ได้เอง
2)        มติที่ประชุม
มอบหมายให้กระทรวงพาณิชย์นำเรื่องการทบทวนการเข้าร่วมการเจรจาขยายขอบเขตความตกลงว่าด้วยการค้าสินค้า IT (ITA Expansion) ของประเทศไทย โดยปรับรายการสินค้าตามหลักและเจตนารมณ์ของรายการสินค้า IT ให้ชัดเจน เพื่อนำเสนอให้คณะกรรมการนโยบายเศรษฐกิจระหว่างประเทศพิจารณาตามขั้นตอน
5.5              ข้อเสนอความคิดเห็นต่อกฎกระทรวงกำหนดจำนวนคนพิการที่นายจ้างหรือเจ้าของสถานประกอบการและหน่วยงานของรัฐจะต้องรับเข้าทำงาน
1)        ข้อเสนอ
ความคิดเห็นต่อกฎกระทรวงกำหนดจำนวนคนพิการที่นายจ้างหรือเจ้าของสถานประกอบการและหน่วยงานของรัฐจะต้องรับเข้าทำงาน โดย (1) กำหนดอัตราส่วนการจ้างงาน
คนพิการที่นายจ้างหรือเจ้าของสถานประกอบการและหน่วยงานของรัฐจะต้องรับคนพิการเข้าทำงานในอัตรา 100
: 1 เป็นกำหนดอัตราส่วนลูกจ้างทุก 200 คนต่อคนพิการ 1 คน (2) ขอให้หน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องพิจารณาออกหนังสือยกเว้นการส่งเงินสมทบกองทุนส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการผ่อนผันให้แก่สถานประกอบการที่มีความประสงค์จะจ้างงานคนพิการตามที่กฎหมายกำหนด แต่ไม่สามารถหาคนพิการเข้าทำงานได้ตามแนวปฏิบัติของกฎกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม พ.ศ. 2537 (3) กรณีสถานประกอบการไม่ประสงค์หาคนพิการเข้าทำงานให้ส่งเงินเข้ากองทุนส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการเป็นรายปี ปีละครึ่งหนึ่งของอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ (4) ขอให้พิจารณายกเว้นการส่งเงินสมทบประกันสังคมทั้งฝ่ายนายจ้างและฝ่ายลูกจ้างคนพิการ และ (5) ขอผ่อนผันการส่งเงินกองทุนส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการในปี 2554 – 2555
2)        มติที่ประชุม
มอบหมายให้ภาคเอกชน โดยคณะกรรมการร่วมภาคเอกชน
3 สถาบัน (กกร
.) รับไปหารือร่วมกับกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ และกระทรวงแรงงานรับข้อเสนอความคิดเห็นต่อกฎกระทรวง ภายใต้พระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิต
คนพิการ พ
.. 2550 ในการกำหนดอัตราการจ้างงานคนพิการของนายจ้างหรือเจ้าของสถานประกอบการ เพื่อให้ได้ข้อสรุปร่วมกัน ทั้งนี้ ให้หน่วยงานของรัฐพิจารณาให้ความร่วมมือในการรับคนพิการเข้าทำงานเช่นเดียวกับภาคเอกชนด้วย
5.6 โครงการ ทางรถไฟสายอันดามัน
1)        ข้อเสนอ
ขอให้ศึกษาความเป็นไปได้การพัฒนาเส้นทางรถไฟสายอันดามันเส้นทางภูเก็ต-กระบี่ เพื่อให้มีการกระจายนักท่องเที่ยวจากภูเก็ตและกระบี่สู่เมืองท่องเที่ยวใกล้เคียงได้ และเป็นการกระจายความเจริญสู่ชุมชนและสร้างรายได้ให้กับชุมชนเพิ่มมากขึ้น
2)        มติที่ประชุม
มอบหมายให้กระทรวงคมนาคมรับข้อเสนอของภาคเอกชนไปเร่งรัดดำเนินการในเส้นทางที่ได้ทำการศึกษารายละเอียดไว้แล้ว และให้พิจารณาศึกษาความเหมาะสมและความเป็นไปได้ในการขยายโครงข่ายระบบรางให้เชื่อมโยงกับประเทศเพื่อนบ้านตามแผนการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานของภาครัฐ โดยต้องคำนึงถึงผลกระทบต่อชุมชนและการยอมรับจากประชาชนในพื้นที่ด้วย
5.7              โครงการแก้ไขปัญหาเร่งด่วนเพื่อลดความสูญเสียจากกลุ่มอาการ
ตายด่วน (
Early Mortality Syndrome: EMS) และเพิ่มศักยภาพการผลิตสินค้ากุ้งทะเล
1)        ข้อเสนอ
ขอให้สนับสนุนโครงการแก้ไขปัญหาเร่งด่วนเพื่อลดความสูญเสียจากกลุ่มอาการตายด่วน (EMS) และเพิ่มศักยภาพการผลิตสินค้ากุ้งทะเล โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผลผลิตกุ้งทะเลกลับเข้าสู่สภาวะปกติ รวมทั้งสามารถรักษาระดับผลผลิตที่ 450,000 500,000 ตันต่อปี
2)        มติที่ประชุม
มอบหมายให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยกรมประมง ร่วมกับภาคเอกชน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รับข้อเสนอโครงการแก้ไขปัญหาเร่งด่วนเพื่อลดความสูญเสียจาก
กลุ่มอาการตายด่วน (
Early Mortality Syndrome: EMS) และเพิ่มศักยภาพการผลิตสินค้ากุ้งทะเลไปพิจารณาในการวางแนวทางในการบริหารจัดการโครงการให้มีความชัดเจน สามารถแก้ไขปัญหาได้โดยเร็ว
5.8              กฎหมายป้องกันการหลีกเลี่ยงภาษีของสหรัฐอเมริกา (Foreign Account Tax Compliance Act: FATCA)
1)        ข้อเสนอ
ขอให้รัฐบาลเร่งรัดการดำเนินการเรื่อง กฎหมายป้องกัน
การหลีกเลี่ยงภาษีของสหรัฐอเมริกา (
Foreign Account Tax Compliance Act: FATCA)
2)        มติที่ประชุม
มอบหมายให้กระทรวงการคลังเร่งรัดการผลักดันกรอบเจรจา Intergovernmental Agreement (IGA) เรื่องกฎหมายป้องกันการหลีกเลี่ยงภาษีของสหรัฐอเมริการะหว่างรัฐบาลไทยกับรัฐบาลสหรัฐอเมริกาเข้าสู่การพิจารณาของรัฐสภา เพื่อให้รัฐบาลไทยสามารถเจรจากับรัฐบาลสหรัฐอเมริกาได้ต่อไป
5.9              มาตรการกระตุ้นการส่งออกในช่วงครึ่งหลังของปี 2556
1)        สศช. รายงานที่ประชุมว่า นายกรัฐมนตรีในฐานะประธาน
การประชุมคณะทำงานกำกับการบริหารนโยบายเศรษฐกิจได้มีการประชุมไปเมื่อวันพุธที่ 4 กันยายน 2556
เพื่อพิจารณามาตรการกระตุ้นการส่งออกในช่วงที่เหลือของปี 2556 ซึ่งที่ประชุมมีมติมอบหมาย สศช.
ในฐานะฝ่ายเลขานุการจัดส่งมติที่ประชุมให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อรับไปดำเนินการเพื่อกระตุ้นการส่งออกสินค้าในช่วงที่เหลือของปี 2556 ดังนี้
(1)          มอบหมายกระทรวงพาณิชย์และกระทรวงอุตสาหกรรมเจรจากับนักลงทุนรายใหญ่เพื่อกำหนดเงื่อนไขทางภาษีและการเงินที่จะชักจูงให้ผู้ประกอบการเพิ่มยอดการผลิตฮาร์ดดิสก์ในประเทศไทย และกำหนดมาตรการจูงใจให้ผู้ประกอบการลงทุนในการผลิตสินค้าทดแทนที่มีเทคโนโลยีล่าสุดในประเทศไทย
(2)          มอบหมายกระทรวงพลังงานประสานงานกับผู้ผลิตน้ำมันเพื่อศึกษาและประมาณการกำลังการผลิตที่เหมาะสม โดยเฉพาะการผลิตเพื่อส่งออก
(3)          มอบหมายกระทรวงพาณิชย์พิจารณาส่งออกน้ำตาลไปยังตลาดที่มีแนวโน้มการเติบโตของอุปสงค์น้ำตาล โดยเฉพาะอินเดีย แอลจีเรีย และมาเลเซีย
(4)          มอบหมายกระทรวงอุตสาหกรรมพิจารณาแก้ไขปัญหา
อ้อยและน้ำตาลในภาพรวมอย่างเป็นระบบ โดยประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อศึกษาแนวทางในการสร้างมูลค่าเพิ่มจากผลผลิตอ้อย
(5)          มอบหมายกระทรวงเกษตรและสหกรณ์พิจารณายกเลิกการเก็บเงิน CESS เป็นการชั่วคราว และประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อหามาตรการเพิ่มอุปสงค์ยางพารา ส่งเสริมการใช้ยางพาราในประเทศ และลดอุปทานยางพาราอย่างเป็นระบบให้สอดคล้องกัน รวมทั้งประสานกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อหาแนวทางในการนำยางในสต็อกไปเพิ่มมูลค่า พร้อมทั้งมอบหมายกระทรวงพาณิชย์ดำเนินกิจกรรมการจับคู่ธุรกิจให้กับผู้ซื้อยางในประเทศ และมอบหมายกระทรวงอุตสาหกรรมส่งเสริมการแปรรูปยางแท่งและน้ำยางข้นเป็นยางแผ่นผสม
(6)          มอบหมายกระทรวงพาณิชย์เร่งระบายข้าวในทุกช่องทางและเจรจาโดยตรงกับผู้ซื้อรายใหญ่ในต่างประเทศ รวมทั้งจัดทำข้าวถุงเพื่อช่วยลดค่าครองชีพของประชาชน
(7)          มอบหมายกระทรวงเกษตรและสหกรณ์จัดทำมาตรการ
ลดต้นทุนการผลิตและส่งเสริมการปลูกข้าวคุณภาพดีและปลอดสารพิษ รวมทั้งประสานกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อศึกษาวิธีแปรรูปข้าวเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม
(8)          มอบหมายกระทรวงพาณิชย์จัดทำ Virtual Business and Distribution Center ระหว่างธุรกิจกับธุรกิจ และจัดกิจกรรมการตลาด เช่น งานแสดงเครื่องใช้ไฟฟ้าของไทยตามจังหวัดชายแดนไทย และนำคณะผู้นำเข้ารายใหญ่ในจีน ญี่ปุ่น ฮ่องกง มาเจรจากับผู้ส่งออกไทยในงาน RHVAC ที่มีกำหนดจะจัดงานในวันที่ 10 - 11 ตุลาคม 2556 พร้อมทั้งเจรจาขอนำรายการเครื่องใช้ไฟฟ้า
ในบ้านออกจากขอบเขตรายการสินค้าเทคโนโลยีสารสนเทศ (
ITA Expansion)
(9)          มอบหมายกระทรวงอุตสาหกรรมและกระทรวงการคลังพิจารณาให้สิทธิประโยชน์ด้านภาษีเพื่อการลงทุนในด้านการวิจัยและพัฒนา และพิจารณาหามาตรการส่งเสริมการลงทุนในอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้า รวมทั้งแนวทางในการส่งเสริมและสนับสนุนการปรับเปลี่ยนรูปแบบการผลิตที่เคยได้รับส่งเสริมการลงทุนไปในธุรกิจที่เกี่ยวข้อง
2)        มติที่ประชุม
รับทราบและมอบหมายให้กระทรวงพาณิชย์รับไปประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งรัดดำเนินการเพื่อกระตุ้นการส่งออกสินค้าในช่วงที่เหลือของปี 2556 และรายงาน
ให้คณะรัฐมนตรีทราบตามขั้นตอนต่อไป
5.10            การพัฒนากำลังคนในระยะเร่งด่วนรองรับการลงทุนในสาขาที่จำเป็นต่อการพัฒนาประเทศ
1)        สศช. รายงานที่ประชุมว่า เมื่อวันศุกร์ที่ 27 กันยายน 2556 นายกรัฐมนตรีเป็นประธานการประชุมเชิงปฏิบัติการ เรื่องการปฏิรูปการศึกษา โดยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เลขาธิการนายกรัฐมนตรี ผู้ทรงคุณวุฒิ หัวหน้าส่วนราชการหลักในกระทรวงศึกษาธิการ และผู้แทนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมประชุม โดยกระทรวงศึกษาธิการทำหน้าที่ฝ่ายเลขานุการ ซึ่งมีประเด็นที่นายกรัฐมนตรีให้ความสำคัญและข้อสั่งการที่มอบหมาย ดังนี้
(1)          การปฏิรูปการศึกษาทั้งระบบต้องพิจารณาตามช่วงวัยโดยยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลางและตอบสนองทิศทางการพัฒนาในอนาคต โดยกระทรวงศึกษาธิการต้องยึดการพัฒนาคนตลอดวงจรชีวิตใน 5 ช่วงวัยตามที่ สศช. เสนอ และการผลิตและพัฒนากำลังคนต้องทราบความต้องการของสาขาและแนวทางในการเตรียมกำลังคน โดยในระยะสั้นควรพิจารณาในช่วงปีหน้า หรือ 3 เดือนข้างหน้า
(2)          ข้อสั่งการของนายกรัฐมนตรี ประกอบด้วย
(2.1)     ระยะสั้น ให้มีคณะทำงานโดยมอบ สศช. ประสานการดำเนินงานร่วมกับกระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงแรงงาน และหารือกับคณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน (กกร.) เพื่อแก้ไขปัญหาการขาดแคลนแรงงานและการผลิตกำลังคนในระยะเร่งด่วน
(2.2)     ระยะกลาง ให้มีคณะทำงานโดยมอบ สศช. ประสานดำเนินงานร่วมกับกระทรวงศึกษาธิการและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อพิจารณามาตรการและกลไกสร้างแรงจูงใจให้เรียนอาชีวศึกษาและเรียนในสาขาที่เป็นความต้องการของประเทศ
(2.3)     ระยะยาว เห็นชอบให้การศึกษาเป็นวาระแห่งชาติ โดยมอบกระทรวงศึกษาธิการ เป็นหน่วยงานหลัก ร่วมกับ สศช. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และประชาสังคมมาร่วมกันจัดทำข้อเสนอในการพัฒนา โดยยึดตามเป้าหมายพัฒนาคนตามช่วงวัย
(3)          การดำเนินงานตามข้อสั่งการของนายกรัฐมนตรี ขณะนี้ สศช. ได้เตรียมการประสานแจ้ง กกร. เพื่อพิจารณาความเหมาะสมและความเป็นไปได้ เพื่อนำสรุปประเด็นและข้อสั่งการของนายกรัฐมนตรีในประเด็นการแก้ไขปัญหาการขาดแคลนแรงงานและการผลิตกำลังคนในระยะเร่งด่วนรองรับการลงทุนในสาขาที่จำเป็น และได้เตรียมการจัดตั้งคณะทำงาน 2 ชุด รองรับการดำเนินงานตามข้อสั่งการระยะเร่งด่วนและระยะกลางที่มอบหมาย สศช. เป็นแกนหลักประสานดำเนินงานร่วมกับกระทรวงศึกษาธิการและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยส่วนที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับ กกร. คือ คณะทำงานเตรียมความพร้อมกำลังคนในระยะเร่งด่วน รองรับการลงทุนในสาขาที่จำเป็นต่อการพัฒนาประเทศ โดยองค์ประกอบคณะทำงาน ประกอบด้วย ผู้แทนจากภาคเอกชน 5 องค์กรหลักและที่เกี่ยวข้อง โดยมีผู้แทน สศช. กระทรวงศึกษาธิการ เป็นเลขานุการร่วม มีขอบข่ายภารกิจ ดังนี้
(3.1)       ประมวลวิเคราะห์ความต้องการกำลังคนรองรับ
การลงทุนในสาขาที่มีความจำเป็นเร่งด่วน โดยเฉพาะการลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐานของประเทศ การบริหารจัดการน้ำ ตลอดจนสาขาที่มีศักยภาพสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ประเทศ
(3.2)       วิเคราะห์สมรรถนะของอุปสงค์และอุปทานแรงงาน และจัดทำข้อเสนอการผลิตและพัฒนากำลังคนในระยะเร่งด่วน เสนอแนะมาตรการกำกับการผลิตกำลังคน และแนวทางการพัฒนาเพิ่มศักยภาพและทักษะที่จำเป็นแก่แรงงานและกำลังคนให้เพียงพอและตอบสนองความต้องการรองรับการลงทุนพัฒนาประเทศ
ทั้งนี้ สศช. จะประมวลความคืบหน้าการเตรียมรายละเอียดกรอบการดำเนินงานในด้านต่างๆ เพื่อกราบเรียนนายกรัฐมนตรีพิจารณา และเริ่มประชุมคณะทำงานในแต่ละชุดนับตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2556 ต่อไป

2)        มติที่ประชุม
มอบหมายให้กระทรวงศึกษาธิการและกระทรวงแรงงานร่วมกับภาคเอกชนที่เกี่ยวข้องรับไปพิจารณาจัดทำแนวทางการพัฒนากำลังคนในระยะเร่งด่วนรองรับการขาดแคลนแรงงานและการลงทุนในสาขาที่จำเป็นต่อการพัฒนาประเทศ

12.  เรื่อง ความก้าวหน้าในการดำเนินงานโครงการแก้ไขปัญหายางพาราทั้งระบบ ปี 2557
                   คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบความก้าวหน้าในการดำเนินงานโครงการแก้ไขปัญหายางพาราทั้งระบบ ปี 2557 ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กษ.) เสนอ ดังนี้
                   สาระสำคัญของเรื่อง
                   กษ. รายงานว่า ตามที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติ วันที่ 10 กันยายน 2556 กรมส่งเสริมการเกษตรได้ดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรีดังกล่าวสรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้
                   1. ผลการดำเนินการ
                             1.1 จำนวนเกษตรกรและพื้นที่เป้าหมาย 1,137,663 ครัวเรือน มาขึ้นทะเบียนเกษตรกรจำนวน 1,193,332 ครัวเรือน คิดเป็นร้อยละ 104.89
                             1.2 ผู้ที่มายื่นคำร้องบางส่วนมีเอกสารไม่ครบถ้วนอยู่ระหว่างการรอเอกสารเพิ่มเติม 72,970 ครัวเรือน และผู้ที่มีเอกสารครบถ้วน จำนวน 1,121,600 ครัวเรือน
                             1.3 จากเกษตรกรที่มาขอขึ้นทะเบียน 1,193,332 ครัวเรือน บันทึกข้อมูลลงระบบแล้ว 980,044 ครัวเรือน คิดเป็นพื้นที่เข้าร่วมโครงการประมาณ 12.58 ล้านไร่ แยกเป็นผู้ที่พร้อมตรวจสอบแปลงได้ จำนวน 682,503 ครัวเรือน และผู้ที่ยังไม่สามารถตรวจสอบแปลงในขณะนี้ได้จำนวน 297,541 ครัวเรือน จากสาเหตุดังนี้
                                      1.3.1 เกษตรกรที่มีพื้นที่นอกเอกสารสิทธิ์ 36,023 ราย พื้นที่ปลูก 449,033 ไร่ ซึ่งเป็นพื้นที่ปลูกยางพาราที่อยู่นอกเหนือเอกสารสิทธิ์ของกรมป่าไม้ 46 ราย และเป็นพื้นที่เป็น ภบท. 5 ที่ไม่มีผู้รับรอง 40,322 ราย พื้นที่ปลูก 776,903 ไร่ ซึ่งกรมส่งเสริมการเกษตรได้เริ่มส่งรายชื่อเกษตรกรและที่ตั้งแปลงให้กับกรมป่าไม้และกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืชแล้วตามหนังสือกรมส่งเสริมการเกษตรที่ กษ 1012/11419 ลงวันที่ 4 ตุลาคม 2556 และขณะนี้อยู่ระหว่างการดำเนินงานของหน่วยงานดังกล่าว
                                      1.3.2 เป็นสวนยางพาราที่มีอายุไม่ถึงเกณฑ์ที่สามารถกรีดได้ 80,000 ครัวเรือน
                                      1.3.3 เกษตรกรมาขึ้นทะเบียนแต่ไม่ประสงค์เข้าร่วมโครงการ 141,186 ครัวเรือน
                             1.4 สำหรับการตรวจแปลงขณะนี้กำลังตรวจสอบแปลงปลูก (ทุกแปลง) จำนวน 541,991 ครัวเรือน ตรวจสอบเสร็จแล้วและออกใบรับรองแล้ว จำนวน 56,083 ครัวเรือน 76,030 แปลง
                             1.5 เกษตรกรนำใบรับรองไปรับเงินที่ ธ.ก.ส. แล้ว จำนวน 23,665 ครัวเรือน 32,064 แปลง เป็นเงินที่ ธ.ก.ส. โอนให้เกษตรกรแล้ว 578,064,690  บาท
                             1.6 กำลังเร่งรัดประชาสัมพันธ์ให้เกษตรกรมารับใบรับรองและเร่งการตรวจสอบแปลงให้เร็วขึ้น
                   2. ปัญหาและอุปสรรค
                   มีเกษตรกรผู้ปลูกยางพาราอีกส่วนหนึ่งซึ่งปลูกยางพาราในพื้นที่นอกเหนือเอกสารสิทธิ์หรือสิทธิทำกินทั้ง 46 รายการ ตามมติคณะรัฐมนตรีเมือวันที่ 10 กันยายน 2556 และกรมส่งเสริมการเกษตรได้รับขึ้นทะเบียนไว้แล้ว แต่ยังไม่สามารถเข้าสู่กระบวนการตรวจสอบพื้นที่เปิดกรีดและออกใบรับรองได้ ต้องรอการพิสูจน์สิทธิ์ทำกินจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น กรมป่าไม้ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช อาจทำให้ไม่สามารถดำเนินการได้ทันภายใน 30 วันหลังการขึ้นทะเบียน
                   3. แนวทางแก้ไข
                   ให้นับเวลาการตรวจสอบพื้นที่เปิดกรีดของเกษตรกรผู้ปลูกยางพารา ในกลุ่มที่ต้องมีการพิสูจน์สิทธิทำกินให้แล้วเสร็จภายใน 30 วัน หลังจากได้รับแจ้งผลการพิสูจน์สิทธิ์จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

13.  เรื่อง  แต่งตั้ง
                                1. การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญประเภทบริหารระดับสูง (กระทรวงคมนาคม)
                                คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติแต่งตั้งข้าราชการให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูงที่ว่างอยู่ เนื่องจากผู้ครองตำแหน่งเกษียณอายุราชการและได้รับโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งปลัดกระทรวงคมนาคม จำนวน 2 ตำแหน่ง ตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอดังนี้
                                1. โอนและเลื่อน นางปาริชาต คชรัตน์ รองอธิบดี (นักบริหารระดับต้น) กรมการบินพลเรือน        ไปแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้ตรวจราชการกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง 
                                2. เลื่อน นายอัฌษไธค์ รัตนดิลก ณ ภูเก็ต รองอธิบดี (นักบริหารระดับต้น) กรมการขนส่งทางบก        ขึ้นแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมการขนส่งทางบก
                                ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นต้นไป

2.              แต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการกองทุนเพื่อความปลอดภัยในการใช้รถใช้ถนน
                                คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติแต่งตั้งศาสตราจารย์ พลศักดิ์ จิรไกรศิริ และนายแพทย์ เขตโสภณ   จัตวัฒนกุล เป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการกองทุนเพื่อความปลอดภัยในการใช้รถใช้ถนน ตามนัยมาตรา 10/2 แห่งพระราชบัญญัติรถยนต์ พ.ศ. 2522 ตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอ ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2556 เป็นต้นไป

3.              การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง (กระทรวงศึกษาธิการ)
                                คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญ สังกัดกระทรวงศึกษาธิการ ให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง จำนวน 4 ราย ตามที่กระทรวงศึกษาธิการเสนอ ดังนี้
                                1. นางชวนี ทองโรจน์ ที่ปรึกษาด้านพัฒนาภูมิปัญญาท้องถิ่น (นักวิชาการศึกษาทรงคุณวุฒิ) สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ดำรงตำแหน่ง รองเลขาธิการสภาการศึกษา สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา
                                2. นายชัยยศ อิ่มสุวรรณ์ รองเลขาธิการสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย สำนักงานปลัดกระทรวง ดำรงตำแหน่ง ผู้ตรวจราชการกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง
                                3. นายอดินันท์ ปากบารา ผู้ช่วยปลัดกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง ดำรงตำแหน่ง ผู้ตรวจราชการกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง
                                4. นายการุณ สกุลประดิษฐ์ รองเลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน สำนักงานปลัดกระทรวง ดำรงตำแหน่ง ผู้ตรวจราชการกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง
                                ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นต้นไป เพื่อทดแทนตำแหน่งที่ว่าง

                                                                              ***********************
รัฐบาลไทย

... เน็ตเร็ว คลิ๊กที่ www.tuewsob.com

... เน็ตช้า คลิ๊กที่ http://tuewsob.blogspot.com

... ห้องวิชาเอกครู คลิ๊กที่ http://uewsob2011.blogspot.com

... (ห้องข้อสอบใหม่) ..สอบครู..สอบผู้บริหาร..สอบบุคลากร ที่

"ติวสอบดอทคอม "

ผอ.นิกร  เพ็งลี

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

พัฒนาความรู้ครูผู้ช่วย 4 ภาค

พัฒนาความรู้ครูผู้ช่วย 4 ภาค
พัฒนาความรู้ครูผู้ช่วย 4 ภาค

ห้องสนทนา บน facebook

ห้องสนทนา บน facebook
ห้องสนทนาติวสอบดอทคอม

ข้อสอบออนไลน์ "ติวสอบดอทคอม" ชุดใหม่

คู่มือเตรียมสอบผู้บริหาร ภาค ก ข ค

แจ้งย้ายเว็บไปที่ www.tuewsob.com

คู่มือเตรียมสอบผู้บริหาร ภาค ก ข ค (ปรับปรุงใหม่)

รวม เล่ม + แผ่นพับ + ชีตช่วยจำ + DVD เนื้อหา + เสียงบรรยาย + EMS = 800 บาท
สนใจ คู่มือ ภาค ก ข ค ผู้บริหาร คลิ๊กเลย

สั่งจอง... โอนเงินเข้าชื่อบัญชี นายนิกร เพ็งลี ธนาคารกรุงไทย สาขาจอหอ บัญชีเลขที่ 341-1-38912-5 โอนเงินแล้วกรุณาโทรแจ้ง
0872494141 หรือ 0839660030

คู่มือ เตรียมสอบผู้บริหาร

คู่มือ เตรียมสอบผู้บริหาร
คู่มือ เตรียมสอบผู้บริหาร

ติวสอบออนไลน์ บน facebook

ติวสอบออนไลน์ บน facebook
ติวสอบออนไลน์ บน facebook

คลังหนังสือ ติวสอบดอทคอม

คลังหนังสือ ติวสอบดอทคอม
คลังหนังสือ ติวสอบดอทคอม

ติวสอบดอทคอม

ติวสอบดอทคอม
ติวสอบดอทคอม