ติวสอบออนไลน์ ชุด นโยบายรัฐบาล
ลิงค์ข้อสอบ ที่เกี่ยวข้องกับ "นโยบายรัฐบาล" โดย ติวสอบดอทคอม
http://tuewsob.blogspot.com/2013/11/blog-post_4.html
http://www.tuewsob.com/rr164.html
http://www.tuewsob.com/rr%20157%20pu%201.html
http://tuewsob.blogspot.com/2013/10/132556.html
http://tuewsob.blogspot.com/2013/10/blog-post_31.html
http://www.tuewsob.com/rr164.html
http://www.tuewsob.com/rr%20157%20pu%201.html
http://tuewsob.blogspot.com/2013/10/132556.html
http://tuewsob.blogspot.com/2013/10/blog-post_31.html
( คลิ๊ก ) สมัครติวสอบครูผู้ช่วย รอบ 2 ปี 56-57 (10 จุด) ที่
ข่าวสำนักงานรัฐมนตรี 395/2556ศึกษา แนวทางการคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษา
l ความจำเป็นในการแต่งตั้งคณะกรรมการชุดดังกล่าว
รมว.ศธ.กล่าวว่า ระบบการรับนักศึกษาของสถาบันอุดมศึกษา ในปัจจุบัน มีหลากหลาย คือ
2) ระบบรับตรง มี 3 ประเภท คือ รับตรงทั่วประเทศ, รับตรงในพื้นที่,รับตรงร่วมกับกลุ่มสถาบัน/ภาคี/เครือข่าย
3) ระบบโควตา มี 4 ประเภท ได้แก่ โควตาผู้มีความรู้ความสามารถพิเศษ,
ศธ.จึงได้มีคำสั่งกระทรวงศึกษาธิการ ที่ 926/2556 ลงวันที่ 5 พฤศจิกายน 2556 เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการศึกษาแนวทางการคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษา โดยคณะกรรมการชุดนี้มีอำนาจหน้าที่พิจารณาศึกษาหาแนวทางการคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาให้สอดคล้องกับการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานและลดภาระของนักเรียนและผู้ปกครองในการที่จะต้องสมัครสอบหลายครั้ง รวมทั้งเสนอแนวทางระบบการคัดเลือกฯ ให้คณะรัฐมนตรีพิจารณากำหนดมาตรการ เพื่อให้สถาบันอุดมศึกษาถือปฏิบัติเป็นแนวทางเดียวกัน การประชุมคณะกรรมการชุดนี้ เป็นการประชุมครั้งแรก โดยมี รมว.ศธ.เป็นประธาน และมีคณะกรรมการรวมทั้งสิ้น 13 ท่านเข้าร่วมประชุมประกอบด้วยเลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ประธานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (กกอ.) ประธานที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.) ประธานที่ประชุมอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏ ประธานคณะกรรมการอธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล นายกสมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย ผู้อำนวยการสถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (สทศ.) และผู้ทรงคุณวุฒิ l ข้อเสนอที่น่าสนใจจากการประชุมเสวนาไปแล้ว 2 ครั้ง ที่ประชุมได้รับทราบความก้าวหน้าการดำเนินการศึกษาหาแนวทางการคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษา ซึ่ง สกอ.ได้มีการจัดประชุมเสวนาไปแล้ว 2 ครั้ง คือ 1) การเสวนาการพัฒนาระบบการคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาต่อระดับอุดมศึกษา เมื่อวันที่ 14 กันยายน 2556 โดยมี รมว.ศธ. เป็นประธาน 2) การประชุมหารือการใช้กลไกเครือข่ายอุดมศึกษาขับเคลื่อนการพัฒนาคุณภาพมาตรฐานการจัดการศึกษาระดับอุดมศึกษา เมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน 2556 โดยมีคุณหญิงสุมณฑา พรหมบุญ ประธาน กกอ.เป็นประธาน ซึ่งได้มีข้อเสนอที่น่าสนใจ ดังนี้ - ข้อเสนอเกี่ยวกับระบบการคัดเลือก/รับนักศึกษา
สนับสนุนการใช้ระบบองค์กรกลาง (Clearing House) และให้ สกอ.เป็นหน่วยงานประสานดูแลการรับเด็กเข้าศึกษา เสนอให้ยกเลิกการสอบรับตรง เพราะเป็นการสร้างภาระให้กับเด็กและผู้ปกครอง ส่วนระบบโควตาให้คงไว้ เพราะเป็นการให้โอกาสกับเด็กต่างจังหวัด เสนอให้หน่วยงานของรัฐมีการกำกับระบบการรับตรง โดยกำหนดช่วงเวลา จำนวนครั้ง และจำนวนรับนักศึกษา เสนอให้มีการนำคุณลักษณะอื่นๆ ของนักเรียนนำมาพิจารณาคัดเลือกด้วย เช่น จิตอาสา คุณธรรม ระบบที่รับเด็กเข้าศึกษาอาจจะรวมกลุ่มกันรับเป็นกลุ่มมหาวิทยาลัย หรือสาขาวิชา เช่น กลุ่มครุศาสตร์ หรือมีข้อสอบมาตรฐานด้วยกัน ทั้งข้อสอบมาตรฐานแรกเข้า (Entrance Exam) และข้อสอบมาตรฐานสำเร็จการศึกษา (Exit Exam) จำนวนข้อสอบน้อยข้อ แต่สามารถวัดได้ การที่มหาวิทยาลัยของรัฐรับเด็กเข้าศึกษาต่อหลายๆ ครั้ง ทั้งระบบรับตรง และระบบกลาง (Admission) ในปริมาณไม่จำกัด มีผลกระทบต่อการรับนักศึกษาของมหาวิทยาลัยเอกชน - ข้อเสนอเกี่ยวกับการสอบ/ข้อสอบ
ควรลดการสอบลง เพราะปัจจุบันนักเรียนต้องผ่านการสอบหลายประเภทมากเกินไป และบางส่วนซ้ำซ้อนกัน เช่น GAT, PAT, การสอบ 7 วิชาสามัญ, การสอบของแต่ละมหาวิทยาลัย ข้อสอบที่ออกโดย สทศ.ค่อนข้างยากและใช้เวลาน้อย ทำให้นักเรียนต้องกวดวิชาเพิ่มเพื่อให้รู้เทคนิคในการสอบ แต่ไม่สามารถคิดวิเคราะห์หรือหาที่มาของคำตอบได้- ข้อเสนอเกี่ยวกับการดำเนินการพัฒนาระบบ
ปัจจุบันระบบการคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาต่อในสถาบันอุดมศึกษา มี ทปอ.เป็นผู้ดูแล แต่ที่ผ่านมาเมื่อระบบมีปัญหา รัฐมักเข้าไปแทรกแซง ซึ่งขณะนี้ต้องการให้รัฐบาลเข้าไปแทรกแซงเหมือนที่ผ่านมาเพื่อแก้ปัญหา เสนอให้หน่วยงานหลักที่เกี่ยวข้อง คือ สกอ./สพฐ./สทศ.ร่วมกำหนดทิศทางและนโยบายให้ชัดเจนว่าจะผลิตคนอุดมศึกษาไปในทิศทางใด ต้องการคนแบบใดเข้าสู่ตลาดแรงงาน ควรลดการสอบลงให้เหลือเพียงบางรายวิชาที่จำเป็น โดยจัดสอบที่ส่วนกลาง และกำหนดให้สามารถนำผลการสอบไปใช้สมัครได้ทุกมหาวิทยาลัย และหากมหาวิทยาลัยใดต้องการสอบเพิ่ม อาจกำหนดให้เปิดสอบเพิ่มได้โดยจำกัดจำนวนวิชา ควรปรับปรุงคุณภาพของข้อสอบ ให้สามารถวัดความรู้ของนักเรียนได้จริง ไม่ยากหรือเกินหลักสูตรการเรียนการสอน ตรงกับวัตถุประสงค์ของการสอบ- ข้อเสนออื่นๆ
ควรมีการรับฟังความคิดเห็นจากนักเรียนนักศึกษา ซึ่งเป็นผู้ได้รับผลกระทบโดยตรงก่อนดำเนินการปรับระบบการคัดเลือก ครู/ผู้ปกครอง ควรปลูกฝังค่านิยมให้เด็กเลือกเรียนตามความสนใจและความถนัดจริงๆ
ภาพ สถาพร ถาวรสุขl สรุปผลการประชุมหารือในครั้งนี้ ที่ประชุมได้เห็นปัญหาร่วมกัน และเห็นพ้องตรงกันว่าควรจะต้องมีการปรับปรุงระบบการคัดเลือกเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษา โดยจะรับความเห็นและข้อเสนอแนะจากการประชุมเสวนาทั้ง 2 ครั้งไปพิจารณาต่อไป
ทั้งนี้ ที่ประชุมได้มีมติร่วมกันดังนี้
1. มอบให้ สกอ.ทำหนังสือถึงมหาวิทยาลัยทั่วประเทศ เพื่อขอความร่วมมือว่า หากมหาวิทยาลัยใดยังไม่ได้ดำเนินการรับนิสิตนักศึกษาในปีการศึกษา 2557 ให้ไปจัดสอบหลังจากที่นักเรียนได้เรียนจบการศึกษาแล้ว แต่หากมหาวิทยาลัยใดดำเนินการรับนักศึกษาไปแล้วก็ให้ชี้แจงเหตุผล และความจำเป็นของการคัดเลือกที่ดำเนินการไปก่อนหน้านี้
2.ในปีการศึกษา 2558 ขอให้มหาวิทยาลัยทุกแห่งไม่จัดสอบรับตรงเอง แต่หากจะรับตรง ขอให้มาใช้ระบบคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาผ่าน
3.
|
ข่าวสำนักงานรัฐมนตรี ศธ.
( คลิ๊ก ) สมัครติวสอบครูผู้ช่วย รอบ 2 ปี 56-57 (10 จุด) ที่
... เน็ตช้า คลิ๊กที่ http://tuewsob.blogspot.com
... ห้องวิชาเอกครู คลิ๊กที่ http://uewsob2011.blogspot.com
... (ห้องข้อสอบใหม่) ..สอบครู..สอบผู้บริหาร..สอบบุค ลากร ที่
"ติวสอบดอทคอม "
ผอ.นิกร เพ็งลี
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น