ติวสอบออนไลน์ ชุด นโยบายรัฐบาล
ลิงค์ข้อสอบ ที่เกี่ยวข้องกับ "นโยบายรัฐบาล" โดย ติวสอบดอทคอม
http://tuewsob.blogspot.com/2013/11/blog-post_4.html
http://www.tuewsob.com/rr164.html
http://www.tuewsob.com/rr%20157%20pu%201.html
http://tuewsob.blogspot.com/2013/10/132556.html
http://tuewsob.blogspot.com/2013/10/blog-post_31.html
http://www.tuewsob.com/rr164.html
http://www.tuewsob.com/rr%20157%20pu%201.html
http://tuewsob.blogspot.com/2013/10/132556.html
http://tuewsob.blogspot.com/2013/10/blog-post_31.html
( คลิ๊ก ) สมัครติวสอบครูผู้ช่วย รอบ 2 ปี 56-57 (10 จุด) ที่
วันนี้ (19
พฤศจิกายน 2556) เมื่อเวลา 09.00 น. ณ ห้องประชุมคณะรัฐมนตรี ชั้น 2 สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี
ทำเนียบรัฐบาล นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร
นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เป็นประธานการประชุมคณะรัฐมนตรี
จากนั้น นายธีรัตถ์ รัตนเสวี โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี พร้อมด้วย นายภักดีหาญส์ หิมะทองคำ และร้อยโทหญิง
สุณิสา เลิศภควัต รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ได้แถลงข่าวผลการประชุมคณะรัฐมนตรี
สรุปสาระสำคัญได้ดังนี้
กฎหมาย
1.
เรื่อง ร่างพระราชบัญญัติกำลังสำรอง
พ.ศ. ....
2. เรื่อง
ร่างกฎกระทรวง ฉบับที่ .. (พ.ศ. ....) ออกตามความในพระราชบัญญัติส่งเสริมการ ฝึกวิชาทหาร พ.ศ. 2503
3. เรื่อง ร่างพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร
ว่าด้วยการลดอัตรา รัษฎากร
(ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... (มาตรการปรับปรุงบัญชีอัตราภาษีเงินได้สำหรับ บุคคลธรรมดา)
4. เรื่อง ร่างพระราชกฤษฎีกาให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกรุงเทพมหานคร
เขตเลือกตั้งที่
7 เขตเลือกตั้งที่ 26 เขตเลือกตั้งที่ 29 จังหวัดชุมพร เขตเลือกตั้ง ที่ 1 จังหวัดตรัง เขตเลือกตั้งที่ 2
จังหวัดนครศรีธรรมราช เขตเลือกตั้งที่ 3
จังหวัดสงขลา
เขตเลือกตั้งที่ 6 และจังหวัดสุราษฎร์ธานี เขตเลือกตั้งที่ 2 แทน ตำแหน่งที่ว่าง พ.ศ. ....
เศรษฐกิจ- สังคม
5. เรื่อง
มติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติครั้งที่ 5 พ.ศ.
2555 เรื่อง การจัดระบบและโครงสร้าง เพื่อส่งเสริมการเดินและการใช้จักรยานในชีวิตประจำวัน พร้อมข้อสังเกตของ คณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ
6. เรื่อง ร่างนโยบายและแผนยุทธศาสตร์การจัดการเรื่องราวร้องทุกข์
พ.ศ. ….
7. เรื่อง
มาตราการทางภาษีอากรและค่าธรรมเนียมเพื่อสนับสนุนการปรับปรุง
โครงสร้างหนี้
8. เรื่อง แนวทางการดำเนินโครงการบัตรสมาชิกพิเศษ
(Thailand Privilege Card)
9. เรื่อง โครงการขยายเขตไฟฟ้าให้บ้านเรือนราษฎรรายใหม่
10. เรื่อง สมาคมญาติและวีรชน
14 ตุลา 16 ขอให้พิจารณาจ่ายเงินดำรงชีพแก่ผู้ได้รับ ผลกระทบจากเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516
11. เรื่อง ขออนุมัติอัตรากำลังเพิ่มใหม่ของคณะแพทยศาสตร์
มหาวิทยาลัยนราธิวาส
ราชนครินทร์
12. เรื่อง ขออนุมัติเงินงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ
พ.ศ. 2557 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น
เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการบริหาร จัดการเกี่ยวกับระบบการเตือนภัยพิบัติ
และการเก็บกู้และบำรุงรักษาทุ่น
13. เรื่อง การให้สิทธิพิเศษแก่ประเทศพัฒนาน้อยที่สุด โดยการยกเลิกภาษีนำเข้าและ โควตา (DFQF)
14. เรื่อง ร่างประกาศกระทรวงการคลัง
เรื่อง ลดอัตราภาษีสรรพสามิต (ฉบับที่ ..)
ต่างประเทศ
15. เรื่อง ขอทบทวนมติคณะรัฐมนตรีเรื่อง
พิธีสารเพื่ออนุวัติข้อผูกพันชุดที่ 9 ภายใต้กรอบ ความตกลงว่าด้วยบริการของอาเซียน
และข้อผูกพันเปิดตลาดการค้าบริการ
ชุดที่ 9
ของไทยภายใต้กรอบความตกลงว่าด้วยบริการของอาเซียน
16.
เรื่อง
พิธีสารแก้ไขความตกลงว่าด้วยการลงทุนอาเซียน
17.
เรื่อง ขอความเห็นต่อร่างความตกลงว่าด้วยการจัดหาและการบริการต่างฝ่ายระหว่าง กระทรวงกลาโหมแห่งราชอาณาจักรไทยและกระทรวงกลาโหมแห่งสหรัฐอเมริกา
(ACQUISITION
AND CROSS – SERVICING AGREEMENT BETWEEN THE MINISTRY
OF DEFENSE OF THE KINGDOM OF THAILAND AND THE DEPARTMENT
OF DEFENSE OF THE UNITED STATES OF AMERICA)
18.
เรื่อง การขอความเห็นชอบให้เลขาธิการอาเซียนลงนามในข้อตกลงทางการเงิน (Financial Agreement Special Edition –
FA) ภายใต้โครงการ EU Support to Higher Education in ASEAN
Region (EU SHARE)
19.
เรื่อง การจัดสรรเงินกู้เพื่อปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจ (Structural
Adjustment Loan : SAL) เพื่อสนับสนุนโครงการศึกษาและวิเคราะห์ผลกระทบจากโครงการ ลงทุนโครงสร้างพื้นฐานของรัฐบาล
และโครงการศึกษาและวิเคราะห์ผลกระทบ จากการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน
20. เรื่อง ร่างปฏิญญามานามาสำหรับการประชุมรัฐมนตรีกรอบความร่วมมือเอเชีย
ครั้งที่ 12
แต่งตั้ง
21. เรื่อง
แต่งตั้ง
1. แต่งตั้งกรรมการวินิจฉัยการเปิดเผยข้อมูลข่าวสาร
2. แต่งตั้งข้าราชการ (กระทรวงพลังงาน)
3. แต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการอื่นในคณะกรรมการการเคหะแห่งชาติ
*****************************************************
เอกสารชุดนี้เป็นเอกสารข่าวสรุปผลการประชุมคณะรัฐมนตรีเท่านั้น
สำหรับมติคณะรัฐมนตรีอย่างเป็นทางการกรุณาตรวจสอบที่สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี
โทร .
0 2280-9000 ต่อ 268 หรือ 436
สำนักโฆษกขอเชิญติดตามการถ่ายทอดสดการแถลงข่าวผลการประชุมคณะรัฐมนตรี
ทุกวันอังคาร
หรือวันที่มีการประชุม ทางสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย ทาง F.M. 92.5
ในเขตกรุงเทพมหานคร
ส่วนต่างจังหวัด
รับฟังได้ทางสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทยประจำจังหวัด
สำนักโฆษก สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี โทร. 0 2288-4396
กฎหมาย
1.
เรื่อง ร่างพระราชบัญญัติกำลังสำรอง พ.ศ.
....
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างพระราชบัญญัติกำลังสำรอง
พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงกลาโหม (กห.) เสนอ
และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา
แล้วส่งให้คณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎรพิจารณา
ก่อนเสนอสภาผู้แทนราษฎรพิจารณาต่อไป
ทั้งนี้ กห. เสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาว่า
โดยที่รัฐต้องพิทักษ์รักษาไว้ซึ่งสถาบันพระมหากษัตริย์ เอกราชอธิปไตย
และบูรณภาพแห่งเขตอำนาจรัฐ ต้องจัดให้มีกำลังทหาร
อาวุธยุทโธปกรณ์และเทคโนโลยีที่ทันสมัยจำเป็นและเพียงพอ เพื่อพิทักษ์รักษาเอกราช
อธิปไตยความมั่นคงของรัฐ สถาบันพระมหากษัตริย์ ผลประโยชน์แห่งชาติ
และการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
และเพื่อการพัฒนาประเทศ ประกอบกับ กห. มีอำนาจหน้าที่พิทักษ์รักษาเอกราช
และความมั่นคงแห่งราชอาณาจักรจากภัยคุกคามทั้งภายนอกและภายในราชอาณาจักร
ปราบปรามการกบฏและการจลาจล จึงควรจัดให้มีกำลังสำรองเพื่อสนับสนุนการปฏิบัติงานของ
กห.
ดังนั้น
เพื่อให้มีกำลังสำรองเพื่อสนับสนุนการปฏิบัติงานของ กห.
เห็นควรให้มีการจัดเตรียมความพร้อมของกำลังสำรอง ด้วยการเพิ่มพูนความรู้
ด้านการทหาร การแก้ไข ปัญหาภัยคุกคามในรูปแบบต่าง ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการช่วยเหลือและบรรเทาภัยพิบัติ
ทั้งนี้ หากเกิดภัยคุกคามทางทหารที่ต้องใช้กำลังทหารขนาดใหญ่
หรือเกิดภัยพิบัติสาธารณะ
จะต้องสามารถเรียกกำลังสำรองเข้ามาปฏิบัติหน้าที่ร่วมกับกำลังทหารประจำการได้ด้วยความรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ
สาระสำคัญของร่างพระราชบัญญัติ
1. กำหนดชื่อ
“พระราชบัญญัติกำลังสำรอง พ.ศ. ....” เพื่อให้สอดคล้องกับพระราชบัญญัติ จัดระเบียบราชการกระทรวงกลาโหม พ.ศ. 2551
มาตรา 26 ซึ่งกำหนดให้
กห. จัดให้มีกำลังสำรองเพื่อสนับสนุน
การปฏิบัติงานของ กห.
2. กำหนดให้ใช้บังคับพระราชบัญญัติเมื่อพ้นกำหนด
240
วัน นับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษา
3. กำหนดบทนิยาม
“กำลังสำรอง” “กิจการกำลังสำรอง” “บัญชีบรรจุกำลัง”
“การเรียกกำลังสำรองเพื่อตรวจสอบ” “การเรียกกำลังสำรองเพื่อฝึกวิชาทหาร”
“การเรียกกำลังสำรองเพื่อปฏิบัติราชการ” “การเรียกกำลังสำรองเพื่อทดลองความพรั่งพร้อม”
“การระดมพล” “ภาวะไม่ปกติ” “สถานการณ์ฉุกเฉิน” “ภูมิลำเนากำลังสำรอง” “นายจ้าง”
“ลูกจ้าง” “พนักงานเจ้าหน้าที่” และ “รัฐมนตรี”
4. กำหนดผู้รักษาการตามกฎหมาย
โดยให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ และให้มีอำนาจแต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่กับออกกฎกระทรวงและข้อปฏิบัติอื่น
ๆ ที่เกี่ยวข้อง
5. กำหนดให้มีคณะกรรมการขึ้นคณะหนึ่ง
เรียกว่า “คณะกรรมการกำลังสำรอง” ชื่อย่อ “คกส.” มีนายกรัฐมนตรีหรือรองนายกรัฐมนตรี ซึ่งนายกรัฐมนตรีมอบหมายเป็นประธานกรรมการ
6. กำหนดระยะเวลาการดำรงตำแหน่งและการพ้นจากตำแหน่งของกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
7. กำหนดอำนาจหน้าที่ของ
“คกส.”
8. กำหนดให้กรมการสรรพกำลังกลาโหมทำหน้าที่สำนักงานเลขานุการของ
คกส.
9. กำหนดให้
กห. บรรจุรายชื่อกำลังสำรองในบัญชีบรรจุกำลังของหน่วยทหารและแจ้งให้กำลังสำรองทราบ
รวมถึงกำหนดแนวทางในการควบคุมกำลังสำรอง
10. กำหนดหน้าที่ในการเข้ารับราชการทหารของกำลังสำรอง
11. กำหนดให้
กห.
มีอำนาจรับสมัครบุคคลที่มีสถานะเป็นกำลังสำรองเพื่อเข้ารับราชการทหารเป็นการชั่วคราวตามระยะเวลาที่
กห. กำหนด
12. กำหนดให้กำลังสำรองที่เข้ารับราชการทหารตามพระราชบัญญัติกำลังสำรอง
พ.ศ. .... ต้องอยู่ ในวินัยทหารตามกฎหมายว่าด้วยวินัยทหาร
มีฐานะเช่นเดียวกับข้าราชการทหาร หรือทหารกองประจำการ ซึ่งหมายความว่า
กำลังสำรองที่เข้ารับราชการทหารตามมาตรา 15 มาตรา
16
และมาตรา 18 ของพระราชบัญญัตินี้
มีฐานะเช่นเดียวกับข้าราชการทหาร
หรือทหารกองประจำการ และต้องอยู่ในวินัยทหารตามพระราชบัญญัติว่าด้วยวินัยทหาร พ.ศ.
2476
13. กำหนดสิทธิประโยชน์ต่าง
ๆ ที่กำลังสำรองพึงจะได้รับเมื่อเข้ารับราชการทหาร ตามพระราชบัญญัติกำลังสำรอง
พ.ศ. ....
14. กำหนดบทกำหนดโทษกำลังสำรองหลีกเลี่ยง
ขัดขืนไม่เข้ารับราชการทหาร
2. เรื่อง ร่างกฎกระทรวง ฉบับที่ .. (พ.ศ. ....)
ออกตามความในพระราชบัญญัติส่งเสริมการฝึกวิชาทหาร พ.ศ.
2503
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงฉบับที่ .. (พ.ศ. ….) ออกตามความในพระราชบัญญัติส่งเสริมการฝึกวิชาทหาร พ.ศ. 2503 ตามที่กระทรวงกลาโหม (กห.) เสนอ
และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วดำเนินการต่อไปได้
กห. รายงานว่า
1. เนื่องจากอายุสำหรับบุคคลผู้มีสิทธิสมัครเข้ารับการฝึกวิชาทหารยังไม่สอดคล้องกับอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก
(ข้อ 38 วรรคสาม) และพิธีสารเลือกรับของอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก
เรื่อง ความเกี่ยวพันของเด็กในความขัดแย้งกันด้วยอาวุธ (ข้อ 3 วรรคหนึ่ง) ในการที่จะให้บุคคลนั้น
เมื่อเข้ามารับการฝึกวิชาทหารแล้วสามารถ
ใช้อาวุธทำการฝึกได้จึงจำเป็นต้องกำหนดเกณฑ์อายุของบุคคลที่จะมีสิทธิสมัครเข้ารับการฝึกวิชาทหาร
โดยกำหนดเกณฑ์ขั้นต่ำ คือ มีอายุไม่ต่ำกว่าสิบห้าปีบริบูรณ์ ณ วันที่ 31 พฤษภาคม ของปีปฏิทินที่สมัคร
2. ดังนั้น จำเป็นต้องแก้ไขเพิ่มเติมกฎกระทรวง ฉบับที่ 10 (พ.ศ. 2528) ออกตามความในพระราชบัญญัติส่งเสริมการฝึกวิชาทหาร พ.ศ. 2503 เพื่อให้สอดคล้องกับอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก
และพิธีสาร เลือกรับของอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก
เรื่อง ความเกี่ยวพันของเด็กในความขัดแย้งกันด้วยอาวุธตามข้อ 1
สาระสำคัญของร่างกฎกระทรวง
แก้ไขเพิ่มเติมกฎกระทรวง ฉบับที่ 10 (พ.ศ. 2528) ออกตามความในพระราชบัญญัติส่งเสริมการฝึกวิชาทหาร พ.ศ. 2503 โดยให้ยกเลิกความใน (4) ของข้อ 2 แห่งกฎกระทรวงดังกล่าว
และกำหนดอายุขั้นต่ำของบุคคลที่จะมีสิทธิสมัครเข้ารับการฝึกวิชาทหาร คือ
มีอายุไม่ต่ำกว่าสิบห้าปีบริบูรณ์ ณ วันที่ 31 พฤษภาคม ของปีปฏิทิน ที่สมัคร
เพื่อให้สอดคล้องกับอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก
และพิธีสารเลือกรับของอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก เรื่อง ความเกี่ยวพันของเด็กในความขัดแย้งกันด้วยอาวุธ
3. เรื่อง ร่างพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร
ว่าด้วยการลดอัตรารัษฎากร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....
(มาตรการปรับปรุงบัญชีอัตราภาษีเงินได้สำหรับบุคคลธรรมดา)
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร
ว่าด้วยการลดอัตรารัษฎากร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....
(มาตรการปรับปรุงบัญชีอัตราภาษีเงินได้สำหรับบุคคลธรรมดา) ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ
และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วดำเนินการต่อไปได้
สาระสำคัญของร่างพระราชกฤษฎีกา
ปรับปรุงบัญชีอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสำหรับการคำนวณเงินได้สุทธิจาก
5 ขั้นอัตรา เป็น 7
ขั้นอัตรา และลดอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาจากอัตราสูงสุดร้อยละ 37 เป็นร้อยละ 35
โดยมีรายละเอียดเปรียบเทียบอัตราภาษีเดิมและอัตราภาษีใหม่ ดังนี้
อัตราภาษีเงินได้ที่ใช้บังคับในปัจจุบัน
ตาม พรก.
แก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร
(ฉบับที่ 16) พ.ศ. 2534
อัตราภาษีตามข้อเสนอ
เงินได้สุทธิตั้งแต่
(บาท)
อัตราภาษี
(ร้อยละ)
เงินได้สุทธิตั้งแต่
(บาท)
อัตราภาษี
(ร้อยละ)
0-100,000
5
0-300,000
5
100,001-500,000
10
300,001-500,000
10
500,001-750,000
15
500,001-1,000,000
20
750,001-1,000,000
20
1,000,001-2,000,000
25
1,000,001-4,000,000
30
2,000,001-4,000,000
30
4,000,001 ขึ้นไป
37
4,000,001 ขึ้นไป
35
4. เรื่อง
ร่างพระราชกฤษฎีกาให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกรุงเทพมหานคร
เขตเลือกตั้งที่ 7 เขตเลือกตั้งที่
26 เขตเลือกตั้งที่ 29 จังหวัดชุมพร เขตเลือกตั้งที่ 1 จังหวัดตรัง
เขตเลือกตั้งที่ 2 จังหวัดนครศรีธรรมราช เขตเลือกตั้งที่ 3 จังหวัดสงขลา
เขตเลือกตั้งที่ 6 และจังหวัดสุราษฎร์ธานี เขตเลือกตั้งที่ 2 แทนตำแหน่งที่ว่าง พ.ศ. ....
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างพระราชกฤษฎีกาให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกรุงเทพมหานคร
เขตเลือกตั้งที่ 7 เขตเลือกตั้งที่ 26 เขตเลือกตั้งที่ 29 จังหวัดชุมพร
เขตเลือกตั้งที่ 1 จังหวัดตรัง เขตเลือกตั้งที่
2 จังหวัดนครศรีธรรมราช เขตเลือกตั้งที่ 3 จังหวัดสงขลา เขตเลือกตั้งที่ 6
และจังหวัดสุราษฎร์ธานี เขตเลือกตั้งที่ 2 แทนตำแหน่งที่ว่าง พ.ศ. ....
ตามที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา ตามที่สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง
(กกต.) เสนอ และให้ดำเนินการต่อไปได้
กกต. เสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาว่า
สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรได้แจ้งหนังสือขอลาออกจากการเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
ลงวันที่ 12 พฤศจิกายน 2556 ของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกรุงเทพมหานคร เขตเลือกตั้งที่
7 เขตเลือกตั้งที่ 26 เขตเลือกตั้งที่ 29 จังหวัดชุมพร เขตเลือกตั้งที่ 1
จังหวัดตรัง เขตเลือกตั้งที่ 2 จังหวัดนครศรีธรรมราช เขตเลือกตั้งที่ 3
จังหวัดสงขลา เขตเลือกตั้งที่ 6 และจังหวัดสุราษฎร์ธานี เขตเลือกตั้งที่ 2 ที่ได้ยื่นหนังสือขอลาออกจากตำแหน่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
ต่อประธานสภาผู้แทนราษฎร โดยขอลาออกตั้งแต่วันที่ 11 พฤศจิกายน 2556
และในคราวประชุมคณะกรรมการการเลือกตั้ง ครั้งที่ 90/2556 วันที่ 13 พฤศจิกายน 2556
ได้มีมติให้เสนอร่างพระราชกฤษฎีกาให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกรุงเทพมหานคร
เขตเลือกตั้งที่ 7 เขตเลือกตั้งที่ 26 เขตเลือกตั้งที่ 29 จังหวัดชุมพร
เขตเลือกตั้งที่ 1 จังหวัดตรัง เขตเลือกตั้งที่ 2 จังหวัดนครศรีธรรมราช
เขตเลือกตั้งที่ 3 จังหวัดสงขลา เขตเลือกตั้งที่ 6 และจังหวัดสุราษฎร์ธานี
เขตเลือกตั้งที่ 2 แทนตำแหน่งที่ว่าง พ.ศ. .... โดยกำหนดให้วันอาทิตย์ที่ 22
ธันวาคม 2556 เป็นวันเลือกตั้ง ทั้งนี้
คณะกรรมการการเลือกตั้งได้กำหนดกรอบระยะเวลาดำเนินการ
โดยกำหนดวันรับสมัครเลือกตั้งในระหว่างวันจันทร์ที่ 2 ธันวาคม 2556 ถึงวันศุกร์ที่
6 ธันวาคม 2556
เพื่อให้ผู้สมัครรับเลือกตั้งมีระยะเวลาเพียงพอในการหาเสียงเลือกตั้ง
และกำหนดวันประกาศร่างพระราชกฤษฎีกาฯ ในราชกิจจานุเบกษา วันเสาร์ที่ 30 พฤศจิกายน
2556
สาระสำคัญของร่างพระราชกฤษฎีกา เป็นการกำหนดให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกรุงเทพมหานคร
เขตเลือกตั้งที่ 7 เขตเลือกตั้งที่ 26 เขตเลือกตั้งที่ 29 จังหวัดชุมพร
เขตเลือกตั้งที่ 1 จังหวัดตรัง เขตเลือกตั้งที่
2 จังหวัดนครศรีธรรมราช เขตเลือกตั้งที่ 3 จังหวัดสงขลา เขตเลือกตั้งที่ 6
และจังหวัดสุราษฎร์ธานี เขตเลือกตั้งที่ 2 แทนตำแหน่งที่ว่าง ในวันที่ 22 ธันวาคม
2556 โดยให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเขต
5. เรื่อง ร่างประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ลดอัตราภาษีสรรพสามิต (ฉบับที่
..)
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังอาศัยอำนาจตามความในมาตรา
103 แห่งพระราชบัญญัติภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2527
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติภาษีสรรพสามิต (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2534
ออกประกาศกระทรวงการคลังเพื่อขยายเวลาการปรับลดอัตราภาษีน้ำมันดีเซลออกไปอีก 1
เดือน คือ ตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2556 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2556
ตามที่กระทรวงการคลัง (กค.) เสนอ
สาระสำคัญของเรื่อง
กค. รายงานว่า เนื่องจากมาตรการของรัฐบาลในการปรับลดอัตราภาษีน้ำมันดีเซลจะสิ้นสุดลงในวันที่
30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556
แต่โดยที่ขณะนี้ราคาขายปลีกน้ำมันยังคงมีราคาสูง
ซึ่งหากมีการปรับเพิ่มอัตราภาษีน้ำมันดีเซลในระยะนี้จะทำให้ประชาชนมีภาระค่าใช้จ่ายเพิ่มสูงขึ้นอีก ดังนั้น
เพื่อเป็นการบรรเทาภาระค่าครองชีพของประชาชน
กระทรวงการคลังจึงเห็นควรขยายเวลาการปรับลดอัตราภาษีสรรพสามิตน้ำมันดีเซลที่มีปริมาณกำมะถันไม่เกินร้อยละ
0.005 โดยน้ำหนัก ในอัตราภาษี 0.005 บาทต่อลิตร
และน้ำมันดีเซลที่มีไบโอดีเซลประเภทเมทิลเอสเตอร์ของกรดไขมันผสมอยู่ไม่น้อยกว่าร้อยละ
4 ในอัตราภาษี 0.005 บาทต่อลิตร ออกไปอีก 1 เดือน คือตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ.
2556 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2556
ซึ่งการลดอัตราภาษีน้ำมันดีเซลดังกล่าวแม้จะส่งผลให้รายได้การจัดเก็บภาษีน้ำมันดีเซลลดลงประมาณ
9,000 ล้านบาท แต่จะเป็นการช่วยเหลือและบรรเทาภาระค่าครองชีพของประชาชน
เศรษฐกิจ- สังคม
6. เรื่อง
มติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติครั้งที่ 5 พ.ศ. 2555 เรื่อง การจัดระบบและโครงสร้างเพื่อส่งเสริมการเดิน
และการใช้จักรยานในชีวิตประจำวัน พร้อมข้อสังเกตของคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ
ครั้งที่ 5 พ.ศ. 2555 เรื่อง
การจัดระบบและโครงสร้างเพื่อส่งเสริมการเดินและการใช้จักรยานในชีวิตประจำวัน ตามที่คณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (คสช.) เสนอ และมอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับไปดำเนินการตามมติที่เกี่ยวข้อง
โดยให้อยู่ภายใต้กระบวนการของกฎหมาย ระเบียบ และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง
สาระสำคัญของมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ
ครั้งที่ 5 เมื่อวันที่ 19 ธันวาคม 2555 มีดังนี้
1.
มอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณาเร่งรัดดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในปี
2558
ดังนี้
หน่วยงานรับผิดชอบ
รายละเอียด
(1)
สำนักนายกรัฐมนตรี
กำหนดเป็นนโยบายหลักให้การเดินและการใช้จักรยานเป็นวิธีการเดินทางระยะสั้นที่สำคัญ
และทำหน้าที่ประสานงานหน่วยงานภาครัฐในการนำนโยบายนี้ไปปฏิบัติ
(2)
กระทรวงคมนาคม
ส่งเสริมการเชื่อมต่อการเดินทางกับระบบขนส่งสาธารณะด้วยการเดินเท้าและการใช้จักรยาน
ให้ความรู้ที่เน้นให้ความสำคัญต่อผู้เดินเท้าและผู้ใช้จักรยานทุกกลุ่มคนในการสอบเพื่อขอใบอนุญาตขับขี่ยานยนต์ทุกชนิด
(3)
กระทรวงมหาดไทย
(3.1) องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
แก้ไขปรับปรุงกฎกระทรวงออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร
และข้อบัญญัติท้องถิ่นให้ผู้เป็นเจ้าของอาคารขนาดใหญ่และอาคารสาธารณะรวมทั้งสถานีขนส่งสาธารณะ ต้องจัดให้มีที่จอดจักรยานที่สะดวก ปลอดภัย
และเพียงพอ
รวมถึงกำหนดให้จังหวัดมีหน้าที่สนับสนุนการเดินเท้าและใช้จักรยานให้เกิดผลเป็นรูปธรรม
(3.2) กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น
กำหนดให้การเดินและการใช้จักรยานเป็นระเบียบวาระขององค์กรปกครองท้องถิ่น
จัดทำโครงสร้างพื้นฐานให้เหมาะสมและปลอดภัยต่อการเดินเท้า การใช้ทางเท้าและ
การสัญจร ของคนพิการและการใช้จักรยาน กำหนดพื้นที่จำกัดความเร็วของยานยนต์
และช่องทางการเดิน การใช้จักรยาน มีสัญลักษณ์และป้ายบอกชัดเจนในเขตชุมชน
และประชาสัมพันธ์เผยแพร่ความรู้และรณรงค์อย่างต่อเนื่อง
สร้างความตื่นตัวและสนับสนุนกิจกรรม
ด้านการเดินและการใช้จักรยานในชีวิตประจำวันแก่สาธารณชน
(4)
กระทรวงศึกษาธิการ
กำหนดให้สถานศึกษามีหลักสูตรให้ความรู้และพัฒนาทักษะเกี่ยวกับการเดิน และการใช้จักรยาน เช่น
การให้ความรู้เกี่ยวกับทักษะการใช้สัญญาณมือ และไฟจักรยานกับผู้ขับขี่ให้ถูกต้อง
ปลอดภัยและสนับสนุนให้ใช้เครื่องป้องกันอันตรายส่วนบุคคล
อย่างต่อเนื่องแก่นักเรียนนักศึกษา รวมทั้งส่งเสริมและสนับสนุน
ให้เดินหรือใช้จักรยานในการเดินทางมาเรียน ด้วยการมีส่วนร่วมของนักเรียนนักศึกษา
ผู้ปกครอง และชุมชน และจัดให้มีสิ่งอำนวยความสะดวกในการเดินและการใช้จักรยานภายในสถานศึกษา
(5) กระทรวงอุตสาหกรรม
ส่งเสริมผู้ประกอบการธุรกิจและอุตสาหกรรมการผลิตสินค้าและให้บริการที่เกี่ยวกับการเดินและการใช้จักรยาน
และการใช้อุปกรณ์เครื่องช่วยคนพิการในการเดินทาง ที่มีคุณภาพได้มาตรฐาน
และราคาที่เป็นธรรม
(6)
กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา
รณรงค์ให้ประชาชนทั่วไปเดินและใช้จักรยานในชีวิตประจำวัน
และสนับสนุนกิจกรรมส่งเสริมการเดินและใช้จักรยานอย่างต่อเนื่อง
(7)
กระทรวงพลังงาน
มีนโยบายและมาตรการส่งเสริมการเดินทางที่ไม่ใช้เครื่องยนต์
ได้แก่ การเดินและการใช้จักรยาน และการใช้อุปกรณ์เครื่องช่วยคนพิการในการเดินทาง
(8)
กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา โดยการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย
สนับสนุนการท่องเที่ยวด้วยจักรยานและกระตุ้นให้ผู้ประกอบการที่พักมีจักรยานให้บริการนักท่องเที่ยว
(9)
กระทรวงการคลัง
มีมาตรการทางภาษีเพื่อสนับสนุน
ส่งเสริมและสร้างแรงจูงใจให้ประชาชนใช้จักรยานในชีวิตประจำวัน
(10)
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ
รณรงค์
และสร้างองค์ความรู้เพื่อผลักดันนโยบาย และเพื่อสร้างพฤติกรรมสุขภาพด้วยการเดินและการใช้จักรยานในชีวิตประจำวัน
2. มอบหมายสำนักนายกรัฐมนตรีสนับสนุนการมีส่วนร่วมเพื่อการจัดระบบและโครงสร้าง
เพื่อส่งเสริมการเดินและการใช้จักรยานในชีวิตประจำวัน ดังนี้
2.1
สนับสนุนกระบวนการจัดทำยุทธศาสตร์ “การจัดระบบและโครงสร้างเพื่อส่งเสริมการเดินและการใช้จักรยานในชีวิตประจำวัน”
ด้วยกระบวนการมีส่วนร่วมจากภาคส่วนต่าง ๆ ทั้งภาคประชาสังคม หน่วยงานภาครัฐ
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และภาคเอกชนที่เกี่ยวข้อง โดยพิจารณา (ร่าง)
ข้อเสนอยุทธศาสตร์การจัดระบบและโครงสร้างเพื่อส่งเสริมการเดินและการใช้จักรยานในชีวิตประจำวัน
ใน 4 ด้าน ดังนี้
(1)
ยุทธศาสตร์ด้านการบริหารและจัดการเพื่อให้เกิดการส่งเสริมการเดินและใช้จักรยานในชีวิตประจำวัน
(2)
ยุทธศาสตร์ด้านการสร้างและพัฒนาระบบและโครงสร้างเพื่อส่งเสริมการเดินและการใช้จักรยาน
(3)
ยุทธศาสตร์ด้านการส่งเสริมการเดินและการใช้จักรยาน ด้วยมาตรการทางกฎหมาย
ระเบียบข้อบังคับ และการเงิน
(4) ยุทธศาสตร์ด้านการสร้างองค์ความรู้ เผยแพร่ประชาสัมพันธ์ สร้าง
ความตระหนักตื่นตัวและทักษะ
รวมทั้งพัฒนาระบบข้อมูลข่าวสารและการจัดการความรู้ เกี่ยวกับ
การเดินและการใช้จักรยาน
2.2
สนับสนุนให้มีการจัดกระบวนการรับฟังความคิดเห็นต่อยุทธศาสตร์การจัดระบบฯ
และเสนอต่อสมัชชาสุขภาพแห่งชาติเฉพาะประเด็นเพื่อรับรองร่างยุทธศาสตร์การจัดระบบฯ
ให้เสร็จสิ้นภายใน ปี 2557
3.
มอบหมายให้ชมรมจักรยานเพื่อสุขภาพแห่งประเทศไทยเป็นแกนนำ ประสานกับ
ภาคีที่เกี่ยวข้องด้านการเดินและการใช้จักรยานและภาคีสมัชชาสุขภาพ
สร้างเครือข่ายความร่วมมือขับเคลื่อนการดำเนินงานเพื่อส่งเสริมการเดินและการใช้จักรยานในชีวิตประจำวัน
ร่วมในกระบวนการจัดทำยุทธศาสตร์การจัดระบบฯ
รวมทั้งการให้คำปรึกษา คำแนะนำ การสนับสนุนทางวิชาการ
การศึกษาดูงานเรียนรู้จากพื้นที่ที่ดำเนินงาน
4.
ให้เลขาธิการคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ รายงานความก้าวหน้าต่อที่ประชุมสมัชชาสุขภาพแห่งชาติครั้งที่
7
7. เรื่อง ร่างนโยบายและแผนยุทธศาสตร์การจัดการเรื่องราวร้องทุกข์
พ.ศ. ….
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างนโยบายและแผนยุทธศาสตร์การจัดการเรื่องราวร้องทุกข์
พ.ศ. …. ของคณะกรรมการจัดการเรื่องราวร้องทุกข์
ตามที่สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี (สปน.) เสนอ
ทั้งนี้ เห็นควรแยกประเด็นเรื่องราวร้องทุกข์ด้านปฏิบัติการ
และประเด็นด้านนโยบายให้ชัดเจน โดยประเด็นที่เป็นเรื่องราวร้องทุกข์ด้านปฏิบัติการให้เจ้าหน้าที่ดำเนินการได้โดยตรง
ส่วนประเด็นเรื่องราวร้องทุกข์ด้านนโยบายให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาต่อไป
เพื่อให้เป็นไปตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการจัดการเรื่องราวร้องทุกข์
พ.ศ. 2552 ข้อ 9 (1)
สาระสำคัญของร่างนโยบายและแผนยุทธศาสตร์การจัดการเรื่องราวร้องทุกข์
พ.ศ. …. สรุปสาระสำคัญได้ดังนี้
ส่วนที่ 1 ความนำ
กล่าวถึงรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยกับระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี
ว่าด้วยการจัดการเรื่องราวร้องทุกข์ พ.ศ. 2552 และความสัมพันธ์กับแผนบริหารราชการแผ่นดิน
ส่วนที่ 2 นโยบายและแผนยุทธศาสตร์การจัดการเรื่องราวร้องทุกข์
ซึ่งมี 4 ยุทธศาสตร์ ดังนี้
ยุทธศาสตร์ที่ 1 การพัฒนามาตรฐานการจัดการเรื่องราวร้องทุกข์
ยุทธศาสตร์ที่ 2 การบูรณาการระบบการจัดการเรื่องราวร้องทุกข์ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ
ยุทธศาสตร์ที่ 3 การส่งเสริมการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในการจัดการเรื่องราวร้องทุกข์
ยุทธศาสตร์ที่ 4 การสร้างภาพลักษณ์
ในการจัดการเรื่องราวร้องทุกข์ให้เป็นที่เชื่อถือและยอมรับ
ส่วนที่ 3 การขับเคลื่อนนโยบายและแผนยุทธศาสตร์การจัดการเรื่องราวร้องทุกข์ไปสู่การปฏิบัติจำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือจากหน่วยงานทุกภาคส่วน
ส่วนที่ 4 การติดตามและประเมินผลเป็นอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการการจัดการเรื่องราวร้องทุกข์
โดยให้มีการทบทวนนโยบายและแผนยุทธศาสตร์การจัดการเรื่องราวร้องทุกข์ทุกระยะเวลา 1 ปี
8. เรื่อง
มาตราการทางภาษีอากรและค่าธรรมเนียมเพื่อสนับสนุนการปรับปรุงโครงสร้างหนี้
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติและเห็นชอบตามที่กระทรวงการคลัง
(กค.) เสนอ ดังนี้
1. อนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกาและร่างกฎกระทรวง
รวม 2
ฉบับ ประกอบด้วย
ร่างพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ ..)
พ.ศ. .... และร่างกฎกระทรวง ฉบับที่ .. (พ.ศ.
....) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการจำหน่ายหนี้สูญจากบัญชีลูกหนี้
และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วดำเนินการต่อไปได้
2. เห็นชอบในหลักการร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย
รวม 2
ฉบับ ประกอบด้วย
ร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง หลักเกณฑ์การลดหย่อนค่าธรรมเนียมจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมเป็นพิเศษตามประมวลกฎหมายที่ดินสำหรับกรณีการปรับปรุงโครงสร้างหนี้
ตามหลักเกณฑ์ที่คณะรัฐมนตรีกำหนด และร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง
หลักเกณฑ์การลดหย่อนค่าธรรมเนียมจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมเป็นพิเศษตามกฎหมายว่าด้วยอาคารชุด
สำหรับกรณีการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ ตามหลักเกณฑ์ที่คณะรัฐมนตรีกำหนด
และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วดำเนินการต่อไปได้
สาระสำคัญของร่างกฎหมาย
1. ร่างพระราชกฤษฎีกาฯ
รวม 2
ฉบับ มีดังนี้
1.1 กำหนดให้ยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและภาษีเงินได้นิติบุคคลให้แก่ลูกหนี้ของสถาบันการเงินหรือลูกหนี้ของเจ้าหนี้อื่น
สำหรับเงินได้ที่รับการปลดหนี้ของสถาบันการเงินหรือเจ้าหนี้อื่น ทั้งนี้
เฉพาะการปลดหนี้ที่ได้กระทำในระหว่างวันที่ 1 มกราคม
2556
ถึงวันที่ 31 ธันวาคม
2557
1.2 กำหนดให้ยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
ภาษีเงินได้นิติบุคคล ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีธุรกิจเฉพาะ
และอากรแสตมป์ให้แก่ลูกหนี้ของสถาบันการเงินหรือลูกหนี้ของเจ้าหนี้อื่น
และสถาบันการเงินหรือเจ้าหนี้อื่น สำหรับเงินได้ที่รับจากการโอนทรัพย์สิน
การขายสินค้าหรือการให้บริการ และการกระทำตราสารอันเนื่องมาจากการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ของสถาบันการเงินหรือเจ้าหนี้อื่น
ทั้งนี้ เฉพาะการโอนทรัพย์สิน
การขายสินค้าหรือการให้บริการและการกระทำตราสารที่ได้กระทำในระหว่างวันที่ 1 มกราคม
2556
ถึงวันที่ 31 ธันวาคม
2557
1.3 กำหนดให้ยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
ภาษีเงินได้นิติบุคคล ภาษีธุรกิจเฉพาะ
และอากรแสตมป์ให้แก่ลูกหนี้ของสถาบันการเงินและผู้ค้ำประกันของลูกหนี้ที่จำนองอสังหาริมทรัพย์เป็นประกันหนี้กับเจ้าหนี้สถาบันการเงินและได้มีการขายอสังหาริมทรัพย์ดังกล่าวให้บุคคลอื่น
เพื่อนำเงินมาชำระหนี้แก่เจ้าหนี้สถาบันการเงิน ทั้งนี้
เฉพาะส่วนที่ไม่เกินกว่าหนี้ที่ค้างชำระอยู่กับสถาบันการเงินหรือมีภาระผูกพันตามสัญญาประกันหนี้กับสถาบันการเงินตามหลักเกณฑ์วิธีการ
และเงื่อนไขที่อธิบดีกรมสรรพากรประกาศกำหนด
โดยการโอนอสังหาริมทรัพย์และการกระทำตราสารต้องกระทำในระหว่างวันที่ 1 มกราคม
2556
ถึงวันที่ 31
ธันวาคม 2557
2. ร่างกฎกระทรวงฯ
รวม 2
ฉบับ มีดังนี้
กำหนดให้ยกเว้นการดำเนินการตามหลักเกณฑ์การจำหน่ายหนี้สูญจากบัญชีลูกหนี้ที่กรมสรรพากรกำหนด
สำหรับการจำหน่ายหนี้สูญจากบัญชีลูกหนี้ของเจ้าหนี้ซึ่งเป็นสถาบันการเงินหรือเจ้าหนี้อื่น
ในส่วนของหนี้ที่เจ้าหนี้ดังกล่าวได้ปลดหนี้ให้แก่ลูกหนี้อันเนื่องมาจากการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ตามหลักเกณฑ์การปรับปรุงโครงสร้างหนี้ของสถาบันการเงินที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกำหนด
ทั้งนี้ เฉพาะการปลดหนี้ที่ได้กระทำในระหว่างวันที่ 1 มกราคม
2556
ถึงวันที่ 31 ธันวาคม
2557
3. ร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย
รวม 2
ฉบับ มีดังนี้
3.1 กำหนดให้ลดหย่อนค่าธรรมเนียมจดทะเบียนสิทธินิติกรรมการโอนและการจำนองอสังหาริมทรัพย์ตามประมวลกฎหมายที่ดิน
เหลือร้อยละ 0.01
สำหรับการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ตั้งแต่วันที่กฎหมาย
มีผลใช้บังคับจนถึงวันที่ 31 ธันวาคม
2557
3.2 กำหนดให้ลดหย่อนค่าธรรมเนียมจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมการโอนและการจำนองห้องชุด
ตามประมวลกฎหมายว่าด้วยอาคารชุด เหลือร้อยละ 0.01 สำหรับกรณีการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ตั้งแต่วันที่กฎหมาย
มีผลใช้บังคับจนถึงวันที่ 31 ธันวาคม
2557
9. เรื่อง แนวทางการดำเนินโครงการบัตรสมาชิกพิเศษ (Thailand
Privilege Card)
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบและเห็นชอบตามมติคณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี
คณะที่ 1 (ฝ่ายเศรษฐกิจ) ในคราวประชุม ครั้งที่ 11/2556 เมื่อวันจันทร์ที่ 21
ตุลาคม 2556 ตามที่รองนายกรัฐมนตรี (นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง) ประธานกรรมการเสนอ
ดังนี้
1.
รับทราบการดำเนินการของบริษัท ไทยแลนด์ พริวิเลจ คาร์ด จำกัด
ที่จะมีการปรับปรุงการกำหนดรูปแบบประเภทบัตรสมาชิก ราคาบัตร
สิทธิประโยชน์/บริการต่าง ๆ และค่าธรรมเนียมการโอนให้สอดคล้องกับกลุ่มเป้าหมาย
รวมถึงการกำหนดค่าตอบแทน
(Commission) ให้มีความเหมาะสมมากขึ้น
ซึ่งเป็นอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการบริษัทฯ ตามข้อบังคับของบริษัทฯ อยู่แล้ว
ทั้งนี้ การดำเนินการดังกล่าวเห็นควรให้คณะกรรมการบริษัทฯ ดำเนินการอย่างโปร่งใส
คำนึงถึงผลกระทบต่อความมั่นคงของประเทศและผลประโยชน์ของบริษัทฯ
2.
การที่คณะกรรมการบริษัท ไทยแลนด์ พริวิเลจ คาร์ด จำกัด
เห็นควรให้มีการลงทุนหรือร่วมลงทุนกับกิจการอื่นที่เกี่ยวเนื่อง
โดยได้มีการพิจารณาแล้วว่าการดำเนินการจะก่อให้เกิดประโยชน์กับบริษัทฯ สมาชิก
และประเทศ ก็สามารถดำเนินการได้ตามอำนาจของคณะกรรมการบริษัทฯ ทั้งนี้
การดำเนินการต้องเป็นไปตามพระราชบัญญัติการให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ พ.ศ.
2556 รวมทั้งจะต้องเสนอเรื่องให้คณะกรรมการกำกับนโยบายด้านรัฐวิสาหกิจ
พิจารณาให้ความเห็นชอบก่อนนำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาตามขั้นตอนต่อไป
3.
มอบหมายให้สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ ศึกษาในรายละเอียด
เพื่อกำหนดแนวทางปฏิบัติในการจัดตั้งบริษัทลูกของรัฐวิสาหกิจ
ทั้งในกรณีรัฐวิสาหกิจถือหุ้นทั้งหมดหรือถือหุ้นเพียงบางส่วน
และให้สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ
นำเสนอคณะกรรมการกำกับนโยบายด้านรัฐวิสาหกิจ
พิจารณาให้ความเห็นชอบก่อนนำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาต่อไป
10. เรื่อง โครงการขยายเขตไฟฟ้าให้บ้านเรือนราษฎรรายใหม่
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามมติคณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี
คณะที่ 1 (ฝ่ายเศรษฐกิจ) ในคราวประชุม ครั้งที่ 11/2556 เมื่อวันจันทร์ที่ 21
ตุลาคม 2556 ตามที่รองนายกรัฐมนตรี
(นายกิตติรัตน์
ณ ระนอง ) ประธานกรรมการเสนอ
โดยมีมติเห็นชอบโครงการขยายเขตไฟฟ้าให้บ้านเรือนราษฎร รายใหม่ ของ กฟภ. วงเงินลงทุนรวม จำนวน
3,687 ล้านบาท โดยใช้เงินกู้ในประเทศ จำนวน 2,761 ล้านบาท และเงินรายได้ จำนวน 926
ล้านบาท ตามที่กระทรวงมหาดไทย (มท.) เสนอ และเห็นชอบให้การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค
(กฟภ.) กู้เงินในประเทศภายในกรอบวงเงิน
2,761 ล้านบาท เพื่อให้เป็นไปตามนัยของพระราชบัญญัติการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค พ.ศ. 2503
และที่แก้ไขเพิ่มเติม มาตรา 42 (2) โดยให้ กฟภ.
รับข้อสังเกตเพิ่มเติมของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องไปพิจารณาดำเนินการต่อไป
สาระสำคัญของโครงการขยายเขตไฟฟ้าให้บ้านเรือนราษฎรรายใหม่
ของ กฟภ. สรุปได้ ดังนี้
1.
วัตถุประสงค์ เพื่อขยายเขตระบบไฟฟ้าให้ครัวเรือนที่ไม่มีไฟฟ้าใช้ ได้มีไฟฟ้าใช้ครบทุกหลังคาเรือนตามนโยบายของรัฐบาล
2.
ระยะเวลาดำเนินการ ปี 2556-2560
3. พื้นที่ดำเนินการ
ในเขตพื้นที่รับผิดชอบของ กฟภ. (74 จังหวัด) ทั่วประเทศ
4. เป้าหมาย
ขยายเขตจำหน่ายไฟฟ้าให้ครัวเรือนราษฎรรายใหม่ จำนวน 131,629 ครัวเรือน
5. ปริมาณงาน
ก่อสร้างระบบจำหน่ายแรงสูง 2,300 วงจร-กิโลเมตร ก่อสร้างระบบจำหน่ายแรงต่ำ 10,770
วงจร-กิโลเมตร ติดตั้งหม้อแปลง 90,300 เควีเอ ติดตั้งมิเตอร์ 131,629 ชุด
6. แหล่งเงินทุน รวมทั้งสิ้น
3,687 ล้านบาท โดยใช้เป็นค่าจัดซื้อวัสดุอุปกรณ์ในประเทศ ค่าสำรวจและออกแบบ
ค่าควบคุมงาน ค่าแรงงาน ค่าขนส่ง ค่าเบ็ดเตล็ด และค่าเผื่อเหลือเผื่อขาด
โดยจะเบิกจ่ายจากเงินกู้ในประเทศ และ/หรือเงินรายได้ของ กฟภ.
โดยแยกตามแหล่งเงินได้ ดังนี้ เงินกู้ในประเทศ 2,761 ล้านบาท เงินรายได้ กฟภ. 926
ล้านบาท
7. ผลตอบแทนของโครงการ ทั้งด้านการเงินและด้านเศรษฐศาสตร์
โดยเปรียบเทียบระหว่างค่าใช้จ่ายของโครงการ และผลตอบแทนที่วัดเป็นตัวเงินได้
สรุปได้ดังนี้ ผลตอบแทนทางการเงิน ร้อยละ 4.59 ผลตอบแทนทางเศรษฐศาสตร์ ร้อยละ
17.76
8. ผลประโยชน์ของโครงการ
8.1
สนับสนุนนโยบายของรัฐบาล และแผนยุทธศาสตร์ของ มท.
โดยก่อสร้างขยายเขตบริการไฟฟ้าให้ครัวเรือนที่ไม่มีไฟฟ้าใช้ ครอบคลุมครัวเรือน
จำนวน 131,629 ครัวเรือน
8.2
ช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายด้านพลังงานให้แก่ครัวเรือนและภาพรวมของประเทศ
รวมทั้งเป็นการกระจายความเจริญไปสู่ส่วนภูมิภาคและชนบท
8.3 ช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชากร
8.4
ช่วยให้ประชาชนมีความรู้สึกว่าได้รับความเอาใจใส่จากรัฐบาล
11. เรื่อง สมาคมญาติและวีรชน 14 ตุลา 16
ขอให้พิจารณาจ่ายเงินดำรงชีพแก่ผู้ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามมติคณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี
คณะที่ 2 (ฝ่ายสังคมและกฎหมาย) ในคราวประชุมครั้งที่ 9/2556 เมื่อวันพฤหัสบดีที่
10 ตุลาคม 2556 ตามที่รองนายกรัฐมนตรี (นายพงศ์เทพ เทพกาญจนา )
ประธานกรรมการเสนอ ดังนี้
1.
เห็นชอบการจ่ายเงินดำรงชีพรายเดือนเป็นครั้งสุดท้ายแก่วีรชน 14 ตุลาคม 16
หรือทายาทของวีรชนและค่าจัดการศพกรณีวีรชน 14 ตุลา 16 ที่เสียชีวิตตั้งแต่ปี พ.ศ.
2552 ตามที่กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์เสนอ
2.
ให้กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จัดทำหลักฐานว่าผู้ได้รับผลกระทบฯ
ที่ได้รับเงินการช่วยเหลือเป็นเงินดำรงชีพในครั้งนี้ได้รับการเยียวยาที่เหมาะสมตามหลักมนุษยธรรมแล้ว
จะไม่เรียกร้องขอรับเงินช่วยเหลืออื่นใดจากทางราชการอีก
ทั้งนี้
งบประมาณสำหรับดำเนินการให้เป็นไปตามความเห็นของสำนักงบประมาณ
12. เรื่อง ขออนุมัติอัตรากำลังเพิ่มใหม่ของคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามมติคณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี
คณะที่ 2 (ฝ่ายสังคมและกฎหมาย) ในคราวประชุมครั้งที่ 10/2556 เมื่อวันพฤหัสบดีที่
24 ตุลาคม 2556 ตามที่รองนายกรัฐมนตรี (นายพงศ์เทพ เทพกาญจนา )
ประธานกรรมการเสนอ ดังนี้
1. ให้กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.)
ดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 27 ตุลาคม 2552 (เรื่อง
การขอสนับสนุนนโยบายการโอนย้ายข้าราชการจากส่วนราชการอื่นมารับราชการในมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
วิทยาเขตปัตตานี) ซึ่งอนุมัติในหลักการให้สถาบันอุดมศึกษาของรัฐที่มีวิทยาเขตในพื้นที่
3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ (ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส)
สามารถใช้อัตราข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาที่ว่างลงจากการเกษียณอายุและอัตราว่างโดยเหตุอื่น
เพื่อรองรับการโอนย้ายข้าราชการต่างประเภทจากส่วนราชการอื่นมาเป็นข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาได้เป็นกรณีพิเศษเฉพาะตัว
โดยต้องปฏิบัติงานในตำแหน่งวิชาการซึ่งทำหน้าที่สอนและวิจัยเท่านั้น
2.
ในส่วนกรอบอัตรากำลังเพิ่มใหม่ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2556-2560 ของคณะแพทยศาสตร์
มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์นั้น
เห็นสมควรให้การสนับสนุนอัตรากำลังเพิ่มใหม่ตำแหน่งพนักงานมหาวิทยาลัยเป็นกรณีพิเศษ
จำนวน 150 อัตรา โดยให้กระทรวงศึกษาธิการ (คณะแพทยศาสตร์
มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์)
ไปดำเนินการเกลี่ยอัตรากำลังให้เป็นสายผู้สอนและสายสนับสนุนตามความจำเป็นและเหมาะสม
3. ให้กระทรวงศึกษาธิการ
(มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ และ สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.)) และ
คณะกรรมการกำหนดเป้าหมายและนโยบายกำลังคนภาครัฐ (คปร.)
ไปพิจารณาดำเนินการปรับปรุงค่าตอบแทน สวัสดิการ สิทธิประโยชน์
รวมทั้งความก้าวหน้าในตำแหน่งหน้าที่ของพนักงานมหาวิทยาลัยที่มีวิทยาเขตในพื้นที่
3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ (ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส)
เพื่อแก้ปัญหาการขาดแคลนและสามารถดึงดูดและรักษาบุคลากรไว้ในระบบ
ภายใต้ความจำเป็นตามภาระงานของสถาบันอุดมศึกษาในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้
(ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส) ต่อไป
13. เรื่อง ขออนุมัติเงินงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2557 งบกลาง
รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น
เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการบริหารจัดการเกี่ยวกับระบบการเตือนภัยพิบัติ
และการเก็บกู้และบำรุงรักษาทุ่น
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามความเห็นของสำนักงบประมาณที่ให้สำนักงานปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
(ทก.)
ใช้จ่ายจากงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2557 แผนงานเตือนภัยพิบัติ
ผลผลิตการเตือนภัย
ที่ได้รับการจัดสรรงบประมาณแล้ว จำนวน 169,088,600 บาท เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการบริหารจัดการเกี่ยวกับระบบการเตือนภัยพิบัติในโอกาสแรกก่อน
หากในระยะต่อไปยังมีความจำเป็นที่จะต้องใช้จ่ายเพิ่มเติมให้ ทก.
พิจารณาปรับแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2557
หรือใช้จ่ายจากเงินกันไว้เบิกเหลื่อมปี
ที่คาดว่าจะไม่สามารถดำเนินการได้มาดำเนินการ
โดยให้ขอทำความตกลงกับสำนักงบประมาณขั้นตอนต่อไป
สำหรับค่าใช้จ่ายในการดำเนินการเก็บกู้และบำรุงรักษาทุ่น
จำนวน 1 ทุ่น ภายในกรอบวงเงิน จำนวน 21,500,000 บาทนั้น ให้กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารประสานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องที่มีอุปกรณ์ในการดำเนินการ
โดยขอให้ประสานกับกองทัพเรือเป็นลำดับแรก
14. เรื่อง การให้สิทธิพิเศษแก่ประเทศพัฒนาน้อยที่สุด โดยการยกเลิกภาษีนำเข้าและโควตา (DFQF)
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงพาณิชย์
(พณ.) เสนอดังนี้
1.
การให้สิทธิพิเศษแก่ประเทศพัฒนาน้อยที่สุด
(Least
Developed Countries L : LDCs) โดย
การยกเลิกภาษีนำเข้าและโควตา
(Dufy
Free / Quota free : DFQF)
รวมเป็นสินค้าทั้งสิ้น 6,998 รายการ คิดเป็นร้อยละ
73.21 ของรายการสินค้าทั้งหมด
2.
มอบหมายรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์หรือผู้แทนประกาศการดำเนินโครงการ
DFQF
ของไทยอย่างเป็นทางการ
ในการประชุมรัฐมนตรีองค์การการค้าโลก (World Trade
Organization : WTO) สมัยสามัญ ครั้งที่ 9 ระหว่างวันที่ 3-6
ธันวาคม 2556 ณ เมืองบาหลี ประเทศอินโดนีเซีย
และดำเนินการอื่น ๆ
ที่เกี่ยวข้องเพื่อให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ต่อไป
3.
แต่งตั้งคณะกรรมการป้องกันผลกระทบอันเนื่องจาก
“การให้สิทธิพิเศษแก่ประเทศพัฒนาน้อย
ที่สุด
โดยการยกเลิกภาษีนำเข้าและโควตา” เพื่อพิจารณาดำเนินการระงับสิทธิ การใช้มาตรการปกป้องภายใต้โครงการฯ
การทบทวนมาตรการป้องกันผลกระทบ การทบทวนโครงการฯ และกำกับดูแลโครงการฯ ในภาพรวม
โดยมีองค์ประกอบและอำนาจหน้าที่ดังนี้
องค์ประกอบ ประกอบด้วย ปลัดกระทรวงพาณิชย์
เป็นประธานกรรมการ
อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ เป็นรองประธานกรรมการ กรรมการประกอบด้วย
ผู้แทนกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ
ผู้แทนกรมศุลกากร ผู้แทนกรมสนธิสัญญาและกฎหมาย
ผู้แทนสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร ผู้แทนสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ผู้แทนสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
ผู้อำนวยการสำนักมาตรการปกป้องและตอบโต้ทางการค้า
โดยมี
ผู้อำนวยการกองสิทธิประโยชน์ทางการค้า เป็นกรรมการและเลขานุการ
อำนาจหน้าที่
(1)
กำหนดหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการระงับสิทธิพิเศษภายใต้โครงการให้สิทธิพิเศษแก่ประเทศ
พัฒนาน้อยที่สุด
โดยการยกเลิกภาษีนำเข้าและโควตา
รวมทั้งกำหนดมาตรการอื่นใดที่จำเป็นเพื่อป้องกันผลกระทบต่ออุตสาหกรรมหรือผู้ประกอบการภายใน
(2)
พิจารณาระงับสิทธิพิเศษภายใต้โครงการให้สิทธิพิเศษแก่ประเทศพัฒนาน้อยที่สุด
โดยการ
ยกเลิกภาษีนำเข้าและโควตาเป็นรายประเทศหรือเฉพาะรายการสินค้าภายใต้หลักเกณฑ์และเงื่อนไขการระงับสิทธิพิเศษตาม
(1) หรือกรณีตรวจพบความฉ้อฉลทางการค้าโดยการแอบอ้างแหล่งกำเนิดสินค้า
หรือเหตุอื่นใด
(3)
แจ้งผลการพิจารณาระงับสิทธิพิเศษตาม
(2) แก่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อพิจารณาดำเนินการ
ตามอำนาจหน้าที่
(4)
เชิญส่วนราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ องค์กรที่เกี่ยวข้อง
ผู้เชี่ยวชาญหรือบุคคลที่
เกี่ยวข้องมาชี้แจง
ให้ข้อมูลข้อคิดเห็น ส่งเอกสารหลักฐาน รายงานผลการดำเนินงาน หรือให้ความร่วมมือสนับสนุนการดำเนินงานของคณะกรรมการตามที่ได้รับการร้องขอ
(5)
แต่งตั้งคณะอนุกรรมการ และคณะทำงานเพื่อช่วยเหลือการดำเนินการของคณะกรรมการตาม
ความจำเป็นและเหมาะสม
(6)
เสนอแนะต่อคณะรัฐมนตรี
เพื่อพิจารณาทบทวนโครงการให้สิทธิพิเศษแก่ประเทศพัฒนาน้อย
ที่สุด
โดยการยกเลิกภาษีนำเข้าและโควตาเมื่อครบตามระยะเวลาดำเนินโครงการที่กำหนดไว้
สำหรับการเบิกจ่ายเบี้ยประชุมให้เป็นไปตามพระราชกฤษฎีกาเบี้ยประชุมคณะกรรมการ
พ.ศ.
2547 โดยเบิกจ่ายจากกรมการค้าต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์
ต่างประเทศ
15. เรื่อง
ขอทบทวนมติคณะรัฐมนตรีเรื่อง พิธีสารเพื่ออนุวัติข้อผูกพันชุดที่ 9
ภายใต้กรอบความตกลงว่าด้วยบริการของอาเซียน และข้อผูกพันเปิดตลาดการค้าบริการชุดที่
9 ของไทยภายใต้กรอบความตกลงว่าด้วยบริการของอาเซียน
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบพิธีสารอนุวัติข้อผูกพันชุดที่
9 ภายใต้กรอบความตกลงว่าด้วยบริการของอาเซียน
และข้อผูกพันเปิดตลาดการค้าบริการชุดที่ 9 ของไทย ภายใต้กรอบความตกลงว่าด้วยบริการของอาเซียน
ตามที่กระทรวงพาณิชย์เสนอ และให้เสนอรัฐสภาเพื่อขอความเห็นชอบตามมาตรา 190
ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยต่อไป
16.
เรื่อง
พิธีสารแก้ไขความตกลงว่าด้วยการลงทุนอาเซียน
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงอุตสาหกรรม
(อก.) เสนอ ดังนี้
1. เห็นชอบพิธีสารแก้ไขความตกลงว่าด้วยการลงทุนอาเซียน
2. ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์เป็นผู้ลงนามในพิธีสารแก้ไขความตกลงว่าด้วยการลงทุนอาเซียน
และต้องได้รับหนังสือมอบอำนาจเต็ม (Full Powers) ของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
3. ให้กระทรวงการต่างประเทศ
(กต.) จัดทำสัตยาบันสารสำหรับพิธีสารแก้ไขความตกลงว่าด้วยการลงทุนอาเซียน
และแจ้งต่อสำนักงานเลขาธิการอาเซียน เพื่อให้พิธีสารฯ มีผลใช้บังคับ
สาระสำคัญของพิธีสารแก้ไขความตกลงว่าด้วยกรลงทุนอาเซียน
(ASEAN
Comprehensive Investment Agreement :
ACIA)
มีดังนี้
1. วัตถุประสงค์หลักของพิธีสารแก้ไขความตกลง
ACIA
คือ
การเพิ่มเอกสารภาคผนวกเพื่อระบุขั้นตอนการแก้ไขรายการข้อสงวน
เพื่อรองรับการแก้ไขรายการข้อสงวนใน 3 กรณี
คือ
กรณีที่
1 การแก้ไขเพื่อเปิดเสรีเพิ่มเติมตามกำหนดใน
AEC
Blueprint
กรณีที่
2 การแก้ไขเพื่อเพิ่มเติมมาตรการที่ตกหล่นให้ครบถ้วนตามกฎหมาย
ภายในระยะเวลา 12
เดือน นับจากวันที่ความตกลง ACIA
มีผลใช้บังคับ (ภายใน 28 มีนาคม
2556)
กรณีที่
3 การแก้ไขให้มาตรการเข้มงวดขึ้นกว่าเดิมหลังความตกลง
ACIA
มีผลใช้บังคับครบ 12 เดือน
2. ขั้นตอนการแก้ไขรายงานข้อสงวนที่ระบุไว้ในพิธีสารแก้ไขความตกลง
ACIA
เป็นขั้นตอนที่อาเซียนใช้มาตั้งแต่ปี 2552
แต่ไม่เคยระบุเป็นลายลักษณ์อักษรให้ชัดเจนในความตกลงฉบับใด
โดยพิธีสารฯ กำหนดให้ประเทศที่ต้องการแก้ไขรายการข้อสงวนชี้แจงรายละเอียดต่อคณะกรรมการความร่วมมือด้านการลงทุนอาเซียน
(Coordinating
Committee on Investment : CCI) เพื่อให้มีการสอบถามเพิ่มเติม
เพื่อความโปร่งใสและสร้างความเข้าใจที่ถูกต้อง เมื่อไม่มีประเทศใดขัดข้อง
จึงเสนอต่อเลขาธิการอาเซียนอย่างเป็นทางการและเลขาธิการอาเซียนจะเป็นผู้เสนอรายการข้อสงวนที่มีการแก้ไขต่อรัฐมนตรีที่กำกับดูแลด้านการลงทุน
(AIA
Council) เพื่อขอการรับรอง
เมื่อได้รับการรับรองจาก AIA Council
ครบทั้ง 10
ประเทศแล้ว
จึงถือว่ารายการข้อสงวนที่แก้ไขนั้นมีผลใช้บังคับอย่างเป็นทางการ
ในกรณีของการแก้ไขรายการข้อสงวนที่ไม่ได้เป็นการเปิดเสรีเพิ่มเติม
ประเทศที่ได้รับผลกระทบสามารถขอเจรจาต่อรองเพื่อให้มีการชดเชยได้
17. เรื่อง
ขอความเห็นต่อร่างความตกลงว่าด้วยการจัดหาและการบริการต่างฝ่ายระหว่างกระทรวงกลาโหมแห่งราชอาณาจักรไทยและกระทรวงกลาโหมแห่งสหรัฐอเมริกา
(ACQUISITION
AND CROSS – SERVICING AGREEMENT BETWEEN THE MINISTRY OF DEFENSE OF THE KINGDOM
OF THAILAND AND THE DEPARTMENT OF DEFENSE OF THE UNITED STATES OF AMERICA)
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงกลาโหม
(กห.) เสนอ ดังนี้
1. ให้กระทรวงกลาโหมจัดทำความตกลงว่าด้วยการจัดหาและการบริการต่างฝ่ายระหว่างกระทรวงกลาโหมแห่งราชอาณาจักรไทยและกระทรวงกลาโหมแห่งสหรัฐอเมริกา
2. ให้รองเสนาธิการทหารเป็นผู้ลงนามในร่างความตกลงฯ
3. หากมีความจำเป็นที่จะต้องเปลี่ยนแปลงรายละเอียดของร่างความตกลงฯ
โดยไม่ส่งผลกระทบต่อสาระสำคัญของร่างความตกลงฯ ให้ กห.
พิจารณาดำเนินการได้ตามความเหมาะสม
สาระสำคัญของเรื่อง
กห. รายงานว่า
กห.
มีความประสงค์ที่จะจัดทำความตกลงว่าด้วยการจัดหาและการบริการต่างฝ่ายระหว่างกระทรวงกลาโหมแห่งราชอาณาจักรไทยและกระทรวงกลาโหมแห่งสหรัฐอเมริกา
เพื่อใช้แทนความตกลงฯ ฉบับเดิมที่หมดอายุเมื่อวันที่ 20 กันยายน 2556 โดยมีเนื้อหาเกี่ยวข้องกับการสนับสนุนอาหาร
น้ำ น้ำมัน ยารักษาโรค ชิ้นส่วนซ่อมที่จำเป็นเร่งด่วนทางการทหาร
และสิ่งอำนวยความสะดวกภายในค่ายทหารหรือท่าเรือขนถ่ายระหว่างกัน
โดยจะมีการจ่ายทดแทนเป็นเงิน
งบประมาณหรือของที่ยืมมาใช้ก่อนในภายหลังตามแต่จะตกลงกัน
ซึ่งได้ยกเว้นการสนับสนุนสิ่งอุปกรณ์ที่มีผลกระทบต่อความมั่นคงของประเทศ เช่น
ระบบอาวุธ ยุทโธปกรณ์ รายการอาวุธนำวิถี กระสุนและวัตถุระเบิด
ทั้งหมดไว้อย่างชัดเจน
อันจะเป็นการส่งเสริมความร่วมมือด้านการทหารที่จะนำไปสู่การยกระดับความร่วมมือด้านความมั่นคงและเสริมสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างกองทัพของทั้งสองประเทศในอนาคต
โดยร่างความตกลงฯ
ได้ผ่านการพิจารณาและได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการที่เกี่ยวข้องของ กห.
และฝ่ายสหรัฐอเมริกาแล้ว สาระสำคัญสรุปดังนี้
ความตกลงนี้กำหนดขึ้นเพื่ออำนวยความสะดวกในการสนับสนุนการส่งกำลังบำรุงต่างตอบแทนระหว่างคู่ภาคี
สำหรับใช้เป็นหลักในระหว่างการฝึกร่วม การฝึกอบรม การวางกำลัง การขอใช้ท่าเรือ การปฏิบัติการหรือความร่วมมืออื่น ๆ
หรือเหตุการณ์ที่มิได้คาดหมายล่วงหน้า หรือความจำเป็นเร่งด่วน
ซึ่งคู่ภาคีฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งอาจต้องการการสนับสนุนในการส่งกำลังบำรุง สิ่งอุปกรณ์
และการบริการ โดยแลกเปลี่ยนกับการชำระด้วยเงินสด
หรือการจัดการสนับสนุนในการส่งกำลังบำรุง สิ่งอุปกรณ์
และการบริการต่างตอบแทนให้กับกำลังทหารของคู่ภาคี ผู้จัดหาให้
18. เรื่อง
การขอความเห็นชอบให้เลขาธิการอาเซียนลงนามในข้อตกลงทางการเงิน (Financial
Agreement Special Edition – FA) ภายใต้โครงการ EU Support
to Higher Education in ASEAN Region (EU SHARE)
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบและอนุมัติตามที่กระทรวงศึกษาธิการ
(ศธ.) เสนอ ดังนี้
1. เห็นชอบ (ร่าง) ข้อตกลงทางการเงิน (Financial Agreement Special
Edition – FA) ภายใต้โครงการ EU Support to Higher Education
in ASEAN Region (EU SHARE) และภาคผนวก
และหากมีความจำเป็นต้องแก้ไขร่างเอกสารที่ไม่ใช่สาระสำคัญหรือไม่ขัดต่อผลประโยชน์ของประเทศไทย
ให้ ศธ. ดำเนินการได้ โดยไม่ต้องนำเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาอีก
2. อนุมัติให้เลขาธิการอาเซียนหรือผู้แทนลงนามใน (ร่าง) ข้อตกลงทางการเงิน (FA)
ภายใต้โครงการ EU SHARE
ในฐานะผู้ลงนามฝ่ายอาเซียน
3. อนุมัติให้ ศธ.
แจ้งเรื่องการให้ความเห็นชอบของไทยต่อสำนักเลขาธิการอาเซียน
โดยดำเนินการผ่านกระทรวงการต่างประเทศ (กต.) และคณะผู้แทนถาวรไทยประจำอาเซียน ณ
กรุงจาการ์ตา
สาระสำคัญของเรื่อง
ศธ. รายงานว่า
อาเซียนและสหภาพยุโรปสถาปนาความสัมพันธ์ระหว่างกันเป็นเวลากว่า 40 ปี (พ.ศ. 2515 – 2556)
และได้พัฒนาความร่วมมือระหว่างกันอย่างต่อเนื่อง และลึกซึ้งในทุกมิติโดยสหภาพยุโรปให้ความสำคัญต่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในฐานะเป็นกลไกขับเคลื่อนการพัฒนาระดับภูมิภาค
และได้ริเริ่มโครงการ EU Support to Higher Education in ASEAN Region (EU
SHARE) เพื่อเป็นเวทีแลกเปลี่ยนประสบการณ์ด้านการพัฒนาการจัดการศึกษาระดับอุดมศึกษาของสหภาพยุโรปและอาเซียนในฐานะที่เป็นองค์กรเหนือชาติ
(Supra – National Organization)
พร้อมให้การสนับสนุนกิจกรรมการพัฒนามาตรฐานการอุดมศึกษาในระดับประเทศและระดับภูมิภาค
รวมถึงส่งเสริมการใช้กระแสการเคลื่อนย้ายเสรีให้เป็นโอกาสในการเพิ่มพูนขีดความสามารถของทรัพยากรบุคคลให้ดำรงอยู่ในเวทีโลกได้อย่างมั่นคง
โดยสหภาพยุโรปกำหนดงบประมาณสนับสนุนการดำเนินกิจกรรมภายใต้โครงการดังกล่าวเป็นเงินทั้งสิ้น
10,300,000 ยูโร (แบ่งเป็นเงินสนับสนุนจากสหภาพยุโรป 10,000,000
ยูโร และจากแหล่งเงินทุนอื่น 300,000 ยูโร)
พร้อมระบุกิจกรรมที่ต้องดำเนินการ ได้แก่ 1) การจัดสัมมนาทางวิชาการเพื่อระดมความคิดเห็นในการจัดทำยุทธศาสตร์และแผนปฏิบัติการการพัฒนาการอุดมศึกษาของอาเซียน
2) การพัฒนากรอบคุณวุฒิและการประกันคุณภาพการศึกษาในภูมิภาค
และ 3) การพัฒนาระบบการถ่ายโอนหน่วยกิตระหว่างประเทศในอาเซียนและยุโรป
ซึ่งสำนักเลขาธิการอาเซียนจะให้การสนับสนุนด้านอาคารสถานที่พร้อมอุปกรณ์ที่จำเป็นสำหรับจัดตั้งสำนักงาน
รวมทั้งประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการประสานดำเนินงานให้บรรลุเป้าหมาย โดยประเทศสมาชิกอาเซียนไม่ต้องสนับสนุนทางการเงินแต่ประการใด
19.
เรื่อง การจัดสรรเงินกู้เพื่อปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจ (Structural
Adjustment Loan : SAL) เพื่อสนับสนุนโครงการศึกษาและวิเคราะห์ผลกระทบจากโครงการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานของรัฐบาล
และโครงการศึกษาและวิเคราะห์ผลกระทบจากการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบและอนุมัติตามที่กระทรวงการคลังเสนอ
ดังนี้
1.
เห็นชอบให้สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี
ดำเนินโครงการศึกษาและวิเคราะห์ผลกระทบจากโครงการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานของรัฐบาล
และโครงการศึกษาและวิเคราะห์ผลกระทบจากการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน
โดยอนุมัติให้ใช้เงินกู้เพื่อปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจ (Structural
Adjustment Loan : SAL) สำหรับโครงการศึกษาและวิเคราะห์ผลกระทบจากโครงการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานของรัฐบาล
จำนวน 400 ล้านบาท และโครงการศึกษาและวิเคราะห์ผลกระทบจากการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน
จำนวน 300 ล้านบาท
2.
อนุมัติให้สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีแต่งตั้งคณะกรรมการบริหารและติดตามโครงการ
โดยมีองค์ประกอบและอำนาจหน้าที่ดังนี้
องค์ประกอบ 1)
ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ประธานคณะกรรมการ 2)
เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ กรรมการ 3) ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ กรรมการ 4)
อธิบดีกรมบัญชีกลาง กรรมการ 5) ผู้แทนสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี กรรมการและเลขานุการร่วม
6) ผู้แทนสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี กรรมการและเลขานุการร่วม
อำนาจหน้าที่ 1)
บริหาร ติดตาม การดำเนินการทั้งสองโครงการให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของโครงการ 2)
รายงานผลการดำเนินโครงการให้คณะรัฐมนตรีทราบ
โดยให้สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีเป็นหน่วยงานดำเนินโครงการ
3.
การดำเนินโครงการดังกล่าว ให้สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีพิจารณาค่าใช้จ่ายต่าง
ๆ รวมถึงการจัดซื้อจัดจ้างตามกฎหมาย ระเบียบ
และข้อบังคับของทางราชการที่เกี่ยวข้อง โดยคำนึงถึงความจำเป็น คุ้มค่า
และมีประสิทธิภาพของการดำเนินโครงการด้วย
20. เรื่อง
ร่างปฏิญญามานามาสำหรับการประชุมรัฐมนตรีกรอบความร่วมมือเอเชีย ครั้งที่ 12
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงการต่างประเทศ เสนอ ดังนี้
1. เห็นชอบต่อร่างปฏิญญามานามาสำหรับการประชุมรัฐมนตรีกรอบความร่วมมือเอเชีย
ครั้งที่ 12
2. ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศหรือผู้ได้รับมอบหมายร่วมรับรองร่างปฏิญญาดังกล่าว
3. หากมีความจำเป็นต้องปรับปรุงแก้ไขเอกสารดังกล่าวที่ไม่ใช่สาระสำคัญหรือไม่ขัดต่อผลประโยชน์ของไทย
ให้กระทรวงการต่างประเทศดำเนินการได้ โดยไม่ต้องนำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาอีกครั้ง
สาระสำคัญของร่างปฏิญญามานามาเป็นเอกสารที่ระบุความคืบหน้าในการดำเนินงานที่ผ่านมาและแนวทางการดำเนินงานในอนาคตของกรอบความร่วมมือ ACD
ร่างปฏิญญาดังกล่าวเป็นเอกสารแสดงเจตนารมณ์ให้ประเทศสมาชิกดำเนินนโยบายเพื่อส่งเสริมและพัฒนาความร่วมมือด้านการท่องเที่ยวภายในเอเชียและในสาขาอื่นที่เกี่ยวข้อง
เพื่อส่งเสริมการเติบโตทางเศรษฐกิจ
ความเชื่อมโยงในระดับประชาชนตลอดจนการเสริมสร้างศักยภาพด้านการท่องเที่ยวโดยการพัฒนาความเชื่อมโยงด้านคมนาคม
และเทคโนโลยีในภูมิภาค
ร่างปฏิญญาดังกล่าวยังให้ความสำคัญกับการส่งเสริมการค้าเสรีและการลงทุนระหว่างประเทศในเอเชีย
ตลอดจนการพัฒนากลไกเพื่อคุ้มครองการลงทุน
และความร่วมมือในการแบ่งปันความรู้ความเชี่ยวชาญระหว่างศูนย์กลางทางการเงินในเอเชีย
เพื่อขยายตลาดทุนและเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับสถาบันทางการเงินในเอเชีย
นอกจากนี้ยังสนับสนุนการถ่ายทอดเทคโนโลยีเพื่อส่งเสริมการพัฒนาที่ยั่งยืน
ความมั่นคงด้านพลังงาน อาหาร และน้ำ
ตลอดจนยืนยันความจำเป็นในการต่อต้านการก่อการร้ายในทุกรูปแบบ โดยเรียกร้องให้ประเทศสมาชิกร่วมกันส่งเสริมความเข้าใจระหว่างกลุ่มอารยธรรม
วัฒนธรรม และศาสนาต่าง ๆ และร่วมกันต่อต้านการกระทำอันเป็นโจรสลัด
ร่างปฏิญญามานามาไม่ใช่สนธิสัญญาและไม่มีประเด็นพิจารณาตามมาตรา 190 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.
2554 เนื่องจากเป็นการแสดงเจตนารมณ์ร่วมกันของประเทศสมาชิก ACD เพื่อส่งเสริมและขยายความร่วมมือภายใต้กรอบ ACD ในด้านการท่องเที่ยวและอื่น ๆ อาทิ การพัฒนาที่ยั่งยืน พลังงาน
และการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
ซึ่งมิได้มีเจตนาหรือใช้ถ้อยคำที่ก่อให้เกิดพันธกรณีระหว่างรัฐบาลภายใต้บังคับของกฎหมายระหว่างประเทศ
แต่งตั้ง
21. เรื่อง แต่งตั้ง
2. แต่งตั้งกรรมการวินิจฉัยการเปิดเผยข้อมูลข่าวสาร
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติแต่งตั้งกรรมการวินิจฉัยการเปิดเผยข้อมูลข่าวสาร
จำนวน 39 คน ตามที่สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีเสนอ ดังนี้
1)
สาขาการแพทย์และการสาธารณสุข 1) ศาสตราจารย์บุญศรี มีวงศ์อุโฆษ
2) ศาสตราจารย์แสวง บุญเฉลิมวิภาส 3) ศาสตราจารย์อาวุธ ศรีศุกรี 4)
นายวิชัย โชควิวัฒน
2) สาขาต่างประเทศและความมั่นคงของประเทศ
1) ศาสตราจารย์พิเศษนรนิติ เศรษฐบุตร 2)
ผู้ช่วยศาสตราจารย์จันทจิรา เอี่ยมมยุรา 3) นางจิราพร บุนนาค 4) นายประวิทย์ สุขวิบูลย์
5) นายพรชัย
ด่านวิวัฒน์
3)
สาขาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี อุตสาหกรรม และการเกษตร 1) ศาสตราจารย์กิตติคุณพีระศักดิ์ จันทร์ประทีป
2) ศาสตราจารย์พิเศษสันทัด โรจนสุนทร 3) ศาสตราจารย์เกษม จันทร์แก้ว 4)
ศาสตราจารย์ไพศิษฐ์ พิพัฒนกุล 5) ศาสตราจารย์สมชาติ โสภณรณฤทธิ์ 6)
ศาสตราจารย์สุนทร มณีสวัสดิ์
4)
สาขาเศรษฐกิจ และการคลังของประเทศ 1) ศาสตราจารย์พิเศษชมเพลิน จันทร์เรืองเพ็ญ 2) รองศาสตราจารย์ธวัชชัย สุวรรณพานิช 3)
รองศาสตราจารย์นิพนธ์ พัวพงศกร 4) รองศาสตราจารย์สหธน รัตนไพจิตร 5) นางสาวภัทรา สกุลไทย
5)
สาขาสังคม การบริหารราชการแผ่นดินและการบังคับใช้กฎหมาย 1) พลเอก สุพิทย์
วรอุทัย 2) ศาสตราจารย์เกียรติคุณเทพ หิมะทองคำ 3)
ศาสตราจารย์พิเศษเรวัต ฉ่ำเฉลิม 4) ศาสตราจารย์ปรีดี เกษมทรัพย์ 5) รองศาสตราจารย์วรเจตน์ ภาคีรัตน์ 6)
รองศาสตราจารย์สมยศ เชื้อไทย 7) ผู้ช่วยศาสตราจารย์ปราโมทย์ ประจนปัจจนึก 8) ร้อยโท วิรัช พันธุมะผล 9)
นายขจัดภัย บุรุษพัฒน์
10) นายชัยรัตน์
มาประณีต
11) นายธรรมรักษ์
การพิศิษฎ์ 12) นางธิดา
ศรีไพพรรณ์ 13) นางแน่งน้อย วิศวโยธิน
14) นายพีรพล
ไตรทศาวิทย์ 15) นายพูลประโยชน์ ชัยเกียรติ 16) นางมัลลิกา คุณวัฒน์ 17) นายวัฒนา รัตนวิจิตร 18)
นายศิริวัฒน์
ทิพย์ธราดล 19) นายสุพจน์ ไพบูลย์
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 19 พฤศจิกายน 2556 เป็นต้นไป
3. แต่งตั้งข้าราชการ (กระทรวงพลังงาน)
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติเลื่อนและแต่งตั้ง
นายนที ทับมณี
รองผู้อำนวยการสำนักงาน
(นักบริหาร ระดับต้น) สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน กระทรวงพลังงาน
ให้ดำรงตำแหน่งผู้ตรวจราชการกระทรวง (ผู้ตรวจราชการกระทรวง ระดับสูง)
สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงพลังงาน ตามที่กระทรวงพลังงานเสนอ ทั้งนี้
ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นต้นไป
4.
แต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการอื่นในคณะกรรมการการเคหะแห่งชาติ
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติให้มีการแก้ไขมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่
24 กันยายน 2556 เป็นดังนี้ “ ให้ประธานกรรมการและกรรมการอื่นในคณะกรรมการการเคหะแห่งชาติ
ตามประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี
เรื่อง
แต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการอื่นในคณะกรรมการการเคหะแห่งชาติ ลงวันที่ 9
มกราคม 2555 และเรื่อง แต่งตั้งกรรมการในคณะกรรมการการเคหะแห่งชาติ ลงวันที่ 13
ธันวาคม 2555 จำนวน 3 คน ได้แก่
นายชาญณัฏฐ์ แก้วมณี
ผู้แทนกระทรวงการคลัง นายไพรัช
พรสมบูรณ์ศิริ และนายศิริโรจน์ ชาวปากน้ำ
พ้นจากตำแหน่ง
และแต่งตั้งประธานกรมการและกรรมการอื่นในคณะกรรมการการเคหะแห่งชาติชุดใหม่ จำนวน
9 คน
ตามที่กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์เสนอ โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่ 24
กันยายน 2556 เป็นต้นไป ยกเว้นนายไพรัช พรสมบูรณ์ศิริ
ให้มีผลตั้งแต่วันที่คณะกรรมการอัยการมีมติอนุมัติเป็นต้นไป
ซึ่งไม่ก่อนวันที่คณะรัฐมนตรีมีมติ”
และให้แก้ไขประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง
แต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการอื่นในคณะกรรมการการเคหะแห่งชาติ ลงวันที่ 1
ตุลาคม 2556 ให้สอดคล้องกับมติคณะรัฐมนตรีนี้ต่อไป
ตามที่กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์เสนอ
********************
เว็บรัฐบาลไทย
วันนี้ (19 พฤศจิกายน 2556) เมื่อเวลา 09.00 น. ณ ห้องประชุมคณะรัฐมนตรี ชั้น 2 สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ทำเนียบรัฐบาล นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เป็นประธานการประชุมคณะรัฐมนตรี
จากนั้น นายธีรัตถ์ รัตนเสวี โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี พร้อมด้วย นายภักดีหาญส์ หิมะทองคำ และร้อยโทหญิง
สุณิสา เลิศภควัต รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ได้แถลงข่าวผลการประชุมคณะรัฐมนตรี
สรุปสาระสำคัญได้ดังนี้
กฎหมาย
|
1.
เรื่อง ร่างพระราชบัญญัติกำลังสำรอง
พ.ศ. ....
2. เรื่อง
ร่างกฎกระทรวง ฉบับที่ .. (พ.ศ. ....) ออกตามความในพระราชบัญญัติส่งเสริมการ ฝึกวิชาทหาร พ.ศ. 2503
3. เรื่อง ร่างพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร
ว่าด้วยการลดอัตรา รัษฎากร
(ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... (มาตรการปรับปรุงบัญชีอัตราภาษีเงินได้สำหรับ บุคคลธรรมดา)
4. เรื่อง ร่างพระราชกฤษฎีกาให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกรุงเทพมหานคร
เขตเลือกตั้งที่
7 เขตเลือกตั้งที่ 26 เขตเลือกตั้งที่ 29 จังหวัดชุมพร เขตเลือกตั้ง ที่ 1 จังหวัดตรัง เขตเลือกตั้งที่ 2
จังหวัดนครศรีธรรมราช เขตเลือกตั้งที่ 3
จังหวัดสงขลา
เขตเลือกตั้งที่ 6 และจังหวัดสุราษฎร์ธานี เขตเลือกตั้งที่ 2 แทน ตำแหน่งที่ว่าง พ.ศ. ....
เศรษฐกิจ- สังคม
|
5. เรื่อง
มติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติครั้งที่ 5 พ.ศ.
2555 เรื่อง การจัดระบบและโครงสร้าง เพื่อส่งเสริมการเดินและการใช้จักรยานในชีวิตประจำวัน พร้อมข้อสังเกตของ คณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ
6. เรื่อง ร่างนโยบายและแผนยุทธศาสตร์การจัดการเรื่องราวร้องทุกข์
พ.ศ. ….
7. เรื่อง
มาตราการทางภาษีอากรและค่าธรรมเนียมเพื่อสนับสนุนการปรับปรุง
โครงสร้างหนี้
8. เรื่อง แนวทางการดำเนินโครงการบัตรสมาชิกพิเศษ
(Thailand Privilege Card)
9. เรื่อง โครงการขยายเขตไฟฟ้าให้บ้านเรือนราษฎรรายใหม่
10. เรื่อง สมาคมญาติและวีรชน
14 ตุลา 16 ขอให้พิจารณาจ่ายเงินดำรงชีพแก่ผู้ได้รับ ผลกระทบจากเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516
11. เรื่อง ขออนุมัติอัตรากำลังเพิ่มใหม่ของคณะแพทยศาสตร์
มหาวิทยาลัยนราธิวาส
ราชนครินทร์
12. เรื่อง ขออนุมัติเงินงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ
พ.ศ. 2557 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น
เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการบริหาร จัดการเกี่ยวกับระบบการเตือนภัยพิบัติ
และการเก็บกู้และบำรุงรักษาทุ่น
13. เรื่อง การให้สิทธิพิเศษแก่ประเทศพัฒนาน้อยที่สุด โดยการยกเลิกภาษีนำเข้าและ โควตา (DFQF)
14. เรื่อง ร่างประกาศกระทรวงการคลัง
เรื่อง ลดอัตราภาษีสรรพสามิต (ฉบับที่ ..)
ต่างประเทศ
|
15. เรื่อง ขอทบทวนมติคณะรัฐมนตรีเรื่อง
พิธีสารเพื่ออนุวัติข้อผูกพันชุดที่ 9 ภายใต้กรอบ ความตกลงว่าด้วยบริการของอาเซียน
และข้อผูกพันเปิดตลาดการค้าบริการ
ชุดที่ 9
ของไทยภายใต้กรอบความตกลงว่าด้วยบริการของอาเซียน
16.
เรื่อง
พิธีสารแก้ไขความตกลงว่าด้วยการลงทุนอาเซียน
17.
เรื่อง ขอความเห็นต่อร่างความตกลงว่าด้วยการจัดหาและการบริการต่างฝ่ายระหว่าง กระทรวงกลาโหมแห่งราชอาณาจักรไทยและกระทรวงกลาโหมแห่งสหรัฐอเมริกา
(ACQUISITION
AND CROSS – SERVICING AGREEMENT BETWEEN THE MINISTRY
OF DEFENSE OF THE KINGDOM OF THAILAND AND THE DEPARTMENT
OF DEFENSE OF THE UNITED STATES OF AMERICA)
18.
เรื่อง การขอความเห็นชอบให้เลขาธิการอาเซียนลงนามในข้อตกลงทางการเงิน (Financial Agreement Special Edition –
FA) ภายใต้โครงการ EU Support to Higher Education in ASEAN
Region (EU SHARE)
19.
เรื่อง การจัดสรรเงินกู้เพื่อปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจ (Structural
Adjustment Loan : SAL) เพื่อสนับสนุนโครงการศึกษาและวิเคราะห์ผลกระทบจากโครงการ ลงทุนโครงสร้างพื้นฐานของรัฐบาล
และโครงการศึกษาและวิเคราะห์ผลกระทบ จากการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน
20. เรื่อง ร่างปฏิญญามานามาสำหรับการประชุมรัฐมนตรีกรอบความร่วมมือเอเชีย
ครั้งที่ 12
แต่งตั้ง
|
21. เรื่อง
แต่งตั้ง
1. แต่งตั้งกรรมการวินิจฉัยการเปิดเผยข้อมูลข่าวสาร
2. แต่งตั้งข้าราชการ (กระทรวงพลังงาน)
3. แต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการอื่นในคณะกรรมการการเคหะแห่งชาติ
*****************************************************
เอกสารชุดนี้เป็นเอกสารข่าวสรุปผลการประชุมคณะรัฐมนตรีเท่านั้น
สำหรับมติคณะรัฐมนตรีอย่างเป็นทางการกรุณาตรวจสอบที่สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี
โทร .
0 2280-9000 ต่อ 268 หรือ 436
สำนักโฆษกขอเชิญติดตามการถ่ายทอดสดการแถลงข่าวผลการประชุมคณะรัฐมนตรี
ทุกวันอังคาร
หรือวันที่มีการประชุม ทางสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย ทาง F.M. 92.5
ในเขตกรุงเทพมหานคร
ส่วนต่างจังหวัด
รับฟังได้ทางสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทยประจำจังหวัด
สำนักโฆษก สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี โทร. 0 2288-4396
กฎหมาย
|
1.
เรื่อง ร่างพระราชบัญญัติกำลังสำรอง พ.ศ.
....
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างพระราชบัญญัติกำลังสำรอง
พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงกลาโหม (กห.) เสนอ
และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา
แล้วส่งให้คณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎรพิจารณา
ก่อนเสนอสภาผู้แทนราษฎรพิจารณาต่อไป
ทั้งนี้ กห. เสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาว่า
โดยที่รัฐต้องพิทักษ์รักษาไว้ซึ่งสถาบันพระมหากษัตริย์ เอกราชอธิปไตย
และบูรณภาพแห่งเขตอำนาจรัฐ ต้องจัดให้มีกำลังทหาร
อาวุธยุทโธปกรณ์และเทคโนโลยีที่ทันสมัยจำเป็นและเพียงพอ เพื่อพิทักษ์รักษาเอกราช
อธิปไตยความมั่นคงของรัฐ สถาบันพระมหากษัตริย์ ผลประโยชน์แห่งชาติ
และการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
และเพื่อการพัฒนาประเทศ ประกอบกับ กห. มีอำนาจหน้าที่พิทักษ์รักษาเอกราช
และความมั่นคงแห่งราชอาณาจักรจากภัยคุกคามทั้งภายนอกและภายในราชอาณาจักร
ปราบปรามการกบฏและการจลาจล จึงควรจัดให้มีกำลังสำรองเพื่อสนับสนุนการปฏิบัติงานของ
กห.
ดังนั้น
เพื่อให้มีกำลังสำรองเพื่อสนับสนุนการปฏิบัติงานของ กห.
เห็นควรให้มีการจัดเตรียมความพร้อมของกำลังสำรอง ด้วยการเพิ่มพูนความรู้
ด้านการทหาร การแก้ไข ปัญหาภัยคุกคามในรูปแบบต่าง ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการช่วยเหลือและบรรเทาภัยพิบัติ
ทั้งนี้ หากเกิดภัยคุกคามทางทหารที่ต้องใช้กำลังทหารขนาดใหญ่
หรือเกิดภัยพิบัติสาธารณะ
จะต้องสามารถเรียกกำลังสำรองเข้ามาปฏิบัติหน้าที่ร่วมกับกำลังทหารประจำการได้ด้วยความรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ
สาระสำคัญของร่างพระราชบัญญัติ
1. กำหนดชื่อ
“พระราชบัญญัติกำลังสำรอง พ.ศ. ....” เพื่อให้สอดคล้องกับพระราชบัญญัติ จัดระเบียบราชการกระทรวงกลาโหม พ.ศ. 2551
มาตรา 26 ซึ่งกำหนดให้
กห. จัดให้มีกำลังสำรองเพื่อสนับสนุน
การปฏิบัติงานของ กห.
2. กำหนดให้ใช้บังคับพระราชบัญญัติเมื่อพ้นกำหนด
240
วัน นับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษา
3. กำหนดบทนิยาม
“กำลังสำรอง” “กิจการกำลังสำรอง” “บัญชีบรรจุกำลัง”
“การเรียกกำลังสำรองเพื่อตรวจสอบ” “การเรียกกำลังสำรองเพื่อฝึกวิชาทหาร”
“การเรียกกำลังสำรองเพื่อปฏิบัติราชการ” “การเรียกกำลังสำรองเพื่อทดลองความพรั่งพร้อม”
“การระดมพล” “ภาวะไม่ปกติ” “สถานการณ์ฉุกเฉิน” “ภูมิลำเนากำลังสำรอง” “นายจ้าง”
“ลูกจ้าง” “พนักงานเจ้าหน้าที่” และ “รัฐมนตรี”
4. กำหนดผู้รักษาการตามกฎหมาย
โดยให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ และให้มีอำนาจแต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่กับออกกฎกระทรวงและข้อปฏิบัติอื่น
ๆ ที่เกี่ยวข้อง
5. กำหนดให้มีคณะกรรมการขึ้นคณะหนึ่ง
เรียกว่า “คณะกรรมการกำลังสำรอง” ชื่อย่อ “คกส.” มีนายกรัฐมนตรีหรือรองนายกรัฐมนตรี ซึ่งนายกรัฐมนตรีมอบหมายเป็นประธานกรรมการ
6. กำหนดระยะเวลาการดำรงตำแหน่งและการพ้นจากตำแหน่งของกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
7. กำหนดอำนาจหน้าที่ของ
“คกส.”
8. กำหนดให้กรมการสรรพกำลังกลาโหมทำหน้าที่สำนักงานเลขานุการของ
คกส.
9. กำหนดให้
กห. บรรจุรายชื่อกำลังสำรองในบัญชีบรรจุกำลังของหน่วยทหารและแจ้งให้กำลังสำรองทราบ
รวมถึงกำหนดแนวทางในการควบคุมกำลังสำรอง
10. กำหนดหน้าที่ในการเข้ารับราชการทหารของกำลังสำรอง
11. กำหนดให้
กห.
มีอำนาจรับสมัครบุคคลที่มีสถานะเป็นกำลังสำรองเพื่อเข้ารับราชการทหารเป็นการชั่วคราวตามระยะเวลาที่
กห. กำหนด
12. กำหนดให้กำลังสำรองที่เข้ารับราชการทหารตามพระราชบัญญัติกำลังสำรอง
พ.ศ. .... ต้องอยู่ ในวินัยทหารตามกฎหมายว่าด้วยวินัยทหาร
มีฐานะเช่นเดียวกับข้าราชการทหาร หรือทหารกองประจำการ ซึ่งหมายความว่า
กำลังสำรองที่เข้ารับราชการทหารตามมาตรา 15 มาตรา
16
และมาตรา 18 ของพระราชบัญญัตินี้
มีฐานะเช่นเดียวกับข้าราชการทหาร
หรือทหารกองประจำการ และต้องอยู่ในวินัยทหารตามพระราชบัญญัติว่าด้วยวินัยทหาร พ.ศ.
2476
13. กำหนดสิทธิประโยชน์ต่าง
ๆ ที่กำลังสำรองพึงจะได้รับเมื่อเข้ารับราชการทหาร ตามพระราชบัญญัติกำลังสำรอง
พ.ศ. ....
14. กำหนดบทกำหนดโทษกำลังสำรองหลีกเลี่ยง
ขัดขืนไม่เข้ารับราชการทหาร
2. เรื่อง ร่างกฎกระทรวง ฉบับที่ .. (พ.ศ. ....)
ออกตามความในพระราชบัญญัติส่งเสริมการฝึกวิชาทหาร พ.ศ.
2503
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงฉบับที่ .. (พ.ศ. ….) ออกตามความในพระราชบัญญัติส่งเสริมการฝึกวิชาทหาร พ.ศ. 2503 ตามที่กระทรวงกลาโหม (กห.) เสนอ
และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วดำเนินการต่อไปได้
กห. รายงานว่า
1. เนื่องจากอายุสำหรับบุคคลผู้มีสิทธิสมัครเข้ารับการฝึกวิชาทหารยังไม่สอดคล้องกับอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก
(ข้อ 38 วรรคสาม) และพิธีสารเลือกรับของอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก
เรื่อง ความเกี่ยวพันของเด็กในความขัดแย้งกันด้วยอาวุธ (ข้อ 3 วรรคหนึ่ง) ในการที่จะให้บุคคลนั้น
เมื่อเข้ามารับการฝึกวิชาทหารแล้วสามารถ
ใช้อาวุธทำการฝึกได้จึงจำเป็นต้องกำหนดเกณฑ์อายุของบุคคลที่จะมีสิทธิสมัครเข้ารับการฝึกวิชาทหาร
โดยกำหนดเกณฑ์ขั้นต่ำ คือ มีอายุไม่ต่ำกว่าสิบห้าปีบริบูรณ์ ณ วันที่ 31 พฤษภาคม ของปีปฏิทินที่สมัคร
2. ดังนั้น จำเป็นต้องแก้ไขเพิ่มเติมกฎกระทรวง ฉบับที่ 10 (พ.ศ. 2528) ออกตามความในพระราชบัญญัติส่งเสริมการฝึกวิชาทหาร พ.ศ. 2503 เพื่อให้สอดคล้องกับอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก
และพิธีสาร เลือกรับของอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก
เรื่อง ความเกี่ยวพันของเด็กในความขัดแย้งกันด้วยอาวุธตามข้อ 1
สาระสำคัญของร่างกฎกระทรวง
แก้ไขเพิ่มเติมกฎกระทรวง ฉบับที่ 10 (พ.ศ. 2528) ออกตามความในพระราชบัญญัติส่งเสริมการฝึกวิชาทหาร พ.ศ. 2503 โดยให้ยกเลิกความใน (4) ของข้อ 2 แห่งกฎกระทรวงดังกล่าว
และกำหนดอายุขั้นต่ำของบุคคลที่จะมีสิทธิสมัครเข้ารับการฝึกวิชาทหาร คือ
มีอายุไม่ต่ำกว่าสิบห้าปีบริบูรณ์ ณ วันที่ 31 พฤษภาคม ของปีปฏิทิน ที่สมัคร
เพื่อให้สอดคล้องกับอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก
และพิธีสารเลือกรับของอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก เรื่อง ความเกี่ยวพันของเด็กในความขัดแย้งกันด้วยอาวุธ
3. เรื่อง ร่างพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร
ว่าด้วยการลดอัตรารัษฎากร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....
(มาตรการปรับปรุงบัญชีอัตราภาษีเงินได้สำหรับบุคคลธรรมดา)
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร
ว่าด้วยการลดอัตรารัษฎากร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....
(มาตรการปรับปรุงบัญชีอัตราภาษีเงินได้สำหรับบุคคลธรรมดา) ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ
และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วดำเนินการต่อไปได้
สาระสำคัญของร่างพระราชกฤษฎีกา
ปรับปรุงบัญชีอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสำหรับการคำนวณเงินได้สุทธิจาก
5 ขั้นอัตรา เป็น 7
ขั้นอัตรา และลดอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาจากอัตราสูงสุดร้อยละ 37 เป็นร้อยละ 35
โดยมีรายละเอียดเปรียบเทียบอัตราภาษีเดิมและอัตราภาษีใหม่ ดังนี้
อัตราภาษีเงินได้ที่ใช้บังคับในปัจจุบัน
ตาม พรก.
แก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร
(ฉบับที่ 16) พ.ศ. 2534
|
อัตราภาษีตามข้อเสนอ
|
||
เงินได้สุทธิตั้งแต่
(บาท)
|
อัตราภาษี
(ร้อยละ)
|
เงินได้สุทธิตั้งแต่
(บาท)
|
อัตราภาษี
(ร้อยละ)
|
0-100,000
|
5
|
0-300,000
|
5
|
100,001-500,000
|
10
|
300,001-500,000
|
10
|
500,001-750,000
|
15
|
||
500,001-1,000,000
|
20
|
750,001-1,000,000
|
20
|
1,000,001-2,000,000
|
25
|
||
1,000,001-4,000,000
|
30
|
2,000,001-4,000,000
|
30
|
4,000,001 ขึ้นไป
|
37
|
4,000,001 ขึ้นไป
|
35
|
4. เรื่อง
ร่างพระราชกฤษฎีกาให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกรุงเทพมหานคร
เขตเลือกตั้งที่ 7 เขตเลือกตั้งที่
26 เขตเลือกตั้งที่ 29 จังหวัดชุมพร เขตเลือกตั้งที่ 1 จังหวัดตรัง
เขตเลือกตั้งที่ 2 จังหวัดนครศรีธรรมราช เขตเลือกตั้งที่ 3 จังหวัดสงขลา
เขตเลือกตั้งที่ 6 และจังหวัดสุราษฎร์ธานี เขตเลือกตั้งที่ 2 แทนตำแหน่งที่ว่าง พ.ศ. ....
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างพระราชกฤษฎีกาให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกรุงเทพมหานคร
เขตเลือกตั้งที่ 7 เขตเลือกตั้งที่ 26 เขตเลือกตั้งที่ 29 จังหวัดชุมพร
เขตเลือกตั้งที่ 1 จังหวัดตรัง เขตเลือกตั้งที่
2 จังหวัดนครศรีธรรมราช เขตเลือกตั้งที่ 3 จังหวัดสงขลา เขตเลือกตั้งที่ 6
และจังหวัดสุราษฎร์ธานี เขตเลือกตั้งที่ 2 แทนตำแหน่งที่ว่าง พ.ศ. ....
ตามที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา ตามที่สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง
(กกต.) เสนอ และให้ดำเนินการต่อไปได้
กกต. เสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาว่า
สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรได้แจ้งหนังสือขอลาออกจากการเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
ลงวันที่ 12 พฤศจิกายน 2556 ของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกรุงเทพมหานคร เขตเลือกตั้งที่
7 เขตเลือกตั้งที่ 26 เขตเลือกตั้งที่ 29 จังหวัดชุมพร เขตเลือกตั้งที่ 1
จังหวัดตรัง เขตเลือกตั้งที่ 2 จังหวัดนครศรีธรรมราช เขตเลือกตั้งที่ 3
จังหวัดสงขลา เขตเลือกตั้งที่ 6 และจังหวัดสุราษฎร์ธานี เขตเลือกตั้งที่ 2 ที่ได้ยื่นหนังสือขอลาออกจากตำแหน่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
ต่อประธานสภาผู้แทนราษฎร โดยขอลาออกตั้งแต่วันที่ 11 พฤศจิกายน 2556
และในคราวประชุมคณะกรรมการการเลือกตั้ง ครั้งที่ 90/2556 วันที่ 13 พฤศจิกายน 2556
ได้มีมติให้เสนอร่างพระราชกฤษฎีกาให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกรุงเทพมหานคร
เขตเลือกตั้งที่ 7 เขตเลือกตั้งที่ 26 เขตเลือกตั้งที่ 29 จังหวัดชุมพร
เขตเลือกตั้งที่ 1 จังหวัดตรัง เขตเลือกตั้งที่ 2 จังหวัดนครศรีธรรมราช
เขตเลือกตั้งที่ 3 จังหวัดสงขลา เขตเลือกตั้งที่ 6 และจังหวัดสุราษฎร์ธานี
เขตเลือกตั้งที่ 2 แทนตำแหน่งที่ว่าง พ.ศ. .... โดยกำหนดให้วันอาทิตย์ที่ 22
ธันวาคม 2556 เป็นวันเลือกตั้ง ทั้งนี้
คณะกรรมการการเลือกตั้งได้กำหนดกรอบระยะเวลาดำเนินการ
โดยกำหนดวันรับสมัครเลือกตั้งในระหว่างวันจันทร์ที่ 2 ธันวาคม 2556 ถึงวันศุกร์ที่
6 ธันวาคม 2556
เพื่อให้ผู้สมัครรับเลือกตั้งมีระยะเวลาเพียงพอในการหาเสียงเลือกตั้ง
และกำหนดวันประกาศร่างพระราชกฤษฎีกาฯ ในราชกิจจานุเบกษา วันเสาร์ที่ 30 พฤศจิกายน
2556
สาระสำคัญของร่างพระราชกฤษฎีกา เป็นการกำหนดให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกรุงเทพมหานคร
เขตเลือกตั้งที่ 7 เขตเลือกตั้งที่ 26 เขตเลือกตั้งที่ 29 จังหวัดชุมพร
เขตเลือกตั้งที่ 1 จังหวัดตรัง เขตเลือกตั้งที่
2 จังหวัดนครศรีธรรมราช เขตเลือกตั้งที่ 3 จังหวัดสงขลา เขตเลือกตั้งที่ 6
และจังหวัดสุราษฎร์ธานี เขตเลือกตั้งที่ 2 แทนตำแหน่งที่ว่าง ในวันที่ 22 ธันวาคม
2556 โดยให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเขต
5. เรื่อง ร่างประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ลดอัตราภาษีสรรพสามิต (ฉบับที่
..)
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังอาศัยอำนาจตามความในมาตรา
103 แห่งพระราชบัญญัติภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2527
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติภาษีสรรพสามิต (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2534
ออกประกาศกระทรวงการคลังเพื่อขยายเวลาการปรับลดอัตราภาษีน้ำมันดีเซลออกไปอีก 1
เดือน คือ ตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2556 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2556
ตามที่กระทรวงการคลัง (กค.) เสนอ
สาระสำคัญของเรื่อง
กค. รายงานว่า เนื่องจากมาตรการของรัฐบาลในการปรับลดอัตราภาษีน้ำมันดีเซลจะสิ้นสุดลงในวันที่
30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556
แต่โดยที่ขณะนี้ราคาขายปลีกน้ำมันยังคงมีราคาสูง
ซึ่งหากมีการปรับเพิ่มอัตราภาษีน้ำมันดีเซลในระยะนี้จะทำให้ประชาชนมีภาระค่าใช้จ่ายเพิ่มสูงขึ้นอีก ดังนั้น
เพื่อเป็นการบรรเทาภาระค่าครองชีพของประชาชน
กระทรวงการคลังจึงเห็นควรขยายเวลาการปรับลดอัตราภาษีสรรพสามิตน้ำมันดีเซลที่มีปริมาณกำมะถันไม่เกินร้อยละ
0.005 โดยน้ำหนัก ในอัตราภาษี 0.005 บาทต่อลิตร
และน้ำมันดีเซลที่มีไบโอดีเซลประเภทเมทิลเอสเตอร์ของกรดไขมันผสมอยู่ไม่น้อยกว่าร้อยละ
4 ในอัตราภาษี 0.005 บาทต่อลิตร ออกไปอีก 1 เดือน คือตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ.
2556 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2556
ซึ่งการลดอัตราภาษีน้ำมันดีเซลดังกล่าวแม้จะส่งผลให้รายได้การจัดเก็บภาษีน้ำมันดีเซลลดลงประมาณ
9,000 ล้านบาท แต่จะเป็นการช่วยเหลือและบรรเทาภาระค่าครองชีพของประชาชน
เศรษฐกิจ- สังคม
|
6. เรื่อง
มติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติครั้งที่ 5 พ.ศ. 2555 เรื่อง การจัดระบบและโครงสร้างเพื่อส่งเสริมการเดิน
และการใช้จักรยานในชีวิตประจำวัน พร้อมข้อสังเกตของคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ
ครั้งที่ 5 พ.ศ. 2555 เรื่อง
การจัดระบบและโครงสร้างเพื่อส่งเสริมการเดินและการใช้จักรยานในชีวิตประจำวัน ตามที่คณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (คสช.) เสนอ และมอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับไปดำเนินการตามมติที่เกี่ยวข้อง
โดยให้อยู่ภายใต้กระบวนการของกฎหมาย ระเบียบ และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง
สาระสำคัญของมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ
ครั้งที่ 5 เมื่อวันที่ 19 ธันวาคม 2555 มีดังนี้
1.
มอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณาเร่งรัดดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในปี
2558
ดังนี้
หน่วยงานรับผิดชอบ
|
รายละเอียด
|
(1)
สำนักนายกรัฐมนตรี
|
กำหนดเป็นนโยบายหลักให้การเดินและการใช้จักรยานเป็นวิธีการเดินทางระยะสั้นที่สำคัญ
และทำหน้าที่ประสานงานหน่วยงานภาครัฐในการนำนโยบายนี้ไปปฏิบัติ
|
(2)
กระทรวงคมนาคม
|
ส่งเสริมการเชื่อมต่อการเดินทางกับระบบขนส่งสาธารณะด้วยการเดินเท้าและการใช้จักรยาน
ให้ความรู้ที่เน้นให้ความสำคัญต่อผู้เดินเท้าและผู้ใช้จักรยานทุกกลุ่มคนในการสอบเพื่อขอใบอนุญาตขับขี่ยานยนต์ทุกชนิด
|
(3)
กระทรวงมหาดไทย
(3.1) องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
|
แก้ไขปรับปรุงกฎกระทรวงออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร
และข้อบัญญัติท้องถิ่นให้ผู้เป็นเจ้าของอาคารขนาดใหญ่และอาคารสาธารณะรวมทั้งสถานีขนส่งสาธารณะ ต้องจัดให้มีที่จอดจักรยานที่สะดวก ปลอดภัย
และเพียงพอ
รวมถึงกำหนดให้จังหวัดมีหน้าที่สนับสนุนการเดินเท้าและใช้จักรยานให้เกิดผลเป็นรูปธรรม
|
(3.2) กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น
|
กำหนดให้การเดินและการใช้จักรยานเป็นระเบียบวาระขององค์กรปกครองท้องถิ่น
จัดทำโครงสร้างพื้นฐานให้เหมาะสมและปลอดภัยต่อการเดินเท้า การใช้ทางเท้าและ
การสัญจร ของคนพิการและการใช้จักรยาน กำหนดพื้นที่จำกัดความเร็วของยานยนต์
และช่องทางการเดิน การใช้จักรยาน มีสัญลักษณ์และป้ายบอกชัดเจนในเขตชุมชน
และประชาสัมพันธ์เผยแพร่ความรู้และรณรงค์อย่างต่อเนื่อง
สร้างความตื่นตัวและสนับสนุนกิจกรรม
ด้านการเดินและการใช้จักรยานในชีวิตประจำวันแก่สาธารณชน
|
(4)
กระทรวงศึกษาธิการ
|
กำหนดให้สถานศึกษามีหลักสูตรให้ความรู้และพัฒนาทักษะเกี่ยวกับการเดิน และการใช้จักรยาน เช่น
การให้ความรู้เกี่ยวกับทักษะการใช้สัญญาณมือ และไฟจักรยานกับผู้ขับขี่ให้ถูกต้อง
ปลอดภัยและสนับสนุนให้ใช้เครื่องป้องกันอันตรายส่วนบุคคล
อย่างต่อเนื่องแก่นักเรียนนักศึกษา รวมทั้งส่งเสริมและสนับสนุน ให้เดินหรือใช้จักรยานในการเดินทางมาเรียน ด้วยการมีส่วนร่วมของนักเรียนนักศึกษา ผู้ปกครอง และชุมชน และจัดให้มีสิ่งอำนวยความสะดวกในการเดินและการใช้จักรยานภายในสถานศึกษา |
(5) กระทรวงอุตสาหกรรม
|
ส่งเสริมผู้ประกอบการธุรกิจและอุตสาหกรรมการผลิตสินค้าและให้บริการที่เกี่ยวกับการเดินและการใช้จักรยาน
และการใช้อุปกรณ์เครื่องช่วยคนพิการในการเดินทาง ที่มีคุณภาพได้มาตรฐาน
และราคาที่เป็นธรรม
|
(6)
กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา
|
รณรงค์ให้ประชาชนทั่วไปเดินและใช้จักรยานในชีวิตประจำวัน
และสนับสนุนกิจกรรมส่งเสริมการเดินและใช้จักรยานอย่างต่อเนื่อง
|
(7)
กระทรวงพลังงาน
|
มีนโยบายและมาตรการส่งเสริมการเดินทางที่ไม่ใช้เครื่องยนต์
ได้แก่ การเดินและการใช้จักรยาน และการใช้อุปกรณ์เครื่องช่วยคนพิการในการเดินทาง
|
(8)
กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา โดยการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย
|
สนับสนุนการท่องเที่ยวด้วยจักรยานและกระตุ้นให้ผู้ประกอบการที่พักมีจักรยานให้บริการนักท่องเที่ยว
|
(9)
กระทรวงการคลัง
|
มีมาตรการทางภาษีเพื่อสนับสนุน
ส่งเสริมและสร้างแรงจูงใจให้ประชาชนใช้จักรยานในชีวิตประจำวัน
|
(10)
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ
|
รณรงค์
และสร้างองค์ความรู้เพื่อผลักดันนโยบาย และเพื่อสร้างพฤติกรรมสุขภาพด้วยการเดินและการใช้จักรยานในชีวิตประจำวัน
|
2. มอบหมายสำนักนายกรัฐมนตรีสนับสนุนการมีส่วนร่วมเพื่อการจัดระบบและโครงสร้าง
เพื่อส่งเสริมการเดินและการใช้จักรยานในชีวิตประจำวัน ดังนี้
เพื่อส่งเสริมการเดินและการใช้จักรยานในชีวิตประจำวัน ดังนี้
2.1
สนับสนุนกระบวนการจัดทำยุทธศาสตร์ “การจัดระบบและโครงสร้างเพื่อส่งเสริมการเดินและการใช้จักรยานในชีวิตประจำวัน”
ด้วยกระบวนการมีส่วนร่วมจากภาคส่วนต่าง ๆ ทั้งภาคประชาสังคม หน่วยงานภาครัฐ
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และภาคเอกชนที่เกี่ยวข้อง โดยพิจารณา (ร่าง)
ข้อเสนอยุทธศาสตร์การจัดระบบและโครงสร้างเพื่อส่งเสริมการเดินและการใช้จักรยานในชีวิตประจำวัน
ใน 4 ด้าน ดังนี้
(1)
ยุทธศาสตร์ด้านการบริหารและจัดการเพื่อให้เกิดการส่งเสริมการเดินและใช้จักรยานในชีวิตประจำวัน
(2)
ยุทธศาสตร์ด้านการสร้างและพัฒนาระบบและโครงสร้างเพื่อส่งเสริมการเดินและการใช้จักรยาน
(3)
ยุทธศาสตร์ด้านการส่งเสริมการเดินและการใช้จักรยาน ด้วยมาตรการทางกฎหมาย
ระเบียบข้อบังคับ และการเงิน
(4) ยุทธศาสตร์ด้านการสร้างองค์ความรู้ เผยแพร่ประชาสัมพันธ์ สร้าง
ความตระหนักตื่นตัวและทักษะ
รวมทั้งพัฒนาระบบข้อมูลข่าวสารและการจัดการความรู้ เกี่ยวกับ
การเดินและการใช้จักรยาน
การเดินและการใช้จักรยาน
2.2
สนับสนุนให้มีการจัดกระบวนการรับฟังความคิดเห็นต่อยุทธศาสตร์การจัดระบบฯ
และเสนอต่อสมัชชาสุขภาพแห่งชาติเฉพาะประเด็นเพื่อรับรองร่างยุทธศาสตร์การจัดระบบฯ
ให้เสร็จสิ้นภายใน ปี 2557
3.
มอบหมายให้ชมรมจักรยานเพื่อสุขภาพแห่งประเทศไทยเป็นแกนนำ ประสานกับ
ภาคีที่เกี่ยวข้องด้านการเดินและการใช้จักรยานและภาคีสมัชชาสุขภาพ
สร้างเครือข่ายความร่วมมือขับเคลื่อนการดำเนินงานเพื่อส่งเสริมการเดินและการใช้จักรยานในชีวิตประจำวัน
ร่วมในกระบวนการจัดทำยุทธศาสตร์การจัดระบบฯ
รวมทั้งการให้คำปรึกษา คำแนะนำ การสนับสนุนทางวิชาการ
การศึกษาดูงานเรียนรู้จากพื้นที่ที่ดำเนินงาน
4.
ให้เลขาธิการคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ รายงานความก้าวหน้าต่อที่ประชุมสมัชชาสุขภาพแห่งชาติครั้งที่
7
7. เรื่อง ร่างนโยบายและแผนยุทธศาสตร์การจัดการเรื่องราวร้องทุกข์
พ.ศ. ….
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างนโยบายและแผนยุทธศาสตร์การจัดการเรื่องราวร้องทุกข์
พ.ศ. …. ของคณะกรรมการจัดการเรื่องราวร้องทุกข์
ตามที่สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี (สปน.) เสนอ
ทั้งนี้ เห็นควรแยกประเด็นเรื่องราวร้องทุกข์ด้านปฏิบัติการ
และประเด็นด้านนโยบายให้ชัดเจน โดยประเด็นที่เป็นเรื่องราวร้องทุกข์ด้านปฏิบัติการให้เจ้าหน้าที่ดำเนินการได้โดยตรง
ส่วนประเด็นเรื่องราวร้องทุกข์ด้านนโยบายให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาต่อไป
เพื่อให้เป็นไปตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการจัดการเรื่องราวร้องทุกข์
พ.ศ. 2552 ข้อ 9 (1)
สาระสำคัญของร่างนโยบายและแผนยุทธศาสตร์การจัดการเรื่องราวร้องทุกข์
พ.ศ. …. สรุปสาระสำคัญได้ดังนี้
ส่วนที่ 1 ความนำ
กล่าวถึงรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยกับระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี
ว่าด้วยการจัดการเรื่องราวร้องทุกข์ พ.ศ. 2552 และความสัมพันธ์กับแผนบริหารราชการแผ่นดิน
ส่วนที่ 2 นโยบายและแผนยุทธศาสตร์การจัดการเรื่องราวร้องทุกข์
ซึ่งมี 4 ยุทธศาสตร์ ดังนี้
ยุทธศาสตร์ที่ 1 การพัฒนามาตรฐานการจัดการเรื่องราวร้องทุกข์
ยุทธศาสตร์ที่ 2 การบูรณาการระบบการจัดการเรื่องราวร้องทุกข์ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ
ยุทธศาสตร์ที่ 3 การส่งเสริมการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในการจัดการเรื่องราวร้องทุกข์
ยุทธศาสตร์ที่ 4 การสร้างภาพลักษณ์
ในการจัดการเรื่องราวร้องทุกข์ให้เป็นที่เชื่อถือและยอมรับ
ส่วนที่ 3 การขับเคลื่อนนโยบายและแผนยุทธศาสตร์การจัดการเรื่องราวร้องทุกข์ไปสู่การปฏิบัติจำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือจากหน่วยงานทุกภาคส่วน
ส่วนที่ 4 การติดตามและประเมินผลเป็นอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการการจัดการเรื่องราวร้องทุกข์
โดยให้มีการทบทวนนโยบายและแผนยุทธศาสตร์การจัดการเรื่องราวร้องทุกข์ทุกระยะเวลา 1 ปี
8. เรื่อง
มาตราการทางภาษีอากรและค่าธรรมเนียมเพื่อสนับสนุนการปรับปรุงโครงสร้างหนี้
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติและเห็นชอบตามที่กระทรวงการคลัง
(กค.) เสนอ ดังนี้
1. อนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกาและร่างกฎกระทรวง
รวม 2
ฉบับ ประกอบด้วย
ร่างพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ ..)
พ.ศ. .... และร่างกฎกระทรวง ฉบับที่ .. (พ.ศ.
....) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการจำหน่ายหนี้สูญจากบัญชีลูกหนี้
และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วดำเนินการต่อไปได้
2. เห็นชอบในหลักการร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย
รวม 2
ฉบับ ประกอบด้วย
ร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง หลักเกณฑ์การลดหย่อนค่าธรรมเนียมจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมเป็นพิเศษตามประมวลกฎหมายที่ดินสำหรับกรณีการปรับปรุงโครงสร้างหนี้
ตามหลักเกณฑ์ที่คณะรัฐมนตรีกำหนด และร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง
หลักเกณฑ์การลดหย่อนค่าธรรมเนียมจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมเป็นพิเศษตามกฎหมายว่าด้วยอาคารชุด
สำหรับกรณีการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ ตามหลักเกณฑ์ที่คณะรัฐมนตรีกำหนด
และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วดำเนินการต่อไปได้
สาระสำคัญของร่างกฎหมาย
1. ร่างพระราชกฤษฎีกาฯ
รวม 2
ฉบับ มีดังนี้
1.1 กำหนดให้ยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและภาษีเงินได้นิติบุคคลให้แก่ลูกหนี้ของสถาบันการเงินหรือลูกหนี้ของเจ้าหนี้อื่น
สำหรับเงินได้ที่รับการปลดหนี้ของสถาบันการเงินหรือเจ้าหนี้อื่น ทั้งนี้
เฉพาะการปลดหนี้ที่ได้กระทำในระหว่างวันที่ 1 มกราคม
2556
ถึงวันที่ 31 ธันวาคม
2557
1.2 กำหนดให้ยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
ภาษีเงินได้นิติบุคคล ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีธุรกิจเฉพาะ
และอากรแสตมป์ให้แก่ลูกหนี้ของสถาบันการเงินหรือลูกหนี้ของเจ้าหนี้อื่น
และสถาบันการเงินหรือเจ้าหนี้อื่น สำหรับเงินได้ที่รับจากการโอนทรัพย์สิน
การขายสินค้าหรือการให้บริการ และการกระทำตราสารอันเนื่องมาจากการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ของสถาบันการเงินหรือเจ้าหนี้อื่น
ทั้งนี้ เฉพาะการโอนทรัพย์สิน
การขายสินค้าหรือการให้บริการและการกระทำตราสารที่ได้กระทำในระหว่างวันที่ 1 มกราคม
2556
ถึงวันที่ 31 ธันวาคม
2557
1.3 กำหนดให้ยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
ภาษีเงินได้นิติบุคคล ภาษีธุรกิจเฉพาะ
และอากรแสตมป์ให้แก่ลูกหนี้ของสถาบันการเงินและผู้ค้ำประกันของลูกหนี้ที่จำนองอสังหาริมทรัพย์เป็นประกันหนี้กับเจ้าหนี้สถาบันการเงินและได้มีการขายอสังหาริมทรัพย์ดังกล่าวให้บุคคลอื่น
เพื่อนำเงินมาชำระหนี้แก่เจ้าหนี้สถาบันการเงิน ทั้งนี้
เฉพาะส่วนที่ไม่เกินกว่าหนี้ที่ค้างชำระอยู่กับสถาบันการเงินหรือมีภาระผูกพันตามสัญญาประกันหนี้กับสถาบันการเงินตามหลักเกณฑ์วิธีการ
และเงื่อนไขที่อธิบดีกรมสรรพากรประกาศกำหนด
โดยการโอนอสังหาริมทรัพย์และการกระทำตราสารต้องกระทำในระหว่างวันที่ 1 มกราคม
2556
ถึงวันที่ 31
ธันวาคม 2557
2. ร่างกฎกระทรวงฯ
รวม 2
ฉบับ มีดังนี้
กำหนดให้ยกเว้นการดำเนินการตามหลักเกณฑ์การจำหน่ายหนี้สูญจากบัญชีลูกหนี้ที่กรมสรรพากรกำหนด
สำหรับการจำหน่ายหนี้สูญจากบัญชีลูกหนี้ของเจ้าหนี้ซึ่งเป็นสถาบันการเงินหรือเจ้าหนี้อื่น
ในส่วนของหนี้ที่เจ้าหนี้ดังกล่าวได้ปลดหนี้ให้แก่ลูกหนี้อันเนื่องมาจากการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ตามหลักเกณฑ์การปรับปรุงโครงสร้างหนี้ของสถาบันการเงินที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกำหนด
ทั้งนี้ เฉพาะการปลดหนี้ที่ได้กระทำในระหว่างวันที่ 1 มกราคม
2556
ถึงวันที่ 31 ธันวาคม
2557
3. ร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย
รวม 2
ฉบับ มีดังนี้
3.1 กำหนดให้ลดหย่อนค่าธรรมเนียมจดทะเบียนสิทธินิติกรรมการโอนและการจำนองอสังหาริมทรัพย์ตามประมวลกฎหมายที่ดิน
เหลือร้อยละ 0.01
สำหรับการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ตั้งแต่วันที่กฎหมาย
มีผลใช้บังคับจนถึงวันที่ 31 ธันวาคม
2557
3.2 กำหนดให้ลดหย่อนค่าธรรมเนียมจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมการโอนและการจำนองห้องชุด
ตามประมวลกฎหมายว่าด้วยอาคารชุด เหลือร้อยละ 0.01 สำหรับกรณีการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ตั้งแต่วันที่กฎหมาย
มีผลใช้บังคับจนถึงวันที่ 31 ธันวาคม
2557
9. เรื่อง แนวทางการดำเนินโครงการบัตรสมาชิกพิเศษ (Thailand
Privilege Card)
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบและเห็นชอบตามมติคณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี
คณะที่ 1 (ฝ่ายเศรษฐกิจ) ในคราวประชุม ครั้งที่ 11/2556 เมื่อวันจันทร์ที่ 21
ตุลาคม 2556 ตามที่รองนายกรัฐมนตรี (นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง) ประธานกรรมการเสนอ
ดังนี้
1.
รับทราบการดำเนินการของบริษัท ไทยแลนด์ พริวิเลจ คาร์ด จำกัด
ที่จะมีการปรับปรุงการกำหนดรูปแบบประเภทบัตรสมาชิก ราคาบัตร
สิทธิประโยชน์/บริการต่าง ๆ และค่าธรรมเนียมการโอนให้สอดคล้องกับกลุ่มเป้าหมาย
รวมถึงการกำหนดค่าตอบแทน
(Commission) ให้มีความเหมาะสมมากขึ้น
ซึ่งเป็นอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการบริษัทฯ ตามข้อบังคับของบริษัทฯ อยู่แล้ว
ทั้งนี้ การดำเนินการดังกล่าวเห็นควรให้คณะกรรมการบริษัทฯ ดำเนินการอย่างโปร่งใส
คำนึงถึงผลกระทบต่อความมั่นคงของประเทศและผลประโยชน์ของบริษัทฯ
2.
การที่คณะกรรมการบริษัท ไทยแลนด์ พริวิเลจ คาร์ด จำกัด
เห็นควรให้มีการลงทุนหรือร่วมลงทุนกับกิจการอื่นที่เกี่ยวเนื่อง
โดยได้มีการพิจารณาแล้วว่าการดำเนินการจะก่อให้เกิดประโยชน์กับบริษัทฯ สมาชิก
และประเทศ ก็สามารถดำเนินการได้ตามอำนาจของคณะกรรมการบริษัทฯ ทั้งนี้
การดำเนินการต้องเป็นไปตามพระราชบัญญัติการให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ พ.ศ.
2556 รวมทั้งจะต้องเสนอเรื่องให้คณะกรรมการกำกับนโยบายด้านรัฐวิสาหกิจ
พิจารณาให้ความเห็นชอบก่อนนำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาตามขั้นตอนต่อไป
3.
มอบหมายให้สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ ศึกษาในรายละเอียด
เพื่อกำหนดแนวทางปฏิบัติในการจัดตั้งบริษัทลูกของรัฐวิสาหกิจ
ทั้งในกรณีรัฐวิสาหกิจถือหุ้นทั้งหมดหรือถือหุ้นเพียงบางส่วน
และให้สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ
นำเสนอคณะกรรมการกำกับนโยบายด้านรัฐวิสาหกิจ
พิจารณาให้ความเห็นชอบก่อนนำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาต่อไป
10. เรื่อง โครงการขยายเขตไฟฟ้าให้บ้านเรือนราษฎรรายใหม่
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามมติคณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี
คณะที่ 1 (ฝ่ายเศรษฐกิจ) ในคราวประชุม ครั้งที่ 11/2556 เมื่อวันจันทร์ที่ 21
ตุลาคม 2556 ตามที่รองนายกรัฐมนตรี
(นายกิตติรัตน์
ณ ระนอง ) ประธานกรรมการเสนอ
โดยมีมติเห็นชอบโครงการขยายเขตไฟฟ้าให้บ้านเรือนราษฎร รายใหม่ ของ กฟภ. วงเงินลงทุนรวม จำนวน
3,687 ล้านบาท โดยใช้เงินกู้ในประเทศ จำนวน 2,761 ล้านบาท และเงินรายได้ จำนวน 926
ล้านบาท ตามที่กระทรวงมหาดไทย (มท.) เสนอ และเห็นชอบให้การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค
(กฟภ.) กู้เงินในประเทศภายในกรอบวงเงิน
2,761 ล้านบาท เพื่อให้เป็นไปตามนัยของพระราชบัญญัติการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค พ.ศ. 2503
และที่แก้ไขเพิ่มเติม มาตรา 42 (2) โดยให้ กฟภ.
รับข้อสังเกตเพิ่มเติมของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องไปพิจารณาดำเนินการต่อไป
สาระสำคัญของโครงการขยายเขตไฟฟ้าให้บ้านเรือนราษฎรรายใหม่
ของ กฟภ. สรุปได้ ดังนี้
1.
วัตถุประสงค์ เพื่อขยายเขตระบบไฟฟ้าให้ครัวเรือนที่ไม่มีไฟฟ้าใช้ ได้มีไฟฟ้าใช้ครบทุกหลังคาเรือนตามนโยบายของรัฐบาล
2.
ระยะเวลาดำเนินการ ปี 2556-2560
3. พื้นที่ดำเนินการ
ในเขตพื้นที่รับผิดชอบของ กฟภ. (74 จังหวัด) ทั่วประเทศ
4. เป้าหมาย
ขยายเขตจำหน่ายไฟฟ้าให้ครัวเรือนราษฎรรายใหม่ จำนวน 131,629 ครัวเรือน
5. ปริมาณงาน
ก่อสร้างระบบจำหน่ายแรงสูง 2,300 วงจร-กิโลเมตร ก่อสร้างระบบจำหน่ายแรงต่ำ 10,770
วงจร-กิโลเมตร ติดตั้งหม้อแปลง 90,300 เควีเอ ติดตั้งมิเตอร์ 131,629 ชุด
6. แหล่งเงินทุน รวมทั้งสิ้น
3,687 ล้านบาท โดยใช้เป็นค่าจัดซื้อวัสดุอุปกรณ์ในประเทศ ค่าสำรวจและออกแบบ
ค่าควบคุมงาน ค่าแรงงาน ค่าขนส่ง ค่าเบ็ดเตล็ด และค่าเผื่อเหลือเผื่อขาด
โดยจะเบิกจ่ายจากเงินกู้ในประเทศ และ/หรือเงินรายได้ของ กฟภ.
โดยแยกตามแหล่งเงินได้ ดังนี้ เงินกู้ในประเทศ 2,761 ล้านบาท เงินรายได้ กฟภ. 926
ล้านบาท
7. ผลตอบแทนของโครงการ ทั้งด้านการเงินและด้านเศรษฐศาสตร์
โดยเปรียบเทียบระหว่างค่าใช้จ่ายของโครงการ และผลตอบแทนที่วัดเป็นตัวเงินได้
สรุปได้ดังนี้ ผลตอบแทนทางการเงิน ร้อยละ 4.59 ผลตอบแทนทางเศรษฐศาสตร์ ร้อยละ
17.76
8. ผลประโยชน์ของโครงการ
8.1
สนับสนุนนโยบายของรัฐบาล และแผนยุทธศาสตร์ของ มท.
โดยก่อสร้างขยายเขตบริการไฟฟ้าให้ครัวเรือนที่ไม่มีไฟฟ้าใช้ ครอบคลุมครัวเรือน
จำนวน 131,629 ครัวเรือน
8.2
ช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายด้านพลังงานให้แก่ครัวเรือนและภาพรวมของประเทศ
รวมทั้งเป็นการกระจายความเจริญไปสู่ส่วนภูมิภาคและชนบท
8.3 ช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชากร
8.4
ช่วยให้ประชาชนมีความรู้สึกว่าได้รับความเอาใจใส่จากรัฐบาล
11. เรื่อง สมาคมญาติและวีรชน 14 ตุลา 16
ขอให้พิจารณาจ่ายเงินดำรงชีพแก่ผู้ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามมติคณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี
คณะที่ 2 (ฝ่ายสังคมและกฎหมาย) ในคราวประชุมครั้งที่ 9/2556 เมื่อวันพฤหัสบดีที่
10 ตุลาคม 2556 ตามที่รองนายกรัฐมนตรี (นายพงศ์เทพ เทพกาญจนา )
ประธานกรรมการเสนอ ดังนี้
1.
เห็นชอบการจ่ายเงินดำรงชีพรายเดือนเป็นครั้งสุดท้ายแก่วีรชน 14 ตุลาคม 16
หรือทายาทของวีรชนและค่าจัดการศพกรณีวีรชน 14 ตุลา 16 ที่เสียชีวิตตั้งแต่ปี พ.ศ.
2552 ตามที่กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์เสนอ
2.
ให้กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จัดทำหลักฐานว่าผู้ได้รับผลกระทบฯ
ที่ได้รับเงินการช่วยเหลือเป็นเงินดำรงชีพในครั้งนี้ได้รับการเยียวยาที่เหมาะสมตามหลักมนุษยธรรมแล้ว
จะไม่เรียกร้องขอรับเงินช่วยเหลืออื่นใดจากทางราชการอีก
ทั้งนี้
งบประมาณสำหรับดำเนินการให้เป็นไปตามความเห็นของสำนักงบประมาณ
12. เรื่อง ขออนุมัติอัตรากำลังเพิ่มใหม่ของคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามมติคณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี
คณะที่ 2 (ฝ่ายสังคมและกฎหมาย) ในคราวประชุมครั้งที่ 10/2556 เมื่อวันพฤหัสบดีที่
24 ตุลาคม 2556 ตามที่รองนายกรัฐมนตรี (นายพงศ์เทพ เทพกาญจนา )
ประธานกรรมการเสนอ ดังนี้
1. ให้กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.)
ดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 27 ตุลาคม 2552 (เรื่อง
การขอสนับสนุนนโยบายการโอนย้ายข้าราชการจากส่วนราชการอื่นมารับราชการในมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
วิทยาเขตปัตตานี) ซึ่งอนุมัติในหลักการให้สถาบันอุดมศึกษาของรัฐที่มีวิทยาเขตในพื้นที่
3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ (ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส)
สามารถใช้อัตราข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาที่ว่างลงจากการเกษียณอายุและอัตราว่างโดยเหตุอื่น
เพื่อรองรับการโอนย้ายข้าราชการต่างประเภทจากส่วนราชการอื่นมาเป็นข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาได้เป็นกรณีพิเศษเฉพาะตัว
โดยต้องปฏิบัติงานในตำแหน่งวิชาการซึ่งทำหน้าที่สอนและวิจัยเท่านั้น
2.
ในส่วนกรอบอัตรากำลังเพิ่มใหม่ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2556-2560 ของคณะแพทยศาสตร์
มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์นั้น
เห็นสมควรให้การสนับสนุนอัตรากำลังเพิ่มใหม่ตำแหน่งพนักงานมหาวิทยาลัยเป็นกรณีพิเศษ
จำนวน 150 อัตรา โดยให้กระทรวงศึกษาธิการ (คณะแพทยศาสตร์
มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์)
ไปดำเนินการเกลี่ยอัตรากำลังให้เป็นสายผู้สอนและสายสนับสนุนตามความจำเป็นและเหมาะสม
3. ให้กระทรวงศึกษาธิการ
(มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ และ สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.)) และ
คณะกรรมการกำหนดเป้าหมายและนโยบายกำลังคนภาครัฐ (คปร.)
ไปพิจารณาดำเนินการปรับปรุงค่าตอบแทน สวัสดิการ สิทธิประโยชน์
รวมทั้งความก้าวหน้าในตำแหน่งหน้าที่ของพนักงานมหาวิทยาลัยที่มีวิทยาเขตในพื้นที่
3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ (ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส)
เพื่อแก้ปัญหาการขาดแคลนและสามารถดึงดูดและรักษาบุคลากรไว้ในระบบ
ภายใต้ความจำเป็นตามภาระงานของสถาบันอุดมศึกษาในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้
(ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส) ต่อไป
13. เรื่อง ขออนุมัติเงินงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2557 งบกลาง
รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น
เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการบริหารจัดการเกี่ยวกับระบบการเตือนภัยพิบัติ
และการเก็บกู้และบำรุงรักษาทุ่น
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามความเห็นของสำนักงบประมาณที่ให้สำนักงานปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
(ทก.)
ใช้จ่ายจากงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2557 แผนงานเตือนภัยพิบัติ
ผลผลิตการเตือนภัย
ที่ได้รับการจัดสรรงบประมาณแล้ว จำนวน 169,088,600 บาท เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการบริหารจัดการเกี่ยวกับระบบการเตือนภัยพิบัติในโอกาสแรกก่อน
หากในระยะต่อไปยังมีความจำเป็นที่จะต้องใช้จ่ายเพิ่มเติมให้ ทก.
พิจารณาปรับแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2557
หรือใช้จ่ายจากเงินกันไว้เบิกเหลื่อมปี
ที่คาดว่าจะไม่สามารถดำเนินการได้มาดำเนินการ
โดยให้ขอทำความตกลงกับสำนักงบประมาณขั้นตอนต่อไป
สำหรับค่าใช้จ่ายในการดำเนินการเก็บกู้และบำรุงรักษาทุ่น
จำนวน 1 ทุ่น ภายในกรอบวงเงิน จำนวน 21,500,000 บาทนั้น ให้กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารประสานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องที่มีอุปกรณ์ในการดำเนินการ
โดยขอให้ประสานกับกองทัพเรือเป็นลำดับแรก
14. เรื่อง การให้สิทธิพิเศษแก่ประเทศพัฒนาน้อยที่สุด โดยการยกเลิกภาษีนำเข้าและโควตา (DFQF)
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงพาณิชย์
(พณ.) เสนอดังนี้
1.
การให้สิทธิพิเศษแก่ประเทศพัฒนาน้อยที่สุด
(Least
Developed Countries L : LDCs) โดย
การยกเลิกภาษีนำเข้าและโควตา
(Dufy
Free / Quota free : DFQF)
รวมเป็นสินค้าทั้งสิ้น 6,998 รายการ คิดเป็นร้อยละ
73.21 ของรายการสินค้าทั้งหมด
2.
มอบหมายรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์หรือผู้แทนประกาศการดำเนินโครงการ
DFQF
ของไทยอย่างเป็นทางการ
ในการประชุมรัฐมนตรีองค์การการค้าโลก (World Trade
Organization : WTO) สมัยสามัญ ครั้งที่ 9 ระหว่างวันที่ 3-6
ธันวาคม 2556 ณ เมืองบาหลี ประเทศอินโดนีเซีย
และดำเนินการอื่น ๆ
ที่เกี่ยวข้องเพื่อให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ต่อไป
3.
แต่งตั้งคณะกรรมการป้องกันผลกระทบอันเนื่องจาก
“การให้สิทธิพิเศษแก่ประเทศพัฒนาน้อย
ที่สุด
โดยการยกเลิกภาษีนำเข้าและโควตา” เพื่อพิจารณาดำเนินการระงับสิทธิ การใช้มาตรการปกป้องภายใต้โครงการฯ
การทบทวนมาตรการป้องกันผลกระทบ การทบทวนโครงการฯ และกำกับดูแลโครงการฯ ในภาพรวม
โดยมีองค์ประกอบและอำนาจหน้าที่ดังนี้
องค์ประกอบ ประกอบด้วย ปลัดกระทรวงพาณิชย์
เป็นประธานกรรมการ
อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ เป็นรองประธานกรรมการ กรรมการประกอบด้วย
ผู้แทนกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ
ผู้แทนกรมศุลกากร ผู้แทนกรมสนธิสัญญาและกฎหมาย
ผู้แทนสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร ผู้แทนสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ผู้แทนสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
ผู้อำนวยการสำนักมาตรการปกป้องและตอบโต้ทางการค้า
โดยมี
ผู้อำนวยการกองสิทธิประโยชน์ทางการค้า เป็นกรรมการและเลขานุการ
อำนาจหน้าที่
(1)
กำหนดหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการระงับสิทธิพิเศษภายใต้โครงการให้สิทธิพิเศษแก่ประเทศ
พัฒนาน้อยที่สุด
โดยการยกเลิกภาษีนำเข้าและโควตา
รวมทั้งกำหนดมาตรการอื่นใดที่จำเป็นเพื่อป้องกันผลกระทบต่ออุตสาหกรรมหรือผู้ประกอบการภายใน
(2)
พิจารณาระงับสิทธิพิเศษภายใต้โครงการให้สิทธิพิเศษแก่ประเทศพัฒนาน้อยที่สุด
โดยการ
ยกเลิกภาษีนำเข้าและโควตาเป็นรายประเทศหรือเฉพาะรายการสินค้าภายใต้หลักเกณฑ์และเงื่อนไขการระงับสิทธิพิเศษตาม
(1) หรือกรณีตรวจพบความฉ้อฉลทางการค้าโดยการแอบอ้างแหล่งกำเนิดสินค้า
หรือเหตุอื่นใด
(3)
แจ้งผลการพิจารณาระงับสิทธิพิเศษตาม
(2) แก่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อพิจารณาดำเนินการ
ตามอำนาจหน้าที่
(4)
เชิญส่วนราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ องค์กรที่เกี่ยวข้อง
ผู้เชี่ยวชาญหรือบุคคลที่
เกี่ยวข้องมาชี้แจง
ให้ข้อมูลข้อคิดเห็น ส่งเอกสารหลักฐาน รายงานผลการดำเนินงาน หรือให้ความร่วมมือสนับสนุนการดำเนินงานของคณะกรรมการตามที่ได้รับการร้องขอ
(5)
แต่งตั้งคณะอนุกรรมการ และคณะทำงานเพื่อช่วยเหลือการดำเนินการของคณะกรรมการตาม
ความจำเป็นและเหมาะสม
(6)
เสนอแนะต่อคณะรัฐมนตรี
เพื่อพิจารณาทบทวนโครงการให้สิทธิพิเศษแก่ประเทศพัฒนาน้อย
ที่สุด
โดยการยกเลิกภาษีนำเข้าและโควตาเมื่อครบตามระยะเวลาดำเนินโครงการที่กำหนดไว้
สำหรับการเบิกจ่ายเบี้ยประชุมให้เป็นไปตามพระราชกฤษฎีกาเบี้ยประชุมคณะกรรมการ
พ.ศ.
2547 โดยเบิกจ่ายจากกรมการค้าต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์
ต่างประเทศ
|
15. เรื่อง
ขอทบทวนมติคณะรัฐมนตรีเรื่อง พิธีสารเพื่ออนุวัติข้อผูกพันชุดที่ 9
ภายใต้กรอบความตกลงว่าด้วยบริการของอาเซียน และข้อผูกพันเปิดตลาดการค้าบริการชุดที่
9 ของไทยภายใต้กรอบความตกลงว่าด้วยบริการของอาเซียน
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบพิธีสารอนุวัติข้อผูกพันชุดที่
9 ภายใต้กรอบความตกลงว่าด้วยบริการของอาเซียน
และข้อผูกพันเปิดตลาดการค้าบริการชุดที่ 9 ของไทย ภายใต้กรอบความตกลงว่าด้วยบริการของอาเซียน
ตามที่กระทรวงพาณิชย์เสนอ และให้เสนอรัฐสภาเพื่อขอความเห็นชอบตามมาตรา 190
ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยต่อไป
16.
เรื่อง
พิธีสารแก้ไขความตกลงว่าด้วยการลงทุนอาเซียน
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงอุตสาหกรรม
(อก.) เสนอ ดังนี้
1. เห็นชอบพิธีสารแก้ไขความตกลงว่าด้วยการลงทุนอาเซียน
2. ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์เป็นผู้ลงนามในพิธีสารแก้ไขความตกลงว่าด้วยการลงทุนอาเซียน
และต้องได้รับหนังสือมอบอำนาจเต็ม (Full Powers) ของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
3. ให้กระทรวงการต่างประเทศ
(กต.) จัดทำสัตยาบันสารสำหรับพิธีสารแก้ไขความตกลงว่าด้วยการลงทุนอาเซียน
และแจ้งต่อสำนักงานเลขาธิการอาเซียน เพื่อให้พิธีสารฯ มีผลใช้บังคับ
สาระสำคัญของพิธีสารแก้ไขความตกลงว่าด้วยกรลงทุนอาเซียน
(ASEAN
Comprehensive Investment Agreement :
ACIA)
มีดังนี้
1. วัตถุประสงค์หลักของพิธีสารแก้ไขความตกลง
ACIA
คือ
การเพิ่มเอกสารภาคผนวกเพื่อระบุขั้นตอนการแก้ไขรายการข้อสงวน
เพื่อรองรับการแก้ไขรายการข้อสงวนใน 3 กรณี
คือ
กรณีที่
1 การแก้ไขเพื่อเปิดเสรีเพิ่มเติมตามกำหนดใน
AEC
Blueprint
กรณีที่
2 การแก้ไขเพื่อเพิ่มเติมมาตรการที่ตกหล่นให้ครบถ้วนตามกฎหมาย
ภายในระยะเวลา 12
เดือน นับจากวันที่ความตกลง ACIA
มีผลใช้บังคับ (ภายใน 28 มีนาคม
2556)
กรณีที่
3 การแก้ไขให้มาตรการเข้มงวดขึ้นกว่าเดิมหลังความตกลง
ACIA
มีผลใช้บังคับครบ 12 เดือน
2. ขั้นตอนการแก้ไขรายงานข้อสงวนที่ระบุไว้ในพิธีสารแก้ไขความตกลง
ACIA
เป็นขั้นตอนที่อาเซียนใช้มาตั้งแต่ปี 2552
แต่ไม่เคยระบุเป็นลายลักษณ์อักษรให้ชัดเจนในความตกลงฉบับใด
โดยพิธีสารฯ กำหนดให้ประเทศที่ต้องการแก้ไขรายการข้อสงวนชี้แจงรายละเอียดต่อคณะกรรมการความร่วมมือด้านการลงทุนอาเซียน
(Coordinating
Committee on Investment : CCI) เพื่อให้มีการสอบถามเพิ่มเติม
เพื่อความโปร่งใสและสร้างความเข้าใจที่ถูกต้อง เมื่อไม่มีประเทศใดขัดข้อง
จึงเสนอต่อเลขาธิการอาเซียนอย่างเป็นทางการและเลขาธิการอาเซียนจะเป็นผู้เสนอรายการข้อสงวนที่มีการแก้ไขต่อรัฐมนตรีที่กำกับดูแลด้านการลงทุน
(AIA
Council) เพื่อขอการรับรอง
เมื่อได้รับการรับรองจาก AIA Council
ครบทั้ง 10
ประเทศแล้ว
จึงถือว่ารายการข้อสงวนที่แก้ไขนั้นมีผลใช้บังคับอย่างเป็นทางการ
ในกรณีของการแก้ไขรายการข้อสงวนที่ไม่ได้เป็นการเปิดเสรีเพิ่มเติม
ประเทศที่ได้รับผลกระทบสามารถขอเจรจาต่อรองเพื่อให้มีการชดเชยได้
17. เรื่อง
ขอความเห็นต่อร่างความตกลงว่าด้วยการจัดหาและการบริการต่างฝ่ายระหว่างกระทรวงกลาโหมแห่งราชอาณาจักรไทยและกระทรวงกลาโหมแห่งสหรัฐอเมริกา
(ACQUISITION
AND CROSS – SERVICING AGREEMENT BETWEEN THE MINISTRY OF DEFENSE OF THE KINGDOM
OF THAILAND AND THE DEPARTMENT OF DEFENSE OF THE UNITED STATES OF AMERICA)
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงกลาโหม
(กห.) เสนอ ดังนี้
1. ให้กระทรวงกลาโหมจัดทำความตกลงว่าด้วยการจัดหาและการบริการต่างฝ่ายระหว่างกระทรวงกลาโหมแห่งราชอาณาจักรไทยและกระทรวงกลาโหมแห่งสหรัฐอเมริกา
2. ให้รองเสนาธิการทหารเป็นผู้ลงนามในร่างความตกลงฯ
3. หากมีความจำเป็นที่จะต้องเปลี่ยนแปลงรายละเอียดของร่างความตกลงฯ
โดยไม่ส่งผลกระทบต่อสาระสำคัญของร่างความตกลงฯ ให้ กห.
พิจารณาดำเนินการได้ตามความเหมาะสม
สาระสำคัญของเรื่อง
กห. รายงานว่า
กห.
มีความประสงค์ที่จะจัดทำความตกลงว่าด้วยการจัดหาและการบริการต่างฝ่ายระหว่างกระทรวงกลาโหมแห่งราชอาณาจักรไทยและกระทรวงกลาโหมแห่งสหรัฐอเมริกา
เพื่อใช้แทนความตกลงฯ ฉบับเดิมที่หมดอายุเมื่อวันที่ 20 กันยายน 2556 โดยมีเนื้อหาเกี่ยวข้องกับการสนับสนุนอาหาร
น้ำ น้ำมัน ยารักษาโรค ชิ้นส่วนซ่อมที่จำเป็นเร่งด่วนทางการทหาร
และสิ่งอำนวยความสะดวกภายในค่ายทหารหรือท่าเรือขนถ่ายระหว่างกัน
โดยจะมีการจ่ายทดแทนเป็นเงิน
งบประมาณหรือของที่ยืมมาใช้ก่อนในภายหลังตามแต่จะตกลงกัน
ซึ่งได้ยกเว้นการสนับสนุนสิ่งอุปกรณ์ที่มีผลกระทบต่อความมั่นคงของประเทศ เช่น
ระบบอาวุธ ยุทโธปกรณ์ รายการอาวุธนำวิถี กระสุนและวัตถุระเบิด
ทั้งหมดไว้อย่างชัดเจน
อันจะเป็นการส่งเสริมความร่วมมือด้านการทหารที่จะนำไปสู่การยกระดับความร่วมมือด้านความมั่นคงและเสริมสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างกองทัพของทั้งสองประเทศในอนาคต
โดยร่างความตกลงฯ
ได้ผ่านการพิจารณาและได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการที่เกี่ยวข้องของ กห.
และฝ่ายสหรัฐอเมริกาแล้ว สาระสำคัญสรุปดังนี้
ความตกลงนี้กำหนดขึ้นเพื่ออำนวยความสะดวกในการสนับสนุนการส่งกำลังบำรุงต่างตอบแทนระหว่างคู่ภาคี
สำหรับใช้เป็นหลักในระหว่างการฝึกร่วม การฝึกอบรม การวางกำลัง การขอใช้ท่าเรือ การปฏิบัติการหรือความร่วมมืออื่น ๆ
หรือเหตุการณ์ที่มิได้คาดหมายล่วงหน้า หรือความจำเป็นเร่งด่วน
ซึ่งคู่ภาคีฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งอาจต้องการการสนับสนุนในการส่งกำลังบำรุง สิ่งอุปกรณ์
และการบริการ โดยแลกเปลี่ยนกับการชำระด้วยเงินสด
หรือการจัดการสนับสนุนในการส่งกำลังบำรุง สิ่งอุปกรณ์
และการบริการต่างตอบแทนให้กับกำลังทหารของคู่ภาคี ผู้จัดหาให้
18. เรื่อง
การขอความเห็นชอบให้เลขาธิการอาเซียนลงนามในข้อตกลงทางการเงิน (Financial
Agreement Special Edition – FA) ภายใต้โครงการ EU Support
to Higher Education in ASEAN Region (EU SHARE)
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบและอนุมัติตามที่กระทรวงศึกษาธิการ
(ศธ.) เสนอ ดังนี้
1. เห็นชอบ (ร่าง) ข้อตกลงทางการเงิน (Financial Agreement Special
Edition – FA) ภายใต้โครงการ EU Support to Higher Education
in ASEAN Region (EU SHARE) และภาคผนวก
และหากมีความจำเป็นต้องแก้ไขร่างเอกสารที่ไม่ใช่สาระสำคัญหรือไม่ขัดต่อผลประโยชน์ของประเทศไทย
ให้ ศธ. ดำเนินการได้ โดยไม่ต้องนำเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาอีก
2. อนุมัติให้เลขาธิการอาเซียนหรือผู้แทนลงนามใน (ร่าง) ข้อตกลงทางการเงิน (FA)
ภายใต้โครงการ EU SHARE
ในฐานะผู้ลงนามฝ่ายอาเซียน
3. อนุมัติให้ ศธ.
แจ้งเรื่องการให้ความเห็นชอบของไทยต่อสำนักเลขาธิการอาเซียน
โดยดำเนินการผ่านกระทรวงการต่างประเทศ (กต.) และคณะผู้แทนถาวรไทยประจำอาเซียน ณ
กรุงจาการ์ตา
สาระสำคัญของเรื่อง
ศธ. รายงานว่า
อาเซียนและสหภาพยุโรปสถาปนาความสัมพันธ์ระหว่างกันเป็นเวลากว่า 40 ปี (พ.ศ. 2515 – 2556)
และได้พัฒนาความร่วมมือระหว่างกันอย่างต่อเนื่อง และลึกซึ้งในทุกมิติโดยสหภาพยุโรปให้ความสำคัญต่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในฐานะเป็นกลไกขับเคลื่อนการพัฒนาระดับภูมิภาค
และได้ริเริ่มโครงการ EU Support to Higher Education in ASEAN Region (EU
SHARE) เพื่อเป็นเวทีแลกเปลี่ยนประสบการณ์ด้านการพัฒนาการจัดการศึกษาระดับอุดมศึกษาของสหภาพยุโรปและอาเซียนในฐานะที่เป็นองค์กรเหนือชาติ
(Supra – National Organization)
พร้อมให้การสนับสนุนกิจกรรมการพัฒนามาตรฐานการอุดมศึกษาในระดับประเทศและระดับภูมิภาค
รวมถึงส่งเสริมการใช้กระแสการเคลื่อนย้ายเสรีให้เป็นโอกาสในการเพิ่มพูนขีดความสามารถของทรัพยากรบุคคลให้ดำรงอยู่ในเวทีโลกได้อย่างมั่นคง
โดยสหภาพยุโรปกำหนดงบประมาณสนับสนุนการดำเนินกิจกรรมภายใต้โครงการดังกล่าวเป็นเงินทั้งสิ้น
10,300,000 ยูโร (แบ่งเป็นเงินสนับสนุนจากสหภาพยุโรป 10,000,000
ยูโร และจากแหล่งเงินทุนอื่น 300,000 ยูโร)
พร้อมระบุกิจกรรมที่ต้องดำเนินการ ได้แก่ 1) การจัดสัมมนาทางวิชาการเพื่อระดมความคิดเห็นในการจัดทำยุทธศาสตร์และแผนปฏิบัติการการพัฒนาการอุดมศึกษาของอาเซียน
2) การพัฒนากรอบคุณวุฒิและการประกันคุณภาพการศึกษาในภูมิภาค
และ 3) การพัฒนาระบบการถ่ายโอนหน่วยกิตระหว่างประเทศในอาเซียนและยุโรป
ซึ่งสำนักเลขาธิการอาเซียนจะให้การสนับสนุนด้านอาคารสถานที่พร้อมอุปกรณ์ที่จำเป็นสำหรับจัดตั้งสำนักงาน
รวมทั้งประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการประสานดำเนินงานให้บรรลุเป้าหมาย โดยประเทศสมาชิกอาเซียนไม่ต้องสนับสนุนทางการเงินแต่ประการใด
19.
เรื่อง การจัดสรรเงินกู้เพื่อปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจ (Structural
Adjustment Loan : SAL) เพื่อสนับสนุนโครงการศึกษาและวิเคราะห์ผลกระทบจากโครงการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานของรัฐบาล
และโครงการศึกษาและวิเคราะห์ผลกระทบจากการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบและอนุมัติตามที่กระทรวงการคลังเสนอ
ดังนี้
1.
เห็นชอบให้สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี
ดำเนินโครงการศึกษาและวิเคราะห์ผลกระทบจากโครงการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานของรัฐบาล
และโครงการศึกษาและวิเคราะห์ผลกระทบจากการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน
โดยอนุมัติให้ใช้เงินกู้เพื่อปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจ (Structural
Adjustment Loan : SAL) สำหรับโครงการศึกษาและวิเคราะห์ผลกระทบจากโครงการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานของรัฐบาล
จำนวน 400 ล้านบาท และโครงการศึกษาและวิเคราะห์ผลกระทบจากการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน
จำนวน 300 ล้านบาท
2.
อนุมัติให้สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีแต่งตั้งคณะกรรมการบริหารและติดตามโครงการ
โดยมีองค์ประกอบและอำนาจหน้าที่ดังนี้
องค์ประกอบ 1)
ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ประธานคณะกรรมการ 2)
เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ กรรมการ 3) ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ กรรมการ 4)
อธิบดีกรมบัญชีกลาง กรรมการ 5) ผู้แทนสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี กรรมการและเลขานุการร่วม
6) ผู้แทนสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี กรรมการและเลขานุการร่วม
อำนาจหน้าที่ 1)
บริหาร ติดตาม การดำเนินการทั้งสองโครงการให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของโครงการ 2)
รายงานผลการดำเนินโครงการให้คณะรัฐมนตรีทราบ
โดยให้สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีเป็นหน่วยงานดำเนินโครงการ
3.
การดำเนินโครงการดังกล่าว ให้สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีพิจารณาค่าใช้จ่ายต่าง
ๆ รวมถึงการจัดซื้อจัดจ้างตามกฎหมาย ระเบียบ
และข้อบังคับของทางราชการที่เกี่ยวข้อง โดยคำนึงถึงความจำเป็น คุ้มค่า
และมีประสิทธิภาพของการดำเนินโครงการด้วย
20. เรื่อง
ร่างปฏิญญามานามาสำหรับการประชุมรัฐมนตรีกรอบความร่วมมือเอเชีย ครั้งที่ 12
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงการต่างประเทศ เสนอ ดังนี้
1. เห็นชอบต่อร่างปฏิญญามานามาสำหรับการประชุมรัฐมนตรีกรอบความร่วมมือเอเชีย
ครั้งที่ 12
2. ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศหรือผู้ได้รับมอบหมายร่วมรับรองร่างปฏิญญาดังกล่าว
3. หากมีความจำเป็นต้องปรับปรุงแก้ไขเอกสารดังกล่าวที่ไม่ใช่สาระสำคัญหรือไม่ขัดต่อผลประโยชน์ของไทย
ให้กระทรวงการต่างประเทศดำเนินการได้ โดยไม่ต้องนำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาอีกครั้ง
สาระสำคัญของร่างปฏิญญามานามาเป็นเอกสารที่ระบุความคืบหน้าในการดำเนินงานที่ผ่านมาและแนวทางการดำเนินงานในอนาคตของกรอบความร่วมมือ ACD
ร่างปฏิญญาดังกล่าวเป็นเอกสารแสดงเจตนารมณ์ให้ประเทศสมาชิกดำเนินนโยบายเพื่อส่งเสริมและพัฒนาความร่วมมือด้านการท่องเที่ยวภายในเอเชียและในสาขาอื่นที่เกี่ยวข้อง
เพื่อส่งเสริมการเติบโตทางเศรษฐกิจ
ความเชื่อมโยงในระดับประชาชนตลอดจนการเสริมสร้างศักยภาพด้านการท่องเที่ยวโดยการพัฒนาความเชื่อมโยงด้านคมนาคม
และเทคโนโลยีในภูมิภาค
ร่างปฏิญญาดังกล่าวยังให้ความสำคัญกับการส่งเสริมการค้าเสรีและการลงทุนระหว่างประเทศในเอเชีย
ตลอดจนการพัฒนากลไกเพื่อคุ้มครองการลงทุน
และความร่วมมือในการแบ่งปันความรู้ความเชี่ยวชาญระหว่างศูนย์กลางทางการเงินในเอเชีย
เพื่อขยายตลาดทุนและเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับสถาบันทางการเงินในเอเชีย
นอกจากนี้ยังสนับสนุนการถ่ายทอดเทคโนโลยีเพื่อส่งเสริมการพัฒนาที่ยั่งยืน
ความมั่นคงด้านพลังงาน อาหาร และน้ำ
ตลอดจนยืนยันความจำเป็นในการต่อต้านการก่อการร้ายในทุกรูปแบบ โดยเรียกร้องให้ประเทศสมาชิกร่วมกันส่งเสริมความเข้าใจระหว่างกลุ่มอารยธรรม
วัฒนธรรม และศาสนาต่าง ๆ และร่วมกันต่อต้านการกระทำอันเป็นโจรสลัด
ร่างปฏิญญามานามาไม่ใช่สนธิสัญญาและไม่มีประเด็นพิจารณาตามมาตรา 190 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.
2554 เนื่องจากเป็นการแสดงเจตนารมณ์ร่วมกันของประเทศสมาชิก ACD เพื่อส่งเสริมและขยายความร่วมมือภายใต้กรอบ ACD ในด้านการท่องเที่ยวและอื่น ๆ อาทิ การพัฒนาที่ยั่งยืน พลังงาน
และการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
ซึ่งมิได้มีเจตนาหรือใช้ถ้อยคำที่ก่อให้เกิดพันธกรณีระหว่างรัฐบาลภายใต้บังคับของกฎหมายระหว่างประเทศ
แต่งตั้ง
|
21. เรื่อง แต่งตั้ง
2. แต่งตั้งกรรมการวินิจฉัยการเปิดเผยข้อมูลข่าวสาร
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติแต่งตั้งกรรมการวินิจฉัยการเปิดเผยข้อมูลข่าวสาร
จำนวน 39 คน ตามที่สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีเสนอ ดังนี้
1)
สาขาการแพทย์และการสาธารณสุข 1) ศาสตราจารย์บุญศรี มีวงศ์อุโฆษ
2) ศาสตราจารย์แสวง บุญเฉลิมวิภาส 3) ศาสตราจารย์อาวุธ ศรีศุกรี 4)
นายวิชัย โชควิวัฒน
2) สาขาต่างประเทศและความมั่นคงของประเทศ
1) ศาสตราจารย์พิเศษนรนิติ เศรษฐบุตร 2)
ผู้ช่วยศาสตราจารย์จันทจิรา เอี่ยมมยุรา 3) นางจิราพร บุนนาค 4) นายประวิทย์ สุขวิบูลย์
5) นายพรชัย
ด่านวิวัฒน์
3)
สาขาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี อุตสาหกรรม และการเกษตร 1) ศาสตราจารย์กิตติคุณพีระศักดิ์ จันทร์ประทีป
2) ศาสตราจารย์พิเศษสันทัด โรจนสุนทร 3) ศาสตราจารย์เกษม จันทร์แก้ว 4)
ศาสตราจารย์ไพศิษฐ์ พิพัฒนกุล 5) ศาสตราจารย์สมชาติ โสภณรณฤทธิ์ 6)
ศาสตราจารย์สุนทร มณีสวัสดิ์
4)
สาขาเศรษฐกิจ และการคลังของประเทศ 1) ศาสตราจารย์พิเศษชมเพลิน จันทร์เรืองเพ็ญ 2) รองศาสตราจารย์ธวัชชัย สุวรรณพานิช 3)
รองศาสตราจารย์นิพนธ์ พัวพงศกร 4) รองศาสตราจารย์สหธน รัตนไพจิตร 5) นางสาวภัทรา สกุลไทย
5)
สาขาสังคม การบริหารราชการแผ่นดินและการบังคับใช้กฎหมาย 1) พลเอก สุพิทย์
วรอุทัย 2) ศาสตราจารย์เกียรติคุณเทพ หิมะทองคำ 3)
ศาสตราจารย์พิเศษเรวัต ฉ่ำเฉลิม 4) ศาสตราจารย์ปรีดี เกษมทรัพย์ 5) รองศาสตราจารย์วรเจตน์ ภาคีรัตน์ 6)
รองศาสตราจารย์สมยศ เชื้อไทย 7) ผู้ช่วยศาสตราจารย์ปราโมทย์ ประจนปัจจนึก 8) ร้อยโท วิรัช พันธุมะผล 9)
นายขจัดภัย บุรุษพัฒน์
10) นายชัยรัตน์
มาประณีต
11) นายธรรมรักษ์
การพิศิษฎ์ 12) นางธิดา
ศรีไพพรรณ์ 13) นางแน่งน้อย วิศวโยธิน
14) นายพีรพล
ไตรทศาวิทย์ 15) นายพูลประโยชน์ ชัยเกียรติ 16) นางมัลลิกา คุณวัฒน์ 17) นายวัฒนา รัตนวิจิตร 18)
นายศิริวัฒน์
ทิพย์ธราดล 19) นายสุพจน์ ไพบูลย์
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 19 พฤศจิกายน 2556 เป็นต้นไป
3. แต่งตั้งข้าราชการ (กระทรวงพลังงาน)
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติเลื่อนและแต่งตั้ง
นายนที ทับมณี
รองผู้อำนวยการสำนักงาน
(นักบริหาร ระดับต้น) สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน กระทรวงพลังงาน
ให้ดำรงตำแหน่งผู้ตรวจราชการกระทรวง (ผู้ตรวจราชการกระทรวง ระดับสูง)
สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงพลังงาน ตามที่กระทรวงพลังงานเสนอ ทั้งนี้
ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นต้นไป
4.
แต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการอื่นในคณะกรรมการการเคหะแห่งชาติ
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติให้มีการแก้ไขมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่
24 กันยายน 2556 เป็นดังนี้ “ ให้ประธานกรรมการและกรรมการอื่นในคณะกรรมการการเคหะแห่งชาติ
ตามประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี
เรื่อง
แต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการอื่นในคณะกรรมการการเคหะแห่งชาติ ลงวันที่ 9
มกราคม 2555 และเรื่อง แต่งตั้งกรรมการในคณะกรรมการการเคหะแห่งชาติ ลงวันที่ 13
ธันวาคม 2555 จำนวน 3 คน ได้แก่
นายชาญณัฏฐ์ แก้วมณี
ผู้แทนกระทรวงการคลัง นายไพรัช
พรสมบูรณ์ศิริ และนายศิริโรจน์ ชาวปากน้ำ
พ้นจากตำแหน่ง
และแต่งตั้งประธานกรมการและกรรมการอื่นในคณะกรรมการการเคหะแห่งชาติชุดใหม่ จำนวน
9 คน
ตามที่กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์เสนอ โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่ 24
กันยายน 2556 เป็นต้นไป ยกเว้นนายไพรัช พรสมบูรณ์ศิริ
ให้มีผลตั้งแต่วันที่คณะกรรมการอัยการมีมติอนุมัติเป็นต้นไป
ซึ่งไม่ก่อนวันที่คณะรัฐมนตรีมีมติ”
และให้แก้ไขประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง
แต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการอื่นในคณะกรรมการการเคหะแห่งชาติ ลงวันที่ 1
ตุลาคม 2556 ให้สอดคล้องกับมติคณะรัฐมนตรีนี้ต่อไป
ตามที่กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์เสนอ
********************
เว็บรัฐบาลไทย
( คลิ๊ก ) สมัครติวสอบครูผู้ช่วย รอบ 2 ปี 56-57 (10 จุด) ที่
... เน็ตช้า คลิ๊กที่ http://tuewsob.blogspot.com
... ห้องวิชาเอกครู คลิ๊กที่ http://uewsob2011.blogspot.com
... (ห้องข้อสอบใหม่) ..สอบครู..สอบผู้บริหาร..สอบบุค ลากร ที่
"ติวสอบดอทคอม "
ผอ.นิกร เพ็งลี
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น