ติวสอบออนไลน์ ชุด นโยบายรัฐบาล
ลิงค์ข้อสอบ ที่เกี่ยวข้องกับ "นโยบายรัฐบาล" โดย ติวสอบดอทคอม
http://tuewsob.blogspot.com/2013/11/blog-post_4.html
http://www.tuewsob.com/rr164.html
http://www.tuewsob.com/rr%20157%20pu%201.html
http://tuewsob.blogspot.com/2013/10/132556.html
http://tuewsob.blogspot.com/2013/10/blog-post_31.html
http://www.tuewsob.com/rr164.html
http://www.tuewsob.com/rr%20157%20pu%201.html
http://tuewsob.blogspot.com/2013/10/132556.html
http://tuewsob.blogspot.com/2013/10/blog-post_31.html
ข่าวสำนักงานรัฐมนตรี 387/2556 การทดสอบระดับสถานศึกษาและระดับชาติ
● ความสัมพันธ์ระหว่าง "การทดสอบวัดผล" กับ "หลักสูตร"
รมว.ศธ.กล่าวว่า ต้องการให้ที่ประชุมพิจารณาถึงความสัมพันธ์ระหว่างการทดสอบวัดผลกับหลักสูตรว่า การทดสอบวัดผลจำเป็นต้องเน้นตัวชี้วัดอะไรบ้าง ต้องเน้นการคิดวิเคราะห์ และความเชื่อมโยงระหว่างการทดสอบกับสิ่งที่เรียน หรือหลักสูตรอย่างไร ซึ่งปัญหาใหญ่ในขณะนี้คือ การคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษา ที่ออกข้อสอบไม่ตรงกับการเรียนตามหลักสูตร ข้อสอบมีความยาก ทำให้คนไม่สนใจการเรียนการสอนในระบบ ดังนั้นไม่ว่าจะปฏิรูปการเรียนการสอนอย่างไร ก็จะไม่มีผล เพราะผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งครู นักเรียนชั้น ม.ปลาย ผู้ปกครอง จะไม่สนใจในสิ่งที่โรงเรียนสอน เพราะเด็กต้องสอบในสิ่งที่ไม่มีสอนในโรงเรียน
ทั้งนี้ สทศ.จะพิจารณาร่วมกับ สพฐ.ว่า หากจะต้องมีการทดสอบวัดผล จะต้องวัดในชั้นใดบ้าง เพื่อให้การทดสอบวัดผลกลางได้นำมาใช้ประโยชน์ในการจัดการศึกษาให้ดีขึ้น เพื่อให้ฝ่ายจัดการศึกษา หรือหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ได้ทราบว่าเด็กเรียนอยู่อย่างไร และหาแนวทางปรับปรุงต่อไป ซึ่งหากจะวัดทุกชั้นคงจะไม่ได้ เพราะจะสิ้นเปลืองมาก รวมทั้งจะต้องหารือเรื่องช่วงเวลาทดสอบที่เหมาะสมด้วยว่า จะทดสอบในเทอมใด หรือผลที่เกิดจากการวัดผลจะเป็นอย่างไร เพราะหากการสอบไม่มีผลต่อเด็กๆ ก็อาจจะไม่ตั้งใจสอบ และทำให้ไม่ทราบผลการเรียนที่แท้จริงว่าเป็นอย่างไร ทั้งนี้ ในบางประเทศใช้เวลาในการจัดระบบทดสอบวัดผลเป็นเวลานาน ในขณะที่มีหลายประเทศมีการวัดและเก็บสถิติเด็กที่สอบไม่ผ่านด้วย เช่น ฟินแลนด์ โปแลนด์ เป็นต้น
● ศธ.จะผลักดันให้มีระบบ "การทดสอบกลาง" เป็นเครื่องมือวัดผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษา
ศธ.ไม่มีการทดสอบกลางมานานมาก ทำให้ประเทศไม่มีเครื่องมือที่จะทราบว่าการเรียนการสอนเป็นอยู่อย่างไร แต่ปล่อยให้ครูและโรงเรียนวัดเอง ศธ. จึงต้องการให้นำการทดสอบกลางมาใช้เป็นเครื่องมือ เพื่อบอกถึงสถานะการเรียนการสอนและผลสัมฤทธิ์ของเด็ก รวมทั้งนำมาปรับปรุงการจัดการศึกษาตลอดจนนำไปสู่การปฏิบัติงานของโรงเรียนและเขตพื้นที่การศึกษาให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นด้วย โดย จะต้องมีผู้รับผิดชอบในการออกข้อสอบ พร้อมทั้งมีการพัฒนาคลังข้อสอบ ซึ่ง สพฐ.จะร่วมดำเนินการกับ สทศ.ต่อไป
ภาพ สถาพร ถาวรสุข
● ฝากข้อคิดเรื่อง "การซ่อมเสริม" และ "การตกซ้ำชั้น"
ในความเป็นจริง มีประกาศเรื่องการตกซ้ำชั้นตั้งแต่ปี 2548 แล้ว แต่ก็ไม่มีผลอะไร เพราะเด็กจะตกซ้ำชั้นหรือไม่ ขึ้นอยู่กับครู หากครูให้เด็กผ่านทั้งๆ ที่อ่านหนังสือไม่ออกเลย ก็ให้เกรด 1 ซึ่งเด็กคนนี้อาจจะผ่านในวิชาอื่นๆ ด้วยโดยที่อ่านหนังสือไม่ได้เลย ดังนั้น จึงฝากให้ช่วยกันคิดว่า การทดสอบจะดำเนินการเพียงใด มีความเคร่งครัดของเกณฑ์การสอบผ่านอย่างไร และหากสอบไม่ผ่านจะมีแนวทางอย่างไร จะให้ซ้ำเป็นรายวิชาเช่นเดียวกับนักศึกษามหาวิทยาลัยหรือไม่ หรือหากเด็กอ่านหนังสือไม่ออกก็ต้องให้ผ่านเพราะคนส่วนใหญ่กังวลว่าเด็กจะเสียอนาคต เสียเวลาเรียนอีก 1 ปี แต่ไม่กังวลว่าเด็กเสียเวลาไปแล้วตลอด 6 ปี หรือ 9 ปี ซึ่งส่วนตัวไม่เห็นด้วยที่เด็กจะต้องเสียเวลาถึง 9 ปี ก็ยังอ่านหนังสือไม่ออก จึงขอให้พิจารณาถึงการพัฒนาปรับปรุงระบบการซ่อมเสริมให้มีความเข้มแข็งขึ้น
ข่าวสำนักงานรัฐมนตรี ศธ.
... เน็ตช้า คลิ๊กที่ http://tuewsob.blogspot.com
... ห้องวิชาเอกครู คลิ๊กที่ http://uewsob2011.blogspot.com
... (ห้องข้อสอบใหม่) ..สอบครู..สอบผู้บริหาร..สอบบุค ลากร ที่
"ติวสอบดอทคอม "
ผอ.นิกร เพ็งลี
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น