หน้าหลัก ติวสอบดอทคอม เว็บฟรีข้อสอบออนไลน์

หน้าหลัก ติวสอบดอทคอม เว็บฟรีข้อสอบออนไลน์
หน้าหลัก ติวสอบดอทคอม เว็บฟรีข้อสอบออนไลน์

พัฒนาความรู้ สู่ รอง./ผอ.รร. ปี 2567

พัฒนาความรู้ สู่ รอง./ผอ.รร. ปี 2567
พัฒนาความรู้ สู่ รอง./ผอ.รร. ปี 2567

คลิ๊ก "สมัครพัฒนาความรู้สู่ผู้บริหาร / ครูผู้ช่วย

คลิ๊ก... สมัคร พัฒนาความรู้ สู่ ครูผู้ช่วย
คลิ๊ก... สมัคร พัฒนาความรู้ สู่ ผู้บริหาร

ติวสอบดอทคอม (เตรียมสอบครูผู้ช่วย-ผู้บริหาร-บุคลากร การศึกษา)

ติวสอบดอทคอม (เตรียมสอบครูผู้ช่วย-ผู้บริหาร-บุคลากร การศึกษา)
ติวสอบดอทคอม (เว็บฟรีข้อสอบออนไลน์ สอบครู ผู้บริหาร บุคลากร)

วันอาทิตย์ที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

เสวนาการนำนโยบายกระทรวงศึกษาธิการสู่การปฏิบัติ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ข้อสอบออนไลน์ ชุดใหม่








ติวสอบออนไลน์ ชุด นโยบายรัฐบาล



ลิงค์ข้อสอบ  ที่เกี่ยวข้องกับ  "นโยบายรัฐบาล"  โดย ติวสอบดอทคอม

ข่าวสำนักงานรัฐมนตรี 380/2556 เสวนาการนำนโยบายกระทรวงศึกษาธิการสู่การปฏิบัติ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
 จังหวัดขอนแก่น  นายจาตุรนต์ ฉายแสง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานเปิดการประชุมเสวนา การนำนโยบายกระทรวงศึกษาธิการสู่การปฏิบัติ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และบรรยายพิเศษ "การรวมพลังยกระดับคุณภาพการศึกษา" จัดโดยสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) โดยมีผู้บริหาร ครู ผู้แทนข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา นักเรียนนักศึกษา และผู้แทนองค์กรต่างๆ จากภาครับและเอกชน เข้าร่วมการเสวนา เมื่อวันอาทิตย์ที่ 3 พฤศจิกายน 2556 ณ โรงแรมโฆษะ อำเภอเมืองขอนแก่น ซึ่งข่าวสำนักงานรัฐมนตรี ขอเผยแพร่การบรรยายพิเศษในครั้งนี้โดยละเอียด
 
 
"ผู้ที่เข้าร่วมการเสวนาในวันนี้ต่างก็เป็นกำลังสำคัญต่อ ศธ.และวงการศึกษา เพราะ ศธ.ต้องการให้มีการรับฟังความคิดเห็น ให้เกิดการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นจากท่านทั้งหลาย การปฏิรูปการศึกษาที่ไม่มีส่วนร่วมจากฝ่ายต่างๆ โดยเฉพาะฝ่ายจัดการศึกษาหรือฝ่ายบริหารการศึกษาที่มีความสามารถ จะไม่สามารถประสบความสำเร็จหรือประสบความสำเร็จได้ยาก และต้องการการมีส่วนร่วมจากหลายฝ่ายด้วย
การปฏิรูป คือการเปลี่ยนแปลง คือการทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพร้อมกันในหลายๆ เรื่อง ยิ่งต้องการความเห็น คำแนะนำ ความรู้และประสบการณ์จากท่านทั้งหลาย เพื่อหาข้อเสนอที่ดี กระบวนการในการรับฟังความคิดเห็นจึงมีความจำเป็นอย่างมาก และต้องส่งเสริมให้มีการแลกเปลี่ยนความรู้ ประสบการณ์เพื่อนำไปสู่แนวทาง วิธีการปฏิบัติที่ดีและเป็นประโยชน์
คนจีนกล่าวว่า ห่างกันเพียงสิบลี้ สำเนียงก็ต่างกันไป คือ คนที่อาศัยอยู่ห่างกัน ก็พูดต่างกันจนกลายเป็นหลายภาษา หรือภาษาเดียวกันแต่มีหลายสำเนียง แต่ในการจัดการศึกษาไม่ควรให้เป็นเช่นนั้น การอยู่ห่างกันคนละเขต สอนกันคนละอย่างไม่ใช่เรื่องแปลก มีการส่งเสริมให้มีนวัตกรรมใหม่ๆ ให้มีความคิดที่หลากหลาย หน่วยงานส่วนกลางจะเป็นผู้กำหนดทิศทางใหญ่ๆ แต่เรื่องการสอน จะต้องมาช่วยกันคิดให้มีความหลากหลาย และจะต้องส่งเสริมให้มีการพูดคุย แลกเปลี่ยนกัน เพื่อหาวิธีที่ดีที่สุด
การจัดนิทรรศการต่างๆ ที่ ศธ. หรือหน่วยงานส่วนกลางบางจังหวัดกำลังดำเนินการอยู่ บางสถานศึกษามีการนำเอาการจัดการเรียนการสอนที่ดีมีคุณภาพมานำเสนอ ทำให้เห็นได้ชัดเจนว่าต้องการจะเสนออะไร การจัดนิทรรศการบางแห่งนำเสนอแบบเคยทำอะไรอยู่ก็นำมาแสดง เมื่อไปดูก็รู้ว่ากำลังทำอะไร แต่ไม่ได้มีการคัดเลือกการนำเสนออันที่ดีออกมา บางครั้งก็มีปัญหาว่าจัดนิทรรศการแล้ว ให้ความสนใจว่าได้จัดแล้วก็เป็นอันว่าสำเร็จแค่นั้น ซึ่งเป็นเรื่องที่จะต้องหาทางว่าจะมีการนำเสนอสิ่งดีๆ วิธีการเรียนการสอนที่ดี ที่หาได้จากหลายประเทศทั่วโลก หรือแม้แต่ในประเทศไทยเองได้อย่างไร
  
  
ประเด็นหลักเกี่ยวกับการปฏิรูปการศึกษา ก็คือเรื่องการปฏิรูปการเรียนรู้ที่เชื่อมโยงกันทั้งระบบ ซึ่งได้หารือกับ ผอ.เขตพื้นที่การศึกษาบางท่าน ก็มีความเห็นสอดคล้องกันมาก หลายเรื่องที่ดำเนินการอยู่ก็เป็นความพยายามที่จะให้มีการปฏิรูปการเรียนรู้ที่เชื่อมโยงกันทั้งระบบ การจัดการศึกษาหนีไม่พ้น 4-5 เรื่อง คือ หลักสูตร การเรียนการสอน การทดสอบวัดผล การประเมินผล เป็นต้น เรื่องเหล่านี้โยงไปที่ผลสัมฤทธิ์ คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้ที่จะจบการศึกษา ที่ต้องการให้เชื่อมโยงกันเพราะที่ผ่านมาไม่มีการเชื่อมโยงกันเท่าที่ควร บางเรื่องก็ไม่มีมาตรฐานอย่างที่ควรจะเป็น เช่น การทดสอบวัดผล
การทดสอบวัดผลที่เป็นมาตรฐานในการทำให้ทราบว่า ปัญหาของการศึกษาทั้งระบบเป็นอย่างไร หลังจากการปรับเปลี่ยนหลักสูตรเป็นการให้เกรดหรือหน่วยกิต ก็ไม่มีการทดสอบวัดผลกลาง แต่ให้ครูกับโรงเรียนเป็นผู้วัดผล ด้วยความคิดที่ว่าครูกับโรงเรียนรู้ดีกว่า น่าจะวัดผลได้ดีกว่า จนกระทั่งมีการจัดตั้งสถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (สทศ.) และสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (สมศ.) ซึ่งเป็นหน่วยงานทดสอบวัดผลและประเมินผลเมื่อประมาณ 8-10 ปีมานี้ ก่อนหน้านี้มีการจัดการศึกษากันโดยไม่ทราบว่าผลการจัดการศึกษาเป็นอย่างไร แต่ละโรงเรียนมีการให้เกรดกันตามอัธยาศัย เนื่องจากไม่ต้องการให้เด็กได้เกรด ทำให้การประเมินผลไม่ได้ส่งผลให้เกิดการพัฒนาคุณภาพของการเรียนการสอนเท่าที่ควร เราจึงไม่ทราบว่าเด็กของเราเรียนอ่อนวิชาอะไร
จนกระทั่งมีผลการจัดอันดับ PISA (Programme of International Student Assessment) ซึ่งประเทศไทยอยู่ในอันดับที่ 50 จาก 64 ประเทศ ผลการสอบ TOEFL (Test of English as a Foreign Language) ปรากฏว่าเด็กไทยสอบได้อันดับท้ายๆ ของอาเซียน สิ่งที่เราบอกคือ เด็กไทยอาจจะไปสอบเยอะ เด็กต่างชาติอาจจะไปสอบน้อย ทำให้อยู่ในอันดับท้าย ก็เป็นการปลอบใจกันไปอย่างนั้น แต่ว่าประเทศไทยไม่มี Proficiency Test ในการทดสอบภาษาอังกฤษที่เป็นมาตรฐาน หรือแม้แต่ Proficiency Test ภาษาไทย ซึ่งเป็นเรื่องที่แปลก ในเวลานี้ มีบางมหาวิทยาลัยกำลังดำเนินการจัดทำProficiency Test ภาษาไทยสำหรับชาวต่างชาติอยู่ แต่ควรจะมีการวัดผลตามหลักการเรียนภาษาแม่ของเด็กไทยอย่างไร และควรจะเรียนอย่างไร
  
 
การทดสอบวัดผลกลางไม่มี ทำให้มีการเรียนกันมาแล้วพบว่าเด็ก ป.หรือ ม.บางคนอ่านหนังสือไม่ออกก็มี จากการรับฟังครูบางท่าน ก็ได้ทราบปัญหาดังกล่าว โดยครูยกเหตุการณ์หนึ่งขึ้นมาว่าได้นำกระดาษที่มีข้อความให้เด็กที่กำลังจะเข้า ม.จำนวน ร้อยกว่าคนอ่าน เด็กนักเรียนประมาณ 10 คนอ่านไม่ออกเลย และเด็กนักเรียน ใน ต้องมีครูคอยนั่งอ่านทีละประโยคให้ฟัง ก็ต้องมาถามว่า มีการปล่อยให้เด็กเรียนผ่านมาได้อย่างไร หรือการสแกนเด็ก ป.และ ป.6 ทำให้ทราบว่าการอ่านของเด็กอยู่ในระดับที่ต้องปรับปรุงประมาณ แสนกว่าคน หากอ่านภาษาไทยไม่ออก จะเรียนวิชาอื่นได้อย่างไร เพราะฉะนั้นจึงจำเป็นต้องมีการทดสอบวัดผลกลาง
ประเทศต่างๆ ที่ประสบความสำเร็จในการจัดการศึกษา ต่างก็ใช้การทดสอบวัดผลกลาง บางประเทศที่ พัฒนาแล้ว เช่น สหรัฐอเมริกา ก็มีการถกเถียงกันหลายรอบว่าจะให้มีการใช้การทดสอบวัดผลกลางหรือไม่ ประเทศโปแลนด์มีการนำการทดสอบวัดผลกลางมาใช้ และมีการพัฒนาและทดสอบครู ซึ่งก็ถูกต่อต้านในตอนแรก โดยเฉพาะเมื่อมีการให้ครู ใน 3 ไปเรียนอีกครั้ง แต่เมื่อเวลาผ่านไป การศึกษาของโปแลนด์ จากเดิมที่อยู่ในอันดับท้ายๆ ของยุโรป กลายเป็นเหนือกว่าค่าเฉลี่ยของยุโรป
การทดสอบวัดผลกลางทำขึ้นเพื่อให้ทราบว่า 1) การจัดการศึกษาที่ทำอยู่เป็นอย่างไร ระบบการศึกษาที่ใช้อยู่ควรจะมีการแก้ไขอย่างไร และ 2) โรงเรียนและครูรู้จักเด็กของตัวเองว่าเรียนอะไร เป็นอย่างไร ซึ่งจะนำไปสู่การพัฒนา
หลักสูตรการเรียนการสอนมีปัญหาอย่างไร ก็ยังไม่ได้ดูรายละเอียด ไม่ได้ฟังคณะกรรมการหลักสูตร ซึ่งต้องมีขั้นตอนอีกจำนวนมากที่จะต้องมารับฟังความเห็น ต้องให้มามีส่วนร่วม ทราบว่า สพฐ.ก็มีให้นักวิชาการไปวิจัยอยู่ว่าหลักสูตรที่ใช้กันมา มีปัญหาอย่างไร เร็วๆ นี้ก็จะมาเอามาศึกษากัน ทราบว่ามีปัญหาอยู่พอสมควร การให้เด็กเรียนหลักสูตรที่มีถึง กลุ่มสาระ จึงมีเวลาเรียนภาษาไทยสัปดาห์ละไม่กี่ชั่วโมง
สาเหตุที่เด็กเรียนภาษาไทยอ่อน เนื่องจากมีการสอนให้จำ เน้นเป็นคำๆ แต่ไม่ได้สอนให้เด็กสะกดเป็น แต่ปัจจุบัน มีการเรียนการสอนภาษาที่มีสอนสะกดด้วย ต่างจากสมัยก่อนที่ทำกันมา คือ มีการใช้เทคนิค รู้ว่าเด็กมีพัฒนาการอย่างไร สอนภาษาให้คิดไปด้วย เพราะภาษาคือเครื่องมือที่ใช้คิดและสื่อสาร การสอนภาษาแบบท่องจำ ไม่ให้คิด เท่ากับเป็นการเสียโอกาสในการพัฒนาของเด็กไป
ขณะนี้มีการพัฒนาองค์ความรู้เกี่ยวกับการสอนภาษาขึ้นมา อาจารย์บางท่านได้แต่งหนังสือขึ้นมาเพื่อสอนสระ จากที่ได้เรียนภาษาจีนมา ในการใช้ภาษาจีน750 คำ ปรากฏว่ามีหนังสือหลายเล่มที่นักวิชาการมาเขียนอย่างเป็นระบบสำหรับการใช้คำศัพท์ 750 คำนั้น มีการวิเคราะห์มาแล้วว่า เอาคำศัพท์ต่างๆ ไปใช้ให้เหมาะสมกับสถานการณ์ ซึ่งของไทยก็กำลังดำเนินการในเรื่องนี้กันอยู่ แต่จะต้องทำให้เป็นระบบ และมีการแลกเปลี่ยนกันมากขึ้น เพื่อให้ผู้อ่านสามารถเรียนรู้คำศัพท์ได้มากขึ้น
หลักสูตรการเรียนภาษาอังกฤษ มีจุดมุ่งหมายเพื่อให้ผู้เรียนสามารถสื่อสารได้ หลักสูตร การเรียนการสอน การวัดผล และการประเมินผลเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกัน หากจุดประสงค์ของหลักสูตร คือการต้องให้ผู้เรียนใช้ภาษาได้ แต่การวัดผล วัดแค่การรู้คำศัพท์กับไวยากรณ์ และเด็กกว่า 90 เปอร์เซ็นต์เรียนภาษาอังกฤษโดยไม่มีวิชาสนทนา แล้วจะใช้การได้อย่างไร การเรียนภาษาอังกฤษเพื่อเตรียมตัวเข้าสู่ประชาคมอาเซียน แต่จะสอนไวยากรณ์ให้มากขึ้นและดีขึ้น จะมีประโยชน์ได้อย่างไร เด็กไทยเก่งเรื่องไวยากรณ์แต่ไม่สามารถพูดและสื่อสารได้ การไม่มีวิชาสนทนาในห้องเรียน เด็กจะพูดภาษานั้นได้อย่างไร จะมีวิชาสนทนาได้อย่างไร หากมีนักเรียน 45-50 คนต่อห้อง จึงโยงมาถึงการจัดการเรียนการสอน การจัดให้มีระบบวิชาเลือกดีหรือไม่ บางประเทศสอนภาษาอังกฤษโดยให้เด็กเล็กเรียนเฉพาะการฟังกับการพูด โตขึ้นมาหน่อยจึงสอนการอ่านและการเขียน ซึ่งประสบความสำเร็จเป็นอย่างมาก การจะสอนภาษาอังกฤษแบบไหน ต้องมาช่วยกันคิด และขณะนี้มีการดำเนินงานไปพอสมควรแล้ว
  
 
ศธ.ได้มีการหารือกับสถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (สทศ.) ในเรื่องการปรับการทดสอบวัดผลบ้างแล้ว การทดสอบวัดผลจะต้องสอดคล้องกับหลักสูตร การเรียนการสอนและคุณลักษณะพึงประสงค์ที่เราต้องการ คือ การเน้นให้เด็กคิดเป็น วิเคราะห์เป็น หากการทดสอบวัดผลเน้นให้เด็กจำอย่างเดียว ก็จะไม่ได้ผล การทดสอบวัดผลที่ต้องปรับมาก คือการทดสอบวัดผลเด็กเข้ามหาวิทยาลัยที่เป็นการออกข้อสอบนอกหลักสูตรมาก ทำให้เด็กไม่สนใจการเรียนในโรงเรียน การปฏิรูปที่พูดกัน ก็จะไม่มีใครสนใจเท่าไหร่ เพราะทั้งเด็ก ผู้ปกครองและครูจะมุ่งไปที่การเรียนเพื่อเตรียมตัวสอบเข้ามหาวิทยาลัยมากกว่า
ทางที่ดี คือ ใช้การทดสอบวัดผลกลางเป็นเครื่องมือในการคัดเลือกเด็กเข้ามหาวิทยาลัย หากคิดว่าการทดสอบวัดผลกลางยังไม่ดีพอ ก็มาช่วยกันปรับปรุงให้ดีขึ้น เชิญมหาวิทยาลัยมาช่วยออกข้อสอบ แต่ถ้าทำกันอย่างที่เป็นอยู่ ก็จะปฏิรูปได้ยาก และไม่มีคนสนใจ เพราะมีการออกข้อสอบนอกหลักสูตร รวมถึงการจัดสอบตามอัธยาศัย ตามสะดวกของมหาวิทยาลัย
เรื่องใหญ่มากที่ต้องการให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างชัดเจน คือ การเรียนการสอน เราใช้เวลากันสิบกว่าปีในการจัดโครงสร้างของกระทรวง และแก้ปัญหาที่เป็นผลกระทบที่ตามมาจากการจัดโครงสร้าง ซึ่งมีส่วนที่ดีคือ มีการสร้างความมั่นคงทางอาชีพให้กับครูและบุคลากรทางการศึกษามากขึ้น แต่สิ่งที่ขาดไปมาก คือ การปฏิรูปการศึกษา ในการปฏิรูปการศึกษาจะต้องแสดงออกที่ห้องเรียน ต้องมีการปรับการเรียนเปลี่ยนการสอน
เร็วๆ นี้ จะมีการจัดตั้งคณะกรรมการและกลไกเพื่อสื่อสารกับสาธารณชนทั่วประเทศ ว่า การทดสอบวัดผล PISA คืออะไร ทำไม่ต้อง PISAข้อสอบ PISA เป็นอย่างไร และจะมีการออกข้อสอบและนำข้อสอบดังกล่าวไปใช้ประโยชน์ได้อย่างไร
เมื่อพูดถึงเรื่องการเรียนการสอน โดยส่วนตัวแล้วชอบใช้คำว่า “การเรียนการสอน” บางคนเลี่ยงคำว่า “สอน” แต่การศึกษาจะเลี่ยงคำว่า “สอน” ไม่ได้ การศึกษาคือเรื่องสอนกับเรียน คนที่รู้มาก่อน สอนคนที่รู้ทีหลัง ซึ่งก็คือหน้าที่ครู และต้องเน้นการให้ความสำคัญกับครู ทั้งในเรื่องสถานะ อาชีพ ความมั่นคงและคุณภาพ การจะพัฒนาการเรียนการสอนได้ ต้องพัฒนาครู
นอกจากนี้ จะต้องมีการจัดโครงการเพื่อพัฒนาครูในการใช้เทคโนโลยีในการจัดการเรียนการสอนอย่างเร่งด่วน เพราะเด็กมีความสามารถค้นหาข้อมูลในอินเทอร์เน็ตได้อย่างคล่องแคล่ว และต้องให้ครูรู้วิธีสอนในโลกยุคอินเทอร์เน็ต ยุคที่ข้อมูลข่าวสารไร้พรมแดน เด็กสามารถเข้าถึงข้อมูลได้สะดวก เพื่อสอนให้เด็กคิด วิเคราะห์เป็น สามารถเรียนรู้ได้ด้วยตัวเอง
เรื่องสุดท้ายที่จะฝาก คือ การแนะนำอาชีพแก่นักเรียนสายสามัญ เพื่อส่งเสริมให้นักเรียนที่เหมาะที่จะไปเรียนสายอาชีพ นักเรียนที่จะมีอนาคต มีศักยภาพ มีงานทำ มีรายได้ดีขึ้น เนื่องจากเป็นเรื่องเร่งด่วนที่จำเป็นของประเทศไทยในขณะนี้ หากเรียนสายสามัญแล้วเรียนได้ดี เหมาะที่จะเรียน ก็ควรส่งเสริม แต่ข้อเท็จจริงคือ การเรียนสายสามัญ เพื่อเรียนต่อในมหาวิทยาลัยแล้วจบออกมาตกงานสูง จึงได้ขอให้ สพฐ.และเขตพื้นที่การศึกษา มีหน้าที่ทำให้เกิดการแนะนำอาชีพในโรงเรียนของตัวเองให้ได้ ส่วนการจะกำหนดเกรดเพื่อศึกษาต่อในโรงเรียนเดิม หรือจำนวนนักเรียนต่อห้อง เป็นเรื่องรองลงมา แต่เรื่องสำคัญขณะนี้ คือการทำความเข้าใจว่าการอาชีวศึกษากำลังปรับและพัฒนา เพื่อให้เด็กมีความสนใจมากขึ้น และเรื่องคุณภาพ ซึ่งแก้ได้ยาก แต่ก็ต้องแก้
  
สถาพร ถาวรสุข
สุดท้ายนี้ หวังว่าที่พูดคุยกันวันนี้ จะมีการช่วยกันคิดต่อ แลกเปลี่ยนความคิดเห็น รวมรวมองค์ความรู้ นำเรื่องที่เป็นการเรียนการสอนที่ดีที่ประสบความสำเร็จมาแลกเปลี่ยนกัน และสิ่งที่จะต้องทำร่วมกันคือ ทำให้เกิดกระบวนการในการรวบรวมองค์ความรู้ พัฒนาและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน เพื่อนำไปสู่การเรียนการสอนที่ดีและมีประสิทธิภาพในการปฏิรูปการศึกษาร่วมกัน และสร้างกระบวนการที่ต่อเนื่องให้เกิดขึ้นให้ได้ จึงจะเป็นการปฏิรูปการศึกษาที่ดีและประสบความสำเร็จ"

... เน็ตเร็ว คลิ๊กที่ www.tuewsob.com

... เน็ตช้า คลิ๊กที่ http://tuewsob.blogspot.com

... ห้องวิชาเอกครู คลิ๊กที่ http://uewsob2011.blogspot.com

... (ห้องข้อสอบใหม่) ..สอบครู..สอบผู้บริหาร..สอบบุคลากร ที่

"ติวสอบดอทคอม "

ผอ.นิกร  เพ็งลี

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

พัฒนาความรู้ครูผู้ช่วย 4 ภาค

พัฒนาความรู้ครูผู้ช่วย 4 ภาค
พัฒนาความรู้ครูผู้ช่วย 4 ภาค

ห้องสนทนา บน facebook

ห้องสนทนา บน facebook
ห้องสนทนาติวสอบดอทคอม

ข้อสอบออนไลน์ "ติวสอบดอทคอม" ชุดใหม่

คู่มือเตรียมสอบผู้บริหาร ภาค ก ข ค

แจ้งย้ายเว็บไปที่ www.tuewsob.com

คู่มือเตรียมสอบผู้บริหาร ภาค ก ข ค (ปรับปรุงใหม่)

รวม เล่ม + แผ่นพับ + ชีตช่วยจำ + DVD เนื้อหา + เสียงบรรยาย + EMS = 800 บาท
สนใจ คู่มือ ภาค ก ข ค ผู้บริหาร คลิ๊กเลย

สั่งจอง... โอนเงินเข้าชื่อบัญชี นายนิกร เพ็งลี ธนาคารกรุงไทย สาขาจอหอ บัญชีเลขที่ 341-1-38912-5 โอนเงินแล้วกรุณาโทรแจ้ง
0872494141 หรือ 0839660030

คู่มือ เตรียมสอบผู้บริหาร

คู่มือ เตรียมสอบผู้บริหาร
คู่มือ เตรียมสอบผู้บริหาร

ติวสอบออนไลน์ บน facebook

ติวสอบออนไลน์ บน facebook
ติวสอบออนไลน์ บน facebook

คลังหนังสือ ติวสอบดอทคอม

คลังหนังสือ ติวสอบดอทคอม
คลังหนังสือ ติวสอบดอทคอม

ติวสอบดอทคอม

ติวสอบดอทคอม
ติวสอบดอทคอม