ติวสอบออนไลน์ ชุด นโยบายรัฐบาล
ลิงค์ข้อสอบ ที่เกี่ยวข้องกับ "นโยบายรัฐบาล" โดย ติวสอบดอทคอม
http://tuewsob.blogspot.com/2013/11/blog-post_4.html
http://www.tuewsob.com/rr164.html
http://www.tuewsob.com/rr%20157%20pu%201.html
http://tuewsob.blogspot.com/2013/10/132556.html
http://tuewsob.blogspot.com/2013/10/blog-post_31.html
http://www.tuewsob.com/rr164.html
http://www.tuewsob.com/rr%20157%20pu%201.html
http://tuewsob.blogspot.com/2013/10/132556.html
http://tuewsob.blogspot.com/2013/10/blog-post_31.html
( คลิ๊ก ) สมัครติวสอบครูผู้ช่วย รอบ 2 ปี 56-57 (10 จุด) ที่
ศาลรธน.ชี้ชะตาที่มาส.ว.ระเบิดเวลาการเมือง
โดย : ธวัชชัย อินทรประดิษฐ์
บายไลน์-ธวัชชัย อินทรประดิษฐ์
นับจากนี้อีก 3 วัน คือวันพุธที่ 20 พ.ย.นี้ เวลา 11.00 น. มวลชนของทั้ง "ฝ่ายที่ต่อต้านรัฐบาล" และ "ฝ่ายที่สนับสนุนรัฐบาล" จะจับจ้องไปที่"ศาลรัฐธรรรมนูญ"
เพราะจะเป็นวันชี้ชะตาว่า ร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญประเด็นเกี่ยวกับ "ที่มาของส.ว." ขัด แย้ง หรือเป็นไปตามกระบวนการตามรัฐธรรมนูญ 2550 หรือไม่
ฝ่ายที่ต่อต้านรัฐบาล ซึ่งปักหลักชุมนุมอยู่ที่บริเวณถนนราชดำเนิน ก็รอให้มี "ประเด็นใหม่" เข้าทางของตนเอง เพื่อนำไปสู่การประกาศชัยชนะ และยกระดับกดดันรัฐบาล
ขณะที่ฝ่ายสนับสนุนรัฐบาล ก็ประเมินแล้วว่า หากไม่เคลื่อนไหวอะไรเพื่อเป็นการส่งสัญญาณไปยังศาลรัฐธรรมนูญ ก็อาจจะ "เพลี้่ยงพล้ำ" จนส่งผลกระทบต่อสถานภาพของรัฐบาลได้
ดังนั้น แกนนำแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) นำโดย ธิดา ถาวรเศรษฐ และ จตุพร พรหมพันธุ์ จึงได้ประกาศนัด "มวลชนคนเสื้่อแดง" ชุมนุมใหญ่ติดต่อกัน 3 วัน 18-20 พ.ย.นี้ ที่เมืองทองธานี เพื่อเกาะติดการวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ
แน่นอนการชุมนุมดังกล่าวย่อมถูกตีความได้ว่าเพื่อ "กดดันศาลรัฐธรรมนูญ" อย่างหลีกเลี่ยงมิได้
กล่าวสำหรับคำร้องในคดีการแก้ไขรัฐธรรมนูญเกี่ยวกับที่มา ส.ว.ว่าเข้าข่ายเป็นการกระทำเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจในการปกครองประเทศ โดยวิธีทางที่ไม่ได้บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ ขัดรัฐธรรมนูญมาตรา 68 วรรคหนึ่งหรือไม่
มีสมาชิกรัฐสภาใช้สิทธิยื่นตีความ หลังจากที่ประชุมรัฐสภาโหวตผ่านวาระ 3 เมื่อวันที่ 28 ก.ย.ที่ผ่านมา ด้วยคะแนนเห็นชอบ 358 เสียง ไม่เห็นชอบ 2 เสียง งดออกเสียง 30 เสียง
คำร้องดังกล่าว "พรรคประชาธิปัตย์" และ"กลุ่ม 40 ส.ว." ยื่นให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย ประกอบด้วยคำร้องของ พล.อ.สมเจตน์ บุญถนอม ส.ว.สรรหา กับคณะ คำร้องของ รสนา โตสิตระกูล ส.ว.กทม. กับคณะ คำร้องของ วิรัตน์ กัลยาศิริ ส.ส.สงขลา และ คำร้องของ พีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาธิปัตย์
ทั้งนี้ศาลรัฐธรรมนูญได้สั่งรวมคำร้องทั้ง 4 ไว้เป็น 1 สำนวน โดยผู้ร้องนอกจากชี้ให้ศาลเห็นว่า การแก้ไขรัฐธรรมนูญประเด็นนี้เป็นการได้มาซึ่งอำนาจที่ไม่ได้เป็นไปตามรัฐธรรมนูญ จึงขอให้ศาลฯวินิจฉัยให้ร่างแก้ไขเป็นอันตกไปแล้ว ยังขอให้ศาลสั่งยุบพรรคเพื่อไทย และ 5 พรรคร่วมรัฐบาล รวมถึงตัดสิทธิทางการเมือง ส.ส.และส.ว.รวม 312 คน ที่โหวตแก้ไข
โดยเมื่อวันที่ 8 พ.ย.ที่ผ่านมา คณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ที่มี จรูญ อินทจาร เป็นประธาน ได้ออกนั่งบัลลังก์ไต่สวนพยานฝ่ายผู้ร้อง และผู้ถูกร้อง
มีพยานเข้าไต่สวนรวม 8 ปาก ประกอบด้วย พล.อ.สมเจตน์ บุญถนอม, ไพบูลย์ นิติตะวัน ส.ว.สรรหา, รสนา โตสิตระกูล และส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ นำโดย วิรัตน์ กัลยาศิริ ส.ส.สงขลา, พีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค ส.ส.บัญชีรายชื่อ , รังสิมา รอดรัศมี ส.ส.สมุทรสงคราม, นิพิฏฐ์ อินทรสมบัติ ส.ส.พัทลุง
ขณะที่ ปฏิพล อากาศ ทนายความรับมอบอำนาจจาก สุรเดช จิรัฐติเจริญ ส.ว.ปราจีนบุรี ผู้ถูกร้องที่ 293 เข้าร่วมการไต่สวน ส่วนสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ ประธานสภาผู้แทนราษฎร นิคม ไวยรัชพานิช ประธานวุฒิสภา และสมาชิกรัฐสภาผู้ถูกร้องอีก 311 คน ปฎิเสธการเข้าร่วมไต่สวน
นอกจากนี้ ศาลฯ ยังได้เรียก สุวิจักขณ์ นาควัชระชัย เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร และ อัจฉรา จูยืนยง ผู้อำนวยการกลุ่มงานโสตทัศนูปกรณ์ สำนักเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร เป็นพยานของศาลเข้าไต่สวนด้วย
สำหรับพยานฝ่ายผู้ร้องทั้ง 7 ปากต่างให้ถ้อยคำสอดคล้องกันว่า การแก้ไขรัฐธรรมนูญเกี่ยวกับที่มา ส.ว. ทั้งเนื้อหาและกระบวนการแก้ไขขัดต่อรัฐธรรมนูญและข้อบังคับการประชุมรัฐสภา
อาทิ การเสนอญัติร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญฯ กับร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญที่นำมาให้สมาชิกรัฐสภาพิจารณาในวาระที่ 1 เป็นคนละฉบับกับร่างที่ อุดมเดช รัตนเสถียร ผู้เสนอร่างและคณะ ยื่นต่อสำนักเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ทำให้ร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญที่ผ่านความเห็นชอบเป็นร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญปลอม
ส.ว.ผู้ที่ลงชื่อเสนอร่างแก้ไขเป็นผู้มีส่วนได้เสียกับเนื้อหาสาระที่มีการแก้ไข, เนื้อหาที่แก้ไขเป็นการเปลี่ยนแปลงรูปแบบของรัฐ ทำให้ผิดเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญที่ต้องการให้องค์กรวุฒิสภาเป็นองค์กรตรวจสอบ กลั่นกรอง การใช้อำนาจรัฐ
นอกจากนั้นยังตัดสิทธิการอภิปรายของผู้สงวนคำแปรญัตติ 57 คน, การพิจารณาไม่ได้เรียงเป็นรายมาตรา, มีการเสียบบัตรลงคะแนนแทนกัน, เป็นการลิดรอนอำนาจการตรวจสอบความชอบด้วยรัฐธรรมนูญของศาลรัฐธรรมนูญ รวมทั้งยังมีพฤติกรรมบ่งชี้ว่ามีการแลกเปลี่ยนผลประโยชน์กันในการเสนอและลงมติแก้ไขรัฐธรรมนูญระหว่าง ส.ส. และ ส.ว.
วิรัตน์ กัลยาศิริ ชี้แจงตอนหนึ่งในการไต่สวนว่า การเสนอร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญดังกล่าวภาษาสภา เขาเรียกว่า “ผลัดกันเกาหลัง” คือมีการแลกเปลี่ยนผลประโยชน์กันระหว่าง ส.ส. ส.ว. โดยให้ ส.ว.เสียงข้างมากเป็นผู้เสนอและให้ความเห็นชอบกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 190 เกี่ยวกับการกระทำใดที่เข้าข่ายเป็นสนธิสัญญาไม่ต้องเสนอขอความเห็นชอบจากรัฐสภา
ขณะเดียวกันเสียงข้างมากในสภาผู้แทนฯ ก็เสนอแก้ไขที่มาของ ส.ว. และสอดใส่เพิ่มมาตราที่เป็นการปลดล็อคให้ ส.ว. ที่กำลังจะหมดวาระในเดือน มี.ค.2557 สามารถลงสมัครรับเลือกตั้ง ส.ว.ได้ทันทีโดยไม่ต้องเว้นวรรค รวมทั้งมีหลักฐานชัดเจนเป็นทั้งภาพและเสียงของการประชุมรัฐสภา เพื่อลงมติแก้ไขรัฐธรรมนูญในวันที่ 10 ก.ย. ที่พบว่ามีการเสียบบัตรลงมติแทนกันของ ส.ส.พรรคเพื่อไทย
"ผมเชื่อว่าการแก้ไขรัฐธรรมนูญในเรื่องนี้ผิดทั้งวิธีสารบัญญัติและสบัญญัติ และมีผลเป็นการเปลี่ยนแปลงรูปแบบรัฐที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญชัดเจน" นายวิรัตน์ระบุ
ขณะที่ ไพบูลย์ นิติตะวัน ระบุว่า ร่างแก้ไขประเด็นที่มาส.ว. ที่เสนอให้ที่ประชุมรัฐสภาพิจาณาวาระ 1 เป็นคนละร่างกันกับที่ อุดมเดช รัตนเสถียร เสนอสำนักเลขาธิการสภาฯ จึงถือว่าร่างแก้ไขที่ผ่านมาความเห็นชอบของรัฐสภาเป็นร่างปลอม เพราะอนุกรรมาธิการตรวจสอบการทุจริตของวุฒิสภาเป็นประธาน ได้เรียกเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องมาสอบถาม ก็ยืนยันว่ามีเจ้าหน้าที่มายื่นขอให้แก้ไขร่างเกี่ยวกับที่มาของ ส.ว. ที่ผ่านความเห็นชอบจากสภาผู้แทนฯ แล้ว กับสำนักเลขาธิการวุฒิสภา ในวันเสาร์ที่ 23 มี.ค.
และเป็นการเสนอร่างแก้ไขที่เป็นสาระสำคัญเพราะเป็นการเพิ่มขึ้นมาอีก 1 มาตรา โดยเป็นประเด็นเกี่ยวกับให้ผู้ที่เป็น ส.ว.อยู่สามารถลงสมัครรับเลือกตั้งเป็น ส.ว.ได้ โดยไม่ต้องเว้นวรรค
"ตามหลักแล้วรัฐธรรมนูญกำหนดให้การแก้ไขรัฐธรรมนูญต้องทำเป็นญัตติและเสนอโดยสมาชิกรัฐสภาไม่น้อยกว่า 1 ใน 5 ของสมาชิกรัฐสภาทั้งหมด ดังนั้นถ้าจะแก้ไขก็ต้องทำเป็นญัติขอแก้ไขใหม่ ไม่ใช่มายื่นแก้ไขในลักษณะนี้" ไพบูลย์ ระบุ พร้อมตอกย้ำว่า การกระทำดังกล่าวเป็นการกระทำเพื่อให้ได้มาซึ่งวิธีการที่ไม่ได้บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ
อย่างไรก็ตาม คณะตุลาการฯ ได้ให้ความสนใจในประเด็น ส.ส.เสียบบัตรแทนกัน และประเด็นการกล่าวหาว่าร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญที่ส่งให้วุฒิสภาพิจารณาเป็นคนละฉบับกับที่สภาผู้แทนฯ ให้ความเห็นชอบ เป็นพิเศษ
ถึงขนาดที่ตุลาการฯ ได้ซักถามอย่างละเอียด พร้อมกับให้ทางสำนักงานศาลฯ เปิดคลิปวีดีโอการประชุมรัฐสภา ที่มีการเสียบบัตรแทนกัน ประกอบการซักถามทุกแง่ทุกมุม โดยมี รังสิมา รอดรัศมี เจ้าของคลิป เป็นผู้อธิบายถึงการเสียบบัตรแทนกัน
คดีนี้ยังไม่มีใครรู้ล่วงหน้าว่า ศาลฯ จะวินิจฉัยออก"หัว" หรือ "ก้อย"
หากศาลฯ วินิจฉัยให้เป็น "โมฆะ" ก็เข้าทาง "มวลชนต่อต้านรัฐบาล" ที่จะประกาศเป็นชัยชนะ และหยิบยกขึ้นมาเป็นประเด็นถล่มรัฐบาล
ตรงกันข้ามหากวินิจฉัยเป็นคุณต่อฝ่ายรัฐบาล "มวลชนคนเสื้่อแดง"คงพอใจ และชื่นชมว่าศาลฯ มีความเป็นธรรม แต่หากชี้ขาดเป็นผลลบ ตุลาการฯ คงถูกถล่มเละแน่
นสพ.กรุงเทพธุรกิจ
( คลิ๊ก ) สมัครติวสอบครูผู้ช่วย รอบ 2 ปี 56-57 (10 จุด) ที่
... เน็ตช้า คลิ๊กที่ http://tuewsob.blogspot.com
... ห้องวิชาเอกครู คลิ๊กที่ http://uewsob2011.blogspot.com
... (ห้องข้อสอบใหม่) ..สอบครู..สอบผู้บริหาร..สอบบุค ลากร ที่
"ติวสอบดอทคอม "
ผอ.นิกร เพ็งลี
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น