หน้าหลัก ติวสอบดอทคอม เว็บฟรีข้อสอบออนไลน์

หน้าหลัก ติวสอบดอทคอม เว็บฟรีข้อสอบออนไลน์
หน้าหลัก ติวสอบดอทคอม เว็บฟรีข้อสอบออนไลน์

พัฒนาความรู้ สู่ รอง./ผอ.รร. ปี 2566

พัฒนาความรู้ สู่ รอง./ผอ.รร. ปี 2566
พัฒนาความรู้ สู่ รอง./ผอ.รร. ปี 2566

คลิ๊ก "สมัครพัฒนาความรู้สู่ผู้บริหาร / ครูผู้ช่วย

คลิ๊ก... สมัคร พัฒนาความรู้ สู่ ครูผู้ช่วย
คลิ๊ก... สมัคร พัฒนาความรู้ สู่ ผู้บริหาร

ติวสอบดอทคอม (เตรียมสอบครูผู้ช่วย-ผู้บริหาร-บุคลากร การศึกษา)

ติวสอบดอทคอม (เตรียมสอบครูผู้ช่วย-ผู้บริหาร-บุคลากร การศึกษา)
ติวสอบดอทคอม (เว็บฟรีข้อสอบออนไลน์ สอบครู ผู้บริหาร บุคลากร)

วันจันทร์ที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2559

กปภ.เดินหน้า17โครงการสำรองน้ำดิบ-สู้ภัยแล้ง

เรื่องใหม่น่าสนใจ  (ทั้งหมด ที่ )


(เนื้อหา-ข้อสอบ 1,000 ชุด หมื่นข้อ ภาค กข+ 40 วิชาเอก) ที่


ติวสอบดอทคอม คลิ๊ก www.tuewsob.com 



-คู่มือ 4 ชุด นโยบาย บริบริหาร ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้

-เกณฑ์ประเมินคุณภาพภายนอกรอบสี่ โดย สมศ.

- พรบ.เงินเดือนใหม่ข้าราชการครูฯ พ.ศ.2558  


              ข้อสอบออนไลน์ ( พัฒนาความรู้ครู - ผู้บริหาร - บุคลากรการศึกษาชุดใหม่ 


 เตรียมสอบ บน ยูทูป ทั้งหมด ได้ที่

 ติวสอบ บน ยูทูป


 คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้   
เตรียมสอบผู้บริหารสถาน+การศึกษา 
เตรียมสอบครูผู้ช่วย

กปภ.เดินหน้า17โครงการสำรองน้ำดิบ-สู้ภัยแล้ง


กปภ.เดินหน้า17โครงการสำรองน้ำดิบ-สู้ภัยแล้ง

เกาะติดวิกฤติแล้ง : กปภ.เดินหน้า 17 โครงการ สำรองน้ำดิบ-สู้ภัยแล้ง

 
    จากสภาวะภัยแล้งที่ส่งผลกระทบกับกลุ่มเกษตรกร ทำให้ขาดแคลนน้ำเพื่อการเกษตร ขณะเดียวกันภาวะน้ำสะสมในเขื่อนต่างๆ และแม่น้ำคูคลองที่ลดระดับลง ยังอาจส่งผลต่อน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภคที่จะกระทบต่อประชาชนจำนวนมาก
 
    ล่าสุด การประปาส่วนภูมิภาค (กปภ.) มีแผนงานใช้งบประมาณ 8,000 ล้านบาท รับมือสถานการณ์แล้ง ทั้งระยะสั้น-ระยะยาว และแก้ปัญหาเฉพาะหน้า โดยเดินหน้า 17 โครงการจัดหาน้ำดิบสำรอง พร้อมเร่งทำยุทธศาสตร์น้ำในปี 2560-2561 และบูรณาการหน่วยงานเกี่ยวข้องสู้ภัยแล้งอย่างยั่งยืน
 
    “รัตนา กิจวรรณ” ผู้ว่าการการประปาส่วนภูมิภาค กล่าวถึงการรับมือภัยแล้งว่า กปภ.ได้กำหนดมาตรการรับสถานการณ์ภัยแล้งในปี 2559 ไว้ 3 ระยะด้วยกัน คือ ในระยะเร่งด่วน จะเร่งดำเนินการขุดลอกคูคลอง วางระบบท่อน้ำดิบ โดยใช้งบประมาณกว่า 300 ล้านบาท และมีงบลงทุนประจำปีอีก 700 ล้านบาท ประกอบด้วย แผนงานเจาะบ่อบาดาล วางท่อน้ำดิบ ก่อสร้างระบบผลิตและวางท่อ ปรับปรุงแหล่งน้ำ ขุดสระเก็บน้ำและวางท่อขยายเขต
 
    รวมทั้งในปีนี้มีการจัดซื้อรถบรรทุกน้ำเพิ่มอีก 10 คัน พร้อมจัดตั้งศูนย์อำนวยการเฉพาะกิจและแก้ไขภัยแล้งของ กปภ. ทั้งในส่วนสำนักงานใหญ่ กปภ.เขต และ กปภ.สาขา
 
    ส่วนในระยะสั้น จัดทำแผน 17 โครงการ วงเงิน 1,155 ล้านบาท ประกอบด้วย แผนงานวางท่อน้ำดิบ ก่อสร้างระบบผลิตและวางท่อ และก่อสร้างระบบผลิต เพื่อรองรับการหาแหล่งน้ำสำรองเพิ่มเติม ส่วนในระยะยาวจะกำหนดยุทธศาสตร์บริการจัดการน้ำระหว่างปี 2560-2561 โดยใช้งบประมาณอีกกว่า 4,000 ล้านบาท ประกอบด้วย แผนงานเจาะบ่อบาดาล วางท่อน้ำดิบ ก่อสร้างระบบผลิตและวางท่อ ก่อสร้างระบบผลิต ปรับปรุงแหล่งน้ำ และขุดสระเก็บน้ำ
 
    นอกจากนี้ยังกู้เงินมาสำรองไว้บริหารจัดการน้ำกว่า 1,700 ล้านบาท เพื่อขยายพื้นที่ให้บริการน้ำประปา ปรับปรุงระบบการผลิตด้านต่างๆ พร้อมจัดตั้งศูนย์อำนวยการเฉพาะกิจป้องกันและแก้ไขปัญหาภัยแล้ง ที่ กปภ.สำนักงานใหญ่ เพื่อติดตามสถานการณ์ภัยแล้งและตั้งศูนย์อำนายการเฉพาะกิจในพื้นที่ 10 เขตรับผิดชอบของ กปภ.ทั่วทุกภาค
 
    “ขณะเดียวกันยังร่วมกับหลายภาคส่วนจัดโครงการ “ราษฎร์ รัฐ ร่วมใจช่วยภัยแล้ง” แจกจ่ายน้ำให้ประชาชนในพื้นที่ประสบภัยแล้ง เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนด้วย โดยร่วมกับหลายหน่วยงาน ทั้งกองทัพบก การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค กรมทรัพยากรน้ำบาดาล กรมทางหลวง และปตท. ทั้งนี้ในปี 2558 ที่ผ่านมา กปภ.มีการจ่ายน้ำฟรีเพื่อช่วยเหลือภัยแล้งไปแล้วประมาณ 642 ล้านลิตร คิดเป็นมูลค่า 11.6 ล้านบาท และปีนี้ได้เตรียมการเป็นพิเศษใน กปภ.สาขา ที่เคยมีปัญหาในปีก่อน” ผู้ว่าการ กปภ. กล่าว
 
    รัตนา ระบุด้วยว่า ปีที่ผ่านมาแม้ผลจากพายุหว่ามก๋อ จะทำให้มีฝนตกเป็นบริเวณกว้าง ซึ่งน่าเป็นผลดีต่อการที่น้ำจะไหลลงอ่างเพื่อกักเก็บไว้ใช้ในการผลิตน้ำประปา แต่จากข้อมูลปริมาณน้ำฝนตกสะสมทั่วประเทศในปี 2558 น้อยกว่าเกณฑ์ปกติอยู่มาก จะทำให้ปีนี้เกิดภาวะภัยแล้งรุนแรง ทาง กปภ.จึงกำชับให้ กปภ.ทั้ง 234 สาขา เร่งสำรวจแหล่งน้ำสำรองในแต่ละพื้นที่ ทั้งที่เป็นส่วนของเอกชน แหล่งน้ำสาธารณะหรือหน่วยงานอื่นๆ ที่สามารถนำมาใช้เป็นแหล่งน้ำดิบในการผลิตน้ำประปาได้เพื่อเป็นน้ำต้นทุนสำรอง รวมทั้ง กปภ.ยังทำข้อตกลงกับกรมชลประทาน เพื่อให้จัดสรรน้ำให้เพียงพอต่อการผลิตน้ำประปา แต่ขณะเดียวกันก็มองแหล่งน้ำอื่นไว้ด้วย เพราะอาจจะมีสิ่งที่ควบคุมไม่ได้ เช่น การลักลอบสูบน้ำเพื่อไปใช้ในการเกษตร
 
    อย่างไรก็ตาม แม้ กปภ.จะพยายามหาแหล่งน้ำสำรอง แต่ก็อยากจะขอความร่วมมือประชาชนช่วยกันประหยัดการใช้น้ำ และช่วยกันลดความสูญเสีย อย่างเช่น ช่วยกันตรวจดูท่อที่ชำรุดรั่วไหล
 
    “ปัจจุบันประชาชนบางส่วนยังไม่เห็นความสำคัญของการประหยัดน้ำ คิดว่าน้ำเป็นของหาง่ายและไม่มีวันหมด และเห็นว่าน้ำประปามีราคาถูกสามารถที่จะจ่ายได้ จึงไม่ได้คิดเรื่องการประหยัดน้ำ ซึ่งเป็นความเข้าใจผิด เพราะสถานการณ์น้ำปัจจุบันมีความน่าเป็นห่วง เห็นได้จากคุณภาพน้ำดิบจากแม่น้ำสายหลักที่คุณภาพเสื่อมลงมาก”
 
    ขณะที่ “จิรชัย ทองมูลโร่ย” ประธานกรรมการการประปาส่วนภูมิภาค กล่าวว่า จากการประเมินสถานการณ์ภัยแล้งร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทุกภาคส่วนอย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะการติดตามสถานการณ์น้ำท่าร่วมกับกรมชลประทาน พบว่าในปี 2559 ประเทศไทยจะประสบปัญหาภัยแล้งที่รุนแรงและยาวนานกว่าทุกปี
 
    ดังนั้น กปภ.จึงได้ประชุมประเมินสถานการณ์ร่วมกับกรมชลประทาน กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย และกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น เพื่อบูรณาการแก้ปัญหา โดยนำข้อมูลของ กปภ.สาขาที่ประสบภัยแล้งปีที่ผ่านมา เข้าไปไว้ในแผนการจัดสรรน้ำปี 2559 และยืนยันว่า จะกักเก็บน้ำไว้เพื่อการอุปโภคบริโภคเป็นอันดับแรก ในกรณีพื้นที่ใดมีน้ำดิบไม่พอผลิตน้ำประปา กรมชลประทานพร้อมจะสูบหรือผันน้ำจากแหล่งน้ำใกล้เคียงเข้ามาช่วยเหลือ
 
    ส่วนกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย และกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น จะให้ความร่วมมือกับ กปภ.ในการพัฒนาและแก้ไขปัญหาแหล่งน้ำดิบ ตลอดจนการเตรียมความพร้อมเพื่อให้การช่วยเหลือประชาชนในแต่ละพื้นที่หากประสบปัญหาภัยแล้งรุนแรง
 
    สำหรับการแก้ปัญหาภัยแล้งอย่างยั่งยืน กปภ.ได้กำหนดยุทธศาสตร์ปี 2560-2561 เดินหน้าแผนงานเจาะบ่อบาดาล วางท่อน้ำดิบ ก่อสร้างระบบผลิตและวางท่อ ปรับปรุงแหล่งน้ำและขุดสระเก็บน้ำ วงเงินรวมประมาณ 4,000 ล้านบาท เพื่อเสริมสร้างศักยภาพการเก็บน้ำและสูบจ่ายน้ำประปาให้ประชาชนได้มีน้ำประปาใช้ตลอดทั้งปี
 
    จิรชัย กล่าวทิ้งท้ายว่า “แม้ภัยแล้งจะเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นเป็นปกติทุกปี และกปภ.มีการลงทุนแก้ปัญหาน้ำดิบอย่างต่อเนื่องแล้วก็ตาม แต่ยังต้องขอคว?ามร่วมมือประชาชนในการประหยัดน้ำ และช่วยกันตรวจสอบระบบท่อประปาภายในบ้านไม่ให้เกิดการรั่วไหล และหากประชาชนประสบปัญหาสามารถแจ้งได้ที่สำนักงานของ กปภ.ทั้ง 234 สาขา”
 
 
นักวิชาการหวั่นสงครามแย่งน้ำ
 
 
    ดร.ธนวัฒน์ จารุพงษ์สกุล ภาควิชาธรณีวิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวถึงสถานการณ์ภัยแล้งว่า ปีที่แล้วฝนตกช้า และมีปริมาณที่ตกลงมาน้อย ทำให้น้ำต้นทุนที่มีอยู่ในเขื่อนหลักๆ ทั่วประเทศมีปริมาณน้อยกว่าปีที่แล้วมาก ที่ผ่านมาหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการน้ำก็พยายามแก้ปัญหาด้วยการลดการปล่อยน้ำ รวมถึงรณรงค์ให้ชาวนาในพื้นที่ชลประทานในภาคกลางงดปลูกข้าวนาปรังและพยายามปล่อยน้ำลงมาให้น้อยที่สุด
 
    “ถ้าประเมินจากปริมาณน้ำต้นทุนที่มีอยู่ใน 4 เขื่อนหลัก สถานการณ์น้ำตอนนี้เริ่มเห็นแล้วว่าไม่น่าจะเพียงพอ ในเดือนมกราคมนี้เริ่มเห็นชัดเจนมากขึ้น คาดว่าในเดือนเมษายนนี้ สถานการณ์ภัยแล้งจะหนักหน่วง และฝนที่ตกตอนนี้เป็นฝนที่ตกท้ายเขื่อนคลายความร้อนเท่านั้น ไม่ได้เติมน้ำต้นทุนในเขื่อนและฝนที่ตกลงมาก็ไม่ได้มีปริมาณมากเพียงพอ”
 
    ดร.ธนวัฒน์ ระบุว่า จากสถานการณ์ที่กำลังเผชิญภัยแล้ง ในเดือนมีนาคมและเมษายนปีนี้ จะร้อนสูงสุดเป็นประวัติการณ์ก็ได้ สิ่งที่ตามมาอาจจะมีฝนตกมีพายุฤดูร้อน แต่พายุฤดูร้อนก็ไม่ได้มีปริมาณน้ำฝนมาก อาจมีลมกระโชก พายุลูกเห็บ ความรุนแรงก็จะตามมา ทั้งนี้จากแบบจำลองของเอลนีโญที่นักวิทยาศาสตร์ได้จัดทำขึ้น ตอนนี้ประเทศไทยยังอยู่ในปรากฏการณ์เอลนีโญที่รุนแรง สภาพอากาศจะเข้าสู่ภาวะปกติในช่วงต้นฤดูฝนคือเดือนพฤษภาคมปีนี้
 
    ส่วนการบริหารจัดการน้ำใน 4 เขื่อนหลัก อาจารย์ภาควิชาธรณีวิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ ผู้นี้ กล่าวว่า เท่าที่สังเกตดูตอนนี้มีปริมาณน้ำปริ่มๆ แต่ตรงนั้นเป็นตัวเลขในเชิงคณิตศาสตร์ ความจริงแล้วการปล่อยน้ำต้องคำนึงถึงปัจจัยผันแปร เพราะปริมาณน้ำในเขื่อนที่มีอยู่จะมีการระเหย ปริมาณน้ำที่ตั้งไว้คงต่ำกว่าตัวเลขคาดการณ์ รวมถึงอาจจะต้องมีการปล่อยน้ำมากกว่าปริมาณที่หน่วยงานที่รับผิดชอบตั้งเอาไว้ เพราะตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์เป็นต้นไป เราจะเจอปัญหาเรื่องน้ำทะเลหนุน ทำให้เกิดปัญหาน้ำเค็ม จึงอาจจะต้องปล่อยน้ำเพื่อผลักดันน้ำเค็มมากขึ้น ดังนั้นหน้าแล้งปีนี้จึงคิดว่าหนักหนาสาหัส
 
    ดร.ธนวัฒน์ เห็นว่า การแก้ปัญหาระยะสั้น ให้หน่วยงานภาครัฐออกมาให้ความรู้และสร้างความตระหนักวิกฤติภัยแล้งปีนี้ เพื่อให้ทุกภาคส่วนช่วยกันประหยัดน้ำ ไม่ใช่เฉพาะคนในเมือง ภาคอุตสาหกรรม ภาคอุปโภคบริโภค ภาคเกษตรก็ต้องช่วยกัน อย่าขโมยสูบน้ำที่ปล่อยออกมา ต้องประหยัดน้ำตั้งแต่วันนี้ ไม่ใช่ไปรณรงค์กันตอนที่เกิดวิกฤติแล้ว ซึ่งคนกรุงเทพฯ ก็ยังไม่เห็นวิกฤติ ส่วนหน่วยงานที่ผลิตน้ำประปาก็ควรผลิตน้ำประปาสำรองเอาไว้ แล้วมีมาตรการออกมา เช่น ปล่อยน้ำในปริมาณลดลง พอเริ่มวิกฤติจริงก็อาจจะปล่อยน้ำแบบวันเว้นวัน เพื่อเตือนประชาชนจะได้รู้ว่าตอนนี้เรากำลังเข้าสู่ภาวะที่เสี่ยงมากๆ ที่จะขาดน้ำ
 
    “ปีนี้คงเห็นภาคเกษตรแย่งน้ำหนักกว่าทุกปี คงเห็นสงครามแย่งน้ำที่เป็นรูปธรรม ในส่วนนี้ต้องทำความเข้าใจและมีระบบเยียวยา โดยเฉพาะชาวนาที่ไม่ได้ปลูกข้าวนาปีในปีที่แล้ว เพราะเชื่อรัฐบาล ซึ่งกลุ่มนี้น่าเห็นใจที่สุด รัฐบาลต้องเข้าไปช่วยเหลือ ไม่เช่นนั้นเขาจะเดือดร้อนหนัก โดยความเสี่ยงขาดแคลนน้ำในภาคเกษตรกรจะประสบปัญหาทั่วประเทศ ทั้งในเขตพื้นที่ชลประทานและนอกเขตพื้นที่ชลประทาน ตอนนี้พื้นที่วิกฤติมากคือภาคกลาง เพราะชาวนาคุ้นเคยกับการได้น้ำมาตั้งแต่ในอดีต อย่างเช่นปี 2549 ที่วิกฤติหนักที่สุด ชาวนาในภาคกลางก็ยังได้น้ำปลูกข้าวนาปรังได้ แต่ปีนี้ภัยแล้งน่าจะหนักกว่าปี 2549 ข้าวนาปรังที่ปลูกจะได้รับความเสียหาย ส่วนภาคใต้ปัญหาไม่หนัก”
 
    อาจารย์ภาควิชาธรณีวิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ กล่าวด้วยว่า การเรียนรู้ของเรายังน้อย โดยเฉพาะคนที่บริหารจัดการน้ำ เพราะธรรมชาติบอกและเตือนแล้วว่าธรรมชาติเปลี่ยนไปแล้ว แต่คนที่บริหารจัดการน้ำยังมีวิธีคิดและปรัชญาในการบริหารจัดการน้ำเป็นแบบเดิมๆ จึงต้องมาดูกันทั้งระบบ ซึ่งเราต้องปรับตัวกับสภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลงไป และปรับตัวกับทรัพยากรน้ำที่ไม่แน่นอน
 
    ทั้งนี้ หน่วยงานของรัฐและรัฐบาลจะต้องเอาจริงเอาจัง ไม่มองระยะสั้น ต้องมองระยะยาวในหลายมุม ไม่ใช่มองหาน้ำอย่างเดียว เช่นเวลาเกิดภัยแล้งก็ไปมองเรื่องการผันน้ำเข้ามา ตรงนี้เป็นการแก้ไขปัญหามิติเดียว ปัญหาที่จะตามมาอาจจะใหญ่กว่าการแก้ปัญหาภัยแล้งที่ทำความเสียหายมากกว่า เช่น เมื่อขาดแคลนน้ำก็หาน้ำเข้ามาเยอะๆ แต่เมื่อมีน้ำเยอะก็อาจเจอกับปัญหาน้ำท่วมหนักด้วย

ที่มา ; เว็บ นสพ.คม ชัด ลึก


 คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้   

เตรียมสอบผู้บริหารสถาน+การศึกษา 
เตรียมสอบครูผู้ช่วย

ฟรี... ห้องเตรียม-ครูผู้ช่วย
-ผู้บริหาร-บุคลากรการศึกษา  ที่ 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

พัฒนาความรู้ครูผู้ช่วย 4 ภาค

พัฒนาความรู้ครูผู้ช่วย 4 ภาค
พัฒนาความรู้ครูผู้ช่วย 4 ภาค

ห้องสนทนา บน facebook

ห้องสนทนา บน facebook
ห้องสนทนาติวสอบดอทคอม

ข้อสอบออนไลน์ "ติวสอบดอทคอม" ชุดใหม่

คู่มือเตรียมสอบผู้บริหาร ภาค ก ข ค

แจ้งย้ายเว็บไปที่ www.tuewsob.com

คู่มือเตรียมสอบผู้บริหาร ภาค ก ข ค (ปรับปรุงใหม่)

รวม เล่ม + แผ่นพับ + ชีตช่วยจำ + DVD เนื้อหา + เสียงบรรยาย + EMS = 800 บาท
สนใจ คู่มือ ภาค ก ข ค ผู้บริหาร คลิ๊กเลย

สั่งจอง... โอนเงินเข้าชื่อบัญชี นายนิกร เพ็งลี ธนาคารกรุงไทย สาขาจอหอ บัญชีเลขที่ 341-1-38912-5 โอนเงินแล้วกรุณาโทรแจ้ง
0872494141 หรือ 0839660030

คู่มือ เตรียมสอบผู้บริหาร

คู่มือ เตรียมสอบผู้บริหาร
คู่มือ เตรียมสอบผู้บริหาร

ติวสอบออนไลน์ บน facebook

ติวสอบออนไลน์ บน facebook
ติวสอบออนไลน์ บน facebook

คลังหนังสือ ติวสอบดอทคอม

คลังหนังสือ ติวสอบดอทคอม
คลังหนังสือ ติวสอบดอทคอม

ติวสอบดอทคอม

ติวสอบดอทคอม
ติวสอบดอทคอม