เรื่องใหม่น่าสนใจ (ทั้งหมด ที่ )
(เนื้อหา-ข้อสอบ 1,000 ชุุด หมื่นข้อ ภาค กข
+ 40 วิชาเอก) ที่ ห้องสอบด้านขวา หรือ
ติวสอบดอทคอม คลิ๊ก www.tuewsob.com
-คู่มือ 4 ชุด นโยบาย บริบริหาร ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้
-เกณฑ์ประเมินคุณภาพภายนอกรอบสี่ โดย สมศ.
- พรบ.เงินเดือนใหม่ข้าราชการครูฯ พ.ศ.2558
ข้อสอบออนไลน์ ( พัฒนาความรู้ครู - ผู้บริหาร - บุคลากรการศึกษา) ชุดใหม่
ข้อสอบออนไลน์ ( พัฒนาความรู้ครู - ผู้บริหาร - บุคลากรการศึกษา) ชุดใหม่
เตรียมสอบ บน ยูทูป ทั้งหมด ได้ที่
( คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้
เตรียมสอบผู้บริหารสถาน+การศึกษา
เตรียมสอบครูผู้ช่วย
ข่าวสำนักงานรัฐมนตรี 49/2559 พิธีเปิดงานอาชีวศึกษา ทวิภาคีไทย
อิมแพ็ค เมืองทองธานี - พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธานเปิดงาน “อาชีวศึกษา ทวิภาคีไทย” พร้อมกล่าวปาฐกถาพิเศษเรื่อง “อาชีวะ ฝีมือชน คนสร้างชาติ” และเยี่ยมชมนิทรรศการสิ่งประดิษฐ์และผลงานของนักเรียนนักศึกษาอาชีวะ โดยมี พล.อ.ดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ, พล.อ.สุรเชษฐ์ ชัยวงศ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ, นายอนุสรณ์ ฟูเจริญ ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงศึกษาธิการ, นายโยธิน มูลกำบิล ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ, พล.อ.สุทัศน์ กาญจนานนท์กุล ที่ปรึกษารัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ, พ.อ.รัตนะโชติ อ่างทอง ผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ, ดร.ชัยพฤกษ์ เสรีรักษ์ เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา รวมทั้งผู้บริหารกระทรวงศึกษาธิการ ให้การต้อนรับ โดยมี พล.อ.ศิริชัย ดิษฐกุล รมว.แรงงาน และนางอรรชกา สีบุญเรือง รมว.อุตสาหกรรม พร้อมด้วยผู้บริหารภาคเอกชนและสถานประกอบการ ผู้บริหารสถานศึกษา ครู นักเรียนนักศึกษา เข้าร่วมงานจำนวนมาก เมื่อวันศุกร์ที่ 29 มกราคม 2559 ที่อาคารชาเลนเจอร์ 1
พล.อ.ดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ รมว.ศึกษาธิการ กล่าวรายงานการจัดงานว่า ตั้งแต่รัฐบาลเข้ามาบริหารประเทศนั้น นายกรัฐมนตรีได้ให้ความสำคัญกับการอาชีวศึกษา โดยเฉพาะการส่งเสริมอาชีวศึกษาระบบทวิภาคีมากเป็นพิเศษ ทั้งในเชิงนโยบายและงบประมาณ กระทรวงศึกษาธิการจึงได้กำหนดให้เป็นยุทธศาสตร์หลักในการผลิตและพัฒนากำลังคนสายอาชีพ ซึ่งตลอดระยะเวลา 21 เดือนที่ผ่านมา กระทรวงศึกษาธิการโดยสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ร่วมกับภาคเอกชน ได้มุ่งมั่นทำงานร่วมกันอย่างเต็มที่ จนทำให้เกิดผลเป็นรูปธรรมแบบก้าวกระโดด ทั้งจำนวนผู้เรียนในระบบทวิภาคี จำนวนสถานศึกษาและสถานประกอบการที่มาร่วมดำเนินการ
จากนโยบายที่ชัดเจนของรัฐบาล ประกอบกับแนวทางที่นายกรัฐมนตรีได้มอบให้ ส่งผลให้ผู้ปกครองและสาธารณชนเห็นความสำคัญของการอาชีวศึกษา ส่งบุตรหลานมาเรียนสายอาชีพเพิ่มขึ้นในปีนี้เป็นปีแรก หลังจากนักเรียนนักศึกษาลดลงอย่างต่อเนื่องตลอด 10 ปีที่ผ่านมา ทั้งนี้ กระทรวงศึกษาธิการขอชื่นชมและขอบคุณภาคเอกชน ที่ได้ร่วมรับผิดชอบในการจัดการอาชีวศึกษา นอกจากนั้นการที่รัฐบาลได้จัดตั้งคณะกรรมการภาครัฐและเอกชน ช่วยภาครัฐขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ หรือที่เรียกว่า “ประชารัฐ” และจัดให้มีคณะทำงานด้านการยกระดับวิชาชีพ (Competitive Workforce) ก็ยิ่งเป็นปัจจัยเกื้อหนุนที่สำคัญยิ่ง ที่ภาคเอกชนจะได้เข้ามามีบทบาทเป็นผู้นำในการผลิตและพัฒนากำลังคนให้กับประเทศ ถือได้ว่าเป็นนโยบายที่ตอบโจทย์ในการพัฒนาประเทศไทยในสถานการณ์ขณะนี้โดยแท้จริง คณะทำงานดังกล่าวได้ทำงานร่วมกันอย่างเต็มที่ รวดเร็ว จนสามารถลงนามข้อตกลงที่จะร่วมกันทำงานในระยะเร่งด่วน (Quick Win) ได้ 3 เรื่องภายในระยะเวลา 6 เดือน คือ 1) การปรับภาพลักษณ์ 2) การสร้างความเป็นเลิศสถานศึกษาอาชีวะต้นแบบ 3) การพัฒนาฐานข้อมูลกำลังคน ทั้งความต้องการกำลังคนและความสามารถในการผลิต ตลอดจนมีการขยายผลในโครงการทวิภาคี และมีแผนที่จะดำเนินการต่อเนื่องเป็นรูปธรรม
การจัดงานอาชีวศึกษาทวิภาคีไทย จัดขึ้นครั้งแรกเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2557 ซึ่งนายกรัฐมนตรีได้ให้เกียรติมาเป็นประธานในพิธีเปิดงานดังกล่าวด้วย สำหรับการจัดงานครั้งนี้เป็นครั้งที่ 2 ในระหว่างวันที่ 29-30 มกราคม 2559 มุ่งเน้นในการนำเสนอและร่วมกันชื่นชมในความสำเร็จ ที่ภาครัฐและเอกชนได้ร่วมกันทำงานทวิภาคีในช่วง 1 ปี 9 เดือนที่ผ่านมา โดยผู้ที่เข้าร่วมงานในครั้งนี้มาจากภาครัฐ เอกชน และประชาชน นอกจากผู้ร่วมงานจะได้ชมนิทรรศการผลงานของนักเรียนนักศึกษาแล้ว ยังได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์ในการจัดอาชีวศึกษาระบบทวิภาคี และขยายเครือข่ายให้กว้างขวางและเข้มแข็งเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วทันต่อการพัฒนาของประเทศ ทั้งนี้การจัดงานได้รับความร่วมมืออย่างดียิ่งของทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง อาทิ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย สภาการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย และความร่วมมืออย่างใกล้ชิดของกระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงการคลัง กระทรวงแรงงาน สถาบันคุณวุฒิวิชาชีพฯ โดยเฉพาะสถานประกอบการที่มาร่วมจัดอาชีวศึกษาทวิภาคี และคณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชนเพื่อพัฒนากำลังคนอาชีวศึกษา หรือ กรอ.อศ. ทั้ง 33 คณะ ที่ได้สนับสนุนเครื่องมือและบุคลากรมาร่วมจัดงานครั้งนี้
พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี กล่าวปาฐกถาพิเศษเรื่อง "อาชีวศึกษา ฝีมือชน คนสร้างชาติ" มีใจความสำคัญตอนหนึ่งว่า มีความยินดีที่ได้มาร่วมงานอีกครั้ง และได้มองเห็นถึงความก้าวหน้า เห็นศักยภาพของการผลิตคนให้ตรงกับความต้องการของประเทศ สอดคล้องกับศักยภาพของประเทศ อย่างไรก็ตามการดำเนินงานทุกด้านขอให้คำนึงถึงตั้งแต่ต้นทาง กลางทาง และปลายทาง เพื่อให้เกิดกระบวนการทำงานอย่างเป็นระบบและมีการแก้ไขปัญหาต่างๆ อย่างครบวงจร ตลอดจนมีการวัดผลและประเมินผล เพื่อเป็นฐานข้อมูลกำลังคนที่จะนำไปใช้ประโยชน์ต่อไป
อาชีวศึกษาเป็นกำลังหลักของประเทศ
ในส่วนของการจัดการอาชีวศึกษา ถือเป็นกำลังหลักของประเทศ เพราะมีส่วนเกี่ยวข้องกับปัจจัยทั้ง 5 ที่เป็นสิ่งจำเป็นในชีวิต ทั้งการอุปโภคบริโภคในครัวเรือน ชุมชน ตลอดจนภาคการผลิตและภาคอุตสาหกรรม ดังนั้นวันนี้ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคธุรกิจ จึงต้องร่วมมือเดินหน้าเศรษฐกิจใหม่ รวมทั้งต้องสร้างการวิจัยและพัฒนานวัตกรรม เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน เพิ่มความแข็งแกร่งให้กับประเทศ สร้างรายได้ประเทศที่ไม่ได้มาจากการเก็บภาษีหรือส่งวัตถุดิบออกนอกประเทศเพียงอย่างเดียว
ย้ำให้นักเรียนอาชีวะต้องเรียน-รู้
นักเรียนอาชีวศึกษาต้องมีการเรียนและรู้ เรียนตั้งแต่ใจตัวเองเพื่อให้สามารถอยู่ได้ในอนาคตโดยไม่มีความขัดแย้ง รู้แนวทางร่วมมือ เพราะแม้มีคนดีและคนเก่งจำนวนมาก แต่คนเลวก็มากเช่นกัน แต่จะทำอย่างไรให้คนดีมีมากกว่าคนเลว การศึกษาจึงต้องทำให้เกิดความปกติสุขในวันข้างหน้า ช่วยให้เกิดการสนับสนุนรัฐบาลที่มีธรรมาภิบาลในการพัฒนาประเทศ ในเมื่อประเทศไทยยังไม่มีความพร้อมทั้งทางด้านเศรษฐกิจ รายได้ประเทศ และความเข้มแข็งของกิจการในการประกอบการต่างๆ กระทรวงการศึกษาจึงต้องอยู่ในทุกงานเพื่อสร้างการเรียนรู้ให้กับทั้งในสถานศึกษา ในสังคม และในชุมชน อย่ามีแต่คนเก่งแล้วไม่ดี ต้องสร้างคุณธรรมจริยธรรมขององค์กรให้ได้ สร้างการเรียนรู้แก่สังคมให้ช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจใหม่ พร้อมทั้งพัฒนาเศรษฐกิจดิจิทัลในระดับพื้นที่และชุมชน เพื่อช่วยส่งเสริมทั้งด้านภาษาอังกฤษ ด้านการเกษตร ข้อมูลข่าวสารด้านเศรษฐกิจ ข้อมูลวัฒนธรรมของแต่ละชาติ เป็นต้น ตลอดจนจะต้องมีการผลักดันให้เกิดความร่วมมือทั้งภายในประเทศและกับนานาชาติต่อไป
เน้นสื่อสารทุกภาษาให้ถูกต้อง
การส่งเสริมการสื่อสารในภาษาต่างๆ ทั้งภาษาอังกฤษ ภาษาจีน เป็นเรื่องที่ดี แต่ขออย่าให้พูดผิดในทุกภาษา โดยเฉพาะภาษาไทยที่เป็นพื้นฐานทั้งหมดของคนไทย ควรพูดและออกเสียงให้ถูกต้อง และไม่ควรลืมคำควบกล้ำต่างๆ ด้วย ทั้งนี้ในปัจจุบันภาษาเริ่มผิดเพี้ยน มีการใช้คำสั้นและคำย่อในโลกโซเชียลมีเดียและเกิดภาษาคนรุ่นใหม่อย่างมากมาย จึงขอให้ทุกคนใช้ภาษาไทยให้ถูกต้อง ส่วนภาษาอื่นๆ ก็ควรจัดทำเป็นข้อมูลสถิติผู้ที่สามารถสื่อสารในแต่ละภาษาและเทียบระดับตามมาตรฐานของภาษานั้นๆ ด้วย
เพิ่มพูนทักษะกำลังคนในตลาดแรงงาน
นอกจากกระทรวงศึกษาธิการต้องฝึกและสอนให้คนมีความสามารถเฉพาะตัวแล้ว ต้องสอนให้มีความชำนาญ มีความรู้ลึกซึ้ง โดยเฉพาะผู้ที่ได้รับรางวัลจากการประกวดแข่งขันต่างๆ ควรมีการติดตามด้วยว่าจบไปแล้วมีงานทำหรือไม่ อยู่ในระดับใดและมีความก้าวหน้าทางอาชีพอย่างไร หากยังไม่สามารถขึ้นเป็นระดับหัวหน้างานได้ กระทรวงศึกษาธิการจะต้องเข้าไปช่วยฝึกอบรมเพิ่มพูนทักษะด้านต่างๆ ให้ความรู้ด้านภาษา วัฒนธรรมประเทศต่างๆ ในรูปแบบที่หลากหลาย เช่น ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารในชีวิตประจำวัน มารยาทวัฒนธรรมชาวญี่ปุ่น เป็นต้น เพื่อพัฒนาให้เป็นกำลังคนที่มีคุณภาพ สามารถก้าวเข้าสู่ระดับตำแหน่งที่สูงขึ้นต่อไป
สร้างเศรษฐกิจที่ยั่งยืนตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
ทำอย่างไรให้คนของเรามีอาชีพ มีรายได้ที่ยั่งยืน มีการพัฒนาไปสู่ระดับที่สูงขึ้น โดยนำแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่ว่า “มีมากใช้มาก มีน้อยใช้น้อย” ตลอดจนแนวคิดเรื่องของสหกรณ์ที่จะช่วยสร้างความประหยัดและอดออม นำมาปรับใช้ให้เกิดประโยชน์กับการพัฒนาเศรษฐกิจในระดับต่างๆ โดยขอให้นำมาศึกษารายละเอียดเพื่อนำมาเชื่อมโยงกับแผนงาน พร้อมขยายผลในแต่ละพื้นที่ต่อๆ ไปในอนาคต
พยายามสร้างความเชื่อมโยงกับประเทศสมาชิกอาเซียน
การขับเคลื่อนเศรษฐกิจในกลุ่มประเทศอาเซียน ต้องมีการศึกษาข้อมูลความต้องการ ต้องรู้ว่าเรามีทรัพยากรอะไร เขามีอะไร เพื่อจะได้ผลิตไม่ตรงกันและไม่แย่งกันขาย พร้อมทั้งศึกษากฎหมาย สร้างเครือข่าย และสร้างความเชื่อมโยง ทำให้เกิดประโยชน์แก่ประเทศและคนไทย ทุกคนต้องทำการบ้านเพื่อพัฒนาตนเอง เรียนรู้กฎหมายทั้งในและนอกสายงานตัวเองด้วย โดยเน้นกระบวนการทำงานเชิงบูรณาการทั้งในระดับชุมชนไปสู่ประชาคมอาเซียน เพื่อให้พร้อมส่งคนไปยังต่างประเทศโดยมีรัฐช่วยดูแลเพื่อไม่ให้เกิดการทุจริตและมีการรวมกลุ่มกันอย่างเข้มแข็งต่อไป
ควรสร้างกระบวนการคิดอย่างเป็นระบบมากขึ้น
อย่างไรก็ตาม ที่ผ่านมาการศึกษามีปัญหาอยู่พอสมควร ซึ่งมีการบอกว่าเกิดจากการเปลี่ยนรัฐมนตรีกระทรวงศึกษาธิการบ่อยเกินไปนั้น จึงเป็นที่มาของการจัดทำรัฐธรรมนูญใหม่ เพื่อให้ทุกคนต้องมาทำงานเพื่อหาจุดร่วมกัน สนับสนุนการทำงานซึ่งกันและกัน ไม่ใช่หาจุดต่างมาขัดแย้ง รวมทั้งต้องอยู่ภายใต้กฎหมายเดียวกัน ดังนั้นจึงเป็นหน้าที่ของกระทรวงศึกษาธิการที่จะต้องสอนให้คนมีกระบวนการคิดที่เป็นระบบมากขึ้น ไม่ใช่คิดเป็นเสี้ยวๆ ทำให้ไม่สามารถหาจุดร่วมกันได้
ในส่วนของเรื่องกฎหมาย ทุกประเทศที่มีความก้าวหน้าเพราะใช้กฎหมายเป็นหลัก แต่คนไทยยังติดกับดักประชาธิปไตย ประเทศไทยเมื่อใช้กฎหมายก็เกิดการต่อต้าน จึงไม่รู้ว่าจะเอาอะไรมาปกครอง เพราะกฎหมายคือสิ่งเดียวที่สร้างความเท่าเทียมที่แท้จริงให้เกิดขึ้นไม่ว่าจะเป็นคนยากดี มีหรือจน อย่างไรก็ตาม ขณะนี้รัฐบาลได้ปรับปรุงและออกกฎหมายกว่า 400 ฉบับ เพื่อขับเคลื่อนทั้งภายในประเทศและระดับนานาชาติ เพราะกฎหมายที่มีอยู่ล้าสมัยหมดแล้ว
ชื่นชมนิทรรศการแสดงผลงานอาชีวศึกษาทวิภาคี
จากการเยี่ยมชมนิทรรศการ และได้พูดคุยกับนักเรียนนักศึกษา ครูอาจารย์ ถือว่าเป็นเรื่องที่ดีที่ได้นำผลงานและนวัตกรรมต่างๆ มาแสดงให้เห็น และขอให้หลายฝ่ายที่มาร่วมจัดงานตลอดจนประชาชนได้มาเยี่ยมชมด้วย ซึ่งการตอบคำถามของแต่ละบูทเป็นเพียงการเตรียมคำตอบมาระดับเบื้องต้นเท่านั้น ยังไม่สามารถตอบไปถึงการต่อยอดหรือขยายผลในอนาคต อย่างไรก็ตามต้องการให้ทุกคนได้คิดถึงการต่อยอดความรู้ ความเก่งของเด็กๆ ให้มากขึ้นต่อไปด้วย
( คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้
เตรียมสอบผู้บริหารสถาน+การศึกษา
เตรียมสอบครูผู้ช่วย
ข่าวสำนักงานรัฐมนตรี 49/2559 พิธีเปิดงานอาชีวศึกษา ทวิภาคีไทย
อิมแพ็ค เมืองทองธานี - พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธานเปิดงาน “อาชีวศึกษา ทวิภาคีไทย” พร้อมกล่าวปาฐกถาพิเศษเรื่อง “อาชีวะ ฝีมือชน คนสร้างชาติ” และเยี่ยมชมนิทรรศการสิ่งประดิษฐ์และผลงานของนักเรียนนักศึกษาอาชีวะ โดยมี พล.อ.ดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ, พล.อ.สุรเชษฐ์ ชัยวงศ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ, นายอนุสรณ์ ฟูเจริญ ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงศึกษาธิการ, นายโยธิน มูลกำบิล ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ, พล.อ.สุทัศน์ กาญจนานนท์กุล ที่ปรึกษารัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ, พ.อ.รัตนะโชติ อ่างทอง ผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ, ดร.ชัยพฤกษ์ เสรีรักษ์ เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา รวมทั้งผู้บริหารกระทรวงศึกษาธิการ ให้การต้อนรับ โดยมี พล.อ.ศิริชัย ดิษฐกุล รมว.แรงงาน และนางอรรชกา สีบุญเรือง รมว.อุตสาหกรรม พร้อมด้วยผู้บริหารภาคเอกชนและสถานประกอบการ ผู้บริหารสถานศึกษา ครู นักเรียนนักศึกษา เข้าร่วมงานจำนวนมาก เมื่อวันศุกร์ที่ 29 มกราคม 2559 ที่อาคารชาเลนเจอร์ 1
พล.อ.ดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ รมว.ศึกษาธิการ กล่าวรายงานการจัดงานว่า ตั้งแต่รัฐบาลเข้ามาบริหารประเทศนั้น นายกรัฐมนตรีได้ให้ความสำคัญกับการอาชีวศึกษา โดยเฉพาะการส่งเสริมอาชีวศึกษาระบบทวิภาคีมากเป็นพิเศษ ทั้งในเชิงนโยบายและงบประมาณ กระทรวงศึกษาธิการจึงได้กำหนดให้เป็นยุทธศาสตร์หลักในการผลิตและพัฒนากำลังคนสายอาชีพ ซึ่งตลอดระยะเวลา 21 เดือนที่ผ่านมา กระทรวงศึกษาธิการโดยสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ร่วมกับภาคเอกชน ได้มุ่งมั่นทำงานร่วมกันอย่างเต็มที่ จนทำให้เกิดผลเป็นรูปธรรมแบบก้าวกระโดด ทั้งจำนวนผู้เรียนในระบบทวิภาคี จำนวนสถานศึกษาและสถานประกอบการที่มาร่วมดำเนินการ
จากนโยบายที่ชัดเจนของรัฐบาล ประกอบกับแนวทางที่นายกรัฐมนตรีได้มอบให้ ส่งผลให้ผู้ปกครองและสาธารณชนเห็นความสำคัญของการอาชีวศึกษา ส่งบุตรหลานมาเรียนสายอาชีพเพิ่มขึ้นในปีนี้เป็นปีแรก หลังจากนักเรียนนักศึกษาลดลงอย่างต่อเนื่องตลอด 10 ปีที่ผ่านมา ทั้งนี้ กระทรวงศึกษาธิการขอชื่นชมและขอบคุณภาคเอกชน ที่ได้ร่วมรับผิดชอบในการจัดการอาชีวศึกษา นอกจากนั้นการที่รัฐบาลได้จัดตั้งคณะกรรมการภาครัฐและเอกชน ช่วยภาครัฐขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ หรือที่เรียกว่า “ประชารัฐ” และจัดให้มีคณะทำงานด้านการยกระดับวิชาชีพ (Competitive Workforce) ก็ยิ่งเป็นปัจจัยเกื้อหนุนที่สำคัญยิ่ง ที่ภาคเอกชนจะได้เข้ามามีบทบาทเป็นผู้นำในการผลิตและพัฒนากำลังคนให้กับประเทศ ถือได้ว่าเป็นนโยบายที่ตอบโจทย์ในการพัฒนาประเทศไทยในสถานการณ์ขณะนี้โดยแท้จริง คณะทำงานดังกล่าวได้ทำงานร่วมกันอย่างเต็มที่ รวดเร็ว จนสามารถลงนามข้อตกลงที่จะร่วมกันทำงานในระยะเร่งด่วน (Quick Win) ได้ 3 เรื่องภายในระยะเวลา 6 เดือน คือ 1) การปรับภาพลักษณ์ 2) การสร้างความเป็นเลิศสถานศึกษาอาชีวะต้นแบบ 3) การพัฒนาฐานข้อมูลกำลังคน ทั้งความต้องการกำลังคนและความสามารถในการผลิต ตลอดจนมีการขยายผลในโครงการทวิภาคี และมีแผนที่จะดำเนินการต่อเนื่องเป็นรูปธรรม
การจัดงานอาชีวศึกษาทวิภาคีไทย จัดขึ้นครั้งแรกเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2557 ซึ่งนายกรัฐมนตรีได้ให้เกียรติมาเป็นประธานในพิธีเปิดงานดังกล่าวด้วย สำหรับการจัดงานครั้งนี้เป็นครั้งที่ 2 ในระหว่างวันที่ 29-30 มกราคม 2559 มุ่งเน้นในการนำเสนอและร่วมกันชื่นชมในความสำเร็จ ที่ภาครัฐและเอกชนได้ร่วมกันทำงานทวิภาคีในช่วง 1 ปี 9 เดือนที่ผ่านมา โดยผู้ที่เข้าร่วมงานในครั้งนี้มาจากภาครัฐ เอกชน และประชาชน นอกจากผู้ร่วมงานจะได้ชมนิทรรศการผลงานของนักเรียนนักศึกษาแล้ว ยังได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์ในการจัดอาชีวศึกษาระบบทวิภาคี และขยายเครือข่ายให้กว้างขวางและเข้มแข็งเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วทันต่อการพัฒนาของประเทศ ทั้งนี้การจัดงานได้รับความร่วมมืออย่างดียิ่งของทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง อาทิ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย สภาการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย และความร่วมมืออย่างใกล้ชิดของกระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงการคลัง กระทรวงแรงงาน สถาบันคุณวุฒิวิชาชีพฯ โดยเฉพาะสถานประกอบการที่มาร่วมจัดอาชีวศึกษาทวิภาคี และคณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชนเพื่อพัฒนากำลังคนอาชีวศึกษา หรือ กรอ.อศ. ทั้ง 33 คณะ ที่ได้สนับสนุนเครื่องมือและบุคลากรมาร่วมจัดงานครั้งนี้
พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี กล่าวปาฐกถาพิเศษเรื่อง "อาชีวศึกษา ฝีมือชน คนสร้างชาติ" มีใจความสำคัญตอนหนึ่งว่า มีความยินดีที่ได้มาร่วมงานอีกครั้ง และได้มองเห็นถึงความก้าวหน้า เห็นศักยภาพของการผลิตคนให้ตรงกับความต้องการของประเทศ สอดคล้องกับศักยภาพของประเทศ อย่างไรก็ตามการดำเนินงานทุกด้านขอให้คำนึงถึงตั้งแต่ต้นทาง กลางทาง และปลายทาง เพื่อให้เกิดกระบวนการทำงานอย่างเป็นระบบและมีการแก้ไขปัญหาต่างๆ อย่างครบวงจร ตลอดจนมีการวัดผลและประเมินผล เพื่อเป็นฐานข้อมูลกำลังคนที่จะนำไปใช้ประโยชน์ต่อไป
อาชีวศึกษาเป็นกำลังหลักของประเทศ
ในส่วนของการจัดการอาชีวศึกษา ถือเป็นกำลังหลักของประเทศ เพราะมีส่วนเกี่ยวข้องกับปัจจัยทั้ง 5 ที่เป็นสิ่งจำเป็นในชีวิต ทั้งการอุปโภคบริโภคในครัวเรือน ชุมชน ตลอดจนภาคการผลิตและภาคอุตสาหกรรม ดังนั้นวันนี้ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคธุรกิจ จึงต้องร่วมมือเดินหน้าเศรษฐกิจใหม่ รวมทั้งต้องสร้างการวิจัยและพัฒนานวัตกรรม เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน เพิ่มความแข็งแกร่งให้กับประเทศ สร้างรายได้ประเทศที่ไม่ได้มาจากการเก็บภาษีหรือส่งวัตถุดิบออกนอกประเทศเพียงอย่างเดียว
ย้ำให้นักเรียนอาชีวะต้องเรียน-รู้
นักเรียนอาชีวศึกษาต้องมีการเรียนและรู้ เรียนตั้งแต่ใจตัวเองเพื่อให้สามารถอยู่ได้ในอนาคตโดยไม่มีความขัดแย้ง รู้แนวทางร่วมมือ เพราะแม้มีคนดีและคนเก่งจำนวนมาก แต่คนเลวก็มากเช่นกัน แต่จะทำอย่างไรให้คนดีมีมากกว่าคนเลว การศึกษาจึงต้องทำให้เกิดความปกติสุขในวันข้างหน้า ช่วยให้เกิดการสนับสนุนรัฐบาลที่มีธรรมาภิบาลในการพัฒนาประเทศ ในเมื่อประเทศไทยยังไม่มีความพร้อมทั้งทางด้านเศรษฐกิจ รายได้ประเทศ และความเข้มแข็งของกิจการในการประกอบการต่างๆ กระทรวงการศึกษาจึงต้องอยู่ในทุกงานเพื่อสร้างการเรียนรู้ให้กับทั้งในสถานศึกษา ในสังคม และในชุมชน อย่ามีแต่คนเก่งแล้วไม่ดี ต้องสร้างคุณธรรมจริยธรรมขององค์กรให้ได้ สร้างการเรียนรู้แก่สังคมให้ช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจใหม่ พร้อมทั้งพัฒนาเศรษฐกิจดิจิทัลในระดับพื้นที่และชุมชน เพื่อช่วยส่งเสริมทั้งด้านภาษาอังกฤษ ด้านการเกษตร ข้อมูลข่าวสารด้านเศรษฐกิจ ข้อมูลวัฒนธรรมของแต่ละชาติ เป็นต้น ตลอดจนจะต้องมีการผลักดันให้เกิดความร่วมมือทั้งภายในประเทศและกับนานาชาติต่อไป
เน้นสื่อสารทุกภาษาให้ถูกต้อง
การส่งเสริมการสื่อสารในภาษาต่างๆ ทั้งภาษาอังกฤษ ภาษาจีน เป็นเรื่องที่ดี แต่ขออย่าให้พูดผิดในทุกภาษา โดยเฉพาะภาษาไทยที่เป็นพื้นฐานทั้งหมดของคนไทย ควรพูดและออกเสียงให้ถูกต้อง และไม่ควรลืมคำควบกล้ำต่างๆ ด้วย ทั้งนี้ในปัจจุบันภาษาเริ่มผิดเพี้ยน มีการใช้คำสั้นและคำย่อในโลกโซเชียลมีเดียและเกิดภาษาคนรุ่นใหม่อย่างมากมาย จึงขอให้ทุกคนใช้ภาษาไทยให้ถูกต้อง ส่วนภาษาอื่นๆ ก็ควรจัดทำเป็นข้อมูลสถิติผู้ที่สามารถสื่อสารในแต่ละภาษาและเทียบระดับตามมาตรฐานของภาษานั้นๆ ด้วย
เพิ่มพูนทักษะกำลังคนในตลาดแรงงาน
นอกจากกระทรวงศึกษาธิการต้องฝึกและสอนให้คนมีความสามารถเฉพาะตัวแล้ว ต้องสอนให้มีความชำนาญ มีความรู้ลึกซึ้ง โดยเฉพาะผู้ที่ได้รับรางวัลจากการประกวดแข่งขันต่างๆ ควรมีการติดตามด้วยว่าจบไปแล้วมีงานทำหรือไม่ อยู่ในระดับใดและมีความก้าวหน้าทางอาชีพอย่างไร หากยังไม่สามารถขึ้นเป็นระดับหัวหน้างานได้ กระทรวงศึกษาธิการจะต้องเข้าไปช่วยฝึกอบรมเพิ่มพูนทักษะด้านต่างๆ ให้ความรู้ด้านภาษา วัฒนธรรมประเทศต่างๆ ในรูปแบบที่หลากหลาย เช่น ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารในชีวิตประจำวัน มารยาทวัฒนธรรมชาวญี่ปุ่น เป็นต้น เพื่อพัฒนาให้เป็นกำลังคนที่มีคุณภาพ สามารถก้าวเข้าสู่ระดับตำแหน่งที่สูงขึ้นต่อไป
สร้างเศรษฐกิจที่ยั่งยืนตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
ทำอย่างไรให้คนของเรามีอาชีพ มีรายได้ที่ยั่งยืน มีการพัฒนาไปสู่ระดับที่สูงขึ้น โดยนำแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่ว่า “มีมากใช้มาก มีน้อยใช้น้อย” ตลอดจนแนวคิดเรื่องของสหกรณ์ที่จะช่วยสร้างความประหยัดและอดออม นำมาปรับใช้ให้เกิดประโยชน์กับการพัฒนาเศรษฐกิจในระดับต่างๆ โดยขอให้นำมาศึกษารายละเอียดเพื่อนำมาเชื่อมโยงกับแผนงาน พร้อมขยายผลในแต่ละพื้นที่ต่อๆ ไปในอนาคต
พยายามสร้างความเชื่อมโยงกับประเทศสมาชิกอาเซียน
การขับเคลื่อนเศรษฐกิจในกลุ่มประเทศอาเซียน ต้องมีการศึกษาข้อมูลความต้องการ ต้องรู้ว่าเรามีทรัพยากรอะไร เขามีอะไร เพื่อจะได้ผลิตไม่ตรงกันและไม่แย่งกันขาย พร้อมทั้งศึกษากฎหมาย สร้างเครือข่าย และสร้างความเชื่อมโยง ทำให้เกิดประโยชน์แก่ประเทศและคนไทย ทุกคนต้องทำการบ้านเพื่อพัฒนาตนเอง เรียนรู้กฎหมายทั้งในและนอกสายงานตัวเองด้วย โดยเน้นกระบวนการทำงานเชิงบูรณาการทั้งในระดับชุมชนไปสู่ประชาคมอาเซียน เพื่อให้พร้อมส่งคนไปยังต่างประเทศโดยมีรัฐช่วยดูแลเพื่อไม่ให้เกิดการทุจริตและมีการรวมกลุ่มกันอย่างเข้มแข็งต่อไป
ควรสร้างกระบวนการคิดอย่างเป็นระบบมากขึ้น
อย่างไรก็ตาม ที่ผ่านมาการศึกษามีปัญหาอยู่พอสมควร ซึ่งมีการบอกว่าเกิดจากการเปลี่ยนรัฐมนตรีกระทรวงศึกษาธิการบ่อยเกินไปนั้น จึงเป็นที่มาของการจัดทำรัฐธรรมนูญใหม่ เพื่อให้ทุกคนต้องมาทำงานเพื่อหาจุดร่วมกัน สนับสนุนการทำงานซึ่งกันและกัน ไม่ใช่หาจุดต่างมาขัดแย้ง รวมทั้งต้องอยู่ภายใต้กฎหมายเดียวกัน ดังนั้นจึงเป็นหน้าที่ของกระทรวงศึกษาธิการที่จะต้องสอนให้คนมีกระบวนการคิดที่เป็นระบบมากขึ้น ไม่ใช่คิดเป็นเสี้ยวๆ ทำให้ไม่สามารถหาจุดร่วมกันได้
ในส่วนของเรื่องกฎหมาย ทุกประเทศที่มีความก้าวหน้าเพราะใช้กฎหมายเป็นหลัก แต่คนไทยยังติดกับดักประชาธิปไตย ประเทศไทยเมื่อใช้กฎหมายก็เกิดการต่อต้าน จึงไม่รู้ว่าจะเอาอะไรมาปกครอง เพราะกฎหมายคือสิ่งเดียวที่สร้างความเท่าเทียมที่แท้จริงให้เกิดขึ้นไม่ว่าจะเป็นคนยากดี มีหรือจน อย่างไรก็ตาม ขณะนี้รัฐบาลได้ปรับปรุงและออกกฎหมายกว่า 400 ฉบับ เพื่อขับเคลื่อนทั้งภายในประเทศและระดับนานาชาติ เพราะกฎหมายที่มีอยู่ล้าสมัยหมดแล้ว
ชื่นชมนิทรรศการแสดงผลงานอาชีวศึกษาทวิภาคี
จากการเยี่ยมชมนิทรรศการ และได้พูดคุยกับนักเรียนนักศึกษา ครูอาจารย์ ถือว่าเป็นเรื่องที่ดีที่ได้นำผลงานและนวัตกรรมต่างๆ มาแสดงให้เห็น และขอให้หลายฝ่ายที่มาร่วมจัดงานตลอดจนประชาชนได้มาเยี่ยมชมด้วย ซึ่งการตอบคำถามของแต่ละบูทเป็นเพียงการเตรียมคำตอบมาระดับเบื้องต้นเท่านั้น ยังไม่สามารถตอบไปถึงการต่อยอดหรือขยายผลในอนาคต อย่างไรก็ตามต้องการให้ทุกคนได้คิดถึงการต่อยอดความรู้ ความเก่งของเด็กๆ ให้มากขึ้นต่อไปด้วย
ที่มา ; เว็บ สำนักงานรัฐมนตรี กระทรวงศึกษาธิการ
( คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้
( คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้
เตรียมสอบผู้บริหารสถาน+การศึกษา
เตรียมสอบครูผู้ช่วย
เตรียมสอบผู้บริหารสถาน+การศึกษา
เตรียมสอบครูผู้ช่วย
ฟรี... ห้องเตรียม-ครูผู้ช่วย
-ผู้บริหาร-บุคลากรการศึกษา ที่
ฟรี... ห้องเตรียม-ครูผู้ช่วย
-ผู้บริหาร-บุคลากรการศึกษา ที่
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น