เรื่องใหม่น่าสนใจ (ทั้งหมด ที่ )
(เนื้อหา-ข้อสอบ 1,000 ชุด หมื่นข้อ ภาค กข+ 40 วิชาเอก) ที่
ติวสอบดอทคอม คลิ๊ก www.tuewsob.com
-คู่มือ 4 ชุด นโยบาย บริบริหาร ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้
-เกณฑ์ประเมินคุณภาพภายนอกรอบสี่ โดย สมศ.
- พรบ.เงินเดือนใหม่ข้าราชการครูฯ พ.ศ.2558
ข้อสอบออนไลน์ ( พัฒนาความรู้ครู - ผู้บริหาร - บุคลากรการศึกษา) ชุดใหม่ โดย อ.นิกร
ข้อสอบออนไลน์ ( พัฒนาความรู้ครู - ผู้บริหาร - บุคลากรการศึกษา) ชุดใหม่ โดย อ.นิกร
เตรียมสอบ บน ยูทูป ทั้งหมด ได้ที่
( คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้
เตรียมสอบผู้บริหารสถาน+การศึกษา
เตรียมสอบครูผู้ช่วย
ข่าวสำนักงานรัฐมนตรี 34/2559สานพลังประชารัฐ "รัฐ-เอกชน-ประชาสังคม"ร่วมยกระดับคุณภาพวิชาชีพอาชีวศึกษา
โรงแรมสยามเคมปินสกี้ กรุงเทพฯ - ภาครัฐ-ภาคเอกชน-ภาคประชาสังคม ร่วมลงนาม บันทึกข้อตกลงความร่วมมือ "สานพลังประชารัฐ ยกระดับคุณภาพวิชาชีพอาชีวศึกษา" (Competitive Workforce) เพื่อเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันทัดเทียมเวทีโลก ตั้งเป้าเห็นผลเป็นรูปธรรมภายใน 2 ปี
เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 21 มกราคม 2559 ที่ห้องฉัตรบอลลูม โรงแรมสยามเคมปินสกี้ กรุงเทพฯ, นาย สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี พร้อมด้วย พล.อ.ดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ในฐานะหัวหน้าทีมภาครัฐ, พล.อ.ศิริชัย ดิษฐกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน และนางอรรชกา สีบุญเรือง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ "สานพลังประชารัฐ ยกระดับคุณภาพวิชาชีพอาชีวศึกษา : Competitive Workforce" กับ ภาคเอกชน 13 องค์กรชั้นนำระดับประเทศ นำโดยนายรุ่งโรจน์ รังสิโยภาส กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน) หรือเอสซีจี ในฐานะหัวหน้าทีมภาคเอกชน รวมทั้ง พล.อ.เลิศรัตน์ รัตนวานิช ประธานกรรมการบริหารสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ (องค์การมหาชน) ตัวแทน ภาคประชาสังคมในการพัฒนาทุนมนุษย์
นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานการลงนามความร่วมมือในครั้งนี้ กล่าวว่า การลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคมในครั้งนี้ เป็นความร่วมมือของทั้ง 3 ภาคส่วน ซึ่งทำหน้าที่ร่วมกันขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศตามนโยบายประชารัฐ โดยประชารัฐเป็นพลังอันยิ่งใหญ่ที่จะสามารถเปลี่ยนแปลงประเทศไทยได้ และนโยบายนี้ไม่ได้ส่งผลให้เอกชนได้แรงงานที่ดีเท่านั้น แต่จะได้คนดีมาทำงานให้ประเทศชาติด้วย ซึ่งถือเป็นก้าวที่ยิ่งใหญ่และเป็นการสร้างคลื่นกระทบที่รุนแรงต่อประเทศ เพราะที่ผ่านมาพลังที่ซ่อนอยู่ของภาคเอกชนยังไม่เคยถูกดึงมาใช้ให้เกิดประโยชน์
การศึกษาเป็นเรื่องใหญ่ที่สุดของประเทศ เพราะประเทศจะก้าวต่อไปข้างหน้าไม่ได้หากไม่มีคนที่มีความสามารถ ซึ่งอาชีวศึกษาไม่ได้มีความสำคัญน้อยกว่าการศึกษาในระดับปริญญาตรี-โท-เอก ซึ่งเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาประเทศ วิชาชีพเป็นประเด็นสำคัญ ประเทศชาติจะเคลื่อนไปในทิศทางใดต้องอาศัยกำลังคนด้านอาชีวศึกษาทั้งสิ้น แต่ในระบบการศึกษาของไทยมีบางอย่างที่บิดเบี้ยวไป คนที่เข้าเรียนอาชีวศึกษาถูกมองว่าสู้คนที่เรียนระดับปริญญาตรีไม่ได้ เข้ามาแล้วเป็นช่างกลจึงไม่มีใครอยากเข้า หรือเข้ามาสู่ในระบบแล้วก็ไม่ได้มีความหวังว่าเรียนจบแล้วจะไปประกอบอาชีพอะไร เหมือนคนที่ไม่มีที่มาที่ไป อนาคตมองไม่เห็น ด้อยค่าในสังคม ในระบบส่วนนี้มีทั้งเอกชน กระทรวงต่างๆ มหาวิทยาลัย และโรงเรียน ต่างคนต่างทำของตัวเอง ไม่ได้เชื่อมโยงติดต่อกัน ไม่ได้หารือร่วมกัน แล้วจะผลิตกำลังคนออกมาได้อย่างไร
ดังนั้น การที่ทั้ง 3 ภาคส่วนได้มาร่วมมือกัน จะทำให้เกิดความเชื่อมโยง ทั้งภาครัฐและภาคเอกชนจะเข้าใจความต้องการของกันและกันมากขึ้นทำให้โครงการนี้สำเร็จได้
นอกจากนี้ ต้องการให้ผู้เรียนอาชีวศึกษามีทางเลือกที่จะเป็นผู้ประกอบการด้วยตนเอง อีกทั้งต้องให้ความสำคัญต่อการฝึกปฏิบัติงานของผู้เรียน เพราะผู้เรียนด้านอาชีวะหรือวิศวกรนั้น จะไม่มีเครื่องมือในการฝึกปฏิบัติไม่ได้ จึงต้องให้แต่ละสายอาชีพมาฝึกปฏิบัติงาน เพื่อสร้างจินตนาการและทักษะที่แท้จริง
รองนายกรัฐมนตรี กล่าวด้วยว่า ในฐานะผู้บริหาร ไม่จำเป็นต้องตามกระแสไปทุกเรื่อง แต่ต้องรับฟังกระแสว่ากระแสคิดว่าอะไร และต้องรู้ว่าเราจะทำอะไรที่มีประโยชน์ต่อชาติ และเดินตามเส้นทางนั้นด้วยการรับฟัง เพราะถ้าหากเราตามกระแสอย่างเดียว จะไม่มีวิสัยทัศน์ อีกทั้งเราต้องทำให้ทิศทางใหม่ๆ เกิดขึ้น สิ่งสำคัญของการพัฒนาประเทศของเรา คือไม่ใช่เพียงแค่ก้าวตามโลก แต่ต้องก้าวข้ามโลก และการดักหน้าโลกถือเป็นสิ่งสำคัญมาก ไม่ใช่วิ่งตามโลก
พล.อ.ดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ รมว.ศึกษาธิการ ในฐานะหัวหน้าทีมภาครัฐ กล่าวว่า ที่ผ่านมาภาครัฐได้มีการหารือกับภาคเอกชนกันอย่างใกล้ชิด ในรูปแบบคณะทำงานภาครัฐและเอกชนเพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ (Public-Private Steering Committee) หรือประชารัฐ ชุดที่ 4 เพื่อให้ได้แนวทางที่จะเดินไปด้วยกันตามนโยบายสานพลังประชารัฐของรัฐบาล ซึ่งต้องใช้คำว่า "ต้องกระโดดใส่" เพราะการที่ภาคเอกชนชั้นนำให้การสนับสนุนภาครัฐอย่างดีเช่นนี้ ยิ่งจะทำให้ภาคการศึกษาได้ประโยชน์อย่างมาก
ทั้งนี้ ทั้งสองฝ่ายได้ร่วมกันกำหนดวัตถุประสงค์ของคณะกรรมการชุดนี้ เพื่อยกระดับคุณภาพวิชาชีพเพื่อให้สามารถแข่งขันได้ในตลาดโลก โดยมุ่งเน้นผลประโยชน์ของชาติเป็นหลักพร้อมทั้งได้กำหนดภารกิจหลักที่ต้องร่วมกันดำเนินการ 5 ประการ ได้แก่
1) การสร้างค่านิยมหรือแรงจูงใจให้เด็กมาเรียนอาชีวะมากขึ้น (Inspiration) ซึ่งไม่ใช่เรื่องใหม่ เป็นเรื่องที่ทั้งภาครัฐและภาคเอกชนเคยร่วมดำเนินการมาแล้ว แต่ยังไม่ทัน จึงต้องเร่งดำเนินการให้เร็วขึ้น โดยคาดหวังว่าภาคเอกชนจะมีบทบาทสำคัญที่จะช่วยสร้างค่านิยมการเรียนอาชีวศึกษาให้เห็นผลมากขึ้น
2) การผลิตผู้เรียนอาชีวะในสาขาที่ขาดแคลนให้มีปริมาณเพียงพอต่อการพัฒนาประเทศ (Quantity) การผลิตกำลังคนด้านอาชีวศึกษาในปัจจุบันยังไม่เพียงพอ จึงต้องร่วมมือกับภาคเอกชนซึ่งเป็นผู้ใช้กำลังคนดังกล่าว ว่าต้องการจำนวนเท่าไร เพื่อผลิตตามความเร่งด่วนใน 10 กลุ่มอุตสาหกรรมใหม่ (Clusters) ที่เป็นความต้องการของภาคอุตสาหกรรม
3) การสร้างคุณภาพให้เกิดขึ้นกับผู้เรียนอาชีวะ (Quality) เพื่อให้เป็นที่ยอมรับตรงตามความต้องการของตลาด โดยมุ่งเน้นการพัฒนาให้เป็นคนเก่งและคนดี เนื่องจากปัจจุบันเทคโนโลยีต่างๆ เจริญก้าวหน้าอย่างรวดเร็วมาก จนทำให้สถานศึกษาอาชีวะตามไม่ทัน จึงต้องร่วมมือกันจัดทำและพัฒนาหลักสูตร เพื่อให้เกิดแนวทางในการจัดการเรียนการสอนที่สอดคล้องและเป็นไปในแนวทางเดียวกันกับการพัฒนาธุรกิจของภาคเอกชน
4) การสร้างอาชีวะให้มีความเป็นเลิศในแต่ละด้าน (Excellency) โดยพัฒนาแบบครบวงจร ทั้งในเรื่องหลักสูตร ครูผู้สอน อุปกรณ์เครื่องมือ สื่อการเรียนการสอน เทคโนโลยีสมัยใหม่ ซึ่งมีแนวทางดำเนินการ 2 รูปแบบ คือ การพัฒนาจากศักยภาพของแต่ละสถาบันอาชีวศึกษา ด้วยการกำหนดความเป็นเลิศเฉพาะด้านให้กับสถานศึกษาอาชีวะนั้นๆ และอีกรูปแบบหนึ่งคือการลงทุนร่วมกับภาคเอกชนตามสาขาที่ภาคเอกชนมีความเชี่ยวชาญ เพื่อที่จะผลิตคนได้ตรงกับความต้องการของเอกชนได้ทันที
5) ให้อาชีวะมีความเป็นสากลและมีความร่วมมือกับต่างประเทศมากขึ้น (Global Standard) โดยการนำเทคโนโลยีที่ทันสมัย ได้มาตรฐานสากล มาประยุกต์ใช้กับหลักสูตรสายอาชีพอย่างเหมาะสม ซึ่งถึงแม้ว่าศักยภาพของอาชีวศึกษาของไทยไม่แพ้ใคร แต่จำเป็นต้องพัฒนาศักยภาพให้ทันกับความก้าวหน้าของเศรษฐกิจโลก ในอดีตมีความร่วมมือจัดตั้ง "โรงเรียนเทคนิคไทย-เยอรมัน" ซึ่งต่อมาคือมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ และในอนาคตอาจมีอาชีวะไทย-จีน, อาชีวะไทย-ญี่ปุ่น ฯลฯ
รมว.ศึกษาธิการ ได้กล่าวเพิ่มเติมถึง "บทบาทของภาครัฐในการขับเคลื่อนการดำเนินงานตามนโยบายประชารัฐ ด้านการยกระดับคุณภาพวิชาชีพ" ดังนี้
- ประสานความร่วมมือระหว่างหน่วยงานต่างๆ ของภาครัฐที่เกี่ยวข้อง อาทิ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ, กระทรวงเกษตรและสหกรณ์, กระทรวงพาณิชย์ เป็นต้น เพื่อขอข้อมูลสถิติ รวมทั้งการกำหนดและประเมินมาตรฐานฝีมือแรงงาน
- สนับสนุนนโยบาย รวมทั้งปรับกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องและสิทธิประโยชน์ให้เอื้อและอำนวยความสะดวกในการขับเคลื่อนการดำเนินงานในการยกระดับคุณภาพวิชาชีพ
- จัดสรรทรัพยากรและงบประมาณการดำเนินการ โดยจัดสรรงบประมาณให้ตรงจุด ตรงประเด็น เพื่อผลิตและพัฒนาคุณภาพการศึกษาสายวิชาชีพในสาขาที่ขาดแคลนให้สอดคล้องกับทิศทางการพัฒนาของประเทศ
- มีความคิดพื้นฐาน (Mindset) ที่สอดคล้องกับการยกระดับคุณภาพวิชาชีพอาชีวศึกษา ด้วยการกำหนดแผนงาน (Blueprint) ที่ชัดเจน, ร่วมมือกับภาคเอกชนจัดการศึกษาทวิภาคี และพิจารณาค่าตอบแทนตามสมรรถนะวิชาชีพ
- ให้ความร่วมมือและสนับสนุนภาคเอกชน ในการร่วมดำเนินการยกระดับคุณภาพวิชาชีพ
ทั้งนี้ ความยั่งยืนของการดำเนินการขับเคลื่อนนโยบายสานพลังประชารัฐด้านการยกระดับคุณภาพวิชาชีพมีกำหนดระยะเวลาเริ่มต้น 2 ปี และจะมีการติดตามและประเมินผลเป็นระยะเพื่อพัฒนาการดำเนินงาน และเมื่อครบ 2 ปีแล้วจะมีการประเมินผลในภาพรวม หากผลการดำเนินงานมีประสิทธิภาพก็จะกำหนดแผนการขับเคลื่อนในระยะต่อไป
นายรุ่งโรจน์ รังสิโยภาส กรรมการผู้จัดการใหญ่เอสซีจี ในฐานะหัวหน้าทีมภาคเอกชน กล่าวว่า การลงนามบันทึกข้อตกลงในครั้งนี้ เป็นการประกาศเจตนารมณ์ของภาคเอกชนในการทำงานเพื่อสังคมอย่างเป็นรูปธรรม ด้วยความตระหนักถึงความสำคัญด้านคุณภาพวิชาชีพอาชีวศึกษาของบุคลากรในอนาคต ที่จะเป็นกำลังสำคัญในการขับเคลื่อนการทำงานในทุกภาคส่วนให้ประสบความสำเร็จ ซึ่งภาคเอกชนมีบทบาทสำคัญคือ ให้คำแนะนำ เสนอแนะโครงการและวิธีการ รวมทั้งยกระดับคุณภาพวิชาชีพอาชีวศึกษา โดยการลงมือดำเนินโครงการและเป็นกระบอกเสียงให้สังคมได้รับรู้ เข้าใจ และเห็นความสำคัญของอาชีวศึกษา ตลอดจนส่งเสริมและสนับสนุนการดำเนินโครงการต่างๆ ตามแนวทางของภาครัฐ
โดยแนวทางการขับเคลื่อนการยกระดับวิชาชีพอาชีวศึกษา แบ่งเป็น 2 ระยะ คือ
- การขับเคลื่อนระยะแรก (Quick Win) จะใช้เวลาดำเนินการ 6 เดือนในการดำเนินโครงการ ดังนี้
1) Re-Branding คือ การสร้างแรงจูงใจผ่านภาพลักษณ์ที่ดีให้กับนักเรียน และอาจารย์ในสายอาชีวศึกษา โดยสื่อสารให้เห็นถึงโอกาสความก้าวหน้าในวิชาชีพ รวมทั้งผลตอบแทนที่ดีตามระดับทักษะความสามารถที่ได้รับการประเมินตามมาตรฐาน อีกทั้งต้องสร้างความภาคภูมิใจให้บุคลากรสายอาชีวศึกษาภาคภูมิใจที่เป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาประเทศ
2) การสร้าง Excellence Model Schools ซึ่งจะพิจารณาคัดเลือกสถานศึกษาที่มีความเชี่ยวชาญ มีรูปแบบ (Model) การเรียนการสอนที่เหมาะสม และสามารถเป็นพี่เลี้ยงสถานศึกษาอาชีวศึกษาได้ รวมทั้งปรับปรุงหลักสูตรการเรียนการสอนให้ภาคเอกชนเข้าไปมีส่วนร่วม นอกจากนี้ จะสนับสนุนให้นักเรียนนำความรู้ความสามารถในการเรียนมาทำประโยชน์แก่ชุมชนและสังคมผ่านโครงการจิตอาสาต่างๆ
3) ร่วมกันพัฒนาฐานข้อมูล (Database) ทั้งในส่วนอุปสงค์ของความต้องการแรงงานวิชาชีพ (Demand) และอุปทานของแรงงานวิชาชีพที่เรียนจบมา (Supply) ของภาพรวมทั้งประเทศ เพื่อรองรับการขยายตัวทางธุรกิจ โดยมุ่งเน้นความเร่งด่วนใน 10 กลุ่มอุตสาหกรรมใหม่
- การขับเคลื่อนระยะที่สอง (Medium & Long Term) คณะทำงานมีแผนงานดังนี้
1) กำหนดมาตรฐานทักษะวิชาชีพ การเรียนการสอน การจ้างงาน ค่าตอบแทน ให้เหมาะสมและสอดคล้องกับความรู้ ความสามารถ และทักษะฝีมือ
2) แก้ไขกฎหมาย เพื่อให้ประโยชน์ต่อภาพรวมการยกระดับคุณภาพวิชาชีพอาชีวศึกษา
3) ส่งเสริมการยกระดับคุณภาพวิชาชีพอาชีวศึกษาให้ยั่งยืน
4) ผลักดันให้มีหน่วยงานที่รวบรวม Database ของวิชาชีพอาชีวศึกษาให้เป็นรูปธรรม
5) พัฒนาหลักสูตรและครูผู้สอน โดยให้มีสถาบันพัฒนาครูระดับอาชีวศึกษา
พล.อ.เลิศรัตน์ รัตนวานิช ประธานกรรมการบริหาร สถาบันคุณวุฒิวิชาชีพฯ ในฐานะ ตัวแทน ภาคประชาสังคมในการพัฒนาทุนมนุษย์ กล่าวว่า ทุกฝ่ายไม่ว่าจะอยู่ใน Sector ใด ต้องช่วยกันพัฒนาการศึกษาเพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจของไทยให้ก้าวต่อไปข้างหน้า ซึ่งการพัฒนาอาชีวศึกษาเป็นการเริ่มต้นที่ถูกต้องที่สุด (Get to the Point) เนื่องจากเป็นแรงงานที่สำคัญอย่างมากต่อการพัฒนาและการแข่งขันของประเทศ ซึ่งนโยบายรัฐบาลก็ได้ให้ความสำคัญกับการพัฒนาบุคลากรด้านอาชีวศึกษาเป็นอย่างมาก ความมุ่งมั่นของภาครัฐและภาคเอกชนที่จะทำงานร่วมกันจึงถือเป็นปัจจัยสำคัญ (Key Factors) ที่นำไปสู่ความสำเร็จ
ในส่วนของสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพฯ มีหน้าที่สำคัญในการสร้างระบบคุณวุฒิวิชาชีพให้เกิดขึ้นในประเทศไทย ซึ่งในเรื่องระบบคุณวุฒิวิชาชีพนี้ ประเทศไทยอาจจะยังตามไม่ทันประเทศอื่นอยู่บ้าง จึงเป็นเรื่องสำคัญที่จะต้องกำหนดให้มีมาตรฐานวิชาชีพและระบบคุณวุฒิวิชาชีพ ไม่ใช่เฉพาะเรื่องของการศึกษาเพียงอย่างเดียว แต่รวมทั้งเรื่องของสมรรถนะ ความชำนาญ ความเชี่ยวชาญของบุคคลที่ผ่านการทดสอบตามกรอบคุณวุฒิวิชาชีพ จะทำให้ผู้จ้างงานสามารถประเมินและมอบหมายงาน รวมทั้งค่าตอบแทนได้อย่างเหมาะสม
นอกจากนี้ สถาบันคุณวุฒิวิชาชีพฯ ได้พัฒนามาตรฐานวิชาชีพขึ้นมาจำนวนมาก เพื่อกำหนดระดับความเชี่ยวชาญของวิชาชีพต่างๆ เพื่อให้ภาคเอกชนสามารถนำข้อมูลส่วนนี้ไปใช้กำหนดตำแหน่งงานของผู้สมัครงานได้ อีกทั้งได้ให้ความร่วมมือกับกระทรวงศึกษาธิการและสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษามาโดยตลอด ที่ผ่านมาได้มีโครงการนำร่องการพัฒนาให้สอดคล้องกับคุณวุฒิวิชาชีพ โดยมีเป้าหมายในการพัฒนากรอบคุณวุฒิวิชาชีพให้ครอบคลุมทุกสายอาชีพ พร้อมทั้งให้การสนับสนุนการดำเนินงานพัฒนาวิชาชีพอาชีวศึกษาเพื่อผลิตกำลังคนที่มีประสิทธิภาพ และจากความร่วมมือของทุกฝ่ายเช่นนี้ ยิ่งจะทำให้นโยบายสานพลังประชารัฐ ยกระดับคุณภาพวิชาชีพอาชีวศึกษา จะประสบความสำเร็จตามเป้าหมายอย่างแน่นอน
ถ่ายภาพ : ยุทธพงศ์ เลือกกลั่นดี
ส่วนหนึ่งของความร่วมมือจากภาคเอกชน 13 แห่ง
ต่อการยกระดับคุณภาพวิชาชีพอาชีวศึกษา
เอสซีจี :
- โครงการทวิภาคี (Home Solution Career Choice) โดยในระหว่างที่เรียนจะให้นักศึกษาเข้าฝึกงานในสถานประกอบการ โดยได้รับทุนการศึกษาในระดับ ปวส. พร้อมเงินช่วยเหลือด้านต่างๆ เช่น ค่าที่พัก ค่าเดินทาง ค่าเบี้ยเลี้ยงในช่วงฝึกปฏิบัติงาน เป็นต้น
- โครงการ SCG Model School นักศึกษาจะได้เรียนในสถานศึกษา 3 ภาคเรียน และจะฝึกงานในสถานประกอบการอีก 1 ภาคเรียน โดยจะมีพี่เลี้ยงและครูฝึกให้ตามสมรรถนะของสาขางาน พร้อมทั้งได้รับทุนการศึกษา และเบี้ยเลี้ยงในช่วงฝึกปฏิบัติงาน
- โครงการพัฒนาวุฒิ ปวส. ด้านเทคโนโลยีเครื่องกลและการผลิต เป็นโครงการเพื่อพัฒนาพนักงานวุฒิ ปวส. โดยพนักงานจะใช้เวลาเรียนตามหลักสูตร 2 ปี ทุกวันศุกร์บ่ายและวันเสาร์ทั้งวัน และจะได้รับทุนการศึกษาตลอดหลักสูตร
- สถาบันนายช่างดี เป็นสถาบันฝึกอบรมเพื่อพัฒนาศักยภาพของช่าง โดยจัดฝึกอบรมและฝึกปฏิบัติที่ศูนย์ฝึกอบรม 7 ศูนย์, จัดอบรมที่สถาบันการศึกษา และหน่วยสาธิตเคลื่อนที่โดยมีรถ Mobile Unit
- โครงการฝีมือชน คนสร้างชาติ โดยมูลนิธิเอสซีจี แบ่งการดำเนินโครงการออกเป็น 2 ส่วน คือ การสนับสนุนทุนการศึกษาให้กับนักเรียนที่จบการศึกษาในระดับชั้น ม.3 และสามารถศึกษาต่อในระดับ ปวช. ในสาขาช่างอุตสาหกรรมและสาขาบริการ โดยเป็นทุนให้เปล่า อีกทั้งสามารถขอทุนต่อเนื่องจนสำเร็จการศึกษาระดับ ปวส. และอีกส่วนหนึ่งคือการรณรงค์เพื่อปรับภาพลักษณ์ผ่านกระบวนการสื่อสาร ด้วยการให้ความรู้ ข้อมูลข่าวสารด้านดีของการเรียนสายอาชีวะ พร้อมทั้งส่งเสริมและเผยแพร่ภาพความสามารถของนักเรียนอาชีวะ เพื่อยกย่องนักเรียนอาชีวะให้มีศักดิ์ศรี
การบินกรุงเทพ (บางกอกแอร์เวย์) :
- เน้นจัดการเรียนการสอนระบบทวิภาคี โดยเปิดโอกาสให้ผู้เรียนสายอาชีวศึกษาได้เข้ามาฝึกงานในส่วนต่างๆ ของบริษัท ตามความถนัด อาทิ ช่างซ่อมบำรุงอากาศยาน, ต้อนรับภาคพื้นดิน, บัญชีและการเงิน เป็นต้น นอกจากนี้ บริษัทจะช่วยประชาสัมพันธ์ผลการดำเนินงานของโครงการให้ประชาชนทั่วไปได้รับรู้ เข้าใจ และเห็นความสำคัญของการพัฒนากำลังคนด้านอาชีวศึกษา ซึ่งเป็นพลังสำคัญในการพัฒนาประเทศ
ช.การช่าง :
- โครงการนักศึกษาฝึกงาน จะรับนักศึกษาฝึกงานจากสถาบันอาชีวศึกษา เพื่อฝึกงานในแผนกต่างๆ ของบริษัทอย่างต่อเนื่องทุกปี
- โครงการ ช.ชวนเยี่ยมชมโครงการ โดยจะให้นักศึกษาอาชีวะ เข้าเยี่ยมชมสถานที่ก่อสร้างจริง และมีวิศวกรบรรยายถึงการทำงานของแต่ละโครงการ โดยเริ่มมาตั้งแต่ปี 2554 จนถึงปัจจุบัน
- ช.ช่วยซ่อมสถานศึกษา โดยร่วมกับสถาบันอาชีวศึกษาในพื้นที่ต่างๆ ช่วยกันซ่อมแซมสถานศึกษา โดยมีวิศวกรผู้ชำนาญการและเจ้าหน้าที่ของบริษัทช่วยให้ความรู้และเป็นพี่เลี้ยงแก่นักศึกษาอาชีวะ โดยเริ่มมาตั้งแต่ปี 2555 จนถึงปัจจุบัน
- Academy Engineer “เด็กช่างฝัน” แบ่งเป็น Academy Engineer ทั้งในระดับมัธยมศึกษา และระดับอาชีวศึกษา เพื่อให้ความรู้ด้านวิศวกรรม เทคโนโลยี และเทคนิคการก่อสร้างและสร้างแรงบันดาลใจและแนวทางการศึกษาต่อ ให้ความรู้และเทคโนโลยีเฉพาะด้าน เยี่ยมชมหน้างานโครงการ ที่จะช่วยสร้างแรงบันดาลใจแก่ผู้เรียนด้านอาชีพ ซึ่งโครงการนี้ อยู่ในขั้นตอนดำเนินการ
ซัมมิท โอโต บอดี้ อินดัสตรี :
- โครงการทวิภาคี โดยรับนักศึกษาฝึกงานในระดับ ปวช. และ ปวส. พร้อมทั้งมีเบี้ยเลี้ยงและสวัสดิการต่างๆ ให้นักศึกษาในระหว่างการฝึกงาน และเมื่อจบการศึกษาแล้วจะพิจารณาเป็นกรณีพิเศษในการบรรจุให้เป็นพนักงานประจำของบริษัท
- โครงการโรงเรียนในโรงงาน เพื่อรับนักศึกษาที่จบ ปวช. เข้ามาเรียนในโรงงานวุฒิ ปวส. จำนวน 2 ปี โดยจะเข้าฝึกงานวันจันทร์-ศุกร์ และเรียนวิชาการในวันหยุดเสาร์-อาทิตย์ ซึ่งจะมีอาจารย์ของวิทยาลัยเข้ามาสอนรายวิชาบังคับ และเมื่อจบการศึกษาแล้วจะทำการบรรจุเป็นพนักงานประจำของบริษัท
- โครงการกองทุนการศึกษา ซึ่งเป็นโครงการในพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โดยได้พระราชทานทุนทรัพย์ส่วนพระองค์จัดตั้งกองทุนการศึกษา ร่วมกับหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อนำผู้เรียนอาชีวศึกษาจากสถานศึกษาภาครัฐและเอกชนระดับ ปวช. ปี 2 ที่ผ่านการฝึกวินัยจากกองทัพแล้วไปเข้าฝึกงานในสถานประกอบการเป็นเวลา 1 ปี โดยมีเป้าหมาย สร้างคนดี มีสัมมาชีพ
- โครงการเพื่อพัฒนาศักยภาพครูวิทยาลัยเทคนิค ร่วมผลิตกำลังแรงงานในภาคอุตสาหกรรมให้กับนักศึกษาในวิทยาลัยเทคนิคจำนวน 15 วิทยาลัย
- การจัดงานนิทรรศการอาชีวศึกษาทวิภาคีไทย เพื่อแสดงศักยภาพของผู้เรียนอาชีวศึกษา และเผยแพร่ประชาสัมพันธ์การจัดการศึกษาระบบทวิภาคี ส่งเสริมให้มีผู้เข้าเรียนอาชีวศึกษามากขึ้น
ซีพี ออลล์ :
- จัดการศึกษาระบบทวิภาคี โดยร่วมมือกับสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) และสถานประกอบการหรือโรงงานอุตสาหกรรม โดยกำหนดให้นักเรียนเรียนภาคทฤษฎีที่สถานศึกษาไม่เกินสัปดาห์ละ 2 วัน และฝึกภาคปฏิบัติที่สถานประกอบการไม่น้อยกว่า 3 วัน ตลอดระยะเวลาเรียนจนครบหลักสูตร เมื่อสำเร็จการศึกษาแล้วจะได้รับใบประกาศนียบัตรตามความสามารถของผู้เรียน โดยปัจจุบันซีพี ออลล์ ได้จัดการศึกษาทวิภาคีร่วมกับสถานศึกษาอาชีวะ 45 แห่ง
มิตรผล :
- โครงการพัฒนาหลักสูตรทวิภาคี เพื่อผลิตบุคลากรสายอาชีพในอุตสาหกรรมน้ำตาลและชีวพลังงาน โดยรับนักศึกษาชั้น ปวส. ใช้เวลาเรียน 2 ปี มีเนื้อหาและหลักสูตรการเรียนการสอนที่สอดคล้องกับการพัฒนาเส้นทางอาชีพในกลุ่มมิตรผล ทั้งภาคทฤษฎีและฝึกปฏิบัติจริงในโรงงาน ซึ่งนักศึกษาจะได้รับทุนการศึกษาและเบี้ยเลี้ยงระหว่างฝึกปฏิบัติงาน และมีโอกาสเข้าทำงานกับกลุ่มมิตรผล ปัจจุบันมีสถาบันอาชีวศึกษาที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ตั้งโรงงานเข้าร่วมโครงการแล้ว 8 แห่ง และมีแนวโน้มจะเพิ่มพื้นที่และจำนวนสถานศึกษาในอนาคต เช่น จังหวัดกาฬสินธุ์ และจังหวัดใกล้เคียงกับพื้นที่ตั้งกลุ่มมิตรผล
เซ็นทรัล กรุ๊ป :
- โครงการทุนทวิภาคีเซ็นทรัล ระดับ ปวส. (CG DVE Scholarship) โดยเปิดรับผู้ที่สำเร็จการศึกษาหรือกำลังศึกษาอยู่ชั้นปีสุดท้ายในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย และ ปวช. เกรดเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 2.50 เข้าเรียนในระดับ ปวส. โดยมีหลักสูตรการเรียนการสอน 3 รูปแบบ คือ เรียนผ่านระบบ Online หรือ E-Learning, เรียน 1 ปีและฝึกประสบการณ์ 1 ปี และการเรียนควบคู่กับฝึกประสบการณ์ 5:1:1 (ฝึกประสบการณ์ 5 วัน เรียนในสถานศึกษา 1 วัน และหยุด 1 วัน) ซึ่งทั้ง 3 รูปแบบได้รับทุนการศึกษาตลอดหลักสูตร 100% และเบี้ยเลี้ยงเพิ่มเติมประมาณ 7,500-10,500 บาทต่อเดือน รวมทั้งเบี้ยเลี้ยงพิเศษ คอมมิชชั่น ค่านั่งเครื่อง ค่าที่พักอาศัย 2,500 บาทม/เดือน เพื่อให้ผู้เรียนได้เรียนรู้และฝึกประสบการณ์ทำงานควบคู่กันไป และผู้เรียนจะได้เรียนรู้ในสายงานที่ตนเองสนใจ เพื่อเตรียมความพร้อมในการประกอบอาชีพในอนาคตได้ฮอนด้า ออโตโมบิล :
- โครงการความร่วมมือการจัดการเรียนการสอนระบบทวิภาคี โดยร่วมมือกับ สอศ. ส่งเสริมการเรียนรู้ทักษะวิชาชีพเฉพาะทางด้านยานยนต์ และสร้างนิสัยอุตสาหกรรมให้กับนักศึกษาอาชีวศึกษาจากวิทยาลัย 21 แห่งทั่วประเทศ ผ่านหลักสูตรการเรียนการสอนแบบบูรณาการ โดยเปิดโอกาสให้นักศึกษาได้ฝึกปฏิบัติงานจริงในสถานประกอบการ ควบคู่กับการเรียนเนื้อหาตามรายวิชาอย่างเหมาะสม เพื่อเพิ่มศักยภาพให้กับแรงงานไทย และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันกับตลาดแรงงานระดับโลกได้อย่างยั่งยืน
ที่มา ; เว็บ สำนักงานรัฐมนตรี กระทรวงศึกษาธิการ
( คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้
เตรียมสอบผู้บริหารสถาน+การศึกษา
เตรียมสอบครูผู้ช่วย
ข่าวสำนักงานรัฐมนตรี 34/2559สานพลังประชารัฐ"รัฐ-เอกชน-ประชาสังคม"ร่วมยกระดับคุณภาพวิชาชีพอาชีวศึกษา
โรงแรมสยามเคมปินสกี้ กรุงเทพฯ - ภาครัฐ-ภาคเอกชน-ภาคประชาสังคม ร่วมลงนาม บันทึกข้อตกลงความร่วมมือ "สานพลังประชารัฐ ยกระดับคุณภาพวิชาชีพอาชีวศึกษา" (Competitive Workforce) เพื่อเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันทัดเทียมเวทีโลก ตั้งเป้าเห็นผลเป็นรูปธรรมภายใน 2 ปี
เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 21 มกราคม 2559 ที่ห้องฉัตรบอลลูม โรงแรมสยามเคมปินสกี้ กรุงเทพฯ, นาย สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี พร้อมด้วย พล.อ.ดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ในฐานะหัวหน้าทีมภาครัฐ, พล.อ.ศิริชัย ดิษฐกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน และนางอรรชกา สีบุญเรือง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ "สานพลังประชารัฐ ยกระดับคุณภาพวิชาชีพอาชีวศึกษา : Competitive Workforce" กับ ภาคเอกชน 13 องค์กรชั้นนำระดับประเทศ นำโดยนายรุ่งโรจน์ รังสิโยภาส กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน) หรือเอสซีจี ในฐานะหัวหน้าทีมภาคเอกชน รวมทั้ง พล.อ.เลิศรัตน์ รัตนวานิช ประธานกรรมการบริหารสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ (องค์การมหาชน) ตัวแทน ภาคประชาสังคมในการพัฒนาทุนมนุษย์ นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานการลงนามความร่วมมือในครั้งนี้ กล่าวว่า การลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคมในครั้งนี้ เป็นความร่วมมือของทั้ง 3 ภาคส่วน ซึ่งทำหน้าที่ร่วมกันขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศตามนโยบายประชารัฐ โดยประชารัฐเป็นพลังอันยิ่งใหญ่ที่จะสามารถเปลี่ยนแปลงประเทศไทยได้ และนโยบายนี้ไม่ได้ส่งผลให้เอกชนได้แรงงานที่ดีเท่านั้น แต่จะได้คนดีมาทำงานให้ประเทศชาติด้วย ซึ่งถือเป็นก้าวที่ยิ่งใหญ่และเป็นการสร้างคลื่นกระทบที่รุนแรงต่อประเทศ เพราะที่ผ่านมาพลังที่ซ่อนอยู่ของภาคเอกชนยังไม่เคยถูกดึงมาใช้ให้เกิดประโยชน์การศึกษาเป็นเรื่องใหญ่ที่สุดของประเทศ เพราะประเทศจะก้าวต่อไปข้างหน้าไม่ได้หากไม่มีคนที่มีความสามารถ ซึ่งอาชีวศึกษาไม่ได้มีความสำคัญน้อยกว่าการศึกษาในระดับปริญญาตรี-โท-เอก ซึ่งเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาประเทศ วิชาชีพเป็นประเด็นสำคัญ ประเทศชาติจะเคลื่อนไปในทิศทางใดต้องอาศัยกำลังคนด้านอาชีวศึกษาทั้งสิ้น แต่ในระบบการศึกษาของไทยมีบางอย่างที่บิดเบี้ยวไป คนที่เข้าเรียนอาชีวศึกษาถูกมองว่าสู้คนที่เรียนระดับปริญญาตรีไม่ได้ เข้ามาแล้วเป็นช่างกลจึงไม่มีใครอยากเข้า หรือเข้ามาสู่ในระบบแล้วก็ไม่ได้มีความหวังว่าเรียนจบแล้วจะไปประกอบอาชีพอะไร เหมือนคนที่ไม่มีที่มาที่ไป อนาคตมองไม่เห็น ด้อยค่าในสังคม ในระบบส่วนนี้มีทั้งเอกชน กระทรวงต่างๆ มหาวิทยาลัย และโรงเรียน ต่างคนต่างทำของตัวเอง ไม่ได้เชื่อมโยงติดต่อกัน ไม่ได้หารือร่วมกัน แล้วจะผลิตกำลังคนออกมาได้อย่างไรดังนั้น การที่ทั้ง 3 ภาคส่วนได้มาร่วมมือกัน จะทำให้เกิดความเชื่อมโยง ทั้งภาครัฐและภาคเอกชนจะเข้าใจความต้องการของกันและกันมากขึ้นทำให้โครงการนี้สำเร็จได้นอกจากนี้ ต้องการให้ผู้เรียนอาชีวศึกษามีทางเลือกที่จะเป็นผู้ประกอบการด้วยตนเอง อีกทั้งต้องให้ความสำคัญต่อการฝึกปฏิบัติงานของผู้เรียน เพราะผู้เรียนด้านอาชีวะหรือวิศวกรนั้น จะไม่มีเครื่องมือในการฝึกปฏิบัติไม่ได้ จึงต้องให้แต่ละสายอาชีพมาฝึกปฏิบัติงาน เพื่อสร้างจินตนาการและทักษะที่แท้จริงรองนายกรัฐมนตรี กล่าวด้วยว่า ในฐานะผู้บริหาร ไม่จำเป็นต้องตามกระแสไปทุกเรื่อง แต่ต้องรับฟังกระแสว่ากระแสคิดว่าอะไร และต้องรู้ว่าเราจะทำอะไรที่มีประโยชน์ต่อชาติ และเดินตามเส้นทางนั้นด้วยการรับฟัง เพราะถ้าหากเราตามกระแสอย่างเดียว จะไม่มีวิสัยทัศน์ อีกทั้งเราต้องทำให้ทิศทางใหม่ๆ เกิดขึ้น สิ่งสำคัญของการพัฒนาประเทศของเรา คือไม่ใช่เพียงแค่ก้าวตามโลก แต่ต้องก้าวข้ามโลก และการดักหน้าโลกถือเป็นสิ่งสำคัญมาก ไม่ใช่วิ่งตามโลก
พล.อ.ดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ รมว.ศึกษาธิการ ในฐานะหัวหน้าทีมภาครัฐ กล่าวว่า ที่ผ่านมาภาครัฐได้มีการหารือกับภาคเอกชนกันอย่างใกล้ชิด ในรูปแบบคณะทำงานภาครัฐและเอกชนเพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ (Public-Private Steering Committee) หรือประชารัฐ ชุดที่ 4 เพื่อให้ได้แนวทางที่จะเดินไปด้วยกันตามนโยบายสานพลังประชารัฐของรัฐบาล ซึ่งต้องใช้คำว่า "ต้องกระโดดใส่" เพราะการที่ภาคเอกชนชั้นนำให้การสนับสนุนภาครัฐอย่างดีเช่นนี้ ยิ่งจะทำให้ภาคการศึกษาได้ประโยชน์อย่างมาก ทั้งนี้ ทั้งสองฝ่ายได้ร่วมกันกำหนดวัตถุประสงค์ของคณะกรรมการชุดนี้ เพื่อยกระดับคุณภาพวิชาชีพเพื่อให้สามารถแข่งขันได้ในตลาดโลก โดยมุ่งเน้นผลประโยชน์ของชาติเป็นหลักพร้อมทั้งได้กำหนดภารกิจหลักที่ต้องร่วมกันดำเนินการ 5 ประการ ได้แก่ 1) การสร้างค่านิยมหรือแรงจูงใจให้เด็กมาเรียนอาชีวะมากขึ้น (Inspiration) ซึ่งไม่ใช่เรื่องใหม่ เป็นเรื่องที่ทั้งภาครัฐและภาคเอกชนเคยร่วมดำเนินการมาแล้ว แต่ยังไม่ทัน จึงต้องเร่งดำเนินการให้เร็วขึ้น โดยคาดหวังว่าภาคเอกชนจะมีบทบาทสำคัญที่จะช่วยสร้างค่านิยมการเรียนอาชีวศึกษาให้เห็นผลมากขึ้น2) การผลิตผู้เรียนอาชีวะในสาขาที่ขาดแคลนให้มีปริมาณเพียงพอต่อการพัฒนาประเทศ (Quantity) การผลิตกำลังคนด้านอาชีวศึกษาในปัจจุบันยังไม่เพียงพอ จึงต้องร่วมมือกับภาคเอกชนซึ่งเป็นผู้ใช้กำลังคนดังกล่าว ว่าต้องการจำนวนเท่าไร เพื่อผลิตตามความเร่งด่วนใน 10กลุ่มอุตสาหกรรมใหม่ (Clusters) ที่เป็นความต้องการของภาคอุตสาหกรรม 3) การสร้างคุณภาพให้เกิดขึ้นกับผู้เรียนอาชีวะ (Quality) เพื่อให้เป็นที่ยอมรับตรงตามความต้องการของตลาด โดยมุ่งเน้นการพัฒนาให้เป็นคนเก่งและคนดี เนื่องจากปัจจุบันเทคโนโลยีต่างๆ เจริญก้าวหน้าอย่างรวดเร็วมาก จนทำให้สถานศึกษาอาชีวะตามไม่ทัน จึงต้องร่วมมือกันจัดทำและพัฒนาหลักสูตร เพื่อให้เกิดแนวทางในการจัดการเรียนการสอนที่สอดคล้องและเป็นไปในแนวทางเดียวกันกับการพัฒนาธุรกิจของภาคเอกชน4) การสร้างอาชีวะให้มีความเป็นเลิศในแต่ละด้าน (Excellency) โดยพัฒนาแบบครบวงจร ทั้งในเรื่องหลักสูตร ครูผู้สอน อุปกรณ์เครื่องมือ สื่อการเรียนการสอน เทคโนโลยีสมัยใหม่ ซึ่งมีแนวทางดำเนินการ 2 รูปแบบ คือ การพัฒนาจากศักยภาพของแต่ละสถาบันอาชีวศึกษา ด้วยการกำหนดความเป็นเลิศเฉพาะด้านให้กับสถานศึกษาอาชีวะนั้นๆ และอีกรูปแบบหนึ่งคือการลงทุนร่วมกับภาคเอกชนตามสาขาที่ภาคเอกชนมีความเชี่ยวชาญ เพื่อที่จะผลิตคนได้ตรงกับความต้องการของเอกชนได้ทันที5) ให้อาชีวะมีความเป็นสากลและมีความร่วมมือกับต่างประเทศมากขึ้น (Global Standard) โดยการนำเทคโนโลยีที่ทันสมัย ได้มาตรฐานสากล มาประยุกต์ใช้กับหลักสูตรสายอาชีพอย่างเหมาะสม ซึ่งถึงแม้ว่าศักยภาพของอาชีวศึกษาของไทยไม่แพ้ใคร แต่จำเป็นต้องพัฒนาศักยภาพให้ทันกับความก้าวหน้าของเศรษฐกิจโลก ในอดีตมีความร่วมมือจัดตั้ง "โรงเรียนเทคนิคไทย-เยอรมัน" ซึ่งต่อมาคือมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ และในอนาคตอาจมีอาชีวะไทย-จีน, อาชีวะไทย-ญี่ปุ่น ฯลฯรมว.ศึกษาธิการ ได้กล่าวเพิ่มเติมถึง "บทบาทของภาครัฐในการขับเคลื่อนการดำเนินงานตามนโยบายประชารัฐ ด้านการยกระดับคุณภาพวิชาชีพ" ดังนี้- ประสานความร่วมมือระหว่างหน่วยงานต่างๆ ของภาครัฐที่เกี่ยวข้อง อาทิ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ, กระทรวงเกษตรและสหกรณ์, กระทรวงพาณิชย์ เป็นต้น เพื่อขอข้อมูลสถิติ รวมทั้งการกำหนดและประเมินมาตรฐานฝีมือแรงงาน- สนับสนุนนโยบาย รวมทั้งปรับกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องและสิทธิประโยชน์ให้เอื้อและอำนวยความสะดวกในการขับเคลื่อนการดำเนินงานในการยกระดับคุณภาพวิชาชีพ- จัดสรรทรัพยากรและงบประมาณการดำเนินการ โดยจัดสรรงบประมาณให้ตรงจุด ตรงประเด็น เพื่อผลิตและพัฒนาคุณภาพการศึกษาสายวิชาชีพในสาขาที่ขาดแคลนให้สอดคล้องกับทิศทางการพัฒนาของประเทศ- มีความคิดพื้นฐาน (Mindset) ที่สอดคล้องกับการยกระดับคุณภาพวิชาชีพอาชีวศึกษา ด้วยการกำหนดแผนงาน (Blueprint) ที่ชัดเจน, ร่วมมือกับภาคเอกชนจัดการศึกษาทวิภาคี และพิจารณาค่าตอบแทนตามสมรรถนะวิชาชีพ- ให้ความร่วมมือและสนับสนุนภาคเอกชน ในการร่วมดำเนินการยกระดับคุณภาพวิชาชีพทั้งนี้ ความยั่งยืนของการดำเนินการขับเคลื่อนนโยบายสานพลังประชารัฐด้านการยกระดับคุณภาพวิชาชีพมีกำหนดระยะเวลาเริ่มต้น 2 ปี และจะมีการติดตามและประเมินผลเป็นระยะเพื่อพัฒนาการดำเนินงาน และเมื่อครบ 2 ปีแล้วจะมีการประเมินผลในภาพรวม หากผลการดำเนินงานมีประสิทธิภาพก็จะกำหนดแผนการขับเคลื่อนในระยะต่อไป
นายรุ่งโรจน์ รังสิโยภาสกรรมการผู้จัดการใหญ่เอสซีจี ในฐานะหัวหน้าทีมภาคเอกชน กล่าวว่า การลงนามบันทึกข้อตกลงในครั้งนี้ เป็นการประกาศเจตนารมณ์ของภาคเอกชนในการทำงานเพื่อสังคมอย่างเป็นรูปธรรม ด้วยความตระหนักถึงความสำคัญด้านคุณภาพวิชาชีพอาชีวศึกษาของบุคลากรในอนาคต ที่จะเป็นกำลังสำคัญในการขับเคลื่อนการทำงานในทุกภาคส่วนให้ประสบความสำเร็จ ซึ่งภาคเอกชนมีบทบาทสำคัญคือ ให้คำแนะนำ เสนอแนะโครงการและวิธีการ รวมทั้งยกระดับคุณภาพวิชาชีพอาชีวศึกษา โดยการลงมือดำเนินโครงการและเป็นกระบอกเสียงให้สังคมได้รับรู้ เข้าใจ และเห็นความสำคัญของอาชีวศึกษา ตลอดจนส่งเสริมและสนับสนุนการดำเนินโครงการต่างๆ ตามแนวทางของภาครัฐ โดยแนวทางการขับเคลื่อนการยกระดับวิชาชีพอาชีวศึกษา แบ่งเป็น 2 ระยะ คือ-การขับเคลื่อนระยะแรก (Quick Win) จะใช้เวลาดำเนินการ 6 เดือนในการดำเนินโครงการ ดังนี้ 1) Re-Branding คือ การสร้างแรงจูงใจผ่านภาพลักษณ์ที่ดีให้กับนักเรียน และอาจารย์ในสายอาชีวศึกษา โดยสื่อสารให้เห็นถึงโอกาสความก้าวหน้าในวิชาชีพ รวมทั้งผลตอบแทนที่ดีตามระดับทักษะความสามารถที่ได้รับการประเมินตามมาตรฐาน อีกทั้งต้องสร้างความภาคภูมิใจให้บุคลากรสายอาชีวศึกษาภาคภูมิใจที่เป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาประเทศ2) การสร้าง Excellence Model Schools ซึ่งจะพิจารณาคัดเลือกสถานศึกษาที่มีความเชี่ยวชาญ มีรูปแบบ (Model) การเรียนการสอนที่เหมาะสม และสามารถเป็นพี่เลี้ยงสถานศึกษาอาชีวศึกษาได้ รวมทั้งปรับปรุงหลักสูตรการเรียนการสอนให้ภาคเอกชนเข้าไปมีส่วนร่วม นอกจากนี้ จะสนับสนุนให้นักเรียนนำความรู้ความสามารถในการเรียนมาทำประโยชน์แก่ชุมชนและสังคมผ่านโครงการจิตอาสาต่างๆ3) ร่วมกันพัฒนาฐานข้อมูล (Database) ทั้งในส่วนอุปสงค์ของความต้องการแรงงานวิชาชีพ (Demand) และอุปทานของแรงงานวิชาชีพที่เรียนจบมา (Supply) ของภาพรวมทั้งประเทศ เพื่อรองรับการขยายตัวทางธุรกิจ โดยมุ่งเน้นความเร่งด่วนใน 10 กลุ่มอุตสาหกรรมใหม่- การขับเคลื่อนระยะที่สอง (Medium & Long Term) คณะทำงานมีแผนงานดังนี้1) กำหนดมาตรฐานทักษะวิชาชีพ การเรียนการสอน การจ้างงาน ค่าตอบแทน ให้เหมาะสมและสอดคล้องกับความรู้ ความสามารถ และทักษะฝีมือ2) แก้ไขกฎหมาย เพื่อให้ประโยชน์ต่อภาพรวมการยกระดับคุณภาพวิชาชีพอาชีวศึกษา3) ส่งเสริมการยกระดับคุณภาพวิชาชีพอาชีวศึกษาให้ยั่งยืน4) ผลักดันให้มีหน่วยงานที่รวบรวม Database ของวิชาชีพอาชีวศึกษาให้เป็นรูปธรรม5) พัฒนาหลักสูตรและครูผู้สอน โดยให้มีสถาบันพัฒนาครูระดับอาชีวศึกษา
พล.อ.เลิศรัตน์ รัตนวานิช ประธานกรรมการบริหาร สถาบันคุณวุฒิวิชาชีพฯ ในฐานะตัวแทน ภาคประชาสังคมในการพัฒนาทุนมนุษย์ กล่าวว่า ทุกฝ่ายไม่ว่าจะอยู่ใน Sector ใด ต้องช่วยกันพัฒนาการศึกษาเพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจของไทยให้ก้าวต่อไปข้างหน้า ซึ่งการพัฒนาอาชีวศึกษาเป็นการเริ่มต้นที่ถูกต้องที่สุด (Get to the Point) เนื่องจากเป็นแรงงานที่สำคัญอย่างมากต่อการพัฒนาและการแข่งขันของประเทศ ซึ่งนโยบายรัฐบาลก็ได้ให้ความสำคัญกับการพัฒนาบุคลากรด้านอาชีวศึกษาเป็นอย่างมาก ความมุ่งมั่นของภาครัฐและภาคเอกชนที่จะทำงานร่วมกันจึงถือเป็นปัจจัยสำคัญ (Key Factors) ที่นำไปสู่ความสำเร็จ ในส่วนของสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพฯ มีหน้าที่สำคัญในการสร้างระบบคุณวุฒิวิชาชีพให้เกิดขึ้นในประเทศไทย ซึ่งในเรื่องระบบคุณวุฒิวิชาชีพนี้ ประเทศไทยอาจจะยังตามไม่ทันประเทศอื่นอยู่บ้าง จึงเป็นเรื่องสำคัญที่จะต้องกำหนดให้มีมาตรฐานวิชาชีพและระบบคุณวุฒิวิชาชีพ ไม่ใช่เฉพาะเรื่องของการศึกษาเพียงอย่างเดียว แต่รวมทั้งเรื่องของสมรรถนะ ความชำนาญ ความเชี่ยวชาญของบุคคลที่ผ่านการทดสอบตามกรอบคุณวุฒิวิชาชีพ จะทำให้ผู้จ้างงานสามารถประเมินและมอบหมายงาน รวมทั้งค่าตอบแทนได้อย่างเหมาะสมนอกจากนี้ สถาบันคุณวุฒิวิชาชีพฯ ได้พัฒนามาตรฐานวิชาชีพขึ้นมาจำนวนมาก เพื่อกำหนดระดับความเชี่ยวชาญของวิชาชีพต่างๆ เพื่อให้ภาคเอกชนสามารถนำข้อมูลส่วนนี้ไปใช้กำหนดตำแหน่งงานของผู้สมัครงานได้ อีกทั้งได้ให้ความร่วมมือกับกระทรวงศึกษาธิการและสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษามาโดยตลอด ที่ผ่านมาได้มีโครงการนำร่องการพัฒนาให้สอดคล้องกับคุณวุฒิวิชาชีพ โดยมีเป้าหมายในการพัฒนากรอบคุณวุฒิวิชาชีพให้ครอบคลุมทุกสายอาชีพ พร้อมทั้งให้การสนับสนุนการดำเนินงานพัฒนาวิชาชีพอาชีวศึกษาเพื่อผลิตกำลังคนที่มีประสิทธิภาพ และจากความร่วมมือของทุกฝ่ายเช่นนี้ ยิ่งจะทำให้นโยบายสานพลังประชารัฐ ยกระดับคุณภาพวิชาชีพอาชีวศึกษา จะประสบความสำเร็จตามเป้าหมายอย่างแน่นอน
ถ่ายภาพ : ยุทธพงศ์ เลือกกลั่นดี
ส่วนหนึ่งของความร่วมมือจากภาคเอกชน 13 แห่ง
ต่อการยกระดับคุณภาพวิชาชีพอาชีวศึกษา
เอสซีจี :
- โครงการทวิภาคี (Home Solution Career Choice) โดยในระหว่างที่เรียนจะให้นักศึกษาเข้าฝึกงานในสถานประกอบการ โดยได้รับทุนการศึกษาในระดับ ปวส. พร้อมเงินช่วยเหลือด้านต่างๆ เช่น ค่าที่พัก ค่าเดินทาง ค่าเบี้ยเลี้ยงในช่วงฝึกปฏิบัติงาน เป็นต้น
- โครงการ SCG Model School นักศึกษาจะได้เรียนในสถานศึกษา 3 ภาคเรียน และจะฝึกงานในสถานประกอบการอีก 1 ภาคเรียน โดยจะมีพี่เลี้ยงและครูฝึกให้ตามสมรรถนะของสาขางาน พร้อมทั้งได้รับทุนการศึกษา และเบี้ยเลี้ยงในช่วงฝึกปฏิบัติงาน
- โครงการพัฒนาวุฒิ ปวส. ด้านเทคโนโลยีเครื่องกลและการผลิต เป็นโครงการเพื่อพัฒนาพนักงานวุฒิ ปวส. โดยพนักงานจะใช้เวลาเรียนตามหลักสูตร 2 ปี ทุกวันศุกร์บ่ายและวันเสาร์ทั้งวัน และจะได้รับทุนการศึกษาตลอดหลักสูตร
- สถาบันนายช่างดี เป็นสถาบันฝึกอบรมเพื่อพัฒนาศักยภาพของช่าง โดยจัดฝึกอบรมและฝึกปฏิบัติที่ศูนย์ฝึกอบรม 7 ศูนย์, จัดอบรมที่สถาบันการศึกษา และหน่วยสาธิตเคลื่อนที่โดยมีรถ Mobile Unit
- โครงการฝีมือชน คนสร้างชาติ โดยมูลนิธิเอสซีจี แบ่งการดำเนินโครงการออกเป็น 2 ส่วน คือ การสนับสนุนทุนการศึกษาให้กับนักเรียนที่จบการศึกษาในระดับชั้น ม.3 และสามารถศึกษาต่อในระดับ ปวช. ในสาขาช่างอุตสาหกรรมและสาขาบริการ โดยเป็นทุนให้เปล่า อีกทั้งสามารถขอทุนต่อเนื่องจนสำเร็จการศึกษาระดับ ปวส. และอีกส่วนหนึ่งคือการรณรงค์เพื่อปรับภาพลักษณ์ผ่านกระบวนการสื่อสาร ด้วยการให้ความรู้ ข้อมูลข่าวสารด้านดีของการเรียนสายอาชีวะ พร้อมทั้งส่งเสริมและเผยแพร่ภาพความสามารถของนักเรียนอาชีวะ เพื่อยกย่องนักเรียนอาชีวะให้มีศักดิ์ศรี
การบินกรุงเทพ (บางกอกแอร์เวย์) :
- เน้นจัดการเรียนการสอนระบบทวิภาคี โดยเปิดโอกาสให้ผู้เรียนสายอาชีวศึกษาได้เข้ามาฝึกงานในส่วนต่างๆ ของบริษัท ตามความถนัด อาทิ ช่างซ่อมบำรุงอากาศยาน, ต้อนรับภาคพื้นดิน, บัญชีและการเงิน เป็นต้น นอกจากนี้ บริษัทจะช่วยประชาสัมพันธ์ผลการดำเนินงานของโครงการให้ประชาชนทั่วไปได้รับรู้ เข้าใจ และเห็นความสำคัญของการพัฒนากำลังคนด้านอาชีวศึกษา ซึ่งเป็นพลังสำคัญในการพัฒนาประเทศ
ช.การช่าง :
- โครงการนักศึกษาฝึกงาน จะรับนักศึกษาฝึกงานจากสถาบันอาชีวศึกษา เพื่อฝึกงานในแผนกต่างๆ ของบริษัทอย่างต่อเนื่องทุกปี
- โครงการ ช.ชวนเยี่ยมชมโครงการ โดยจะให้นักศึกษาอาชีวะ เข้าเยี่ยมชมสถานที่ก่อสร้างจริง และมีวิศวกรบรรยายถึงการทำงานของแต่ละโครงการ โดยเริ่มมาตั้งแต่ปี 2554 จนถึงปัจจุบัน
- ช.ช่วยซ่อมสถานศึกษา โดยร่วมกับสถาบันอาชีวศึกษาในพื้นที่ต่างๆ ช่วยกันซ่อมแซมสถานศึกษา โดยมีวิศวกรผู้ชำนาญการและเจ้าหน้าที่ของบริษัทช่วยให้ความรู้และเป็นพี่เลี้ยงแก่นักศึกษาอาชีวะ
- Academy Engineer “เด็กช่างฝัน” แบ่งเป็น Academy Engineer ทั้งในระดับมัธยมศึกษา และระดับอาชีวศึกษา เพื่อให้ความรู้ด้านวิศวกรรม เทคโนโลยี และเทคนิคการก่อสร้างและสร้างแรงบันดาลใจและแนวทางการศึกษาต่อ ให้ความรู้และเทคโนโลยีเฉพาะด้าน เยี่ยมชมหน้างานโครงการ ที่จะช่วยสร้างแรงบันดาลใจแก่ผู้เรียนด้านอาชีพ ซึ่งโครงการนี้
ซัมมิท โอโต บอดี้ อินดัสตรี :
- โครงการทวิภาคี โดยรับนักศึกษาฝึกงานในระดับ ปวช. และ ปวส. พร้อมทั้งมีเบี้ยเลี้ยงและสวัสดิการต่างๆ ให้นักศึกษาในระหว่างการฝึกงาน และเมื่อจบการศึกษาแล้วจะพิจารณาเป็นกรณีพิเศษในการบรรจุให้เป็นพนักงานประจำของบริษัท
- โครงการโรงเรียนในโรงงาน เพื่อรับนักศึกษาที่จบ ปวช. เข้ามาเรียนในโรงงานวุฒิ ปวส. จำนวน 2 ปี โดยจะเข้าฝึกงานวันจันทร์-ศุกร์ และเรียนวิชาการในวันหยุดเสาร์-อาทิตย์ ซึ่งจะมีอาจารย์ของวิทยาลัยเข้ามาสอนรายวิชาบังคับ และเมื่อจบการศึกษาแล้วจะทำการบรรจุเป็นพนักงานประจำของบริษัท
- โครงการกองทุนการศึกษา ซึ่งเป็นโครงการในพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โดยได้พระราชทานทุนทรัพย์ส่วนพระองค์จัดตั้งกองทุนการศึกษา ร่วมกับหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อนำผู้เรียนอาชีวศึกษาจากสถานศึกษาภาครัฐและเอกชนระดับ ปวช. ปี 2 ที่ผ่านการฝึกวินัยจากกองทัพแล้วไปเข้าฝึกงานในสถานประกอบการเป็นเวลา 1 ปี โดยมีเป้าหมาย สร้างคนดี มีสัมมาชีพ
- โครงการเพื่อพัฒนาศักยภาพครูวิทยาลัยเทคนิค ร่วมผลิตกำลังแรงงานในภาคอุตสาหกรรมให้กับนักศึกษาในวิทยาลัยเทคนิคจำนวน 15 วิทยาลัย
- การจัดงานนิทรรศการอาชีวศึกษาทวิภาคีไทย เพื่อแสดงศักยภาพของผู้เรียนอาชีวศึกษา และเผยแพร่ประชาสัมพันธ์การจัดการศึกษาระบบทวิภาคี ส่งเสริมให้มีผู้เข้าเรียนอาชีวศึกษามากขึ้น
ซีพี ออลล์ :
- จัดการศึกษาระบบทวิภาคี โดยร่วมมือกับสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) และสถานประกอบการหรือโรงงานอุตสาหกรรม โดยกำหนดให้นักเรียนเรียนภาคทฤษฎีที่สถานศึกษาไม่เกินสัปดาห์ละ 2 วัน และฝึกภาคปฏิบัติที่สถานประกอบการไม่น้อยกว่า 3 วัน ตลอดระยะเวลาเรียนจนครบหลักสูตร เมื่อสำเร็จการศึกษาแล้วจะได้รับใบประกาศนียบัตรตามความสามารถของผู้เรียน โดยปัจจุบันซีพี ออลล์ ได้จัดการศึกษาทวิภาคีร่วมกับสถานศึกษาอาชีวะ 45 แห่ง
มิตรผล :
- โครงการพัฒนาหลักสูตรทวิภาคี เพื่อผลิตบุคลากรสายอาชีพในอุตสาหกรรมน้ำตาลและชีวพลังงาน โดยรับนักศึกษาชั้น ปวส. ใช้เวลาเรียน 2 ปี มีเนื้อหาและหลักสูตรการเรียนการสอนที่สอดคล้องกับการพัฒนาเส้นทางอาชีพในกลุ่มมิตรผล ทั้งภาคทฤษฎีและฝึกปฏิบัติจริงในโรงงาน ซึ่งนักศึกษาจะได้รับทุนการศึกษาและเบี้ยเลี้ยงระหว่างฝึกปฏิบัติงาน และมีโอกาสเข้าทำงานกับกลุ่มมิตรผล ปัจจุบันมีสถาบันอาชีวศึกษาที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ตั้งโรงงานเข้าร่วมโครงการแล้ว 8 แห่ง และมีแนวโน้มจะเพิ่มพื้นที่และจำนวนสถานศึกษาในอนาคต เช่น จังหวัดกาฬสินธุ์ และจังหวัดใกล้เคียงกับพื้นที่ตั้งกลุ่มมิตรผล
เซ็นทรัล กรุ๊ป :
- โครงการทุนทวิภาคีเซ็นทรัล ระดับ ปวส. (CG DVE Scholarship) โดยเปิดรับผู้ที่สำเร็จการศึกษาหรือกำลังศึกษาอยู่ชั้นปีสุดท้ายในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย และ ปวช. เกรดเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 2.50 เข้าเรียนในระดับ ปวส. โดยมีหลักสูตรการเรียนการสอน 3 รูปแบบ คือ เรียนผ่านระบบ Online หรือ E-Learning, เรียน 1 ปีและฝึกประสบการณ์ 1 ปี และการเรียนควบคู่กับฝึกประสบการณ์ 5:1:1 (ฝึกประสบการณ์ 5 วัน เรียนในสถานศึกษา 1 วัน และหยุด 1 วัน) ซึ่งทั้ง 3 รูปแบบได้รับทุนการศึกษาตลอดหลักสูตร 100% และเบี้ยเลี้ยงเพิ่มเติมประมาณ 7,500-10,500 บาทต่อเดือน รวมทั้งเบี้ยเลี้ยงพิเศษ คอมมิชชั่น ค่านั่งเครื่อง ค่าที่พักอาศัย 2,500 บาทม/เดือน เพื่อให้ผู้เรียนได้เรียนรู้และฝึกประสบการณ์ทำงานควบคู่กันไป และผู้เรียนจะได้เรียนรู้ในสายงานที่ตนเองสนใจ เพื่อเตรียมความพร้อมในการประกอบอาชีพในอนาคตได้ฮอนด้า ออโตโมบิล :
- โครงการความร่วมมือการจัดการเรียนการสอนระบบทวิภาคี โดยร่วมมือกับ สอศ. ส่งเสริมการเรียนรู้ทักษะวิชาชีพเฉพาะทางด้านยานยนต์ และสร้างนิสัยอุตสาหกรรมให้กับนักศึกษาอาชีวศึกษาจากวิทยาลัย 21 แห่งทั่วประเทศ ผ่านหลักสูตรการเรียนการสอนแบบบูรณาการ โดยเปิดโอกาสให้นักศึกษาได้ฝึกปฏิบัติงานจริงในสถานประกอบการ ควบคู่กับการเรียนเนื้อหาตามรายวิชาอย่างเหมาะสม เพื่อเพิ่มศักยภาพให้กับแรงงานไทย และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันกับตลาดแรงงานระดับโลกได้อย่างยั่งยืน
|
ที่มา ; เว็บ สำนักงานรัฐมนตรี กระทรวงศึกษาธิการ
วันที่ 17 พฤศจิกายน คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงอุตสาหกรรมเสนอ ดังนี้
1.เห็นชอบข้อเสนอ 10 อุตสาหกรรมเป้าหมาย ซึ่งเป็นกลไกขับเคลื่อนเศรษฐกิจเพื่ออนาคต (New Engine of Growth) จำนวน 10 คลัสเตอร์ และมอบหมายให้สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนไปพิจารณาศึกษาวิเคราะห์ในรายละเอียดเพื่อจัดทำนโยบายส่งเสริมการลงทุน ต่อไป
2 เห็นชอบในหลักการมาตรการที่เกี่ยวข้องกับกระทรวงการคลัง ซึ่งเป็นมาตรการทางด้านสิทธิประโยชน์ทางภาษีและการสนับสนุนเงินทุน และมอบหมายให้กระทรวงการคลังไปพิจารณามาตรการสนับสนุนการพัฒนาคลัสเตอร์ต่อไป
3.เห็นชอบในหลักการมาตรการที่เกี่ยวข้องกับหน่วยงานอื่น ๆ ซึ่งเกี่ยวข้องกับการให้สิทธิประโยชน์การพัฒนาบุคลากรและเทคโนโลยี การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน และการแก้ไขกฎระเบียบที่เป็นอุปสรรค และมอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องไปพิจารณามาตรการสนับสนุนการพัฒนาคลัสเตอร์ต่อไป
4.เห็นชอบในหลักการกลไกการผลักดันการลงทุนในอุตสาหกรรมเป้าหมาย และมอบหมายให้กระทรวงอุตสาหกรรมไปพิจารณารายละเอียดของร่างพระราชบัญญัติเขตเศรษฐกิจพิเศษให้มีความสอดคล้องกับอำนาจหน้าที่ของคณะอนุกรรมการฯ ที่จะแต่งตั้งขึ้นภายใต้พระราชบัญญัติเขตเศรษฐกิจพิเศษ ต่อไป
สาระสำคัญของเรื่อง
ประเทศไทยสามารถผลักดันการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ (S-curve) ได้ใน 2 รูปแบบ ได้แก่ รูปแบบที่ 1 คือ First s-curve ซึ่งเป็นการลงทุนในกลุ่มอุตสาหกรรมที่มีอยู่แล้วในประเทศ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการใช้ปัจจัยผลิตโดยการลงทุนชนิดนี้จะส่งผลต่อการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจในระยะสั้นและระยะกลาง แต่อย่างไรก็ตาม กลุ่มอุตสาหกรรมในปัจจุบันนั้นไม่เพียงพอที่จะทำให้เศรษฐกิจของประเทศไทยเติบโตได้อย่างก้าวกระโดด จึงจำเป็นต้องมีการพัฒนา S-curve ในรูปแบบที่ 2 คือ New S-curve ควบคู่ไปด้วย ซึ่งเป็นรูปแบบของการลงทุนในอุตสาหกรรมใหม่ เพื่อเปลี่ยนรูปแบบสินค้าและเทคโนโลยี โดยอุตสาหกรรมใหม่หรืออุตสาหกรรมอนาคตเหล่านี้จะเป็นกลไกที่สำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ (New Growth Engines) ของประเทศ ซึ่งการต่อยอดอุตสาหกรรมเดิมจะสามารถเพิ่มรายได้ของประชากรได้ประมาณ ร้อยละ 70 จากเป้าหมาย ส่วนอีกร้อยละ 30 จะมาจากอุตสาหกรรมใหม่
1. การกำหนดอุตสาหกรรมเป้าหมายของประเทศ
1.1 การต่อยอด 5 อุตสาหกรรมเดิมที่มีศักยภาพ (First S-curve) ประกอบด้วย
1) อุตสาหกรรมยานยนต์สมัยใหม่ (Next – Generation Automotive)
2) อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ (Smart Electronics)
3) อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวกลุ่มรายได้ดีและการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ (Affluent, Medical and Wellness Tourism)
4) การเกษตรและเทคโนโลยีชีวภาพ (Agriculture and Biotechnolgy)
5) อุตสาหกรรมการแปรรูปอาหาร (Food for the Future)
1.2 การเติม 5 อุตสาหกรรมอนาคต (New S-curve) ประกอบด้วย
1) อุตสาหกรรมหุ่นยนต์ (Robotics)
2) อุตสาหกรรมการบินและโลจิสติกส์ (Aviation and Logistics)
3) อุตสาหกรรมเชื้อเพลิงชีวภาพและเคมีชีวภาพ (Biofuels and Biochemicals)
4) อุตสาหกรรมดิจิตอล (Digital)
5) อุตสาหกรรมการแพทย์ครบวงจร (Medical Hub)
ทั้งนี้ 10 อุตสาหกรรมดังกล่าวเป็นอุตสาหกรรมที่มีศักยภาพและเป็นที่สนใจของ นักลงทุนทั่วโลก ซึ่งจะมีบทบาทสำคัญในการผลักดันเศรษฐกิจของไทยในอนาคต โดยขณะนี้สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนอยู่ระหว่างการจัดทำมาตรการส่งเสริมการลงทุนให้สอดคล้องกับ 10 อุตสาหกรรมเป้าหมายดังกล่าวข้างต้น
2. มาตรการที่เกี่ยวข้องกับกระทรวงการคลัง เป็นมาตรการทางด้านสิทธิประโยชน์ทางภาษีและการสนับสนุนเงินทุน ประกอบด้วย 1) มาตรการสนับสนุนในภาพรวม 2) มาตรการสนับสนุนคลัสเตอร์ยานยนต์สมัยใหม่ (Next – Generation Automotive) 3) มาตรการสนับสนุนคลัสเตอร์การเกษตรและเทคโนโลยีชีวภาพ (Agriculture and Biotechnolgy) 4) มาตรการสนับสนุนคลัสเตอร์หุ่นยนต์ (Robotics) และ 5) มาตรการสนับสนุนคลัสเตอร์การบินและโลจิสติกส์ (Aviation and Logistics)
ที่มา ; isranews.org
วันที่ 17 พฤศจิกายน คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงอุตสาหกรรมเสนอ ดังนี้
1.เห็นชอบข้อเสนอ 10 อุตสาหกรรมเป้าหมาย ซึ่งเป็นกลไกขับเคลื่อนเศรษฐกิจเพื่ออนาคต (New Engine of Growth) จำนวน 10 คลัสเตอร์ และมอบหมายให้สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนไปพิจารณาศึกษาวิเคราะห์ในรายละเอียดเพื่อจัดทำนโยบายส่งเสริมการลงทุน ต่อไป
2 เห็นชอบในหลักการมาตรการที่เกี่ยวข้องกับกระทรวงการคลัง ซึ่งเป็นมาตรการทางด้านสิทธิประโยชน์ทางภาษีและการสนับสนุนเงินทุน และมอบหมายให้กระทรวงการคลังไปพิจารณามาตรการสนับสนุนการพัฒนาคลัสเตอร์ต่อไป
3.เห็นชอบในหลักการมาตรการที่เกี่ยวข้องกับหน่วยงานอื่น ๆ ซึ่งเกี่ยวข้องกับการให้สิทธิประโยชน์การพัฒนาบุคลากรและเทคโนโลยี การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน และการแก้ไขกฎระเบียบที่เป็นอุปสรรค และมอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องไปพิจารณามาตรการสนับสนุนการพัฒนาคลัสเตอร์ต่อไป
4.เห็นชอบในหลักการกลไกการผลักดันการลงทุนในอุตสาหกรรมเป้าหมาย และมอบหมายให้กระทรวงอุตสาหกรรมไปพิจารณารายละเอียดของร่างพระราชบัญญัติเขตเศรษฐกิจพิเศษให้มีความสอดคล้องกับอำนาจหน้าที่ของคณะอนุกรรมการฯ ที่จะแต่งตั้งขึ้นภายใต้พระราชบัญญัติเขตเศรษฐกิจพิเศษ ต่อไป
สาระสำคัญของเรื่อง
ประเทศไทยสามารถผลักดันการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ (S-curve) ได้ใน 2 รูปแบบ ได้แก่ รูปแบบที่ 1 คือ First s-curve ซึ่งเป็นการลงทุนในกลุ่มอุตสาหกรรมที่มีอยู่แล้วในประเทศ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการใช้ปัจจัยผลิตโดยการลงทุนชนิดนี้จะส่งผลต่อการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจในระยะสั้นและระยะกลาง แต่อย่างไรก็ตาม กลุ่มอุตสาหกรรมในปัจจุบันนั้นไม่เพียงพอที่จะทำให้เศรษฐกิจของประเทศไทยเติบโตได้อย่างก้าวกระโดด จึงจำเป็นต้องมีการพัฒนา S-curve ในรูปแบบที่ 2 คือ New S-curve ควบคู่ไปด้วย ซึ่งเป็นรูปแบบของการลงทุนในอุตสาหกรรมใหม่ เพื่อเปลี่ยนรูปแบบสินค้าและเทคโนโลยี โดยอุตสาหกรรมใหม่หรืออุตสาหกรรมอนาคตเหล่านี้จะเป็นกลไกที่สำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ (New Growth Engines) ของประเทศ ซึ่งการต่อยอดอุตสาหกรรมเดิมจะสามารถเพิ่มรายได้ของประชากรได้ประมาณ ร้อยละ 70 จากเป้าหมาย ส่วนอีกร้อยละ 30 จะมาจากอุตสาหกรรมใหม่
1. การกำหนดอุตสาหกรรมเป้าหมายของประเทศ
1.1 การต่อยอด 5 อุตสาหกรรมเดิมที่มีศักยภาพ (First S-curve) ประกอบด้วย
1) อุตสาหกรรมยานยนต์สมัยใหม่ (Next – Generation Automotive)
2) อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ (Smart Electronics)
3) อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวกลุ่มรายได้ดีและการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ (Affluent, Medical and Wellness Tourism)
4) การเกษตรและเทคโนโลยีชีวภาพ (Agriculture and Biotechnolgy)
5) อุตสาหกรรมการแปรรูปอาหาร (Food for the Future)
1.2 การเติม 5 อุตสาหกรรมอนาคต (New S-curve) ประกอบด้วย
1) อุตสาหกรรมหุ่นยนต์ (Robotics)
2) อุตสาหกรรมการบินและโลจิสติกส์ (Aviation and Logistics)
3) อุตสาหกรรมเชื้อเพลิงชีวภาพและเคมีชีวภาพ (Biofuels and Biochemicals)
4) อุตสาหกรรมดิจิตอล (Digital)
5) อุตสาหกรรมการแพทย์ครบวงจร (Medical Hub)
ทั้งนี้ 10 อุตสาหกรรมดังกล่าวเป็นอุตสาหกรรมที่มีศักยภาพและเป็นที่สนใจของ นักลงทุนทั่วโลก ซึ่งจะมีบทบาทสำคัญในการผลักดันเศรษฐกิจของไทยในอนาคต โดยขณะนี้สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนอยู่ระหว่างการจัดทำมาตรการส่งเสริมการลงทุนให้สอดคล้องกับ 10 อุตสาหกรรมเป้าหมายดังกล่าวข้างต้น
2. มาตรการที่เกี่ยวข้องกับกระทรวงการคลัง เป็นมาตรการทางด้านสิทธิประโยชน์ทางภาษีและการสนับสนุนเงินทุน ประกอบด้วย 1) มาตรการสนับสนุนในภาพรวม 2) มาตรการสนับสนุนคลัสเตอร์ยานยนต์สมัยใหม่ (Next – Generation Automotive) 3) มาตรการสนับสนุนคลัสเตอร์การเกษตรและเทคโนโลยีชีวภาพ (Agriculture and Biotechnolgy) 4) มาตรการสนับสนุนคลัสเตอร์หุ่นยนต์ (Robotics) และ 5) มาตรการสนับสนุนคลัสเตอร์การบินและโลจิสติกส์ (Aviation and Logistics)
ที่มา ; isranews.org
( คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้
( คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้
เตรียมสอบผู้บริหารสถาน+การศึกษา
เตรียมสอบครูผู้ช่วย
เตรียมสอบผู้บริหารสถาน+การศึกษา
เตรียมสอบครูผู้ช่วย
ฟรี... ห้องเตรียม-ครูผู้ช่วย
-ผู้บริหาร-บุคลากรการศึกษา ที่
ฟรี... ห้องเตรียม-ครูผู้ช่วย
-ผู้บริหาร-บุคลากรการศึกษา ที่
" ติวสอบดอทคอม " โดย อ.นิกร
" ติวสอบดอทคอม " โดย อ.นิกร
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น