เรื่องใหม่น่าสนใจ (ทั้งหมด ที่ )
(เนื้อหา-ข้อสอบ 1,000 ชุุด หมื่นข้อ ภาค กข
+ 40 วิชาเอก) ที่ ห้องสอบด้านขวา หรือ
ติวสอบดอทคอม คลิ๊ก www.tuewsob.com
-คู่มือ 4 ชุด นโยบาย บริบริหาร ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้
-เกณฑ์ประเมินคุณภาพภายนอกรอบสี่ โดย สมศ.
- พรบ.เงินเดือนใหม่ข้าราชการครูฯ พ.ศ.2558
ข้อสอบออนไลน์ ( พัฒนาความรู้ครู - ผู้บริหาร - บุคลากรการศึกษา) ชุดใหม่
ข้อสอบออนไลน์ ( พัฒนาความรู้ครู - ผู้บริหาร - บุคลากรการศึกษา) ชุดใหม่
เตรียมสอบ บน ยูทูป ทั้งหมด ได้ที่
ข่าวสำนักงานรัฐมนตรี 45/25592016 UN International Holocaust Memorial Day
องค์การสหประชาชาติ ประจำประเทศไทย (United Nations Thailand) – นพ.ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ร่วมงานวันรำลึกถึงเหตุการณ์การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์สากลขององค์การสหประชาชาติ ประจำปี 2559 เมื่อวันพุธที่ 27 มกราคม 2559 ณ ศูนย์การประชุมองค์การสหประชาชาติ ถนนราชดำเนินนอก โดยมีนายชีมอน โรเด็ด เอกอัครราชทูตรัฐอิสราเอลประจำประเทศไทย, นายเพเทอร์ พรือเกล เอกอัครราชทูตสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนีประจำประเทศไทย, คุณลอรา โลเปซ รักษาการเลขาธิการบริหารคณะกรรมาธิการเศรษฐกิจและสังคมแห่งสหประชาชาติสำหรับเอเชียและแปซิฟิก (UNESCAP), นายโซเจี๊ยต เนียน ผู้อำนวยการศูนย์สื่อสารมวลชน ณ สถาบันสลัก เริต ราชอาณาจักรกัมพูชา, นายชิฮิโร ซูกิฮารา ทายาทของนายชิอูเนะ ซูกิฮารา นักการทูตชาวญี่ปุ่นที่ช่วยเหลือชาวยิวกว่า 6,000 คน ตลอดจนแขกผู้เกียรติจากหน่วยงานและองค์กรต่างๆ จำนวนมาก เข้าร่วมงาน
นพ.ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์ รมช.ศึกษาธิการ กล่าวสุนทรพจน์ตอนหนึ่งว่า เรายืนหยัดและรวมกันเป็นหนึ่งเดียว เราเป็นหนึ่งเดียวด้วยประวัติศาสตร์ ด้วยมวลมนุษยชาติ และด้วยความหวังที่ว่า ความโหดร้ายจะไม่มีทางเกิดขึ้นอีกครั้ง "ไม่มีทางเกิดขึ้นอีกครั้ง หมายถึง ไม่มีทางที่เหตุการณ์โหดร้ายจะเกิดขึ้นอีกครั้ง" เพราะไม่มีมนุษย์คนใดและไม่มีประเทศใด ที่มีสิทธิ์ทำให้ผู้อื่นเป็นเหยื่อหรือสังเวยชีวิต และไม่มีมนุษย์คนใดหรือประเทศใดมีสิทธิ์เปลี่ยนแปลงพื้นฐานความคิดของเยาวชนได้
ในนามของรัฐบาลไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในนามของกระทรวงศึกษาธิการ ขอรับรองว่าเยาวชนของเราได้เรียนรู้บทเรียนครั้งนี้อย่างแท้จริง ดังนั้นพวกเขาจะไม่มีวันย้อนรอยเหตุการณ์ที่พวกเรากำลังรำลึกถึงในวันนี้ และไม่มีทางกระทำเหตุการณ์เช่นนั้นกับชนรุ่นหลังของพวกเขาเอง เพราะพวกเขาได้เรียนรู้แล้วว่ามีสิ่งเดียวที่เป็นคุณค่าสากลของโลกใบนี้ นั่นคือคุณค่าแห่งความรัก มีเพียงหนึ่งภาษาเท่านั้น นั่นคือภาษาของจิตใจ และมีเพียงหนึ่งชนชั้นเท่านั้น นั่นคือชนชั้นของมนุษยชาติ
We stand with you as one united by history, united by humanity,
united by hope that this atrocity will never happen again.
Never again means never again!
No man, no nation has the right to victimise another.
No man, no nation has the right to radicalise our children.
On behalf of the Thai government, particularly the Ministry of Education,
we will ensure that our children truly learn this lesson so that they will not have to repeat
what we are saying and commemorating today to their own children
because they will have learnt that :
There is only one universal value, the value of love.
There is only one language, the language of the heart.
There is only one caste, the caste of humanity.
วันที่ 27 มกราคม ของทุกปี เป็นวันที่องค์การสหประชาชาติและประเทศสมาชิกร่วมรำลึกถึงเหตุการณ์การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาวยิวกว่า 6 ล้านคน และผู้บริสุทธิ์อีกกว่า 5 ล้านคน ซึ่งเป็นเหตุการณ์อันทารุณและโหดร้ายในประวัติศาสตร์ของมวลมนุษยชาติ ที่มนุษย์ตกเป็นเหยื่อของการสังหารอย่างเป็นระบบ แม้ว่าเหตุการณ์นี้จะผ่านมากว่า 70 ปีแล้ว แต่ในปัจจุบันยังมีความเกลียดชัง การทารุณ และเหตุการณ์อันน่าสะพรึงกลัว เกิดขึ้นทั่วโลกในรูปแบบต่างๆ ดังนั้น เหตุการณ์การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ในอดีตเป็นเครื่องเตือนสติให้ทุกคนมีส่วนร่วมในการป้องกันเหตุการณ์โหดร้ายไม่ให้เกิดขึ้นซ้ำ
ทั้งนี้ กิจกรรมภายในงานประกอบด้วยการกล่าวสุนทรพจน์, การสงบนิ่งเพื่อไว้อาลัยและการจุดเทียน เพื่อเป็นการรำลึกถึงผู้จากไปในเหตุการณ์ฆ่าล้างเผ่าพันธุ์, การร้องเพลง “Avinu Malkenu” ซึ่งเป็นบทสวดมนต์ของชาวยิว และเพลง Eli Eli, การบรรเลงเพลง “Sonata for Unaccompanied Violin” ซึ่งเป็นบทเพลงสุดท้ายของ แซนเดอร์ กูติ ที่ประพันธ์ขึ้นในค่ายกักกันก่อนเสียชีวิต, การบรรยายพิเศษเกี่ยวกับนายชิอูเนะ ซูกิฮารา นักการทูตชาวญี่ปุ่น ผู้ซึ่งออกวีซาและประทับตราหนังสือเดินทางให้กับชาวยิวที่ต้องการอพยพออกนอกประเทศลิทัวเนีย โดยสามารถช่วยชีวิตชาวยิวได้มากกว่า 6,000 คน จนกระทั่งในปัจจุบันมีทายาทของผู้รอดชีวิตจากการช่วยเหลือของนายชิอูเนะ ซูกิฮารา ทั้งหมดกว่า 80,000 คน
รวมทั้งการฉายภาพยนตร์สารคดีเกี่ยวกับ แอนน์ แฟรงค์ เด็กหญิงชาวยิว ที่มีชื่อเสียงโด่งดังในฐานะผู้เขียนบันทึกประจำวันระหว่างที่หลบซ่อนตัวและถูกจับเข้าค่ายกักกันของนาซีจนกระทั่งเสียชีวิตในเวลาต่อมา โดยบันทึกประจำวันของ แอนน์ แฟรงค์ ได้รับการตีพิมพ์เป็นหนังสือหลายภาษา ซึ่งเป็นการพรรณนาถึงเหยื่อของการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ที่โด่งดังที่สุด อีกทั้งเธอยังได้รับเลือกจากนิตยสารไทม์ให้เป็น 1 ใน 100 บุคคลสำคัญแห่งศตวรรษที่ 20 และกลายเป็นสัญลักษณ์แห่งการต่อสู้เพื่อเกียรติภูมิของมนุษย์
ที่มา ; เว็บ สำนักงานรัฐมนตรี กระทรวงศึกษาธิการ
ข่าวสำนักงานรัฐมนตรี 45/25592016 UN International Holocaust Memorial Dayองค์การสหประชาชาติ ประจำประเทศไทย (United Nations Thailand) – นพ.ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ร่วมงานวันรำลึกถึงเหตุการณ์การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์สากลขององค์การสหประชาชาติ ประจำปี 2559 เมื่อวันพุธที่ 27 มกราคม 2559 ณ ศูนย์การประชุมองค์การสหประชาชาติถนนราชดำเนินนอก โดยมีนายชีมอน โรเด็ด เอกอัครราชทูตรัฐอิสราเอลประจำประเทศไทย, นายเพเทอร์ พรือเกล เอกอัครราชทูตสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนีประจำประเทศไทย, คุณลอรา โลเปซ รักษาการเลขาธิการบริหารคณะกรรมาธิการเศรษฐกิจและสังคมแห่งสหประชาชาติสำหรับเอเชียและแปซิฟิก (UNESCAP), นายโซเจี๊ยต เนียน ผู้อำนวยการศูนย์สื่อสารมวลชน ณ สถาบันสลัก เริต ราชอาณาจักรกัมพูชา, นายชิฮิโร ซูกิฮารา ทายาทของนายชิอูเนะ ซูกิฮารา นักการทูตชาวญี่ปุ่นที่ช่วยเหลือชาวยิวกว่า 6,000 คน ตลอดจนแขกผู้เกียรติจากหน่วยงานและองค์กรต่างๆ จำนวนมาก เข้าร่วมงาน
นพ.ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์รมช.ศึกษาธิการ กล่าวสุนทรพจน์ตอนหนึ่งว่า เรายืนหยัดและรวมกันเป็นหนึ่งเดียว เราเป็นหนึ่งเดียวด้วยประวัติศาสตร์ ด้วยมวลมนุษยชาติ และด้วยความหวังที่ว่า ความโหดร้ายจะไม่มีทางเกิดขึ้นอีกครั้ง "ไม่มีทางเกิดขึ้นอีกครั้ง หมายถึง ไม่มีทางที่เหตุการณ์โหดร้ายจะเกิดขึ้นอีกครั้ง" เพราะไม่มีมนุษย์คนใดและไม่มีประเทศใด ที่มีสิทธิ์ทำให้ผู้อื่นเป็นเหยื่อหรือสังเวยชีวิต และไม่มีมนุษย์คนใดหรือประเทศใดมีสิทธิ์เปลี่ยนแปลงพื้นฐานความคิดของเยาวชนได้ ในนามของรัฐบาลไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในนามของกระทรวงศึกษาธิการ ขอรับรองว่าเยาวชนของเราได้เรียนรู้บทเรียนครั้งนี้อย่างแท้จริง ดังนั้นพวกเขาจะไม่มีวันย้อนรอยเหตุการณ์ที่พวกเรากำลังรำลึกถึงในวันนี้ และไม่มีทางกระทำเหตุการณ์เช่นนั้นกับชนรุ่นหลังของพวกเขาเอง เพราะพวกเขาได้เรียนรู้แล้วว่ามีสิ่งเดียวที่เป็นคุณค่าสากลของโลกใบนี้ นั่นคือคุณค่าแห่งความรัก มีเพียงหนึ่งภาษาเท่านั้น นั่นคือภาษาของจิตใจ และมีเพียงหนึ่งชนชั้นเท่านั้น นั่นคือชนชั้นของมนุษยชาติ
united by hope that this atrocity will never happen again. Never again means never again! No man, no nation has the right to victimise another. No man, no nation has the right to radicalise our children. On behalf of the Thai government, particularly the Ministry of Education, we will ensure that our children truly learn this lesson so that they will not have to repeat what we are saying and commemorating today to their own children because they will have learnt that : There is only one universal value, the value of love. There is only one language, the language of the heart. There is only one caste, the caste of humanity. |
วันที่ 27 มกราคม ของทุกปี เป็นวันที่องค์การสหประชาชาติและประเทศสมาชิกร่วมรำลึกถึงเหตุการณ์การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาวยิวกว่า 6 ล้านคน และผู้บริสุทธิ์อีกกว่า 5 ล้านคน ซึ่งเป็นเหตุการณ์อันทารุณและโหดร้ายในประวัติศาสตร์ของมวลมนุษยชาติ ที่มนุษย์ตกเป็นเหยื่อของการสังหารอย่างเป็นระบบ แม้ว่าเหตุการณ์นี้จะผ่านมากว่า 70 ปีแล้ว แต่ในปัจจุบันยังมีความเกลียดชัง การทารุณ และเหตุการณ์อันน่าสะพรึงกลัว เกิดขึ้นทั่วโลกในรูปแบบต่างๆ ดังนั้น เหตุการณ์การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ในอดีตเป็นเครื่องเตือนสติให้ทุกคนมีส่วนร่วมในการป้องกันเหตุการณ์โหดร้ายไม่ให้เกิดขึ้นซ้ำทั้งนี้ กิจกรรมภายในงานประกอบด้วยการกล่าวสุนทรพจน์, การสงบนิ่งเพื่อไว้อาลัยและการจุดเทียน เพื่อเป็นการรำลึกถึงผู้จากไปในเหตุการณ์ฆ่าล้างเผ่าพันธุ์, การร้องเพลง “Avinu Malkenu” ซึ่งเป็นบทสวดมนต์ของชาวยิว และเพลง Eli Eli, การบรรเลงเพลง “Sonata for Unaccompanied Violin” ซึ่งเป็นบทเพลงสุดท้ายของ แซนเดอร์ กูติ ที่ประพันธ์ขึ้นในค่ายกักกันก่อนเสียชีวิต, การบรรยายพิเศษเกี่ยวกับนายชิอูเนะ ซูกิฮารา นักการทูตชาวญี่ปุ่น ผู้ซึ่งออกวีซาและประทับตราหนังสือเดินทางให้กับชาวยิวที่ต้องการอพยพออกนอกประเทศลิทัวเนีย โดยสามารถช่วยชีวิตชาวยิวได้มากกว่า 6,000 คน จนกระทั่งในปัจจุบันมีทายาทของผู้รอดชีวิตจากการช่วยเหลือของนายชิอูเนะ ซูกิฮารา ทั้งหมดกว่า 80,000 คน รวมทั้งการฉายภาพยนตร์สารคดีเกี่ยวกับ แอนน์ แฟรงค์ เด็กหญิงชาวยิว ที่มีชื่อเสียงโด่งดังในฐานะผู้เขียนบันทึกประจำวันระหว่างที่หลบซ่อนตัวและถูกจับเข้าค่ายกักกันของนาซีจนกระทั่งเสียชีวิตในเวลาต่อมา โดยบันทึกประจำวันของ แอนน์ แฟรงค์ ได้รับการตีพิมพ์เป็นหนังสือหลายภาษา ซึ่งเป็นการพรรณนาถึงเหยื่อของการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ที่โด่งดังที่สุด อีกทั้งเธอยังได้รับเลือกจากนิตยสารไทม์ให้เป็น 1 ใน 100 บุคคลสำคัญแห่งศตวรรษที่ 20 และกลายเป็นสัญลักษณ์แห่งการต่อสู้เพื่อเกียรติภูมิของมนุษย์
( คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้
( คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้
เตรียมสอบผู้บริหารสถาน+การศึกษา
เตรียมสอบครูผู้ช่วย
เตรียมสอบผู้บริหารสถาน+การศึกษา
เตรียมสอบครูผู้ช่วย
ฟรี... ห้องเตรียม-ครูผู้ช่วย
-ผู้บริหาร-บุคลากรการศึกษา ที่
ฟรี... ห้องเตรียม-ครูผู้ช่วย
-ผู้บริหาร-บุคลากรการศึกษา ที่
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น