เรื่องใหม่น่าสนใจ (ทั้งหมด ที่ )
(เนื้อหา-ข้อสอบ 1,000 ชุุด หมื่นข้อ ภาค กข
+ 40 วิชาเอก) ที่ ห้องสอบด้านขวา หรือ
ติวสอบดอทคอม คลิ๊ก www.tuewsob.com
-คู่มือ 4 ชุด นโยบาย บริบริหาร ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้
-เกณฑ์ประเมินคุณภาพภายนอกรอบสี่ โดย สมศ.
- พรบ.เงินเดือนใหม่ข้าราชการครูฯ พ.ศ.2558
ข้อสอบออนไลน์ ( พัฒนาความรู้ครู - ผู้บริหาร - บุคลากรการศึกษา) ชุดใหม่
ข้อสอบออนไลน์ ( พัฒนาความรู้ครู - ผู้บริหาร - บุคลากรการศึกษา) ชุดใหม่
เตรียมสอบ บน ยูทูป ทั้งหมด ได้ที่
รธน.ฉบับใหม่ กำหนดทิศทางอย่างไร ถึงได้ ส.ส. 500 คน
ทิศทางในร่าง รธน.ฉบับใหม่ กรณีการได้มาซึ่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฏร (ส.ส.) แบบแบ่งเขต-แบบบัญชีรายชื่อ หรือที่เรียกรวมว่า ระบบเลือกตั้งแบบ"จัดสรรปันส่วนผสม”(ฉบับสมบูรณ์)
การเข้าสู่อำนาจทางการเมืองของ ส.ส.ทั้งแบบเขต หรือ แบบบัญชีรายชื่อ นับเป็นกลไกที่สำคัญมากที่สุดกลไกหนึ่งของระบอบประชาธิปไตยของประเทศ เพราะถือเป็นด่านแรกในการคัดสรรและสรรหาบุคคลที่จะมาทำหน้าที่สำคัญในการบริหารราชการแผ่นดิน หากระบบดังกล่าวมีจุดบอด หรือไม่สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพแล้ว
แน่นอนก็คงยากยิ่งหนักที่ขั้นตอนอื่นต่อจากนั้นจะเดินไปในทิศทางที่ดีได้ เปรียบเสมือนคำโบราณที่ว่า "ติดกระดุมเม็ดแรกผิดก็จะติดผิดไปทั้งหมด" ฉะนั้นจึงมีความพยายามในการกำหนดกติกาใน รธน.ที่ กรธ.กำลังร่างใหม่ ให้สามารถแก้จุดอ่อน เดินหน้าปฏิรูป การเข้าสู่อำนาจรัฐของ ส.ส.ใหม่หมด ทีมข่าวไทยรัฐออนไลน์ ได้รวบรวมข้อมูล เพื่อนำเสนอให้เห็นถึงข้อกำหนด ข้อดี ข้อเสียของร่าง รธน.ใหม่ที่กำลังจะปรากฏออกมาให้ประชาชนได้เห็น
1. สภาผู้แทนราษฎร มีสมาชิกจำนวน 500 คน ประกอบด้วย สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่มาจากการเลือกตั้งแบบแบ่งเขต 350 คน และสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ 150 คน
โดยสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตเลือกตั้ง 350 คน เป็นจำนวนที่ให้ความสำคัญกับสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่ต้องเป็นผู้แทนในเขตพื้นที่ของประชาชน ขณะเดียวกัน เพื่อให้คะแนนของประชาชนมีความหมายด้วยการใช้ระบบการเลือกตั้งแบบ "จัดสรรปันส่วนผสม" จึงกำหนดให้มีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อจำนวน 150 คน ซึ่งมีที่มาจากการจัดสรรคะแนนที่ประชาชนเลือกพรรคต่างๆ
ทั้งประเทศ มีวาระการดำรงตำแหน่ง 4 ปี
ระบบการเลือกตั้งที่มุ่งเน้นการพยายามทำให้ “ทุกคะแนนที่ประชาชนลงเลือกตั้งจะไม่ถูกทิ้ง”
หลักคิดระบบการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่เหมาะสมกับประเทศไทย
เนื่องจากในอดีต คะแนนของประชาชนที่เลือก ส.ส.แบบแบ่งเขตเลือกตั้งใดๆ ซึ่งไม่ได้คะแนนเป็นลำดับที่ 1 ของเขตเลือกตั้งนั้นๆ (ไม่ชนะการเลือกตั้ง) คะแนนดังกล่าวแทบจะถูกทิ้งสูญเปล่า
ดังนั้นจึงกำหนดแนวคิดวิธีค่าเฉลี่ยคะแนนของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ที่พรรคควรจะได้ต่อ 1 คน คือ นำคะแนนของทุกพรรคที่ได้รับเลือกตั้งทั้งประเทศ หาร ด้วยจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั้งหมด (500 คน) จากนั้น
ให้นำค่าเฉลี่ยที่ได้ไปหารจำนวนคะแนนที่แต่ละพรรคได้ เพื่อให้ได้มาซึ่งจำนวนที่แต่ละพรรคจะพึงมี ส.ส.ได้
ทั้งนี้ ต้องให้เอกสิทธิ์แก่ผู้ได้รับเลือกตั้งเป็น ส.ส.แบบแบ่งเขตทุกคน โดยหากพรรคใดได้จำนวน ส.ส.แบบแบ่งเขต
เป็นจำนวนเท่าใด ให้นำจำนวนดังกล่าว มาเปรียบเทียบกับจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่พรรคจะพึงมี
หากได้จำนวน ส.ส.ไม่ครบตามจำนวน ส.ส.ที่พรรคจะพึงมีเท่าใด
ให้จัดสรรเพิ่มจำนวน ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อให้เท่ากับจำนวน ส.ส.ที่พรรคจะพึงมี และหากเกิดกรณีที่ ส.ส.แบบแบ่งเขต มีจำนวนเกินจำนวนทั้งหมด
ที่แต่ละพรรคพึงจะมีได้ ให้พรรคนั้นได้ส.ส.เท่ากับจำนวนที่ได้จริง ซึ่งรวมถึงจำนวน
ที่เกินมาของ ส.ส.ที่แต่ละพรรคจะพึงมีด้วย (ปรากฏตามแผนภาพ 2 และ 3) ซึ่งจะมีความเป็นธรรมแก่ทุกพรรค ที่จะได้จำนวนสมาชิก ส.ส.ตามสัดส่วนของคะแนนที่ประชาชน
ผู้มีสิทธิเลือกตั้งลงให้ จึงมีผู้เรียกระบบการเลือกตั้งนี้ว่า “แบบจัดสรรปันส่วนผสม”
ระบบการเลือกตั้งใช้บัตรเลือกตั้งใบเดียวนี้ เชื่อว่าจะทำให้ประชาชนเกิดความสนใจ จะมาใช้สิทธิเลือกตั้งมากขึ้น เนื่องจากประชาชนสามารถใช้สิทธิได้ง่าย ไม่มีความซับซ้อน และจะรู้สึกว่า คะแนน
ทุกคะแนนมีความหมาย (คะแนนของตนจะไม่เสียเปล่า) โดยผลการเลือกตั้งจะเป็นการเลือก ส.ส. แบบแบ่งเขต และจะมีผลต่อจำนวน ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อด้วย
นอกจากนี้ หากมีการประกาศผลการเลือกตั้งแล้ว พบว่า มีการทุจริตการเลือกตั้ง
จึงต้องมีการเลือกตั้งใหม่ การเลือกตั้งใหม่จะมีผลกระทบต่อจำนวน ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อด้วย ระบบนี้จึงเป็นการทำให้พรรคการเมืองตระหนัก ให้ความสำคัญและระมัดระวังในการส่งผู้สมัคร
รับเลือกตั้งแบบแบ่งเขตให้ได้บุคคลที่ดีที่สุด และจะต้องไม่ทุจริตการเลือกตั้ง ทั้งนี้ การบริหารจัดการในการใช้
บัตรเลือกตั้ง 1 ใบ จะมีความสะดวกและมีประสิทธิภาพมากขึ้นจากการใช้บัตรเลือกตั้ง 2 ใบ เช่นในอดีต และทำให้บัตรเสียน้อยลง ตลอดจนประหยัดงบประมาณในการเลือกตั้ง
ผู้ที่ได้รับเลือกตั้งจะต้องได้คะแนนเสียงมากกว่าคะแนนเสียงของประชาชนที่ไม่ประสงค์เลือก (โนโหวต) ผู้ใดเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และในกรณีที่ผู้สมัครรับเลือกตั้งผู้ที่ได้รับคะแนนเสียงเลือกตั้ง
ไม่มากกว่าคะแนนเสียงที่ไม่ประสงค์เลือกผู้ใดเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จะสมัครรับเลือกตั้งในการเลือกตั้ง
ครั้งใหม่อีกมิได้ เพื่อเป็นการเปิดโอกาสให้ประชาชนสามารถแสดงความไม่เห็นด้วยกับการเลือกตั้งที่คูหาเลือกตั้งได้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย ซึ่งหลักการดังกล่าวเป็นกลไกในการควบคุมพรรคการเมืองให้มี
ความรับผิดชอบในการพิจารณาส่งผู้สมัครรับเลือกตั้งที่มีคุณสมบัติครบถ้วนทั้งในเรื่องคุณธรรมและจริยธรรม
โดยกำหนดให้ประชาชนเป็นตัวชี้วัด
2.3 ผู้สมัครรับเลือกตั้ง ส.ส.แบบแบ่งเขตเลือกตั้ง ต้องเป็นผู้ที่
พรรคการเมืองส่งสมัครรับเลือกตั้ง และจะสมัครรับเลือกตั้งเกินหนึ่งเขตมิได้ และเมื่อมีการสมัครรับเลือกตั้งแล้ว ผู้สมัครรับเลือกตั้งหรือพรรคการเมืองจะถอนการสมัครรับเลือกตั้งหรือเปลี่ยนแปลงผู้สมัครรับเลือกตั้งได้
เฉพาะกรณีผู้สมัครตาย หรือ ขาดคุณสมบัติ หรือ มีลักษณะต้องห้าม และเป็นกรณีที่เปลี่ยนแปลงก่อนวันปิด
การรับสมัครรับเลือกตั้ง
ทั้งนี้ พรรคการเมืองใดส่งผู้สมัครรับเลือกตั้งแบบแบ่งเขตเลือกตั้งแล้ว ให้มีสิทธิ
ส่งผู้สมัครรับเลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่อ และผู้สมัครรับเลือกตั้งต้องสมัครรับเลือกตั้งเป็น ส.ส.แบบแบ่งเขตเลือกตั้งหรือ ส.ส.แบบบัญชีรายชื่ออย่างใดอย่างหนึ่งเท่านั้น
2.4 การจัดบัญชีรายชื่อผู้สมัครรับเลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่อ กำหนดให้เป็นบัญชีรายชื่อบัญชีเดียวทั้งประเทศ เนื่องจากในระบบการเลือกตั้งแบบ"จัดสรรปันส่วนผสม"เป็นระบบที่ต้องใช้การคำนวณคะแนนทั้งประเทศ และจะต้องทำให้สัดส่วนของผู้สมัครรับเลือกตั้งในบัญชีรายชื่อไม่กระจุกตัวเฉพาะภายในกรุงเทพมหานครหรือจังหวัดใหญ่เท่านั้น โดยต้องมีการกำหนดเงื่อนไขให้แต่ละบัญชีรายชื่อมีการจัดสรร
ให้บุคคลในรายชื่อของบัญชีนั้นมาจากทุกภูมิภาคในสัดส่วนที่เหมาะสม เพื่อให้ผู้สมัครรับเลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่อได้มีการกระจายตัวผู้แทนไปยังภูมิภาคต่างๆ
3. ลักษณะต้องห้ามของ ส.ส.ตามที่กำหนด
ไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 ได้มีการแก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติ
บุคคลใดมีลักษณะต้องห้ามตามที่บัญญัติไว้ จะถือว่า
ถูกตัดสิทธิสมัครรับเลือกตั้งโดยไม่สามารถกลับเข้ามาสู่ระบบการเมืองได้
- บุคคลที่ถูกเพิกถอนสิทธิสมัครรับเลือกตั้งตามคำพิพากษา หรือตามคำวินิจฉัยของ
ศาลรัฐธรรมนูญ
- บุคคลผู้เคยได้รับโทษจำคุกโดยได้พ้นโทษมายังไม่ถึงสิบปีนับถึงวันเลือกตั้ง เว้นแต่
ในความผิดอันได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ
- บุคคลที่เคยถูกสั่งให้พ้นจากราชการ หน่วยงานของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจเพราะทุจริตต่อหน้าที่ หรือถือว่ากระทำการทุจริตหรือประพฤติมิชอบในวงราชการ หรือบุคคลที่เคยต้องคำพิพากษาอันถึงที่สุดว่า กระทำความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ หรือต่อตำแหน่งหน้าที่ในการยุติธรรม หรือกระทำความผิด
ตามกฎหมายว่าด้วยความผิดของพนักงานในองค์การหรือหน่วยงานของรัฐ หรือกระทำความผิดฐานทุจริตหรือประพฤติมิชอบ เพื่อไม่ให้สามารถกลับเข้ามาสู่ระบบการเมืองได้อีก
- บุคคลที่เคยต้องคำพิพากษาอันถึงที่สุดว่ากระทำการอันเป็นการทุจริตในการเลือกตั้ง
4. เหตุที่ความเป็นสมาชิกภาพของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรต้องสิ้นสุดลง
โดยสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรบุคคลใดที่เข้าเงื่อนไขดังต่อไปนี้ ความเป็นสมาชิกภาพจะสิ้นสุดลง
- การขาดจากการเป็นสมาชิกของพรรคการเมือง ที่นอกจากในกรณีที่ขาดจากการเป็นสมาชิกของพรรคการเมือง เพราะมีคำสั่งยุบพรรคการเมืองที่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรผู้นั้น เป็นสมาชิกที่เคยบัญญัติ
ไว้จากเดิม ซึ่งการขาดจากการเป็นสมาชิกของพรรคการเมืองดังกล่าว อาจเป็นเหตุมาจากการไม่กระทำการตามที่กำหนดไว้ในข้อบังคับของพรรคการเมือง จึงต้องพ้นจากการเป็นสมาชิกของพรรคการเมือง
- การเสนอการแปรญัตติหรือการกระทำด้วยประการใดๆ ของสภาผู้แทนราษฎรที่มีผลให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร มีส่วนไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อมในการใช้งบประมาณรายจ่าย จะกระทำมิได้
ซึ่งหากมีการกระทำที่ฝ่าฝืนบทบัญญัติดังกล่าวศาลรัฐธรรมนูญจะเป็นผู้วินิจฉัยและหากวินิจฉัยว่า มีการกระทำ
ที่ฝ่าฝืนบทบัญญัตินี้ ให้ผู้กระทำการนั้นพ้นจากสมาชิกภาพนับแต่วันที่ศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัย และให้
ตัดสิทธิสมัครรับเลือกตั้งของผู้นั้น
- มีพฤติการณ์ร่ำรวยผิดปกติ ทุจริตต่อหน้าที่ หรือจงใจใช้หน้าที่และอำนาจขัดต่อบทบัญญัติ
แห่งรัฐธรรมนูญหรือกฎหมาย หรือฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานทางจริยธรรมอย่างร้ายแรง
ซึ่งศาลรัฐธรรมนูญหรือศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง มีคำวินิจฉัยหรือคำพิพากษาว่า ผู้นั้นมีพฤติการณ์หรือกระทำความผิด หรือร่ำรวยผิดปกติตามที่ถูกกล่าวหา แล้วแต่กรณี (ผู้กระทำความผิด
ในกรณีนี้จะต้องถูกเพิกถอนสิทธิสมัครรับเลือกตั้ง โดยจะไม่มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา สมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่นตลอดไป และจะเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง
มีกำหนดเวลาไม่เกินสิบปีด้วยหรือไม่ก็ได้ ทั้งนี้ ในกรณีมีความผิดฐานร่ำรวยผิดปกติหรือทุจริตต่อหน้าที่
ให้ริบทรัพย์สินที่ผู้นั้นได้มาจากการกระทำความผิด รวมทั้งบรรดาทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดที่ได้มา
แทนทรัพย์สินนั้น ตกเป็นของแผ่นดิน)
-จงใจไม่ยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สิน หรือจงใจยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินอันเป็นเท็จหรือปกปิดข้อเท็จจริงที่ควรแจ้งให้ทราบ และมีพฤติการณ์อันควรเชื่อได้ว่า
เพื่อไม่ประสงค์แสดงที่มาแห่งทรัพย์สินหรือหนี้สินนั้น
5. การกำหนดคุณสมบัติอายุของผู้มีสิทธิเลือกตั้ง
“กำหนดคุณสมบัติอายุ
ของผู้มีสิทธิเลือกตั้งโดยให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ต้องมีอายุไม่ต่ำกว่าสิบแปดปีบริบูรณ์ในวันเลือกตั้ง ”
ข้อกำหนดพรรคการเมืองเสนอชื่อนายกฯ 3 รายชื่อ
6. สภาผู้แทนราษฎรต้องพิจารณาให้ความเห็นชอบบุคคลซึ่งสมควรได้รับแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรี พรรคการเมืองที่ส่งผู้สมัครรับเลือกตั้งต้องแจ้งรายชื่อบุคคลที่พรรคการเมืองนั้น มีมติว่า
จะเสนอให้สภาผู้แทนราษฎรพิจารณาแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรี ในจำนวน ไม่เกิน 3 รายชื่อ โดยต้องแจ้งต่อคณะกรรมการการเลือกตั้ง ภายในวันสมัครรับเลือกตั้ง ซึ่งการเสนอชื่อต้องมีหนังสือยินยอมจากบุคคลผู้ได้รับการเสนอชื่อ และบุคคลดังกล่าวต้องมีคุณสมบัติ และไม่มีลักษณะต้องห้ามที่จะเป็นรัฐมนตรี และต้องไม่เป็นรายชื่อที่ซ้ำกับการเสนอรายชื่อของพรรคการเมืองอื่น อย่างไรก็ตาม พรรคการเมือง จะไม่เสนอรายชื่อบุคคลเพื่อแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรีก็ได้
ข้อมูล ประพันธ์ นัยโกวิท กรรมการร่างรัฐธรรมนูญ-ทีมกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ
ทิศทางในร่าง รธน.ฉบับใหม่ กรณีการได้มาซึ่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฏร (ส.ส.) แบบแบ่งเขต-แบบบัญชีรายชื่อ หรือที่เรียกรวมว่า ระบบเลือกตั้งแบบ"จัดสรรปันส่วนผสม”(ฉบับสมบูรณ์)
การเข้าสู่อำนาจทางการเมืองของ ส.ส.ทั้งแบบเขต หรือ แบบบัญชีรายชื่อ นับเป็นกลไกที่สำคัญมากที่สุดกลไกหนึ่งของระบอบประชาธิปไตยของประเทศ เพราะถือเป็นด่านแรกในการคัดสรรและสรรหาบุคคลที่จะมาทำหน้าที่สำคัญในการบริหารราชการแผ่นดิน หากระบบดังกล่าวมีจุดบอด หรือไม่สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพแล้ว
แน่นอนก็คงยากยิ่งหนักที่ขั้นตอนอื่นต่อจากนั้นจะเดินไปในทิศทางที่ดีได้ เปรียบเสมือนคำโบราณที่ว่า "ติดกระดุมเม็ดแรกผิดก็จะติดผิดไปทั้งหมด" ฉะนั้นจึงมีความพยายามในการกำหนดกติกาใน รธน.ที่ กรธ.กำลังร่างใหม่ ให้สามารถแก้จุดอ่อน เดินหน้าปฏิรูป การเข้าสู่อำนาจรัฐของ ส.ส.ใหม่หมด ทีมข่าวไทยรัฐออนไลน์ ได้รวบรวมข้อมูล เพื่อนำเสนอให้เห็นถึงข้อกำหนด ข้อดี ข้อเสียของร่าง รธน.ใหม่ที่กำลังจะปรากฏออกมาให้ประชาชนได้เห็น
1. สภาผู้แทนราษฎร มีสมาชิกจำนวน 500 คน ประกอบด้วย สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่มาจากการเลือกตั้งแบบแบ่งเขต 350 คน และสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ 150 คน
โดยสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตเลือกตั้ง 350 คน เป็นจำนวนที่ให้ความสำคัญกับสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่ต้องเป็นผู้แทนในเขตพื้นที่ของประชาชน ขณะเดียวกัน เพื่อให้คะแนนของประชาชนมีความหมายด้วยการใช้ระบบการเลือกตั้งแบบ "จัดสรรปันส่วนผสม" จึงกำหนดให้มีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อจำนวน 150 คน ซึ่งมีที่มาจากการจัดสรรคะแนนที่ประชาชนเลือกพรรคต่างๆ
ทั้งประเทศ มีวาระการดำรงตำแหน่ง 4 ปี
ระบบการเลือกตั้งที่มุ่งเน้นการพยายามทำให้ “ทุกคะแนนที่ประชาชนลงเลือกตั้งจะไม่ถูกทิ้ง”
หลักคิดระบบการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่เหมาะสมกับประเทศไทย
เนื่องจากในอดีต คะแนนของประชาชนที่เลือก ส.ส.แบบแบ่งเขตเลือกตั้งใดๆ ซึ่งไม่ได้คะแนนเป็นลำดับที่ 1 ของเขตเลือกตั้งนั้นๆ (ไม่ชนะการเลือกตั้ง) คะแนนดังกล่าวแทบจะถูกทิ้งสูญเปล่า
ดังนั้นจึงกำหนดแนวคิดวิธีค่าเฉลี่ยคะแนนของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ที่พรรคควรจะได้ต่อ 1 คน คือ นำคะแนนของทุกพรรคที่ได้รับเลือกตั้งทั้งประเทศ หาร ด้วยจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั้งหมด (500 คน) จากนั้น
ให้นำค่าเฉลี่ยที่ได้ไปหารจำนวนคะแนนที่แต่ละพรรคได้ เพื่อให้ได้มาซึ่งจำนวนที่แต่ละพรรคจะพึงมี ส.ส.ได้
ทั้งนี้ ต้องให้เอกสิทธิ์แก่ผู้ได้รับเลือกตั้งเป็น ส.ส.แบบแบ่งเขตทุกคน โดยหากพรรคใดได้จำนวน ส.ส.แบบแบ่งเขต
เป็นจำนวนเท่าใด ให้นำจำนวนดังกล่าว มาเปรียบเทียบกับจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่พรรคจะพึงมี
หากได้จำนวน ส.ส.ไม่ครบตามจำนวน ส.ส.ที่พรรคจะพึงมีเท่าใด
ให้จัดสรรเพิ่มจำนวน ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อให้เท่ากับจำนวน ส.ส.ที่พรรคจะพึงมี และหากเกิดกรณีที่ ส.ส.แบบแบ่งเขต มีจำนวนเกินจำนวนทั้งหมด
ที่แต่ละพรรคพึงจะมีได้ ให้พรรคนั้นได้ส.ส.เท่ากับจำนวนที่ได้จริง ซึ่งรวมถึงจำนวน
ที่เกินมาของ ส.ส.ที่แต่ละพรรคจะพึงมีด้วย (ปรากฏตามแผนภาพ 2 และ 3) ซึ่งจะมีความเป็นธรรมแก่ทุกพรรค ที่จะได้จำนวนสมาชิก ส.ส.ตามสัดส่วนของคะแนนที่ประชาชน
ผู้มีสิทธิเลือกตั้งลงให้ จึงมีผู้เรียกระบบการเลือกตั้งนี้ว่า “แบบจัดสรรปันส่วนผสม”
ระบบการเลือกตั้งใช้บัตรเลือกตั้งใบเดียวนี้ เชื่อว่าจะทำให้ประชาชนเกิดความสนใจ จะมาใช้สิทธิเลือกตั้งมากขึ้น เนื่องจากประชาชนสามารถใช้สิทธิได้ง่าย ไม่มีความซับซ้อน และจะรู้สึกว่า คะแนน
ทุกคะแนนมีความหมาย (คะแนนของตนจะไม่เสียเปล่า) โดยผลการเลือกตั้งจะเป็นการเลือก ส.ส. แบบแบ่งเขต และจะมีผลต่อจำนวน ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อด้วย
นอกจากนี้ หากมีการประกาศผลการเลือกตั้งแล้ว พบว่า มีการทุจริตการเลือกตั้ง
จึงต้องมีการเลือกตั้งใหม่ การเลือกตั้งใหม่จะมีผลกระทบต่อจำนวน ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อด้วย ระบบนี้จึงเป็นการทำให้พรรคการเมืองตระหนัก ให้ความสำคัญและระมัดระวังในการส่งผู้สมัคร
รับเลือกตั้งแบบแบ่งเขตให้ได้บุคคลที่ดีที่สุด และจะต้องไม่ทุจริตการเลือกตั้ง ทั้งนี้ การบริหารจัดการในการใช้
บัตรเลือกตั้ง 1 ใบ จะมีความสะดวกและมีประสิทธิภาพมากขึ้นจากการใช้บัตรเลือกตั้ง 2 ใบ เช่นในอดีต และทำให้บัตรเสียน้อยลง ตลอดจนประหยัดงบประมาณในการเลือกตั้ง
ผู้ที่ได้รับเลือกตั้งจะต้องได้คะแนนเสียงมากกว่าคะแนนเสียงของประชาชนที่ไม่ประสงค์เลือก (โนโหวต) ผู้ใดเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และในกรณีที่ผู้สมัครรับเลือกตั้งผู้ที่ได้รับคะแนนเสียงเลือกตั้ง
ไม่มากกว่าคะแนนเสียงที่ไม่ประสงค์เลือกผู้ใดเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จะสมัครรับเลือกตั้งในการเลือกตั้ง
ครั้งใหม่อีกมิได้ เพื่อเป็นการเปิดโอกาสให้ประชาชนสามารถแสดงความไม่เห็นด้วยกับการเลือกตั้งที่คูหาเลือกตั้งได้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย ซึ่งหลักการดังกล่าวเป็นกลไกในการควบคุมพรรคการเมืองให้มี
ความรับผิดชอบในการพิจารณาส่งผู้สมัครรับเลือกตั้งที่มีคุณสมบัติครบถ้วนทั้งในเรื่องคุณธรรมและจริยธรรม
โดยกำหนดให้ประชาชนเป็นตัวชี้วัด
2.3 ผู้สมัครรับเลือกตั้ง ส.ส.แบบแบ่งเขตเลือกตั้ง ต้องเป็นผู้ที่
พรรคการเมืองส่งสมัครรับเลือกตั้ง และจะสมัครรับเลือกตั้งเกินหนึ่งเขตมิได้ และเมื่อมีการสมัครรับเลือกตั้งแล้ว ผู้สมัครรับเลือกตั้งหรือพรรคการเมืองจะถอนการสมัครรับเลือกตั้งหรือเปลี่ยนแปลงผู้สมัครรับเลือกตั้งได้
เฉพาะกรณีผู้สมัครตาย หรือ ขาดคุณสมบัติ หรือ มีลักษณะต้องห้าม และเป็นกรณีที่เปลี่ยนแปลงก่อนวันปิด
การรับสมัครรับเลือกตั้ง
ทั้งนี้ พรรคการเมืองใดส่งผู้สมัครรับเลือกตั้งแบบแบ่งเขตเลือกตั้งแล้ว ให้มีสิทธิ
ส่งผู้สมัครรับเลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่อ และผู้สมัครรับเลือกตั้งต้องสมัครรับเลือกตั้งเป็น ส.ส.แบบแบ่งเขตเลือกตั้งหรือ ส.ส.แบบบัญชีรายชื่ออย่างใดอย่างหนึ่งเท่านั้น
2.4 การจัดบัญชีรายชื่อผู้สมัครรับเลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่อ กำหนดให้เป็นบัญชีรายชื่อบัญชีเดียวทั้งประเทศ เนื่องจากในระบบการเลือกตั้งแบบ"จัดสรรปันส่วนผสม"เป็นระบบที่ต้องใช้การคำนวณคะแนนทั้งประเทศ และจะต้องทำให้สัดส่วนของผู้สมัครรับเลือกตั้งในบัญชีรายชื่อไม่กระจุกตัวเฉพาะภายในกรุงเทพมหานครหรือจังหวัดใหญ่เท่านั้น โดยต้องมีการกำหนดเงื่อนไขให้แต่ละบัญชีรายชื่อมีการจัดสรร
ให้บุคคลในรายชื่อของบัญชีนั้นมาจากทุกภูมิภาคในสัดส่วนที่เหมาะสม เพื่อให้ผู้สมัครรับเลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่อได้มีการกระจายตัวผู้แทนไปยังภูมิภาคต่างๆ
3. ลักษณะต้องห้ามของ ส.ส.ตามที่กำหนด
ไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 ได้มีการแก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติ
บุคคลใดมีลักษณะต้องห้ามตามที่บัญญัติไว้ จะถือว่า
ถูกตัดสิทธิสมัครรับเลือกตั้งโดยไม่สามารถกลับเข้ามาสู่ระบบการเมืองได้
- บุคคลที่ถูกเพิกถอนสิทธิสมัครรับเลือกตั้งตามคำพิพากษา หรือตามคำวินิจฉัยของ
ศาลรัฐธรรมนูญ
- บุคคลผู้เคยได้รับโทษจำคุกโดยได้พ้นโทษมายังไม่ถึงสิบปีนับถึงวันเลือกตั้ง เว้นแต่
ในความผิดอันได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ
- บุคคลที่เคยถูกสั่งให้พ้นจากราชการ หน่วยงานของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจเพราะทุจริตต่อหน้าที่ หรือถือว่ากระทำการทุจริตหรือประพฤติมิชอบในวงราชการ หรือบุคคลที่เคยต้องคำพิพากษาอันถึงที่สุดว่า กระทำความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ หรือต่อตำแหน่งหน้าที่ในการยุติธรรม หรือกระทำความผิด
ตามกฎหมายว่าด้วยความผิดของพนักงานในองค์การหรือหน่วยงานของรัฐ หรือกระทำความผิดฐานทุจริตหรือประพฤติมิชอบ เพื่อไม่ให้สามารถกลับเข้ามาสู่ระบบการเมืองได้อีก
- บุคคลที่เคยต้องคำพิพากษาอันถึงที่สุดว่ากระทำการอันเป็นการทุจริตในการเลือกตั้ง
4. เหตุที่ความเป็นสมาชิกภาพของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรต้องสิ้นสุดลง
โดยสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรบุคคลใดที่เข้าเงื่อนไขดังต่อไปนี้ ความเป็นสมาชิกภาพจะสิ้นสุดลง
- การขาดจากการเป็นสมาชิกของพรรคการเมือง ที่นอกจากในกรณีที่ขาดจากการเป็นสมาชิกของพรรคการเมือง เพราะมีคำสั่งยุบพรรคการเมืองที่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรผู้นั้น เป็นสมาชิกที่เคยบัญญัติ
ไว้จากเดิม ซึ่งการขาดจากการเป็นสมาชิกของพรรคการเมืองดังกล่าว อาจเป็นเหตุมาจากการไม่กระทำการตามที่กำหนดไว้ในข้อบังคับของพรรคการเมือง จึงต้องพ้นจากการเป็นสมาชิกของพรรคการเมือง
- การเสนอการแปรญัตติหรือการกระทำด้วยประการใดๆ ของสภาผู้แทนราษฎรที่มีผลให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร มีส่วนไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อมในการใช้งบประมาณรายจ่าย จะกระทำมิได้
ซึ่งหากมีการกระทำที่ฝ่าฝืนบทบัญญัติดังกล่าวศาลรัฐธรรมนูญจะเป็นผู้วินิจฉัยและหากวินิจฉัยว่า มีการกระทำ
ที่ฝ่าฝืนบทบัญญัตินี้ ให้ผู้กระทำการนั้นพ้นจากสมาชิกภาพนับแต่วันที่ศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัย และให้
ตัดสิทธิสมัครรับเลือกตั้งของผู้นั้น
- มีพฤติการณ์ร่ำรวยผิดปกติ ทุจริตต่อหน้าที่ หรือจงใจใช้หน้าที่และอำนาจขัดต่อบทบัญญัติ
แห่งรัฐธรรมนูญหรือกฎหมาย หรือฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานทางจริยธรรมอย่างร้ายแรง
ซึ่งศาลรัฐธรรมนูญหรือศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง มีคำวินิจฉัยหรือคำพิพากษาว่า ผู้นั้นมีพฤติการณ์หรือกระทำความผิด หรือร่ำรวยผิดปกติตามที่ถูกกล่าวหา แล้วแต่กรณี (ผู้กระทำความผิด
ในกรณีนี้จะต้องถูกเพิกถอนสิทธิสมัครรับเลือกตั้ง โดยจะไม่มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา สมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่นตลอดไป และจะเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง
มีกำหนดเวลาไม่เกินสิบปีด้วยหรือไม่ก็ได้ ทั้งนี้ ในกรณีมีความผิดฐานร่ำรวยผิดปกติหรือทุจริตต่อหน้าที่
ให้ริบทรัพย์สินที่ผู้นั้นได้มาจากการกระทำความผิด รวมทั้งบรรดาทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดที่ได้มา
แทนทรัพย์สินนั้น ตกเป็นของแผ่นดิน)
-จงใจไม่ยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สิน หรือจงใจยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินอันเป็นเท็จหรือปกปิดข้อเท็จจริงที่ควรแจ้งให้ทราบ และมีพฤติการณ์อันควรเชื่อได้ว่า
เพื่อไม่ประสงค์แสดงที่มาแห่งทรัพย์สินหรือหนี้สินนั้น
5. การกำหนดคุณสมบัติอายุของผู้มีสิทธิเลือกตั้ง
“กำหนดคุณสมบัติอายุ
ของผู้มีสิทธิเลือกตั้งโดยให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ต้องมีอายุไม่ต่ำกว่าสิบแปดปีบริบูรณ์ในวันเลือกตั้ง ”
ข้อกำหนดพรรคการเมืองเสนอชื่อนายกฯ 3 รายชื่อ
6. สภาผู้แทนราษฎรต้องพิจารณาให้ความเห็นชอบบุคคลซึ่งสมควรได้รับแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรี พรรคการเมืองที่ส่งผู้สมัครรับเลือกตั้งต้องแจ้งรายชื่อบุคคลที่พรรคการเมืองนั้น มีมติว่า
จะเสนอให้สภาผู้แทนราษฎรพิจารณาแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรี ในจำนวน ไม่เกิน 3 รายชื่อ โดยต้องแจ้งต่อคณะกรรมการการเลือกตั้ง ภายในวันสมัครรับเลือกตั้ง ซึ่งการเสนอชื่อต้องมีหนังสือยินยอมจากบุคคลผู้ได้รับการเสนอชื่อ และบุคคลดังกล่าวต้องมีคุณสมบัติ และไม่มีลักษณะต้องห้ามที่จะเป็นรัฐมนตรี และต้องไม่เป็นรายชื่อที่ซ้ำกับการเสนอรายชื่อของพรรคการเมืองอื่น อย่างไรก็ตาม พรรคการเมือง จะไม่เสนอรายชื่อบุคคลเพื่อแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรีก็ได้
ข้อมูล ประพันธ์ นัยโกวิท กรรมการร่างรัฐธรรมนูญ-ทีมกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ
ที่มา ; เว็บ นสพ.ไทยรัฐ
( คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้
( คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้
เตรียมสอบผู้บริหารสถาน+การศึกษา
เตรียมสอบครูผู้ช่วย
เตรียมสอบผู้บริหารสถาน+การศึกษา
เตรียมสอบครูผู้ช่วย
ฟรี... ห้องเตรียม-ครูผู้ช่วย
-ผู้บริหาร-บุคลากรการศึกษา ที่
ฟรี... ห้องเตรียม-ครูผู้ช่วย
-ผู้บริหาร-บุคลากรการศึกษา ที่
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น