เรื่องใหม่น่าสนใจ (ทั้งหมด ที่ )
ติวสอบดอทคอม www.tuewsob.com
-คู่มือ 4 ชุด นโยบาย บริบริหาร ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้
-เกณฑ์ประเมินคุณภาพภายนอกรอบสี่ โดย สมศ.
- พรบ.เงินเดือนใหม่ข้าราชการครูฯ พ.ศ.2558
ข้อสอบออนไลน์ ( พัฒนาความรู้ครู - ผู้บริหาร - บุคลากรการศึกษา) ชุดใหม่ โดย อ.นิกร
ข้อสอบออนไลน์ ( พัฒนาความรู้ครู - ผู้บริหาร - บุคลากรการศึกษา) ชุดใหม่ โดย อ.นิกร
เตรียมสอบ บน ยูทูป ทั้งหมด ได้ที่
ข่าวสำนักงานรัฐมนตรี 15/2559แนวทางการพัฒนากิจการลูกเสือ
ศึกษาธิการ - พล.อ.ดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ หารือแนวทางการพัฒนากิจการลูกเสือร่วมกับนายสุธรรม พันธุศักดิ์ ประธานคณะทำงานศึกษาเพื่อพัฒนาหลักสูตรและกิจกรรมลูกเสือไทย คณะกรรมาธิการการศึกษาและการกีฬา สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) และคณะ เมื่อวันจันทร์ที่ 11 มกราคม 2559 ที่ห้องประชุม MOC โดยมี พ.อ.ณัฐพงษ์ เพราแก้ว เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ, นายชัยยศ อิ่มสุวรรณ รองปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ในฐานะเลขาธิการสำนักงานลูกเสือแห่งชาติ, นายเดช วรเจริญศรี ผู้อำนวยการสำนักเลขาธิการ สำนักงานลูกเสือแห่งชาติ เข้าร่วมหารือ
นายสุธรรม พันธุศักดิ์ ประธานคณะทำงานศึกษาเพื่อพัฒนาหลักสูตรและกิจกรรมลูกเสือไทย ได้กล่าวรายงานสรุปเกี่ยวกับกิจการลูกเสือไทยในปัจจุบัน มีสาระสำคัญดังนี้
ลักษณะของกิจการลูกเสือ แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ
1) ลูกเสือภาคบังคับ (Compulsory) คือลูกเสือในโรงเรียนที่มีอยู่จำนวนทั้งสิ้น 7 ล้านคน ประกอบด้วย ลูกเสือสำรอง (8-11 ปี) ลูกเสือสามัญ (11-16 ปี) ลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่ (14-18 ปี) และลูกเสือวิสามัญ (16-25 ปี)
2) ลูกเสืออาสาสมัคร (Voluntary) คือลูกเสือที่อยู่นอกโรงเรียนจำนวนทั้งสิ้น 7.4 ล้านคน ประกอบด้วย ลูกเสืออาสาสมัครที่อยู่ในกองลูกเสือนอกโรงเรียน สโมสรลูกเสือ และอาสาสมัครลูกเสือ และลูกเสือชุมชน ได้แก่ ลูกเสือชาวบ้าน สมาคมสโมสรลูกเสือจังหวัด ที่กระจายอยู่ทั่วประเทศกว่า 7 ล้านคน
ผลการดำเนินกิจการลูกเสือ ที่ผ่านมายังไม่มีความก้าวหน้าและประสบความสำเร็จเท่าที่ควร เนื่องจากหลายปัจจัย อาทิ
- กิจกรรมของลูกเสือ ไม่มีความโดดเด่นและไม่เป็นที่นิยม
- หลักสูตร ไม่มีการพัฒนาให้มีความทันสมัย และไม่นำหลักสูตรที่ดีๆ มาปรับใช้ เช่น หลักสูตรของประเทศญี่ปุ่น
- บุคลากร ไม่มีผู้บริหารระดับสูง (CEO) มาบริหารงานแบบเต็มเวลา ในส่วนของบุคลากรลูกเสือไม่ได้รับการพัฒนาและไม่มีระบบฐานข้อมูลรองรับ
- การบริหารทรัพย์สิน ไม่มีการแสดงบัญชีทรัพย์สินและงบดุลที่สามารถตรวจสอบได้ ตลอดจนไม่มีการพัฒนาทรัพย์สิน/สิทธิประโยชน์ของลูกเสือให้เกิดเป็นรายได้ โดยเฉพาะค่ายลูกเสือที่มีอยู่ทั่วประเทศรวม 133 ค่าย แต่ได้รับการพัฒนาให้สามารถใช้งานได้ดีเพียง 9 แห่ง โดยในจำนวนนี้มีเพียง 5 แห่งเท่านั้นที่สามารถสร้างบริหารกิจการให้มีรายได้เพิ่มขึ้น
แนวทางการแก้ไขปัญหา แบ่งเป็น 2 ระดับ คือ
1) ระดับนโยบาย
- จัดให้มีการประชุมสภาลูกเสือไทย โดยขอให้นายกรัฐมนตรีในฐานะสภานายกของสภาลูกเสือไทย กำหนดจัดการประชุมสภาลูกเสือไทยและให้กรรมการสภาเข้าร่วมประชุมอย่างพร้อมเพรียง พร้อมมอบนโยบายใช้กิจการลูกเสือเป็นเครื่องมือในการปลุกจิตสาธารณะในเด็ก เยาวชน และประชาชนทั่วไป
- ปรับปรุงคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ โดยขอให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการในฐานะประธานกรรมการบริหารลูกเสือแห่งชาติ ปรับปรุงคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 15 คน ให้สอดคล้องกับภารกิจที่ดูแลรับผิดชอบ และจัดให้มีการประชุมอย่างต่อเนื่องเดือนละครั้งหรือ 2 เดือนครั้ง
2) ระดับปฏิบัติการ- สรรหา CEO มาเป็นเลขาธิการสำนักงานลูกเสือแห่งชาติแบบเต็มเวลา โดยสรรหามาจากผู้บริหารตำแหน่งรองปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ระดับอธิบดีขึ้นไป หรือบุคคลจากภายนอก ที่คณะกรรมการบริหารลูกเสือแห่งชาติเห็นชอบ ซึ่งขอให้มีคุณสมบัติ 5 เก่ง-ดีเป็นอย่างน้อย กล่าวคือ เก่งกิจการลูกเสือ-การตลาด-การเงิน-การบริหาร-การสื่อสารหลายภาษา โดยเฉพาะภาษาอังกฤษต้องสื่อสารได้ดี และขอให้มีจิตสาธารณะ-มีวินัย-รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์-มีความคิดริเริ่ม สร้างสรรค์-มีบุคลิกภาพ มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี โดยให้ค่าตอบแทนในระดับที่สอดคล้องกับหน้าที่ความรับผิดชอบ
- กำหนดให้มีลูกเสือจังหวัดในสำนักงานลูกเสือจังหวัด 77 จังหวัดๆ ละ 1-3 คน เพื่อทำหน้าที่ประสานงานกับผู้ว่าราชการจังหวัดในการดำเนินกิจการลูกเสือระดับพื้นที่ทั่วประเทศ โดยในอนาคตอาจจัดตั้งให้มีสำนักงานลูกเสืออำเภอต่อไป
- ปรับปรุงโครงสร้าง โดยให้มีคณะอนุกรรมการบริหารและคณะอนุกรรมการตรวจสอบขึ้นตรงต่อคณะกรรมการบริหารลูกเสือแห่งชาติ และให้เลขาธิการสำนักลูกเสือแห่งชาติ ทำหน้าที่บริหารงานสำนักงานลูกเสือแห่งชาติพร้อมทั้งปรับปรุงโครงสร้างภายใน ซึ่งประกอบด้วย 4 ฝ่ายหลัก ได้แก่ ฝ่ายค่ายลูกเสือ รายได้ และสิทธิประโยชน์ ฝ่ายหลักสูตรและกิจกรรม ฝ่ายกิจการลูกเสือระหว่างประเทศ และฝ่ายบริหาร
- แสดงบัญชีทรัพย์สินและงบดุล ขอให้มีการจัดทำบัญชีทรัพย์สินและงบดุลของสำนักงานลูกเสือแห่งชาตินำมาแสดงให้กรรมการตรวจสอบด้วย
ในการนี้ ได้นำเสนอแนวทางการพัฒนากิจการของลูกเสือในช่วงปี 2560-2563 เพื่อขอรับงบประมาณสนับสนุนจากรัฐบาลจำนวน 1,000 ล้านบาท เพื่อเป็นทุนเริ่มต้นในการดำเนินงานพัฒนาค่ายและสินค้าของลูกเสือนำไปสู่รายได้ที่เพิ่มขึ้น อาทิ ค่าเช่าค่ายลูกเสือ/โรงแรมลูกเสือ, สิทธิประโยชน์จากเครื่องหมาย ลิขสิทธิ์ ตราสัญลักษณ์กิจกรรมสำคัญ, ธุรกิจค้าส่ง/ปลีกสินค้าลิขสิทธิ์ นอกจากนี้จะได้หาผู้สนับสนุนหลักอย่างเป็นทางการ พร้อมทั้งการเก็บค่าธรรมเนียมจากค่ายลูกเสือเอกชนที่เปิดให้บริการในปัจจุบัน ซึ่งจะต้องมีมาตรฐานตามที่สำนักงานลูกเสือแห่งชาติกำหนด และการปรับสัญญาค่าเช่า/ค่าบริการจากทรัพย์สินของสำนักงานลูกเสือแห่งชาติด้วย
พล.อ.ดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ กล่าวแสดงความเห็นด้วยกับการใช้กิจการลูกเสือในการปลูกฝังให้ผู้เรียนในระดับต่างๆ มีจิตสาธารณะ ซึ่งสอดคล้องกับการที่รัฐบาลมอบให้กระทรวงศึกษาธิการดำเนินนโยบายพัฒนาคนตลอดช่วงชีวิต จึงได้ประกาศนโยบายให้มีการปลูกฝัง “การให้” ให้กับเด็กๆ โดยได้มอบให้ผู้บริหารองค์กรหลักจัดทำแผนการจัดกิจกรรมปลูกฝังผู้เรียนในทุกระดับให้รู้จัก “การให้ เผื่อแผ่ แบ่งปัน” ตั้งแต่ระดับปฐมวัย ประถมศึกษา มัธยมศึกษา อาชีวศึกษา และอุดมศึกษา โดยจะต้องเลือกกิจกรรมที่มีความเหมาะสมกับผู้เรียนในแต่ละช่วงวัยและมีการขับเคลื่อนพร้อมกันทั้งระบบต่อไป
ในส่วนของการสรรหา CEO เพื่อทำงานแบบเต็มเวลา จะต้องให้ความสำคัญกับการออกแบบคุณลักษณะของผู้ที่จะมาทำหน้าที่บริหาร พร้อมสร้างกลไกการทำงานให้มีอำนาจหน้าที่ชัดเจน สามารถขับเคลื่อนงานได้อย่างราบรื่น รวมทั้งบริหารกิจการลูกเสือทั้งในและนอกสังกัดกระทรวงศึกษาธิการให้สอดคล้องและเป็นไปในทิศทางเดียวกัน
นอกจากนี้ ได้เน้นย้ำถึงลิขสิทธิ์เครื่องหมายหรือตราสัญลักษณ์กิจกรรมสำคัญของลูกเสือ ซึ่งได้มอบนโยบายเกี่ยวกับการขอความร่วมมือกับผู้ละเมิดลิขสิทธิ์ไปแล้ว โดยขอให้องค์การค้าของ สกสค.ดำเนินการให้ถูกต้องเพื่อประโยชน์ของกระทรวงศึกษาธิการเป็นหลัก และควรจัดให้มีระบบกระจายสินค้าไปยังพื้นที่ต่างๆ ให้ดี เพื่อเป็นการส่งเสริมให้โรงเรียนมาสั่งซื้อสินค้าจากองค์การค้าของ สกสค.โดยตรงมากขึ้น
ถ่าย ภาพ : ยุทธพงศ์ เลือกกลั่นดี
ทั้งนี้ รมว.ศึกษาธิการ ได้มอบให้คณะทำงานชุดนี้ ไปปรับปรุงแก้ไขแผนการพัฒนากิจการลูกเสือตามแนวทางของอริยสัจ4 ได้แก่ ทุกข์-สภาพปัญหา, สมุทัย-สาเหตุของปัญหา, นิโรธ-วิธีการแก้ปัญหา, มรรค-แนวปฏิบัติ และให้นำกลับมาเสนออีกครั้ง เพื่อจะได้ร่วมกันพิจารณาให้มีความสมบูรณ์ก่อนนำเสนอให้คณะรัฐมนตรีพิจารณาต่อไป
ที่มา ; เว็บ สำนักงานรัฐมนตรี กระทรวงศึกษาธิการ
ข่าวสำนักงานรัฐมนตรี 15/2559แนวทางการพัฒนากิจการลูกเสือ
ศึกษาธิการ - พล.อ.ดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ หารือแนวทางการพัฒนากิจการลูกเสือร่วมกับนายสุธรรม พันธุศักดิ์ ประธานคณะทำงานศึกษาเพื่อพัฒนาหลักสูตรและกิจกรรมลูกเสือไทย คณะกรรมาธิการการศึกษาและการกีฬา สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) และคณะ เมื่อวันจันทร์ที่ 11 มกราคม 2559 ที่ห้องประชุม MOC โดยมี พ.อ.ณัฐพงษ์ เพราแก้ว เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ, นายชัยยศ อิ่มสุวรรณ รองปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ในฐานะเลขาธิการสำนักงานลูกเสือแห่งชาติ, นายเดช วรเจริญศรี ผู้อำนวยการสำนักเลขาธิการ สำนักงานลูกเสือแห่งชาติ เข้าร่วมหารือ
นายสุธรรม พันธุศักดิ์ ประธานคณะทำงานศึกษาเพื่อพัฒนาหลักสูตรและกิจกรรมลูกเสือไทย ได้กล่าวรายงานสรุปเกี่ยวกับกิจการลูกเสือไทยในปัจจุบัน มีสาระสำคัญดังนี้
ลักษณะของกิจการลูกเสือ แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ
1) ลูกเสือภาคบังคับ (Compulsory) คือลูกเสือในโรงเรียนที่มีอยู่จำนวนทั้งสิ้น 7 ล้านคน ประกอบด้วย ลูกเสือสำรอง (8-11 ปี) ลูกเสือสามัญ (11-16 ปี) ลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่ (14-18 ปี) และลูกเสือวิสามัญ (16-25 ปี)
2) ลูกเสืออาสาสมัคร (Voluntary) คือลูกเสือที่อยู่นอกโรงเรียนจำนวนทั้งสิ้น 7.4 ล้านคน ประกอบด้วย ลูกเสืออาสาสมัครที่อยู่ในกองลูกเสือนอกโรงเรียน สโมสรลูกเสือ และอาสาสมัครลูกเสือ และลูกเสือชุมชน ได้แก่ ลูกเสือชาวบ้าน สมาคมสโมสรลูกเสือจังหวัด ที่กระจายอยู่ทั่วประเทศกว่า 7 ล้านคน
1) ลูกเสือภาคบังคับ (Compulsory) คือลูกเสือในโรงเรียนที่มีอยู่จำนวนทั้งสิ้น 7 ล้านคน ประกอบด้วย ลูกเสือสำรอง (8-11 ปี) ลูกเสือสามัญ (11-16 ปี) ลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่ (14-18 ปี) และลูกเสือวิสามัญ (16-25 ปี)
2) ลูกเสืออาสาสมัคร (Voluntary) คือลูกเสือที่อยู่นอกโรงเรียนจำนวนทั้งสิ้น 7.4 ล้านคน ประกอบด้วย ลูกเสืออาสาสมัครที่อยู่ในกองลูกเสือนอกโรงเรียน สโมสรลูกเสือ และอาสาสมัครลูกเสือ และลูกเสือชุมชน ได้แก่ ลูกเสือชาวบ้าน สมาคมสโมสรลูกเสือจังหวัด ที่กระจายอยู่ทั่วประเทศกว่า 7 ล้านคน
ผลการดำเนินกิจการลูกเสือ ที่ผ่านมายังไม่มีความก้าวหน้าและประสบความสำเร็จเท่าที่ควร เนื่องจากหลายปัจจัย อาทิ
- กิจกรรมของลูกเสือ ไม่มีความโดดเด่นและไม่เป็นที่นิยม
- หลักสูตร ไม่มีการพัฒนาให้มีความทันสมัย และไม่นำหลักสูตรที่ดีๆ มาปรับใช้ เช่น หลักสูตรของประเทศญี่ปุ่น
- บุคลากร ไม่มีผู้บริหารระดับสูง (CEO) มาบริหารงานแบบเต็มเวลา ในส่วนของบุคลากรลูกเสือไม่ได้รับการพัฒนาและไม่มีระบบฐานข้อมูลรองรับ
- การบริหารทรัพย์สิน ไม่มีการแสดงบัญชีทรัพย์สินและงบดุลที่สามารถตรวจสอบได้ ตลอดจนไม่มีการพัฒนาทรัพย์สิน/สิทธิประโยชน์ของลูกเสือให้เกิดเป็นรายได้ โดยเฉพาะค่ายลูกเสือที่มีอยู่ทั่วประเทศรวม 133 ค่าย แต่ได้รับการพัฒนาให้สามารถใช้งานได้ดีเพียง 9 แห่ง โดยในจำนวนนี้มีเพียง 5 แห่งเท่านั้นที่สามารถสร้างบริหารกิจการให้มีรายได้เพิ่มขึ้น
- กิจกรรมของลูกเสือ ไม่มีความโดดเด่นและไม่เป็นที่นิยม
- หลักสูตร ไม่มีการพัฒนาให้มีความทันสมัย และไม่นำหลักสูตรที่ดีๆ มาปรับใช้ เช่น หลักสูตรของประเทศญี่ปุ่น
- บุคลากร ไม่มีผู้บริหารระดับสูง (CEO) มาบริหารงานแบบเต็มเวลา ในส่วนของบุคลากรลูกเสือไม่ได้รับการพัฒนาและไม่มีระบบฐานข้อมูลรองรับ
- การบริหารทรัพย์สิน ไม่มีการแสดงบัญชีทรัพย์สินและงบดุลที่สามารถตรวจสอบได้ ตลอดจนไม่มีการพัฒนาทรัพย์สิน/สิทธิประโยชน์ของลูกเสือให้เกิดเป็นรายได้ โดยเฉพาะค่ายลูกเสือที่มีอยู่ทั่วประเทศรวม 133 ค่าย แต่ได้รับการพัฒนาให้สามารถใช้งานได้ดีเพียง 9 แห่ง โดยในจำนวนนี้มีเพียง 5 แห่งเท่านั้นที่สามารถสร้างบริหารกิจการให้มีรายได้เพิ่มขึ้น
แนวทางการแก้ไขปัญหา แบ่งเป็น 2 ระดับ คือ
1) ระดับนโยบาย
- จัดให้มีการประชุมสภาลูกเสือไทย โดยขอให้นายกรัฐมนตรีในฐานะสภานายกของสภาลูกเสือไทย กำหนดจัดการประชุมสภาลูกเสือไทยและให้กรรมการสภาเข้าร่วมประชุมอย่างพร้อมเพรียง พร้อมมอบนโยบายใช้กิจการลูกเสือเป็นเครื่องมือในการปลุกจิตสาธารณะในเด็ก เยาวชน และประชาชนทั่วไป
- ปรับปรุงคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ โดยขอให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการในฐานะประธานกรรมการบริหารลูกเสือแห่งชาติ ปรับปรุงคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 15 คน ให้สอดคล้องกับภารกิจที่ดูแลรับผิดชอบ และจัดให้มีการประชุมอย่างต่อเนื่องเดือนละครั้งหรือ 2 เดือนครั้ง
- จัดให้มีการประชุมสภาลูกเสือไทย โดยขอให้นายกรัฐมนตรีในฐานะสภานายกของสภาลูกเสือไทย กำหนดจัดการประชุมสภาลูกเสือไทยและให้กรรมการสภาเข้าร่วมประชุมอย่างพร้อมเพรียง พร้อมมอบนโยบายใช้กิจการลูกเสือเป็นเครื่องมือในการปลุกจิตสาธารณะในเด็ก เยาวชน และประชาชนทั่วไป
- ปรับปรุงคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ โดยขอให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการในฐานะประธานกรรมการบริหารลูกเสือแห่งชาติ ปรับปรุงคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 15 คน ให้สอดคล้องกับภารกิจที่ดูแลรับผิดชอบ และจัดให้มีการประชุมอย่างต่อเนื่องเดือนละครั้งหรือ 2 เดือนครั้ง
2) ระดับปฏิบัติการ- สรรหา CEO มาเป็นเลขาธิการสำนักงานลูกเสือแห่งชาติแบบเต็มเวลา โดยสรรหามาจากผู้บริหารตำแหน่งรองปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ระดับอธิบดีขึ้นไป หรือบุคคลจากภายนอก ที่คณะกรรมการบริหารลูกเสือแห่งชาติเห็นชอบ ซึ่งขอให้มีคุณสมบัติ 5 เก่ง-ดีเป็นอย่างน้อย กล่าวคือ เก่งกิจการลูกเสือ-การตลาด-การเงิน-การบริหาร-การสื่อสารหลายภาษา โดยเฉพาะภาษาอังกฤษต้องสื่อสารได้ดี และขอให้มีจิตสาธารณะ-มีวินัย-รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์-มีความคิดริเริ่ม สร้างสรรค์-มีบุคลิกภาพ มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี โดยให้ค่าตอบแทนในระดับที่สอดคล้องกับหน้าที่ความรับผิดชอบ
- กำหนดให้มีลูกเสือจังหวัดในสำนักงานลูกเสือจังหวัด 77 จังหวัดๆ ละ 1-3 คน เพื่อทำหน้าที่ประสานงานกับผู้ว่าราชการจังหวัดในการดำเนินกิจการลูกเสือระดับพื้นที่ทั่วประเทศ โดยในอนาคตอาจจัดตั้งให้มีสำนักงานลูกเสืออำเภอต่อไป
- ปรับปรุงโครงสร้าง โดยให้มีคณะอนุกรรมการบริหารและคณะอนุกรรมการตรวจสอบขึ้นตรงต่อคณะกรรมการบริหารลูกเสือแห่งชาติ และให้เลขาธิการสำนักลูกเสือแห่งชาติ ทำหน้าที่บริหารงานสำนักงานลูกเสือแห่งชาติพร้อมทั้งปรับปรุงโครงสร้างภายใน ซึ่งประกอบด้วย 4 ฝ่ายหลัก ได้แก่ ฝ่ายค่ายลูกเสือ รายได้ และสิทธิประโยชน์ ฝ่ายหลักสูตรและกิจกรรม ฝ่ายกิจการลูกเสือระหว่างประเทศ และฝ่ายบริหาร
- แสดงบัญชีทรัพย์สินและงบดุล ขอให้มีการจัดทำบัญชีทรัพย์สินและงบดุลของสำนักงานลูกเสือแห่งชาตินำมาแสดงให้กรรมการตรวจสอบด้วย
- กำหนดให้มีลูกเสือจังหวัดในสำนักงานลูกเสือจังหวัด 77 จังหวัดๆ ละ 1-3 คน เพื่อทำหน้าที่ประสานงานกับผู้ว่าราชการจังหวัดในการดำเนินกิจการลูกเสือระดับพื้นที่ทั่วประเทศ โดยในอนาคตอาจจัดตั้งให้มีสำนักงานลูกเสืออำเภอต่อไป
- ปรับปรุงโครงสร้าง โดยให้มีคณะอนุกรรมการบริหารและคณะอนุกรรมการตรวจสอบขึ้นตรงต่อคณะกรรมการบริหารลูกเสือแห่งชาติ และให้เลขาธิการสำนักลูกเสือแห่งชาติ ทำหน้าที่บริหารงานสำนักงานลูกเสือแห่งชาติพร้อมทั้งปรับปรุงโครงสร้างภายใน ซึ่งประกอบด้วย 4 ฝ่ายหลัก ได้แก่ ฝ่ายค่ายลูกเสือ รายได้ และสิทธิประโยชน์ ฝ่ายหลักสูตรและกิจกรรม ฝ่ายกิจการลูกเสือระหว่างประเทศ และฝ่ายบริหาร
- แสดงบัญชีทรัพย์สินและงบดุล ขอให้มีการจัดทำบัญชีทรัพย์สินและงบดุลของสำนักงานลูกเสือแห่งชาตินำมาแสดงให้กรรมการตรวจสอบด้วย
ในการนี้ ได้นำเสนอแนวทางการพัฒนากิจการของลูกเสือในช่วงปี 2560-2563 เพื่อขอรับงบประมาณสนับสนุนจากรัฐบาลจำนวน 1,000 ล้านบาท เพื่อเป็นทุนเริ่มต้นในการดำเนินงานพัฒนาค่ายและสินค้าของลูกเสือนำไปสู่รายได้ที่เพิ่มขึ้น อาทิ ค่าเช่าค่ายลูกเสือ/โรงแรมลูกเสือ, สิทธิประโยชน์จากเครื่องหมาย ลิขสิทธิ์ ตราสัญลักษณ์กิจกรรมสำคัญ, ธุรกิจค้าส่ง/ปลีกสินค้าลิขสิทธิ์ นอกจากนี้จะได้หาผู้สนับสนุนหลักอย่างเป็นทางการ พร้อมทั้งการเก็บค่าธรรมเนียมจากค่ายลูกเสือเอกชนที่เปิดให้บริการในปัจจุบัน ซึ่งจะต้องมีมาตรฐานตามที่สำนักงานลูกเสือแห่งชาติกำหนด และการปรับสัญญาค่าเช่า/ค่าบริการจากทรัพย์สินของสำนักงานลูกเสือแห่งชาติด้วย
พล.อ.ดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ กล่าวแสดงความเห็นด้วยกับการใช้กิจการลูกเสือในการปลูกฝังให้ผู้เรียนในระดับต่างๆ มีจิตสาธารณะ ซึ่งสอดคล้องกับการที่รัฐบาลมอบให้กระทรวงศึกษาธิการดำเนินนโยบายพัฒนาคนตลอดช่วงชีวิต จึงได้ประกาศนโยบายให้มีการปลูกฝัง “การให้” ให้กับเด็กๆ โดยได้มอบให้ผู้บริหารองค์กรหลักจัดทำแผนการจัดกิจกรรมปลูกฝังผู้เรียนในทุกระดับให้รู้จัก “การให้ เผื่อแผ่ แบ่งปัน” ตั้งแต่ระดับปฐมวัย ประถมศึกษา มัธยมศึกษา อาชีวศึกษา และอุดมศึกษา โดยจะต้องเลือกกิจกรรมที่มีความเหมาะสมกับผู้เรียนในแต่ละช่วงวัยและมีการขับเคลื่อนพร้อมกันทั้งระบบต่อไป
ในส่วนของการสรรหา CEO เพื่อทำงานแบบเต็มเวลา จะต้องให้ความสำคัญกับการออกแบบคุณลักษณะของผู้ที่จะมาทำหน้าที่บริหาร พร้อมสร้างกลไกการทำงานให้มีอำนาจหน้าที่ชัดเจน สามารถขับเคลื่อนงานได้อย่างราบรื่น รวมทั้งบริหารกิจการลูกเสือทั้งในและนอกสังกัดกระทรวงศึกษาธิการให้สอดคล้องและเป็นไปในทิศทางเดียวกัน
นอกจากนี้ ได้เน้นย้ำถึงลิขสิทธิ์เครื่องหมายหรือตราสัญลักษณ์กิจกรรมสำคัญของลูกเสือ ซึ่งได้มอบนโยบายเกี่ยวกับการขอความร่วมมือกับผู้ละเมิดลิขสิทธิ์ไปแล้ว โดยขอให้องค์การค้าของ สกสค.ดำเนินการให้ถูกต้องเพื่อประโยชน์ของกระทรวงศึกษาธิการเป็นหลัก และควรจัดให้มีระบบกระจายสินค้าไปยังพื้นที่ต่างๆ ให้ดี เพื่อเป็นการส่งเสริมให้โรงเรียนมาสั่งซื้อสินค้าจากองค์การค้าของ สกสค.โดยตรงมากขึ้น
ทั้งนี้ รมว.ศึกษาธิการ ได้มอบให้คณะทำงานชุดนี้ ไปปรับปรุงแก้ไขแผนการพัฒนากิจการลูกเสือตามแนวทางของอริยสัจ4 ได้แก่ ทุกข์-สภาพปัญหา, สมุทัย-สาเหตุของปัญหา, นิโรธ-วิธีการแก้ปัญหา, มรรค-แนวปฏิบัติ และให้นำกลับมาเสนออีกครั้ง เพื่อจะได้ร่วมกันพิจารณาให้มีความสมบูรณ์ก่อนนำเสนอให้คณะรัฐมนตรีพิจารณาต่อไป
( คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้
( คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้
เตรียมสอบผู้บริหารสถาน+การศึกษา
เตรียมสอบครูผู้ช่วย
เตรียมสอบผู้บริหารสถาน+การศึกษา
เตรียมสอบครูผู้ช่วย
ฟรี... ห้องเตรียม-ครูผู้ช่วย
-ผู้บริหาร-บุคลากรการศึกษา ที่
ฟรี... ห้องเตรียม-ครูผู้ช่วย
-ผู้บริหาร-บุคลากรการศึกษา ที่
" ติวสอบดอทคอม " โดย อ.นิกร
" ติวสอบดอทคอม " โดย อ.นิกร
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น