หน้าหลัก ติวสอบดอทคอม เว็บฟรีข้อสอบออนไลน์

หน้าหลัก ติวสอบดอทคอม เว็บฟรีข้อสอบออนไลน์
หน้าหลัก ติวสอบดอทคอม เว็บฟรีข้อสอบออนไลน์

พัฒนาความรู้ สู่ รอง./ผอ.รร. ปี 2567

พัฒนาความรู้ สู่ รอง./ผอ.รร. ปี 2567
พัฒนาความรู้ สู่ รอง./ผอ.รร. ปี 2567

คลิ๊ก "สมัครพัฒนาความรู้สู่ผู้บริหาร / ครูผู้ช่วย

คลิ๊ก... สมัคร พัฒนาความรู้ สู่ ครูผู้ช่วย
คลิ๊ก... สมัคร พัฒนาความรู้ สู่ ผู้บริหาร

ติวสอบดอทคอม (เตรียมสอบครูผู้ช่วย-ผู้บริหาร-บุคลากร การศึกษา)

ติวสอบดอทคอม (เตรียมสอบครูผู้ช่วย-ผู้บริหาร-บุคลากร การศึกษา)
ติวสอบดอทคอม (เว็บฟรีข้อสอบออนไลน์ สอบครู ผู้บริหาร บุคลากร)

วันพฤหัสบดีที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2557

ประชุมปฏิรูปประเทศไทย ครั้งที่ 1/2557

ข้อสอบออนไลน์ (สอบครู-ผู้บริหาร-บุคลากรการศึกษา) ชุดใหม่ล่าสุด



ติวสอบออนไลน์ ชุด นโยบายรัฐบาล


ลิงค์ข้อสอบ  ที่เกี่ยวข้องกับ  "นโยบายรัฐบาล"  โดย ติวสอบดอทคอม

คลิ๊ก )  สมัครติวสอบครูผู้ช่วย ปี 2557 กรณีปกติ + พิเศษ (20 จุด) ที่


นายกรัฐมนตรีเปิดประชุมปฏิรูปประเทศไทย ครั้งที่ 1/2557 ร่วมกับผู้แทนองค์กรภาคเอกชน-ภาควิชาการต่าง ๆ

นายกรัฐมนตรีเปิดประชุมปฏิรูปประเทศไทย ครั้งที่ 1/2557 ร่วมกับผู้แทนองค์กรภาคเอกชนและภาควิชาการต่าง ๆ ที่รัฐบาลจัดขึ้นเพื่อให้เป็นเวทีกลางในการปฏิรูปประเทศ สร้างกระบวนการมีส่วนร่วมไปยังประชาชนทั่วประเทศ
วันนี้ (16 ม.ค.57) เวลา 13.50 น. ณ ห้องประชุมกองบัญชาการกองทัพอากาศ ดอนเมือง นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เป็นประธานการประชุมปฏิรูปประเทศไทย ครั้งที่ 1/2557 ร่วมกับผู้แทนองค์กรภาคเอกชนและภาควิชาการต่าง ๆ ประกอบด้วย องค์กรต่อต้านคอร์รัปชั่น สมัชชาปฏิรูป คณะกรรมการปฏิรูปกฎหมาย ขบวนองค์กรชุมชนและประชาสัมพันธ์เพื่อการปฏิรูป มูลนิธิคุ้มครองผู้บริโภค มูลนิธิชีววิถี โครงการนิติธรรมสิ่งแวดล้อม เครือข่ายจังหวัดจัดการตนเอง สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ Centre for Humanitarian Dialogue มวลมหาประชาคุย สมัชชาปกป้องประชาธิปไตย แนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ 2 เอา 2 ไม่เอา สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย สมาคมธนาคารไทย สภาธุรกิจตลาดทุนไทย ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย สมาคมบริษัทจดทะเบียนไทย สภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย มูลนิธิการส่งเสริมการออกแบบอนาคต สถาบันพระปกเกล้า ศูนย์ศึกษาและพัฒนาสันติวิธี ม.มหิดล TDRI ที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย สถาบันธรรมรัฐเพื่อการพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน สภาพัฒนาการเมือง สภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ มูลนิธิกระจกเงา โดยมีคณะรัฐมนตรี พร้อมผู้บริหารภาครัฐ เข้าร่วมประชุม อาทิ นายนิวัฒน์ธำรง บุญทรงไพศาล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง นายพงศ์เทพ เทพกาญจนา รองนายกรัฐมนตรี นายแพทย์ประดิษฐ สินธวณรงค์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข นายจาตุรนต์ ฉายแสง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ นายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ นายสุรนันทน์ เวชชาชีวะ เลขาธิการนายกรัฐมนตรี ศาสตราจารย์พิเศษธงทอง จันทรางศุ ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และเปิดให้สื่อมวลชนเข้าร่วมรับฟังตลอดการประชุมหารือ
นายกรัฐมนตรีกล่าวเปิดการประชุมว่า วัตถุประสงค์การหารือในวันนี้คือ สังคมเห็นพ้องต้องกันว่าถึงเวลาแล้วที่จะต้องพูดคุยกันในเรื่องของการปฏิรูปประเทศไทย ซึ่งต้องขอขอบคุณเวทีภาควิชาการ ภาคเอกชน รวมทั้งอีกหลาย ๆ เวที และหลายท่านที่ได้กรุณาทำในเรื่องของแผนปฏิรูปประเทศมา ทั้งที่เป็นแผนเดิมตั้งแต่แรก และแผนใหม่ โดยจะพบว่าข้อมูลในเรื่องของการปฏิรูปประเทศมีมาก จึงอยากจะใช้เวทีนี้ในวัตถุประสงค์เพื่อหารือว่าจะทำให้เวทีปฏิรูปเกิดขึ้นจริงให้เร็วที่สุด โดยจะมีกระบวนการในการเริ่มต้นอย่างไร และจะทำอย่างไรให้แผนปฏิรูปที่มีอยู่นั้นเป็นแผนใหญ่เดียวกันและเป็นแผนกลาง อันเป็นจุดเริ่มต้นที่อยากใช้เวทีนี้ในการหารือ โดยบทบาทของรัฐบาลที่ได้เชิญประชุมวันนี้ รัฐบาลไม่มีเจตนาที่จะมาบีบหรือโน้มนำในเรื่องของเนื้อหาการปฏิรูปทั้งสิ้น แต่รัฐบาลได้รับข้อมูลจากหลาย ๆ ภาคส่วนโดยเฉพาะภาคเอกชนที่ได้มีการขึ้นโครงที่ค่อนข้างมีความชัดเจนมาก ซึ่งสิ่งที่จะเสนอในวันนี้คือจะทำอย่างไรให้นำแผนที่มีอยู่นั้นสามารถเข้าไปสู่ในรูปของการปฏิบัติ หรือนำไปสู่การตรากฎหมายให้เป็นจริงได้ ที่เป็นกลไกในส่วนของการเชื่อมโยงไปยังฝ่ายปฏิบัติ ซึ่งรัฐบาลพร้อมที่จะใช้เวทีนี้รับฟัง โดยจะไม่ใช้สิทธิ์ในการที่จะเสนอ แต่จะเป็นผู้ทำหน้าที่รวบรวมเพื่อให้เกิดการทำงาน และฝ่ายข้าราชการประจำจะเป็นแม่งานหลัก
นายกรัฐมนตรีกล่าวว่า การเชิญประชุมในวันนี้ มีจุดเริ่มต้นในการเชิญผู้ที่มีข้อมูลเรื่องการปฏิรูป ซึ่งจะขอให้ทุกองค์กรได้เสนอให้ที่ประชุมฟังถึงขั้นตอนในแต่ละส่วน เพื่อให้การปฏิรูปเกิดขึ้น และในอนาคตจะได้สามารถเชิญผู้มีส่วนร่วมอื่น ๆ เข้ามา โดยขอให้ที่ประชุมวันนี้ได้มีส่วนเชื่อม จากนั้นจะได้เชื่อมความต้องการของผู้ชุมนุมที่มีความต้องการปฏิรูป หรือกลุ่มอื่น ๆ เพื่อให้เกิดการปฏิรูปที่ครบกลุ่ม และเป็นเวทีกลางของประเทศจริง ๆ ซึ่งจะทำให้มีน้ำหนักของการรับฟังข้อคิดเห็นจากทุกภาคส่วนทุกโครงสร้าง ที่ต้องขอความกรุณาสื่อมวลชนเป็นสื่อกลางในการนำเสนอเวทีนี้สู่สาธารณชนด้วย เพราะทุกครั้งที่จัดเวทีนี้ก็อยากเห็นเวทีนี้ไปสู่สาธารณชน ให้ข้อมูลของทุกคนไม่ตกหล่น สามารถเป็นข้อสรุปสู่สาธารณชน โดยเวทีนี้จะเป็นเวทีสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมให้มีการรับฟังและสื่อสารผ่านสื่อมวลชนไปยังประชาชนทั่วประเทศ และจะได้พัฒนาไปเรื่อย ๆ
นายกรัฐมนตรีได้กล่าวนำเสนอประเด็นการหารือว่า ในส่วนของการนำร่องได้มองว่าการปฏิรูปมีอยู่สามส่วน คือ ส่วนแรก ขั้นตอนหลักของการทำงานเพื่อการปฏิรูป ตั้งแต่ขั้นตอนเร่งด่วน ระยะยาว ไปถึงการปฏิรูปที่ตรากฎหมายส่วนที่สอง โครงสร้างคณะทำงานหรือองค์กรเพื่อการปฏิรูป อย่างที่ได้มีการเสนอมาแล้วว่า จะมีสภาปฏิรูปจำนวนเท่าไร ที่มาของคนที่จะมาเป็นโครงสร้าง ยกตัวอย่างที่รัฐบาลได้เสนอไปเบื้องต้นว่าจะมีคนกลางเข้ามาเขียนวิธีการ 11 คน ไปถึง 2,000 คน แต่ในวันนี้รัฐบาลจะยังไม่เสนอใด ๆ ทั้งสิ้น โดยวันนี้เป็นการตั้งต้นและพร้อมที่จะปรับทั้งหมด ส่วนที่สาม สาระสำคัญหลักในการปฏิรูป ที่อาจจะแบ่งเป็นสาระสำคัญเร่งด่วนที่เกิดจากความต้องการของทุกภาคส่วน เช่น เรื่องทุจริตคอร์รัปชั่น หรือการทำให้กระบวนการต่าง ๆ เป็นไปอย่างยุติธรรมและโปร่งใส ที่ภาครัฐสามารถปรับได้ทันที รวมทั้งขั้นตอนที่จะเข้าไปสู่รัฐสภา และการจัดลำดับความสำคัญต่าง ๆ
พร้อมกันนี้ นายกรัฐมนตรีกล่าวด้วยว่าไม่อยากให้ผลของแนวทางการศึกษาที่ได้มีมาแล้วในสมัยรัฐบาลก่อนหน้านั้นสูญเปล่า โดยขอให้ได้มีการนำผลศึกษานั้นมาหารือในที่ประชุมวันนี้เพื่อให้ฝ่ายอำนวยการได้สรุปเป็นแต่ละโมเดล และได้หารือแนวทางการดำเนินการในลำดับต่อถัดไป
จากนั้น ที่ประชุมได้รับฟังข้อเสนอการปฏิรูปจากตัวแทนภาคส่วนต่าง ๆ ระหว่างนั้น นายกรัฐมนตรีกล่าวเพิ่มเติมต่อที่ประชุมตอนหนึ่งว่า จากที่หลาย ๆ ภาคส่วนได้แสดงความคิดเห็น เชื่อว่าเจตนาของทุกคนอยากให้บ้านเมืองเดินไปได้ โดยภาครัฐยินดีรับฟังข้อเสนอต่าง ๆ ในส่วนของภาคเอกชน อะไรที่อยู่ภายใต้กรอบของกฎหมายที่ภาครัฐให้ความร่วมมือได้ก็ยินดีรับฟัง สิ่งใดที่เป็นไปได้ก็จะนำไปทำต่อ อะไรที่เป็นการขัดต่อข้อกฎหมาย ก็ขอให้วางไว้ก่อน เมื่อมีทางออกที่ดีก็ขอให้นำกลับเข้ามา เพื่อให้เวทีปฏิรูปวันนี้เดินหน้าไปได้
นอกจากนี้ นายกรัฐมนตรีกล่าวเพิ่มเติมว่า ยินดีน้อมรับทุกความเห็นและถือว่าเป็นความเห็นที่เปิดกว้าง ซึ่งส่วนตัวนายกรัฐมนตรีเองก็พร้อมเปิดใจรับฟัง วันนี้เราเห็นแล้วว่าสถานการณ์ต่าง ๆ เป็นสถานการณ์ที่ไม่ปกติจริง ๆ และเห็นด้วยว่าต้องแก้ปัญหา ปัญหาอะไรที่แก้ได้เรายินดี อะไรที่ยังแก้ไม่ได้ก็ต้องค่อย ๆ แก้ เพราะเราไม่สามารถที่จะแก้ให้หายแล้วอย่างอื่นไม่ได้เดิน เราเชื่อว่าประเทศต้องการการเดินไป และวันนี้ก็เชื่อว่าสิ่งที่ภาคเอกชนมาบอกเพราะภาคเอกชนมีใจอยากเห็นธุรกิจเดินได้ เพราะสุดท้ายแล้วการเดินไปได้ของเศรษฐกิจของประเทศ ประกอบไปด้วยภาคเอกชนและภาครัฐที่จะขับเคลื่อนประเทศ รัฐบาลยอมรับในปัญหาที่เกิดขึ้น ยอมรับความขัดแย้งต่าง ๆ และนายกรัฐมนตรีก็ไม่อยากเห็นความขัดแย้งนี้เป็นอุปสรรคในการที่ไม่สามารถหาทางออกของประเทศให้เดินต่อไปได้
“ เป็นสิ่งที่ดีที่เราลดความขัดแย้งได้ เรียนตรง ๆ ว่าดิฉันเองก็ไม่อยากที่จะได้รับการบอกว่าดิฉันคือต้นทางหรือเป็นตัวปัญหา ต้องกราบเรียนด้วยความเคารพว่า จริง ๆ แล้วหลายอย่างที่หลาย ๆ ท่านหรือหลาย ๆ ภาคส่วนนั้นได้มีโอกาสเรียกร้องให้แสดงความรับผิดชอบ ดิฉันเองก็ต้องเรียนว่าบนความรับผิดชอบของรัฐบาล เรามีทางเลือกเพียงสองทาง ทางเลือกแรกคือการที่นายกรัฐมนตรีลาออกขณะนั้นกับยุบสภาฯ ดิฉันก็ได้แสดงความรับผิดชอบแล้วด้วยการยุบสภาฯ ดังนั้นวันนี้ไม่มีนายกรัฐมนตรี เป็นเพียงนายกรัฐมนตรีที่จะต้องปฏิบัติหน้าที่ อยู่ในกฎหมาย ดิฉันเองไม่สามารถจะบอกว่าดิฉันท้อ ดิฉันไม่อยากทำ แล้วดิฉันทิ้งไว้เฉย ๆ ดิฉันก็ไม่รู้ว่าจะโดนพี่น้องประชาชนที่เลือกดิฉันมา มากล่าวหาว่าดิฉันไม่รับผิดชอบหรือเปล่า วันนี้กติกาที่เราอยู่ ดิฉันไม่ต้องการอยู่เพื่อจะบอกสังคมว่าดิฉันเป็นคนที่จะสร้างความขัดแย้ง แต่ดิฉันอยู่เพื่อส่งมอบกติกานี้ ส่งมอบประชาธิปไตยนี้ให้กับคนใหม่ ใครก็ได้ที่ถูกต้องตามรัฐธรรมนูญ ตามกฎหมาย ที่จะมารับหลังการเลือกตั้ง เพียงแค่การประคอง แต่วันนี้เราไม่รู้ว่าประคองแบบนี้เราจะไปอย่างไร หลายท่านอาจจะบอกว่า การประคองนี้เดินหน้าเลือกตั้งเลย หลายท่านก็จะบอกว่าเลือกตั้งแล้วมีแต่ความขัดแย้ง แต่ถ้าเราไม่เลือกตั้ง เราจะเลื่อน ก็ต้องปรึกษาว่าทำอย่างไรให้เลื่อนอย่างที่ภาคเอกชนพูด แต่ขณะเดียวกันถ้าท่านยังเดินอย่างนี้ ดิฉันเชื่อว่าวันนี้สายการเงินมาด้วย ตลาดหลักทรัพย์ นักลงทุน กลัวมากที่สุดคือการที่ไม่รู้ว่าทิศทางข้างหน้าเกิดอะไรขึ้น กลัวมากกับการเปลี่ยนระบบ เพราะเขาไม่รู้ว่าข้างหน้าจะลงทุนอย่างไร ความมั่นใจอยู่ตรงไหน สิ่งนี้ต่างหากที่ดิฉันกำลังจะบอกว่าความขัดแย้งเราอยากแก้ถ้าเราแก้ได้ แล้วดิฉันเองก็ไม่ปิดกั้นว่าท่านไหนจะเป็นตัวกลางในการเจรจา แต่ขอเรียนด้วยความเคารพว่าไม่มีรัฐบาลไหนอยากจะเป็นคู่ขัดแย้งกับประชาชน รัฐบาลแสดงความรับผิดชอบแล้วโดยการคืนอำนาจนี้ให้กับประชาชน เพื่อที่พี่น้องประชาชนได้ใช้สิทธิ์ของตนเองในการที่จะแสดงสิทธิ์ นั่นก็คือผ่านการเลือกตั้ง ดิฉันเรียนว่าเรายินดีให้ความร่วมมือในทุก ๆ มิติ ทุก ๆ เวทีถ้าดิฉันมีอำนาจปฏิบัติได้ วันนี้ช่วยบอกด้วยว่าดิฉันจะใช้อำนาจอะไรในการทำในขณะที่เป็นรัฐบาลที่รักษาการ แม้กระทั่งอำนาจที่จะจ่ายเงินให้กับพี่น้องชาวนายังไม่มีเลยค่ะวันนี้ อำนาจนี้ยังต้องถาม กกต. ก่อนทุกครั้ง แล้วดิฉันจะเอาอำนาจอะไรมาให้ วันนี้สถานะนายกรัฐมนตรีหลังการยุบสภาฯ ไม่เหมือนสถานะนายกรัฐมนตรีที่ปฏิบัติหน้าที่เต็ม” นายกรัฐมนตรีกล่าว
นายกรัฐมนตรียังกล่าวถึงสิ่งที่ได้รับฟังในวันนี้ว่า มีประเด็นในทางบวกในเรื่องของการปฏิรูป หลายคนก็บ่นว่าจัดเวทีนี้ซ้ำแล้วซ้ำเล่า เราพูดกันอย่างนี้ซ้ำแล้วซ้ำเล่า ซึ่งต้องเรียนว่าปฏิรูปยากจริง ๆ เพราะว่าอยู่ที่กรอบ หลายคนบอกว่าเรากำลังพูดกว้างเกินไป ซึ่งส่วนตัวแล้วเห็นด้วยว่าควรมีการจัดลำดับความสำคัญเพื่อให้เกิดขึ้นจริง และสิ่งสำคัญวันนี้เชื่อว่าต้องหาเวทีในการเปิดการรับฟัง เปิดพื้นที่ เพราะเชื่อว่าวันนี้เราไม่ได้พูดกันอยู่ประมาณ 30-40 พรรค แต่เราต้องเปิดเวทีให้ประชาชนทั้งประเทศได้มีโอกาสมีส่วนร่วม จึงขอฝากคำถามไว้ในเวทีว่าจะตั้งกลไกการมีส่วนร่วมให้ทุกคนได้มีส่วนร่วมเรื่องการปฏิรูปอย่างไร โดยถ้าเราเห็นทางออก ก็เชื่อว่าทางออกนี้จะเป็นตัวกลางในการแก้ปัญหาของความขัดแย้งไปในตัวด้วย อะไรที่เห็นแย้งเห็นต่าง ก็ให้มาแก้กันในการปฏิรูปได้หรือไม่ ไม่ชอบอะไร สิ่งที่ผ่านมาในอดีต อะไรที่ไม่ถูก มาแก้ในการปฏิรูปให้เกิดได้หรือไม่ แต่ขออย่างเดียวว่ากลไกปฏิรูปนี้ถ้าทำเพื่อส่วนรวมจริง ๆ ก็จะหาแนวทางที่ทุกคนเห็นชอบได้ตรงกัน นอกจากนี้จะมีการเปิดเวทีให้แต่ละคนที่มีพิมพ์เขียวของการปฏิรูปทั้งภาคเอกชน ภาควิชาการ ภาคประชาชน พรรคการเมือง ได้มีโอกาสนำเสนอหรือไม่ เพื่อให้เกิดกระบวนการการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน ซึ่งเป็นสิ่งที่เราจะได้ความสามัคคีกลับคืนมา
ด้านตัวแทนสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ได้เสนอแนวทางในการจัดตั้งคณะกรรมการกลางเพื่อสรรหากลุ่มบุคคลที่ได้รับการยอมรับจากทั้งสองฝ่าย เพื่อเข้ามาคัดเลือกบุคคลที่เสนอตรงกัน รวม 50 คนเข้ามาทำหน้าที่เสนอแนะแนวทางปฏิรูป โดยมีหน้าที่กำกับดูแลแนวทางการปฏิรูปให้เป็นไปตามกติกาซึ่งต้องอยู่ภายใต้การปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข และข้อเสนอจะต้องถูกต้องตามกฎหมายปฏิบัติได้จริง เพื่อประโยชน์ประเทศชาติและนำข้อเสนอที่ได้ไปทำประชามติซึ่งข้อเสนอที่จะได้รับการยอมรับจะต้องมีคะแนนสูงสุดหรือเกินกึ่งหนึ่งจากคะแนนประชามติ จากนั้นพรรคการเมืองต่าง ๆ ก็ควรมาร่วมแสดงสัตยาบันทำประชาสังคม เพื่อให้เกิดการปฏิรูปภายในเวลาที่กำหนด โดยมีรัฐสูงสุดในขณะนั้นคอยดูแล ไม่ว่าจะเป็นรัฐบาลชุดใหม่หรือรัฐบาลรักษาการ เมื่อเสร็จสิ้นก็ให้มีการยุบสภาฯ และจัดการเลือกตั้งใหม่
นายธีภัทร์ เสรีรังสรรค์ ประธานสภาพัฒนาการเมือง กล่าวว่า การแก้วิกฤติการเมือง เป็นเรื่องที่สำคัญในขณะนี้ก่อนจะมีโครงสร้างการปฏิรูป โดยการแก้ไขปัญหา ต้องเร่งหาคนกลางเป็นที่ยอมรับของสองฝ่ายมาช่วยไกล่เกลี่ย และต้องเข้าใจว่าความขัดแย้งที่เกิดขึ้นไม่ใช่เกิดจากความขัดแย้งระหว่างพรรคการเมืองหรือสีการเมืองแต่เป็นความขัดแย้งระหว่างรัฐบาลกับประชาชน ขณะเดียวกันควรจะมีการเลื่อนวันเลือกตั้งตามที่ กกต. เสนอ โดยรัฐบาลควรเป็นผู้เสียสละในฐานะผู้นำประเทศ เพื่อไม่ให้เกิดความแตกแยกในบ้านเมือง ส่วนข้อเสนอที่จะให้สภาพัฒน์เข้ามาเป็นตัวกลางหาทางออกนั้น เชื่อว่าขึ้นอยู่กับรัฐบาลและ กปปส.ที่จะพร้อมยอมรับหรือไม่มากกว่า ทั้งรัฐบาลรักษาการต้องลาออกและ กปปส. ต้องยุติการชุมนุมเช่นกัน เพื่อให้เกิดการจัดตั้งสภาประชาชน และจัดหารัฐบาลเฉพาะกาลเพื่อจัดการกับปัญหาความขัดแย้งที่เกิดขึ้น อย่างไรก็ดี แนวทางแก้ปัญหาเร่งด่วนที่เป็นรูปธรรมคือ รัฐบาลรักษาการต้องลาออกและให้มีคณะรัฐมนตรีชุดใหม่มาทำหน้าที่จัดให้มีการออกเสียงประชามติเพื่อถามความเห็นประชาชน ว่าเห็นด้วยที่จะให้มีการเลือกตั้งก่อนหรือหลังการเลือกตั้ง แต่เมื่อทุกฝ่ายเห็นด้วยกับการปฏิรูปก็น่าจะทำประชามติเพราะจะเป็นทางออกและแก้วิกฤติที่เกิดขึ้นได้ และวันนี้รัฐบาลควรจัดทำพิมพ์เขียวเรื่องการปฏิรูปให้ชัดเจนเพื่อสร้างความมั่นใจให้กับประชาชนและกลุ่ม กปปส. ว่าหากมีการเลือกตั้งแล้วประเทศจะได้รับการปฏิรูป
นายยุทธพร อิสรชัย คณบดีคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช กล่าวว่า วันนี้รัฐบาลเดินหน้าการเลือกตั้งคู่ขนานเวทีปฏิรูป และรัฐบาลควรมีพิมพ์เขียวการปฏิรูปที่ชัดเจนเพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับประชาชนและกลุ่ม กปปส. ว่าหากมีการเลือกตั้งแล้วประเทศจะได้รับการปฏิรูป ร่วมกับการทำสัตยาบันกับพรรคการเมืองนั่นเอง ทั้งนี้เห็นว่าการปฏิรูปในอดีตที่ไม่สำเร็จนั้นเพราะมีการตั้งโจทย์ที่กว้างเกินไป จึงต้องกลับมาหาวิธีการที่สอดคล้องกับปัญหาในสังคมโดยแก้ไปทีละเรื่อง และเปิดโอกาสให้ทุกฝ่ายออกแบบปฏิรูปของตัวเอง และให้หน่วยงานกลางเป็นผู้คัดเลือกแนวทางปฏิรูปที่สามารถปฏิบัติได้จริงของแต่ละกลุ่ม เพื่อให้รัฐบาลที่ได้รับการเลือกตั้งนำแนวทางไปปฏิรูปต่อไป ถ้าหากทำได้จริงประเทศจะหลุดจากกรอบปัญหา
ขณะเดียวกัน กรอบปฏิรูปในระยะสั้นถือเป็นสิ่งจำเป็น โดย 1. ต้องให้มีการยกร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญทั้งฉบับ ทั้งในเรื่องแก้ไขปัญหาระบบตรวจสอบให้อยู่ในเชิงสร้างสรรค์ และต้องให้ผู้ที่ยื่นตรวจสอบแสดงความรับผิดชอบโดยการถูกจำกัดสิทธิ์ห้ามร้องอีก หากผู้ถูกร้องไม่ได้มีความผิดจริง รวมถึงต้องปฏิรูปการทำหน้าที่ขององค์กรอิสระ เพราะองค์กรอิสระมีหน้าที่ถ่วงดุลทุกฝ่าย ไม่ใช่ถ่วงดุลรัฐบาลซึ่งเป็นหน้าที่ของฝ่ายค้าน 2. เรื่องของพรรคการเมือง ที่มานักการเมือง จะต้องทำให้นักการเมืองเป็นตัวแทนของประชาชนจริง ๆ เพราะบางครั้งยังถูกจำกัดสิทธิ์จากข้อกฎหมายและพรรคการเมือง 3. ต้องปฏิรูปสถาบันทางการเมืองทั้งในระดับชาติและท้องถิ่น กระจายอำนาจให้มีกลไกรับฟังความเห็นของเสียงข้างน้อยที่ดีพอ โดยอาจจะให้ประชาชน 20,000 คนเข้าชื่อเพื่อทำประชามติในเรื่องที่รัฐบาลหรือรัฐสภาจะตัดสินใจได้ หรือใช้จำนวน ส.ส. 1 ใน 10 หรือประมาณ 50 คนร่วมทำประชามติได้ หรือกำหนดตำแหน่งประธานสภาฯ 1 คนต้องมาจากฝ่ายค้าน หรือเปิดโอกาสให้มีการอภิปรายไม่ไว้วางใจประธานสภาฯ และรองประธานสภาฯ ด้วยได้หรือไม่ เพราะสิ่งเหล่านี้ถือเป็นกลไกรักษาสมดุลและการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพประชาชน ส่วนระยะยาวคือการเสริมสร้างวัฒนธรรมความเป็นประชาธิปไตยและช่วยแก้ไขความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจและสังคม
ด้านนายวราเทพ รัตนากร รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวว่า การที่ภาคเอกชนได้พูดชัดเจนและแสดงความคิดเห็นที่นายธีรภัทรฯ กล้าแสดงความคิดเห็นดังกล่าวบนเวทีที่อาจมีมติหลากหลาย ถือเป็นเวทีที่เปิดโอกาสให้แสดงความคิดเห็นที่เหมาะสมกับประเทศที่ใช้ระบอบประชาธิปไตยที่สุด ขณะนี้พรรคการเมืองทุกพรรคอยู่ในสถานะที่ลำบากใจตกเป็นจำเลยในสังคม หากจะนำเสนอนโยบายใด ๆ ออกไป ดังนั้น จึงเห็นว่าการเลือกตั้งไม่มีการประกาศนโยบายใด ๆ จากพรรคการเมือง เพราะทุกฝ่ายต้องการปฏิรูป ดังนั้นเวทีนี้จึงเป็นคนกลางที่จะนำนโยบายจากองค์กรต่าง ๆ ไปเสนอพรรคการเมืองเพื่อเดินหน้าสู่การเลือกตั้ง ตนเป็นส่วนหนึ่งในการเดินหน้าปฏิรูป ถ้าในที่ประชุมเห็นตรงกันก็จะเสนอพรรคการเมืองเพื่อเปิดเวทีเดินหน้าปฏิรูปต่อไป
ขณะที่นายจาตุรนต์ ฉายแสง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ กล่าวว่า ขณะนี้ทางเลือกมีสองทางคือทำตามรัฐธรรมนูญและไม่ทำตามรัฐธรรมนูญ หากไม่ทำตามรัฐธรรมนูญหรือทำตามข้อเรียกร้องของบางกลุ่มก็ไม่ทราบว่าจะมีกฎหมายใดมารองรับ ซึ่งอาจจะเกิดปัญหาทำให้ประชาชนอีกฝ่ายหนึ่งเกิดความไม่พอใจ หรือหากทำตามรัฐธรรมนูญก็ขอให้เสนอกลไกกติกาแนวทางปฏิรูปที่ชัดเจน อาจจะเสนอให้พรรคการเมืองทุกพรรคมีการทำสัตยาบันหรือหากเป็นไปไม่ได้ก็ต้องให้พรรคการเมืองที่มีแนวโน้มจะได้เป็นรัฐบาลมากที่สุดทำสัตยาบันเพื่อเดินหน้าปฏิรูปประเทศ ซึ่งรัฐบาลที่ได้ภายหลังการเลือกตั้ง จะต้องทำหน้าที่เป็นเสมือนรัฐบาลรักษาการที่อาจจะไม่ได้ดำเนินนโยบายอื่น ๆ แต่จะต้องทำเรื่องการปฏิรูปเป็นหลัก โดยภาคเอกชนจะต้องเสนอประเด็นการปฏิรูปให้ชัดเจน
นายนิวัฒน์ธำรง บุญทรงไพศาล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ กล่าวว่า ตนอยากให้เวทีปฏิรูปนี้เดินหน้าต่อไป โดยอาจจะมีการตั้งเลขาฯ เพื่อรวบรวมความคิดเห็นให้เป็นรูปธรรม เป็นกรอบแนวคิดเพื่อเริ่มต้น นำหัวข้อที่จะปฏิรูปโดยไม่ต้องลงรายละเอียดเพื่อหารือในครั้งต่อไป
จากนั้น ในเวลา 16.40 น. นายกรัฐมนตรีได้กล่าวสรุปภายหลังการหารือว่า เราขอรับข้อเสนอของที่ประชุม แต่สิ่งที่จะต้องทำให้เร็วที่สุด คือการที่ภาคประชาชนต้องมีส่วนร่วม สามารถนำไปใช้ได้จริง และต้องคิดต่อว่าจะทำอย่างไรเพื่อเปิดพื้นที่ให้กับประชาชน เช่น การเปิดเว็บไซต์แสดงความคิดเห็น หรือแม้กระทั่งการส่งไปรษณียบัตรในการส่งข้อมูล จึงขอนำข้อสรุปในวันนี้มาให้ฝ่ายเลขานุการจัดเก็บ ส่วนผู้ใดที่คิดว่าถึงเวลาเหมาะสมที่จะคุยกันอีกครั้ง ก็ใช้เวทีนี้ในการเปิดเวทีพูดอีกครั้ง เพราะส่วนตัวนายกรัฐมนตรีคงไม่อยู่ด้วยในเวทีนี้ตลอด เพราะที่มาวันนี้เพียงเพื่อขอความคิดเห็นหลาย ๆ ฝ่าย ถือว่าเป็นจุดเริ่มต้นเท่านั้น หากเวทีลักษณะนี้จุดติดแล้วก็จะเป็นเวทีกลางของทุกคนเพื่อเก็บข้อมูลทั้งหมด และสื่อสารต่อไปยังสาธารณชนให้ประชาชนได้ฟัง และแสดงความคิดเห็น และหวังว่าพรรคการเมืองที่จะหาเสียงต่อไปจะเอาข้อคิดเห็นของเวทีต่าง ๆ หรือเวทีที่ผ่านมานำไปบรรจุในนโยบาย ซึ่งส่วนตัวขอยืนยันว่าจะไม่สูญเปล่าอย่างแน่นอน พร้อมจะให้นายวราเทพ รัตนากร รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีฯ เป็นผู้เสนอไปยังพรรคการเมืองที่มีความสมัครใจ เพื่อนำสิ่งที่ทุกคนเสนอให้สามารถนำไปปฏิบัติ ทั้งนี้ ต้องขอขอบคุณทุกคนที่มาร่วมในวันนี้ แม้ว่าเวทีนี้จะไม่สามารถสรุปในสิ่งต่าง ๆ แต่เชื่อว่าสิ่งที่ได้เห็นคือเป็นโอกาสในการเปิดทุกเวทีในการหารือกัน แม้เป็นเปอร์เซ็นต์ที่น้อยนิดของการเปิดเวทีในการพูดคุยกัน เปิดทางในการหาวิธีการแนวทางสันติ ก็ยังเชื่อว่าเวทีนี้ยังเปิดรับอยู่ในทุก ๆ ที่ และขอขอบคุณที่กรุณาเสียสละเวลาและมีความพยายามที่จะปฏิรูปประเทศ รวมทั้งยืนยันว่าเรายินดีให้ความร่วมมือทุกอย่าง
 ที่มา ; เว็บรัฐบาลไทย

... เน็ตช้า คลิ๊กที่ http://tuewsob.blogspot.com

... ห้องวิชาเอกครู คลิ๊กที่ http://uewsob2011.blogspot.com

... (ห้องข้อสอบใหม่) ..สอบครู..สอบผู้บริหาร..สอบบุคลากร ที่

"ติวสอบดอทคอม "
ผอ.นิกร  เพ็งลี

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

พัฒนาความรู้ครูผู้ช่วย 4 ภาค

พัฒนาความรู้ครูผู้ช่วย 4 ภาค
พัฒนาความรู้ครูผู้ช่วย 4 ภาค

ห้องสนทนา บน facebook

ห้องสนทนา บน facebook
ห้องสนทนาติวสอบดอทคอม

ข้อสอบออนไลน์ "ติวสอบดอทคอม" ชุดใหม่

คู่มือเตรียมสอบผู้บริหาร ภาค ก ข ค

แจ้งย้ายเว็บไปที่ www.tuewsob.com

คู่มือเตรียมสอบผู้บริหาร ภาค ก ข ค (ปรับปรุงใหม่)

รวม เล่ม + แผ่นพับ + ชีตช่วยจำ + DVD เนื้อหา + เสียงบรรยาย + EMS = 800 บาท
สนใจ คู่มือ ภาค ก ข ค ผู้บริหาร คลิ๊กเลย

สั่งจอง... โอนเงินเข้าชื่อบัญชี นายนิกร เพ็งลี ธนาคารกรุงไทย สาขาจอหอ บัญชีเลขที่ 341-1-38912-5 โอนเงินแล้วกรุณาโทรแจ้ง
0872494141 หรือ 0839660030

คู่มือ เตรียมสอบผู้บริหาร

คู่มือ เตรียมสอบผู้บริหาร
คู่มือ เตรียมสอบผู้บริหาร

ติวสอบออนไลน์ บน facebook

ติวสอบออนไลน์ บน facebook
ติวสอบออนไลน์ บน facebook

คลังหนังสือ ติวสอบดอทคอม

คลังหนังสือ ติวสอบดอทคอม
คลังหนังสือ ติวสอบดอทคอม

ติวสอบดอทคอม

ติวสอบดอทคอม
ติวสอบดอทคอม