ข้อสอบออนไลน์ (สอบครู-ผู้บริหาร-บุคลากรการศึกษา) ชุดใหม่ล่าสุด
ติวสอบออนไลน์ ชุด นโยบายรัฐบาล
ลิงค์ข้อสอบ ที่เกี่ยวข้องกับ "นโยบายรัฐบาล" โดย ติวสอบดอทคอม
http://tuewsob.blogspot.com/2013/11/blog-post_4.html
http://www.tuewsob.com/rr164.html
http://www.tuewsob.com/rr%20157%20pu%201.html
http://tuewsob.blogspot.com/2013/10/132556.html
http://tuewsob.blogspot.com/2013/10/blog-post_31.html
http://www.tuewsob.com/rr164.html
http://www.tuewsob.com/rr%20157%20pu%201.html
http://tuewsob.blogspot.com/2013/10/132556.html
http://tuewsob.blogspot.com/2013/10/blog-post_31.html
มหาลัยเสิร์ฟช่องอาชีพ น.ศ.เปิดระบบออนไลน์หางานผ่านเว็บไซต์
"การเรียนให้จบมหาวิทยาลัยเป็นเรื่องยากแล้ว แต่การหางานทำเป็นเรื่องยากกว่า" ประโยคข้างต้นอาจใช้ได้กับหลาย ๆ คน แต่อาจไม่สอดคล้องกับคนบางกลุ่ม ด้วยปัจจุบันเกือบทุกมหาวิทยาลัยมีการแนะแนว
รองอธิการบดี รศ.ดร.ธนิต ธงทอง อาชีพให้นักศึกษาก่อนออกจากรั้วสถานศึกษา ไม่ว่าจะเป็นการเปิดคลาสแนะนำการเตรียมตัวสมัครงานจากมหาวิทยาลัยเอง หรือหน่วยงานภายนอก รวมถึงการจัด Job Fair ให้บริษัทเอกชนเข้ามาเปิดบูทรับสมัครงาน
ยิ่งกว่านั้น มหาวิทยาลัยบางแห่งเปิดเว็บไซต์จัดหางานออนไลน์ให้กับนักศึกษา ซึ่งไม่เพียงแต่จะมีบริษัทไทยเข้ามาประกาศลงตำแหน่งงานว่างเท่านั้น มหาวิทยาลัยยังได้ขยายความร่วมมือชักจูงบริษัทต่างชาติมาเป็นสมาชิกเว็บไซต์ เพื่อขยายโอกาสการทำงานให้นักศึกษาได้สร้างประสบการณ์การทำงานต่างแดน
เหมือนกับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีการเปิด CU eJob Online เป็นระบบที่ค้นหาตำแหน่งงานว่าง และสามารถลงประวัติส่วนตัว เพื่อให้บริษัทที่มีความสนใจ สามารถพิจารณาและคัดเลือกตามความต้องการ ทั้งยังทำให้นิสิตมีความสะดวกที่สามารถค้นหางานได้ตลอดเวลาด้านกิจการนิสิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า ระบบนี้อนุญาตให้เฉพาะนิสิตเก่าและนิสิตปัจจุบันเท่านั้น โดยการเข้าสู่ระบบจะต้องล็อกอินรหัสนักศึกษาในการเข้าใช้งาน และเนื่องจากประเทศไทยกำลังก้าวสู่ประชาคมอาเซียน มหาวิทยาลัยจึงเปิดให้บริษัท และหน่วยงานต่าง ๆ จากประเทศอาเซียนสามารถลงทะเบียนผ่าน CU eJob Online ได้ โดยจุฬาฯมองว่าการขยายช่องทางการหางานผ่านอินเทอร์เน็ต ถือเป็นการเพิ่มโอกาสให้นิสิตที่ต้องการก้าวไปสู่ตลาดงานอาเซียน
ปัจจุบันมีบริษัทจากประเทศอาเซียนเข้ามาใช้งานในระบบดังกล่าว อาทิ มาเลเซีย, อินโดนีเซีย และสิงคโปร์ โดยเชื่อมโยงกับเครือข่ายคอนแท็กต์สิงคโปร์ (Contact Singapore) หน่วยงานด้านการจัดหางาน ซึ่งอยู่ภายใต้กระทรวงแรงงาน และคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจสิงคโปร์ที่ทำ
หน้าที่หาคนทำงานไปป้อนบริษัทเอกชน สำหรับตำแหน่งงานที่นิสิตออกไปทำงานในต่างประเทศมากที่สุดคือวิศวกรและบริหารธุรกิจ ส่วนประเทศที่นิสิตนิยมไปทำงานมากที่สุดคือสิงคโปร์
"เราจะใช้ความร่วมมือที่มีอยู่คือการเป็นสมาชิกเครือข่ายมหาวิทยาลัยอาเซียน (AUN : ASEAN University Networks) เป็นกลไกในการเตรียมนิสิตเข้าสู่ตลาดแรงงาน ขณะเดียวกัน เราไม่ได้มองเฉพาะตลาดงานในอาเซียน แต่ยังมองถึงระดับโลกด้วย ดังนั้น เราจะแสวงหาความร่วมมือเพิ่มเติมทั้งกับภาครัฐและเอกชน นอกจากนั้น ในปีนี้เรายังจัดทำระบบติดตามผลอย่างชัดเจนเพื่อทราบข้อมูลการดำเนินงานว่ามีนักศึกษาตอบรับเข้าร่วม CU eJob Online มาก
น้อยเพียงใด และจำนวนนักศึกษาที่ออกไปทำงานยังต่างประเทศมีเท่าไหร่"
ในทางเดียวกัน สถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น ผลผลิตของสมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น) ก่อตั้งขึ้นเพื่อสร้างบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญเทคโนโลยีเฉพาะทาง เพื่อป้อนให้กับภาคธุรกิจและอุตสาหกรรมกล่าวว่า บัณฑิตที่จบมาย่อมมีความสามารถตรงตามความต้องการของตลาดงาน โดยเฉพาะบริษัทสัญชาติญี่ปุ่น
"รศ.กฤษดา วิศวธีรานนท์" อธิการบดีสถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น กล่าวว่า ทุกหลักสูตรการเรียนการสอนที่เปิดขึ้นมาจะสอดคล้องกับความต้องการของภาคอุตสาหกรรม ซึ่งสถาบันมีการเตรียมความพร้อมให้นักศึกษาก้าวสู่การทำงานในหลาย
แนวทาง ทั้งการเปิดวิชา Career Development ที่จะสอนวิธีเตรียมตัวสมัครงาน และวิเคราะห์ตัวเองว่าเหมาะสมกับงานประเภทใด
ขณะเดียวกัน ยังมี Career Campus ด้วยการเชิญบริษัทไทยและต่างชาติมาแนะนำข้อมูลบริษัทของตัวเอง เพื่อประกอบการรับรู้และการตัดสินใจการเลือกอาชีพในอนาคตของนักศึกษา รวมถึงยังมี Job Fair โดยบริษัทที่มาออกบูทในสถาบันส่วนใหญ่เป็นบริษัทไทย 20% ที่เหลือเป็นบริษัทญี่ปุ่นและชาติอื่น ๆ ซึ่ง Job Fair ทำให้นักศึกษาประมาณ 50% สมัครงาน และได้งานก่อนเรียนจบ
"ปีที่แล้วมีตัวแทนบริษัท SMEs 2-3 แห่งจากญี่ปุ่นบินมาออกบูทด้วยตัวเอง และปีนี้ เพิ่มเป็น 10 กว่าบริษัท โดยเขาอยากได้นักศึกษาของเราไปทำงานที่ญี่ปุ่นเลย เพื่อรับไปฝึกงานก่อนสักระยะ ก่อนที่จะส่งกลับมาประจำการที่ไทย ทั้งนี้ บริษัทเอสเอ็มอีของญี่ปุ่นมาลงทุนในไทยมากกว่า 100 บริษัท/ปี จึงมีแนวโน้มว่าในอนาคตจะมีบริษัทญี่ปุ่นมาออกบูทรับนักศึกษาเพิ่มมากขึ้น"
นอกจากนี้ สถาบันยังมีเว็บไซต์ Job TNI เพื่อเสริมช่องทางการหางานให้กับนักศึกษา
โดยนักศึกษาสามารถฝากข้อมูลของตัวเองได้ รวมถึงเข้าไปเลือกสรรตำแหน่งงานที่ต้องการ ที่ผ่านมานอกจากบริษัทไทยจะสมัครเป็นสมาชิกเว็บไซต์แล้ว ยังมีบริษัทญี่ปุ่นจำนวนมากเข้ามาลงตำแหน่งงานว่าง เพราะไม่ได้มาออกบูทใน Job Fair โดยสัดส่วนการใช้งานเว็บไซต์หางานออนไลน์ของนักศึกษาอยู่ที่ 20% ทั้งนี้ สถาบันเตรียมวางแผนประชาสัมพันธ์ให้บริษัทญี่ปุ่นเข้ามาใช้บริการเว็บไซต์ Job TNI มากขึ้นกว่าเดิม
"สำหรับการไปทำงานในต่างประเทศของนักศึกษา ส่วนใหญ่เป็นลักษณะของการทำงานกับบริษัทญี่ปุ่นแล้วไปประจำสาขาที่อยู่ตามประเทศอาเซียนมากกว่า ทั้งนี้ โดยเฉลี่ยในแต่ละปีมีนักศึกษาจบ 700-800 คน ในจำนวนนี้ไปทำงานยัง ต่างประเทศประมาณ 5% และคาดว่าจะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง"
แม้ปัจจุบันจะมีบริษัทจัดหางานหลายเว็บไซต์ แต่การที่มหาวิทยาลัยเปิดเพจรับสมัครงานออนไลน์ของตัวเอง จึงน่าจะ เป็นการช่วยอำนวยความสะดวกให้กับนักศึกษาอีกทางหนึ่งซึ่งล้วนเป็นเรื่องที่ดีทั้งสิ้น
รองอธิการบดี รศ.ดร.ธนิต ธงทอง อาชีพให้นักศึกษาก่อนออกจากรั้วสถานศึกษา ไม่ว่าจะเป็นการเปิดคลาสแนะนำการเตรียมตัวสมัครงานจากมหาวิทยาลัยเอง หรือหน่วยงานภายนอก รวมถึงการจัด Job Fair ให้บริษัทเอกชนเข้ามาเปิดบูทรับสมัครงาน
ยิ่งกว่านั้น มหาวิทยาลัยบางแห่งเปิดเว็บไซต์จัดหางานออนไลน์ให้กับนักศึกษา ซึ่งไม่เพียงแต่จะมีบริษัทไทยเข้ามาประกาศลงตำแหน่งงานว่างเท่านั้น มหาวิทยาลัยยังได้ขยายความร่วมมือชักจูงบริษัทต่างชาติมาเป็นสมาชิกเว็บไซต์ เพื่อขยายโอกาสการทำงานให้นักศึกษาได้สร้างประสบการณ์การทำงานต่างแดน
เหมือนกับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีการเปิด CU eJob Online เป็นระบบที่ค้นหาตำแหน่งงานว่าง และสามารถลงประวัติส่วนตัว เพื่อให้บริษัทที่มีความสนใจ สามารถพิจารณาและคัดเลือกตามความต้องการ ทั้งยังทำให้นิสิตมีความสะดวกที่สามารถค้นหางานได้ตลอดเวลาด้านกิจการนิสิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า ระบบนี้อนุญาตให้เฉพาะนิสิตเก่าและนิสิตปัจจุบันเท่านั้น โดยการเข้าสู่ระบบจะต้องล็อกอินรหัสนักศึกษาในการเข้าใช้งาน และเนื่องจากประเทศไทยกำลังก้าวสู่ประชาคมอาเซียน มหาวิทยาลัยจึงเปิดให้บริษัท และหน่วยงานต่าง ๆ จากประเทศอาเซียนสามารถลงทะเบียนผ่าน CU eJob Online ได้ โดยจุฬาฯมองว่าการขยายช่องทางการหางานผ่านอินเทอร์เน็ต ถือเป็นการเพิ่มโอกาสให้นิสิตที่ต้องการก้าวไปสู่ตลาดงานอาเซียน
ปัจจุบันมีบริษัทจากประเทศอาเซียนเข้ามาใช้งานในระบบดังกล่าว อาทิ มาเลเซีย, อินโดนีเซีย และสิงคโปร์ โดยเชื่อมโยงกับเครือข่ายคอนแท็กต์สิงคโปร์ (Contact Singapore) หน่วยงานด้านการจัดหางาน ซึ่งอยู่ภายใต้กระทรวงแรงงาน และคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจสิงคโปร์ที่ทำ
หน้าที่หาคนทำงานไปป้อนบริษัทเอกชน สำหรับตำแหน่งงานที่นิสิตออกไปทำงานในต่างประเทศมากที่สุดคือวิศวกรและบริหารธุรกิจ ส่วนประเทศที่นิสิตนิยมไปทำงานมากที่สุดคือสิงคโปร์
"เราจะใช้ความร่วมมือที่มีอยู่คือการเป็นสมาชิกเครือข่ายมหาวิทยาลัยอาเซียน (AUN : ASEAN University Networks) เป็นกลไกในการเตรียมนิสิตเข้าสู่ตลาดแรงงาน ขณะเดียวกัน เราไม่ได้มองเฉพาะตลาดงานในอาเซียน แต่ยังมองถึงระดับโลกด้วย ดังนั้น เราจะแสวงหาความร่วมมือเพิ่มเติมทั้งกับภาครัฐและเอกชน นอกจากนั้น ในปีนี้เรายังจัดทำระบบติดตามผลอย่างชัดเจนเพื่อทราบข้อมูลการดำเนินงานว่ามีนักศึกษาตอบรับเข้าร่วม CU eJob Online มาก
น้อยเพียงใด และจำนวนนักศึกษาที่ออกไปทำงานยังต่างประเทศมีเท่าไหร่"
ในทางเดียวกัน สถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น ผลผลิตของสมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น) ก่อตั้งขึ้นเพื่อสร้างบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญเทคโนโลยีเฉพาะทาง เพื่อป้อนให้กับภาคธุรกิจและอุตสาหกรรมกล่าวว่า บัณฑิตที่จบมาย่อมมีความสามารถตรงตามความต้องการของตลาดงาน โดยเฉพาะบริษัทสัญชาติญี่ปุ่น
"รศ.กฤษดา วิศวธีรานนท์" อธิการบดีสถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น กล่าวว่า ทุกหลักสูตรการเรียนการสอนที่เปิดขึ้นมาจะสอดคล้องกับความต้องการของภาคอุตสาหกรรม ซึ่งสถาบันมีการเตรียมความพร้อมให้นักศึกษาก้าวสู่การทำงานในหลาย
แนวทาง ทั้งการเปิดวิชา Career Development ที่จะสอนวิธีเตรียมตัวสมัครงาน และวิเคราะห์ตัวเองว่าเหมาะสมกับงานประเภทใด
ขณะเดียวกัน ยังมี Career Campus ด้วยการเชิญบริษัทไทยและต่างชาติมาแนะนำข้อมูลบริษัทของตัวเอง เพื่อประกอบการรับรู้และการตัดสินใจการเลือกอาชีพในอนาคตของนักศึกษา รวมถึงยังมี Job Fair โดยบริษัทที่มาออกบูทในสถาบันส่วนใหญ่เป็นบริษัทไทย 20% ที่เหลือเป็นบริษัทญี่ปุ่นและชาติอื่น ๆ ซึ่ง Job Fair ทำให้นักศึกษาประมาณ 50% สมัครงาน และได้งานก่อนเรียนจบ
"ปีที่แล้วมีตัวแทนบริษัท SMEs 2-3 แห่งจากญี่ปุ่นบินมาออกบูทด้วยตัวเอง และปีนี้ เพิ่มเป็น 10 กว่าบริษัท โดยเขาอยากได้นักศึกษาของเราไปทำงานที่ญี่ปุ่นเลย เพื่อรับไปฝึกงานก่อนสักระยะ ก่อนที่จะส่งกลับมาประจำการที่ไทย ทั้งนี้ บริษัทเอสเอ็มอีของญี่ปุ่นมาลงทุนในไทยมากกว่า 100 บริษัท/ปี จึงมีแนวโน้มว่าในอนาคตจะมีบริษัทญี่ปุ่นมาออกบูทรับนักศึกษาเพิ่มมากขึ้น"
นอกจากนี้ สถาบันยังมีเว็บไซต์ Job TNI เพื่อเสริมช่องทางการหางานให้กับนักศึกษา
โดยนักศึกษาสามารถฝากข้อมูลของตัวเองได้ รวมถึงเข้าไปเลือกสรรตำแหน่งงานที่ต้องการ ที่ผ่านมานอกจากบริษัทไทยจะสมัครเป็นสมาชิกเว็บไซต์แล้ว ยังมีบริษัทญี่ปุ่นจำนวนมากเข้ามาลงตำแหน่งงานว่าง เพราะไม่ได้มาออกบูทใน Job Fair โดยสัดส่วนการใช้งานเว็บไซต์หางานออนไลน์ของนักศึกษาอยู่ที่ 20% ทั้งนี้ สถาบันเตรียมวางแผนประชาสัมพันธ์ให้บริษัทญี่ปุ่นเข้ามาใช้บริการเว็บไซต์ Job TNI มากขึ้นกว่าเดิม
"สำหรับการไปทำงานในต่างประเทศของนักศึกษา ส่วนใหญ่เป็นลักษณะของการทำงานกับบริษัทญี่ปุ่นแล้วไปประจำสาขาที่อยู่ตามประเทศอาเซียนมากกว่า ทั้งนี้ โดยเฉลี่ยในแต่ละปีมีนักศึกษาจบ 700-800 คน ในจำนวนนี้ไปทำงานยัง ต่างประเทศประมาณ 5% และคาดว่าจะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง"
แม้ปัจจุบันจะมีบริษัทจัดหางานหลายเว็บไซต์ แต่การที่มหาวิทยาลัยเปิดเพจรับสมัครงานออนไลน์ของตัวเอง จึงน่าจะ เป็นการช่วยอำนวยความสะดวกให้กับนักศึกษาอีกทางหนึ่งซึ่งล้วนเป็นเรื่องที่ดีทั้งสิ้น
ที่มา: หนังสือพิมพ์ประชาชาติธุรกิจ ฉบับวันที่ 23 - 26 ม.ค. 2557-
ที่มา ; เว็บกระทรวงศึกษาธิการ
... เน็ตช้า คลิ๊กที่ http://tuewsob.blogspot.com
... ห้องวิชาเอกครู คลิ๊กที่ http://uewsob2011.blogspot.com
... (ห้องข้อสอบใหม่) ..สอบครู..สอบผู้บริหาร..สอบบุค ลากร ที่
"ติวสอบดอทคอม "
ผอ.นิกร เพ็งลี
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น