อาชีวะกับ สพฐ. เปิดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (KM) โครงการอาหารกลางวันอย่างยั่งยืน
ข้อสอบออนไลน์ (สอบครู-ผู้บริหาร-บุคลากรการศึกษา) ชุดใหม่ล่าสุด
ติวสอบออนไลน์ ชุด นโยบายรัฐบาล
ลิงค์ข้อสอบ ที่เกี่ยวข้องกับ "นโยบายรัฐบาล" โดย ติวสอบดอทคอม
http://tuewsob.blogspot.com/2013/11/blog-post_4.html
http://www.tuewsob.com/rr164.html
http://www.tuewsob.com/rr%20157%20pu%201.html
http://tuewsob.blogspot.com/2013/10/132556.html
http://tuewsob.blogspot.com/2013/10/blog-post_31.html
http://www.tuewsob.com/rr164.html
http://www.tuewsob.com/rr%20157%20pu%201.html
http://tuewsob.blogspot.com/2013/10/132556.html
http://tuewsob.blogspot.com/2013/10/blog-post_31.html
ข่าวสำนักงานรัฐมนตรี 24/2557ติดตามความก้าวหน้าในการขับเคลื่อนนโยบายการอาชีวศึกษา
ศึกษาธิการ - นายจาตุรนต์ ฉายแสง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ พร้อมด้วย ดร.กิตติ ลิ่มสกุล ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงศึกษาธิการ ร่วมประชุมเพื่อติดตามความก้าวหน้าในการขับเคลื่อนโยบายกระทรวงศึกษาธิการ ของสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) โดยมี ดร.ชัยพฤกษ์ เสรีรักษ์ เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ดร.สุทธศรี วงษ์สมาน ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ และผู้บริหารระดับสูงของอาชีวศึกษา เข้าร่วมประชุม เมื่อวันที่ 29 มกราคม 2557 ณ ห้องประชุมโรงเรียนนวมินทราชินูทิศ หอวัง จ.นนทบุรี
นางปัทมา วีระวานิช ผู้อำนวยการสำนักพัฒนาสมรรถนะครูและบุคลากรอาชีวศึกษา กล่าวรายงานความก้าวหน้าการขับเคลื่อนนโยบายของ สอศ. โดยมีสาระสำคัญสรุปดังนี้
- นโยบายที่ 1 ประเมินสถานการณ์อาชีวศึกษาโดยเร่งด่วน เพื่อนำมากำหนดแนวนโยบายที่สอดคล้องกับปัญหาและสถานการณ์
- สอศ.ได้ดำเนินความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ ในการวิจัยสถานการณ์อาชีวศึกษา เผยแพร่ผลการวิจัยให้กับทุกสำนักและหน่วยงาน นำไปใช้ในการวางแผนและพัฒนา และจัดทำแผนปฏิบัติการของ สอศ. ปีงบประมาณ พ.ศ.2557 พร้อมทั้งปรับยุทธศาสตร์และแผนพัฒนาการอาชีวศึกษา และจัดทำSchool Mapping/Occupation Mapping/Micro Mapping โดยคาดหวังว่าจะให้เกิดการแก้ปัญหาและพัฒนาอาชีวศึกษาสอดคล้องกับทิศทางการพัฒนาทั้งในมิติพื้นที่ (Area Based) มิตินโยบาย (Agenda Based) และยุทธศาสตร์ประเทศ
- นโยบายที่ 2 เร่งผลิตกำลังคนระดับ ปวช. ปวส. รวมถึงหลักสูตรระยะสั้น เพื่อรองรับการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคม และLogistic ของประเทศ
สอศ.ได้จัดตั้งคณะกรรมการ กรอ.อศ. และคณะอนุกรรมการ กรอ.อศ. 3 กลุ่มอาชีพ พร้อมจัดตั้งคณะอนุกรรมการ กรอ.อศ.กลุ่มอาชีพอีก 4 กลุ่มอาชีพเพิ่มเติมในอนาคต ได้แก่ กลุ่มอาชีพปิโตรเลียมและพลาสติก พลังงาน เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (รวมโทรคมนาคม) และอุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่มและแฟชั่น ทั้งนี้ได้จัดประชุมคณะกรรมการ กรอ.อศ. และเร่งพัฒนาอาชีวศึกษารายกลุ่มอาชีพ โดยคาดหวังให้เกิดการจัดอาชีวศึกษาแบบมีส่วนที่คุณภาพตรงกับความต้องการของสถานประกอบการ ในกลุ่มอาชีพนำร่อง 12 กลุ่มอาชีพ- นโยบายที่ 3 เร่งผลักดันให้เกิดระบบกรอบคุณวุฒิวิชาชีพ โดยดำเนินการนำร่องบางสาขาอาชีพ ร่วมกับภาคเอกชน สมาคมวิชาชีพและกับต่างประเทศ เพื่อให้เป็นมาตรฐานสากล
สอศ.ได้พัฒนาและจัดทำกรอบมาตรฐานคุณวุฒิอาชีวศึกษาแห่งชาติ และมาตรฐานคุณวุฒิอาชีวศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ พร้อมทั้งนำร่องระบบคุณวุฒิวิชาชีพ จำนวน 7 กลุ่มสาขาวิชา ได้แก่ ปิโตรเคมี พาณิชย์นาวี ช่างเชื่อม เทคโนโลยีระบบเสียง แม่พิมพ์และชิ้นส่วนยานยนต์ ไฟฟ้า และช่างก่อสร้าง โดยในอนาคต สอศ.มีแผนที่จะกำหนดมาตรฐานอาชีพและสมรรถนะวิชาชีพ และพัฒนาหลักสูตรและการเรียนการสอนฐานสมรรถนะต่อเนื่องให้แล้วเสร็จอีก 3 กลุ่มสาขาวิชา ได้แก่ การท่องเที่ยว พลังงาน และอัญมณี และกำหนดกรอบค่าตอบแทนตามสมรรถนะวิชาชีพ/มาตรฐานอาชีพร่วมกับสถานประกอบการ โดยคาดหวังให้เกิดการขับเคลื่อนและพัฒนาระบบการศึกษาตามกรอบคุณวุฒิแห่งชาติและกรอบมาตรฐานคุณวุฒิอาชีวศึกษาแห่งชาติ มีการยกระดับมาตรฐานสมรรถนะผู้สำเร็จอาชีวศึกษารายบุคคล สถานศึกษาได้รับการสนับสนุนส่งเสริมการนำร่องระบบ รวมทั้งมีคุณวุฒิวิชาชีพในการจัดการอาชีวศึกษา ได้หลักสูตรฐานสมรรถนะที่สอดคล้องกับมาตรฐานอาชีพ/สมรรถนะวิชาชีพ และได้กรอบค่าตอบแทนตามสมรรถนะวิชาชีพ/มาตรฐานอาชีพ- นโยบายที่ 4 ขยายและยกระดับการเรียนการสอนระบบทวิภาคีเพื่อยกระดับผลผลิตให้มีความรู้เทคโนโลยีที่ทันสมัยมากขึ้น ระดับสูงขึ้น และเพิ่มรูปแบบความร่วมมือมากขึ้น
สอศ.ได้ดำเนินการพัฒนาครูฝึกในสถานประกอบการ ยกย่องเชิดชูเกียรติสถานศึกษาและสถานประกอบการ เพิ่มปริมาณผู้เรียนอาชีวศึกษาทวิภาคี รวมทั้งจัดทำความกับภาคเอกชน เช่น บริษัทบางจากปิโตเลียม จำกัด (มหาชน) บริษัทมาร์ซัน จำกัด สมาคมธุรกิจสร้างบ้าน กลุ่มบริษัทผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ รับนักศึกษาทวิภาคี โดย สอศ.มีแผนดำเนินการในปี 2557 คือ จัดตั้งศูนย์การเรียนรู้ทางไกลระบบทวิภาคี จัดตั้งสถานศึกษาต้นแบบ German Model การวิจัยและประเมินผลการจัดอาชีวศึกษาทวิภาคี เป็นต้น โดยคาดหวังให้เกิดการเพิ่มปริมาณผู้เรียนและคุณภาพผู้สำเร็จอาชีวศึกษา การปรับเปลี่ยนภาพลักษณ์ การยกระดับรูปแบบการจัดการศึกษา และการพัฒนาและขยายความร่วมมือการจัดอาชีวศึกษาทวิภาคี- นโยบายที่ 5 พัฒนาระบบความร่วมมือกับต่างประเทศมากขึ้น ในเรื่องหลักๆ ที่มีความสำคัญและเป็นประโยชน์กับการพัฒนาประเทศ
สอศ.ได้หารือความร่วมมือกับ KOICA/HRD Korea และลงนามความร่วมมือกับ Beijing Jinsong Vocational School ได้จัดตั้งห้องเรียนภาษาขงจื้อและสถาบันขงจื้อ และมีแผนที่จะแลกเปลี่ยนนักเรียนสาขา Catering กับ Beijing Jinsong Vocational School รวมทั้งขยายผลความร่วมมือเมืองเทียนจิน ด้วย โดยคาดหวังให้เกิดการยกระดับคุณภาพอาชีวศึกษาสู่มาตรฐานสากล- นโยบายที่ 6 ปรับภาพลักษณ์การอาชีวศึกษา (Rebranding) สร้างภาพลักษณ์ใหม่ ทันสมัย ไม่ทะเลาะวิวาท มีความร่วมมือกับบริษัทใหญ่ ได้มาตรฐาน จบแล้วมีงานทำ
สอศ.ได้สร้างแบรนด์อาชีวะ พร้อมทั้งเร่งประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อที่มีประสิทธิภาพ และร่วมมือกับองค์กรขนาดใหญ่เพื่อเสริมสร้างภาพลักษณ์ผู้เรียนอาชีวศึกษา จัดแนะแนวเชิงรุก Road Show จัด Open House และจัดกิจกรรมปลูกฝังแนวคิดด้านวิชาชีพแก่นักเรียนระดับมัธยมศึกษา นอกจากนี้ยังมีแผนที่จะ เข้าพบสถานประกอบการเพิ่มเติมเพื่อระดมทุนผ่านกิจกรรม 5 ให้ 5 ได้ และขับเคลื่อนโครงการรวมพลังสร้างช่าง พัฒนาชาติไทย โดยคาดหวังให้เกิดทัศนคติเชิงบวกต่อผู้เรียนอาชีวศึกษา และเพิ่มปริมาณผู้เรียนอาชีวศึกษาจากกิจกรรมการเสริมสร้างภาพลักษณ์- นโยบายที่ 7 ยกระดับการศึกษาของแรงงานไทย ปัจจุบันแรงงานกว่า 25 ล้านคน หรือ 52% ยังไม่จบมัธยมศึกษา จึงควรส่งเสริมให้ยกระดับการศึกษา โดยอาจร่วมกับสถานประกอบการ หรือเปิดให้มาเรียนวันหยุด และ สอศ. มีบทบาทในการดูแลมาตรฐานคุณภาพ และครู อาจารย์
สอศ.ได้พัฒนาโมดูล 32 อาชีพ พัฒนาคู่มือแนวทางการจัดการเรียนการสอน การสร้างความรู้ความเข้าใจโดยการจัดเป็นศูนย์จังหวัด จัดการเรียนการสอนในกลุ่มเป้าหมายพิเศษ และพัฒนารูปแบบการจัดการศึกษาระบบทวิภาคี (ศูนย์ทวิภาคี) ทั้งนี้ สอศ.มีแผนที่จะขยายกลุ่มเป้าหมายและให้บริการการศึกษาวิชาชีพครอบคลุมทุกสถานศึกษา โดยคาดหวังให้แรงงานไทยได้รับการยกระดับการศึกษาให้สูงขึ้น มีสมรรถนะในอาชีพมากขึ้นทำให้มีรายได้ และเงินเดือนสูงขึ้น- นโยบายที่ 8 การพัฒนาแรงงานต่างด้าว ให้มีความรู้ ความสามารถ และทักษะสอดคล้องกับ ความต้องการ มีมาตรฐาน และสอดคล้องกับบริบทของไทย โดยให้จัดการประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อจัดทำแผนปฏิบัติการนำกรอบแนวทางตามนโยบายดังกล่าวสู่การปฏิบัติให้บังเกิดผลอย่างเป็นรูปธรรมและบรรลุเป้าหมายที่กำหนดไว้
สอศ.หารือกับกระทรวงแรงงาน กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เพื่อแสวงหาแนวทางพัฒนาแรงงานที่เข้าเมืองอย่างถูกกฎหมาย หารือความร่วมมือกับศูนย์การศึกษาเด็กต่างด้าว จัดการสอนภาษาต่างด้าว รวมทั้งพัฒนาอาชีพให้ผู้ที่พำนักในศูนย์พักพิงฯ ทั้งนี้ ยังมีแผนที่จะจัดทำความร่วมมือในการเพิ่มขีดความสารถกำลังคนในชายแดนไทย-เวียดนาม และไทย-กัมพูชา โดยคาดหวังว่าจะช่วยลดปัญหาวิกฤตด้านความขาดแคลนแรงงานระดับล่าง เพิ่มศักยภาพในภาคการผลิตและบริการของไทย และรองรับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน- นโยบายที่ 9 สร้างเครือข่ายอาชีวศึกษาอาเซียนเพื่อพัฒนาประเทศไทยให้เป็นศูนย์กลาง (HUB) อาชีวศึกษาภูมิภาค
สอศ.จัดการเรียนการสอนภาคภาษาอังกฤษ EP, Mini EP ในทุกจังหวัด จัดทำความร่วมมือกับหน่วยงานต่างประเทศและสร้างความร่วมมือกับกลุ่มประเทศอาเซียนระดับสถานศึกษา รวมทั้งหารือเกี่ยวกับการจัดตั้งศูนย์อาชีวศึกษาในประเทศต่างๆ เพื่อส่งเสริมคุณภาพการจัดการเรียนการสอนภาคภาษาอังกฤษ นอกจากนี้จะเปิดศูนย์อาชีวศึกษาไทยเวียดนาม จัดเข้าค่าย ASEAN Vocational Camp จัดประชุมผู้บริหารสถานศึกษาระหว่างไทย-สปป.ลาว เวียดนาม อินโดนีเซีย และเพิ่มการเรียนการสอนภาษาประเทศเพื่อนบ้าน โดยคาดหวังว่าจะเกิดความเข้มแข็งของเครือข่ายความร่วมมือระหว่างประเทศในกลุ่มอาเซียน และขีดความสามารถของไทยในการแข่งขันของประเทศเข้าสู่มาตรฐานสากล- นโยบายที่ 10 เพิ่มปริมาณผู้เรียนสัดส่วน อาชีวศึกษา : สามัญศึกษา เป็น 50 : 50 ในปี 2558
สอศ.ได้บูรณาการการทำงานระหว่าง สอศ. สพฐ. กศน. และ สช. เพื่อเพิ่มปริมาณผู้เรียนและวิเคราะห์เป้าหมายการรับนักเรียนนักศึกษา ปีการศึกษา 2557ในสัดส่วน 45 : 55 ซึ่งส่งผลให้ สอศ.จะต้องรับนักเรียนนักศึกษาเพิ่มเติมจากปีการศึกษา 2556 จำนวน 48,539 คน นอกจากนี้ ได้สร้างเครือข่ายแนะแนวร่วมกันในทุกสังกัด และเร่งสร้างความเข้าใจกับผู้ปกครองและนักศึกษาอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ เพื่อให้เห็นความสำคัญและมีทัศนคติที่ดีต่อการเรียนอาชีวศึกษา โดยคาดหวังให้ผู้สำเร็จอาชีวศึกษามีปริมาณที่เพียงพอ และมีสมรรถนะสอดคล้องกับความต้องการของสถานประกอบการรองรับภาคการผลิตและบริการ- การทดสอบทางการศึกษาระดับชาติด้านอาชีวศึกษา (V-NET) ปีการศึกษา 2556
สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (องค์การมหาชน) (สทศ.) ได้ดำเนินการจัดการทดสอบ V-NET ปีการศึกษา 2556 ให้แก่นักศึกษาระดับ ปวช.3และระดับ ปวส.2 สังกัด สอศ. จำนวน 157,634 คน ซึ่งจากการสังเกตการณ์และติดตามการจัดการทดสอบ V-NET นั้น พบปัญหาอุปสรรคที่สำคัญ 3ประการ ได้แก่1) การปรับปรุงค่าใช้จ่ายในการลงทุนทางการศึกษา เงินอุดหนุนรายหัว และค่าอุปกรณ์การเรียนที่เหมาะสม2) การจัดหาเครื่องมืออุปกรณ์ ห้องเรียน ห้องปฏิบัติการที่ได้มาตรฐานและเพียงพอ 3) การขาดแคลนครู ซึ่งปัจจุบัน สอศ.มีอัตรากำลังครูสายผู้สอนและพนักงานราชการสายผู้สอน จำนวนทั้งสิ้น 17,373 คน หากจะเพิ่มปริมาณผู้เรียนสายอาชีพ ก็จะต้องจ้างครูเพิ่มขึ้น จำนวน 7,931 คน
ภาพ สถาพร ถาวรสุข รมว.ศธ. ได้ขอให้ สอศ.หารือร่วมกันในประเด็นสำคัญที่จะก่อให้เกิดการปฏิรูปการศึกษา และเกิดผลต่อการยกระดับคุณภาพอาชีวศึกษาอย่างเป็นรูปธรรม รวมทั้งเรื่องที่จะส่งผลต่อเรื่องอื่นๆ ด้วย โดยยกตัวอย่างประกอบเกี่ยวกับเครื่องจักร ซึ่งควรจะประกอบให้เสร็จสมบูรณ์ เพื่อให้เครื่องจักรนั้นสามารถทำงานได้ต่อไป ดังเช่นการอาชีวศึกษาที่จะต้องดำเนินการในเรื่องต่างๆ เช่น ความร่วมมือกับต่างประเทศ จะต้องมีการหารือร่วมกันเพื่อให้เกิดโครงการที่ชัดเจน และสามารถเปิดตัวโครงการได้ เช่น ประเทศจีน ซึ่งได้มีการหารือและมีข้อตกลงไว้แล้วนอกจากนี้ มีประเด็นเกี่ยวกับ กรอ.สอศ. ซึ่งมีความก้าวหน้าไปมาก แต่จะต้องคิดหลักสูตรหรือมีโครงการร่วมกันหรือไม่ ระบบคุณวุฒิวิชาชีพ ยังมีส่วนใดที่ไม่ก้าวหน้า จากที่ได้หารือร่วมกันแล้วมีความเห็นหรือแนวคิดตรงกันหรือไม่ เช่น ศธ.ต้องการให้ผู้จบอาชีวศึกษาทั้งระดับ ปวช./ปวส. มีเงินเดือนสูงกว่าปริญญาตรี แต่ในระบบราชการยังแบ่งฐานเงินเดือนตามระดับการศึกษา รวมทั้งพิจารณาดำเนินการเกี่ยวกับการจัดทำหลักสูตรระยะสั้นและการยกระดับแรงงานด้วยย้ำว่าขอให้ สอศ.เน้นเรื่องของผลสำเร็จของงาน ไม่ต้องเน้นให้ชื่อว่าสำเร็จแล้วก็จบไป หรือเป็นเรื่องที่ดำเนินการร่วมกับรัฐมนตรีเท่านั้น แต่เน้นให้มีผลต่อเนื่องและเกิดประโยชน์ต่อการอาชีวศึกษาในระยะยาว เพื่อให้เกิดการขับเคลื่อนและมีความก้าวหน้าการดำเนินงานต่อไปประเด็นสำคัญคือ ควรจะต้องดำเนินการในเรื่องที่จะส่งผลต่อการปฏิรูปและยกระดับคุณภาพอาชีวศึกษาเป็นอย่างมาก ตรงตามความต้องการของประเทศในส่วนของการประชาสัมพันธ์งานอาชีวศึกษา ขอให้เน้นนโยบายการเพิ่มสัดส่วนผู้เรียนสายอาชีวะ และเรื่องอื่นๆ ที่มีความก้าวหน้า เช่น การสร้างความเข้าใจแก่ผู้เรียนและผู้ปกครอง จะประชาสัมพันธ์อย่างไร ที่จะสื่อให้ผู้ปกครองหรือนักเรียนได้เห็นประโยชน์จากการเรียนสายอาชีวะ ให้ผู้ปกครองต้องการส่งลูกหลานมาเรียน การส่งเสริมให้ผู้เรียนเกิดความรู้สึกต้องการมาเรียน และให้เห็นถึงการพัฒนาการเรียนการสอน รวมทั้งภาพลักษณ์ที่ดีของอาชีวะ เช่น การมีงานทำ มีเงินเดือนดีฉะนั้น การประชาสัมพันธ์จะต้องมุ่งเน้นให้เกิดกระแสของสังคม ให้สังคมเกิดความรู้สึกดีๆ กับอาชีวะ มีการพัฒนาอย่างจริงจัง โดยไม่ต้องเน้นภาพของรัฐมนตรี แต่ให้เน้นงานของอาชีวะอย่างแท้จริง ทั้งยังได้ขอให้มีวิธีการนำเสนอในการจัดนิทรรศการโครงการหรืองาน ที่แสดงให้เห็นถึงความเป็นเลิศหรือสุดยอดผลงานของอาชีวศึกษา เพื่อให้วิธีการนำเสนอเกิดความน่าสนใจมากยิ่งขึ้น
ที่มา ; เว็บสำนักงานรัฐมนตรี กระทรวงศึกษาธิการ
... เน็ตช้า คลิ๊กที่ http://tuewsob.blogspot.com
... ห้องวิชาเอกครู คลิ๊กที่ http://uewsob2011.blogspot.com
... (ห้องข้อสอบใหม่) ..สอบครู..สอบผู้บริหาร..สอบบุค ลากร ที่
"ติวสอบดอทคอม "
ผอ.นิกร เพ็งลี
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น