ข้อสอบออนไลน์ (สอบครู-ผู้บริหาร-บุคลากรการศึกษา) ชุดใหม่ล่าสุด
ติวสอบออนไลน์ ชุด นโยบายรัฐบาล
ลิงค์ข้อสอบ ที่เกี่ยวข้องกับ "นโยบายรัฐบาล" โดย ติวสอบดอทคอม
http://tuewsob.blogspot.com/2013/11/blog-post_4.html
http://www.tuewsob.com/rr164.html
http://www.tuewsob.com/rr%20157%20pu%201.html
http://tuewsob.blogspot.com/2013/10/132556.html
http://tuewsob.blogspot.com/2013/10/blog-post_31.html
http://www.tuewsob.com/rr164.html
http://www.tuewsob.com/rr%20157%20pu%201.html
http://tuewsob.blogspot.com/2013/10/132556.html
http://tuewsob.blogspot.com/2013/10/blog-post_31.html
รัฐบาลชี้แจงการดำเนินการโครงการรับจำนำข้าว
รัฐบาลยืนยันไม่มีปัญหาการจ่ายเงินในโครงการรับจำนำข้าวปีการผลิต 2554/55 และ 2555/56 แจงเกษตรกรที่ยังไม่ได้รับเงินในโครงการปี 2556/57 เนื่องจากรัฐบาลยุบสภาฯ ต้องรอ กกต. เห็นชอบตามกฎหมายก่อน ระบุเตรียมเข้าชี้แจง กกต.ต้นสัปดาห์หน้า โดยหวังให้ กกต. เห็นชอบเพื่อเร่งจ่ายเงินให้ชาวนา ยันไม่ได้หน่วงเหนี่ยวการจ่ายหรือปัญหาไม่มีเงิน ชี้ไม่อยากให้ฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดนำความเดือดร้อนของชาวนามาเป็นประเด็นทางการเมือง
วันนี้ (17 ม.ค.57) เวลา 14.45 น. ที่สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม เมืองทองธานี แจ้งวัฒนะ นายนิวัฒน์ธำรง บุญทรงไพศาล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ พร้อมด้วย นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง และนายวราเทพ รัตนากร รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ร่วมกันแถลงชี้แจงเรื่องการดำเนินการโครงการรับจำนำข้าว ดังนี้
นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวว่า โครงการรับจำนำข้าวเป็นโครงการสำคัญที่รัฐบาลได้ดำเนินการเพื่อคุณภาพชีวิตและรายได้ของพี่น้องเกษตรกรผู้ปลูกข้าว และได้ดำเนินการมาตั้งแต่ปี 2554 ที่รัฐบาลเข้ารับหน้าที่ โดยได้รับจำนำข้าวในปี 2554/55 และปี 2555/56 แบ่งเป็นข้าวนาปี 2 ฤดูกาล และข้าวนาปรัง 4 ฤดูกาล ที่ได้มีการชำระเงินค่ารับจำนำให้กับพี่น้องเกษตรกรชาวนา รวมเป็นจำนวน 680,000 ล้านบาท ซึ่งขอยืนยันว่าเงินจำนวนดังกล่าวถึงมือพี่น้องเกษตรกรชาวนาทุกบาททุกสตางค์เพราะได้ดำเนินการผ่านจ่ายเงินผ่านธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร หรือ ธกส. ตรงเข้าบัญชีเกษตรกร และการดำเนินการใน 2 ปีที่รับจำนำข้าวเป็นไปด้วยความเรียบร้อย ทั้งการดำเนินการรับจำนำได้มีการระบายข้าวที่ได้รับจำนำไปแล้วจำนวนหนึ่ง มูลค่ารวมประมาณ 200,000 ล้านบาท และขณะนี้กำลังดำเนินการให้มีการระบายข้าวอย่างต่อเนื่อง
ขณะเดียวกันในการรับจำนำในปีฤดูกาลผลิตข้าวนาปี 2556/57 ซึ่งได้เริ่มดำเนินการตั้งแต่ช่วงเดือนตุลาคม 2556 ก็ได้ดำเนินการอย่างต่อเนื่อง โดยมีการชำระเงินค่าจำนำข้าวให้เกษตรกรชาวนาไปแล้วเป็นจำนวนประมาณ 55,000 ล้านบาท ทั้งนี้ ในช่วงต้นฤดูกาลจะมีข้าวที่เข้าสู่โครงการรับจำนำเป็นจำนวนมาก ที่ทำให้อาจต้องใช้วงเงินจำนวนมากในการรับจำนำช่วงต้นฤดูกาล และหลังจากนั้นเมื่อมีการดำเนินการระบายข้าวแล้วก็จะใช้เงินที่น้อยลง ทำให้วงเงินที่มีลดลงไปโดยลำดับ เหมือนกับที่ได้ดำเนินการมาในช่วง 2 ปีการผลิตแรกรวม 4 ฤดูกาล
นายกิตติรัตน์ฯ กล่าวต่อว่า เมื่อมีพระราชกฤษฎีกายุบสภาผู้แทนราษฎร ก็ทำให้มีการดำเนินการที่จะต้องผ่านกระบวนการที่รัฐบาลจะต้องดำเนินการในการจัดหาเงินเพื่อนำมาชำระเป็นค่าจำนำให้กับเกษตรกร ทั้งจากเงินงบประมาณ หรือจากสภาพคล่องของ ธกส. รวมทั้งการดำเนินการจัดหาเงินกู้ให้ ซึ่งขณะนี้กำลังอยู่ในระหว่างการพิจารณาของคณะกรรมการ กกต. ที่ตนจะไปร่วมชี้แจงพร้อมกับฝ่ายข้าราชการประจำ อย่างไรก็ดี ขอยืนยันว่าการดำเนินนโยบายรับจำนำข้าวในปีการผลิต 2556/57 ได้รับการอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีไปแล้วตั้งแต่ 3 กันยายน 2556 ซึ่งดำเนินการก่อนที่จะมีพระราชกฤษฎีกายุบสภาฯ ฉะนั้นการดำเนินการในส่วนนี้ถือว่าเป็นความผูกพันที่รัฐบาลมีต่อพี่น้องเกษตรกร โดยได้เริ่มรับจำนำข้าวและเริ่มจ่ายค่ารับจำนำให้กับเกษตรกรไปแล้ว ดังนั้นในส่วนนี้จึงเป็นการดำเนินการที่มีความต่อเนื่อง
“ รัฐบาลก็เชื่อว่าไม่ได้เป็นการดำเนินการที่ผิดข้อกฎหมายอะไร อย่างไรก็ตามเมื่อข้อกฎหมายระบุให้ต้องดำเนินการผ่านการพิจารณาของคณะกรรมการ กกต. เราก็จะดำเนินการเพื่อให้ได้รับการอนุมัติ และจะได้นำเงินจำนวนดังกล่าวมาชำระค่าจำนำข้าวให้กับพี่น้องเกษตรกร ต้องขออภัยด้วยที่การดำเนินการต่าง ๆ อาจจะทำให้เกษตรกรได้รับค่าจำนำข้าวล่าช้าไป แต่ผมเชื่อว่าท่านคงจะเข้าใจ เพราะว่าในช่วงที่มีการดำเนินการไปตามปกติ 2 ปีการผลิตแรก 4 ฤดูกาลผลิตนั้นก็ไม่ได้มีข้อติดขัดอะไร และขอยืนยันว่ารัฐบาลไม่ได้อยู่ในภาวะที่ไม่มีเงิน เงินต่าง ๆ มีพร้อม เพียงแต่การที่จะจ่ายออกไปนั้นจะต้องมีขั้นตอนที่ได้รับการอนุมัติ ท่านอาจจะได้ทราบข่าวว่า แม้กระทั่งในการ ที่จะระบายข้าวที่อยู่ในสต๊อกเพื่อที่จะได้รับเงินกลับเข้ามา รวมทั้งทำให้ข้าวให้สต๊อกได้ส่งไปขายให้กับผู้ซื้อ ยังต้องดำเนินการขอต่อคณะกรรมการ กกต. ซึ่งต้องใช้เวลาระยะหนึ่ง และการอนุมัติดังกล่าวก็มีเงื่อนไข ซึ่งทำให้การดำเนินการเพื่อระบายข้าวเป็นไปได้ไม่ง่าย” รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กล่าว
นายนิวัฒน์ธำรง บุญทรงไพศาล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ กล่าวถึงการดำเนินการระบายข้าวและข้อติดขัดทางกฎหมายว่า อยู่ในช่วงความรับผิดชอบรัฐของบาล หมายความว่าสัญญานั้นไม่ใช่สัญญาระยะยาวไปผูกพันกับรัฐบาลต่อไปจึงสามารถทำได้ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการทำ AFET เรื่องการประมูลทั่วไป หรือผู้ประกอบการขายข้าว มีออเดอร์จากลูกค้ามา และมาขอซื้อโดยตรงในฐานะแบบเอกชนจากกรมการค้าต่างประเทศก็สามารถทำได้ แต่ที่จะทำไม่ได้ก็คือสัญญาซึ่งจะไปทำให้มีเงื่อนไขผูกพันกับรัฐบาลต่อไป อันนั้นก็จะเป็นข้อจำกัดที่จะทำในเรื่องเกี่ยวกับการระบายข้าว แต่อย่างไรก็ดี จากปีที่ผ่าน ๆ มาการระบายข้าวก็อยู่ในขั้นที่ดีขึ้นเป็นลำดับ ซึ่งเชื่อมั่นว่าหลังจากช่วงเลือกตั้งแล้ว คงจะได้ดำเนินการระบายข้าวตามปกติต่อไป และน่าจะระบายได้ดียิ่งขึ้นด้วย เพราะในช่วงนี้จากการที่รัฐบาลได้ทำการตลาดและพบผู้ซื้อทั้งในประเทศและต่างประเทศก็ทำให้สถานการณ์การระบายข้าวดียิ่งขึ้น
ด้าน นายวราเทพ รัตนากร รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวถึงกรณีข้อเป็นห่วงที่มีหลายฝ่ายออกมาท้วงติงเกี่ยวกับโครงการรับจำนำข้าวเปลือกว่าใช้เงินจำนวนมากและไม่มีประสิทธิภาพ หรือมีปัญหาเรื่องความโปร่งใสว่า หลังจากที่ผ่าน 2 ปี ใน 4 ฤดูกาลไป ซึ่งความจริงก็ทำมาทุกฤดูกาล แต่เริ่มพูดถึงกันมากเมื่อปีที่ 2 หรือฤดูกาลที่สองและสาม หรือฤดูกาลที่สี่ ดังนั้นก่อนฤดูกาลที่ห้า คือปี 56/57 นั้น หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เริ่มตั้งแต่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ซึ่งเป็นต้นทางที่จะทำในเรื่องของการขึ้นทะเบียน และการออกหนังสือรับรอง ตลอดจนเรื่องทำประชาคม เพื่อนำไปสู่ในเรื่องของการนำข้าวไปจำนำที่จุดรับจำนำและออกใบประทวน ซึ่งตรงนี้ก็มีการปรับปรุงหลักเกณฑ์ตั้งแต่เงื่อนไขแรกที่คณะกรรมการนโยบายข้าวแห่งชาติ (กขช.) พิจารณาก็คือลดวงเงินต่อราย จากที่ไม่จำกัด มาอยู่ที่ต่อรายไม่เกิน 500,000 บาท ในฤดูกาลที่สี่ พอถึงฤดูกาลที่ห้าในปี 56/57 ได้ปรับลดวงเงินต่อราย เกษตรกรจำนำได้ต่อรายไม่เกิน 350,000 บาท นั่นหมายความว่าเราคำนึงถึงเรื่องของเงินงบประมาณหรือในส่วนที่จะต้องใช้จ่าย
อย่างไรก็ตาม กรณีหลายฝ่ายบอกว่าเป็นการขาดทุนซึ่งพยายามพูดในแง่ที่เป็นผลลบนั้น นายวราเทพฯ กล่าวชี้แจงว่า โครงการรับจำนำข้าวเปลือก ถ้าพูดถึงการขาดทุนน่าจะหมายถึงการขาดทุนทางบัญชี แต่เงินที่ใช้ไปน่าจะพูดถึงเป็นเรื่องของการชดเชยให้กับเกษตรกร โดยเฉพาะชาวนาก็เป็นอาชีพหนึ่งซึ่งจะต้องได้รับการดูแลเหมือนกับกลุ่มสาขาอาชีพอื่น ๆ ที่ได้รับนโยบายจากรัฐเช่นเดียวกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเกษตรกรชาวนาได้ประสบปัญหามาช้านาน การใช้งบประมาณเพื่อที่จะให้เกษตรกรได้มีรายได้สูงขึ้น คิดว่าเป็นสิ่งที่ควรจะให้การยอมรับ ไม่ควรไปโจมตีว่าเป็นเรื่องของการขาดทุนแล้วส่งผลเสียหาย ส่วนเรื่องของความโปร่งใสก็เป็นเรื่องที่จะต้องตรวจสอบและดำเนินการตามกฎหมาย ไม่อยากให้นำมาปนกันเป็นเรื่องของการเมืองไปทั้งหมด
สำหรับกรณีที่มีการปรับประสิทธิภาพโครงการรับจำนำข้าวทั้งต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ นั้น ก็มีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องไม่ว่าจะเป็นกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงการคลัง กระทรวงพาณิชย์ ทุกขั้นตอนได้มีแผนในการดำเนินการ จะเห็นได้ว่าข้าวที่ห่วงว่าจะมีการสวมสิทธิ์ หรือข้าวที่ไม่ใช่ข้าวของเกษตรกรนั้น ในปีนี้ไม่ได้รับข้อร้องเรียนหรือปัญหาจากกรณีที่เราเคยมีการฟ้องร้องดำเนินคดี ในปี 2556/57 ก็ลดลงหรือบางพื้นที่ไม่มีเลย นั่นแสดงให้เห็นว่าการปรับประสิทธิภาพในการดำเนินโครงการนี้เป็นไปในทิศทางที่ถูกต้อง
ดังนั้น ข้อเป็นห่วงในเรื่องที่บอกว่าโครงการนี้ใช้เงินสูงนั้น ประเด็นแรกต้องเรียนว่า เนื่องจากมีอาชีพเกษตรกรทำนาจำนวนมากที่สุดของผู้ประกอบอาชีพเกษตรกรรมในเมืองไทย เพราะฉะนั้นวงเงินที่สูงจึงเป็นวงเงินที่เป็นไปตามสัดส่วนของจำนวนเกษตรกรชาวนาที่เข้าร่วมโครงการ ส่วนกรณีปัจจุบันที่เกิดขึ้น ขอเรียนว่าไม่อยากให้ฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดนำความเดือดร้อนของเกษตรกรชาวนามาเป็นประเด็นทางการเมือง หรืออาศัยจังหวะเวลานี้นำไปสู่ประเด็นทางการเมือง ตนเองเข้าใจและต้องขอบคุณพี่น้องเกษตรกรชาวนาที่เดือดร้อนจริง ๆ รัฐบาลเข้าใจและเห็นใจว่าเป็นความเดือดร้อนของเกษตรกรจริง ๆ ที่ยังไม่ได้รับเงินจากการจำนำข้าว แต่อย่างไรก็ตามได้มีการบรรเทาในเรื่องของการที่จะดูแลพี่น้องเกษตรกร โดยเฉพาะหน่วยงานที่เกี่ยวข้องที่จะต้องไปหามาตรการเยียวยาดูแลต่อไปในส่วนที่ทำได้โดยที่ยังไม่ต้องรอการอนุมัติหรือความเห็นชอบในเรื่องของเงินที่จะไปขอความเห็นจาก กกต.
ทั้งนี้ เรียนว่าในสิ่งที่มีผู้เสนอ โดยเฉพาะ นายกรณ์ จาติกวณิช อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ที่เสนอว่า อยากให้รัฐบาลเร่งหาเงินมาจ่ายให้กับพี่น้องชาวนานั้น รัฐบาลเร่งดำเนินการอยู่แล้วในส่วนที่รัฐบาลทำได้ แต่ในส่วนที่รัฐบาลยังทำไม่ได้ในข้อกฎหมายคือต้องขอความเห็นชอบจาก กกต. ก็ต้องรอผลจาก กกต.ก่อน แต่ข้อเสนอของนายกรณ์ฯ ที่ระบุว่า ถ้ามีรัฐบาลกลางพี่น้องชาวนาก็จะได้รับเงินค่าข้าว ตรงนี้เห็นว่าเป็นการเสนอในสิ่งที่จะทำให้เกษตรกรชาวนาเข้าใจผิดเป็นเพียงการเสนอให้ผลกระทบมาตกกับรัฐบาล โดยนำประเด็นพี่น้องชาวนามาเป็นข้ออ้างอิง
“รัฐบาลกลางเกิดขึ้นไม่ได้แน่นอน รัฐบาลกลางไม่มีกฎหมายใดรองรับ เราก็ทราบดีอยู่แล้วว่า รัฐธรรมนูญกำหนดไว้ว่า เมื่อยุบสภาฯ แล้วรัฐบาลนี้จะต้องอยู่จนกว่าจะมีรัฐบาลใหม่ ถ้าเรามีการเลือกตั้ง มีรัฐบาลใหม่ได้เร็ว นั่นก็หมายความว่าพี่น้องเกษตรกรจะได้รับการดูแลโดยเร็ว แต่ถ้าเป็นรัฐบาลกลาง ยืนยันได้ว่า ไม่มีความเป็นไปได้ เป็นเพียงการพูดให้พี่น้องเกษตรกรเข้าใจสับสน” นายวราเทพฯ กล่าว
นายกิตติรัตน์ฯ ได้กล่าวเสริมว่า การดำเนินการที่เป็นความล่าช้าในส่วนการชำระค่ารับจำนำข้าวให้กับพี่น้องเกษตรกรจำนวนหนึ่งในช่วงต้นฤดูกาลนั้นเกิดขึ้นจากปัญหาที่ความจริงไม่น่าจะเกิด เช่น แหล่งเงินก็มาจากงบประมาณจำนวนหนึ่ง งบประมาณประจำปีผ่านสภาฯ ตั้งแต่เดือนกันยายนแล้ว ก็น่าจะพร้อมดำเนินการได้ตั้งแต่เดือนตุลาคม แต่มีพรรคการเมืองฝ่ายค้านร้องเรียน ทำให้การพิจารณางบประมาณต้องเพิ่มขั้นตอนอีกชั้นหนึ่ง กว่าจะสามารถดำเนินการได้ล่วงเลยข้ามไปอีกหลายสัปดาห์ ต่อจากนั้นมีข้อติดขัดในเรื่องภาวะทางการเมืองที่พรรคฝ่ายค้านมีการลาออกเป็นจำนวนมาก รัฐบาลจึงจำเป็นต้องตัดสินใจยุบสภาฯ ซึ่งทำให้ขั้นตอนเหล่านี้ถูกเพิ่มขึ้น ยังไม่นับรวมในเรื่องการดำเนินการที่มีผู้ชุมนุมมาปิดล้อมพื้นที่กระทรวงการคลัง และสำนักงบประมาณ ซึ่งทำให้การประสานงานระหว่างส่วนราชการที่เกี่ยวข้องกับการชำระเงินส่วนนี้มีความล่าช้าไปด้วย
นอกจากนี้ อาจมีผู้ตั้งข้อสังเกตว่าการดำเนินการในส่วนนี้ยังคงมีเงินคงค้างจำนวนหนึ่ง และอาจจะเป็นหน้าที่ของรัฐบาลข้างหน้าที่จะต้องมาดำเนินการต่อ ทั้งนี้ การดำเนินการดูแลคุณภาพชีวิตของพี่น้องเกษตรกรโดยเฉพาะชาวนา ได้มีการดำเนินการมากว่า 20 ปีแล้วด้วยรูปแบบต่าง ๆ ซึ่งการดำเนินการเหล่านั้นเป็นการดำเนินการที่จะส่งผลต่อไปยังปีงบประมาณถัด ๆ ไป และส่งผลต่อไปยังรัฐบาลถัด ๆ ไปเสมอ ยกตัวอย่างกรณีของรัฐบาลที่แล้วได้ใช้วิธีประกันรายได้ โดยให้ ธกส. เป็นผู้ชำระส่วนต่างระหว่างราคาตลาดกับราคาที่ประกันไปก่อน แล้วจึงจะตั้งงบประมาณมาคืนทีหลัง
“ ต้องเรียนว่าเมื่อมีการดำเนินการไปและส่งถ่ายมายังรัฐบาลนี้แล้วก็ยังมีภาระอีกจำนวนไม่น้อยทีเดียวที่ยังคงจะต้องให้รัฐบาลปัจจุบันตั้งงบประมาณเพื่อไปชดเชยดูแลการดำเนินการตามนโยบายของรัฐบาลที่แล้ว ซึ่งขอยืนยันว่ารัฐบาลนี้ก็ดำเนินการเพื่อจะค่อย ๆ ชดเชยในส่วนที่ได้มีการดำเนินการค้างไว้ โดยไม่ได้ปริปากบ่นอะไรเลย เพราะฉะนั้นการดำเนินการที่จะต้องดูแลกันต่อเนื่องไปจึงไม่ใช่เรื่องใหม่ และผมเชื่อว่าสิ่งที่เรากำลังดำเนินการนั้นอยู่ในกรอบวินัยการคลังที่ดี อยู่ในกรอบของการที่มีสินค้าคงคลังที่ยังสามารถจะแปลงให้กลายเป็นเงินซึ่งเข้ามาชดเชยโครงการได้ เมื่อมีการขายข้าวออกไปในจำนวนที่เหมาะสมในแต่ละปี ส่วนต่างของราคาขายกับราคารับจำนำนั้นก็จะมีส่วนต่างตรงนี้ ที่จะต้องมีการตั้งงบประมาณมาดูแลกันเป็นปี ๆ ต่อไป ซึ่งไม่ใช่เรื่องของการปฏิบัติที่ไม่เคยปฏิบัติกันมา จึงขอให้พี่น้องเกษตรกรได้โปรดเข้าใจด้วย และร่วมเป็นกำลังใจให้กับรัฐบาลในการที่จะดำเนินการกับคณะกรรมการ กกต. เพื่อให้ท่านได้กรุณาวินิจฉัยให้ความเห็นชอบ รวมทั้งการดำเนินการร่วมกับ ธกส. ในการที่จะบริหารสภาพคล่องส่วนเกินของ ธกส. ในการไปดูแลพี่น้องเกษตรกร ซึ่งตรงนี้ไม่ได้เป็นภาระอะไรให้กับ ธกส. ในทำนองกลับกัน เป็นการทำรายได้ให้กับ ธกส. จากการที่มีสภาพคล่องส่วนเกินที่สามารถดำเนินการได้อย่างต่อเนื่องด้วย” นายกิตติรัตน์ฯ กล่าว
พร้อมกันนี้ นายกิตติรัตน์ฯ กล่าวถึงการที่มีองค์กรอิสระที่จะทำหน้าที่ตรวจสอบต่าง ๆ ว่าจะเป็นการช่วยกันดูแลให้เรื่องต่าง ๆ เป็นไปด้วยความเหมาะสมถูกต้อง ทั้งนี้ รัฐบาลได้ส่งเรื่องไปที่ กกต. นานพอสมควร ซึ่งตนจะได้มีโอกาสไปชี้แจงกับทาง กกต. ในช่วงต้นสัปดาห์หน้า พร้อมหวังว่าจะได้รับความเห็นชอบให้สามารถดำเนินการได้ และขณะนี้นายทนุศักดิ์ เล็กอุทัย รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลังได้เดินทางไปทำความเข้าใจกับพี่น้องเกษตรกรว่า ไม่ได้เป็นความประสงค์ของรัฐบาลที่จะมาหน่วงเหนี่ยวการจ่ายเงิน และไม่ใช่เป็นปัญหาในเรื่องของการไม่มีเงิน ความจริงแล้วมี แต่การจะจ่ายได้ต้องผ่านขั้นตอนทางกฎหมายให้ครบถ้วน
สำหรับโครงการรับจำนำข้าวเปลือกปีการผลิต 2556/57 นั้น คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 3 กันยายน 2556 อนุมัติให้กระทรวงพาณิชย์ดำเนินโครงการจำนำข้าวเปลือก ปีการผลิต 2556/57 ภายใต้กรอบวงเงิน 270,000 ล้านบาท โดยมีเป้าหมายการรับจำนำข้าวเปลือกนาปี (ต.ค.56-ก.พ.57) ปริมาณข้าวเปลือกที่รับจำนำประมาณ 11 ล้านตัน คิดเป็นมูลค่าประมาณ 170,000 ล้านบาท โดยโครงการรับจำนำข้าวเปลือกปีการผลิต 2556/57 ธ.ก.ส. ได้จ่ายเงินให้กับเกษตรกรไปแล้วจำนวน 54,950 ล้านบาท แต่เนื่องจากได้มีพระราชกฤษฎีกายุบสภาผู้แทนราษฎรเมื่อวันที่ 9 ธันวาคม 2556 โดยรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยบัญญัติให้ การดำเนินการที่เกี่ยวข้องกับการใช้งบประมาณและการกู้เงิน จะต้องขอความเห็นชอบจากคณะกรรมการการเลือกตั้งก่อน ซึ่งในขณะนี้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งกระทรวงการคลังและ ธกส. ได้ส่งเรื่องไปยังคณะกรรมการการเลือกตั้ง เพื่อพิจารณา ใน 2 กรณีคือ 1. กรณี ธกส. ขอใช้วงเงินสำรองจ่าย จำนวน 55,000 ล้านบาท 2. กรณี กระทรวงการคลัง ขอปรับแผนการกู้เงิน จำนวน 130,000 ล้านบาท หากคณะกรรมการการเลือกตั้งพิจารณาให้ความเห็นชอบแล้ว รัฐบาลจะได้เร่งดำเนินการจ่ายเงินให้กับชาวนาที่ยังไม่ได้รับเงิน โดยเร็วต่อไป
ที่มา ; เว็บรัฐบาลไทย
... เน็ตช้า คลิ๊กที่ http://tuewsob.blogspot.com
... ห้องวิชาเอกครู คลิ๊กที่ http://uewsob2011.blogspot.com
... (ห้องข้อสอบใหม่) ..สอบครู..สอบผู้บริหาร..สอบบุค ลากร ที่
"ติวสอบดอทคอม "
ผอ.นิกร เพ็งลี
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น