ข้อสอบออนไลน์ (สอบครู-ผู้บริหาร-บุคลากรการศึกษา) ชุดใหม่ล่าสุด
ติวสอบออนไลน์ ชุด นโยบายรัฐบาล
ลิงค์ข้อสอบ ที่เกี่ยวข้องกับ "นโยบายรัฐบาล" โดย ติวสอบดอทคอม
http://tuewsob.blogspot.com/2013/11/blog-post_4.html
http://www.tuewsob.com/rr164.html
http://www.tuewsob.com/rr%20157%20pu%201.html
http://tuewsob.blogspot.com/2013/10/132556.html
http://tuewsob.blogspot.com/2013/10/blog-post_31.html
http://www.tuewsob.com/rr164.html
http://www.tuewsob.com/rr%20157%20pu%201.html
http://tuewsob.blogspot.com/2013/10/132556.html
http://tuewsob.blogspot.com/2013/10/blog-post_31.html
มติศาลรธน.ชี้!'เลื่อนลต.'ทำได้
'ศาลรธน.'ชี้'เลื่อนลต.'ทำได้ ให้'นายกฯ-ประธานกกต.'หารือร่วมกันออก'พ.ร.ฎ.เลือกตั้งใหม่'
วันที่ 24 ม.ค.57 ที่ศาลรัฐธรรมนูญ องค์คณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ได้เริ่มมีการประชุมพิจารณาคำร้องของคณะกรรมการการเลือกตั้ง เพื่อขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยอำนาจระหว่างองค์กร ในการออกพระราชกฤษฎีกากำหนดวันเลือกตั้งใหม่ หลังจากที่ทาง กกต. มองว่า การเลือกตั้งตามพระราชกฤษฎีกา ที่จะมีขึ้นในวันที่ 2 กุมภาพันธ์นี้ มีอุปสรรคและปัญหาหลายประการ
ทั้งนี้ ยังขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย ในกรณีที่หากมีเหตุจำเป็นนั้นจะสามารถกำหนดวันเลือกตั้งใหม่ได้หรือไม่ อย่างไรก็ตาม การประชุมพิจารณาขององค์คณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ในวันนี้ ที่ประชุมจะมีการอภิปรายและแถลงความเห็นด้วยวาจา ก่อนจะลงมติในคำวินิจฉัย โดยผลการประชุมนั้น จะมีการเผยแพร่ให้ทราบต่อไป
บรรยากาศที่ศาลรัฐธรรมนูญ เนืองแน่นไปด้วยสื่อมวลชนหลากหลายสำนัก ที่เฝ้าติดตามทำข่าวในประเด็นนี้เป็นจำนวนมาก เนื่องจากเป็นประเด็นที่เกี่ยวข้องกับวันเลือกตั้ง และอยู่ในความสนใจของประชาชน
ล่าสุด ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ภายหลังการประชุมคณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญเพื่อพิจารณาคำร้องของคณะกรรมการการเลือกตั้ง ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 214 ที่ขอให้วินิจฉัยว่า การกำหนดวันเลือกตั้งขึ้นใหม่สามารถทำได้หรือไม่ และอำนาจในการกำหนดวันเลือกตั้ง ส.ส.ใหม่ เป็นอำนาจขององค์กรใด ภายหลังการพิจารณานานกว่า 7 ชั่วโมง
สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญได้ออกเอกสารข่าว ระบุว่า คณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญมีมติเป็นเอกฉันท์ว่า วันเลือกตั้ง ส.ส.เป็นการทั่วไป ตามที่กำหนดไว้ในพระราชกฤษฎีกายุบสภาผู้แทนราษฎร สามารถกำหนดขึ้นใหม่ได้ เนื่องจาก เห็นว่า บทบัญญัติตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 108 วรรคสอง ไม่ได้บังคับเด็ดขาดว่า จะมีการกำหนดวันเลือกตั้งทั่วไปขึ้นใหม่ไม่ได้เลย เพราะหากเกิดเหตุสุดวิสัยหรือเหตุจำเป็นอย่างอื่นขัดขวางทำให้การจัดการเลือกตั้งทั่วไปตามกำหนดเดิม ไม่อาจดำเนินการให้บรรลุผลตามความมุ่งหมายของรัฐธรรมนูญได้ หรืออาจเป็นเหตุให้เกิดความเสียหายแก่ประเทศชาติ ความมั่นคงแห่งรัฐ หรือภัยพิบัติสาธารณะอันสำคัญ ก็สามารถกำหนดวันเลือกตั้งทั่วไปขึ้นใหม่ จากที่กำหนดไว้ในพระราชกฤษฎีกายุบสภาผู้แทนราษฎรได้ตามสภาพการณ์แห่งความจำเป็น เหมือนกรณีเคยเกิดขึ้นมาก่อนแล้วในประเทศไทย เมื่อครั้งใช้รัฐธรรมนูญ 2540 ซึ่งวันเลือกตั้งทั่วไปที่กำหนดไว้ในพระราชกฤษฎีกายุบสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ.2549 เป็นวันที่ 2 เม.ย.2549 ต้องถูกกำหนดขึ้นมาใหม่ตามพระราชกฤษฎีกาแก้ไขเพิ่มเติมกำหนดวันเลือกตั้ง ส.ส.เป็นการทั่วไป พ.ศ.2549 ที่ได้กำหนดให้มีวันเลือกตั้งทั่วไปขึ้นใหม่เป็นวันที่ 15 ต.ค.2549 หลังจากที่ศาลรัฐธรรมนูญได้วินิจฉัยชี้ขาดให้การเลือกตั้งทั่วไปวันที่ 2 เม.ย.2549 ไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ เนื่องจากดำเนินการไปไม่ถูกต้องตามที่กำหนดไว้
นอกจากนี้ ยังมีมติเสียงข้างมากเห็นว่า การกำหนดวันเลือกตั้ง ส.ส.เป็นการทั่วไปขึ้นใหม่นั้น เป็นอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบร่วมกันของนายกรัฐมนตรีและประธานกรรมการการเลือกตั้ง เนื่องจากเห็นว่า รัฐธรรมนูญมาตรา 235 บัญญัติให้คณะกรรมการการเลือกตั้งเป็นผู้ควบคุมและดำเนินการจัด หรือจัดให้มีการเลือกตั้ง ส.ส.ให้เป็นไปโดยสุจริตและเที่ยงธรรม และวรรคสองบัญญัติให้ประธานกรรมการการเลือกตั้งเป็นผู้รักษาการตาม พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส. และการได้มาซึ่ง ส.ว.ซึ่งจะต้องเป็นผู้รับผิดชอบในการบริหารจัดการให้การเลือกตั้งเป็นไปโดยชอบด้วยพระราชบัญญัติดังกล่าว ทั้งพระราชกฤษฎีกายุบสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ.2556 มาตรา 5 ก็บัญญัติให้ประธานกรรมการการเลือกตั้งเป็นผู้รักษาการตามพระราชกฤษฎีกาดังกล่าวร่วมกับนายกรัฐมนตรีด้วย เพื่อให้บุคคลทั้งสอง เป็นผู้รับผิดชอบการจัดการเลือกตั้งทั่วไป ให้เป็นไปโดยสุจริต เที่ยงธรรม ตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ
“ดังนั้น จึงเห็นได้ว่าหากมีความจำเป็นที่จะต้องกำหนดวันเลือกตั้งทั่วไปขึ้นใหม่จากวันเลือกตั้งทั่วไปเดิม ที่กำหนดไว้ในพระราชกฤษฎีกายุบสภาผู้แทนราษฎร ย่อมเป็นอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบร่วมกันของนายกรัฐมนตรีและประธานกรรมการการเลือกตั้ง ซึ่งเป็นผู้รักษาการตามกฎหมายจะต้องร่วมกันดำเนินการเพื่อป้องกันภัยพิบัติสาธารณะและความเสียหายร้ายแรงมิให้เกิดแก่ประเทศชาติ หรือประชาชนด้วยความสุจริตและถือประโยชน์ของประเทศชาติและสันติสุขของประชาชนเป็นสำคัญ หากมีเหตุที่จะนำไปสู่ความเสียหายร้ายแรงแก่ประเทศชาติหรือประชาชนอันเนื่องมาจากการจัดการเลือกตั้งทั่วไป คณะกรรมการการเลือกตั้งก็ชอบที่จะต้องแจ้งให้กับนายกรัฐมนตรีหรือคณะรัฐมนตรีทราบ เพื่อให้พิจารณาดำเนินการตราพระราชกฤษฎีกากำหนดวันเลือกตั้งทั่วไปขึ้นใหม่ ตามอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบของนายกรัฐมนตรี และประธานกรรมการการเลือกตั้งในฐานะผู้รักษาการตามพระราชกฤษฎีกายุบสภาผู้แทนราษฎรที่จะต้องดำเนินการร่วมกัน เพื่อให้การเลือกตั้ง ส.ส.เป็นการทั่วไป สำเร็จลุล่วงได้ด้วยดีตามเจตนารมย์ของรัฐธรรมนูญ”เอกสารข่าว ระบุ
ด้านนายเชาวนะ ไตรมาศ เลขาธิการสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ กล่าวว่า การวินิจฉัยเป็นการพิจารณาตามคำร้องว่า สามารถกำหนดวันเลือกตั้งใหม่ได้หรือไม่ และอำนาจเป็นขององค์กรใด ซึ่งคำวินิจฉัยนี้เป็นแนวทางในวิธีปฏิบัติและเป็นคำวินิจฉัยกว้างๆ ซึ่งสุดท้ายก็แล้วแต่ 2 องค์กรที่ปรากฏตามคำร้องจะนำคำวินิจฉัยไปปฏิบัติตามหรือไม่ ส่วนรัฐบาลจะไม่มาหารือกับ กกต.หรือไม่นั้น ก็เป็นเรื่องของรัฐบาล เพราะคำวินิจฉัยไม่ได้เป็นการไปออกคำสั่ง
ทั้งนี้ มีรายงานว่า ในการประชุมคณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญวันนี้ มีตุลาการฯเข้าประชุมเพียง 8 คน ขาดนายชัช ชลวร เนื่องจากลาประชุมโดยการพิจารณาในประเด็นที่ 2 มติเสียงข้างมากดังกล่าว 7 ต่อ 1 โดย 1 เสียงข้างน้อย คือนายนุรักษ์ มาประณีต เห็นว่า เป็นอำนาจเต็มของ กกต.ที่จะเป็นผู้กำหนดวันเลือกตั้งใหม่ อย่างไรก็ตาม คำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญที่ออกมา เชื่อว่า การพิจารณากำหนดวันเลือกตั้งใหม่ของนายกรัฐมตรีและประธานกกต.ที่จะต้องมีการหารือกันนั้น น่าจะยึดแนวทางเหมือนปี 2549 โดยอาจจะต้องมีการประชุมหารือกับทุกพรรคการเมือง และวันเลือกตั้งใหม่ที่จะกำหนดขึ้นนั้นก็น่าจะอยู่ในกรอบระยะเวลา 180 วัน นับแต่มีการยุบสภาเมื่อวันที่ 9 ธ.ค.2556
ตุลาการ.รธน.ยันไม่กังวลตัดสินวันลต.
ศาสตราจารย์ (พิเศษ) จรัญ ภักดีธนากุล ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ยืนยันว่า ไม่กังวลใจ ในการวินิจฉัยคำร้องของคณะกรรมการการเลือกตั้ง หรือ กกต. ที่ขอให้ตัดสินกรณีความขัดแย้งเกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ระหว่าง กกต.และรัฐบาลในการกำหนดวันเลือกตั้งใหม่ว่าทำได้หรือไม่ ซึ่งคงจะวินิจฉัยไปตามคำขอที่ยื่นมา แต่ไม่ขอเปิดเผยถึงแนวทางการตัดสินว่าจะออกมาในทิศทางใด ซึ่งจะต้องรอฟังมติในช่วงบ่ายอีกครั้ง
ด้าน นายเชาวนะ ไตรมาศ เลขาธิการศาลรัฐธรรมนูญ คาดว่าจะใช้เวลาประมาณ 4 - 5 ชั่วโมง ก่อนจะลงมติส่วนแนวทางการตัดสินนั้น ไม่ขอเปิดเผยทิศทาง แต่เชื่อว่าองค์คณะตุลาการ จะยึดหลักของเหตุผลและดุลพินิจ จาก 2 คำขอ ของ กกต. เป็นเงื่อนไขประกอบการวินิจฉัยเป็นสำคัญ ขณะที่ นายภุชงค์ นุตราวงศ์ เลขาธิการ กกต. ระบุว่า ได้เตรียมการรองรับเอาไว้แล้ว ไม่ว่าผลของศาลรัฐธรรมนูญ จะวินิจฉัยออกมาในทิศทางใดซึ่ง กกต. คงไม่ไปก้าวล่วง และไม่ขอประเมินผลการตัดสินจะชี้ให้เป็นอำนาจขององค์กรใด เลื่อนวันเลือกตั้งได้ ระหว่าง กกต. และรัฐบาล ซึ่งจะต้องรอผลการตัดสินของศาลก่อนจึงจะเริ่มดำเนินการได้อย่างไรต่อไป ทั้งนี้ หากศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยออกมาในแนวทางใด กกต. ก็พร้อมจะเร่งดำเนินการตามอย่างเร็วที่สุด
ส่วน นายจารุพงศ์ เรืองสุวรรณ รักษาการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย เปิดเผยว่า รักษาการนายกรัฐมนตรี ได้ปรึกษาหารือรัฐมนตรีหลายคนบ้างแล้ว ในกรณีศาลรัฐธรรมนูญ จะวินิจฉัยอำนาจเลื่อนวันเลือกตั้งเป็นของรัฐบาล หรือ กกต. ทั้งนี้ ไม่ว่าผลของศาลจะออกมาในทิศทางใด รัฐบาลก็พร้อมน้อมรับ และต้องดำเนินการตาม แต่ยืนยันว่าไม่หวั่นไหว หากศาลจะตัดสินให้เป็นอำนาจ กกต. กำหนดวันเลือกตั้งใหม่ โดยรัฐบาลจะยังเดินหน้าทำงานเพื่อบ้านเมืองต่อ แต่ยอมรับว่า หากต้องเลื่อนวันเลือกตั้งออกไปจะกระทบและสร้างความเสียหายให้กับผู้สมัครของพรรคเพื่อไทย เพราะได้เตรียมพร้อมเดินหน้าเข้าสู่กระบวนการเลือกตั้งแล้ว และในวันนี้ จะนัดประชุมพรรคเพื่อไทย เพื่อประเมินผลการตัดสินของศาลรัฐธรรมนูญ ก่อนเตรียมดำเนินการอย่างไรต่อไป
ขณะที่ นายนิติธร ล้ำเหลือ ที่ปรึกษาเครือข่ายนักศึกษาประชาชนปฏิรูปประเทศไทย หรือ คปท.ระบุว่า การเลื่อนการเลือกตั้ง สามารถดำเนินการได้ทั้ง 2 ฝ่าย กฎหมายไม่ได้มีข้อห้าม แต่เพื่อให้การบริหารงาน และสามารถทำงานร่วมกันได้ต้องมีการประสานงานร่วมกัน ฉะนั้น ในขณะนี้ กกต. เป็นผู้มีสิทธิ์ขาดในการกำหนดอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการเลือกตั้งทั้งกระบวนการ ซึ่งหากการเลือกตั้งเป็นปัญหา หรือ มีอุปสรรค กกต. ก็สามารถเลื่อนการเลือกตั้งได้ อย่างไรก็ตาม คงต้องรอฟังคำตัดสินของศาลรัฐธรรมนูญ อีกครั้ง ซึ่งผลที่ออกมาจะมีส่วนต่อการตัดสินใจเคลื่อนไหว ของ คปท. ด้วย และยืนยันว่า คปท.ไม่เห็นด้วยที่จะจัดให้มีการเลือกตั้งก่อนการปฏิรูปประเทศ
"สมชัย" คาดคุย "นายกฯ" ได้ 27 ม.ค.หลัง "ศาลรธน." มีคำวินิจฉัย
นายสมชัย ศรีสุทธิยากร กกต.ด้านกิจการบริหารงานเลือกตั้ง กล่าวภายหลังที่ศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยว่า สามารถกำหนดวันเลือกตั้งได้ใหม่ โดยให้ประธานกกต.และนายกรัฐมนตรีหารือร่วมกัน ว่า คำวินิจฉัยนี้ถือเป็นทางออกที่ดี เป็นประตูอีกบานหนึ่งที่เปิดให้กับรัฐบาลที่ไม่ใช่มองแค่การเลือกตั้งอย่างเดียว ที่จะเป็นทางออก แต่ชี้ให้เห็นว่า ข้อกฎหมายสามารถเลื่อนการจัดการเลือกตั้งได้ แต่ทั้งนี้ กฎหมายไม่ได้กำหนดระยะเวลาในการออกพระราชกฤษฎีกาเลือกต้ังใหม่ ตนคิดว่า น่าจะใช้เวลาไม่นาน เพราะระหว่างนั้นรัฐบาลก็คงต้องรักษาการอยู่ อย่างไรก็ตาม คาดว่าน่าจะเลื่อนการเลือกตั้งออกไป 3 เดือน ทั้งนี้ คาดว่า กกต.น่าจะมีการนัดหารือกับรัฐบาลและพรรคการเมืองต่างๆ ในวันที่ 27 ม.ค.นี้ และคาดว่า หากมีการหารือกันแล้วก็อาจจะมีการออก พ.ร.ฎ.กำหนดวันเลือกตั้งใหม่ได้ในวันที่ 28 ม.ค.นี้ ส่วนการเลือกตั้งล่วงหน้าในวันที่ 26 ม.ค.นี้ ก็ยังคงมีการเลือกตั้งต่อไปจนกว่าจะได้มีการหารือระหว่าง กกต.กับรัฐบาล
ที่มา ; นสพ.คมชัดลึก
... เน็ตช้า คลิ๊กที่ http://tuewsob.blogspot.com
... ห้องวิชาเอกครู คลิ๊กที่ http://uewsob2011.blogspot.com
... (ห้องข้อสอบใหม่) ..สอบครู..สอบผู้บริหาร..สอบบุค ลากร ที่
"ติวสอบดอทคอม "
ผอ.นิกร เพ็งลี
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น