ข้อสอบออนไลน์ (สอบครู-ผู้บริหาร-บุคลากรการศึกษา) ชุดใหม่ล่าสุด
ติวสอบออนไลน์ ชุด นโยบายรัฐบาล
ลิงค์ข้อสอบ ที่เกี่ยวข้องกับ "นโยบายรัฐบาล" โดย ติวสอบดอทคอม
http://tuewsob.blogspot.com/2013/11/blog-post_4.html
http://www.tuewsob.com/rr164.html
http://www.tuewsob.com/rr%20157%20pu%201.html
http://tuewsob.blogspot.com/2013/10/132556.html
http://tuewsob.blogspot.com/2013/10/blog-post_31.html
http://www.tuewsob.com/rr164.html
http://www.tuewsob.com/rr%20157%20pu%201.html
http://tuewsob.blogspot.com/2013/10/132556.html
http://tuewsob.blogspot.com/2013/10/blog-post_31.html
ข่าวสำนักงานรัฐมนตรี 11/2557
ผลการประชุมองค์กรหลัก 13 มกราคม 2557
ผลการประชุมองค์กรหลัก 13 มกราคม 2557
ศึกษาธิการ - นายจาตุรนต์ ฉายแสง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ประชุมผู้บริหารองค์กรหลักของกระทรวงศึกษาธิการ เมื่อวันที่ 13 มกราคม 2557 ณ ห้องประชุมชั้น 2 สำนักพัฒนาสมรรถนะครูและบุคลากรอาชีวศึกษา ถนนรามอินทรา กรุงเทพฯ
- แนวทางการทำงานในช่วงภาวะวิกฤต
ที่ประชุมผู้บริหารองค์กรหลัก ศธ. ได้หารือและประเมินสถานการณ์ที่อาจส่งผลกระทบจากการชุมนุมทางการเมือง ดังนี้
- สถานที่ทำงานของ ศธ. ในวันที่ 13-14 มกราคม 2557 หน่วยงานสังกัด ศธ.จะทำงานในสถานที่ที่ได้เตรียมไว้รองรับผลกระทบจากการชุมนุม โดยจะมีการประเมินสถานการณ์อีกครั้ง ทั้งสภาพการจราจร ความสะดวก และความปลอดภัย เพื่อตัดสินใจว่าจะย้ายกลับไปทำงานตามปกติหรือไม่ ซึ่งก็มีแนวโน้มสูงว่าจะได้กลับไปทำงานตามปกติ ทั้งนี้ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ได้ย้ายศูนย์ One Stop Service ไปทำการอยู่ที่โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ หอวัง นนทบุรี อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี
- ระบบการติดตามสถานการณ์ แต่ละองค์กรหลักจะประเมินและรายงานสถานการณ์ทุกวันๆ ละ 2 ครั้ง คือในเวลา 11.00 น. และเวลา 17.00 น. เพื่อติดต่อสื่อสารกับผู้ปกครองและนักเรียนกรณีมีความจำเป็น ทั้งนี้สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ จะเป็นแกนในการประมวลสถานการณ์
- ผลกระทบและมาตรการกับสถานศึกษา ขณะนี้ยังไม่เปลี่ยนแปลงจากที่ประเมินไว้เดิม โดยมีจำนวนสถานศึกษาที่ได้รับผลกระทบรวม 207 แห่ง ประกอบด้วย สพฐ. 52 แห่ง สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน (สช.) 117 แห่ง และสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) 9 แห่ง นักเรียนและครูได้รับผลกระทบจำนวนมาก โดยเฉพาะในส่วนของ สพฐ.มีครูได้รับผลกระทบ 6,139 คน และนักเรียน 83,537 คน ซึ่งการเปิด-ปิดโรงเรียนอยู่ในดุลยพินิจของโรงเรียน ส่วนมหาวิทยาลัยได้รับผลกระทบทั้งหมด 160 แห่ง ประกาศปิดเรียน 49 แห่ง และนักศึกษาได้รับผลกระทบ จำนวน668,836 คน
- การรับนักเรียน ประจำปีการศึกษา 2557
เป็นเรื่องที่จะต้องประกาศล่วงหน้า 1 ภาคเรียน ซึ่ง สพฐ.ได้ประกาศไปแล้วเมื่อเดือนตุลาคม 2556 ซึ่งในการประชุมครั้งนี้ได้นำมาทบทวนเนื่องจากใกล้ถึงเวลารับสมัคร โดยมีปฏิทินการรับสมัคร คือ ระดับประถมศึกษา รับสมัครระหว่างวันที่ 27 กุมภาพันธ์-3 มีนาคม 2557 และมัธยมศึกษา รับสมัครระหว่างวันที่ 20-24 มีนาคม 2557
ที่ประชุมได้มีขอให้ สพฐ.จัดทำข้อมูลเพิ่มเติม เรื่องห้องเรียนที่มีนักเรียนจำนวนมาก ซึ่งข้อมูลที่มีอยู่เป็นจำนวนค่าเฉลี่ยของนักเรียนในโรงเรียนระดับต่างๆ เป็นค่าเฉลี่ยที่ไม่ได้บอกถึงปัญหาอย่างชัดเจนว่า ห้องเรียนที่มีนักเรียนจำนวนมาก ส่งผลกระทบต่อการเรียนการสอน มีมากน้องเพียงใด เพราะค่าเฉลี่ยนี้อาจจะเป็นค่าเฉลี่ยของห้องเรียนที่มีนักเรียนน้อยกับนักเรียนมาก ทำให้ค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับพอใช้ได้ แต่สันนิษฐานว่า โรงเรียนที่มีการแข่งขันสูง โรงเรียนมีชื่อเสียง อาจจะมีจำนวนนักเรียนต่อห้องสูงมาก ซึ่งจะไม่เป็นผลดีต่อการเรียนการสอน จึงขอให้ สพฐ. รวบรวมข้อมูลเชิงสถิติ เพื่อศึกษาวิเคราะห์การแก้ไขปัญหาในระยะยาวต่อไป
นอกจากนี้ ที่ประชุมขอให้ สพฐ. และ สอศ. ประสานงานอย่างใกล้ชิดตั้งแต่บัดนี้ไปจนถึงการรับสมัคร เพื่อให้นโยบายและแนวปฏิบัติด้านการส่งเสริมการเพิ่มสัดส่วนนักเรียนอาชีวศึกษามีผลมากขึ้น
- กรอบแนวคิดแผนยุทธศาสตร์การพั
ฒนาการศึกษาในเขตพื้นที่สู งและชายแดน
สืบเนื่องจากเป็นเรื่องที่จะต้องดำเนินการให้เป็นไปตามรัฐธรรมนูญ กำหนดว่าบุคคลย่อมมีสิทธิเสมอกันในการรับการศึกษาขั้นพื้นฐานไม่น้อยกว่า 12 ปี และอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กตามปฏิญญาจอมเทียน นอกจากนี้ยังมีนโยบายรัฐบาลในการสร้างโอกาสทางการศึกษาโดยคำนึงถึงความเสมอภาคทุกกลุ่ม รวมทั้งผู้ยากไร้ ผู้ด้อยโอกาส ผู้บกพร่องทางกายและการเรียนรู้ และชนกลุ่มน้อย จากประเด็กข้างต้น พบว่ามีวิกฤตทางการศึกษาในเขตพื้นที่สูงและชายแดน เป็นปัญหาสำคัญ ดังนี้
- มีเด็กตกหล่น ร้อยละ 38 ของประชากรที่ตกหล่นทั่วประเทศ
- มีเด็กออกกลางคัน ร้อยละ 15 ของเด็กที่ออกกลางคันทั่วประเทศ
- มีเด็กอ่านไม่ออก ร้อยละ 22 ของเด็กที่อ่านไม่ออกในสังกัด สพฐ.
- มีเด็กเขียนไม่ได้ ร้อยละ 23 ของเด็กที่เขียนไม่ได้ในสังกัด สพฐ.
- มีเด็กจบ ป.6 ไม่ได้เรียนต่อจนจบการศึกษาภาคบังคับ ร้อยละ 23
- มีเด็กจบ ม.3 ไม่ได้เรียนต่อ ร้อยละ 26
- มีเด็กที่มีภาวะทุพโภชนาการ ร้อยละ 30
- ชุมชนตั้งอยู่ในพื้นที่ต้นน้ำและป่าสงวน ร้อยละ 53 ของประเทศ
- มีคดียาเสพติดเกิดขึ้นตามแนวชายแดน ร้อยละ 46 ของการจับกุมทั่วประเทศ
- มีเด็กออกกลางคัน ร้อยละ 15 ของเด็กที่ออกกลางคันทั่วประเทศ
- มีเด็กอ่านไม่ออก ร้อยละ 22 ของเด็กที่อ่านไม่ออกในสังกัด สพฐ.
- มีเด็กเขียนไม่ได้ ร้อยละ 23 ของเด็กที่เขียนไม่ได้ในสังกัด สพฐ.
- มีเด็กจบ ป.6 ไม่ได้เรียนต่อจนจบการศึ
- มีเด็กจบ ม.3 ไม่ได้เรียนต่อ ร้อยละ 26
- มีเด็กที่มีภาวะทุพโภชนาการ ร้อยละ 30
- ชุมชนตั้งอยู่ในพื้นที่ต้นน้
- มีคดียาเสพติดเกิดขึ้
แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาการศึกษาในเขตพื้นที่สูงและชายแดน ประกอบด้วย 5 ยุทธศาสตร์
- ยุทธศาสตร์ที่ 1 เพิ่มโอกาสทางการศึกษา
- ยุทธศาสตร์ที่ 2 พัฒนาคุณภาพและมาตรฐานด้วยวิธีการที่หลากหลาย
- ยุทธศาสตร์ที่ 3 เสริมสร้างทักษะชีวิต ทักษะอาชีพและการมีงานทำ
- ยุทธศาสตร์ที่ 4 พัฒนาครู ผู้บริหารและบุคลากรทางการศึกษา
- ยุทธศาสตร์ที่ 5 พัฒนาระบบการบริหารและกลไกในการจัดการศึกษา
- ยุทธศาสตร์ที่ 2 พัฒนาคุณภาพและมาตรฐานด้วยวิธี
- ยุทธศาสตร์ที่ 3 เสริมสร้างทักษะชีวิต ทักษะอาชีพและการมีงานทำ
- ยุทธศาสตร์ที่ 4 พัฒนาครู ผู้บริหารและบุคลากรทางการศึกษา
- ยุทธศาสตร์ที่ 5 พัฒนาระบบการบริ
ที่ประชุมมีความเห็นว่า ควรมีการหารือถึงสภาพปัญหาของการจัดการศึกษา การนำจุดเด่นของยุทธศาสตร์ไปใช้ดำเนินการ รวมทั้งผลสัมฤทธิ์ที่จะเกิดขึ้น ต้องมีลักษณะแตกต่างและพัฒนาประสิทธิภาพการทำงานได้ดีขึ้น โดยในเร็วๆ นี้จะจัดประชุมระดมความคิดเห็นร่วมกับกลุ่มองค์กรในพื้นที่สูงและชายแดน ซึ่งเคยเข้าพบและยื่นข้อร้องเรียนกับตนและผู้บริหาร ศธ. เพื่อให้ได้แผนยุทธศาสตร์ที่มีความชัดเจน เป็นรูปธรรม นำไปสู่แผนปฏิบัติการที่มีงบประมาณรองรับ ซึ่งเมื่อแผนเสร็จสมบูรณ์ จะแจ้งไปยังผู้เกี่ยวข้องให้ได้ทราบวัตถุประสงค์ของแผนยุทธศาสตร์ รวมทั้งจะเดินทางไปเยี่ยมโรงเรียนในเขตพื้นที่สูงและชายแดน และขอเชิญชวนสื่อมวลชนร่วมเดินทางไปด้วยกัน ซึ่งแผนยุทธศาสตร์นี้ยังสอดคล้องกับนโยบายของ ศธ.ข้อที่ 8 ด้วย
ในส่วนของโรงเรียนขนาดเล็ก โรงเรียนในพื้นที่ห่างไกล และประชาชนที่ยากจนนั้น ก็เป็นเรื่องที่ ศธ.ให้ความสนใจ แม้ว่าจะไม่ได้อยู่ในพื้นที่สูงหรือชายแดนก็ตาม โดยจะเดินทางไปเยี่ยม รับฟังปัญหา พร้อมทั้งหาทางแก้ไขปัญหาต่อไป
- การเลือกตั้งข้าราชการครูและบุ
คลากรทางการศึกษาใน ก.ค.ศ. ที่ครบวาระ
สำนักงาน ก.ค.ศ.ประกาศให้มีการเลือกตั้งคณะกรรมการผู้แทนข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2557 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 1) พ.ศ. 2553 ที่ครบวาระ ซึ่งตามมาตราที่ 7(5) กำหนดให้มีกรรมการผู้แทนข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ซึ่งจากการเลือกตั้งจำนวน 12 คน ประกอบด้วย
1. ผู้แทนผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การประถมศึกษา จำนวน 1 คนและผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา จำนวน 1 คน
2.ผู้แทนผู้บริหารสถานศึกษาหรือผู้บริหารสถานศึกษาที่เรียกชื่ออย่างอื่นในหน่วยงานการศึกษาตามที่ ก.ค.ศ. กำหนด ซึ่งสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานในเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา จำนวน 1 คน และเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา จำนวน 1 คน
3.ผู้แทนข้าราชการครูสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ในเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา จำนวน 3 คน และในเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา จำนวน 1 คน
4.ผู้แทนข้าราชการครูสังกัดสำนักงานคณะกรรมการอาชีวศึกษา จำนวน 1 คน
5.ผู้แทนข้าราชการครูสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา สังกัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา หรือสังกัดกระทรวงวัฒนธรรม จำนวน 1 คน
6. ผู้แทนบุคลากรทางการศึกษา...สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ในเขตพื้นที่การประถมศึกษา จำนวน 1 คน และในเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา จำนวน 1 คน
2.ผู้แทนผู้บริหารสถานศึกษาหรื
3.ผู้แทนข้าราชการครูสังกัดสำนั
4.ผู้แทนข้าราชการครูสังกัดสำนั
5.ผู้แทนข้าราชการครูสังกัดสำนั
6. ผู้แทนบุคลากรทางการศึกษา...สั
โดยมีปฏิทินในการดำเนินการ ดังนี้
- ประกาศการเลือกตั้งฯ วันที่ 13 มกราคม 2557
- ประกาศรับสมัคร วันอังคารที่ 28 ถึงวันศุกร์ที่ 31 มกราคม 2557
- วันเลือกตั้ง วันพฤหัสบดีที่ 27 กุมภาพันธ์ 2557
- ประกาศผลการเลือกตั้ง ภายในวันอังคารที่ 18 มีนาคม 2557
- ประกาศรับสมัคร วันอังคารที่ 28 ถึงวันศุกร์ที่ 31 มกราคม 2557
- วันเลือกตั้ง วันพฤหัสบดีที่ 27 กุมภาพันธ์ 2557
- ประกาศผลการเลือกตั้ง ภายในวันอังคารที่ 18 มีนาคม 2557
ข้าราชการและบุคลากรทางการศึกษาที่สนใจ สามารถสมัครเข้ารับการเลือกตั้งได้ ณ สถานที่ส่วนราชการต้นสังกัดที่กำหนด
นอกจากนี้ ได้เตรียมการเลือกตั้งกรรมการผู้แทนข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาใน ก.ค.ศ. ดังนี้
- จัดทำคู่มือดำเนินการเลือกตั้ง
- จัดประชุมชี้แจงเกี่ยวกับการดำเนินการเลือกตั้ง ให้สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ส่วนราชการ และสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ให้ได้รับความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการรับสมัครการเลือกตั้ง การตรวจสอบคุณสมบัติ การประเมินผู้มีสิทธิ์เข้ารับการเลือกตั้งและการดำเนินการเลือกตั้ง และการรายงานผลการเลือกตั้ง
- ตั้งคณะกรรมการกำกับดูแลการเลือกตั้งในครั้งนี้ เพื่อให้การเลือกตั้งเป็นไปอย่างบริสุทธิ์ยุติธรรม
- จัดประชุมชี้แจงเกี่ยวกั
- ตั้งคณะกรรมการกำกับดูแลการเลื
ทั้งนี้ขอให้ผู้มีสิทธิ์ได้ไปเลือกตั้งบุคคลเพื่อทำหน้าที่ ที่มีความเหมาะสม มีความรู้ความสามารถ เพื่อเป็นตัวแทนในการบริหารงานบุคคล สำหรับข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาต่อไปด้วย
สอศ.จัดอาหารเช้า-กลางวันให้ข้าราชการ ลูกจ้างที่ย้ายไปทำงานชั่วคราวที่ ถ.รามอินทรา
ถ่าย
รมว.ศธ.ให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนเพิ่มเติมว่า งานของ ศธ.จะดำเนินการต่อเนื่องต่อไป โดยในวันนี้ได้มีการซักซ้อมเกี่ยวกับการดำเนินงานว่า ส่วนใดที่คิดจะดำเนินการหลังเลือกตั้ง ก็ขอให้เร่งทำเมื่อมีความพร้อม เพราะยังไม่รู้ว่าจะได้เลือกตั้งเมื่อใด ดังนั้นส่วนใดที่มีความพร้อมก็ขอให้ดำเนินการ รวมทั้งให้คำนึงถึงปฏิทินเปิดปิดภาคเรียน ควรมีการวางแผนว่าสิ่งใดควรทำในระหว่างปิดภาคเรียน สิ่งใดควรดำเนินการให้ทันก่อนเปิดภาคเรียน และดำเนินการเมื่อเปิดภาคเรียนแล้ว ให้วางแผนตามนโยบาย โครงการและงบประมาณที่มีอยู่แล้วตาม พ.ร.บ.งบประมาณฯ ซึ่งในส่วนเหล่านี้ไม่มีข้อห้ามใดๆ ของรัฐธรรมนูญและกฎหมายเลือกตั้ง
ที่มา เว็บสำนักงานรัฐมนตรี ศธ.
... เน็ตช้า คลิ๊กที่ http://tuewsob.blogspot.com
... ห้องวิชาเอกครู คลิ๊กที่ http://uewsob2011.blogspot.com
... (ห้องข้อสอบใหม่) ..สอบครู..สอบผู้บริหาร..สอบบุคลากร ที่
"ติวสอบดอทคอม "
ผอ.นิกร เพ็งลี
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น