ข้อสอบออนไลน์ (สอบครู-ผู้บริหาร-บุคลากรการศึกษา) ชุดใหม่ล่าสุด
ติวสอบออนไลน์ ชุด นโยบายรัฐบาล
ลิงค์ข้อสอบ ที่เกี่ยวข้องกับ "นโยบายรัฐบาล" โดย ติวสอบดอทคอม
http://tuewsob.blogspot.com/2013/11/blog-post_4.html
http://www.tuewsob.com/rr164.html
http://www.tuewsob.com/rr%20157%20pu%201.html
http://tuewsob.blogspot.com/2013/10/132556.html
http://tuewsob.blogspot.com/2013/10/blog-post_31.html
http://www.tuewsob.com/rr164.html
http://www.tuewsob.com/rr%20157%20pu%201.html
http://tuewsob.blogspot.com/2013/10/132556.html
http://tuewsob.blogspot.com/2013/10/blog-post_31.html
ข่าวสำนักงานรัฐมนตรี 20/2557ผลการประชุมองค์กรหลัก ครั้งที่ 3/2557
ศึกษาธิการ - นายจาตุรนต์ ฉายแสง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานการประชุมผู้บริหารองค์กรหลัก ครั้งที่ 3/2557 โดยมีนายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ดร.พวงเพ็ชร ชุนละเอียด และ ดร.กิตติ ลิ่มสกุล ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงศึกษาธิการ เข้าร่วมประชุม เมื่อวันที่ 23 มกราคม 2557 ณ ห้องประชุมสำนักพัฒนาสมรรถนะและบุคลากรอาชีวศึกษา
-
เรื่องที่ประธานแจ้งให้ที่ประชุมรับทราบ
- ความเป็นรัฐบาลรักษาการ อาจจะใช้ระยะเวลาอีกนาน หาก ศธ.ไม่เร่งรัดการทำงาน ก็จะส่งผลเสียต่อการจัดการศึกษาแก่เด็กและเยาวชนทั่วประเทศ จึงขอให้ทุกองค์กรเร่งดำเนินงานในเรื่องที่สามารถทำได้ตามอำนาจหน้าที่ ตามกฎหมาย รวมทั้งเรื่องที่กำลังหาข้อสรุป หรือที่ได้ประกาศออกไป เช่น ปฏิทินการเปิด-ปิดภาคเรียน มิฉะนั้นหลายเรื่องที่ดำเนินการแล้ว หรือที่ผ่านความเห็นร่วมกันว่าดี ก็จะไม่มีอะไรก้าวหน้าเลย จึงจะจัดให้มีการจัดประชุมหารือกับผู้บริหารระดับสูงของแต่ละองค์กร เพื่อติดตามความก้าวหน้าการทำงาน
- การประชาสัมพันธ์การปฏิรูปการศึกษา ขอให้ประชาสัมพันธ์งานในแต่ละส่วนที่สามารถประชาสัมพันธ์ได้ เพื่อให้สังคม ผู้ปกครอง และชุมชนได้รับรู้ความก้าวหน้าการดำเนินงานของ ศธ. เช่น การมีส่วนร่วม และผลที่จะเกิดขึ้นจากการปฏิรูปการศึกษา รวมทั้งมีแผนปฏิบัติงานที่ชัดเจนสำหรับผู้บริหารทุกระดับ ทั้งในส่วนกลาง เขตพื้นที่การศึกษา และสถานศึกษา
-
รายงานสถานการณ์และผลกระทบจากเหตุการณ์ชุมนุมทางการเมือง
1) สถานศึกษาสังกัด ศธ.
สถานการณ์เดิม (13-22 มกราคม 2557)
- มีผลกระทบเฉพาะในส่วนกรุงเทพฯ จำนวนสถานศึกษาที่ปิดเรียนสูงสุดในวันแรก (13 มกราคม 2557) จำนวน 117 แห่ง จาก 1,147 แห่งทุกสังกัด คือ สพฐ. อาชีวะ อุดมศึกษา และเอกชน
- จำนวนนักเรียนนักศึกษาที่ได้รับผลกระทบ 349,832 คน ครู บุคลากร 51,617 คน
- จนถึงวันนี้ สถานศึกษาทุกแห่งในกรุงเทพฯ เปิดเรียนครบแล้ว แต่ก็ยังมีผลกระทบกับการเดินทางมาเรียนของนักเรียนนักศึกษา ครู และบุคลากรทางการศึกษามาก
- ข้อมูลวันนี้ พบว่ามีนักเรียนนักศึกษาที่ขาดเรียนร้อยละ 1–29 บุคลากรไม่สามารถเดินทางมาทำงานได้ร้อยละ 1–4 ขึ้นอยู่กับสถานศึกษาที่อยู่ใกล้/ไกลจากสถานที่ชุมนุม
สถานการณ์ปัจจุบัน (23 มกราคม 2557) ได้มีการขยายการปิดสถานศึกษาใน 14 จังหวัดภาคใต้ โดยเฉพาะ สถานศึกษาของอาชีวศึกษา ซึ่งมีจำนวนทั้งหมด 80 แห่ง วันนี้ปิดเรียน 46 แห่ง ดังนี้
- จังหวัดที่ปิดเรียนทั้งจังหวัด รวม 6 จังหวัด คือ ชุมพร 7 แห่ง, สุราษฎร์ธานี 7 แห่ง, นครศรีธรรมราช 11 แห่ง, พัทลุง 6 แห่ง, สงขลา5 แห่ง, กระบี่ 5 แห่ง และสตูล 3 แห่ง (รวม 44 แห่ง)
- จังหวัดที่มีการปิดเป็นบางแห่ง รวม 1 จังหวัด คือ ตรัง ปิด 2 แห่ง จากจำนวนทั้งสิ้น 7 แห่ง
- จังหวัดที่เปิดเรียนตามปกติ รวม 6 จังหวัด คือ ภูเก็ต 4 แห่ง, ระนอง 3 แห่ง, พังงา 4 แห่ง, ยะลา 5 แห่ง, ปัตตานี 6 แห่ง และนราธิวาส 2 แห่ง
- สถานศึกษาของเอกชน ใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ทั้ง 280 แห่ง เปิดเรียนตามปกติแล้ว
- สถานศึกษาสังกัดอื่นๆ กำลังรอข้อมูล
มาตรการในการรับมือผลกระทบของ ศธ.
- แต่งตั้งคณะกรรมการอำนวยการศูนย์ปฏิบัติการเฝ้าระวังสภาวะวิกฤติฯ โดยมีปลัดกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธาน และแต่งตั้งคณะอนุกรรมการอำนวยการฯ โดยมีรองปลัดกระทรวงศึกษาธิการ (นายศุภกร วงศ์ปราชญ์) เป็นประธาน ซึ่งมีการประชุมทุกวัน เวลา 9.00 น.
- จัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการเฝ้าระวังสภาวะวิกฤติฯ และคณะทำงานจัดตั้งศูนย์ฯ
- กำหนดมาตรการเฝ้าระวังและการเผชิญเหตุจากการชุมนุมทางการเมืองของ ศธ.
- กำหนดแนวปฏิบัติกรณีกลุ่มผู้ชุมนุมเดินทางมาปิดล้อมสถานที่ราชการ
- แนวทางปฏิบัติงานในช่วงภาวะวิกฤติของหน่วยงานองค์กรหลักต่างๆ เช่น การติดต่อขอรับบริการผ่านสายด่วน 1579, One Stop Service ที่โรงเรียนสตรีวิทยา 2 และสถานที่ปฏิบัติงานสำรองต่างๆ ของแต่ละหน่วยงาน/องค์กรหลัก
2) การปิดล้อมโรงพิมพ์องค์การค้าของ สกสค.
เมื่อวันที่ 17 มกราคม 2557 กลุ่มผู้ชุมนุมทางการเมืองได้บุกรุกเข้ามาในพื้นที่โรงพิมพ์องค์การค้าของ สกสค. ซึ่งชนะการประมูลในการจัดพิมพ์บัตรเลือกตั้ง โดยได้ทำการตัดไฟฟ้า ทำลายเครื่องพิมพ์ อุปกรณ์ต่างๆ รวมทั้งบัตรเลือกตั้ง ทำให้เกิดความเสียหายจำนวนมาก เช่น โต๊ะควบคุมการจ่ายหมึกพิมพ์ จอควบคุมการทำงานและจอแสดงผลเครื่องพิมพ์ออฟเซทป้อนม้วน แผงวงจรตู้ควบคุมไฟฟ้า ตู้ควบคุมระบบไฟฟ้า ฯลฯ ซึ่งกำลังประเมินมูลค่าความเสียหายทั้งหมด นอกจากนี้ กลุ่มผู้ชุมนุมฯ ได้ให้พนักงาน/เจ้าหน้าที่องค์การค้าของ สกสค.ทุกคนออกจากโรงพิมพ์ และได้ปิดล้อมอีกครั้ง เมื่อวันที่ 18 และ20 มกราคม 2557 ทำให้องค์การค้าของ สกสค.ไม่สามารถดำเนินการจัดพิมพ์บัตรเลือกตั้งต่อไปได้
องค์การค้าของ สกสค. จึงได้รายงานให้ที่ประชุมรับทราบว่า ได้กำหนดแนวทางการแก้ปัญหาเพื่อให้การจัดพิมพ์บัตรเลือกตั้งเสร็จทันตามกำหนดเวลา ซึ่งขณะนี้ได้ขออนุญาตคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ให้องค์การค้าของ สกสค.นำบัตรเลือกตั้งที่พิมพ์แล้วไปดำเนินการต่อให้แล้วเสร็จ และนำบัตรที่ยังไม่ได้จัดพิมพ์ไปจัดพิมพ์ที่โรงพิมพ์ภายนอก รวมทั้งขอกำลังทหารและตำรวจมาคุ้มกันทรัพย์สินขององค์การค้าของ สกสค. ตลอดจนได้แจ้งความต่อสถานีตำรวจนครบาลโชคชัย และแจ้งคณะกรรมการการเลือกตั้งแล้ว
ภาพ สถาพร ถาวรสุข
ทั้งนี้ รมว.ศธ.ขอให้เร่งดำเนินการ ดังนี้
- เรื่องที่จะต้องทำให้ทันเปิดภาคเรียน ขอให้ สพฐ.ดำเนินการตามประกาศและปฏิทินการเปิดปิดภาคเรียน
- การทดสอบภาษาอังกฤษ ภาษาจีน สพฐ.จะต้องประสานและทำงานเชื่อมโยงกับ สอศ. สช. ทั้งการจัดห้องเรียน มีระบบวิชาเลือก ซึ่งเป็นเรื่องใหญ่ หลักการคือ ต้องจัดห้องเรียนและลดจำนวนคน เช่น 20 คนต่อห้องเรียน แต่หากไม่มีระบบวิชาเลือกและมีการบังคับเด็กให้เรียนทั้งหมด ก็จะไม่ประสบความสำเร็จและเกิดการสูญเปล่า จะทำอย่างไรให้มีแนวปฏิบัติรองรับและมีการซักซ้อมเพื่อให้ระบบการเรียนวิชาภาษาจีนเกิดขึ้นได้จริงภายในปีการศึกษา 2557หากดำเนินการไม่ทันก็จะเกิดเสียเวลาไปอีก 1 ปี ซึ่งได้รับรายงานว่า สพฐ.ได้ตั้งคณะทำงานเพื่อจัดทำแนวปฏิบัตินำไปสู่การปฏิบัติในเรื่องภาษาจีน ได้ทบทวนระเบียบแนวปฏิบัติเดิมเกี่ยวกับการวัดและประเมินผล รวมทั้งภาษาอังกฤษที่จะส่งเสริมให้มีวิชาสนทนาและการจัดห้องเรียนนั้น แม้ว่าจะเป็นเรื่องของ สพฐ. แต่ฝากให้ช่วยกันหารือกับส่วนอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องด้วย
ข่าวสำนักงานรัฐมนตรี 20/2557ผลการประชุมองค์กรหลัก ครั้งที่ 3/2557
ศึกษาธิการ - นายจาตุรนต์ ฉายแสง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานการประชุมผู้บริหารองค์กรหลัก ครั้งที่ 3/2557 โดยมีนายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ดร.พวงเพ็ชร ชุนละเอียด และ ดร.กิตติ ลิ่มสกุล ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงศึกษาธิการ เข้าร่วมประชุม เมื่อวันที่ 23 มกราคม 2557 ณ ห้องประชุมสำนักพัฒนาสมรรถนะและบุคลากรอาชีวศึกษา
- เรื่องที่ประธานแจ้งให้ที่ประชุมรับทราบ
- ความเป็นรัฐบาลรักษาการ อาจจะใช้ระยะเวลาอีกนาน หาก ศธ.ไม่เร่งรัดการทำงาน ก็จะส่งผลเสียต่อการจัดการศึกษาแก่เด็กและเยาวชนทั่วประเทศ จึงขอให้ทุกองค์กรเร่งดำเนินงานในเรื่องที่สามารถทำได้ตามอำนาจหน้าที่ ตามกฎหมาย รวมทั้งเรื่องที่กำลังหาข้อสรุป หรือที่ได้ประกาศออกไป เช่น ปฏิทินการเปิด-ปิดภาคเรียน มิฉะนั้นหลายเรื่องที่ดำเนินการแล้ว หรือที่ผ่านความเห็นร่วมกันว่าดี ก็จะไม่มีอะไรก้าวหน้าเลย จึงจะจัดให้มีการจัดประชุมหารือกับผู้บริหารระดับสูงของแต่ละองค์กร เพื่อติดตามความก้าวหน้าการทำงาน
- การประชาสัมพันธ์การปฏิรูปการศึกษา ขอให้ประชาสัมพันธ์งานในแต่ละส่วนที่สามารถประชาสัมพันธ์ได้ เพื่อให้สังคม ผู้ปกครอง และชุมชนได้รับรู้ความก้าวหน้าการดำเนินงานของ ศธ. เช่น การมีส่วนร่วม และผลที่จะเกิดขึ้นจากการปฏิรูปการศึกษา รวมทั้งมีแผนปฏิบัติงานที่ชัดเจนสำหรับผู้บริหารทุกระดับ ทั้งในส่วนกลาง เขตพื้นที่การศึกษา และสถานศึกษา
- รายงานสถานการณ์และผลกระทบจากเหตุการณ์ชุมนุมทางการเมือง
1) สถานศึกษาสังกัด ศธ.
สถานการณ์เดิม (13-22 มกราคม 2557)
- มีผลกระทบเฉพาะในส่วนกรุงเทพฯ จำนวนสถานศึกษาที่ปิดเรียนสูงสุดในวันแรก (13 มกราคม 2557) จำนวน 117 แห่ง จาก 1,147 แห่งทุกสังกัด คือ สพฐ. อาชีวะ อุดมศึกษา และเอกชน
- จำนวนนักเรียนนักศึกษาที่ได้รับผลกระทบ 349,832 คน ครู บุคลากร 51,617 คน
- จนถึงวันนี้ สถานศึกษาทุกแห่งในกรุงเทพฯ เปิดเรียนครบแล้ว แต่ก็ยังมีผลกระทบกับการเดินทางมาเรียนของนักเรียนนักศึกษา ครู และบุคลากรทางการศึกษามาก
- ข้อมูลวันนี้ พบว่ามีนักเรียนนักศึกษาที่ขาดเรียนร้อยละ 1–29 บุคลากรไม่สามารถเดินทางมาทำงานได้ร้อยละ 1–4 ขึ้นอยู่กับสถานศึกษาที่อยู่ใกล้/ไกลจากสถานที่ชุมนุม
สถานการณ์ปัจจุบัน (23 มกราคม 2557) ได้มีการขยายการปิดสถานศึกษาใน 14 จังหวัดภาคใต้ โดยเฉพาะ สถานศึกษาของอาชีวศึกษา ซึ่งมีจำนวนทั้งหมด 80 แห่ง วันนี้ปิดเรียน 46 แห่ง ดังนี้
- จังหวัดที่ปิดเรียนทั้งจังหวัด รวม 6 จังหวัด คือ ชุมพร 7 แห่ง, สุราษฎร์ธานี 7 แห่ง, นครศรีธรรมราช 11 แห่ง, พัทลุง 6 แห่ง, สงขลา5 แห่ง, กระบี่ 5 แห่ง และสตูล 3 แห่ง (รวม 44 แห่ง)
- จังหวัดที่มีการปิดเป็นบางแห่ง รวม 1 จังหวัด คือ ตรัง ปิด 2 แห่ง จากจำนวนทั้งสิ้น 7 แห่ง
- จังหวัดที่เปิดเรียนตามปกติ รวม 6 จังหวัด คือ ภูเก็ต 4 แห่ง, ระนอง 3 แห่ง, พังงา 4 แห่ง, ยะลา 5 แห่ง, ปัตตานี 6 แห่ง และนราธิวาส 2 แห่ง
- สถานศึกษาของเอกชน ใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ทั้ง 280 แห่ง เปิดเรียนตามปกติแล้ว
- สถานศึกษาสังกัดอื่นๆ กำลังรอข้อมูล
มาตรการในการรับมือผลกระทบของ ศธ.
- แต่งตั้งคณะกรรมการอำนวยการศูนย์ปฏิบัติการเฝ้าระวังสภาวะวิกฤติฯ โดยมีปลัดกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธาน และแต่งตั้งคณะอนุกรรมการอำนวยการฯ โดยมีรองปลัดกระทรวงศึกษาธิการ (นายศุภกร วงศ์ปราชญ์) เป็นประธาน ซึ่งมีการประชุมทุกวัน เวลา 9.00 น.
- จัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการเฝ้าระวังสภาวะวิกฤติฯ และคณะทำงานจัดตั้งศูนย์ฯ
- กำหนดมาตรการเฝ้าระวังและการเผชิญเหตุจากการชุมนุมทางการเมืองของ ศธ.
- กำหนดแนวปฏิบัติกรณีกลุ่มผู้ชุมนุมเดินทางมาปิดล้อมสถานที่ราชการ
- แนวทางปฏิบัติงานในช่วงภาวะวิกฤติของหน่วยงานองค์กรหลักต่างๆ เช่น การติดต่อขอรับบริการผ่านสายด่วน 1579, One Stop Service ที่โรงเรียนสตรีวิทยา 2 และสถานที่ปฏิบัติงานสำรองต่างๆ ของแต่ละหน่วยงาน/องค์กรหลัก
2) การปิดล้อมโรงพิมพ์องค์การค้าของ สกสค.
เมื่อวันที่ 17 มกราคม 2557 กลุ่มผู้ชุมนุมทางการเมืองได้บุกรุกเข้ามาในพื้นที่โรงพิมพ์องค์การค้าของ สกสค. ซึ่งชนะการประมูลในการจัดพิมพ์บัตรเลือกตั้ง โดยได้ทำการตัดไฟฟ้า ทำลายเครื่องพิมพ์ อุปกรณ์ต่างๆ รวมทั้งบัตรเลือกตั้ง ทำให้เกิดความเสียหายจำนวนมาก เช่น โต๊ะควบคุมการจ่ายหมึกพิมพ์ จอควบคุมการทำงานและจอแสดงผลเครื่องพิมพ์ออฟเซทป้อนม้วน แผงวงจรตู้ควบคุมไฟฟ้า ตู้ควบคุมระบบไฟฟ้า ฯลฯ ซึ่งกำลังประเมินมูลค่าความเสียหายทั้งหมด นอกจากนี้ กลุ่มผู้ชุมนุมฯ ได้ให้พนักงาน/เจ้าหน้าที่องค์การค้าของ สกสค.ทุกคนออกจากโรงพิมพ์ และได้ปิดล้อมอีกครั้ง เมื่อวันที่ 18 และ20 มกราคม 2557 ทำให้องค์การค้าของ สกสค.ไม่สามารถดำเนินการจัดพิมพ์บัตรเลือกตั้งต่อไปได้
องค์การค้าของ สกสค. จึงได้รายงานให้ที่ประชุมรับทราบว่า ได้กำหนดแนวทางการแก้ปัญหาเพื่อให้การจัดพิมพ์บัตรเลือกตั้งเสร็จทันตามกำหนดเวลา ซึ่งขณะนี้ได้ขออนุญาตคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ให้องค์การค้าของ สกสค.นำบัตรเลือกตั้งที่พิมพ์แล้วไปดำเนินการต่อให้แล้วเสร็จ และนำบัตรที่ยังไม่ได้จัดพิมพ์ไปจัดพิมพ์ที่โรงพิมพ์ภายนอก รวมทั้งขอกำลังทหารและตำรวจมาคุ้มกันทรัพย์สินขององค์การค้าของ สกสค. ตลอดจนได้แจ้งความต่อสถานีตำรวจนครบาลโชคชัย และแจ้งคณะกรรมการการเลือกตั้งแล้ว
ทั้งนี้ รมว.ศธ.ขอให้เร่งดำเนินการ ดังนี้
- เรื่องที่จะต้องทำให้ทันเปิดภาคเรียน ขอให้ สพฐ.ดำเนินการตามประกาศและปฏิทินการเปิดปิดภาคเรียน
- การทดสอบภาษาอังกฤษ ภาษาจีน สพฐ.จะต้องประสานและทำงานเชื่อมโยงกับ สอศ. สช. ทั้งการจัดห้องเรียน มีระบบวิชาเลือก ซึ่งเป็นเรื่องใหญ่ หลักการคือ ต้องจัดห้องเรียนและลดจำนวนคน เช่น 20 คนต่อห้องเรียน แต่หากไม่มีระบบวิชาเลือกและมีการบังคับเด็กให้เรียนทั้งหมด ก็จะไม่ประสบความสำเร็จและเกิดการสูญเปล่า จะทำอย่างไรให้มีแนวปฏิบัติรองรับและมีการซักซ้อมเพื่อให้ระบบการเรียนวิชาภาษาจีนเกิดขึ้นได้จริงภายในปีการศึกษา 2557หากดำเนินการไม่ทันก็จะเกิดเสียเวลาไปอีก 1 ปี ซึ่งได้รับรายงานว่า สพฐ.ได้ตั้งคณะทำงานเพื่อจัดทำแนวปฏิบัตินำไปสู่การปฏิบัติในเรื่องภาษาจีน ได้ทบทวนระเบียบแนวปฏิบัติเดิมเกี่ยวกับการวัดและประเมินผล รวมทั้งภาษาอังกฤษที่จะส่งเสริมให้มีวิชาสนทนาและการจัดห้องเรียนนั้น แม้ว่าจะเป็นเรื่องของ สพฐ. แต่ฝากให้ช่วยกันหารือกับส่วนอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องด้วย
ที่มา ; เว็บสำนักงานรัฐมนตรี กระทรวงศึกษาธิการ
... เน็ตช้า คลิ๊กที่ http://tuewsob.blogspot.com
... ห้องวิชาเอกครู คลิ๊กที่ http://uewsob2011.blogspot.com
... (ห้องข้อสอบใหม่) ..สอบครู..สอบผู้บริหาร..สอบบุค ลากร ที่
"ติวสอบดอทคอม "
ผอ.นิกร เพ็งลี
www.tuewsob.com
ตอบลบ