เรื่องใหม่น่าสนใจ (ทั้งหมด ที่ )
(เนื้อหา-ข้อสอบ 1,000 ชุุด หมื่นข้อ ภาค กข
+ 40 วิชาเอก) ที่ ห้องสอบด้านขวา หรือ
ติวสอบดอทคอม คลิ๊ก www.tuewsob.com
-คู่มือ 4 ชุด นโยบาย บริบริหาร ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้
-เกณฑ์ประเมินคุณภาพภายนอกรอบสี่ โดย สมศ.
- พรบ.เงินเดือนใหม่ข้าราชการครูฯ พ.ศ.2558
ข้อสอบออนไลน์ ( พัฒนาความรู้ครู - ผู้บริหาร - บุคลากรการศึกษา) ชุดใหม่
ข้อสอบออนไลน์ ( พัฒนาความรู้ครู - ผู้บริหาร - บุคลากรการศึกษา) ชุดใหม่
เตรียมสอบ บน ยูทูป ทั้งหมด ได้ที่
( คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้
เตรียมสอบผู้บริหารสถาน+การศึกษา
เตรียมสอบครูผู้ช่วย
ข่าวสำนักงานรัฐมนตรี 68/2559งานวันการศึกษาเอกชน 10 กุมภาพันธ์
ศูนย์การค้าเซ็นทรัลพลาซา ลาดพร้าว - พล.อ.ดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานเปิดงานวันการศึกษาเอกชน ประจำปี 2559 ภายใต้แนวคิด "การศึกษาเอกชน พัฒนาคน พัฒนาชาติ" โดยมี รศ.นพ.กำจร ตติยกวี ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ นายอดินันท์ ปากบารา เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน ผู้บริหารสมาคมการศึกษาเอกชน ผู้บริหารโรงเรียนเอกชน ครู และนักเรียนให้การต้อนรับจำนวนกว่า 1,000 คน เมื่อวันพุธที่ 10 กุมภาพันธ์ 2559 ที่บีซีซี ฮอลล์ ชั้น 5
รศ.นพ.กำจร ตติยกวี ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ กล่าวรายงานการจัดงานว่า ในวันที่ 10 กุมภาพันธ์ของทุกปี ถือเป็น “วันการศึกษาเอกชน” ซึ่งได้มีการจัดงานเป็นประจำทุกปี โดยในปีนี้สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน (สช.) ร่วมกับสมาคมการศึกษาเอกชน กำหนดจัดงานขึ้นในระหว่างวันที่ 10-11 กุมภาพันธ์ 2559 ที่บีซีซีฮอลล์ ชั้น 5 เซ็นทรัลพลาซ่าลาดพร้าว เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และเป็นการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ผลงานและความก้าวหน้าของการศึกษาเอกชนที่มีความเป็นเลิศและมีมาตรฐาน
โดยมีกิจกรรมภายในงาน แบ่งเป็น 2 ส่วน คือนิทรรศการเผยแพร่ผลงาน 5 โซน ได้แก่ โซนเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว แนวคิด "การศึกษาเอกชน พัฒนาคน พัฒนาชาติ ถวายราชสดุดี แทนคุณแผ่นดิน องค์พระภูมินทร์พระบิดาการศึกษาไทย”, โซนภาษาอังกฤษและอาเซียน, โซนการเรียนรู้ตลอดชีวิต, โซนเทคโนโลยีและนวัตกรรม, โซนคุณธรรม และการเสวนาและบรรยายพิเศษของผู้ทรงคุณวุฒิในเรื่องต่างๆ อาทิ การศึกษาเอกชนสู่ความมั่นคงและยั่งยืน, นอกระบบมั่นคง ประชาชนมั่งคั่ง ประเทศชาติยั่งยืน เป็นต้น
รมว.ศึกษาธิการ กล่าวว่า ในเรื่องของการศึกษาเป็นเรื่องที่ทุกประเทศให้ความสำคัญ เพราะถือเป็นหนึ่งในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ที่จะเป็นพื้นฐานสำคัญของทุกเรื่อง ในส่วนของกระทรวงศึกษาธิการได้รับมอบหมายจากรัฐบาลให้รับผิดชอบการพัฒนาคนตลอดช่วงชีวิตร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อดูแลคนตั้งแต่แรกเกิดจนกระทั่งเสียชีวิต เพราะเล็งเห็นแล้วว่าคนทุกคนสามารถเรียนรู้ได้อย่างไม่มีที่สิ้นสุด ทั้งในสถานศึกษาและในโลกของการทำงาน เพื่อให้สามารถเท่าทันต่อการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นได้ตลอดเวลา
ในส่วนของการจัดการศึกษาเอกชน แม้ในปัจจุบันจะมีสัดส่วนการจัดการศึกษาระหว่างภาครัฐกับภาคเอกชน ในสัดส่วน 77:23 อย่างไรก็ตาม รัฐยังคงใช้งบประมาณสูงกว่าเอกชนเพราะต้องดูแลคนทุกคนในประเทศไทย ไม่ว่าจะอยู่ชายขอบ บนเขา หรือบนดอย ส่วนผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานของภาคเอกชนมีคะแนนเฉลี่ยที่ดีกว่าในหลายๆ วิชา ที่เป็นเช่นนี้มิใช่ครูรัฐสอนไม่ดี แต่เป็นเพราะคะแนนของโรงเรียนรัฐเป็นคะแนนเฉลี่ยรวมของโรงเรียนทุกขนาดกว่า 30,000 โรงเรียน ซึ่งในส่วนนี้มีโรงเรียนขนาดเล็กที่ยังไม่มีความพร้อมถึงกว่า 10,000 โรงเรียนด้วย ดังนั้นการจัดการศึกษาของภาคเอกชน จึงมีความสำคัญและมีส่วนช่วยในการจัดการศึกษาของรัฐ และได้แนะนำให้ผู้บริหารโรงเรียนรัฐนำแบบอย่างที่ดีของการศึกษาเอกชนไปปรับใช้ พร้อมทั้งหันมาทบทวนตัวเองต่อไปด้วย
ทั้งนี้ ได้มอบหมายให้ สช.ทำหน้าที่เสมือน BOI ทางการศึกษา และเป็นผู้อำนวยความสะดวก(Facilitator) ให้การจัดการศึกษาเอกชนมีความราบรื่น โดยเฉพาะเรื่องที่ไม่ต้องใช้งบประมาณ เช่น การปรับปรุงกฎระเบียบกติกาต่างๆ ที่ควรพัฒนาให้มีความทันสมัย มีความเหมาะสมในการใช้กฎระเบียบที่จะไม่ก่อให้เกิดปัญหาอุปสรรคต่อการทำงาน โดยสมาคมการศึกษาเอกชนสามารถสะท้อนปัญหาอุปสรรคหรือเรื่องที่ต้องการให้ช่วยเหลือมาที่ สช.ได้
อย่างไรก็ตาม ขณะนี้กระทรวงศึกษาธิการได้เตรียมการที่จะรวมอาชีวศึกษารัฐและเอกชนเข้าด้วยกัน เพื่อให้การพัฒนาการเรียนการสอนไปในทิศทางเดียวกัน และตั้งใจที่จะขับเคลื่อนให้การจัดการศึกษาเอกชนดีขึ้นกว่าเดิมอย่างแน่นอน
ในส่วนของการดำเนินงานในช่วงเวลา 1 ปี 6 เดือนต่อจากนี้ มีแผนที่จะขับเคลื่อนทั้ง 65 โครงการ จาก 6 ปัญหาหลักด้านการศึกษาให้เป็นรูปธรรม อาทิ
- การปรับปรุงหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน นอกจากจะศึกษาวิเคราะห์ข้อมูลของกระทรวงแล้ว ได้มีการนำข้อมูลและข้อเสนอของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) และคณะทำงานด้านการศึกษาขั้นพื้นฐานและการพัฒนาผู้นำ (Human Capital Development) ของคณะกรรมการภาครัฐและเอกชนเพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ (Public-Private Steering Committee) หรือประชารัฐ มาใช้ประกอบการดำเนินงานด้วย เพื่อจะได้เป็นข้อมูลความคิดเห็นจากหลากหลายฝ่าย ทั้งนักวิชาการในวงการศึกษา ผู้รู้ผู้เชี่ยวชาญจากภาคเอกชนและสถานประกอบการ อย่างไรก็ตาม ต้องยอมรับว่าในเรื่องของการศึกษาต้องดำเนินการแบบก้าวเร็ว ในขณะเดียวก็ต้องมีความมั่นคงเช่นกัน จะผลีผลามหรือเร่งเกินไปคงไม่ได้
- การปรับปรุงระบบการประเมินทางการศึกษาทุกระบบ จากการประเมินภายในและภายนอก ทั้งในการประเมินนักเรียน การประเมินครู และการประเมินสถานศึกษา ที่จะช่วยลดภาระในการจัดทำเอกสารหลักฐานการประเมิน แต่ในขณะเดียวกันก็สะท้อนผลการจัดการศึกษาได้อย่างแท้จริงและกระตุ้นให้มีการปรับปรุงการดำเนินงานในส่วนต่างๆ อย่างเหมาะสม
- การทบทวนกระบวนการสอบโอเน็ต จากการหารือกับสถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ สทศ. พบว่ามีช่องว่างของการดำเนินงานทั้งของฝ่าย สทศ.และกระทรวงศึกษาธิการ จึงส่งผลให้คะแนนสอบที่ออกมาไม่สะท้อนความสามารถจริงของเด็ก ไม่สะท้อนขีดความสามารถของครูที่สอน และไม่สะท้อนถึงหลักสูตรที่ใช้จัดการเรียนการสอนด้วย รวมทั้งค่าความยากของข้อสอบในแต่ละวิชาและการทดสอบข้อสอบก่อนการใช้จริง เพื่อปรับปรุงการสอบโอเน็ตในปีต่อไปให้สามารถประเมินทั้งผู้เรียน ครูผู้สอน และหลักสูตรได้อย่างเป็นรูปธรรม
- การปรับปรุงตำราเรียน ที่จะต้องมีการปรับปรุงเนื้อหาให้สอดคล้องกับหลักสูตรใหม่ที่จะนำร่องใช้ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2559 และมีความทันสมัยสอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน
รมว.ศึกษาธิการ กล่าวย้ำด้วยว่า การจัดการศึกษาเอกชนในทุกส่วนล้วนมีประโยชน์ต่อวงการศึกษาไทย ไม่ว่าจะเป็นโรงเรียนสามัญศึกษา อาชีวศึกษา นานาชาติ สอนศาสนา หรือโรงเรียนนอกระบบ พร้อมกล่าวขอบคุณทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องในการจัดงานครั้งนี้ และฝากให้ผู้บริหารและครูเก็บเกี่ยวความรู้จากการจัดงานไปปรับใช้ให้เกิดประโยชน์กับการศึกษาเอกชนให้มากที่สุด
โอกาสนี้ รมว.ศึกษาธิการ ได้มอบโล่รางวัลให้แก่ผู้สร้างผลงานและคุณประโยชน์แก่วงการศึกษาเอกชนด้วย
ที่มา ; เว็บ สำนักงานรัฐมนตรี กระทรวงศึกษาธิการ
( คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้
เตรียมสอบผู้บริหารสถาน+การศึกษา
เตรียมสอบครูผู้ช่วย
ข่าวสำนักงานรัฐมนตรี 68/2559งานวันการศึกษาเอกชน 10 กุมภาพันธ์
ศูนย์การค้าเซ็นทรัลพลาซา ลาดพร้าว - พล.อ.ดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานเปิดงานวันการศึกษาเอกชน ประจำปี 2559 ภายใต้แนวคิด "การศึกษาเอกชน พัฒนาคน พัฒนาชาติ" โดยมี รศ.นพ.กำจร ตติยกวี ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ นายอดินันท์ ปากบารา เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน ผู้บริหารสมาคมการศึกษาเอกชน ผู้บริหารโรงเรียนเอกชน ครู และนักเรียนให้การต้อนรับจำนวนกว่า 1,000 คน เมื่อวันพุธที่ 10 กุมภาพันธ์ 2559 ที่บีซีซี ฮอลล์ ชั้น 5
รศ.นพ.กำจร ตติยกวี ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ กล่าวรายงานการจัดงานว่า ในวันที่ 10 กุมภาพันธ์ของทุกปี ถือเป็น “วันการศึกษาเอกชน” ซึ่งได้มีการจัดงานเป็นประจำทุกปี โดยในปีนี้สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน (สช.) ร่วมกับสมาคมการศึกษาเอกชน กำหนดจัดงานขึ้นในระหว่างวันที่ 10-11 กุมภาพันธ์ 2559 ที่บีซีซีฮอลล์ ชั้น 5 เซ็นทรัลพลาซ่าลาดพร้าว เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และเป็นการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ผลงานและความก้าวหน้าของการศึกษาเอกชนที่มีความเป็นเลิศและมีมาตรฐาน
โดยมีกิจกรรมภายในงาน แบ่งเป็น 2 ส่วน คือนิทรรศการเผยแพร่ผลงาน 5 โซน ได้แก่ โซนเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว แนวคิด "การศึกษาเอกชน พัฒนาคน พัฒนาชาติ ถวายราชสดุดี แทนคุณแผ่นดิน องค์พระภูมินทร์พระบิดาการศึกษาไทย”, โซนภาษาอังกฤษและอาเซียน, โซนการเรียนรู้ตลอดชีวิต, โซนเทคโนโลยีและนวัตกรรม, โซนคุณธรรม และการเสวนาและบรรยายพิเศษของผู้ทรงคุณวุฒิในเรื่องต่างๆ อาทิ การศึกษาเอกชนสู่ความมั่นคงและยั่งยืน, นอกระบบมั่นคง ประชาชนมั่งคั่ง ประเทศชาติยั่งยืน เป็นต้น
รมว.ศึกษาธิการ กล่าวว่า ในเรื่องของการศึกษาเป็นเรื่องที่ทุกประเทศให้ความสำคัญ เพราะถือเป็นหนึ่งในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ที่จะเป็นพื้นฐานสำคัญของทุกเรื่อง ในส่วนของกระทรวงศึกษาธิการได้รับมอบหมายจากรัฐบาลให้รับผิดชอบการพัฒนาคนตลอดช่วงชีวิตร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อดูแลคนตั้งแต่แรกเกิดจนกระทั่งเสียชีวิต เพราะเล็งเห็นแล้วว่าคนทุกคนสามารถเรียนรู้ได้อย่างไม่มีที่สิ้นสุด ทั้งในสถานศึกษาและในโลกของการทำงาน เพื่อให้สามารถเท่าทันต่อการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นได้ตลอดเวลา
ในส่วนของการจัดการศึกษาเอกชน แม้ในปัจจุบันจะมีสัดส่วนการจัดการศึกษาระหว่างภาครัฐกับภาคเอกชน ในสัดส่วน 77:23 อย่างไรก็ตาม รัฐยังคงใช้งบประมาณสูงกว่าเอกชนเพราะต้องดูแลคนทุกคนในประเทศไทย ไม่ว่าจะอยู่ชายขอบ บนเขา หรือบนดอย ส่วนผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานของภาคเอกชนมีคะแนนเฉลี่ยที่ดีกว่าในหลายๆ วิชา ที่เป็นเช่นนี้มิใช่ครูรัฐสอนไม่ดี แต่เป็นเพราะคะแนนของโรงเรียนรัฐเป็นคะแนนเฉลี่ยรวมของโรงเรียนทุกขนาดกว่า 30,000 โรงเรียน ซึ่งในส่วนนี้มีโรงเรียนขนาดเล็กที่ยังไม่มีความพร้อมถึงกว่า 10,000 โรงเรียนด้วย ดังนั้นการจัดการศึกษาของภาคเอกชน จึงมีความสำคัญและมีส่วนช่วยในการจัดการศึกษาของรัฐ และได้แนะนำให้ผู้บริหารโรงเรียนรัฐนำแบบอย่างที่ดีของการศึกษาเอกชนไปปรับใช้ พร้อมทั้งหันมาทบทวนตัวเองต่อไปด้วย
ทั้งนี้ ได้มอบหมายให้ สช.ทำหน้าที่เสมือน BOI ทางการศึกษา และเป็นผู้อำนวยความสะดวก(Facilitator) ให้การจัดการศึกษาเอกชนมีความราบรื่น โดยเฉพาะเรื่องที่ไม่ต้องใช้งบประมาณ เช่น การปรับปรุงกฎระเบียบกติกาต่างๆ ที่ควรพัฒนาให้มีความทันสมัย มีความเหมาะสมในการใช้กฎระเบียบที่จะไม่ก่อให้เกิดปัญหาอุปสรรคต่อการทำงาน โดยสมาคมการศึกษาเอกชนสามารถสะท้อนปัญหาอุปสรรคหรือเรื่องที่ต้องการให้ช่วยเหลือมาที่ สช.ได้
อย่างไรก็ตาม ขณะนี้กระทรวงศึกษาธิการได้เตรียมการที่จะรวมอาชีวศึกษารัฐและเอกชนเข้าด้วยกัน เพื่อให้การพัฒนาการเรียนการสอนไปในทิศทางเดียวกัน และตั้งใจที่จะขับเคลื่อนให้การจัดการศึกษาเอกชนดีขึ้นกว่าเดิมอย่างแน่นอน
ในส่วนของการดำเนินงานในช่วงเวลา 1 ปี 6 เดือนต่อจากนี้ มีแผนที่จะขับเคลื่อนทั้ง 65 โครงการ จาก 6 ปัญหาหลักด้านการศึกษาให้เป็นรูปธรรม อาทิ
- การปรับปรุงหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน นอกจากจะศึกษาวิเคราะห์ข้อมูลของกระทรวงแล้ว ได้มีการนำข้อมูลและข้อเสนอของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) และคณะทำงานด้านการศึกษาขั้นพื้นฐานและการพัฒนาผู้นำ (Human Capital Development) ของคณะกรรมการภาครัฐและเอกชนเพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ (Public-Private Steering Committee) หรือประชารัฐ มาใช้ประกอบการดำเนินงานด้วย เพื่อจะได้เป็นข้อมูลความคิดเห็นจากหลากหลายฝ่าย ทั้งนักวิชาการในวงการศึกษา ผู้รู้ผู้เชี่ยวชาญจากภาคเอกชนและสถานประกอบการ อย่างไรก็ตาม ต้องยอมรับว่าในเรื่องของการศึกษาต้องดำเนินการแบบก้าวเร็ว ในขณะเดียวก็ต้องมีความมั่นคงเช่นกัน จะผลีผลามหรือเร่งเกินไปคงไม่ได้
- การปรับปรุงระบบการประเมินทางการศึกษาทุกระบบ จากการประเมินภายในและภายนอก ทั้งในการประเมินนักเรียน การประเมินครู และการประเมินสถานศึกษา ที่จะช่วยลดภาระในการจัดทำเอกสารหลักฐานการประเมิน แต่ในขณะเดียวกันก็สะท้อนผลการจัดการศึกษาได้อย่างแท้จริงและกระตุ้นให้มีการปรับปรุงการดำเนินงานในส่วนต่างๆ อย่างเหมาะสม
- การทบทวนกระบวนการสอบโอเน็ต จากการหารือกับสถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ สทศ. พบว่ามีช่องว่างของการดำเนินงานทั้งของฝ่าย สทศ.และกระทรวงศึกษาธิการ จึงส่งผลให้คะแนนสอบที่ออกมาไม่สะท้อนความสามารถจริงของเด็ก ไม่สะท้อนขีดความสามารถของครูที่สอน และไม่สะท้อนถึงหลักสูตรที่ใช้จัดการเรียนการสอนด้วย รวมทั้งค่าความยากของข้อสอบในแต่ละวิชาและการทดสอบข้อสอบก่อนการใช้จริง เพื่อปรับปรุงการสอบโอเน็ตในปีต่อไปให้สามารถประเมินทั้งผู้เรียน ครูผู้สอน และหลักสูตรได้อย่างเป็นรูปธรรม
- การปรับปรุงตำราเรียน ที่จะต้องมีการปรับปรุงเนื้อหาให้สอดคล้องกับหลักสูตรใหม่ที่จะนำร่องใช้ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2559 และมีความทันสมัยสอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน
รมว.ศึกษาธิการ กล่าวย้ำด้วยว่า การจัดการศึกษาเอกชนในทุกส่วนล้วนมีประโยชน์ต่อวงการศึกษาไทย ไม่ว่าจะเป็นโรงเรียนสามัญศึกษา อาชีวศึกษา นานาชาติ สอนศาสนา หรือโรงเรียนนอกระบบ พร้อมกล่าวขอบคุณทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องในการจัดงานครั้งนี้ และฝากให้ผู้บริหารและครูเก็บเกี่ยวความรู้จากการจัดงานไปปรับใช้ให้เกิดประโยชน์กับการศึกษาเอกชนให้มากที่สุด
โอกาสนี้ รมว.ศึกษาธิการ ได้มอบโล่รางวัลให้แก่ผู้สร้างผลงานและคุณประโยชน์แก่วงการศึกษาเอกชนด้วย
ที่มา ; เว็บ สำนักงานรัฐมนตรี กระทรวงศึกษาธิการ
( คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้
( คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้
เตรียมสอบผู้บริหารสถาน+การศึกษา
เตรียมสอบครูผู้ช่วย
เตรียมสอบผู้บริหารสถาน+การศึกษา
เตรียมสอบครูผู้ช่วย
ฟรี... ห้องเตรียม-ครูผู้ช่วย
-ผู้บริหาร-บุคลากรการศึกษา ที่
ฟรี... ห้องเตรียม-ครูผู้ช่วย
-ผู้บริหาร-บุคลากรการศึกษา ที่
" ติวสอบดอทคอม "
" ติวสอบดอทคอม "
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น