เรื่องใหม่น่าสนใจ (ทั้งหมด ที่ )
(เนื้อหา-ข้อสอบ 1,000 ชุุด หมื่นข้อ ภาค กข
+ 40 วิชาเอก) ที่ ห้องสอบด้านขวา หรือ
ติวสอบดอทคอม คลิ๊ก www.tuewsob.com
-คู่มือ 4 ชุด นโยบาย บริบริหาร ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้
-เกณฑ์ประเมินคุณภาพภายนอกรอบสี่ โดย สมศ.
- พรบ.เงินเดือนใหม่ข้าราชการครูฯ พ.ศ.2558
ข้อสอบออนไลน์ ( พัฒนาความรู้ครู - ผู้บริหาร - บุคลากรการศึกษา) ชุดใหม่
ข้อสอบออนไลน์ ( พัฒนาความรู้ครู - ผู้บริหาร - บุคลากรการศึกษา) ชุดใหม่
เตรียมสอบ บน ยูทูป ทั้งหมด ได้ที่
( คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้
เตรียมสอบผู้บริหารสถาน+การศึกษา
เตรียมสอบครูผู้ช่วย
ข่าวสำนักงานรัฐมนตรี 80/2559
หารือ EP และการยกระดับมาตรฐานภาษาอังกฤษ
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) - นพ.ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ หารือแนวทางการยกระดับมาตรฐานการเรียนการสอนภาษาอังกฤษในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ร่วมกับ สถาบันภาษาอังกฤษ สพฐ. รวมทั้ง ครู ผู้บริหาร นักวิชาการที่เกี่ยวข้องกับEnglish Program เมื่อวันพุธที่ 17 กุมภาพันธ์ 2559 ณ ห้องประชุม สพฐ.
รมช.ศึกษาธิการ กล่าวว่า การหารือร่วมกับครู ผู้บริหาร และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการเรียนการสอนภาษาอังกฤษในประเทศครั้งนี้ หลายเรื่องยังไม่ตกผลึก แต่ก็มีข่าวดีและความก้าวหน้าหลายประเด็นที่สำคัญ ดังนี้
ประเด็นแรก เปิดโอกาสให้โรงเรียนที่มีศักยภาพ สามารถใช้วิชาจากหลักสูตรของต่างประเทศ นำไปเทียบผลในการทดสอบ O-NET ได้ เช่น โรงเรียนที่เปิดสอนตามหลักสูตรของเคมบริดจ์ หลักสูตรจากสหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย ฯลฯ ที่ดีและได้การรับรองมาตรฐานแล้ว จะมีทีมของแต่ละหน่วยงานเข้าไปตรวจสอบ และเทียบเฉพาะวิชา ไม่ใช่เทียบหลักสูตร เพราะยังเรียนหลักสูตรของไทยอยู่ เช่น นักเรียนที่เรียนวิทยาศาสตร์โดยใช้หลักสูตรภาษาอังกฤษของมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ แล้วไปสอบได้คะแนน ก็จะเทียบว่าคะแนนนั้นเมื่อเทียบกับ O-NET จะได้กี่คะแนน และเด็กก็ยังมีสิทธิ์สอบ O-NET อยู่ ไม่ได้ตัดสิทธิ์ ซึ่งจะทำให้เด็กมีกำลังใจว่า สิ่งที่เรียนไปได้รับการรับรอง
ประเด็นที่ 2 ครูต่างชาติที่มีคุณภาพ มีหลายประเด็นที่เกี่ยวข้อง เช่น ปัญหาการขอวีซ่าชาวต่างชาติเข้ามาสอนในประเทศ หรือค่าตอบแทน เพราะปัจจุบันหากมีคนไทยที่เก่งภาษาอังกฤษ แต่ไม่มีโอกาสสอนภาษาอังกฤษ เพราะระเบียบกำหนดว่าต้องเป็นชาวต่างชาติที่เป็น Native Speakers จึงจะมีการเปิดช่องตรงนี้ให้มีความยืดหยุ่นมากขึ้น รวมทั้งจะมีโครง การที่เปิดโอกาสให้กับคนไทยที่เก่งๆ ที่จบในสาขาวิทยาศาสตร์ หรือสาขาอะไรก็ตามที่ไม่ได้จบครูโดยตรง สามารถสอนวิชาเหล่านั้นเป็นภาษาอังกฤษได้ ซึ่งเรื่องนี้ได้มีการหารือร่วมกับคณบดีจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์แล้ว ถือ เป็นความก้าวหน้าอีกขั้นหนึ่ง
ประเด็นที่ 3 ต้องถามตัวเองว่า English Program หรือ Bilingual เกิดขึ้นมาเพื่ออะไร แน่นอนว่าเป็นการยกระดับภาษาอังกฤษ ซึ่ง การยกระดับภาษาอังกฤษจะต้องไม่ทำให้วิชาการเสียหาย ความจริงภาษาอังกฤษที่ดีคือภาษาอังกฤษที่ใช้ในชีวิตประจำวัน แต่การเรียนวิชาหลักที่ดี เช่น คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ควรจะเรียนเป็นภาษาแม่ จึงจะรู้ลึกซึ้ง เพราะฉะนั้นกระทรวงศึกษาธิการจะเปิดโอกาสให้โรงเรียน EP สามารถสอนวิชาใดๆ ก็ได้เป็นภาษาอังกฤษ ซึ่งความจริงภาษาอังกฤษ หากจะสอนให้ใช้ได้ดี ควรจะสอนในวิชา ที่มีความสัมพันธ์กับมนุษย์ เช่น พลศึกษา สุขศึกษา สังคมศึกษา ฯลฯ ฉะนั้นเราจะทำความเข้าใจในเรื่องนี้ใหม่ให้ผู้ที่ต้องการจะสอนวิชาเหล่านี้เป็นภาษาอังกฤษ และเลือกที่จะสอนวิชาหลัก เช่น วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ เป็นภาษาไทยให้มีทางเลือกด้วย แต่ไม่ได้ห้ามคนที่ทำได้ดีอยู่แล้ว ก็จะได้ทำต่อ
รมช.ศึกษาธิการ กล่าวสรุปว่า การหารือร่วมกันในครั้งนี้ เป็นการพบปะที่ดีมาก จะเป็นทางเลือกที่ดีในการยกระดับภาษาอังกฤษให้มีคุณภาพมากขึ้น ทั้งการเรียนการสอนในโรงเรียนที่สอนด้วย English Programและแนวทางการยกระดับภาษาอังกฤษของไทย
( คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้
เตรียมสอบผู้บริหารสถาน+การศึกษา
เตรียมสอบครูผู้ช่วย
ข่าวสำนักงานรัฐมนตรี 80/2559
หารือ EP และการยกระดับมาตรฐานภาษาอังกฤษ
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) - นพ.ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ หารือแนวทางการยกระดับมาตรฐานการเรียนการสอนภาษาอังกฤษในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ร่วมกับ สถาบันภาษาอังกฤษ สพฐ. รวมทั้ง ครู ผู้บริหาร นักวิชาการที่เกี่ยวข้องกับEnglish Program เมื่อวันพุธที่ 17 กุมภาพันธ์ 2559 ณ ห้องประชุม สพฐ.
รมช.ศึกษาธิการ กล่าวว่า การหารือร่วมกับครู ผู้บริหาร และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการเรียนการสอนภาษาอังกฤษในประเทศครั้งนี้ หลายเรื่องยังไม่ตกผลึก แต่ก็มีข่าวดีและความก้าวหน้าหลายประเด็นที่สำคัญ ดังนี้
ประเด็นแรก เปิดโอกาสให้โรงเรียนที่มีศักยภาพ สามารถใช้วิชาจากหลักสูตรของต่างประเทศ นำไปเทียบผลในการทดสอบ O-NET ได้ เช่น โรงเรียนที่เปิดสอนตามหลักสูตรของเคมบริดจ์ หลักสูตรจากสหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย ฯลฯ ที่ดีและได้การรับรองมาตรฐานแล้ว จะมีทีมของแต่ละหน่วยงานเข้าไปตรวจสอบ และเทียบเฉพาะวิชา ไม่ใช่เทียบหลักสูตร เพราะยังเรียนหลักสูตรของไทยอยู่ เช่น นักเรียนที่เรียนวิทยาศาสตร์โดยใช้หลักสูตรภาษาอังกฤษของมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ แล้วไปสอบได้คะแนน ก็จะเทียบว่าคะแนนนั้นเมื่อเทียบกับ O-NET จะได้กี่คะแนน และเด็กก็ยังมีสิทธิ์สอบ O-NET อยู่ ไม่ได้ตัดสิทธิ์ ซึ่งจะทำให้เด็กมีกำลังใจว่า สิ่งที่เรียนไปได้รับการรับรอง
ประเด็นที่ 2 ครูต่างชาติที่มีคุณภาพ มีหลายประเด็นที่เกี่ยวข้อง เช่น ปัญหาการขอวีซ่าชาวต่างชาติเข้ามาสอนในประเทศ หรือค่าตอบแทน เพราะปัจจุบันหากมีคนไทยที่เก่งภาษาอังกฤษ แต่ไม่มีโอกาสสอนภาษาอังกฤษ เพราะระเบียบกำหนดว่าต้องเป็นชาวต่างชาติที่เป็น Native Speakers จึงจะมีการเปิดช่องตรงนี้ให้มีความยืดหยุ่นมากขึ้น รวมทั้งจะมีโครง การที่เปิดโอกาสให้กับคนไทยที่เก่งๆ ที่จบในสาขาวิทยาศาสตร์ หรือสาขาอะไรก็ตามที่ไม่ได้จบครูโดยตรง สามารถสอนวิชาเหล่านั้นเป็นภาษาอังกฤษได้ ซึ่งเรื่องนี้ได้มีการหารือร่วมกับคณบดีจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์แล้ว ถือ เป็นความก้าวหน้าอีกขั้นหนึ่ง
ประเด็นที่ 3 ต้องถามตัวเองว่า English Program หรือ Bilingual เกิดขึ้นมาเพื่ออะไร แน่นอนว่าเป็นการยกระดับภาษาอังกฤษ ซึ่ง การยกระดับภาษาอังกฤษจะต้องไม่ทำให้วิชาการเสียหาย ความจริงภาษาอังกฤษที่ดีคือภาษาอังกฤษที่ใช้ในชีวิตประจำวัน แต่การเรียนวิชาหลักที่ดี เช่น คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ควรจะเรียนเป็นภาษาแม่ จึงจะรู้ลึกซึ้ง เพราะฉะนั้นกระทรวงศึกษาธิการจะเปิดโอกาสให้โรงเรียน EP สามารถสอนวิชาใดๆ ก็ได้เป็นภาษาอังกฤษ ซึ่งความจริงภาษาอังกฤษ หากจะสอนให้ใช้ได้ดี ควรจะสอนในวิชา ที่มีความสัมพันธ์กับมนุษย์ เช่น พลศึกษา สุขศึกษา สังคมศึกษา ฯลฯ ฉะนั้นเราจะทำความเข้าใจในเรื่องนี้ใหม่ให้ผู้ที่ต้องการจะสอนวิชาเหล่านี้เป็นภาษาอังกฤษ และเลือกที่จะสอนวิชาหลัก เช่น วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ เป็นภาษาไทยให้มีทางเลือกด้วย แต่ไม่ได้ห้ามคนที่ทำได้ดีอยู่แล้ว ก็จะได้ทำต่อ
รมช.ศึกษาธิการ กล่าวสรุปว่า การหารือร่วมกันในครั้งนี้ เป็นการพบปะที่ดีมาก จะเป็นทางเลือกที่ดีในการยกระดับภาษาอังกฤษให้มีคุณภาพมากขึ้น ทั้งการเรียนการสอนในโรงเรียนที่สอนด้วย English Programและแนวทางการยกระดับภาษาอังกฤษของไทย
ที่มา ; เว็บ สำนักงานรัฐมนตรี กระทรวงศึกษาธิการ
( คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้
( คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้
เตรียมสอบผู้บริหารสถาน+การศึกษา
เตรียมสอบครูผู้ช่วย
เตรียมสอบผู้บริหารสถาน+การศึกษา
เตรียมสอบครูผู้ช่วย
ฟรี... ห้องเตรียม-ครูผู้ช่วย
-ผู้บริหาร-บุคลากรการศึกษา ที่
ฟรี... ห้องเตรียม-ครูผู้ช่วย
-ผู้บริหาร-บุคลากรการศึกษา ที่
" ติวสอบดอทคอม "
" ติวสอบดอทคอม "
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น