เรื่องใหม่น่าสนใจ (ทั้งหมด ที่ )
(เนื้อหา-ข้อสอบ 1,000 ชุุด หมื่นข้อ ภาค กข
+ 40 วิชาเอก) ที่ ห้องสอบด้านขวา หรือ
ติวสอบดอทคอม คลิ๊ก www.tuewsob.com
-คู่มือ 4 ชุด นโยบาย บริบริหาร ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้
-เกณฑ์ประเมินคุณภาพภายนอกรอบสี่ โดย สมศ.
- พรบ.เงินเดือนใหม่ข้าราชการครูฯ พ.ศ.2558
ข้อสอบออนไลน์ ( พัฒนาความรู้ครู - ผู้บริหาร - บุคลากรการศึกษา) ชุดใหม่
ข้อสอบออนไลน์ ( พัฒนาความรู้ครู - ผู้บริหาร - บุคลากรการศึกษา) ชุดใหม่
เตรียมสอบ บน ยูทูป ทั้งหมด ได้ที่
เจาะขั้นตอนเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ ประชาธิปไตยแบบอเมริกัน
ทุกๆ 4 ปี สหรัฐอเมริกาจะจัดการเลือกตั้งประธานาธิบดีคนใหม่ในวันอังคาร หลังวันจันทร์แรกของเดือน พ.ย. โดยประชาชนจะออกมาใช้สิทธิ์เลือกผู้นำคนใหม่ของพวกเขา ซึ่งเป็นตัวแทนจาก 2 พรรคการเมืองใหญ่อย่าง เดโมแครต และ รีพับลิกัน หากแต่ใช่ว่าผู้ที่ได้คะแนนโหวตมากจะเป็นผู้คว้าชัยชนะในท้ายที่สุด
การเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ มีความซับซ้อนตั้งแต่ขั้นตอนการเลือกตัวแทนพรรคเพื่อมาลงศึกชิงเก้าอี้ผู้นำประเทศ ไปจนถึงการนับคะแนนสุดท้ายเพื่อหาตัวประธานาธิบดีในวันเลือกตั้งทั่วไป ซึ่งอธิบายโดยสังเขปได้ดังต่อไปนี้
การเลือกตั้งขั้นต้น
กระบวนการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ เริ่มต้นจากการเลือก ตัวแทนผู้ลงคะแนน หรือ เดเลเกต(delegate) ในแต่ละรัฐ เพื่อไปร่วมประชุมใหญ่ระดับของพรรค ที่เรียกว่า National Conventionเพื่อโหวตเลือก ผู้สมัครเป็นตัวแทนพรรค หรือ แคนดิเดต (candidate) เพียงหนึ่งเดียวไปชิงตำแหน่งประธานาธิบดี โดยการคัดเลือกเดเลเกตในแต่ละรัฐ นิยมทำด้วยการเลือกตั้งขั้นต้น หรือการหยั่งเสียง มี 2 แบบ คือ
1. ไพรมารี เป็นระบบเลือกตั้งขั้นต้นที่ได้รับความนิยมมากที่สุด จัดโดยรัฐบาลระดับท้องถิ่นหรือรัฐ และให้ผู้ลงคะแนนที่ลงทะเบียนกับพรรคการเมืองออกมาลงคะแนนเพื่อเลือกผู้แทนพรรคของตัวเอง โดยมีทั้งการลงคะแนนแบบลับ ซึ่งผู้โหวตที่ลงทะเบียนกับพรรคหนึ่งๆสามารถลงคะแนนในการไพรมารีของพรรคที่ตัวเองสังกัดเท่านั้น กับแบบเปิดเผย ที่ผู้โหวตสามารถลงคะแนนในการไพรมารีของพรรคใดก็ได้ แต่เลือกได้เพียง 1 พรรค
ผู้ลงคะแนนยังสามารถเลือกได้ว่า กาบัตรที่เป็นชื่อผู้สมัครเป็นตัวแทนพรรคโดยตรง หรือจะเลือกชื่อเดเลเกตที่อาจสนับสนุนหรือยังไม่ตัดสินใจสนับสนุนผู้แทนพรรคคนใดคนหนึ่งก็ได้
2. คอคัส เป็นการเลือกตั้งขั้นต้นแบบดั้งเดิม ปัจจุบันมีเพียง 11 รัฐที่ยังใช้ระบบนี้ ได้แก่ ไอโอวา, นิวเม็กซิโก, นอร์ทดาโกตา, เมน, เนวาดา, ฮาวาย, มินนิโซตา, แคนซัส, อะแลสกา, ไวโอมิง, โคโลราโด และที่เมืองหลวง กรุงวอชิงตัน ดี.ซี.
การเลือกตั้งขั้นต้นแบบ คอคัส มีความซับซ้อนมากกว่าไพรมารี โดยพรรคการเมืองจะประกาศวันที่, เวลา และสถานที่สำหรับการประชุม ซึ่งผู้สนับสนุนพรรคสามารถเข้าร่วมได้ เพื่อเลือกผู้สมัครฯ เพื่อแบ่งเดเลเกตเป็นตัวแทนรัฐนั้นๆ ไปร่วมประชุมใหญ่แห่งชาติ ซึ่งขั้นตอนของการลงคะแนนของรีพับลิกันจะเป็นการลงคะแนนแบบลับ ส่วนเดโมแครตจะเป็นแบบเปิดเผย โดยให้ผู้มาร่วมคอคัสแบ่งกลุ่มไปเข้ากับกลุ่มของผู้สมัครรายที่พวกเขาชื่นชอบ หากกลุ่มใดมีจำนวนสมาชิกไม่ถึง 15% ของผู้เข้าร่วม คอคัสก็จะถูกยุบ และไปรวมตัวกับของผู้สมัครคนอื่นๆ จนกระทั่งมีสมาชิกเพียงพอจะได้รับเดเลเกต
การแบ่งเดเลเกตให้ผู้สมัครเป็นตัวแทนพรรคของเดโมแครตและรีพับลิกันก็ต่างกันอีก โดยเดโมแครตใช้การแบ่งตามสัดส่วนเปอร์เซ็นต์ที่ผู้สมัครฯ ได้รับเสมอ ส่วนรีพับลิกัน ให้เจ้าหน้าที่พรรคในแต่ละรัฐตัดสินใจเอาเองว่าจะใช้ระบบผู้ที่ได้คะแนนโหวตสูงสุดได้เดเลเกตไปทั้งหมด หรือแบบแบ่งสัดส่วนตามเปอร์เซ็นต์
การเลือกเฟ้นหาเดเลเกตแบบนี้จะดำเนินไปใน 50 รัฐ จนถึงเสร็จสิ้นในวันที่ 14 มิ.ย. โดยจำนวนเดเลเกตของพรรคเดโมแครตและรีพับลิกันจะไม่เท่ากัน แต่โดยรวมแบ่งออกได้ 2 ประเภท คือ เดเลเกตที่มีพันธะผูกพันว่าจะต้องลงคะแนนให้ผู้สมัครรายใดตามที่ประกาศไว้ กับเดเลเกตที่มีอิสระในการลงคะแนนให้ผู้สมัครคนใดก็ได้ ซึ่งมีจำนวนน้อยกว่า
วันเลือกตั้งขั้นต้นที่น่าจับตามองคือ สุดยอดวันอังคาร หรือ Super Tuesday ซึ่งตรงกับวันอังคารแรกของเดือน มี.ค. หรือในการเลือกตั้งครั้งนี้ตรงกับวันที่ 1 มี.ค. โดยจะมีการหยั่งเสียงทั้งแบบไพรมารีและคอคัสในหลายมลรัฐพร้อมๆ กัน โดยเป็นช่วงที่ผู้สมัครชิงตำแหน่งตัวแทนพรรคจะแข่งขันกันอย่างเข้มข้นเพื่อชิงเสียงข้างมากของเดเลเกต
การประชุมใหญ่แห่งชาติ
การประชุมใหญ่ National Convention หรือ การประชุมใหญ่แห่งชาติ จะมีขึ้นในเดือน ก.ค. เพื่อให้เดเลเกตของพรรคเดโมแครตและรีพับลิกันเลือกผู้แทนพรรคไปชิงตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐฯ และรองประธานาธิบดีสหรัฐฯ
การประชุมใหญ่แห่งชาติของพรรครีพับลิกันจะจัดขึ้นก่อน ในวันที่ 18-21 ก.ค. ที่สนามกีฬา ควิกเคน โลนส์ อารีนา ในเมืองคลีฟแลนด์ รัฐโอไฮโอ โดยจะมีเดเลเกตเข้าร่วมการประชุมจำนวน 2,472 คน เท่ากับว่าผู้ที่จะได้เป็นตัวแทนพรรคจะต้องได้คะแนนเสียงจากเดเลเกตไม่น้อยกว่า 1,237 เสียง
ขณะที่การประชุมใหญ่แห่งชาติของพรรคเดโมแครตจะจัดขึ้นในวันที่ 25-28 ก.ค. หรือ 1 สัปดาห์หลังจากการประชุมของรีพับลิกัน ที่ศูนย์ประชุม เวลส์ ฟาร์โก เซ็นเตอร์ ในเมืองฟิลาเดลเฟีย รัฐเพนซิลเวเนีย โดยจะมีเดเลเกตเข้าร่วมการประชุมจำนวน 4,764 คน เท่ากับว่าผู้ที่จะได้เป็นตัวแทนพรรคจะต้องได้คะแนนเสียงจากเดเลเกตไม่น้อยกว่า 2,383 คะแนน
การดีเบต (โต้วาที)
หลังจากแต่ละพรรคได้ผู้แทนของตัวเองแล้ว การเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ จะเข้าสู่ช่วงของการดีเบต หรือการโต้วาที เพื่อประชาชนได้ฟังผู้สมัครแต่ละคน นำเสนอนโยบาย แสดงความสามารถ ไพวพริบ ตอบข้อซักถาม พร้อมๆ กันบนเวทีเดียวกัน ซึ่งบ่อยครั้งที่การดีเบตส่งผลต่อคะแนนนิยมของผู้สมัคร
การดีเบตของผู้สมัครชิงตำแหน่งประธานาธิบดีจะมีทั้งหมด 3 ครั้ง โดยครั้งแรกจะเกิดขึ้นในวันที่ 26 ก.ย. ครั้งที่ 2 จัดขึ้นในวันที่ 9 ต.ค. และครั้งสุดท้ายจะมีขึ้นในวันที่ 19 ต.ค. หรือประมาณ 2 สัปดาห์ ก่อนการลงคะแนนเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ จะเริ่มต้นขึ้น
วันเลือกตั้งทั่วไป และคณะผู้เลือกตั้ง (Electoral College)
วันเลือกตั้งทั่วไปจะตรงกับวันอังคารหลังวันจันทร์แรกของเดือน พ.ย. ซึ่งในการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ ครั้งนี้ ตรงกับวันที่ 8 พ.ย. ประชาชนจะออกไปใช้สิทธิ์ลงคะแนนเสียง ทว่าไม่ได้เลือกตัวประธานาธิบดีโดยตรง แต่เป็นการเลือก คณะผู้เลือกตั้ง หรือ Electoral College ซึ่งจะไปทำหน้าที่ออกเสียงเลือกประธานาธิบดีต่อไป โดยการลงคะแนนแบบนี้เรียกว่า ป๊อปปูลาร์โหวต (popular vote)
รัฐธรรมนูญสหรัฐฯ กำหนดให้มี คณะผู้เลือกตั้ง ทั่วประเทศ จำนวนทั้งสิ้น 538 คน จาก 50 รัฐ โดยสัดส่วนของคณะผู้เลือกตั้งในแต่ละรัฐจะเท่ากับจำนวนสมาชิกสภาล่าง ซึ่งคิดตามสัดส่วนของประชากรในแต่ละรัฐอีกทีหนึ่ง และจำนวนสมาชิกสภาสูงซึ่งมีรัฐละ 2 คน กล่าวคือ ยิ่งรัฐใดมีประชากรมากก็จะยิ่งมีคณะผู้เลือกตั้งมากนั่นเอง
ผู้ที่จะมาเป็นคณะผู้เลือกตั้งจะมาจากการเสนอบัญชีรายชื่อของพรรคการเมือง ซึ่งเลือกจากผู้ที่ภักดีต่อพรรค และจะลงคะแนนให้ผู้สมัครจากพรรคที่เสนอชื่อตัวเอง โดยห้ามสมาชิกสภาคองเกรสและลูกจ้างของรัฐบาลกลาง มาเป็นคณะผู้เลือกตั้ง
สำหรับการนับคะแนนเพื่อตัดสินผู้ชนะการเลือกตั้ง เกือบทุกรัฐยกเว้นรัฐเมนและรัฐเนบราสกา จะใช้ระบบ ผู้ชนะกินเรียบ (winner-take-all) คือฝ่ายที่ชนะ ป๊อปปูลาร์โหวต ในแต่ละรัฐก็จะได้คะแนนจากคณะผู้เลือกตั้งในรัฐนั้นไปทั้งหมด และใครได้คะแนน Electoral College ถึง 270 หรือเกินครึ่ง จะเป็นผู้ชนะการเลือกตั้ง ดังนั้นรัฐที่มีคะแนนในส่วนนี้สูงจึงมีความสำคัญ และผู้สมัครจะทุ่มสุดตัวเพื่อให้ได้คะแนนจากรัฐเหล่านี้
ที่มา ; เว็บ นสพ.ไทยรัฐ
ทุกๆ 4 ปี สหรัฐอเมริกาจะจัดการเลือกตั้งประธานาธิบดีคนใหม่ในวันอังคาร หลังวันจันทร์แรกของเดือน พ.ย. โดยประชาชนจะออกมาใช้สิทธิ์เลือกผู้นำคนใหม่ของพวกเขา ซึ่งเป็นตัวแทนจาก 2 พรรคการเมืองใหญ่อย่าง เดโมแครต และ รีพับลิกัน หากแต่ใช่ว่าผู้ที่ได้คะแนนโหวตมากจะเป็นผู้คว้าชัยชนะในท้ายที่สุด
การเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ มีความซับซ้อนตั้งแต่ขั้นตอนการเลือกตัวแทนพรรคเพื่อมาลงศึกชิงเก้าอี้ผู้นำประเทศ ไปจนถึงการนับคะแนนสุดท้ายเพื่อหาตัวประธานาธิบดีในวันเลือกตั้งทั่วไป ซึ่งอธิบายโดยสังเขปได้ดังต่อไปนี้
การเลือกตั้งขั้นต้น
กระบวนการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ เริ่มต้นจากการเลือก ตัวแทนผู้ลงคะแนน หรือ เดเลเกต(delegate) ในแต่ละรัฐ เพื่อไปร่วมประชุมใหญ่ระดับของพรรค ที่เรียกว่า National Conventionเพื่อโหวตเลือก ผู้สมัครเป็นตัวแทนพรรค หรือ แคนดิเดต (candidate) เพียงหนึ่งเดียวไปชิงตำแหน่งประธานาธิบดี โดยการคัดเลือกเดเลเกตในแต่ละรัฐ นิยมทำด้วยการเลือกตั้งขั้นต้น หรือการหยั่งเสียง มี 2 แบบ คือ
1. ไพรมารี เป็นระบบเลือกตั้งขั้นต้นที่ได้รับความนิยมมากที่สุด จัดโดยรัฐบาลระดับท้องถิ่นหรือรัฐ และให้ผู้ลงคะแนนที่ลงทะเบียนกับพรรคการเมืองออกมาลงคะแนนเพื่อเลือกผู้แทนพรรคของตัวเอง โดยมีทั้งการลงคะแนนแบบลับ ซึ่งผู้โหวตที่ลงทะเบียนกับพรรคหนึ่งๆสามารถลงคะแนนในการไพรมารีของพรรคที่ตัวเองสังกัดเท่านั้น กับแบบเปิดเผย ที่ผู้โหวตสามารถลงคะแนนในการไพรมารีของพรรคใดก็ได้ แต่เลือกได้เพียง 1 พรรค
ผู้ลงคะแนนยังสามารถเลือกได้ว่า กาบัตรที่เป็นชื่อผู้สมัครเป็นตัวแทนพรรคโดยตรง หรือจะเลือกชื่อเดเลเกตที่อาจสนับสนุนหรือยังไม่ตัดสินใจสนับสนุนผู้แทนพรรคคนใดคนหนึ่งก็ได้
2. คอคัส เป็นการเลือกตั้งขั้นต้นแบบดั้งเดิม ปัจจุบันมีเพียง 11 รัฐที่ยังใช้ระบบนี้ ได้แก่ ไอโอวา, นิวเม็กซิโก, นอร์ทดาโกตา, เมน, เนวาดา, ฮาวาย, มินนิโซตา, แคนซัส, อะแลสกา, ไวโอมิง, โคโลราโด และที่เมืองหลวง กรุงวอชิงตัน ดี.ซี.
การเลือกตั้งขั้นต้นแบบ คอคัส มีความซับซ้อนมากกว่าไพรมารี โดยพรรคการเมืองจะประกาศวันที่, เวลา และสถานที่สำหรับการประชุม ซึ่งผู้สนับสนุนพรรคสามารถเข้าร่วมได้ เพื่อเลือกผู้สมัครฯ เพื่อแบ่งเดเลเกตเป็นตัวแทนรัฐนั้นๆ ไปร่วมประชุมใหญ่แห่งชาติ ซึ่งขั้นตอนของการลงคะแนนของรีพับลิกันจะเป็นการลงคะแนนแบบลับ ส่วนเดโมแครตจะเป็นแบบเปิดเผย โดยให้ผู้มาร่วมคอคัสแบ่งกลุ่มไปเข้ากับกลุ่มของผู้สมัครรายที่พวกเขาชื่นชอบ หากกลุ่มใดมีจำนวนสมาชิกไม่ถึง 15% ของผู้เข้าร่วม คอคัสก็จะถูกยุบ และไปรวมตัวกับของผู้สมัครคนอื่นๆ จนกระทั่งมีสมาชิกเพียงพอจะได้รับเดเลเกต
การแบ่งเดเลเกตให้ผู้สมัครเป็นตัวแทนพรรคของเดโมแครตและรีพับลิกันก็ต่างกันอีก โดยเดโมแครตใช้การแบ่งตามสัดส่วนเปอร์เซ็นต์ที่ผู้สมัครฯ ได้รับเสมอ ส่วนรีพับลิกัน ให้เจ้าหน้าที่พรรคในแต่ละรัฐตัดสินใจเอาเองว่าจะใช้ระบบผู้ที่ได้คะแนนโหวตสูงสุดได้เดเลเกตไปทั้งหมด หรือแบบแบ่งสัดส่วนตามเปอร์เซ็นต์
การเลือกเฟ้นหาเดเลเกตแบบนี้จะดำเนินไปใน 50 รัฐ จนถึงเสร็จสิ้นในวันที่ 14 มิ.ย. โดยจำนวนเดเลเกตของพรรคเดโมแครตและรีพับลิกันจะไม่เท่ากัน แต่โดยรวมแบ่งออกได้ 2 ประเภท คือ เดเลเกตที่มีพันธะผูกพันว่าจะต้องลงคะแนนให้ผู้สมัครรายใดตามที่ประกาศไว้ กับเดเลเกตที่มีอิสระในการลงคะแนนให้ผู้สมัครคนใดก็ได้ ซึ่งมีจำนวนน้อยกว่า
วันเลือกตั้งขั้นต้นที่น่าจับตามองคือ สุดยอดวันอังคาร หรือ Super Tuesday ซึ่งตรงกับวันอังคารแรกของเดือน มี.ค. หรือในการเลือกตั้งครั้งนี้ตรงกับวันที่ 1 มี.ค. โดยจะมีการหยั่งเสียงทั้งแบบไพรมารีและคอคัสในหลายมลรัฐพร้อมๆ กัน โดยเป็นช่วงที่ผู้สมัครชิงตำแหน่งตัวแทนพรรคจะแข่งขันกันอย่างเข้มข้นเพื่อชิงเสียงข้างมากของเดเลเกต
การประชุมใหญ่แห่งชาติ
การประชุมใหญ่ National Convention หรือ การประชุมใหญ่แห่งชาติ จะมีขึ้นในเดือน ก.ค. เพื่อให้เดเลเกตของพรรคเดโมแครตและรีพับลิกันเลือกผู้แทนพรรคไปชิงตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐฯ และรองประธานาธิบดีสหรัฐฯ
การประชุมใหญ่แห่งชาติของพรรครีพับลิกันจะจัดขึ้นก่อน ในวันที่ 18-21 ก.ค. ที่สนามกีฬา ควิกเคน โลนส์ อารีนา ในเมืองคลีฟแลนด์ รัฐโอไฮโอ โดยจะมีเดเลเกตเข้าร่วมการประชุมจำนวน 2,472 คน เท่ากับว่าผู้ที่จะได้เป็นตัวแทนพรรคจะต้องได้คะแนนเสียงจากเดเลเกตไม่น้อยกว่า 1,237 เสียง
ขณะที่การประชุมใหญ่แห่งชาติของพรรคเดโมแครตจะจัดขึ้นในวันที่ 25-28 ก.ค. หรือ 1 สัปดาห์หลังจากการประชุมของรีพับลิกัน ที่ศูนย์ประชุม เวลส์ ฟาร์โก เซ็นเตอร์ ในเมืองฟิลาเดลเฟีย รัฐเพนซิลเวเนีย โดยจะมีเดเลเกตเข้าร่วมการประชุมจำนวน 4,764 คน เท่ากับว่าผู้ที่จะได้เป็นตัวแทนพรรคจะต้องได้คะแนนเสียงจากเดเลเกตไม่น้อยกว่า 2,383 คะแนน
การดีเบต (โต้วาที)
หลังจากแต่ละพรรคได้ผู้แทนของตัวเองแล้ว การเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ จะเข้าสู่ช่วงของการดีเบต หรือการโต้วาที เพื่อประชาชนได้ฟังผู้สมัครแต่ละคน นำเสนอนโยบาย แสดงความสามารถ ไพวพริบ ตอบข้อซักถาม พร้อมๆ กันบนเวทีเดียวกัน ซึ่งบ่อยครั้งที่การดีเบตส่งผลต่อคะแนนนิยมของผู้สมัคร
การดีเบตของผู้สมัครชิงตำแหน่งประธานาธิบดีจะมีทั้งหมด 3 ครั้ง โดยครั้งแรกจะเกิดขึ้นในวันที่ 26 ก.ย. ครั้งที่ 2 จัดขึ้นในวันที่ 9 ต.ค. และครั้งสุดท้ายจะมีขึ้นในวันที่ 19 ต.ค. หรือประมาณ 2 สัปดาห์ ก่อนการลงคะแนนเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ จะเริ่มต้นขึ้น
วันเลือกตั้งทั่วไป และคณะผู้เลือกตั้ง (Electoral College)
วันเลือกตั้งทั่วไปจะตรงกับวันอังคารหลังวันจันทร์แรกของเดือน พ.ย. ซึ่งในการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ ครั้งนี้ ตรงกับวันที่ 8 พ.ย. ประชาชนจะออกไปใช้สิทธิ์ลงคะแนนเสียง ทว่าไม่ได้เลือกตัวประธานาธิบดีโดยตรง แต่เป็นการเลือก คณะผู้เลือกตั้ง หรือ Electoral College ซึ่งจะไปทำหน้าที่ออกเสียงเลือกประธานาธิบดีต่อไป โดยการลงคะแนนแบบนี้เรียกว่า ป๊อปปูลาร์โหวต (popular vote)
รัฐธรรมนูญสหรัฐฯ กำหนดให้มี คณะผู้เลือกตั้ง ทั่วประเทศ จำนวนทั้งสิ้น 538 คน จาก 50 รัฐ โดยสัดส่วนของคณะผู้เลือกตั้งในแต่ละรัฐจะเท่ากับจำนวนสมาชิกสภาล่าง ซึ่งคิดตามสัดส่วนของประชากรในแต่ละรัฐอีกทีหนึ่ง และจำนวนสมาชิกสภาสูงซึ่งมีรัฐละ 2 คน กล่าวคือ ยิ่งรัฐใดมีประชากรมากก็จะยิ่งมีคณะผู้เลือกตั้งมากนั่นเอง
ผู้ที่จะมาเป็นคณะผู้เลือกตั้งจะมาจากการเสนอบัญชีรายชื่อของพรรคการเมือง ซึ่งเลือกจากผู้ที่ภักดีต่อพรรค และจะลงคะแนนให้ผู้สมัครจากพรรคที่เสนอชื่อตัวเอง โดยห้ามสมาชิกสภาคองเกรสและลูกจ้างของรัฐบาลกลาง มาเป็นคณะผู้เลือกตั้ง
สำหรับการนับคะแนนเพื่อตัดสินผู้ชนะการเลือกตั้ง เกือบทุกรัฐยกเว้นรัฐเมนและรัฐเนบราสกา จะใช้ระบบ ผู้ชนะกินเรียบ (winner-take-all) คือฝ่ายที่ชนะ ป๊อปปูลาร์โหวต ในแต่ละรัฐก็จะได้คะแนนจากคณะผู้เลือกตั้งในรัฐนั้นไปทั้งหมด และใครได้คะแนน Electoral College ถึง 270 หรือเกินครึ่ง จะเป็นผู้ชนะการเลือกตั้ง ดังนั้นรัฐที่มีคะแนนในส่วนนี้สูงจึงมีความสำคัญ และผู้สมัครจะทุ่มสุดตัวเพื่อให้ได้คะแนนจากรัฐเหล่านี้
ที่มา ; เว็บ นสพ.ไทยรัฐ
( คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้
( คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้
เตรียมสอบผู้บริหารสถาน+การศึกษา
เตรียมสอบครูผู้ช่วย
เตรียมสอบผู้บริหารสถาน+การศึกษา
เตรียมสอบครูผู้ช่วย
ฟรี... ห้องเตรียม-ครูผู้ช่วย
-ผู้บริหาร-บุคลากรการศึกษา ที่
ฟรี... ห้องเตรียม-ครูผู้ช่วย
-ผู้บริหาร-บุคลากรการศึกษา ที่
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น