เรื่องใหม่น่าสนใจ (ทั้งหมด ที่ )
(เนื้อหา-ข้อสอบ 1,000 ชุุด หมื่นข้อ ภาค กข
+ 40 วิชาเอก) ที่ ห้องสอบด้านขวา หรือ
ติวสอบดอทคอม คลิ๊ก www.tuewsob.com
-คู่มือ 4 ชุด นโยบาย บริบริหาร ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้
-เกณฑ์ประเมินคุณภาพภายนอกรอบสี่ โดย สมศ.
- พรบ.เงินเดือนใหม่ข้าราชการครูฯ พ.ศ.2558
ข้อสอบออนไลน์ ( พัฒนาความรู้ครู - ผู้บริหาร - บุคลากรการศึกษา) ชุดใหม่
ข้อสอบออนไลน์ ( พัฒนาความรู้ครู - ผู้บริหาร - บุคลากรการศึกษา) ชุดใหม่
เตรียมสอบ บน ยูทูป ทั้งหมด ได้ที่
( คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้
เตรียมสอบผู้บริหารสถาน+การศึกษา
เตรียมสอบครูผู้ช่วย
รายการคืนความสุขให้คนในชาติ 26 ก.พ.2559
รายการ “คืนความสุขให้คนในชาติ” พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี กล่าวในรายการ “คืนความสุขให้คนในชาติ” ออกอากาศทางโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย วันศุกร์26 กุมภาพันธ์ 2559 เวลา 20.15 น.
สวัสดีครับ พ่อแม่พี่น้องชาวไทยที่รักทุกท่าน
วันที่ 26 กุมภาพันธ์ ของทุกปี เป็น “วันสหกรณ์แห่งชาติ” ซึ่งเป็นกลไกสร้างความเข้มแข็งให้กับสังคมเกษตรกรรมไทย ที่มีอาชีพหลักคือการเกษตร มายาวนานกว่า 100 ปี ตั้งแต่ช่วงปลายสมัยรัชกาลที่ 5 เพื่อต้องการให้สามารถเข้าถึงแหล่งทุน สำหรับขยายกำลังการผลิต เปลี่ยนจากระบบเลี้ยงตัวเองในชนบท มาสู่ระบบเศรษฐกิจเพื่อการค้า ที่สำคัญคือการขจัดวงจรหนี้สิน การถูกเอารัดเอาเปรียบจากนายทุน
รัฐบาลขอสืบสานเจตนารมณ์เดิมของสหกรณ์ ในการสร้างความเข้มแข็งให้กับเศรษฐกิจฐานราก ล่าสุดดีใจที่ได้เป็นประธานการมอบหนังสืออนุญาตให้เข้าทำประโยชน์ในเขตปฏิรูปที่ดิน เนื้อที่ 2,400 กว่าไร่ ให้กับสหกรณ์ปฏิรูปที่ดินระบำ จำกัด สำหรับจัดสรรที่ดินให้แก่เกษตรกรที่ไม่มีที่ดินทำกิน ราว 500 ราย ตามนโยบายของรัฐ ให้ใช้ประโยชน์ในลักษณะ “แปลงรวม” ไม่ให้กรรมสิทธิ์ และบริหารกันเอง ซึ่งรัฐบาลจะอำนวยการให้ครบ ในแต่ละภูมิภาคของประเทศ ต่อไป
นอกจากนี้ รัฐบาลได้ขยายผล เสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับภาคเกษตรกรรม คู่ขนานไปกับการส่งเสริมให้เป็น Smart Farmer ด้วยการผลักดันนโยบายสาธารณะอย่างเป็นระบบ ครบทุกมิติ ดูแลทั้งต้นทาง – กลางทาง – ปลายทาง อาทิ การลงทุนโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคมขนส่ง และด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและสื่อสาร เพื่อขับเคลื่อนการนำสินค้าในท้องถิ่นสู่สายตาชาวโลก (หรือ Local to Global) ทั้งOTOP ทั้ง 1 ตำบล 1 SME และส่งเสริมการประกอบการในลักษณะวิสาหกิจชุมชน (หรือ Social Enterprise) เป็นต้น ทั้งนี้ ไม่เพียงสร้างโอกาสในการพัฒนาอย่างยั่งยืน ให้กับพี่น้องเกษตรกร มีขีดความสามารถในการแข่งขันให้กับชุมชน และประเทศในภาพรวม ลดการพึ่งพาปัจจัยภายนอก ที่มีโอกาศผันผวนและควบคุมไม่ได้ตลอดเวลา อยากให้เศรษฐกิจไทย “สามารถยืนบนลำแข้งของตนเอง” เกื้อกูลกันในสังคม เข้มแข็งไปด้วยกัน
ในโอกาสนี้ ขอเป็นกำลังใจให้กับพี่น้องเกษตรกร ที่ต่อไปจะต้องพัฒนาเป็น Smart Farmer พัฒนาตนเอง และมองอนาคต 10 ปี 20 ปี เหมือนที่รัฐบาลนี้ กำลังสร้างค่านิยมใหม่ให้กับสังคมไทย
สำหรับปัญหาภัยแล้ง รัฐบาลยังคงเฝ้าติดตามสถานการณ์อยู่ อย่างต่อเนื่อง ปัจจุบันสภาพน้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่และขนาดกลาง มีปริมาตรรวม 39 ล้าน ลบ.ม. น้อยกว่าปี 58 จำนวน 5.3 ล้าน ลบ.ม. โดยรัฐบาลต้องดูแล บริหารจัดการ หาน้ำมาเติม ฟื้นฟูแหล่งน้ำ รวมทั้งดำเนินการตามแผนยุทธศาสตร์การบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ ทั้งระบบ อย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ เพื่อให้เพียงพอต่อการใช้น้ำ ซึ่งในส่วนที่ 1 ภาคการผลิต (เกษตรกรรม อุตสาหกรรม) และการอุปโภค-บริโภคนั้น หากเราสามารถควบคุม ประหยัด หรือลดการใช้น้ำลงได้ ตามมาตรการต่าง ๆ ของรัฐที่กำหนดมา จะช่วยให้เรามีน้ำใช้ ไม่ขัดสนในอนาคต ส่วนที่ 2 คือ น้ำสำหรับผลักดันน้ำเค็ม เพื่อรักษาระบบนิเวศน์นั้น เป็นไปตามธรรมชาติ การขึ้น ลง การหนุนของน้ำทะเล เราไม่สามารถควบคุมได้ แต่สามารถจะคาดการณ์ล่วงหน้าได้
ที่ผ่านมา รัฐบาลได้มีมาตรการช่วยเหลือเกษตรกร ซึ่งเป็นผู้ใช้น้ำกลุ่มหลักของประเทศ ที่ได้รับผลกระทบจากภัยแล้ง อาทิ 1) การส่งเสริมความรู้และการสนับสนุนปัจจัยการผลิต เพื่อลดรายจ่ายในครัวเรือน 2) การชะลอหรือขยายระยะเวลาการชำระหนี้ที่เกษตรกรมีภาระหนี้กับสถาบันการเงิน 3) การจ้างงานเพื่อสร้างรายได้ให้แก่เกษตรกร ทั้งการจ้างแรงงานในชลประทานและการจ้างงานเร่งด่วน และการพัฒนาทักษะฝีมือแรงงาน 4) การเสนอโครงการตามความต้องการของชุมชน เพื่อบรรเทาผลกระทบภัยแล้ง 5) การเพิ่มประสิทธิภาพการใช้น้ำ เช่น ให้ทุกส่วนราชการรณรงค์การใช้น้ำอย่างประหยัด และส่งเสริมการปลูกข้าวโดยวิธีเปียกสลับแห้ง 6) การเพิ่มปริมาณน้ำต้นทุน ทั้งการปฏิบัติการฝนหลวง การขุดลอกแหล่งน้ำธรรมชาติเพิ่มเติม การพัฒนาแหล่งน้ำบาดาล – แก้มลิง – ขนมครก 7) การเสริมสร้างสุขภาพและความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน 8) การสนับสนุนอื่น ๆ เช่น การช่วยเหลือเกษตรกรผู้ประสบภัยพิบัติตามระเบียบกระทรวงการคลัง ว่าด้วยเงินทดรองราชการเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน พ.ศ. 2556 และแผนสินเชื่อสนับสนุนเศรษฐกิจชุมชน – สหกรณ์ เป็นต้น ทั้งนี้ นอกจากจะช่วยบรรเทาความเดือดร้อน ในการประกอบอาชีพ และการใช้ชีวิตของพี่น้องเกษตรกร รัฐบาลยังมุ่งหวังที่จะลดปริมาณการใช้น้ำในส่วนนี้ลง ด้วยการสร้างแรงจูงใจ สมัครใจในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมต่าง ๆ
ปัจจุบัน รัฐบาลได้ผลักดันนโยบายที่จะเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับภาคเกษตรกรรมอีก โดยที่ประชุมคณะรัฐมนตรีมีมติ เห็นชอบมาตรการช่วยเหลือผู้ประสบปัญหาภัยแล้งและมาตรการเพิ่มขีดความสามารถทางการเกษตร ที่กระทรวงการคลังเสนอ เพื่อบรรเทาปัญหาภัยแล้งในระยะเร่งด่วน ที่จะส่งผลต่อความเป็นอยู่ รายได้ กิจกรรมทางเศรษฐกิจและสภาวะสังคม ตลอดจนการเพิ่มขีดความสามารถภาคการเกษตรของประเทศ รวมทั้งเป็นการบรรเทาผลกระทบจากปัญหาภัยแล้ง และภัยธรรมชาติอื่น ๆ ในระยะกลาง ประกอบด้วย
(1) โครงการสินเชื่อเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายฉุกเฉินและจำเป็นของเกษตรกรที่ประสบภัยแล้ง ปี 2558-2559 วงเงิน 6,000 ล้านบาท โดยให้สินเชื่อไม่เกิน 12,000 บาท/ราย กำหนดชำระคืนเงินกู้ไม่เกิน 1 ปี ไม่มีดอกเบี้ย กลุ่มเป้าหมายคือเกษตรกรลูกค้ารายย่อยของ ธ.ก.ส. จำนวน 500,000 ราย ที่ได้รับผลกระทบจากภัยแล้ง ทำให้ไม่สามารถทำการผลิตได้ หรือผลผลิตได้รับความเสียหาย ทำให้มีรายได้ลดลง เพื่อใช้เป็นค่าใช้จ่ายในครัวเรือนในการชั่วคราว พร้อมทั้งก่อให้เกิดการใช้จ่ายหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจ และช่วยป้องกันการก่อหนี้สินนอกระบบของเกษตรกร
(2) โครงการสินเชื่อ 1 ตำบล 1 SME เกษตร เพื่อสร้างความยั่งยืนของภาคเกษตรไทย วงเงิน 72,000 ล้านบาท วงเงินกู้ไม่เกิน 20 ล้านบาท/ราย เป็นสินเชื่อระยะเวลาเงินกู้ไม่เกิน 10 ปี มีอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 4 ต่อปี สำหรับผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ภาคการเกษตร ทั้งรายคน วิสาหกิจชุมชน สหกรณ์การเกษตร หรือบริษัทชุมชน จำนวน 7,200 ราย ในการสร้างมูลค่าเพิ่มสินค้าเกษตร และกระตุ้นให้เกิดการจ้างงาน
(3) โครงการชุมชนปรับเปลี่ยนการผลิตสู้วิกฤติภัยแล้ง วงเงิน 15,000 ล้านบาท วงเงินกู้ไม่เกิน 3 ล้านบาท/กลุ่ม กำหนดชำระคืนเงินกู้ไม่เกิน 1 ปี มีอัตราดอกเบี้ย ร้อยละ 0.01 ต่อปี สำหรับเกษตรกรในพื้นที่ประสบวิกฤติภัยแล้ง ในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาและพื้นที่ลุ่มแม่น้ำแม่กลอง รวม 26 จังหวัด จำนวน 100,000 ราย ที่มีความสมัครใจและตั้งใจ ในการปรับเปลี่ยนโครงสร้างการผลิตอย่างแท้จริง และผ่านการคัดเลือกจากชุมชน ใช้เป็นค่าเช่าที่ดิน ค่าปัจจัยการผลิต และค่าจ้างแรงงานให้กับเกษตรกร
อย่างไรก็ตาม การบริหารจัดการน้ำ ยังคงต้องมองไปในอนาคตปี 60 ด้วย ซึ่งสภาพลมฟ้าอากาศ ยังเป็นสิ่งที่คาดเดาได้ยาก ดังนั้น เพื่อความไม่ประมาท จึงขอความร่วมมือพี่น้องประชาชนทุกคน ทุกภาคส่วน ช่วยกัน “ประหยัด” ใช้น้ำเท่าที่จำเป็น ช่วยกันคนละไม้ คนละมือ รัฐบาลได้พยายามแก้ปัญหาทำแผนการจัดการน้ำระยะยาวถึงปี 69
การดูแลพี่น้อง ชุมชน หมู่บ้าน ซึ่งที่ผ่านมาประสบปัญหาหลายประการ อาทิ ปัญหาภัยพิบัติทางธรรมชาติ ปัญหาต้นทุนการผลิตสูง และปัญหาราคาสินค้าตกต่ำ ซึ่งสาเหตุหนึ่งมาจากระบบโครงสร้างพื้นฐานในชุมชนไม่ได้รับการพัฒนา และขาดปัจจัยการผลิตที่จำเป็น ดังนั้น รัฐบาลจึงผลักดันโครงการเพิ่มความเข้มแข็งของเศรษฐกิจฐานรากตามแนวทาง“ประชารัฐ” ผ่าน “กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง” จำนวน 79,556 กองทุน ๆ ละไม่เกิน 500,000 บาท วงเงินรวม 35,000 ล้านบาท เพื่อใช้ในการลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐานในชุมชน เช่น ยุ้งฉางชุมชน โรงตากพืชผลทางการเกษตร โรงสีชุมชน โรงงานผลิตปุ๋ยประจำชุมชน การจัดทำแหล่งเก็บน้ำชุมชน และเครื่องจักรสำหรับแปรรูปผลผลิตทางการเกษตร เป็นต้น หรือใช้ดำเนินกิจกรรมอื่น ๆ ที่ชุมชนเห็นว่าเป็นประโยชน์ ในการส่งเสริมศักยภาพในการประกอบอาชีพ และความเป็นอยู่ในชุมชนให้ดีขึ้น ถือเป็นมาตรการเร่งด่วน ต้องการให้สามารถดำเนินการเบิกจ่าย ภายใน 6 เดือน ทั้งนี้ เพื่อส่งเสริมความเข้มแข็งของเศรษฐกิจในระดับฐานราก ที่สำคัญต่อการขับเคลื่อนและพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ ให้ครอบคลุมทั้งกระบวนการ ตั้งแต่กิจกรรมด้านการผลิต การเพิ่มมูลค่าสินค้า และการตลาด จะส่งผลให้ชุมชนพัฒนาอย่างมั่นคงแข็งแรงต่อไป นับเป็นมาตรการขยายผลความสำเร็จ ตามความต้องการของพี่น้องเกษตรกร ผ่านกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง เพื่อส่งเสริมความเป็นอยู่ระดับหมู่บ้าน ที่อนุมัติวงเงินสินเชื่อไว้เดิม 60,000 ล้านบาท โดยรัฐบาลช่วยเหลือในเรื่องดอกเบี้ย เป็นระยะเวลา 2 ปี มีกองทุนหมู่บ้าน รวม 5 หมื่นกว่ากองทุน มีสมาชิกได้รับประโยชน์จากโครงการกว่า 3 ล้านครัวเรือน
ทั้งหมดนี้ แสดงให้เห็นถึงความห่วงใยของรัฐบาลและ คสช. ขอให้ช่วยกันดูแลการใช้จ่าย ให้เป็นไปด้วยความโปร่งใสและเป็นธรรมเป็นความต้องการของประชาชนอย่างแท้จริง เราต้องสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจกัน ระหว่างข้าราชการส่วนกลาง ภูมิภาค ท้องถิ่น และ อปท. ประชาชนในพื้นที่ ทำโครงการให้ตรงตามวัตถุประสงค์ เพื่อให้เกิดความยั่งยืน
สิ่งสำคัญที่อยากเห็น คือ กลไกการทำงาน ที่ยึดหลักการ “ประชารัฐ” ที่มีส่วนร่วม ทั้งจากภาคประชาชน ภาคเอกชน และภาครัฐ ในการมุ่งเน้นพัฒนาภาคการผลิต การแปรรูป การตลาดอย่างครบวงจร และการบริหารจัดการพื้นที่การผลิตให้เหมาะสม ทั้งนี้จะต้องไม่มีความซ้ำซ้อนกับโครงการอื่น ๆ ภายใต้นโยบายการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของรัฐบาลจะได้สอดประสานกันในสิ่งที่ขาดในโครงการอื่น ๆ มีหลายโครงการแล้ว มีลักษณะการการดำเนินการเดียวกันแต่จะต้องสอดแทรกกันลงไปในสิ่งที่ยังไม่เพียงพอ ทั้งนี้จะต้องมีระบบการติดตามและการประเมินผล ที่มีประสิทธิภาพ โปร่งใส ตรวจสอบได้ อยากเห็นพี่น้องร่วมกันทำงานอย่างจริงจัง เพื่อจะสร้างเอกภาพและมาตรฐานเดียวกัน รัฐบาลพร้อมสนับสนุนการมีส่วนร่วมของ “อาสาประชารัฐ” ซึ่งเป็นพลังขับเคลื่อน อันจะเกิดจาก “แรงระเบิดจากภายใน” ที่ต้องการสังคมที่มีมาตรฐานและมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น เพราะความอยู่ดี กินดี มีความสุข มีรายได้ มีศักยภาพในการพัฒนาตนเอง จะทำให้หมู่บ้าน ชุมชน และสังคม สามารถพึ่งตนเอง และมีความเข้มแข็งอย่างยั่งยืน เป็นการสร้างความสามัคคี ความปรองดอง ไปด้วยนำไปสู่การช่วยกันในเรื่องการพัฒนา ด้านเศรษฐกิจ ด้านสังคม ด้านการเมืองการปกครอง และอื่น ๆ ทั้งนี้เพื่อประโยชน์สุขของประชาชนชาวไทยทุกคน
สำหรับการน้อมนำแนวพระราชดำริและหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปสู่การปฏิบัติในทุกระดับนั้น ถือเป็นภารกิจสำคัญ ที่รัฐบาลกำลังดำเนินการอยู่ เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของพี่น้องประชาชน โดยเฉพาะในถิ่นทุรกันดาร พื้นที่ห่างไกล ให้พ้นจากความยากจน ลดจากความเหลื่อมล้ำ ที่มีอยู่แล้วเดิมให้มีความเป็นอยู่อย่างพอเพียงดีขึ้น สามารถพึ่งพาตนเองได้อย่างมั่นคง โดยจะมีผู้ว่าราชการจังหวัด นายอำเภอ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และข้าราชการจะทำหน้าที่เป็น “พี่เลี้ยง” ช่วยเหลือเรื่องวิชาการ ดูแลประชาชนอย่างใกล้ชิด เพื่อให้โครงการพัฒนาต่าง ๆ ที่จะดำเนินการในพื้นที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล สามารถแก้ไขปัญหา และพัฒนาความเป็นอยู่ของพี่น้องประชาชนได้อย่างแท้จริง เป็นตัวอย่างของการพัฒนาอย่างยั่งยืน ให้กับประเทศเพื่อนบ้าน อาเซียน และประชาคมโลกอื่น ๆ ด้วย
ในเรื่องของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์อย่างยั่งยืนของประเทศนั้น รัฐบาลได้กำหนดยุทธศาสตร์ปฏิรูปการศึกษา โดยมี 6 เรื่องหลัก ที่ต้องการให้เร่งดำเนินการในช่วงเวลา 1 ปี 6 เดือน ประมาณนั้นที่เหลืออยู่ของรัฐบาล ประกอบด้วย การปรับปรุงหลักสูตรและกระบวนการเรียนรู้ การผลิตและพัฒนาครู การทดสอบการประเมินการประกันคุณภาพและการพัฒนามาตรฐานการศึกษา การผลิตพัฒนากำลังคนและงานวิจัย ที่สอดคล้องกับความต้องการของการพัฒนาประเทศ ไอซีทีเพื่อการศึกษาและการบริหารจัดการทั้งการปรับปรุงโครงสร้างการบริหารจัดการและการกระจายอำนาจ แม้ว่าจะทำได้ไม่สมบูรณ์นักในระยะแรก กู้ไม่จำกัดไม่ถึง 100% เพราะฉะนั้นเราอาจจะเริ่มต้นไว้ให้ได้ก่อน นำร่อง ทดลองปฏิบัติไปแต่ต้องทั่วถึงทุกพื้นที่ทุกภูมิภาคไปก่อนเพื่อจะเป็นแนวทางเอาไว้ทุกโครงการ เรารอไม่ได้ เราจะต้องขับเคลื่อนให้ได้อย่างรวดเร็ว สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี สอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ 5 ปี 4 แผน และแผนปฏิรูปต่าง ๆ แผนแต่ละแผนก็จะใช้เวลา 5 ปี เช่นเดียวกัน มีการประเมินทุก 5 ปี ระบบการศึกษาจะต้องสามารถตอบสนองความต้องการของตลาดแรงงาน ตอบโจทย์การพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน
ที่ผ่านมานั้นการขับเคลื่อนนโยบาย “ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้” บนหลักการพัฒนา 4H คือ สมอง-จิตใจ-ทักษะ-สุขภาพ ที่เปิดโอกาสให้นักเรียนเลือกเข้าร่วมกิจกรรม ตามความสนใจและความถนัด แล้วก็มีครูคอยให้คำแนะนำ และมีศึกษานิเทศก์ติดตาม ดูแล ให้ความช่วยเหลืออย่างต่อเนื่องนั้น สามารถแปลงนโยบายไปสู่การจัดกิจกรรมได้เป็นอย่างดีมีการพัฒนาตามลำดับ ปัจจุบันก็อยู่ระหว่างการประเมินผลการดำเนินการ สำหรับนำมาใช้เป็นข้อมูลในการปรับปรุงในภาคการศึกษาหน้าต่อไป
นับเป็นอีกความพยายามหนึ่งของรัฐบาลที่ เห็นว่าประสบความสำเร็จ และถือว่าเป็นการปฏิรูปในส่วนการผลิตและพัฒนากำลังคนอาชีวศึกษา ให้สอดคล้องกับการพัฒนาอุตสาหกรรมของประเทศด้วย และรองรับตลาดแรงงานของอาเซียน ด้วยการผลักดัน สร้างภาพลักษณ์ ปรับค่านิยมต่อการเรียนสายอาชีพให้ดีขึ้น เห็นได้ว่าเรามีจำนวนผู้เรียนอาชีวะในปีการศึกษา 2558 เพิ่มขึ้นมากในรอบ 10 ปี ต้องขอขอบคุณภาคเอกชน ผู้ประกอบการ ที่สนับสนุนการศึกษาใน “ระบบทวิภาคี” ช่วยให้เด็กได้ประสบการณ์ จากการทำงานในสถานประกอบการจริง และภาคเอกชนก็ได้คนทำงานที่มีศักยภาพตรงความต้องการอีกด้วย ทั้งนี้ เห็นว่าศักยภาพเด็กไทยเราไม่ได้ด้อยในเวทีโลกเลยหลายประเทศเขามีการพัฒนาตามลำดับ แต่ของเราก็ไม่ได้แพ้เขา วันนี้สถาบันคุณวุฒิวิชาชีพได้เร่งจัดทำมาตรฐานมากกว่า 200 สาขาแล้ว ทั้งเด็กอาชีวะสามารถผ่านการรับรองมาตรฐานแต่ละด้านได้ จะเป็นสิ่งการันตีฝีมือและกำหนดมาตรฐานค่าตอบแทนด้วย แต่รัฐบาลจะไม่ลืม ที่จะส่งเสริมยกระดับคุณภาพในการใช้ภาษาอังกฤษ สำหรับกลุ่มต่าง ๆ คู่ขนานไปด้วย ทั้งนี้เพื่อมีโอกาสความก้าวหน้า ในการประกอบอาชีพที่ดีขึ้น
ทั้งนี้ การปฏิรูปการศึกษา ถือเป็นงานค่อนข้างยาก เนื่องจากมีกฎหมายหลายฉบับ มีหลายหน่วยงาน มีการแบ่งแยกหน่วยงานกันจนมากเกินไป ไม่มีเอกภาพ ในการที่จะกำกับดูแลอำนวยการปฏิบัติให้เป็นไปสอดคล้องกันเองทำได้ยาก รัฐบาล และ คสช. กำลังแก้ไขปัญหาเหล่านี้ เพื่อจะให้เกิดการปฏิรูประยะที่ 1 ที่กล่าวไปแล้วถึงปี 60 ให้ได้โดยเร็วขอความร่วมมือจากบุคลากรทางการศึกษาด้วย ช่วงนี้ขอขอให้เดินหน้าไปให้ได้ก่อน
เรื่องการร่างรัฐธรรมนูญ อยากให้ทุกคนคิดจินตนาการไปพร้อม ๆ กับผมด้วยว่า สิ่งที่เราต้องการคืออะไร ประเทศไทยคนไทยต้องการอะไร ที่ผ่านมาเป็นอย่างไรเราคงต้องการบ้านเมืองที่สงบสุข ชุมชนได้รับการพัฒนาอย่างยั่งยืนเข้มแข็ง เศรษฐกิจที่มีความมั่นคงตั้งแต่ฐานราก การเมืองที่มีเสถียรภาพ นักการเมืองที่มี ธรรมาภิบาลที่จะมีการ บริหารประเทศอย่างมีทิศทาง ข้าราชการทำงานด้วยความสบายใจด้วยความสุจริต โปร่งใส ประชาชนจะได้รับสวัสดิการและการบริการอย่างทั่วถึง ทรัพยากรธรรมชาติถูกนำมาใช้ประโยชน์กับทุกคนโดยรวมอย่างเท่าเทียมเกิดความสมดุล เหมือนวิสัยทัศน์ที่เราเคยกล่าวไว้แล้วว่า “ประเทศมั่นคง ประชาชนมั่งคั่ง อย่างยั่งยืน” หากสิ่งที่เราต้องการตรงกัน เราอาจผิดหวังกับสถานการณ์ในประเทศใน ช่วง 10 กว่าปีที่ผ่านมา เราถึงได้เรียกร้องให้มีการปฏิรูป การเข้ามาของ คสช. และรัฐบาล ถือเป็นเพียง การห้ามเลือดหรือหยุดเลือดเท่านั้นเอง แต่ทำอย่างไรเราจะ “พลิกวิกฤติเหล่านี้ให้เป็นโอกาส” ให้ได้สำเร็จ เป็นเรื่องที่พวกเราทุกคนที่จะต้องช่วยกัน ถือว่าการร่างรัฐธรรมนูญนั้น เป็นวาระแห่งชาติแล้วทุกคนก็ทำงานอย่างแข่งขัน อยากให้ประชาชนทุกกลุ่มทุกคนทุกหมู่เหล่าช่วยกันคิดว่าเราจะทำอย่างไรให้เต็มประสิทธิผลในเรื่องที่เราทำมาแล้วเกือบ 2 ปีที่ผ่านมา ในช่วงการเปลี่ยนผ่านให้มีการปฏิรูปให้ได้ จะต้องมีกลไก มีเครื่องมือ อย่างใดอย่างหนึ่ง ที่จะสามารถสร้างความเชื่อมั่นให้กันและกันได้ว่า เราจะสามารถประคับประคองประเทศไม่ให้ล้มครืนลงมาอีกครั้งหนึ่ง หรือย้อนไปสู่วังวนเดิม ๆ เรามีทั้งนโยบายความมั่นคงแห่งชาติ ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ซึ่งใช้เป็นกรอบการพัฒนาร่วมกันของประเทศของรัฐบาล ของเอกชน และประชาชน เพื่อจะขับเคลื่อนบ้านเมืองไปในทิศทางเดียวกัน ไม่ใช่ต่างคนต่างทำ แยกทั้งคนทั้งเงินทั้งโครงการงบประมาณก็เสียหายใช้อย่างไร้ทิศทาง วันนี้เราได้กำหนดยุทธศาสตร์ชาติซึ่งก็เป็นเพียงกรอบกว้าง ๆ อยากให้ทุกคนไปศึกษารายละเอียดไม่ได้ควบคุมทุกอย่างอยู่แล้วเป็นกรอบกว้าง ๆ ซึ่งทุกรัฐบาลควรต้องทำอยู่แล้ว ไม่ต้องเขียนก็ต้องทำที่ผ่านมาอาจจะมีข้อบกพร่องอยู่บ้างเราเลยต้องเขียนขึ้นมาอยากให้ทุกคนในประเทศรู้ว่าเรา เราจะเดินไปอย่างไร อนาคตเราจะเป็นอย่างไร เราต้องเตรียมตัว เตรียมความพร้อมอย่างไรทั้งทุกภาคส่วนเพื่อให้มีการมั่นคง มีความมั่นคงกับประเทศชาติมีความมั่งคั่งของประชาชนโดยรวม เราจะมีการประเมินยุทธศาสตร์ชาติ ทุก 5 ปี ซึ่งเราได้ประเมินพร้อมไปกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ที่กล่าวไปแล้วตั้งแต่ปี 60 เป็นต้นไปก็ 4 แผน แผน 12 13 -14 -15 ก็แผนละ 5 ปี และก็แผนปฏิรูปของ สปท. ปัจจุบันกับ สปช. เดิมก็ทำให้รัดกุมขึ้นโดยกำหนดไว้ทุก 5 ปี แต่ละปีก็มีรายละเอียดที่ต้องทำบางอย่างก็จบภายในปีเดียวบางอย่างก็จบภายใน 5 ปี รัฐบาลใหม่ จะสามารถบริหารประเทศได้อย่างมั่นคงมีเสถียรภาพ ถ้าหากว่าเราใช้ยุทธศาสตร์ชาติและนโยบายพรรคไปพร้อม ๆ กัน ผมว่าประเทศชาติมีอนาคต ขอขอบคุณนักการเมืองที่หวังดีกับประเทศชาติ เพราะฉะนั้นเราไม่น่าจะมาขัดแย้งกันตรงนี้ ในเมื่อทุกท่านอาสาจะเข้ามาดูแลประชาชนและประเทศชาติ ไม่ใช่เพื่อตนเอง ขอความร่วมมือและความไว้วางใจ ให้กับรัฐบาล – คสช. – กรธ. – สนช. – สปท. ทั้งคณะที่ผ่านมาและคณะนี้ด้วยในการที่จะร่วมกันทำงาน เราจะขอปฏิบัติภารกิจที่พี่น้องได้มอบหมายให้กับเรานั้นด้วยความเชื่อมั้นเชื่อใจตลอดเวลาที่ผ่านมาให้ดำเนินการสำเร็จลุล่วงด้วยดี ขอบคุณครับ สวัสดีครับ
( คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้
เตรียมสอบผู้บริหารสถาน+การศึกษา
เตรียมสอบครูผู้ช่วย
รายการคืนความสุขให้คนในชาติ 26 ก.พ.2559
รายการ “คืนความสุขให้คนในชาติ” พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี กล่าวในรายการ “คืนความสุขให้คนในชาติ” ออกอากาศทางโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย วันศุกร์26 กุมภาพันธ์ 2559 เวลา 20.15 น.
สวัสดีครับ พ่อแม่พี่น้องชาวไทยที่รักทุกท่าน
วันที่ 26 กุมภาพันธ์ ของทุกปี เป็น “วันสหกรณ์แห่งชาติ” ซึ่งเป็นกลไกสร้างความเข้มแข็งให้กับสังคมเกษตรกรรมไทย ที่มีอาชีพหลักคือการเกษตร มายาวนานกว่า 100 ปี ตั้งแต่ช่วงปลายสมัยรัชกาลที่ 5 เพื่อต้องการให้สามารถเข้าถึงแหล่งทุน สำหรับขยายกำลังการผลิต เปลี่ยนจากระบบเลี้ยงตัวเองในชนบท มาสู่ระบบเศรษฐกิจเพื่อการค้า ที่สำคัญคือการขจัดวงจรหนี้สิน การถูกเอารัดเอาเปรียบจากนายทุน
รัฐบาลขอสืบสานเจตนารมณ์เดิมของสหกรณ์ ในการสร้างความเข้มแข็งให้กับเศรษฐกิจฐานราก ล่าสุดดีใจที่ได้เป็นประธานการมอบหนังสืออนุญาตให้เข้าทำประโยชน์ในเขตปฏิรูปที่ดิน เนื้อที่ 2,400 กว่าไร่ ให้กับสหกรณ์ปฏิรูปที่ดินระบำ จำกัด สำหรับจัดสรรที่ดินให้แก่เกษตรกรที่ไม่มีที่ดินทำกิน ราว 500 ราย ตามนโยบายของรัฐ ให้ใช้ประโยชน์ในลักษณะ “แปลงรวม” ไม่ให้กรรมสิทธิ์ และบริหารกันเอง ซึ่งรัฐบาลจะอำนวยการให้ครบ ในแต่ละภูมิภาคของประเทศ ต่อไป
นอกจากนี้ รัฐบาลได้ขยายผล เสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับภาคเกษตรกรรม คู่ขนานไปกับการส่งเสริมให้เป็น Smart Farmer ด้วยการผลักดันนโยบายสาธารณะอย่างเป็นระบบ ครบทุกมิติ ดูแลทั้งต้นทาง – กลางทาง – ปลายทาง อาทิ การลงทุนโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคมขนส่ง และด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและสื่อสาร เพื่อขับเคลื่อนการนำสินค้าในท้องถิ่นสู่สายตาชาวโลก (หรือ Local to Global) ทั้งOTOP ทั้ง 1 ตำบล 1 SME และส่งเสริมการประกอบการในลักษณะวิสาหกิจชุมชน (หรือ Social Enterprise) เป็นต้น ทั้งนี้ ไม่เพียงสร้างโอกาสในการพัฒนาอย่างยั่งยืน ให้กับพี่น้องเกษตรกร มีขีดความสามารถในการแข่งขันให้กับชุมชน และประเทศในภาพรวม ลดการพึ่งพาปัจจัยภายนอก ที่มีโอกาศผันผวนและควบคุมไม่ได้ตลอดเวลา อยากให้เศรษฐกิจไทย “สามารถยืนบนลำแข้งของตนเอง” เกื้อกูลกันในสังคม เข้มแข็งไปด้วยกัน
ในโอกาสนี้ ขอเป็นกำลังใจให้กับพี่น้องเกษตรกร ที่ต่อไปจะต้องพัฒนาเป็น Smart Farmer พัฒนาตนเอง และมองอนาคต 10 ปี 20 ปี เหมือนที่รัฐบาลนี้ กำลังสร้างค่านิยมใหม่ให้กับสังคมไทย
สำหรับปัญหาภัยแล้ง รัฐบาลยังคงเฝ้าติดตามสถานการณ์อยู่ อย่างต่อเนื่อง ปัจจุบันสภาพน้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่และขนาดกลาง มีปริมาตรรวม 39 ล้าน ลบ.ม. น้อยกว่าปี 58 จำนวน 5.3 ล้าน ลบ.ม. โดยรัฐบาลต้องดูแล บริหารจัดการ หาน้ำมาเติม ฟื้นฟูแหล่งน้ำ รวมทั้งดำเนินการตามแผนยุทธศาสตร์การบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ ทั้งระบบ อย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ เพื่อให้เพียงพอต่อการใช้น้ำ ซึ่งในส่วนที่ 1 ภาคการผลิต (เกษตรกรรม อุตสาหกรรม) และการอุปโภค-บริโภคนั้น หากเราสามารถควบคุม ประหยัด หรือลดการใช้น้ำลงได้ ตามมาตรการต่าง ๆ ของรัฐที่กำหนดมา จะช่วยให้เรามีน้ำใช้ ไม่ขัดสนในอนาคต ส่วนที่ 2 คือ น้ำสำหรับผลักดันน้ำเค็ม เพื่อรักษาระบบนิเวศน์นั้น เป็นไปตามธรรมชาติ การขึ้น ลง การหนุนของน้ำทะเล เราไม่สามารถควบคุมได้ แต่สามารถจะคาดการณ์ล่วงหน้าได้
ที่ผ่านมา รัฐบาลได้มีมาตรการช่วยเหลือเกษตรกร ซึ่งเป็นผู้ใช้น้ำกลุ่มหลักของประเทศ ที่ได้รับผลกระทบจากภัยแล้ง อาทิ 1) การส่งเสริมความรู้และการสนับสนุนปัจจัยการผลิต เพื่อลดรายจ่ายในครัวเรือน 2) การชะลอหรือขยายระยะเวลาการชำระหนี้ที่เกษตรกรมีภาระหนี้กับสถาบันการเงิน 3) การจ้างงานเพื่อสร้างรายได้ให้แก่เกษตรกร ทั้งการจ้างแรงงานในชลประทานและการจ้างงานเร่งด่วน และการพัฒนาทักษะฝีมือแรงงาน 4) การเสนอโครงการตามความต้องการของชุมชน เพื่อบรรเทาผลกระทบภัยแล้ง 5) การเพิ่มประสิทธิภาพการใช้น้ำ เช่น ให้ทุกส่วนราชการรณรงค์การใช้น้ำอย่างประหยัด และส่งเสริมการปลูกข้าวโดยวิธีเปียกสลับแห้ง 6) การเพิ่มปริมาณน้ำต้นทุน ทั้งการปฏิบัติการฝนหลวง การขุดลอกแหล่งน้ำธรรมชาติเพิ่มเติม การพัฒนาแหล่งน้ำบาดาล – แก้มลิง – ขนมครก 7) การเสริมสร้างสุขภาพและความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน 8) การสนับสนุนอื่น ๆ เช่น การช่วยเหลือเกษตรกรผู้ประสบภัยพิบัติตามระเบียบกระทรวงการคลัง ว่าด้วยเงินทดรองราชการเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน พ.ศ. 2556 และแผนสินเชื่อสนับสนุนเศรษฐกิจชุมชน – สหกรณ์ เป็นต้น ทั้งนี้ นอกจากจะช่วยบรรเทาความเดือดร้อน ในการประกอบอาชีพ และการใช้ชีวิตของพี่น้องเกษตรกร รัฐบาลยังมุ่งหวังที่จะลดปริมาณการใช้น้ำในส่วนนี้ลง ด้วยการสร้างแรงจูงใจ สมัครใจในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมต่าง ๆ
ปัจจุบัน รัฐบาลได้ผลักดันนโยบายที่จะเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับภาคเกษตรกรรมอีก โดยที่ประชุมคณะรัฐมนตรีมีมติ เห็นชอบมาตรการช่วยเหลือผู้ประสบปัญหาภัยแล้งและมาตรการเพิ่มขีดความสามารถทางการเกษตร ที่กระทรวงการคลังเสนอ เพื่อบรรเทาปัญหาภัยแล้งในระยะเร่งด่วน ที่จะส่งผลต่อความเป็นอยู่ รายได้ กิจกรรมทางเศรษฐกิจและสภาวะสังคม ตลอดจนการเพิ่มขีดความสามารถภาคการเกษตรของประเทศ รวมทั้งเป็นการบรรเทาผลกระทบจากปัญหาภัยแล้ง และภัยธรรมชาติอื่น ๆ ในระยะกลาง ประกอบด้วย
(1) โครงการสินเชื่อเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายฉุกเฉินและจำเป็นของเกษตรกรที่ประสบภัยแล้ง ปี 2558-2559 วงเงิน 6,000 ล้านบาท โดยให้สินเชื่อไม่เกิน 12,000 บาท/ราย กำหนดชำระคืนเงินกู้ไม่เกิน 1 ปี ไม่มีดอกเบี้ย กลุ่มเป้าหมายคือเกษตรกรลูกค้ารายย่อยของ ธ.ก.ส. จำนวน 500,000 ราย ที่ได้รับผลกระทบจากภัยแล้ง ทำให้ไม่สามารถทำการผลิตได้ หรือผลผลิตได้รับความเสียหาย ทำให้มีรายได้ลดลง เพื่อใช้เป็นค่าใช้จ่ายในครัวเรือนในการชั่วคราว พร้อมทั้งก่อให้เกิดการใช้จ่ายหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจ และช่วยป้องกันการก่อหนี้สินนอกระบบของเกษตรกร
(2) โครงการสินเชื่อ 1 ตำบล 1 SME เกษตร เพื่อสร้างความยั่งยืนของภาคเกษตรไทย วงเงิน 72,000 ล้านบาท วงเงินกู้ไม่เกิน 20 ล้านบาท/ราย เป็นสินเชื่อระยะเวลาเงินกู้ไม่เกิน 10 ปี มีอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 4 ต่อปี สำหรับผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ภาคการเกษตร ทั้งรายคน วิสาหกิจชุมชน สหกรณ์การเกษตร หรือบริษัทชุมชน จำนวน 7,200 ราย ในการสร้างมูลค่าเพิ่มสินค้าเกษตร และกระตุ้นให้เกิดการจ้างงาน
(3) โครงการชุมชนปรับเปลี่ยนการผลิตสู้วิกฤติภัยแล้ง วงเงิน 15,000 ล้านบาท วงเงินกู้ไม่เกิน 3 ล้านบาท/กลุ่ม กำหนดชำระคืนเงินกู้ไม่เกิน 1 ปี มีอัตราดอกเบี้ย ร้อยละ 0.01 ต่อปี สำหรับเกษตรกรในพื้นที่ประสบวิกฤติภัยแล้ง ในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาและพื้นที่ลุ่มแม่น้ำแม่กลอง รวม 26 จังหวัด จำนวน 100,000 ราย ที่มีความสมัครใจและตั้งใจ ในการปรับเปลี่ยนโครงสร้างการผลิตอย่างแท้จริง และผ่านการคัดเลือกจากชุมชน ใช้เป็นค่าเช่าที่ดิน ค่าปัจจัยการผลิต และค่าจ้างแรงงานให้กับเกษตรกร
อย่างไรก็ตาม การบริหารจัดการน้ำ ยังคงต้องมองไปในอนาคตปี 60 ด้วย ซึ่งสภาพลมฟ้าอากาศ ยังเป็นสิ่งที่คาดเดาได้ยาก ดังนั้น เพื่อความไม่ประมาท จึงขอความร่วมมือพี่น้องประชาชนทุกคน ทุกภาคส่วน ช่วยกัน “ประหยัด” ใช้น้ำเท่าที่จำเป็น ช่วยกันคนละไม้ คนละมือ รัฐบาลได้พยายามแก้ปัญหาทำแผนการจัดการน้ำระยะยาวถึงปี 69
การดูแลพี่น้อง ชุมชน หมู่บ้าน ซึ่งที่ผ่านมาประสบปัญหาหลายประการ อาทิ ปัญหาภัยพิบัติทางธรรมชาติ ปัญหาต้นทุนการผลิตสูง และปัญหาราคาสินค้าตกต่ำ ซึ่งสาเหตุหนึ่งมาจากระบบโครงสร้างพื้นฐานในชุมชนไม่ได้รับการพัฒนา และขาดปัจจัยการผลิตที่จำเป็น ดังนั้น รัฐบาลจึงผลักดันโครงการเพิ่มความเข้มแข็งของเศรษฐกิจฐานรากตามแนวทาง“ประชารัฐ” ผ่าน “กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง” จำนวน 79,556 กองทุน ๆ ละไม่เกิน 500,000 บาท วงเงินรวม 35,000 ล้านบาท เพื่อใช้ในการลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐานในชุมชน เช่น ยุ้งฉางชุมชน โรงตากพืชผลทางการเกษตร โรงสีชุมชน โรงงานผลิตปุ๋ยประจำชุมชน การจัดทำแหล่งเก็บน้ำชุมชน และเครื่องจักรสำหรับแปรรูปผลผลิตทางการเกษตร เป็นต้น หรือใช้ดำเนินกิจกรรมอื่น ๆ ที่ชุมชนเห็นว่าเป็นประโยชน์ ในการส่งเสริมศักยภาพในการประกอบอาชีพ และความเป็นอยู่ในชุมชนให้ดีขึ้น ถือเป็นมาตรการเร่งด่วน ต้องการให้สามารถดำเนินการเบิกจ่าย ภายใน 6 เดือน ทั้งนี้ เพื่อส่งเสริมความเข้มแข็งของเศรษฐกิจในระดับฐานราก ที่สำคัญต่อการขับเคลื่อนและพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ ให้ครอบคลุมทั้งกระบวนการ ตั้งแต่กิจกรรมด้านการผลิต การเพิ่มมูลค่าสินค้า และการตลาด จะส่งผลให้ชุมชนพัฒนาอย่างมั่นคงแข็งแรงต่อไป นับเป็นมาตรการขยายผลความสำเร็จ ตามความต้องการของพี่น้องเกษตรกร ผ่านกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง เพื่อส่งเสริมความเป็นอยู่ระดับหมู่บ้าน ที่อนุมัติวงเงินสินเชื่อไว้เดิม 60,000 ล้านบาท โดยรัฐบาลช่วยเหลือในเรื่องดอกเบี้ย เป็นระยะเวลา 2 ปี มีกองทุนหมู่บ้าน รวม 5 หมื่นกว่ากองทุน มีสมาชิกได้รับประโยชน์จากโครงการกว่า 3 ล้านครัวเรือน
ทั้งหมดนี้ แสดงให้เห็นถึงความห่วงใยของรัฐบาลและ คสช. ขอให้ช่วยกันดูแลการใช้จ่าย ให้เป็นไปด้วยความโปร่งใสและเป็นธรรมเป็นความต้องการของประชาชนอย่างแท้จริง เราต้องสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจกัน ระหว่างข้าราชการส่วนกลาง ภูมิภาค ท้องถิ่น และ อปท. ประชาชนในพื้นที่ ทำโครงการให้ตรงตามวัตถุประสงค์ เพื่อให้เกิดความยั่งยืน
สิ่งสำคัญที่อยากเห็น คือ กลไกการทำงาน ที่ยึดหลักการ “ประชารัฐ” ที่มีส่วนร่วม ทั้งจากภาคประชาชน ภาคเอกชน และภาครัฐ ในการมุ่งเน้นพัฒนาภาคการผลิต การแปรรูป การตลาดอย่างครบวงจร และการบริหารจัดการพื้นที่การผลิตให้เหมาะสม ทั้งนี้จะต้องไม่มีความซ้ำซ้อนกับโครงการอื่น ๆ ภายใต้นโยบายการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของรัฐบาลจะได้สอดประสานกันในสิ่งที่ขาดในโครงการอื่น ๆ มีหลายโครงการแล้ว มีลักษณะการการดำเนินการเดียวกันแต่จะต้องสอดแทรกกันลงไปในสิ่งที่ยังไม่เพียงพอ ทั้งนี้จะต้องมีระบบการติดตามและการประเมินผล ที่มีประสิทธิภาพ โปร่งใส ตรวจสอบได้ อยากเห็นพี่น้องร่วมกันทำงานอย่างจริงจัง เพื่อจะสร้างเอกภาพและมาตรฐานเดียวกัน รัฐบาลพร้อมสนับสนุนการมีส่วนร่วมของ “อาสาประชารัฐ” ซึ่งเป็นพลังขับเคลื่อน อันจะเกิดจาก “แรงระเบิดจากภายใน” ที่ต้องการสังคมที่มีมาตรฐานและมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น เพราะความอยู่ดี กินดี มีความสุข มีรายได้ มีศักยภาพในการพัฒนาตนเอง จะทำให้หมู่บ้าน ชุมชน และสังคม สามารถพึ่งตนเอง และมีความเข้มแข็งอย่างยั่งยืน เป็นการสร้างความสามัคคี ความปรองดอง ไปด้วยนำไปสู่การช่วยกันในเรื่องการพัฒนา ด้านเศรษฐกิจ ด้านสังคม ด้านการเมืองการปกครอง และอื่น ๆ ทั้งนี้เพื่อประโยชน์สุขของประชาชนชาวไทยทุกคน
สำหรับการน้อมนำแนวพระราชดำริและหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปสู่การปฏิบัติในทุกระดับนั้น ถือเป็นภารกิจสำคัญ ที่รัฐบาลกำลังดำเนินการอยู่ เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของพี่น้องประชาชน โดยเฉพาะในถิ่นทุรกันดาร พื้นที่ห่างไกล ให้พ้นจากความยากจน ลดจากความเหลื่อมล้ำ ที่มีอยู่แล้วเดิมให้มีความเป็นอยู่อย่างพอเพียงดีขึ้น สามารถพึ่งพาตนเองได้อย่างมั่นคง โดยจะมีผู้ว่าราชการจังหวัด นายอำเภอ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และข้าราชการจะทำหน้าที่เป็น “พี่เลี้ยง” ช่วยเหลือเรื่องวิชาการ ดูแลประชาชนอย่างใกล้ชิด เพื่อให้โครงการพัฒนาต่าง ๆ ที่จะดำเนินการในพื้นที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล สามารถแก้ไขปัญหา และพัฒนาความเป็นอยู่ของพี่น้องประชาชนได้อย่างแท้จริง เป็นตัวอย่างของการพัฒนาอย่างยั่งยืน ให้กับประเทศเพื่อนบ้าน อาเซียน และประชาคมโลกอื่น ๆ ด้วย
ในเรื่องของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์อย่างยั่งยืนของประเทศนั้น รัฐบาลได้กำหนดยุทธศาสตร์ปฏิรูปการศึกษา โดยมี 6 เรื่องหลัก ที่ต้องการให้เร่งดำเนินการในช่วงเวลา 1 ปี 6 เดือน ประมาณนั้นที่เหลืออยู่ของรัฐบาล ประกอบด้วย การปรับปรุงหลักสูตรและกระบวนการเรียนรู้ การผลิตและพัฒนาครู การทดสอบการประเมินการประกันคุณภาพและการพัฒนามาตรฐานการศึกษา การผลิตพัฒนากำลังคนและงานวิจัย ที่สอดคล้องกับความต้องการของการพัฒนาประเทศ ไอซีทีเพื่อการศึกษาและการบริหารจัดการทั้งการปรับปรุงโครงสร้างการบริหารจัดการและการกระจายอำนาจ แม้ว่าจะทำได้ไม่สมบูรณ์นักในระยะแรก กู้ไม่จำกัดไม่ถึง 100% เพราะฉะนั้นเราอาจจะเริ่มต้นไว้ให้ได้ก่อน นำร่อง ทดลองปฏิบัติไปแต่ต้องทั่วถึงทุกพื้นที่ทุกภูมิภาคไปก่อนเพื่อจะเป็นแนวทางเอาไว้ทุกโครงการ เรารอไม่ได้ เราจะต้องขับเคลื่อนให้ได้อย่างรวดเร็ว สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี สอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ 5 ปี 4 แผน และแผนปฏิรูปต่าง ๆ แผนแต่ละแผนก็จะใช้เวลา 5 ปี เช่นเดียวกัน มีการประเมินทุก 5 ปี ระบบการศึกษาจะต้องสามารถตอบสนองความต้องการของตลาดแรงงาน ตอบโจทย์การพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน
ที่ผ่านมานั้นการขับเคลื่อนนโยบาย “ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้” บนหลักการพัฒนา 4H คือ สมอง-จิตใจ-ทักษะ-สุขภาพ ที่เปิดโอกาสให้นักเรียนเลือกเข้าร่วมกิจกรรม ตามความสนใจและความถนัด แล้วก็มีครูคอยให้คำแนะนำ และมีศึกษานิเทศก์ติดตาม ดูแล ให้ความช่วยเหลืออย่างต่อเนื่องนั้น สามารถแปลงนโยบายไปสู่การจัดกิจกรรมได้เป็นอย่างดีมีการพัฒนาตามลำดับ ปัจจุบันก็อยู่ระหว่างการประเมินผลการดำเนินการ สำหรับนำมาใช้เป็นข้อมูลในการปรับปรุงในภาคการศึกษาหน้าต่อไป
นับเป็นอีกความพยายามหนึ่งของรัฐบาลที่ เห็นว่าประสบความสำเร็จ และถือว่าเป็นการปฏิรูปในส่วนการผลิตและพัฒนากำลังคนอาชีวศึกษา ให้สอดคล้องกับการพัฒนาอุตสาหกรรมของประเทศด้วย และรองรับตลาดแรงงานของอาเซียน ด้วยการผลักดัน สร้างภาพลักษณ์ ปรับค่านิยมต่อการเรียนสายอาชีพให้ดีขึ้น เห็นได้ว่าเรามีจำนวนผู้เรียนอาชีวะในปีการศึกษา 2558 เพิ่มขึ้นมากในรอบ 10 ปี ต้องขอขอบคุณภาคเอกชน ผู้ประกอบการ ที่สนับสนุนการศึกษาใน “ระบบทวิภาคี” ช่วยให้เด็กได้ประสบการณ์ จากการทำงานในสถานประกอบการจริง และภาคเอกชนก็ได้คนทำงานที่มีศักยภาพตรงความต้องการอีกด้วย ทั้งนี้ เห็นว่าศักยภาพเด็กไทยเราไม่ได้ด้อยในเวทีโลกเลยหลายประเทศเขามีการพัฒนาตามลำดับ แต่ของเราก็ไม่ได้แพ้เขา วันนี้สถาบันคุณวุฒิวิชาชีพได้เร่งจัดทำมาตรฐานมากกว่า 200 สาขาแล้ว ทั้งเด็กอาชีวะสามารถผ่านการรับรองมาตรฐานแต่ละด้านได้ จะเป็นสิ่งการันตีฝีมือและกำหนดมาตรฐานค่าตอบแทนด้วย แต่รัฐบาลจะไม่ลืม ที่จะส่งเสริมยกระดับคุณภาพในการใช้ภาษาอังกฤษ สำหรับกลุ่มต่าง ๆ คู่ขนานไปด้วย ทั้งนี้เพื่อมีโอกาสความก้าวหน้า ในการประกอบอาชีพที่ดีขึ้น
ทั้งนี้ การปฏิรูปการศึกษา ถือเป็นงานค่อนข้างยาก เนื่องจากมีกฎหมายหลายฉบับ มีหลายหน่วยงาน มีการแบ่งแยกหน่วยงานกันจนมากเกินไป ไม่มีเอกภาพ ในการที่จะกำกับดูแลอำนวยการปฏิบัติให้เป็นไปสอดคล้องกันเองทำได้ยาก รัฐบาล และ คสช. กำลังแก้ไขปัญหาเหล่านี้ เพื่อจะให้เกิดการปฏิรูประยะที่ 1 ที่กล่าวไปแล้วถึงปี 60 ให้ได้โดยเร็วขอความร่วมมือจากบุคลากรทางการศึกษาด้วย ช่วงนี้ขอขอให้เดินหน้าไปให้ได้ก่อน
เรื่องการร่างรัฐธรรมนูญ อยากให้ทุกคนคิดจินตนาการไปพร้อม ๆ กับผมด้วยว่า สิ่งที่เราต้องการคืออะไร ประเทศไทยคนไทยต้องการอะไร ที่ผ่านมาเป็นอย่างไรเราคงต้องการบ้านเมืองที่สงบสุข ชุมชนได้รับการพัฒนาอย่างยั่งยืนเข้มแข็ง เศรษฐกิจที่มีความมั่นคงตั้งแต่ฐานราก การเมืองที่มีเสถียรภาพ นักการเมืองที่มี ธรรมาภิบาลที่จะมีการ บริหารประเทศอย่างมีทิศทาง ข้าราชการทำงานด้วยความสบายใจด้วยความสุจริต โปร่งใส ประชาชนจะได้รับสวัสดิการและการบริการอย่างทั่วถึง ทรัพยากรธรรมชาติถูกนำมาใช้ประโยชน์กับทุกคนโดยรวมอย่างเท่าเทียมเกิดความสมดุล เหมือนวิสัยทัศน์ที่เราเคยกล่าวไว้แล้วว่า “ประเทศมั่นคง ประชาชนมั่งคั่ง อย่างยั่งยืน” หากสิ่งที่เราต้องการตรงกัน เราอาจผิดหวังกับสถานการณ์ในประเทศใน ช่วง 10 กว่าปีที่ผ่านมา เราถึงได้เรียกร้องให้มีการปฏิรูป การเข้ามาของ คสช. และรัฐบาล ถือเป็นเพียง การห้ามเลือดหรือหยุดเลือดเท่านั้นเอง แต่ทำอย่างไรเราจะ “พลิกวิกฤติเหล่านี้ให้เป็นโอกาส” ให้ได้สำเร็จ เป็นเรื่องที่พวกเราทุกคนที่จะต้องช่วยกัน ถือว่าการร่างรัฐธรรมนูญนั้น เป็นวาระแห่งชาติแล้วทุกคนก็ทำงานอย่างแข่งขัน อยากให้ประชาชนทุกกลุ่มทุกคนทุกหมู่เหล่าช่วยกันคิดว่าเราจะทำอย่างไรให้เต็มประสิทธิผลในเรื่องที่เราทำมาแล้วเกือบ 2 ปีที่ผ่านมา ในช่วงการเปลี่ยนผ่านให้มีการปฏิรูปให้ได้ จะต้องมีกลไก มีเครื่องมือ อย่างใดอย่างหนึ่ง ที่จะสามารถสร้างความเชื่อมั่นให้กันและกันได้ว่า เราจะสามารถประคับประคองประเทศไม่ให้ล้มครืนลงมาอีกครั้งหนึ่ง หรือย้อนไปสู่วังวนเดิม ๆ เรามีทั้งนโยบายความมั่นคงแห่งชาติ ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ซึ่งใช้เป็นกรอบการพัฒนาร่วมกันของประเทศของรัฐบาล ของเอกชน และประชาชน เพื่อจะขับเคลื่อนบ้านเมืองไปในทิศทางเดียวกัน ไม่ใช่ต่างคนต่างทำ แยกทั้งคนทั้งเงินทั้งโครงการงบประมาณก็เสียหายใช้อย่างไร้ทิศทาง วันนี้เราได้กำหนดยุทธศาสตร์ชาติซึ่งก็เป็นเพียงกรอบกว้าง ๆ อยากให้ทุกคนไปศึกษารายละเอียดไม่ได้ควบคุมทุกอย่างอยู่แล้วเป็นกรอบกว้าง ๆ ซึ่งทุกรัฐบาลควรต้องทำอยู่แล้ว ไม่ต้องเขียนก็ต้องทำที่ผ่านมาอาจจะมีข้อบกพร่องอยู่บ้างเราเลยต้องเขียนขึ้นมาอยากให้ทุกคนในประเทศรู้ว่าเรา เราจะเดินไปอย่างไร อนาคตเราจะเป็นอย่างไร เราต้องเตรียมตัว เตรียมความพร้อมอย่างไรทั้งทุกภาคส่วนเพื่อให้มีการมั่นคง มีความมั่นคงกับประเทศชาติมีความมั่งคั่งของประชาชนโดยรวม เราจะมีการประเมินยุทธศาสตร์ชาติ ทุก 5 ปี ซึ่งเราได้ประเมินพร้อมไปกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ที่กล่าวไปแล้วตั้งแต่ปี 60 เป็นต้นไปก็ 4 แผน แผน 12 13 -14 -15 ก็แผนละ 5 ปี และก็แผนปฏิรูปของ สปท. ปัจจุบันกับ สปช. เดิมก็ทำให้รัดกุมขึ้นโดยกำหนดไว้ทุก 5 ปี แต่ละปีก็มีรายละเอียดที่ต้องทำบางอย่างก็จบภายในปีเดียวบางอย่างก็จบภายใน 5 ปี รัฐบาลใหม่ จะสามารถบริหารประเทศได้อย่างมั่นคงมีเสถียรภาพ ถ้าหากว่าเราใช้ยุทธศาสตร์ชาติและนโยบายพรรคไปพร้อม ๆ กัน ผมว่าประเทศชาติมีอนาคต ขอขอบคุณนักการเมืองที่หวังดีกับประเทศชาติ เพราะฉะนั้นเราไม่น่าจะมาขัดแย้งกันตรงนี้ ในเมื่อทุกท่านอาสาจะเข้ามาดูแลประชาชนและประเทศชาติ ไม่ใช่เพื่อตนเอง ขอความร่วมมือและความไว้วางใจ ให้กับรัฐบาล – คสช. – กรธ. – สนช. – สปท. ทั้งคณะที่ผ่านมาและคณะนี้ด้วยในการที่จะร่วมกันทำงาน เราจะขอปฏิบัติภารกิจที่พี่น้องได้มอบหมายให้กับเรานั้นด้วยความเชื่อมั้นเชื่อใจตลอดเวลาที่ผ่านมาให้ดำเนินการสำเร็จลุล่วงด้วยดี ขอบคุณครับ สวัสดีครับ
ที่มา ; เว็บ รัฐบาล
ที่มา ; เว็บ รัฐบาล
( คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้
( คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้
เตรียมสอบผู้บริหารสถาน+การศึกษา
เตรียมสอบครูผู้ช่วย
เตรียมสอบผู้บริหารสถาน+การศึกษา
เตรียมสอบครูผู้ช่วย
ฟรี... ห้องเตรียม-ครูผู้ช่วย
-ผู้บริหาร-บุคลากรการศึกษา ที่
ฟรี... ห้องเตรียม-ครูผู้ช่วย
-ผู้บริหาร-บุคลากรการศึกษา ที่
" ติวสอบดอทคอม "
" ติวสอบดอทคอม "
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น