หน้าหลัก ติวสอบดอทคอม เว็บฟรีข้อสอบออนไลน์

หน้าหลัก ติวสอบดอทคอม เว็บฟรีข้อสอบออนไลน์
หน้าหลัก ติวสอบดอทคอม เว็บฟรีข้อสอบออนไลน์

พัฒนาความรู้ สู่ รอง./ผอ.รร. ปี 2566

พัฒนาความรู้ สู่ รอง./ผอ.รร. ปี 2566
พัฒนาความรู้ สู่ รอง./ผอ.รร. ปี 2566

คลิ๊ก "สมัครพัฒนาความรู้สู่ผู้บริหาร / ครูผู้ช่วย

คลิ๊ก... สมัคร พัฒนาความรู้ สู่ ครูผู้ช่วย
คลิ๊ก... สมัคร พัฒนาความรู้ สู่ ผู้บริหาร

ติวสอบดอทคอม (เตรียมสอบครูผู้ช่วย-ผู้บริหาร-บุคลากร การศึกษา)

ติวสอบดอทคอม (เตรียมสอบครูผู้ช่วย-ผู้บริหาร-บุคลากร การศึกษา)
ติวสอบดอทคอม (เว็บฟรีข้อสอบออนไลน์ สอบครู ผู้บริหาร บุคลากร)

วันจันทร์ที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

ติดตามการขับเคลื่อนนโยบายลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้

เรื่องใหม่น่าสนใจ  (ทั้งหมด ที่ )


(เนื้อหา-ข้อสอบ 1,000 ชุุด หมื่นข้อ ภาค กข


40 วิชาเอก) ที่ ห้องสอบด้านขวา หรือ 


ติวสอบดอทคอม คลิ๊ก www.tuewsob.com 



-คู่มือ 4 ชุด นโยบาย บริบริหาร ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้

-เกณฑ์ประเมินคุณภาพภายนอกรอบสี่ โดย สมศ.

- พรบ.เงินเดือนใหม่ข้าราชการครูฯ พ.ศ.2558  


              ข้อสอบออนไลน์ ( พัฒนาความรู้ครู - ผู้บริหาร - บุคลากรการศึกษาชุดใหม่

 เตรียมสอบ บน ยูทูป ทั้งหมด ได้ที่

 ติวสอบ บน ยูทูป


 คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้   
เตรียมสอบผู้บริหารสถาน+การศึกษา 
เตรียมสอบครูผู้ช่วย

ข่าวสำนักงานรัฐมนตรี 75/2559
 ติดตามการขับเคลื่อนนโยบายลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ ที่ราชบุรี


อำเภอปากท่อ จังหวัดราชบุรี - พล.อ.ดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ พร้อมด้วย พล.อ.สุรเชษฐ์ ชัยวงศ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ, นายการุณ สกุลประดิษฐ์ เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เดินทางไปติดตามการขับเคลื่อนนโยบายลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ เมื่อวันศุกร์ที่ 12 กุมภาพันธ์ 2559 ที่โรงเรียนบรมราชินีนาถราชวิทยาลัย (Queen College) และตรวจเยี่ยมโรงเรียนขนาดเล็กที่โรงเรียนวัดโพธิศรี โดยมีนายสุรพล แสวงศักดิ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดราชบุรี,  นายกฤตชัย อรุณรัตน์ ผู้ตรวจราชการกระทรวงศึกษาธิการ เขตตรวจราชการที่ 4, นายสมศักดิ์ เรืองสุวรรณ ผู้อำนวยการสำนักงานศึกษาธิการภาค 6 ตลอดจนผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา/มัธยมศึกษา ผู้บริหารโรงเรียน ครู และนักเรียนให้การต้อนรับ ร่วมรับฟัง และแลกเปลี่ยนความคิดเห็นแนวทางจัดการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ
รมว.ศึกษาธิการ กล่าวว่า จากการติดตามการขับเคลื่อนนโยบายลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ ที่โรงเรียนบรมราชินีนาถราชวิทยาลัย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต ซึ่งเป็นโรงเรียนประจำที่จัดตั้งขึ้นเพื่อเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ในวโรกาสที่ทรงเจริญพระชนมพรรษาครบ 5 รอบ ในปี พ.ศ.2535 พบว่าโรงเรียนได้จัดกิจกรรมให้กับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น 282 คน ด้วยการพัฒนาทักษะจำนวน 47 กิจกรรม ครบทั้ง 4H คือ Head-Heart-Hands-Health โดยนักเรียนมีโอกาสเลือกเข้าร่วมกิจกรรมตามความสนใจและความถนัดตั้งแต่ช่วงเวลา 14.00-16.00 น.  โดยมีครูคอยให้คำแนะนำ และมีศึกษานิเทศก์ติดตาม ดูแล ให้ความช่วยเหลืออย่างต่อเนื่องมาโดยตลอด ส่งผลให้สามารถแปลงนโยบายไปสู่การจัดกิจกรรมได้เป็นอย่างดี ถือเป็นแบบอย่างให้โรงเรียนอื่นๆ สามารถนำไปปรับใช้ได้
นอกจากติดตามนโยบายดังกล่าวแล้ว รมว.ศึกษาธิการ ได้กล่าวให้นโยบายการปฏิรูปการศึกษา ของกระทรวงศึกษาธิการ ซึ่งขณะนี้ได้ดำเนินงานมีความก้าวหน้าหลายส่วน อาทิ การปรับปรุงระบบผลิตและพัฒนาครูให้มีคุณภาพและเพียงพอกับความต้องการ โดยได้จัดสรรทุนเพื่อให้ได้มีครูเก่งและตรงกับสาขาวิชาขาดแคลนเพิ่มขึ้นในระยะเร่งด่วน พร้อมปรับแผนพัฒนาครู ที่เน้นเฉพาะสาขาวิชา เน้นบริบทพื้นที่, การปรับปรุงพัฒนาหลักสูตรซึ่งอยู่ระหว่างการศึกษาวิเคราะห์เนื้อหาอย่างรอบคอบ เพื่อให้มีความเหมาะสมกับผู้เรียนในแต่ละช่วงวัย ทั้งเนื้อหาที่ต้องรู้และควรรู้, การพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษา โดยจัดทำฐานข้อมูลกลางที่รวบรวมเนื้อหาสาระไว้ให้ทุกคนเข้าไปเรียนรู้ได้, การวางแผนผลิตคนให้ตรงกับความต้องการพัฒนาประเทศ, การบริหารจัดการ และการปฏิรูประบบทดสอบและประเมินผลผู้เรียน ซึ่งกำลังพิจารณาปรับปรุงระบบการทดสอบของประเทศ โดยเฉพาะ O-NET, GAT/PAT และระบบการสอบตรง
 ภายหลังให้นโยบาย รมว.ศึกษาธิการ และคณะ ได้เยี่ยมชมนิทรรศการลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ ของโรงเรียนและโรงเรียนใกล้เคียงที่นำมาจัดแสดง จากนั้นได้ปิดห้องพูดคุยกับนักเรียนและคณะครู โดยไม่มีผู้บริหารโรงเรียนและผู้บริหารเขตพื้นที่การศึกษาเข้ารับฟัง โดยแยกเป็น กลุ่ม คือ กลุ่มนักเรียนชั้น ม.1, กลุ่มนักเรียนชั้น ม.และกลุ่มครูผู้สอน โดยให้แต่ละกลุ่มสะท้อนความคิดเห็น เสนอแนวทาง ปัญหาความต้องการในการจัดการศึกษาแบบตรงไปตรงมา
1) ความคิดเห็นของกลุ่มนักเรียนชั้น ม.1/1-ม.1/4 จำนวน 26 คน
นโยบายลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ เป็นสิ่งที่ดีมากที่ได้ทำให้ผ่อนคลายจากการเรียน ได้ทำในสิ่งที่ชอบ มีความรู้ทักษะต่างๆ เพิ่มขึ้นจากในห้องเรียน โดยชั้น ม.ทั้งหมดได้ทำกิจกรรม 2 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ ยกเว้น ม.1/1 ซึ่งเป็นห้องเรียนพิเศษ ได้ทำกิจกรรมเพียง 1 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ นักเรียนกลุ่มนี้จึงขอให้ช่วยพูดกับโรงเรียนเพื่อเพิ่มจำนวนเวลาที่เข้าร่วมกิจกรรมให้เท่าเพื่อนห้องอื่นๆ ส่วนพ่อแม่ผู้ปกครองทุกคนก็เข้าใจและชอบที่จะให้พวกตนทำกิจกรรมเหล่านี้ เพื่อพัฒนาทักษะ 4H คือ Head-Heart-Hands-Health แต่นักเรียนส่วนใหญ่เห็นว่าโรงเรียนยังคงจัดกิจกรรมด้านทักษะ Health น้อยเกินไป แม้จะเป็นห้องที่เรียนเก่ง แต่ก็ต้องการทำกิจกรรมด้านกีฬาและออกกำลังกายเช่นกัน
นอกจากนี้ การที่โรงเรียนกำหนดกิจกรรมให้นักเรียนเลือกได้ครั้งละ 1 กิจกรรมต่อเดือน ก็มองว่าน้อยเกินไป เพราะหลายคนต้องการเรียนรู้ 2 กิจกรรมใน 1 เดือน ซึ่งก็ไม่สามารถทำได้ และเมื่อถึงเดือนต่อไป กิจกรรมที่สนใจนั้นก็หายไปอีก ทำให้อดที่จะได้ทำกิจกรรมตามที่ต้องการ
รมว.ศึกษาธิการ กล่าวกับเด็กกลุ่มนี้ว่า จากการที่ได้รับฟัง ยิ่งทำให้ได้รับทราบความต้องการของเด็กด้วยตนเอง รู้สึกดีใจที่ได้เจอ ม.ซึ่งเป็นน้องเล็กที่สุดในโรงเรียน พร้อมทั้งฝากว่าขอให้เป็นคนดี แข่งขันกับตัวเอง ไม่ต้องไปแข่งขันกับเพื่อน ส่วนความต้องการด้านต่างๆ จากนโยบายนี้ จะแจ้งให้โรงเรียนได้รับทราบเพื่อนำความคิดเห็นเหล่านี้ไปพิจารณาจัดกิจกรรมให้ตรงกับความต้องการของนักเรียนมากขึ้นในปีการศึกษาถัดไป

2) ความคิดเห็นของกลุ่มนักเรียนชั้น ม.6/1-ม.6/2 จำนวน 41 คน  มีหัวข้อที่ได้รับฟังข้อเสนอในหลายประเด็น คือ
ปัญหาการสอบ GAT/PAT และระบบสอบตรง  เมื่อรัฐมนตรีถามความเห็นจากการสอบ นักเรียนทั้งหมดในกลุ่มนี้ได้ยกมือบอกตรงกันว่าเป็นข้อสอบที่ยาก อีกทั้งข้อสอบก็แตกต่างจากที่เรียนในห้องเรียนมาก และทุกคนยกมือบอกด้วยว่าต้องการให้มีการจัดระบบการสอบเข้ามหาวิทยาลัยแบบ Entrance คือสอบครั้งเดียว หากยกเลิกระบบการสอบตรงได้จะทำให้เด็กยากจนมีความเท่าเทียมกับเด็กที่มีความพร้อมมากกว่า เพราะระบบการสอบตรงทำให้แต่ละคนเสียค่าใช้จ่ายในการเดินทางและค่าสมัครสอบหลายแห่ง
การรับรู้นโยบายการผลิตครูตามโครงการคุรุทายาท  นักเรียนในกลุ่มจำนวน 8 คนบอกว่า ต้องการสมัครเข้าร่วมโครงการนี้ เพราะต้องการเป็นครู แต่ไม่แน่ใจว่ากระทรวงศึกษาธิการจะดำเนินโครงการได้ทันหรือไม่
ครูในอุดมคติ เด็กบอกว่าขอให้เป็นครูที่สอนอะไรๆ ให้เข้าใจได้ง่าย ไม่จำเป็นต้องสวยหรือหล่อ หรือแม้จะดุก็ไม่เป็นไร
ความคิดเห็นนโยบายการตกซ้ำชั้น  เด็กมากกว่าครึ่งหนึ่งเห็นด้วยกับนโยบายนี้ ในขณะที่บางคนบอกอยากให้เริ่มตั้งแต่ ป.1 เพราะหากจบ ป.แล้วยังอ่านไม่ออก ขึ้นชั้นเรียนต่อไปก็ยิ่งจะทำให้เด็กคนนั้นเรียนไม่รู้เรื่อง เป็นการทรมานเด็กในระยะยาว
รมว.ศึกษาธิการ ได้กล่าวเสริมในเรื่องนี้ว่า ต้องการรับฟังความคิดเห็นจากผู้คนทุกกลุ่มที่มีส่วนได้เสีย (Stakeholder) ก่อนที่จะตัดสินใจเป็นนโยบาย ซึ่งแนวความคิดนโยบายการตกซ้ำชั้นก่อนหน้านี้เห็นว่าควรตัดสินตกซ้ำชั้นเฉพาะช่วงชั้น (จบ ป.3, ป.6, ม.3) แต่ต่อมาก็มีนักเรียนกลุ่มนี้ รวมทั้งนักวิชาการหลายท่านเห็นว่าควรพิจารณาเด็กชั้น ป.เพิ่มเติมด้วย เพราะหากปล่อยเด็กจบ ป.ที่อ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ขึ้นชั้นเรียนต่อๆ ไป ยิ่งจะทำให้เด็กเรียนไม่รู้เรื่อง อย่างไรก็ตาม การซ่อมเสริมในรายวิชาที่ทำให้เด็กตกซ้ำชั้นก็ควรมีอยู่ แต่โรงเรียนควรมีเงื่อนไขในการซ่อมเสริมที่ได้มาตรฐานทางวิชาการ ไม่ใช่เป็นวิธีการที่ให้ไปกวาดสนามหญ้าแทนการซ่อมเสริมการสอบตกซ้ำชั้น

3) ความคิดเห็นของกลุ่มครูในโรงเรียน จำนวน 40 คน   มีหัวข้อที่ได้รับฟังและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในหลายประเด็น คือ
การพิจารณาคัดเลือกผู้บริหารโรงเรียน กลุ่มครูเห็นว่าต้องการให้ สพฐ. กำหนดหลักเกณฑ์และให้ความสำคัญในการพิจารณาคัดเลือกผู้บริหารโรงเรียนในโครงการพระราชดำริ ที่มีวิสัยทัศน์ มีระบบการจัดการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพ การนำพาโรงเรียนไปสู่เป้าหมาย การใช้จ่ายงบประมาณที่มีประสิทธิภาพ และการที่โรงเรียนแห่งนี้อยู่ห่างไกลจากชุมชน ครูผู้สอนจึงควรได้รับความสะดวกในด้านความเป็นอยู่ในอนาคต เพื่อสามารถทุ่มเทในการสอนและดูแลนักเรียนได้อย่างเต็มที่
ความคิดเห็นนโยบายการตกซ้ำชั้น  ครูส่วนใหญ่เห็นว่าควรให้มีนโยบายนี้ไม่ว่าจะเป็นชั้นประถมหรือมัธยมศึกษาก็ตาม มิฉะนั้นจะทำให้ต่อยอดเด็กๆ ต่อไปยากมาก และเด็กคนนั้นก็จะเบื่อหน่ายมากๆ หากยังอ่านไม่ออกหรือเขียนไม่ได้ แต่กลับได้เรียนในชั้นเรียนที่สูงขึ้นๆ ดังนั้นคงต้องยอมเสียเวลาเพื่อให้เด็กซ้ำชั้นบ้าง เพื่อให้เด็กคนนั้นมีคุณภาพพอที่จะเลื่อนชั้น ในขณะที่ครูบางคนก็เห็นว่า ลักษณะการตกซ้ำชั้น อยากให้เป็นไปในแต่ละชั้น ดีกว่าช่วงชั้น เพราะเนื้อหาจะไม่ต่อเนื่องกันอย่างแน่นอน แต่ก็ต้องคำนึงว่าหากปล่อยเด็กบางคนตกซ้ำชั้นบ่อยๆ ก็น่าสงสารเด็กคนนั้น
ปัญหาการสอบ GAT/PAT และระบบสอบตรง ครูส่วนใหญ่เห็นด้วยที่จะให้ยกเลิกระบบสอบตรง เพราะเด็กๆ เสียค่าใช้จ่ายในการไปสมัครสอบในมหาวิทยาลัยต่างๆ จำนวนมาก
ปัญหาการจัดการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ ไม่ประสานกันเท่าที่ควร แต่เมื่อประถม-มัธยมฯ มารวมกันภายใต้ สพฐ. ก็ดีขึ้น ในขณะที่การเชื่อมต่อการศึกษาขั้นพื้นฐานไปอุดมศึกษายังคงมีปัญหา
รมว.ศึกษาธิการ กล่าวสรุปว่า แนวทางการพิจารณาระบบคัดเลือกผู้บริหารโรงเรียน เป็นเรื่องสำคัญที่กระทรวงศึกษาธิการกำลังพิจารณาในเวลานี้ แต่ตนไม่มีอำนาจ เพราะอำนาจในการพิจารณาแต่งตั้งโยกย้ายเป็นอำนาจหน้าที่ของ อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่การศึกษาอยู่ในเวลานี้ ซึ่งคงต้องรับฟังความคิดเห็นในเรื่องนี้ต่อไป แต่ส่วนตัวเห็นว่าการให้ได้ผู้บริหารโรงเรียน ควรมาจากประสบการณ์การสอนตั้งแต่การเป็นครูในโรงเรียนนั้นๆ ช่วงระยะเวลาหนึ่งพอสมควร แล้วควรไต่เต้าเป็นรองผู้อำนวยการโรงเรียนก่อนที่จะก้าวมาเป็นผู้อำนวยการโรงเรียนตามลำดับ
ย้ำด้วยว่า กระทรวงศึกษาธิการจะใส่ใจในเรื่องความคิดเห็นต่างๆ ของ Stakeholder ก่อนที่จะประกาศเรื่องใดๆ ออกไปเป็นนโยบาย แม้แต่ห้องทำงานในกระทรวงศึกษาธิการชั้น 2 บางครั้งก็ยังเปิดหน้าต่าง ได้ยินได้รับฟังความคิดเห็นจากผู้คนในกระทรวง
 

ตรวจเยี่ยม รร.ขนาดเล็ก มีมาตรฐานสูง ที่โรงเรียนวัดโพธิศรี
 หลังจากนั้น รมว.ศึกษาธิการ และคณะ เดินทางต่อไปยังโรงเรียนวัดโพธิศรี สังกัดสำนักเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาราชบุรี เขต 1 ซึ่งเป็นโรงเรียนขนาดเล็กที่เปิดสอนระดับชั้นอนุบาลถึงประถมศึกษาปีที่ 6 มีนักเรียนรวม 19 คน มีครู 3 คน ครูอัตราจ้าง 1 คน และมีนายสถาพร กรีธาธร เป็นผู้อำนวยการโรงเรียน โดย รมว.ศึกษาธิการ ได้เยี่ยมชมการจัดการเรียนการสอนในห้องต่างๆ เช่น ห้องเรียนคอมพิวเตอร์ ซึ่งจัดแยกไว้ภายในห้องสมุดอย่างเป็นสัดส่วน ห้องเรียนชั้นต่างๆ ซึ่งโรงเรียนได้นำเทคโนโลยีเพื่อการเรียนการสอนมาใช้เพิ่มประสิทธิภาพการเรียนการสอนและแก้ไขปัญหาครูผู้สอนไม่ครบชั้น โดยใช้ร่วมกับ DLTV เป็นหลัก
 รวมทั้งได้ชมผลงานของครูผู้คิดค้นการนำโปรแกรมพื้นฐานของไมโครซอฟต์มาประยุกต์ใช้เป็นโปรแกรมจัดการเรียนการสอนสำหรับโรงเรียนที่ใช้สื่อทางไกลผ่านดาวเทียม 9 โปรแกรม ได้แก่ โปรแกรมตรวจสอบตารางเรียน, โปรแกรมบันทึกการจัดการเรียนรู้, โปรแกรมตรวจสอบคะแนนสะสม, โปรแกรมคลังข้อสอบ, โปรแกรมสืบค้นบันทึกจัดการเรียนรู้, โปรแกรมสร้างข้อสอบ, โปรแกรมสอบวัดผลการเรียน, โปรแกรมตรวจข้อสอบ และโปรแกรมประเมินผลการเรียนรู้ ส่งผลให้สามารถยกผลสัมฤทธิ์ของนักเรียนในการสอบ O-NET สูงกว่าระดับประเทศทุกกลุ่มสาระวิชา ในปีการศึกษา 2553-2557 และได้รับรางวัลโรงเรียนขนาดเล็กที่มีวิธีปฏิบัติเป็นเลิศ ประจำปี 2558 ของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
 รมว.ศึกษาธิการ กล่าวชื่นชมผู้อำนวยการโรงเรียนและครูทุกคน ที่แม้ว่าจะเป็นเพียงโรงเรียนเล็กๆ แต่สามารถจัดการเรียนการสอนให้นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ที่สูงกว่าระดับประเทศ ตลอดจนสามารถบริหารจัดการได้อย่างเรียบร้อย สร้างบรรยากาศส่งเสริมการเรียนรู้ มีความสะอาดและเป็นสัดเป็นส่วน ถือเป็นโรงเรียนตัวอย่างอีกแห่งหนึ่งที่โรงเรียนอื่นจะนำไปเป็นแบบอย่าง อีกทั้งนำเทคโนโลยีเพื่อการศึกษามาใช้เพื่อการเรียนการสอนและการบริหารจัดการได้อย่ามีประสิทธิภาพ

ที่มา ; เว็บ สำนักงานรัฐมนตรี กระทรวงศึกษาธิการ


 คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้   

เตรียมสอบผู้บริหารสถาน+การศึกษา 
เตรียมสอบครูผู้ช่วย

ฟรี... ห้องเตรียม-ครูผู้ช่วย
-ผู้บริหาร-บุคลากรการศึกษา  ที่ 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

พัฒนาความรู้ครูผู้ช่วย 4 ภาค

พัฒนาความรู้ครูผู้ช่วย 4 ภาค
พัฒนาความรู้ครูผู้ช่วย 4 ภาค

ห้องสนทนา บน facebook

ห้องสนทนา บน facebook
ห้องสนทนาติวสอบดอทคอม

ข้อสอบออนไลน์ "ติวสอบดอทคอม" ชุดใหม่

คู่มือเตรียมสอบผู้บริหาร ภาค ก ข ค

แจ้งย้ายเว็บไปที่ www.tuewsob.com

คู่มือเตรียมสอบผู้บริหาร ภาค ก ข ค (ปรับปรุงใหม่)

รวม เล่ม + แผ่นพับ + ชีตช่วยจำ + DVD เนื้อหา + เสียงบรรยาย + EMS = 800 บาท
สนใจ คู่มือ ภาค ก ข ค ผู้บริหาร คลิ๊กเลย

สั่งจอง... โอนเงินเข้าชื่อบัญชี นายนิกร เพ็งลี ธนาคารกรุงไทย สาขาจอหอ บัญชีเลขที่ 341-1-38912-5 โอนเงินแล้วกรุณาโทรแจ้ง
0872494141 หรือ 0839660030

คู่มือ เตรียมสอบผู้บริหาร

คู่มือ เตรียมสอบผู้บริหาร
คู่มือ เตรียมสอบผู้บริหาร

ติวสอบออนไลน์ บน facebook

ติวสอบออนไลน์ บน facebook
ติวสอบออนไลน์ บน facebook

คลังหนังสือ ติวสอบดอทคอม

คลังหนังสือ ติวสอบดอทคอม
คลังหนังสือ ติวสอบดอทคอม

ติวสอบดอทคอม

ติวสอบดอทคอม
ติวสอบดอทคอม