เรื่องใหม่น่าสนใจ (ทั้งหมด ที่ )
(เนื้อหา-ข้อสอบ 1,000 ชุุด หมื่นข้อ ภาค กข
+ 40 วิชาเอก) ที่ ห้องสอบด้านขวา หรือ
ติวสอบดอทคอม คลิ๊ก www.tuewsob.com
-คู่มือ 4 ชุด นโยบาย บริบริหาร ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้
-เกณฑ์ประเมินคุณภาพภายนอกรอบสี่ โดย สมศ.
- พรบ.เงินเดือนใหม่ข้าราชการครูฯ พ.ศ.2558
ข้อสอบออนไลน์ ( พัฒนาความรู้ครู - ผู้บริหาร - บุคลากรการศึกษา) ชุดใหม่
ข้อสอบออนไลน์ ( พัฒนาความรู้ครู - ผู้บริหาร - บุคลากรการศึกษา) ชุดใหม่
เตรียมสอบ บน ยูทูป ทั้งหมด ได้ที่
นายกฯ หวั่นปัญหาแล้ง วอนประหยัด ยกร่าง รธน.วาระแห่งชาติ
"ประยุทธ์" รับน้ำในเขื่อนน้อยกว่าปี 58 วอนทุกภาคส่วนช่วยกันประหยัด-สนองมาตรการรัฐ เผย รบ.ทุ่มเฉียดแสนล้านบรรเทาปัญหา ยก ร่าง รธน.เป็นวาระแห่งชาติ เพื่อนำไปสู่การปฏิรูป ไม่เช่นนั้นก็เสียของ คสช.เข้ามาได้แค่ห้ามเลือด แจงยุทธศาสตร์ชาติแค่กำหนดกรอบกว้างๆ เชื่อผสานนโยบายพรรค ประเทศฉลุยแน่ อ้างจำเป็นต้องมีเครื่องมือควบคุมไม่ให้ย้อนสู่วังวนเดิมๆ...
เมื่อเวลา 20.15 น. วันที่ 26 ก.พ. พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) กล่าวในรายการคืนความสุขให้คนในชาติ ออกอากาศทางโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย กล่าวตอนหนึ่งถึงสถานการณ์ภัยแล้งว่า รัฐบาลยังคงเฝ้าติดตามสถานการณ์อย่างต่อเนื่อง ปัจจุบันสภาพน้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่และขนาดกลาง มีปริมาตรรวม 39 ล้านลูกบาศก์เมตร (ลบ.ม.) น้อยกว่าปี 58 จำนวน 5.3 ล้าน ลบ.ม. โดยรัฐบาลต้องดูแล บริหารจัดการ หาน้ำมาเติม ฟื้นฟูแหล่งน้ำ รวมทั้งดำเนินการตามแผนยุทธศาสตร์การบริหารจัดการทรัพยากรน้ำทั้งระบบอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ภาคการผลิต ทั้งเกษตรกรรม อุตสาหกรรม และการอุปโภค-บริโภค หากเราสามารถควบคุม ประหยัด ลดการใช้น้ำลงได้ตามมาตรการต่างๆ ของรัฐ ก็จะช่วยให้เรามีน้ำใช้ไม่ขัดสนในอนาคต
พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวต่อว่า ที่ผ่านมารัฐบาลได้มีมาตรการช่วยเหลือเกษตรกร ซึ่งเป็นผู้ใช้น้ำกลุ่มหลักของประเทศ ที่ได้รับผลกระทบจากภัยแล้งหลายประการ อาทิ การส่งเสริมความรู้และการสนับสนุนปัจจัยการผลิต เพื่อลดรายจ่ายในครัวเรือน การชะลอหรือขยายระยะเวลาการชำระหนี้ การจ้างงานเพื่อสร้างรายได้ให้แก่เกษตรกร การรณรงค์การใช้น้ำอย่างประหยัด และส่งเสริมการปลูกข้าวโดยวิธีเปียกสลับแห้ง และการเพิ่มปริมาณน้ำต้นทุน ทั้งการปฏิบัติการของหน่วยฝนหลวง การขุดลอกแหล่งน้ำธรรมชาติเพิ่มเติม การพัฒนาแหล่งน้ำบาดาล – แก้มลิง – ขนมครก เป็นต้น รวมไปถึงมาตรการช่วยเหลือผู้ประสบปัญหาภัยแล้งและมาตรการเพิ่มขีดความสามารถทางการเกษตร เพื่อบรรเทาปัญหาภัยแล้งในระยะเร่งด่วน ในส่วนของสินเชื่อเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายฉุกเฉินและจำเป็นของเกษตรกรที่ประสบภัยแล้ง ปี 2558/2559 วงเงิน 6,000 ล้านบาท โครงการสินเชื่อ 1 ตำบล 1 SMEs ด้านการเกษตร วงเงิน 72,000 ล้านบาท และโครงการชุมชนปรับเปลี่ยนการผลิตสู้วิกฤติภัยแล้ง วงเงิน 15,000 ล้านบาท
"การบริหารจัดการน้ำ ยังคงต้องมองไปในอนาคตปี 60 ด้วย ซึ่งสภาพลมฟ้าอากาศ ยังเป็นสิ่งที่คาดเดาได้ยาก เพื่อความไม่ประมาท ผมจึงขอความร่วมมือพี่น้องประชาชนทุกคน ทุกภาคส่วน ช่วยกันประหยัด ใช้น้ำเท่าที่จำเป็น ช่วยกันคนละไม้คนละมือ รัฐบาลก็ได้พยายามในเรื่องของการแก้ปัญหาระยะยาว ได้จัดทำแผนการบริหารจัดการน้ำระยะยาวไปถึงปี 69" นายกฯ ระบุ
หัวหน้า คสช.กล่าวไปถึงความคืบหน้าการจัดทำร่างรัฐธรรมนูญว่า เราต้องการบ้านเมืองที่สงบสุข ชุมชนได้รับการพัฒนาอย่างยั่งยืนเข้มแข็ง เศรษฐกิจที่มีความมั่นคงตั้งแต่ฐานราก การเมืองมีเสถียรภาพ นักการเมืองมีธรรมาภิบาล ที่จะมีการบริหารประเทศอย่างมีทิศทาง ข้าราชการทำงานด้วยความสบายใจ ด้วยความสุจริต โปร่งใส ประชาชนก็จะได้รับสวัสดิการและการบริการอย่างทั่วถึง ทรัพยากรธรรมชาติถูกนำมาใช้ประโยชน์กับทุกคนโดยรวมอย่างเท่าเทียม เกิดความสมดุล สถานการณ์ประเทศในช่วง 10 กว่าปีที่ผ่านมา มีการเรียกร้องให้มีการปฏิรูป การเข้ามาของ คสช. และรัฐบาล ถือเป็นเพียงการห้ามเลือด หรือหยุดเลือดเท่านั้น แต่ทำอย่างไรเราจะพลิกวิกฤติเหล่านี้ให้เป็นโอกาสให้ได้สำเร็จ
"เป็นเรื่องของพวกเราทุกคนจะต้องช่วยกัน ผมถือว่าการร่างรัฐธรรมนูญนั้น เป็นวาระแห่งชาติ แล้วทุกคนก็ทำงานอย่างแข็งขัน" พล.อ.ประยุทธ์กล่าว และว่าในช่วงการเปลี่ยนผ่าน ให้มีการปฏิรูปให้ได้ จะต้องมีกลไกมีเครื่องมืออย่างใดอย่างหนึ่ง ที่จะสามารถสร้างความเชื่อมั่นให้กันและกันได้ว่า เราจะสามารถประคับประคองประเทศไม่ให้ล้มครืนลงมา หรือย้อนไปสู่วังวนเดิมๆ เรามีทั้งนโยบายความมั่นคงแห่งชาติ และยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ซึ่งใช้เป็นกรอบการพัฒนาประเทศร่วมกัน ของรัฐบาล เอกชน และประชาชน เพื่อจะขับเคลื่อนบ้านเมืองไปในทิศทางเดียวกัน การกำหนดยุทธศาสตร์ชาติเป็นเพียงกรอบกว้างๆ อยากให้ทุกคนไปศึกษารายละเอียด ว่าไม่ได้ควบคุมทุกอย่าง ซึ่งทุกรัฐบาลก็ควรจะต้องทำ ถึงไม่ต้องเขียนก็ต้องทำ รวมไปถึงแผนปฏิรูปของ สภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ กับ สภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) เดิม ก็ต้องกำหนดไว้ทุก 5 ปี แต่ละปีก็มีรายละเอียดที่ต้องทำ เมื่อประกอบกันแล้ว รัฐบาลใหม่ก็สามารถบริหารประเทศได้อย่างมั่นคง มีเสถียรภาพ หากว่า เราใช้ทั้งยุทธศาสตร์ชาติและนโยบายพรรคไปพร้อมกัน ประเทศชาติก็จะมีอนาคต
"เราจะมีการประเมินยุทธศาสตร์ชาติ ทุก 5 ปี ซึ่งเราได้ประเมินพร้อมไปกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ตั้งแต่ปี 60 เป็นต้นไป ก็ 4 แผน 12 + 13 + 14 + 15 แผนละ 5 ปี" พล.อ.ประยุทธ์กล่าว.
"ประยุทธ์" รับน้ำในเขื่อนน้อยกว่าปี 58 วอนทุกภาคส่วนช่วยกันประหยัด-สนองมาตรการรัฐ เผย รบ.ทุ่มเฉียดแสนล้านบรรเทาปัญหา ยก ร่าง รธน.เป็นวาระแห่งชาติ เพื่อนำไปสู่การปฏิรูป ไม่เช่นนั้นก็เสียของ คสช.เข้ามาได้แค่ห้ามเลือด แจงยุทธศาสตร์ชาติแค่กำหนดกรอบกว้างๆ เชื่อผสานนโยบายพรรค ประเทศฉลุยแน่ อ้างจำเป็นต้องมีเครื่องมือควบคุมไม่ให้ย้อนสู่วังวนเดิมๆ...
เมื่อเวลา 20.15 น. วันที่ 26 ก.พ. พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) กล่าวในรายการคืนความสุขให้คนในชาติ ออกอากาศทางโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย กล่าวตอนหนึ่งถึงสถานการณ์ภัยแล้งว่า รัฐบาลยังคงเฝ้าติดตามสถานการณ์อย่างต่อเนื่อง ปัจจุบันสภาพน้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่และขนาดกลาง มีปริมาตรรวม 39 ล้านลูกบาศก์เมตร (ลบ.ม.) น้อยกว่าปี 58 จำนวน 5.3 ล้าน ลบ.ม. โดยรัฐบาลต้องดูแล บริหารจัดการ หาน้ำมาเติม ฟื้นฟูแหล่งน้ำ รวมทั้งดำเนินการตามแผนยุทธศาสตร์การบริหารจัดการทรัพยากรน้ำทั้งระบบอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ภาคการผลิต ทั้งเกษตรกรรม อุตสาหกรรม และการอุปโภค-บริโภค หากเราสามารถควบคุม ประหยัด ลดการใช้น้ำลงได้ตามมาตรการต่างๆ ของรัฐ ก็จะช่วยให้เรามีน้ำใช้ไม่ขัดสนในอนาคต
พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวต่อว่า ที่ผ่านมารัฐบาลได้มีมาตรการช่วยเหลือเกษตรกร ซึ่งเป็นผู้ใช้น้ำกลุ่มหลักของประเทศ ที่ได้รับผลกระทบจากภัยแล้งหลายประการ อาทิ การส่งเสริมความรู้และการสนับสนุนปัจจัยการผลิต เพื่อลดรายจ่ายในครัวเรือน การชะลอหรือขยายระยะเวลาการชำระหนี้ การจ้างงานเพื่อสร้างรายได้ให้แก่เกษตรกร การรณรงค์การใช้น้ำอย่างประหยัด และส่งเสริมการปลูกข้าวโดยวิธีเปียกสลับแห้ง และการเพิ่มปริมาณน้ำต้นทุน ทั้งการปฏิบัติการของหน่วยฝนหลวง การขุดลอกแหล่งน้ำธรรมชาติเพิ่มเติม การพัฒนาแหล่งน้ำบาดาล – แก้มลิง – ขนมครก เป็นต้น รวมไปถึงมาตรการช่วยเหลือผู้ประสบปัญหาภัยแล้งและมาตรการเพิ่มขีดความสามารถทางการเกษตร เพื่อบรรเทาปัญหาภัยแล้งในระยะเร่งด่วน ในส่วนของสินเชื่อเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายฉุกเฉินและจำเป็นของเกษตรกรที่ประสบภัยแล้ง ปี 2558/2559 วงเงิน 6,000 ล้านบาท โครงการสินเชื่อ 1 ตำบล 1 SMEs ด้านการเกษตร วงเงิน 72,000 ล้านบาท และโครงการชุมชนปรับเปลี่ยนการผลิตสู้วิกฤติภัยแล้ง วงเงิน 15,000 ล้านบาท
"การบริหารจัดการน้ำ ยังคงต้องมองไปในอนาคตปี 60 ด้วย ซึ่งสภาพลมฟ้าอากาศ ยังเป็นสิ่งที่คาดเดาได้ยาก เพื่อความไม่ประมาท ผมจึงขอความร่วมมือพี่น้องประชาชนทุกคน ทุกภาคส่วน ช่วยกันประหยัด ใช้น้ำเท่าที่จำเป็น ช่วยกันคนละไม้คนละมือ รัฐบาลก็ได้พยายามในเรื่องของการแก้ปัญหาระยะยาว ได้จัดทำแผนการบริหารจัดการน้ำระยะยาวไปถึงปี 69" นายกฯ ระบุ
หัวหน้า คสช.กล่าวไปถึงความคืบหน้าการจัดทำร่างรัฐธรรมนูญว่า เราต้องการบ้านเมืองที่สงบสุข ชุมชนได้รับการพัฒนาอย่างยั่งยืนเข้มแข็ง เศรษฐกิจที่มีความมั่นคงตั้งแต่ฐานราก การเมืองมีเสถียรภาพ นักการเมืองมีธรรมาภิบาล ที่จะมีการบริหารประเทศอย่างมีทิศทาง ข้าราชการทำงานด้วยความสบายใจ ด้วยความสุจริต โปร่งใส ประชาชนก็จะได้รับสวัสดิการและการบริการอย่างทั่วถึง ทรัพยากรธรรมชาติถูกนำมาใช้ประโยชน์กับทุกคนโดยรวมอย่างเท่าเทียม เกิดความสมดุล สถานการณ์ประเทศในช่วง 10 กว่าปีที่ผ่านมา มีการเรียกร้องให้มีการปฏิรูป การเข้ามาของ คสช. และรัฐบาล ถือเป็นเพียงการห้ามเลือด หรือหยุดเลือดเท่านั้น แต่ทำอย่างไรเราจะพลิกวิกฤติเหล่านี้ให้เป็นโอกาสให้ได้สำเร็จ
"เป็นเรื่องของพวกเราทุกคนจะต้องช่วยกัน ผมถือว่าการร่างรัฐธรรมนูญนั้น เป็นวาระแห่งชาติ แล้วทุกคนก็ทำงานอย่างแข็งขัน" พล.อ.ประยุทธ์กล่าว และว่าในช่วงการเปลี่ยนผ่าน ให้มีการปฏิรูปให้ได้ จะต้องมีกลไกมีเครื่องมืออย่างใดอย่างหนึ่ง ที่จะสามารถสร้างความเชื่อมั่นให้กันและกันได้ว่า เราจะสามารถประคับประคองประเทศไม่ให้ล้มครืนลงมา หรือย้อนไปสู่วังวนเดิมๆ เรามีทั้งนโยบายความมั่นคงแห่งชาติ และยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ซึ่งใช้เป็นกรอบการพัฒนาประเทศร่วมกัน ของรัฐบาล เอกชน และประชาชน เพื่อจะขับเคลื่อนบ้านเมืองไปในทิศทางเดียวกัน การกำหนดยุทธศาสตร์ชาติเป็นเพียงกรอบกว้างๆ อยากให้ทุกคนไปศึกษารายละเอียด ว่าไม่ได้ควบคุมทุกอย่าง ซึ่งทุกรัฐบาลก็ควรจะต้องทำ ถึงไม่ต้องเขียนก็ต้องทำ รวมไปถึงแผนปฏิรูปของ สภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ กับ สภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) เดิม ก็ต้องกำหนดไว้ทุก 5 ปี แต่ละปีก็มีรายละเอียดที่ต้องทำ เมื่อประกอบกันแล้ว รัฐบาลใหม่ก็สามารถบริหารประเทศได้อย่างมั่นคง มีเสถียรภาพ หากว่า เราใช้ทั้งยุทธศาสตร์ชาติและนโยบายพรรคไปพร้อมกัน ประเทศชาติก็จะมีอนาคต
"เราจะมีการประเมินยุทธศาสตร์ชาติ ทุก 5 ปี ซึ่งเราได้ประเมินพร้อมไปกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ตั้งแต่ปี 60 เป็นต้นไป ก็ 4 แผน 12 + 13 + 14 + 15 แผนละ 5 ปี" พล.อ.ประยุทธ์กล่าว.
ที่มา ; เว็บนสพ.ไทยรัฐ
ที่มา ; เว็บนสพ.ไทยรัฐ
( คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้
( คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้
เตรียมสอบผู้บริหารสถาน+การศึกษา
เตรียมสอบครูผู้ช่วย
เตรียมสอบผู้บริหารสถาน+การศึกษา
เตรียมสอบครูผู้ช่วย
ฟรี... ห้องเตรียม-ครูผู้ช่วย
-ผู้บริหาร-บุคลากรการศึกษา ที่
ฟรี... ห้องเตรียม-ครูผู้ช่วย
-ผู้บริหาร-บุคลากรการศึกษา ที่
" ติวสอบดอทคอม "
" ติวสอบดอทคอม "
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น