เรื่องใหม่น่าสนใจ (ทั้งหมด ที่ )
(เนื้อหา-ข้อสอบ 1,000 ชุุด หมื่นข้อ ภาค กข
+ 40 วิชาเอก) ที่ ห้องสอบด้านขวา หรือ
ติวสอบดอทคอม คลิ๊ก www.tuewsob.com
-คู่มือ 4 ชุด นโยบาย บริบริหาร ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้
-เกณฑ์ประเมินคุณภาพภายนอกรอบสี่ โดย สมศ.
- พรบ.เงินเดือนใหม่ข้าราชการครูฯ พ.ศ.2558
ข้อสอบออนไลน์ ( พัฒนาความรู้ครู - ผู้บริหาร - บุคลากรการศึกษา) ชุดใหม่
ข้อสอบออนไลน์ ( พัฒนาความรู้ครู - ผู้บริหาร - บุคลากรการศึกษา) ชุดใหม่
เตรียมสอบ บน ยูทูป ทั้งหมด ได้ที่
( คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้
เตรียมสอบผู้บริหารสถาน+การศึกษา
เตรียมสอบครูผู้ช่วย
สรุปข่าวการประชุมคณะรัฐมนตรี 2 กุมภาพันธ์ 2559
( คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้
เตรียมสอบผู้บริหารสถาน+การศึกษา
เตรียมสอบครูผู้ช่วย
สรุปข่าวการประชุมคณะรัฐมนตรี 2 กุมภาพันธ์ 2559
http://www.thaigov.go.th
วันนี้ (2 กุมภาพันธ์ 2559) เวลา 09.00 น. ณ ห้องประชุม 501 ตึกบัญชาการ 1 ทำเนียบรัฐบาล พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมคณะรัฐมนตรี
ภายหลังเสร็จสิ้นการประชุม พลตรี สรรเสริญ แก้วกำเนิด โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงผลการประชุมคณะรัฐมนตรี
ซึ่งสรุปสาระสำคัญดังนี้
กฎหมาย
1.
เรื่อง ร่างพระราชบัญญัติการแข่งขันทางการค้า พ.ศ. ....
2. เรื่อง ร่างพระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .....
3. เรื่อง ร่างพระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท
พ.ศ. ....
4.
เรื่อง ร่างพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยปริญญาในสาขาวิชา อักษรย่อสำหรับสาขาวิชา
ครุยวิทยฐานะ
เข็มวิทยฐานะ และครุยประจำตำแหน่งของมหาวิทยาลัยราชภัฏ
ศรีสะเกษ
(ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....
5.
เรื่อง ร่างกฎกระทรวงจัดตั้งส่วนราชการในสถาบันวิทยาลัยชุมชน
กระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. ....
6.
เรื่อง ร่างกฎกระทรวงกำหนดลักษณะของเหรียญกษาปณ์ที่ระลึก 100 ปี
สำนักงานการ ตรวจเงินแผ่นดิน พ.ศ. ....
เศรษฐกิจ – สังคม
7. เรื่อง
ขออนุมัติการดำเนินงานและงบประมาณ “โครงการปริญญาเอกกาญจนาภิเษก (คปก.) ระยะที่ 2 (พ.ศ. 2560 -
2579)”
8. เรื่อง
ขยายระยะเวลาการจดทะเบียนแรงงานต่างด้าวในกิจการประมงทะเล
และกิจการ แปรรูปสัตว์น้ำ
9.
เรื่อง ขอสนับสนุนงบกลางเพื่อดำเนินโครงการตามแผนพัฒนาอาชีพเกษตรกรตามความ ต้องการของชุมชนเพื่อบรรเทาภัยแล้งปี
2558/59 ระยะที่ 2 ครั้งที่ 1
ต่างประเทศ
10.
เรื่อง ขออนุมัติร่างเอกสารผลลัพธ์การประชุมคณะกรรมาธิการร่วมว่าด้วยความร่วมมือ ทางเศรษฐกิจ
พาณิชยกรรม อุตสาหกรรม วิชาการ เกษตรกรรม วิทยาศาสตร์
ไทย-อิหร่าน
ครั้งที่ 9
11.
เรื่อง ความคืบหน้าการสมัครขอรับเป็นเจ้าภาพจัดงาน
ITU
Telecom World 2016
12.
เรื่อง การออกกฎกระทรวงกำหนดอัตราค่าธรรมเนียมการตรวจลงตรา ตามมติ คณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน
2558
13.
เรื่อง ร่างบันทึกความเข้าใจระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่ง สาธารณรัฐอินเดียว่าด้วยความร่วมมือในการควบคุมยาเสพติด
วัตถุที่ออกฤทธิ์
ต่อจิตและประสาท
สารตั้งตันและเคมีภัณฑ์ และการใช้ยาในทางที่ผิด
แต่งตั้ง
14.
เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการให้ดำรงตำแหน่งที่ปรึกษาด้านการประสานงานโครงการอัน เนื่องมาจากพระราชดำริ
(นักวิเคราะห์นโยบายและแผนทรงคุณวุฒิ) (สำนักงาน คณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ)
15.
เรื่อง ขออนุมัติแต่งตั้งกงสุลกิตติมศักดิ์ ณ กรุงคาร์ทูม สาธารณรัฐซูดาน
(กระทรวงการ ต่างประเทศ)
16.
เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการให้ดำรงตำแหน่งรองเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ
(สำนักนายกรัฐมนตรี)
17.
เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง
(ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้)
18.
เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญ (กระทรวงการต่างประเทศ)
19.
เรื่อง การขอปรับปรุงแก้ไของค์ประกอบของคณะกรรมการแห่งชาติในการค้นหาและ ช่วยเหลืออากาศยานและเรือที่ประสบภัย
20.
เรื่อง แต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการบริหารสำนักงานส่งเสริม อุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติ
แทนกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ซึ่งพ้นจากตำแหน่ง ก่อนครบวาระ
*******************
สำนักโฆษก สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี โทร. 0 2288-4396
กฎหมาย
1. เรื่อง
ร่างพระราชบัญญัติการแข่งขันทางการค้า พ.ศ.
....
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติดังนี้
1.
อนุมัติหลักการร่างพระราชบัญญัติการแข่งขันทางการค้า พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงพาณิชย์เสนอ
และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา โดยให้รับความเห็นของสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี
สำนักงาน ก.พ. สำนักงาน
ก.พ.ร.
และสำนักงานอัยการสูงสุดไปประกอบการพิจารณาด้วย แล้วส่งให้คณะกรรมการประสานงานสภานิติบัญญัติแห่งชาติแห่งชาติพิจารณา
ก่อนเสนอสภานิติบัญญัติแห่งชาติต่อไป
2.
ให้กระทรวงพาณิชย์รับข้อสังเกตของสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีและสำนักงาน ก.พ.
ไปพิจารณาดำเนินการต่อไป
สาระสำคัญของร่างพระราชบัญญัติ
1. ปรับปรุงนิยาม “ผู้ประกอบธุรกิจ” ให้ครอบคลุมถึงบริษัท
หรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลในเครือเดียวกัน และเพิ่มนิยาม “บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคลในเครือเดียวกัน”
2. ปรับปรุงบทนิยาม “ผู้ประกอบธุรกิจซึ่งมีอำนาจเหนือตลาด”
ให้คณะกรรมการการแข่งขันทางการค้าเป็นผู้มีอำนาจในการออกประกาศหลักเกณฑ์การเป็นผู้ประกอบธุรกิจซึ่งมีอำนาจเหนือตลาด
3. เพิ่มเติมบทนิยาม “ปัจจัยสภาพการแข่งขันของตลาด”
4.
กำหนดให้รัฐวิสาหกิจทุกประเภทต้องอยู่ภายใต้การบังคับตามพระราชบัญญัตินี้ ทั้งนี้
กำหนดข้อยกเว้นสำหรับการดำเนินการตามกฎหมาย
หรือนโยบายของรัฐที่มีความจำเป็นในการรักษาความมั่งคงของรัฐ
ประโยชน์สาธารณะ รักษาผลประโยชน์ส่วนรวม หรือจัดให้มีสาธารณูปโภค
5.
กำหนดให้มีคณะกรรมการการแข่งขันทางการค้าที่มีความเป็นอิสระที่ผ่านกระบวนการคัดสรรและให้นายกรัฐมนตรีแต่งตั้งโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี
จำนวน 7 คน ทั้งนี้ กรรมการจะต้องมีอายุ
45-70 ปี วาระการดำรงตำแหน่ง 6 ปี ติดต่อกันไม่เกิน 2 วาระ
6.
กำหนดให้มีคณะกรรมการคัดสรร จำนวน 7 คน ทำหน้าที่สรรหาคณะกรรมการแข่งขันทางการค้า
โดยสำนักงานคณะกรรมการแข่งขันทางการค้าทำหน้าที่เป็นหน่วยธุรการ
7.
กำหนดให้จัดตั้งสำนักงานคณะกรรมการแข่งขันทางการค้าเป็นหน่วยงานของรัฐที่ไม่เป็นรัฐวิสาหกิจ
มีฐานะเป็นนิติบุคคลที่มีความเป็นอิสระทั้งด้านบุคลากร งบประมาณ และการดำเนินงาน
โดยได้รับงบประมาณสนับสนุนจากรัฐบาลในปีแรก
หลังจากนั้นให้จัดสรรเงินจากค่าธรรมเนียมจดทะเบียนการค้าในอัตราร้อยละ 10 มาเป็นค่าใช่จ่ายในการดำเนินงานของสำนักงานเป็นประจำทุกปี
รวมทั้งสามารถจัดเก็บรายได้เป็นค่าใช้จ่ายดำเนินงานของสำนักงานได้
8. กำหนดให้ทบทวนเกณฑ์ผู้ประกอบธุรกิจซึ่งมีอำนาจเหนือตลาดอย่างน้อย 1 ครั้ง
ภายในระยะเวลา 5 ปี
9.
กำหนดให้ผู้กระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้
แม้ส่วนหนึ่งส่วนใดได้กระทำนอกราชอาณาจักร และผลแห่งการกระทำเกิดขึ้นในราชอาณาจักร
ต้องรับโทษในราชอาณาจักร
10.
กำหนดให้ฟ้องคดีที่เกี่ยวกับการกระทำผิดตามพระราชบัญญัตินี้ต่อศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ
และเพิ่มขั้นตอนกรณีอัยการสูงสุดเห็นว่าสำนวนยังไม่สมบูรณ์พอที่จะดำเนินคดีได้
ให้ตั้งคณะทำงานขึ้นมาชุดหนึ่ง
เพื่อรวบรวมพยานหลักฐานให้สมบูรณ์แล้วส่งให้อัยการสูงสุดเพื่อพิจารณาสั่งคดี
11.
กำหนดให้ผู้ประกอบธุรกิจที่กระทำการรวมธุรกิจอันอาจก่อให้เกิดการลดการแข่งขันอย่างมีนัยสำคัญ
แจ้งต่อคณะกรรมการก่อนดำเนินการรวมธุรกิจ
และส่งงบการเงินเพื่อติดตามผลของการรวมธุรกิจอย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลา 3 ปี
12.
กำหนดให้ผู้ประกอบธุรกิจที่ได้รับคำสั่งคณะกรรมการฯ สามารถอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวต่อคณะกรรมการฯ
ได้
13. กำหนดให้คณะกรรมการฯ
กำหนดหลักเกณฑ์การลดหย่อนโทษปรับแก่ผู้ประกอบธุรกิจที่มิใช่ตัวการสำคัญในพฤติกรรมการตกลงร่วมกัน
จำกัด หรือลดการแข่งขันทางการค้าที่ส่งผลกระทบอย่างรุนแรง
เพื่อเป็นแนวทางในการพิจารณาของศาล
14. เพิ่มโทษปรับทางอาญาในทุกพฤติกรรมความผิดจากเดิม
6 ล้านบาทเป็นร้อยละ 20 ของรายได้ในปีที่กระทำความผิด ทั้งนี้
ได้ยกเลิกโทษจำคุกสำหรับกรณีการรวมธุรกิจ
การตกลงร่วมกันที่กำหนดให้ผู้ประกอบธุรกิจสามารถขออนุญาตต่อคณะกรรมการฯ ได้
15. เพิ่มโทษปรับทางปกครอง
กรณีที่ผู้ประกอบธุรกิจฝ่าฝืนคำสั่งของคณะกรรมการฯ
โดยหลักเกณฑ์การคำนวณค่าปรับให้เป็นไปตามที่คณะกรรมการกำหนด
16.
เพิ่มบทลงโทษกรณีการร้องเรียน ร้องทุกข์
หรือแจ้งข้อความอันเป็นเท็จแก่พนักงานเจ้าหน้าที่หรือคณะกรรมการ
2. เรื่อง
ร่างพระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .....
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างพระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ
(ฉบับที่ ..) พ.ศ. ..... ตามที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ตช.) เสนอและให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา
โดยให้รับความเห็นของสำนักงาน ก.พ. ไปประกอบการพิจารณาด้วย
แล้วส่งให้คณะกรรมการประสานงานสภานิติบัญญัติแห่งชาติพิจารณาก่อนเสนอสภานิติบัญญัติแห่งชาติต่อไป
ตช.
เสนอว่า
1.
โดยที่คณะรักษาความสงบแห่งชาติได้มีประกาศฉบับที่ 88/2557 เรื่อง
แก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. 2547 ลงวันที่ 10 กรกฎาคม 2557
แก้ไของค์ประกอบคณะกรรมการนโยบายตำรวจแห่งชาติ (ก.ต.ช.) คณะกรรมการข้าราชการตำรวจ (ก.ตร.) โดยได้ยกเลิกความในมาตรา 17 มาตรา 18 (3) มาตรา 30
มาตรา 33 ถึง มาตรา 41 มาตรา 53 (1) มาตรา 54 มาตรา 55
และมาตรา 57 วรรคสอง วรรคสาม ของพระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. 2547 และยกเลิกการกำหนดคุณสมบัติ ลักษณะต้องห้าม วาระการดำรงตำแหน่ง
และการพ้นจากตำแหน่งของกรรมการข้าราชการตำรวจผู้ทรงคุณวุฒิ
ประกอบคำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติดังกล่าวได้กำหนดให้กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของ
ก.ต.ช. และ ก.ตร. มาจากการเลือกของวุฒิสภา ดังนั้น
เพื่อมิให้เกิดปัญหาในการปฏิบัติเกี่ยวกับกรรมการข้าราชการตำรวจผู้ทรงคุณวุฒิ
สมควรกำหนดคุณสมบัติ ลักษณะต้องห้าม วาระการดำรงตำแหน่ง และการพ้นจากตำแหน่ง
รวมทั้งหลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการเลือกกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิดังกล่าว
2. นอกจากนี้
ในส่วนของการดำเนินการทางวินัยตามมาตรา 87 และ 94 ของพระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติดังกล่าวจำเป็นต้องปรับแก้ไขเพื่อขยายระยะเวลาดำเนินการสอบสวนข้าราชการตำรวจที่กระทำความผิดวินัยอย่างร้ายแรงที่ออกจากราชการไปแล้ว
หากถูกชี้มูลความผิดตามกฎหมายว่าด้วยมาตรการของฝ่ายบริหารในการป้องกันและปราบปรามการทุจริตไว้ก่อนออกจากราชการ
เช่นเดียวกับกรณีถูกชี้มูลความผิดตามกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริตไว้ก่อนออกจากราชการ
ตลอดจนกำหนดระยะเวลาเร่งรัดการสอบสวนการพิจารณาสั่งการและการดำเนินการตามมติของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ
(ป.ป.ช.) และคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ
(ป.ป.ท.) ในกรณีดังกล่าวให้เป็นไปตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องเพื่อให้มีหลักเกณฑ์ที่ประกันความเป็นธรรมหรือเป็นมาตรฐานในการปฏิบัติราชการ
และเสริมสร้างประสิทธิภาพในการป้องกันและปราบปรามการทุจริต
เพื่อมิให้เกิดปัญหาในการปฏิบัติเกี่ยวกับดำเนินการทางวินัย
สาระสำคัญของร่างพระราชบัญญัติ
แก้ไขปรับปรุงพระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ
พ.ศ. 2547 ในส่วนขององค์ประกอบคณะกรรมการนโยบายตำรวจแห่งชาติ (ก.ต.ช.) และคณะกรรมการข้าราชการตำรวจ (ก.ตร.) ที่ถูกยกเลิกตามประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
ฉบับที่ 88/2557 เรื่อง แก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ
พ.ศ. 2547 ลงวันที่ 10 กรกฎาคม 2557
และแก้ไขบทบัญญัติเกี่ยวกับการดำเนินการทางวินัยตามพระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติดังกล่าว
ดังนี้
พรบ.ตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. 2547
ร่าง พรบ. ตำรวจแห่งชาติ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....
มาตรา 19 “กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิตามมาตรา
17 (2) ต้องมีความเชี่ยวชาญ หรือประสบการณ์ในด้านกฎหมาย
การงบประมาณ การพัฒนาองค์กร
การวางแผนหรือบริหารและจัดการ
มาตรา 3 ให้ยกเลิกความในมาตรา 19
แห่งพระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. 2547 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“มาตรา 19 กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิตามมาตรา 17 (4) ต้องมีความเชี่ยวชาญ หรือประสบการณ์ในสาขากฎหมายจำนวนหนึ่งคน
และสาขาการพัฒนาองค์กรหรือสาขาการวางแผน หรือสาขาการบริหารและจัดการอีกจำนวนหนึ่งคน”
มาตรา 4 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นมาตรา 20/1 แห่งพระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. 2547
“มาตรา 20/1
การเลือกกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิตามมาตรา 17 (4) ให้วุฒิสภาตั้งคณะกรรมาธิการขึ้นคณะหนึ่งเพื่อพิจารณาเสนอรายชื่อบุคคลที่เห็นสมควรซึ่งมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา
19 และมาตรา 20 จำนวนสองเท่าของจำนวนผู้ทรงคุณวุฒิในแต่ละสาขาความเชี่ยวชาญตามมาตรา
19 ที่ต้องเลือกเสนอต่อวุฒิสภาเพื่อพิจารณาเลือกต่อไป
มาตรา 21 “กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิมีวาระการดำรงตำแหน่งคราวละสี่ปีและอาจได้รับแต่งตั้งใหม่ได้แต่จะดำรงตำแหน่งเกินสองวาระติดต่อกันไม่ได้
มาตรา 5 ให้ยกเลิกความในมาตรา 21
แห่งพระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. 2547 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“มาตรา 21
กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิมีวาระการดำรงตำแหน่งคราวละสี่ปีและอาจได้รับการเลือกใหม่ได้แต่จะดำรงตำแหน่งเกินสองวาระติดต่อกันไม่ได้
ในกรณีกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิพ้นจากตำแหน่งตามวาระให้ประธานกรรมการแจ้งให้วุฒิสภาทราบเพื่อดำเนินการจัดให้มีการเลือกกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิใหม่ภายในเก้าสิบวัน
ก่อนวันครบวาระ
ให้กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งพ้นจากตำแหน่งตามวาระปฏิบัติหน้าที่ต่อไปจนกว่ากรรมการผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งได้รับเลือกใหม่เข้ารับ หน้าที่”
มาตรา 22 วรรคสอง
“ในกรณีที่กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิพ้นจากตำแหน่งก่อนวาระ
ให้ดำเนินการสรรหาและแต่งตั้งบุคคลเป็นกรรมการแทน
เว้นแต่วาระการดำรงตำแหน่งของกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิจะเหลือไม่ถึงเก้าสิบวันในกรณีนี้จะไม่ดำเนินการให้มีการสรรหาก็ได้”
มาตรา 22 วรรคสาม “ให้กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งแทนอยู่ในตำแหน่งเพียงเท่าวาระที่เหลืออยู่ของซึ่งตนแทน
มาตรา 6 ให้ยกเลิกความในวรรคสองและวรรคสามของมาตรา
22 แห่งพระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. 2547 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“กรณีเป็นที่สงสัยว่ากรรมการผู้ทรงคุณวุฒิผู้ใดพ้นจากตำแหน่งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิหรือไม่ให้ประธานกรรมการเสนอ
ก.ต.ช. เพื่อวินิจฉัยชี้ขาด
ในกรณีที่กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิพ้นจากตำแหน่งก่อนวาระ ให้ประธานกรรมการขอให้วุฒิสภาเลือกกรรมการแทนตามสาขาความเชี่ยวชาญนั้น
เว้นแต่วาระการดำรงตำแหน่งของกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิจะเหลือไม่ถึงเก้าสิบวัน
ในกรณีนี้จะไม่ดำเนินการให้มีการเลือกก็ได้
ให้กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งได้รับเลือกตามวรรคสามอยู่ในตำแหน่งได้เพียงวาระของผู้ซึ่งตนแทน
กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิที่ดำรงตำแหน่งตามวรรคสามหากมีวาระเหลืออยู่ไม่ถึงหนึ่งปีนับแต่วันดำรงตำแหน่งไม่ให้นับเป็นวาระการดำรงตำแหน่ง”
มาตรา
23 วรรคสอง
“ในการประชุม ก.ต.ช.
ถ้าประธานกรรมการไม่มาประชุมหรือไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ให้กรรมการที่มาประชุมเลือกกรรมการคนหนึ่งเป็นประธานในที่ประชุม”
มาตรา 23 วรรคสาม
“ประธานกรรมการและกรรมการโดยตำแหน่ง
จะมอบหมายบุคคลใดให้มาประชุมแทนไม่ได้”
มาตรา 7
ให้ยกเลิกความในวรรคสองและวรรคสามของมาตรา 23 แห่งพระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ
พ.ศ. 2547 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ในการประชุม ก.ต.ช.
ถ้าประธานกรรมการไม่มาหรือไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ให้รองประธานกรรมการเป็นประธานในที่ประชุม
ถ้าประธานกรรมการและรองประธานกรรมการไม่มาประชุมหรือไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ให้กรรมการที่มาประชุมเลือกกรรมการคนหนึ่งเป็นประธานในที่ประชุม
ประธานกรรมการ รองประธานกรรมการและกรรมการโดยตำแหน่ง
จะมอบหมายบุคคลใดให้มาประชุมแทนไม่ได้”
มาตรา 33 (ที่ถูกยกเลิก)
กรรมการข้าราชการตำรวจผู้ทรงคุณวุฒิต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา
20 และต้องไม่เป็นข้าราชการหรือกลับเข้ารับราชการ
สำหรับกรรมการข้าราชการตำรวจผู้ทรงคุณวุฒิตามมาตรา 30 (2)(ก)
และต้องไม่เป็นข้าราชการตำรวจ
สำหรับกรรมการข้าราชการตำรวจผู้ทรงคุณวุฒิตามมาตรา 30 (2)(ข)
ในกรณีที่มีปัญหาเกี่ยวกับคุณสมบัติหรือลักษณะต้องห้ามของกรรมการข้าราชการตำรวจผู้ทรงคุณวุฒิ
ให้ ก.ตร. เป็นผู้วินิจฉัย
มาตรา
42 การประชุม ก.ตร. ต้องมีกรรมการข้าราชการตำรวจมาประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมการข้าราชการตำรวจทั้งหมดจึงจะเป็นองค์ประชุม
ในกรณีที่ประธานกรรมการข้าราชการตำรวจไม่อยู่หรือไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้
ให้กรรมการข้าราชการตำรวจที่มาประชุมเลือกกรรมการข้าราชการตำรวจคนหนึ่งเป็นประธานในที่ประชุม
ให้ประธานกรรมการข้าราชการตำรวจเป็นผู้เรียกประชุม
แต่ในกรณีที่กรรมการข้าราชการตำรวจไม่น้อยกว่าหกคนร้องขอให้เรียกประชุมให้ประธานกรรมการข้าราชการตำรวจเรียกประชุมภายในเจ็ดวันนับแต่วันได้รับรองขอ
ให้
ก.ตร. มีอำนาจออกข้อบังคับว่าด้วยการประชุมและการลงมติของ ก.ตร.
และของอนุกรรมการตามมาตรา 31 (9)
มาตรา 8 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นมาตรา 33
มาตรา 34 มาตรา 35 มาตรา 36 มาตรา 37 และมาตรา 38
แห่งพระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. 2547
ซึ่งถูกยกเลิกโดยประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 88/2557
เรื่องการแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยตำรวจแห่งชาติลงวันที่ 10 กรกฎาคม
พุทธศักราช 2557
“มาตรา 33
กรรมการข้าราชการตำรวจผู้ทรงคุณวุฒิต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา
20
มาตรา 9 ให้ยกเลิกความในวรรคสองของมาตรา 42
แห่งพระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. 2547 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ในการประชุม ก.ตร. ถ้าประธานกรรมการข้าราชการตำรวจไม่มาประชุมหรือไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้
ให้รองประธานกรรมการข้าราชการตำรวจเป็นประธานในที่ประชุม
ถ้าประธานกรรมการข้าราชการตำรวจและรองประธานกรรมการข้าราชการตำรวจไม่มาประชุมหรือไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ให้กรรมการข้าราชการตำรวจที่มาประชุมเลือกกรรมการข้าราชการตำรวจคนหนึ่งเป็นประธานในที่ประชุม”
มาตรา 87
หลักเกณฑ์ วิธีการและระยะเวลาเกี่ยวกับการสืบสวน
และการสอบสวนที่ต้องดำเนินการตามมาตรา 84 และมาตรา 86 ให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎ
ก.ตร.
มาตรา 10
ให้ยกเลิกความในวรรคหนึ่งของมาตรา 87 แห่งพระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. 2547 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“มาตรา 87 หลักเกณฑ์ วิธีการและระยะเวลาเกี่ยวกับการพิจารณาในเบื้องต้น การสืบสวนและการสอบสวนที่ต้องดำเนินการตามมาตรา
84 และมาตรา 86 ให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎ ก.ตร.
มาตรา 94 ข้าราชการตำรวจผู้ใดถูกสอบสวนในกรณีการกระทำความผิดวินัยอย่างร้ายแรงหรือมีกรณีถูกชี้มูลความผิดตามกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริตไว้แล้ว
แม้ต่อมาข้าราชการตำรวจผู้นั้นจะออกจากราชการไปแล้วก็ให้ทำการสอบสวนต่อไปได้
แต่ต้องดำเนินการสอบสวนให้แล้วเสร็จภายในหนึ่งปีนับแต่วันออกจากราชการ
มาตรา 11 ให้ยกเลิกความในมาตรา 94
แห่งพระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. 2547 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“มาตรา 94 ข้าราชการตำรวจผู้ใดถูกสอบสวนในกรณีการกระทำความผิดวินัยอย่างร้ายแรงไว้แล้ว
แม้ต่อมาข้าราชการตำรวจผู้นั้นจะออกจากราชการไปแล้ว ก็ให้ทำการสอบสวนต่อไปได้
แต่ต้องดำเนินการสอบสวนให้แล้วเสร็จภายในหนึ่งปีนับแต่วันออกจากราชการ หากดำเนินการสอบสวนไม่แล้วเสร็จภายในกำหนดระยะเวลาดังกล่าว
ก็ให้ผู้สั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนสั่งขยายระยะเวลาได้ตามความจำเป็นไม่เกินสองครั้ง
โดยแต่ละครั้งจะต้องไม่เกินหกสิบวัน
ข้าราชการตำรวจผู้ใดมีกรณีถูกชี้มูลความผิดตามกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริตหรือกฎหมายว่าด้วยมาตรการของฝ่ายบริหารในการป้องกันและปราบปรามการทุจริตไว้แล้ว
แม่ต่อมาข้าราชการตำรวจผู้นั้นจะออกจากราชการไปแล้ว ก็ให้ดำเนินการตามที่คณะกรรมการ ป.ป.ช.
หรือคณะกรรมการ ป.ป.ท. มีมติต่อไปได้
การดำเนินการทางวินัยแก่ข้าราชการตำรวจตามวรรคหนึ่งและวรรคสอง ให้กระทำได้เสมือนว่าผู้นั้นยังมิได้ออกจากราชการ
เว้นแต่กรณีที่ผลการสอบสวนพิจารณาปรากฏว่าผู้นั้นกระทำผิดวินัยที่จะต้องลงโทษ ภาคทัณฑ์
ทัณฑกรรม กักยามหรือกักขัง ก็ให้งดโทษนั้นเสีย”
มาตรา
12 กรณีที่ข้าราชการตำรวจผู้ใดถูกสอบสวนในกรณีการกระทำความผิดวินัยอย่างร้ายแรงต่อมาข้าราชการตำรวจผู้นั้นได้ออกจากราชการไปแล้ว
ซึ่งต้องทำการสอบสวนต่อไปให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลาตามกฎหมายที่บังคับใช้อยู่ในขณะนั้นแต่ถ้ายังสอบสวนไม่แล้วเสร็จก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ
ก็ให้ทำการสอบสวนต่อไปให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลาตามกฎหมายเดิม
3. เรื่อง ร่างพระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท
พ.ศ. ....
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างพระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท
พ.ศ. .... ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้วตามที่กระทรวงสาธารณสุขเสนอ
และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาอีกครั้งหนึ่ง
แล้วส่งให้คณะกรรมการประสานงานสภานิติบัญญัติแห่งชาติพิจารณาก่อนเสนอสภานิติบัญญัติแห่งชาติต่อไป
สาระสำคัญของร่างพระราชบัญญัติฯ
1.
กำหนดให้ร่างพระราชบัญญัตินี้ไม่ใช้บังคับกับสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา
2.
กำหนดให้รัฐมนตรีโดยคำแนะนำของคณะกรรมการมีอำนาจประกาศกำหนดชื่อและจัดแบ่งประเภทวัตถุออกฤทธิ์
การเพิกถอนหรือเปลี่ยนแปลงชื่อหรือประเภทวัตถุออกฤทธิ์ การควบคุมวัตถุออกฤทธิ์
การกำหนดวัตถุออกฤทธิ์บางประเภทที่ต้องมีการควบคุมเฉพาะ
การกำหนดเพื่อเพิกถอนทะเบียนวัตถุตำรับ การควบคุมปริมาณของวัตถุออกฤทธิ์
ด่านตรวจสอบวัตถุออกฤทธิ์ และการกำหนดหน่วยงานของรัฐ
สถานพยาบาลและกำหนดระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการควบคุมการบำบัดรักษาและระเบียบวินัยสำหรับสถานพยาบาล
3.
กำหนดให้มีคณะกรรมการวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทโดยให้คณะกรรมการมีองค์ประกอบและอำนาจหน้าที่ตามที่กำหนด
4.
กำหนดหลักเกณฑ์ในการขออนุญาตและการออกใบอนุญาตผลิต ขาย
นำเข้าหรือส่งออกวัตถุออกฤทธิ์ในแต่ละประเภท
5.
กำหนดให้ผู้รับอนุญาตและเภสัชกรมีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามที่กฎหมายกำหนด
6.
กำหนดห้ามการผลิต ขาย นำเข้าหรือส่งออกซึ่งวัตถุออกฤทธิ์ปลอม วัตถุออกฤทธิ์ผิดมาตรฐาน
วัตถุออกฤทธิ์เสื่อมคุณภาพ
วัตถุออกฤทธิ์ที่มิได้ขึ้นทะเบียนวัตถุตำรับและวัตถุออกฤทธิ์ที่รัฐมนตรีสั่งเพิกถอนทะเบียนวัตถุตำรับ
และห้ามขายวัตถุออกฤทธิ์โดยจัดเป็นชุดไว้ล่วงหน้า
7.
กำหนดให้ผู้ที่จะผลิตหรือนำเข้าวัตถุตำรับที่มีวัตถุออกฤทธิ์ประเภท 3 หรือประเภท 4
ผสมอยู่ต้องขึ้นทะเบียนวัตถุตำรับ ใบสำคัญการขึ้นทะเบียนวัตถุตำรับมีอายุ 5 ปี
8.
กำหนดห้ามการโฆษณาวัตถุออกฤทธิ์
ยกเว้นในกรณีเป็นฉลากหรือเอกสารกำกับวัตถุออกฤทธิ์ซึ่งอยู่ที่ภาชนะหรือหีบห่อ
และในกรณีเป็นการโฆษณาที่กระทำโดยตรงต่อผู้ประกอบวิชาชีพที่กำหนดซึ่งการโฆษณาต้องได้รับอนุญาตก่อน
9.
กำหนดอำนาจหน้าที่ของพนักงานเจ้าหน้าที่ในการตรวจสอบสถานที่ทำการของผู้รับอนุญาต
ตรวจค้นเคหสถาน บุคคลหรือยานพาหนะ ยึดหรืออายัดวัตถุออกฤทธิ์
นำวัตถุออกฤทธิ์เพื่อเป็นตัวอย่างในการตรวจสอบหรือวิเคราะห์
10.
กำหนดให้ผู้อนุญาตโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการมีอำนาจสั่งพักใช้หรือเพิกถอนใบอนุญาต
11.
กำหนดมาตรการควบคุมพิเศษในการควบคุมวัตถุออกฤทธิ์ เช่น
กำหนดให้วัตถุตำรับที่มีวัตถุออกฤทธิ์ประเภทใดประเภทหนึ่งผสมอยู่
ให้ถือเป็นวัตถุออกฤทธิ์ในประเภทนั้นด้วย ในกรณีที่วัตถุตำรับมีวัตถุออกฤทธิ์ในประเภทต่างกันมากกว่าหนึ่งประเภทผสมอยู่
ให้ถือว่าวัตถุตำรับนั้นเป็นวัตถุออกฤทธิ์ในประเภทที่มีการควบคุมอย่างเข้มงวดที่สุด กำหนดห้ามกรณีมีไว้ในครอบครองหรือใช้ประโยชน์ซึ่งวัตถุออกฤทธิ์ทุกประเภท
เว้นแต่ได้รับอนุญาตกำหนดเรื่องการเสพวัตถุออกฤทธิ์
12.
กำหนดให้การนำเข้าหรือส่งออกวัตถุออกฤทธิ์ นอกจากจะได้รับใบอนุญาตผลิต ขาย
นำเข้าหรือส่งออกแล้ว
ผู้รับอนุญาตจะต้องได้รับใบอนุญาตเฉพาะคราวทุกครั้งที่นำเข้าหรือส่งออกด้วย
และกำหนดหลักเกณฑ์ในการนำเข้า ส่งออก หรือนำผ่านวัตถุออกฤทธิ์ในแต่ละประเภท
13.
กำหนดบทเฉพาะกาลรองรับคำขอ การดำเนินกิจการของผู้รับอนุญาตคณะกรรมการ
และกฎหมายลำดับรองตามพระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ. 2518
เพื่อความต่อเนื่องในการบังคับใช้กฎหมาย
4.
เรื่อง ร่างพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยปริญญาในสาขาวิชา อักษรย่อสำหรับสาขาวิชา
ครุยวิทยฐานะ เข็มวิทยฐานะ และครุยประจำตำแหน่งของมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ
(ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยปริญญาในสาขาวิชา
อักษรย่อสำหรับสาขาวิชา ครุยวิทยฐานะ เข็มวิทยฐานะ และครุยประจำตำแหน่งของมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ
(ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....
ตามที่กระทรวงศึกษาธิการเสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา
แล้วดำเนินการต่อไปได้
สาระสำคัญชองร่างพระราชกฤษฎีกา
กำหนดปริญญาในสาขาวิชา
อักษรย่อสำหรับสาขาวิชาของสาขาวิชารัฐศาสตร์ และสาขาวิชาวิศวกรรมศาสตร์
และกำหนดสีประจำสาขาวิชาดังกล่าว เพิ่มขึ้น
5. เรื่อง
ร่างกฎกระทรวงจัดตั้งส่วนราชการในสถาบันวิทยาลัยชุมชน กระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. ....
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบร่างกฎกระทรวงจัดตั้งส่วนราชการในสถาบันวิทยาลัยชุมชน
กระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. .... ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว
และให้สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีส่งร่างกฎกระทรวงดังกล่าวให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการลงนามและประกาศใน ราชกิจจานุเบกษาต่อไป
สาระสำคัญของร่างกฎกระทรวง
จัดตั้งส่วนราชการในสถาบันวิทยาลัยชุมชน
กระทรวงศึกษาธิการ รวม 21 ส่วนราชการ ดังนี้ 1. สำนักงานสถาบัน 2.
วิทยาลัยชุมชนตราด 3. วิทยาลัยชุมชนตาก 4. วิทยาลัยชุมชนนราธิวาส 5.
วิทยาลัยชุมชนน่าน 6. วิทยาลัยชุมชนบุรีรัมย์ 7. วิทยาลัยชุมชนปัตตานี 8.
วิทยาลัยชุมชนพังงา 9. วิทยาลัยชุมชนพิจิตร 10. วิทยาลัยชุมชนแพร่ 11.
วิทยาลัยชุมชนมุกดาหาร 12. วิทยาลัยชุมชนแม่ฮ่องสอน 13. วิทยาลัยชุมชนยโสธร 14. วิทยาลัยชุมชนยะลา 15.
วิทยาลัยชุมชนระนอง 16. วิทยาลัยชุมชนสงขลา 17. วิทยาลัยชุมชนสตูล 18.
วิทยาลัยชุมชนสมุทรสาคร 19. วิทยาลัยชุมชนสระแก้ว 20.
วิทยาลัยชุมชนหนองบัวลำภู และ 21.
วิทยาลัยชุมชนอุทัยธานี
6. เรื่อง
ร่างกฎกระทรวงกำหนดลักษณะของเหรียญกษาปณ์ที่ระลึก 100 ปี
สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน พ.ศ. ....
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงกำหนดลักษณะของเหรียญกษาปณ์ที่ระลึก
100 ปี สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงการคลัง (กค.) เสนอ
และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วดำเนินการต่อไปได้
กค. เสนอว่า ด้วยสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินได้ขอความร่วมมือ
กค. จัดทำเหรียญกษาปณ์ที่ระลึก 100 ปี สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน ในวันที่ 18
กันยายน 2558 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นที่ระลึก
และน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวที่ทรงโปรดเกล้าฯ
ให้จัดตั้งกรมตรวจเงินแผ่นดิน
เพื่อทำหน้าที่ตรวจตราการรับจ่ายเงินงบประมาณและการคลังให้รัดกุมเกี่ยวกับการเงินของรัฐ
ทั้งนี้ กค.
ได้ขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตจัดทำเหรียญกษาปณ์ที่ระลึกเนื่องในโอกาสดังกล่าวตามแบบที่ทูลเกล้าฯ
ถวาย และได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาตแล้ว
สาระสำคัญของร่างกฎกระทรวง
กำหนดลักษณะของเหรียญกษาปณ์ที่ระลึก
100 ปี สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน ชนิด ราคา โลหะ อัตราเนื้อโลหะ น้ำหนัก ขนาด
อัตราเผื่อเหลือเผื่อขาด ลวดลายและลักษณะอื่น ๆ ของเหรียญกษาปณ์โลหะสีขาว ราคา 20
บาท เพื่อเป็นที่ระลึกเนื่องในโอกาสครบ 100 ปี สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน
เศรษฐกิจ – สังคม
7. เรื่อง ขออนุมัติการดำเนินงานและงบประมาณ “โครงการปริญญาเอกกาญจนาภิเษก (คปก.) ระยะที่ 2 (พ.ศ. 2560 - 2579)”
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบในหลักการให้สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.)
ร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติจัดทำแผนให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ
ระยะ 20 ปี
แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 อุตสาหกรรมเป้าหมายของประเทศทั้ง 10
ประเภท และจัดทำแนวทางการประเมินผลในภาพรวมแล้วเสนอคณะกรรมการนโยบายและพัฒนาการศึกษาพิจารณาก่อนนำเสนอคณะรัฐมนตรีต่อไป
8. เรื่อง
ขยายระยะเวลาการจดทะเบียนแรงงานต่างด้าวในกิจการประมงทะเล และกิจการแปรรูปสัตว์น้ำ
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงแรงงาน
(รง.) เสนอดังนี้
1.
เห็นชอบการขยายระยะเวลาการจดทะเบียนแรงงานต่างด้าวสัญชาติเมียนมา ลาว
และกัมพูชา ดังนี้
1.1 กิจการประมงทะเล
(เดิมสิ้นสุดวันที่ 30 มกราคม 2559 ขยายเวลาเป็น
ตั้งแต่วันที่คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบให้ดำเนินการถึงวันที่ 31 กรกฎาคม 2559)
โดยให้อยู่ในประเทศและทำงานได้ถึงวันที่ 31 มกราคม 2560
1.2 กิจการแปรรูปสัตว์น้ำ
(เดิมสิ้นสุดวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2559 ขยายเวลาเป็น
ตั้งแต่วันที่คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบให้ดำเนินการถึงวันที่ 22 สิงหาคม 2559)
โดยให้อยู่ในประเทศและทำงานได้ถึงวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2560
2. เห็นชอบให้กระทรวงแรงงาน
พิจารณาระยะเวลาการผ่อนผันให้แรงงานต่างด้าวอยู่ในราชอาณาจักร
พิจารณาปรับเปลี่ยนวัน เวลา วิธีการ ขั้นตอนการจดทะเบียน
หรือรายละเอียดของการดำเนินการต่างๆ ได้ตามความเหมาะสม
เฉพาะการแก้ไขปัญหาการทำการประมงผิดกฎหมาย ขาดการรายงาน และไร้การควบคุม (IUU) และให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องสนับสนุนการดำเนินการ
โดยหากการปรับเปลี่ยนรายละเอียดดังกล่าวจำเป็นต้องปรับปรุงประกาศกระทรวงมหาดไทย
อนุมัติให้กระทรวงมหาดไทย ดำเนินการออกประกาศกระทรวงมหาดไทย โดยอาศัยอำนาจตามมาตรา
17 แห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 ให้สอดคล้องกับ การดำเนินการ โดยให้กระทรวงแรงงานประสานแจ้งกระทรวงมหาดไทยเพื่อดำเนินการต่อไป
9. เรื่อง
ขอสนับสนุนงบกลางเพื่อดำเนินโครงการตามแผนพัฒนาอาชีพเกษตรกรตามความต้องการของชุมชนเพื่อบรรเทาภัยแล้งปี
2558/59 ระยะที่ 2 ครั้งที่ 1
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติกรอบวงเงินงบประมาณเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายโครงการตามแผนพัฒนาอาชีพเกษตรกรตามความต้องการของชุมชนเพื่อบรรเทาภัยแล้ง
ปี 2558/59 ระยะที่ 2 ครั้งที่ 1 จำนวน 1,814,717,870 บาท
ตามความเห็นของสำนักงบประมาณ โดยใช้จ่ายจากแหล่งเงิน ดังนี้
1.
อนุมัติให้ใช้จากงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2559 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น
จำนวน 1,659,582,470 บาท ให้กรมส่งเสริมการเกษตร เพื่อเป็นค่าใช้จ่าย ดังนี้
(1)
ค่าใช้จ่ายการดำเนินโครงการตามแผนพัฒนาอาชีพเกษตรกรตามความต้องการของชุมชนเพื่อบรรเทาภัยแล้ง
ปี 2558/59 ระยะที่ 2 ครั้งที่ 1 จำนวน 3,135 โครงการ วงเงิน 1,614,043,920 บาท
ประกอบด้วย โครงการปลูกพืชใช้น้ำน้อย จำนวน 408 โครงการ โครงการเกษตรอื่น ๆ จำนวน 1,861
โครงการ โครงการนอกภาคเกษตร จำนวน 866 โครงการ
(2)
ค่าใช้จ่ายบริหารจัดการและส่งเสริมให้ความรู้เกษตรกรของโครงการตามแผนพัฒนาอาชีพเกษตรกรตามความต้องการของชุมชนเพื่อบรรเทาภัยแล้ง
ปี 2558/59 จำนวน 45,538,550 บาท
เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการให้ความรู้แก่เกษตรกรเกี่ยวกับการประกอบอาชีพทางเลือกใหม่ในช่วงฤดูแล้ง
รวมทั้งการปลูกพืชฤดูแล้งที่ใช้น้ำน้อย การทำการเกษตรอื่น ๆ เช่น การทำอาชีพประมง
ปศุสัตว์ และอาชีพนอกภาคการเกษตร
ตลอดจนการสร้างความรู้และความเข้าใจในมาตรการช่วยเหลือเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบจากภัยแล้ง
ปี 2558/59 จำนวน 8 มาตรการ ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 6 ตุลาคม 2558
2.
อนุมัติให้ดำเนินการปรับแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณ ประจำปีงบประมาณ
พ.ศ. 2559 ในวงเงิน 155,135,400 บาท จำแนกเป็นกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จำนวน
66,007,500 บาท และกระทรวงมหาดไทย จำนวน 89,127,900 บาท
เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายบริหารจัดการและส่งเสริมให้ความรู้เกษตรกรของโครงการตามแผนพัฒนาอาชีพเกษตรกรตามความต้องการของชุมชนเพื่อบรรเทาภัยแล้ง
ปี 2558/59
ต่างประเทศ
10. เรื่อง
ขออนุมัติร่างเอกสารผลลัพธ์การประชุมคณะกรรมาธิการร่วมว่าด้วยความร่วมมือทางเศรษฐกิจ พาณิชยกรรม อุตสาหกรรม
วิชาการ เกษตรกรรม วิทยาศาสตร์ ไทย-อิหร่าน ครั้งที่ 9
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบและอนุมัติตามที่กระทรวงการต่างประเทศ
(กต.) เสนอ ดังนี้
1.
เห็นชอบร่างเอกสารผลลัพธ์การประชุมคณะกรรมาธิการร่วมว่าด้วยความร่วมมือทางเศรษฐกิจ พาณิชยกรรม อุตสาหกรรม วิชาการ
เกษตรกรรมและวิทยาศาสตร์ ครั้งที่ 9 ระหว่างสาธารณรัฐอิสลามอิหร่านกับราชอาณาจักรไทย
2.
อนุมัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายลงนามในเอกสารผลลัพธ์การประชุมดังกล่าว
3.
หากมีความจำเป็นต้องแก้ไขปรับปรุงร่างเอกสารผลลัพธ์การประชุมฯ
ในส่วนที่จะเป็นประโยชน์ต่อการดำเนินความสัมพันธ์ แต่ไม่ใช่สาระสำคัญหรือกระทบต่อผลประโยชน์ของประเทศไทย
ให้ กต.
และคณะผู้แทนไทยที่เข้าร่วมประชุมดังกล่าวสามารถดำเนินการได้โดยไม่ต้องนำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาอีกครั้ง
ร่างเอกสารผลลัพธ์การประชุมฯ
ดังกล่าวมีสาระสำคัญเกี่ยวกับประเด็นความร่วมมือทวิภาคีที่ทั้งสองประเทศได้ดำเนินการร่วมกันไว้
ประเด็นที่ทั้งสองฝ่ายเห็นพ้องที่จะแก้ไข พัฒนาและ/หรือผลักดันให้เกิดความคืบหน้า
เพื่อประโยชน์ของการดำเนินความสัมพันธ์โดยมีประเด็นหลักที่หยิบยกขึ้นมาหารือระหว่างการประชุมเตรียมการในระดับเจ้าหน้าที่อาวุโส
ได้แก่ ความร่วมมือด้านเศรษฐกิจ การค้า
การลงทุน พลังงาน การท่องเที่ยว วัฒนธรรม การศึกษา วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เป็นต้น
11.
เรื่อง
ความคืบหน้าการสมัครขอรับเป็นเจ้าภาพจัดงาน ITU Telecom
World 2016
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบและเห็นชอบดังนี้
1.
รับทราบความคืบหน้าในการดำเนินการในการสมัครรับเป็นเจ้าภาพจัดงาน
ITU
Telecom
World
2016 ของไทย
รวมถึงกำหนดการและสถานที่ในการจัดงานดังกล่าวระหว่างวันที่ 14-17 พฤศจิกายน 2559 ณ
อิมแพ็ค เมืองทองธานี
2.
เห็นชอบให้กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารขอรับการสนับสนุนงบประมาณจาก
สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง
กิจการโทรทัศน์และกิจโทรคมนาคมแห่งชาติ ในการเป็นเจ้าภาพร่วมจัดงาน ITU Telecom
World 2016 ทั้งนี้
ให้เป็นไปตามกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องของ กสทช.
3.
เห็นชอบให้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการแห่งชาติเพื่อเตรียมการจัดงาน
ITU
Telecom World
2016 โดยมีองค์ประกอบและอำนาจหน้าที่ ตามที่กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเสนอ
สาระสำคัญของเรื่อง
คณะกรรมการแห่งชาติเพื่อเตรียมการจัดงาน
ITU
Telecom World 2016 มีองค์ประกอบและอำนาจหน้าที่ ดังนี้
รองนายกรัฐมนตรี (พลอากาศเอกประจิน จั่นตอง) เป็นประธานกรรมการ
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
และประธานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ
เป็นรองประธานกรรมการ กรรมการประกอบด้วย เลขาธิการนายกรัฐมนตรีหรือผู้แทน ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร หรือผู้แทน ปลัดกระทรวงมหาดไทย หรือผู้แทน
ปลัดกระทรวงการต่างประเทศ หรือผู้แทน ปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
หรือผู้แทน ปลัดกระทรวงการคลัง หรือผู้แทน ปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา
หรือผู้แทน ปลัดกระทรวงคมนาคม
หรือผู้แทน ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม
หรือผู้แทน ปลัดกระทรวงพาณิชย์
หรือผู้แทน ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี
หรือผู้แทน ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ
หรือผู้แทน
เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ หรือผู้แทน
ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ หรือผู้แทน
เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ หรือผู้แทน ผู้ว่าการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย
หรือผู้แทน ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ
(องค์การมหาชน) หรือผู้แทน
นายกสมาคมโทรคมนาคมแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ หรือผู้แทน
นายกสมาคมสมาพันธ์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารแห่งประเทศไทย หรือผู้แทน
นายกสมาคมธุรกิจคอมพิวเตอร์ไทย หรือผู้แทน
นายกสมาคมโรงแรมไทย หรือผู้แทน และประธานสภาอุตสาหกรรม หรือผู้แทน
โดยมีปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเป็นกรรมการและเลขานุการ เลขาธิการคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง
กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนามแห่งชาติ
เป็นกรรมการและเลขานุการร่วม
รองปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
สำนักงานปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
เป็นกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ
รองเลขาธิการคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง
กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ เป็นกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการร่วม
อำนาจหน้าที่
1.
กำหนดนโยบายและแนวทางการเตรียมการจัดงาน
ITU
Telecom World 2016 รวมถึงการ
จัด Thailand
Pavilion และการจัดประชุมที่เกี่ยวเนื่อง
ให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อย เหมาะสมและสร้างความประทับใจให้แก่ผู้เข้าร่วมงาน
2.
วางแผนและกำหนดกรอบแนวทางในการดำเนินการจัดการ
ITU
Telecom World 2016
ภายใต้เงื่อนไขของความตกลงระหว่างรัฐบาลไทยกับสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศในการเป็นเจ้าภาพจัดงาน
ITU
Telecom World 2016
3.
พิจารณาและให้ข้อเสนอแนะ
ตลอดจนข้อคิดเห็นที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานที่ครอบคลุมถึง
เนื้อหาสาระของการจัดงาน
ประมาณการค่าใช้จ่าย และอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
4.
แต่งตั้งคณะอนุกรรมการหรือคณะทำงานเพื่อปฏิบัติงานได้ตามความจำเป็น
5.
ติดตามและประเมินผลการทำงานของอนุกรรมการและคณะทำงานที่เกี่ยวข้อง
และสั่งการให้
ดำเนินการตามที่ได้รับมอบหมาย
6.
ให้รายงานผลการดำเนินงานให้คณะรัฐมนตรีทราบตามความเหมาะสม
12.
เรื่อง การออกกฎกระทรวงกำหนดอัตราค่าธรรมเนียมการตรวจลงตรา
ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน 2558
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงกำหนดอัตราค่าธรรมเนียมการตรวจลงตรา
และค่าธรรมเนียมคำขออนุญาตเพื่ออยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวต่อไปสำหรับคนต่างด้าวสัญชาติเมียนมา
ลาว กัมพูชาและเวียดนาม
ซึ่งเข้ามาเพื่อทำงานในราชอาณาจักรตามบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านการจ้างแรงงาน
หรือได้รับอนุญาตให้เข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษ พ.ศ. ....
ตามที่กระทรวงมหาดไทย (มท.) เสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา
แล้วดำเนินการต่อไปได้
มท. เสนอว่า
ได้ดำเนินการจัดทำร่างกฎกระทรวงตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน 2558
เพื่อบังคับใช้กับแรงงานต่างด้าวสัญชาติเมียนมา ลาว และกัมพูชา
ที่ผ่านการตรวจสัญชาติ หรือพิสูจน์สัญชาติ และแรงงานต่างด้าวสัญชาติเมียนมา ลาว
กัมพูชา และเวียดนาม ที่เข้ามาทำงาน
โดยถูกต้องตามกฎหมาย ตามข้อตกลงว่าด้วยการแรงงานระหว่างรัฐ
ตามนโยบายของรัฐบาลในการแก้ไขปัญหาแรงงานต่างด้าวผิดกฎหมายให้เข้าสู่ระบบ
และส่งเสริมการนำเข้าแรงงานต่างด้าวถูกกฎหมายเสร็จแล้ว จึงได้เสนอร่างกฎกระทรวงดังกล่าวมาเพื่อดำเนินการ
สาระสำคัญของร่างกฎกระทรวง
กำหนดค่าธรรมเนียมสำหรับคนต่างด้าวสัญชาติเมียนมา
ลาว กัมพูชา และเวียดนาม ซึ่งเข้ามาเพื่อทำงานในราชอาณาจักร
ประเภทของการกำหนด
อัตราปกติ
จำนวนคงเหลือ
1.
โดยข้อตกลงว่าด้วยความร่วมมือด้านการจ้างแรงงานระหว่างรัฐบาล
1.1
การตรวจลงตราประเภทคนอยู่ชั่วคราวใช้ได้ครั้งเดียว
2,000
500
1.2
คำขออนุญาตเพื่ออยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวต่อไป
1,900
500
2.
โดยได้รับอนุญาตให้เข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราว เพื่อรอการส่งกลับ
2.1
การตรวจลงตราประเภทคนอยู่ชั่วคราวใช้ได้ครั้งเดียว
500
500
2.2
คำขออนุญาตเพื่ออยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวต่อไป
500
500
13.
เรื่อง
ร่างบันทึกความเข้าใจระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐอินเดียว่าด้วยความร่วมมือในการควบคุมยาเสพติด
วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท สารตั้งตันและเคมีภัณฑ์
และการใช้ยาในทางที่ผิด
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบและอนุมัติตามที่กระทรวงยุติธรรม
(ยธ.) เสนอ ดังนี้
1.
เห็นชอบต่อร่างบันทึกความเข้าใจระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่ง
สาธารณรัฐอินเดีย
ว่าด้วยความร่วมมือในการควบคุมยาเสพติดวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท
สารตั้งต้นและเคมีภัณฑ์ และการใช้ยาในทางที่ผิด
2.
อนุมัติให้เลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดในฐานะหัวหน้าหน่วยงาน
กลางด้านยาเสพติดของไทย
เป็นผู้ลงนามในบันทึกความเข้าใจฯ ฝ่ายไทย
3.
มอบหมายให้กระทรวงการต่างประเทศ
จัดทำหนังสือมอบอำนาจเต็ม (Full
Powers) ให้แก่
นายณรงค์
รัตนานุกูล
เลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด เป็นผู้ลงนามในบันทึกความเข้าใจฯ
ดังกล่าว
4.
หากมีความจำเป็นให้สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด
(สำนักงาน
ป.ป.ส.)
ร่วมกับกระทรวงการต่างประเทศ สามารถแก้ไขปรับปรุงถ้อยคำของบันทึกความเข้าใจฯ ได้
เท่าที่ไม่ขัดต่อหลักการและสาระสำคัญที่จะได้รับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีหรือเป็นประโยชน์ต่อประเทศไทย
โดยไม่ต้องนำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาให้ความเห็นชอบอีกครั้ง
สาระสำคัญของร่างบันทึกความเข้าใจฯ
ข้อที่ 1
วัตถุประสงค์ เสริมสร้างความร่วมมือระหว่างคู่ภาคีในการต่อสู้กับการลักลอบปลูกพืชเสพติด
การลักลอบผลิตและการลักลอบค้ายาเสพติด และการใช้ยาในทางที่ผิด
ข้อที่
2 การเคารพในอธิปไตย
-
คู่ภาคีจะปฏิบัติตามข้อตกลงให้สอดคล้องกับหลักการแห่งความเท่าเทียมทางอธิปไตย
การไม่แทรกแซงในกิจการระหว่างประเทศ และเคารพในบูรณภาพแห่งดินแดนของรัฐ
-
คู่ภาคีจะต้องไม่ใช้อำนาจและดำเนินการใด
ๆ ในดินแดนของภาคีอีกฝ่ายที่เป็นอำนาจ
เฉพาะของภาคีอีกฝ่าย
ข้อ
3 ขอบเขตของความร่วมมือ มาตรการด้านการลดอุปสงค์และอุปทานของยาเสพติด
การบำบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติด การตรวจพิสูจน์ยาเสพติด
การแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ทางวิชาการ รวมถึงวิธีปฏิบัติที่ดีที่สุดของทั้งสองประเทศ
ในเรื่อง การควบคุมเคมีภัณฑ์และสารตั้งต้น
และการควบคุมการปลูกพืชฝิ่นอย่างถูกกฎหมายจากฝ่ายอินเดีย และความรู้ด้านการพัฒนาทางเลือกจากฝ่ายไทย
ข้อ
4 การประชุม คู่ภาคีจะจัดให้มีประชุม
เมื่อเห็นว่าจำเป็น เพื่อประสานงานและเสริมสร้าง
ประสิทธิภาพของความร่วมมือ
ข้อ
5 หน่วยงานดำเนินการ
-
ราชอาณาจักรไทย : สำนักงาน ป.ป.ส. ยธ.
-
สาธารณรัฐอินเดีย : สำนักงานควบคุมยาเสพติด กระทรวงมหาดไทย
ข้อ
6 การจัดการทางการเงิน คู่ภาคีแต่ละฝ่ายจะรับผิดชอบค่าใช้จ่ายและรายจ่ายของฝ่ายตน
ข้อ
7 การรักษาความลับ ข้อมูลและเอกสารจะเก็บรักษาเป็นความลับและใช้ตามจุดประสงค์ที่กำหนดโดยคู่ภาคีที่เป็นผู้ให้
และจะไม่ถูกส่งต่อไปยังบุคคลที่สาม
ข้อ
8 ภาษาที่ใช้ ภาษาอังกฤษ
ข้อ
9 การแก้ไข คู่ภาคีอาจทบทวนและแก้ไขเพิ่มเติม
โดยความยินยอมร่วมกันเป็นลายลักษณ์อักษร
ข้อ
10 การระงับข้อพิพาท ข้อขัดแย้งที่เกิดขึ้นตามร่างฯ
นี้ จะได้รับการระงับฉันท์มิตร โดยการปรึกษาหารือและเจรจาระหว่างคู่ภาคี
ข้อ
11 การมีผลบังคับใช้ระยะเวลาและการสิ้นสุด นับจากวันที่ลงนาม
และมีผลบังคับใช้เป็นระยะเวลา 3 ปี
และจะได้รับการต่ออายุโดยอัตโนมัติเป็นระยะเวลาเดียวกัน เว้นแต่ภาคีแจ้งเป็นลายลักษณ์อักษร ที่จะบอกเลิกบันทึกฯ
แต่งตั้ง
14. เรื่อง
การแต่งตั้งข้าราชการให้ดำรงตำแหน่งที่ปรึกษาด้านการประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
(นักวิเคราะห์นโยบายและแผนทรงคุณวุฒิ)
(สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ)
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริเสนอแต่งตั้ง
นายปวัตร์ นวะมะรัตน ที่ปรึกษาด้านการประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
(นักวิเคราะห์นโยบายและแผนเชี่ยวชาญ)
สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
ให้ดำรงตำแหน่ง ปรึกษาด้านการประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
(นักวิเคราะห์นโยบายและแผนทรงคุณวุฒิ)
สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
ตั้งแต่วันที่ 21 ตุลาคม 2558 ซึ่งเป็นวันที่มีคุณสมบัติครบถ้วนสมบูรณ์ ทั้งนี้
ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นต้นไป
15. เรื่อง
ขออนุมัติแต่งตั้งกงสุลกิตติมศักดิ์ ณ กรุงคาร์ทูม สาธารณรัฐซูดาน
(กระทรวงการต่างประเทศ)
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงการต่างประเทศเสนอแต่งตั้ง
นายอะห์มัด บาเชียร์ เอลเนอเฟดี (Ahmed Bashir Elnefeidi) เป็นกงสุลกิตติมศักดิ์
ณ กรุงคาร์ทูม สาธารณรัฐซูดาน สืบแทน นายกามาล บาเชียร์ เอลเนอเฟดี (Gamal
Bashir Elnefeidi) ซึ่งถึงแก่กรรม
16. เรื่อง
การแต่งตั้งข้าราชการให้ดำรงตำแหน่งรองเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ
(สำนักนายกรัฐมนตรี)
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติเสนอแต่งตั้ง
นายวีระ อุไรรัตน์ ที่ปรึกษาด้านนโยบายและยุทธศาสตร์ความมั่นคง
(นักวิเคราะห์นโยบายและแผนทรงคุณวุฒิ) สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ ดำรงตำแหน่ง
รองเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ
สำนักนายกรัฐมนตรี ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง
เพื่อทดแทนตำแหน่งที่ว่าง
17. เรื่อง
การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง
(ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้)
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้เสนออนุมัติรับโอน
นายจำนัล เหมือนดำ รองผู้ว่าราชการจังหวัดนราธิวาส สำนักงานปลัดกระทรวง
กระทรวงมหาดไทย และแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง
รองเลขาธิการศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ เพื่อทดแทนตำแหน่งที่ว่าง
ซึ่งกระทรวงมหาดไทยได้ตกลงยินยอมการโอนด้วยแล้ว ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
แต่งตั้งเป็นต้นไป
18.
เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญ (กระทรวงการต่างประเทศ)
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงการต่างประเทศเสนอแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญ
สังกัดกระทรวงการต่างประเทศ ให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง จำนวน 3 ราย
ดังนี้
1. นางสาวพัชนี กิจถาวร
กงสุลใหญ่ สถานกงสุลใหญ่ ณ นครหนานหนิง สาธารณรัฐประชาชนจีน ดำรงตำแหน่ง
เอกอัครราชทูต สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงดิลี สาธารณรัฐประชาธิปไตยติมอร์-เลสเต
2. นายสิงห์ทอง
ลาภพิเศษพันธุ์ รองอธิบดีกรมความร่วมมือระหว่างประเทศ ดำรงตำแหน่ง
อธิบดีกรมเอเชียตะวันออก
3. นายทรงพล สุขจันทร์
กงสุลใหญ่ สถานกงสุลใหญ่ ณ นครชิคาโก สหรัฐอเมริกา ดำรงตำแหน่ง อธิบดีกรมยุโรป
ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
แต่งตั้งเป็นต้นไป เพื่อทดแทนตำแหน่งที่ว่าง ซึ่งการแต่งตั้งเอกอัครราชทูตประจำต่างประเทศตามข้อ
1. ได้รับความเห็นชอบจากประเทศผู้รับ
19.
เรื่อง
การขอปรับปรุงแก้ไของค์ประกอบของคณะกรรมการแห่งชาติในการค้นหาและช่วยเหลืออากาศยานและเรือที่ประสบภัย
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอการปรับปรุงองค์ประกอบของคณะกรรมการแห่งชาติในการค้นหาและช่วยเหลืออากาศยานและเรือที่ประสบภัย
ให้มีความถูกต้อง ครบถ้วน สมบูรณ์ และเป็นปัจจุบัน โดยมีองค์ประกอบ รวม 28 คน
สำหรับอำนาจหน้าที่คงเดิม โดยมีรายละเอียดการแก้ไของค์ประกอบ ดังนี้
1. เปลี่ยน
รองปลัดกระทรวงคมนาคม (หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านการขนส่ง) ประธานกรรมการ เป็น
รองปลัดกระทรวงคมนาคม (ด้านอำนวยการ) ประธานกรรมการ
2. เปลี่ยน
อธิบดีกรมการบินพลเรือน รองประธานกรรมการ เป็น อธิบดีกรมท่าอากาศยาน
รองประธานกรรมการ
3. เพิ่ม ผู้แทนบริษัท
ทีโอที จำกัด (มหาชน) เป็น กรรมการ
4. เพิ่ม ผู้แทนสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย
เป็น กรรมการ
5. เปลี่ยน
ผู้อำนวยการสำนักมาตรฐานการบิน กรมการบินพลเรือน กรรมการและเลขานุการ เป็น
หัวหน้ากลุ่มงานค้นหาและช่วยเหลืออากาศยาน สำนักงานปลัดกระทรวงคมนาคม
กรรมการและเลขานุการ
6. เปลี่ยน
ผู้แทนสำนักกฎหมาย สำนักงานปลัดกระทรวงคมนาคม กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ เป็น
ผู้แทนสำนักกฎหมาย สำนักงานปลัดกระทรวงคมนาคม
7. ยกเลิก
นักวิชาการขนส่งชำนาญการพิเศษ กลุ่มค้นหาและช่วยเหลืออากาศยานและ เรือประสบภัย
กรมการบินพลเรือน กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ
20.
เรื่อง
แต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการบริหารสำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติ
แทนกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ซึ่งพ้นจากตำแหน่งก่อนครบวาระ
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเสนอแต่งตั้ง
นายธงรบ ด่านอำไพ
ให้ดำรงตำแหน่งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการบริหารสำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติ
แทน นายพันธ์ศักดิ์ ศิริรัชตพงษ์ ที่ลาออก ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 2 กุมภาพันธ์
2559 เป็นต้นไป
*****************************
http://www.thaigov.go.th
วันนี้ (2 กุมภาพันธ์ 2559) เวลา 09.00 น. ณ ห้องประชุม 501 ตึกบัญชาการ 1 ทำเนียบรัฐบาล พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมคณะรัฐมนตรี
ภายหลังเสร็จสิ้นการประชุม พลตรี สรรเสริญ แก้วกำเนิด โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงผลการประชุมคณะรัฐมนตรี
ซึ่งสรุปสาระสำคัญดังนี้
กฎหมาย
|
1.
เรื่อง ร่างพระราชบัญญัติการแข่งขันทางการค้า พ.ศ. ....
2. เรื่อง ร่างพระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .....
3. เรื่อง ร่างพระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท
พ.ศ. ....
4.
เรื่อง ร่างพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยปริญญาในสาขาวิชา อักษรย่อสำหรับสาขาวิชา
ครุยวิทยฐานะ
เข็มวิทยฐานะ และครุยประจำตำแหน่งของมหาวิทยาลัยราชภัฏ
ศรีสะเกษ
(ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....
5.
เรื่อง ร่างกฎกระทรวงจัดตั้งส่วนราชการในสถาบันวิทยาลัยชุมชน
กระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. ....
6.
เรื่อง ร่างกฎกระทรวงกำหนดลักษณะของเหรียญกษาปณ์ที่ระลึก 100 ปี
สำนักงานการ ตรวจเงินแผ่นดิน พ.ศ. ....
เศรษฐกิจ – สังคม
|
7. เรื่อง
ขออนุมัติการดำเนินงานและงบประมาณ “โครงการปริญญาเอกกาญจนาภิเษก (คปก.) ระยะที่ 2 (พ.ศ. 2560 -
2579)”
8. เรื่อง
ขยายระยะเวลาการจดทะเบียนแรงงานต่างด้าวในกิจการประมงทะเล
และกิจการ แปรรูปสัตว์น้ำ
9.
เรื่อง ขอสนับสนุนงบกลางเพื่อดำเนินโครงการตามแผนพัฒนาอาชีพเกษตรกรตามความ ต้องการของชุมชนเพื่อบรรเทาภัยแล้งปี
2558/59 ระยะที่ 2 ครั้งที่ 1
ต่างประเทศ
|
10.
เรื่อง ขออนุมัติร่างเอกสารผลลัพธ์การประชุมคณะกรรมาธิการร่วมว่าด้วยความร่วมมือ ทางเศรษฐกิจ
พาณิชยกรรม อุตสาหกรรม วิชาการ เกษตรกรรม วิทยาศาสตร์
ไทย-อิหร่าน
ครั้งที่ 9
11.
เรื่อง ความคืบหน้าการสมัครขอรับเป็นเจ้าภาพจัดงาน
ITU
Telecom World 2016
12.
เรื่อง การออกกฎกระทรวงกำหนดอัตราค่าธรรมเนียมการตรวจลงตรา ตามมติ คณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน
2558
13.
เรื่อง ร่างบันทึกความเข้าใจระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่ง สาธารณรัฐอินเดียว่าด้วยความร่วมมือในการควบคุมยาเสพติด
วัตถุที่ออกฤทธิ์
ต่อจิตและประสาท
สารตั้งตันและเคมีภัณฑ์ และการใช้ยาในทางที่ผิด
แต่งตั้ง
|
14.
เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการให้ดำรงตำแหน่งที่ปรึกษาด้านการประสานงานโครงการอัน เนื่องมาจากพระราชดำริ
(นักวิเคราะห์นโยบายและแผนทรงคุณวุฒิ) (สำนักงาน คณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ)
15.
เรื่อง ขออนุมัติแต่งตั้งกงสุลกิตติมศักดิ์ ณ กรุงคาร์ทูม สาธารณรัฐซูดาน
(กระทรวงการ ต่างประเทศ)
16.
เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการให้ดำรงตำแหน่งรองเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ
(สำนักนายกรัฐมนตรี)
17.
เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง
(ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้)
18.
เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญ (กระทรวงการต่างประเทศ)
19.
เรื่อง การขอปรับปรุงแก้ไของค์ประกอบของคณะกรรมการแห่งชาติในการค้นหาและ ช่วยเหลืออากาศยานและเรือที่ประสบภัย
20.
เรื่อง แต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการบริหารสำนักงานส่งเสริม อุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติ
แทนกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ซึ่งพ้นจากตำแหน่ง ก่อนครบวาระ
*******************
สำนักโฆษก สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี โทร. 0 2288-4396
กฎหมาย
|
1. เรื่อง
ร่างพระราชบัญญัติการแข่งขันทางการค้า พ.ศ.
....
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติดังนี้
1.
อนุมัติหลักการร่างพระราชบัญญัติการแข่งขันทางการค้า พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงพาณิชย์เสนอ
และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา โดยให้รับความเห็นของสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี
สำนักงาน ก.พ. สำนักงาน
ก.พ.ร.
และสำนักงานอัยการสูงสุดไปประกอบการพิจารณาด้วย แล้วส่งให้คณะกรรมการประสานงานสภานิติบัญญัติแห่งชาติแห่งชาติพิจารณา
ก่อนเสนอสภานิติบัญญัติแห่งชาติต่อไป
2.
ให้กระทรวงพาณิชย์รับข้อสังเกตของสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีและสำนักงาน ก.พ.
ไปพิจารณาดำเนินการต่อไป
สาระสำคัญของร่างพระราชบัญญัติ
1. ปรับปรุงนิยาม “ผู้ประกอบธุรกิจ” ให้ครอบคลุมถึงบริษัท
หรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลในเครือเดียวกัน และเพิ่มนิยาม “บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคลในเครือเดียวกัน”
2. ปรับปรุงบทนิยาม “ผู้ประกอบธุรกิจซึ่งมีอำนาจเหนือตลาด”
ให้คณะกรรมการการแข่งขันทางการค้าเป็นผู้มีอำนาจในการออกประกาศหลักเกณฑ์การเป็นผู้ประกอบธุรกิจซึ่งมีอำนาจเหนือตลาด
3. เพิ่มเติมบทนิยาม “ปัจจัยสภาพการแข่งขันของตลาด”
4.
กำหนดให้รัฐวิสาหกิจทุกประเภทต้องอยู่ภายใต้การบังคับตามพระราชบัญญัตินี้ ทั้งนี้
กำหนดข้อยกเว้นสำหรับการดำเนินการตามกฎหมาย
หรือนโยบายของรัฐที่มีความจำเป็นในการรักษาความมั่งคงของรัฐ
ประโยชน์สาธารณะ รักษาผลประโยชน์ส่วนรวม หรือจัดให้มีสาธารณูปโภค
5.
กำหนดให้มีคณะกรรมการการแข่งขันทางการค้าที่มีความเป็นอิสระที่ผ่านกระบวนการคัดสรรและให้นายกรัฐมนตรีแต่งตั้งโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี
จำนวน 7 คน ทั้งนี้ กรรมการจะต้องมีอายุ
45-70 ปี วาระการดำรงตำแหน่ง 6 ปี ติดต่อกันไม่เกิน 2 วาระ
6.
กำหนดให้มีคณะกรรมการคัดสรร จำนวน 7 คน ทำหน้าที่สรรหาคณะกรรมการแข่งขันทางการค้า
โดยสำนักงานคณะกรรมการแข่งขันทางการค้าทำหน้าที่เป็นหน่วยธุรการ
7.
กำหนดให้จัดตั้งสำนักงานคณะกรรมการแข่งขันทางการค้าเป็นหน่วยงานของรัฐที่ไม่เป็นรัฐวิสาหกิจ
มีฐานะเป็นนิติบุคคลที่มีความเป็นอิสระทั้งด้านบุคลากร งบประมาณ และการดำเนินงาน
โดยได้รับงบประมาณสนับสนุนจากรัฐบาลในปีแรก
หลังจากนั้นให้จัดสรรเงินจากค่าธรรมเนียมจดทะเบียนการค้าในอัตราร้อยละ 10 มาเป็นค่าใช่จ่ายในการดำเนินงานของสำนักงานเป็นประจำทุกปี
รวมทั้งสามารถจัดเก็บรายได้เป็นค่าใช้จ่ายดำเนินงานของสำนักงานได้
8. กำหนดให้ทบทวนเกณฑ์ผู้ประกอบธุรกิจซึ่งมีอำนาจเหนือตลาดอย่างน้อย 1 ครั้ง
ภายในระยะเวลา 5 ปี
9.
กำหนดให้ผู้กระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้
แม้ส่วนหนึ่งส่วนใดได้กระทำนอกราชอาณาจักร และผลแห่งการกระทำเกิดขึ้นในราชอาณาจักร
ต้องรับโทษในราชอาณาจักร
10.
กำหนดให้ฟ้องคดีที่เกี่ยวกับการกระทำผิดตามพระราชบัญญัตินี้ต่อศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ
และเพิ่มขั้นตอนกรณีอัยการสูงสุดเห็นว่าสำนวนยังไม่สมบูรณ์พอที่จะดำเนินคดีได้
ให้ตั้งคณะทำงานขึ้นมาชุดหนึ่ง
เพื่อรวบรวมพยานหลักฐานให้สมบูรณ์แล้วส่งให้อัยการสูงสุดเพื่อพิจารณาสั่งคดี
11.
กำหนดให้ผู้ประกอบธุรกิจที่กระทำการรวมธุรกิจอันอาจก่อให้เกิดการลดการแข่งขันอย่างมีนัยสำคัญ
แจ้งต่อคณะกรรมการก่อนดำเนินการรวมธุรกิจ
และส่งงบการเงินเพื่อติดตามผลของการรวมธุรกิจอย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลา 3 ปี
12.
กำหนดให้ผู้ประกอบธุรกิจที่ได้รับคำสั่งคณะกรรมการฯ สามารถอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวต่อคณะกรรมการฯ
ได้
13. กำหนดให้คณะกรรมการฯ
กำหนดหลักเกณฑ์การลดหย่อนโทษปรับแก่ผู้ประกอบธุรกิจที่มิใช่ตัวการสำคัญในพฤติกรรมการตกลงร่วมกัน
จำกัด หรือลดการแข่งขันทางการค้าที่ส่งผลกระทบอย่างรุนแรง
เพื่อเป็นแนวทางในการพิจารณาของศาล
14. เพิ่มโทษปรับทางอาญาในทุกพฤติกรรมความผิดจากเดิม
6 ล้านบาทเป็นร้อยละ 20 ของรายได้ในปีที่กระทำความผิด ทั้งนี้
ได้ยกเลิกโทษจำคุกสำหรับกรณีการรวมธุรกิจ
การตกลงร่วมกันที่กำหนดให้ผู้ประกอบธุรกิจสามารถขออนุญาตต่อคณะกรรมการฯ ได้
15. เพิ่มโทษปรับทางปกครอง
กรณีที่ผู้ประกอบธุรกิจฝ่าฝืนคำสั่งของคณะกรรมการฯ
โดยหลักเกณฑ์การคำนวณค่าปรับให้เป็นไปตามที่คณะกรรมการกำหนด
16.
เพิ่มบทลงโทษกรณีการร้องเรียน ร้องทุกข์
หรือแจ้งข้อความอันเป็นเท็จแก่พนักงานเจ้าหน้าที่หรือคณะกรรมการ
2. เรื่อง
ร่างพระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .....
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างพระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ
(ฉบับที่ ..) พ.ศ. ..... ตามที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ตช.) เสนอและให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา
โดยให้รับความเห็นของสำนักงาน ก.พ. ไปประกอบการพิจารณาด้วย
แล้วส่งให้คณะกรรมการประสานงานสภานิติบัญญัติแห่งชาติพิจารณาก่อนเสนอสภานิติบัญญัติแห่งชาติต่อไป
ตช.
เสนอว่า
1.
โดยที่คณะรักษาความสงบแห่งชาติได้มีประกาศฉบับที่ 88/2557 เรื่อง
แก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. 2547 ลงวันที่ 10 กรกฎาคม 2557
แก้ไของค์ประกอบคณะกรรมการนโยบายตำรวจแห่งชาติ (ก.ต.ช.) คณะกรรมการข้าราชการตำรวจ (ก.ตร.) โดยได้ยกเลิกความในมาตรา 17 มาตรา 18 (3) มาตรา 30
มาตรา 33 ถึง มาตรา 41 มาตรา 53 (1) มาตรา 54 มาตรา 55
และมาตรา 57 วรรคสอง วรรคสาม ของพระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. 2547 และยกเลิกการกำหนดคุณสมบัติ ลักษณะต้องห้าม วาระการดำรงตำแหน่ง
และการพ้นจากตำแหน่งของกรรมการข้าราชการตำรวจผู้ทรงคุณวุฒิ
ประกอบคำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติดังกล่าวได้กำหนดให้กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของ
ก.ต.ช. และ ก.ตร. มาจากการเลือกของวุฒิสภา ดังนั้น
เพื่อมิให้เกิดปัญหาในการปฏิบัติเกี่ยวกับกรรมการข้าราชการตำรวจผู้ทรงคุณวุฒิ
สมควรกำหนดคุณสมบัติ ลักษณะต้องห้าม วาระการดำรงตำแหน่ง และการพ้นจากตำแหน่ง
รวมทั้งหลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการเลือกกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิดังกล่าว
2. นอกจากนี้
ในส่วนของการดำเนินการทางวินัยตามมาตรา 87 และ 94 ของพระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติดังกล่าวจำเป็นต้องปรับแก้ไขเพื่อขยายระยะเวลาดำเนินการสอบสวนข้าราชการตำรวจที่กระทำความผิดวินัยอย่างร้ายแรงที่ออกจากราชการไปแล้ว
หากถูกชี้มูลความผิดตามกฎหมายว่าด้วยมาตรการของฝ่ายบริหารในการป้องกันและปราบปรามการทุจริตไว้ก่อนออกจากราชการ
เช่นเดียวกับกรณีถูกชี้มูลความผิดตามกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริตไว้ก่อนออกจากราชการ
ตลอดจนกำหนดระยะเวลาเร่งรัดการสอบสวนการพิจารณาสั่งการและการดำเนินการตามมติของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ
(ป.ป.ช.) และคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ
(ป.ป.ท.) ในกรณีดังกล่าวให้เป็นไปตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องเพื่อให้มีหลักเกณฑ์ที่ประกันความเป็นธรรมหรือเป็นมาตรฐานในการปฏิบัติราชการ
และเสริมสร้างประสิทธิภาพในการป้องกันและปราบปรามการทุจริต
เพื่อมิให้เกิดปัญหาในการปฏิบัติเกี่ยวกับดำเนินการทางวินัย
สาระสำคัญของร่างพระราชบัญญัติ
แก้ไขปรับปรุงพระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ
พ.ศ. 2547 ในส่วนขององค์ประกอบคณะกรรมการนโยบายตำรวจแห่งชาติ (ก.ต.ช.) และคณะกรรมการข้าราชการตำรวจ (ก.ตร.) ที่ถูกยกเลิกตามประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
ฉบับที่ 88/2557 เรื่อง แก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ
พ.ศ. 2547 ลงวันที่ 10 กรกฎาคม 2557
และแก้ไขบทบัญญัติเกี่ยวกับการดำเนินการทางวินัยตามพระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติดังกล่าว
ดังนี้
พรบ.ตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. 2547
|
ร่าง พรบ. ตำรวจแห่งชาติ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....
|
มาตรา 19 “กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิตามมาตรา
17 (2) ต้องมีความเชี่ยวชาญ หรือประสบการณ์ในด้านกฎหมาย
การงบประมาณ การพัฒนาองค์กร
การวางแผนหรือบริหารและจัดการ
|
มาตรา 3 ให้ยกเลิกความในมาตรา 19
แห่งพระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. 2547 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“มาตรา 19 กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิตามมาตรา 17 (4) ต้องมีความเชี่ยวชาญ หรือประสบการณ์ในสาขากฎหมายจำนวนหนึ่งคน
และสาขาการพัฒนาองค์กรหรือสาขาการวางแผน หรือสาขาการบริหารและจัดการอีกจำนวนหนึ่งคน”
|
|
มาตรา 4 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นมาตรา 20/1 แห่งพระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. 2547
“มาตรา 20/1
การเลือกกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิตามมาตรา 17 (4) ให้วุฒิสภาตั้งคณะกรรมาธิการขึ้นคณะหนึ่งเพื่อพิจารณาเสนอรายชื่อบุคคลที่เห็นสมควรซึ่งมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา
19 และมาตรา 20 จำนวนสองเท่าของจำนวนผู้ทรงคุณวุฒิในแต่ละสาขาความเชี่ยวชาญตามมาตรา
19 ที่ต้องเลือกเสนอต่อวุฒิสภาเพื่อพิจารณาเลือกต่อไป
|
มาตรา 21 “กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิมีวาระการดำรงตำแหน่งคราวละสี่ปีและอาจได้รับแต่งตั้งใหม่ได้แต่จะดำรงตำแหน่งเกินสองวาระติดต่อกันไม่ได้
|
มาตรา 5 ให้ยกเลิกความในมาตรา 21
แห่งพระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. 2547 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“มาตรา 21
กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิมีวาระการดำรงตำแหน่งคราวละสี่ปีและอาจได้รับการเลือกใหม่ได้แต่จะดำรงตำแหน่งเกินสองวาระติดต่อกันไม่ได้
ในกรณีกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิพ้นจากตำแหน่งตามวาระให้ประธานกรรมการแจ้งให้วุฒิสภาทราบเพื่อดำเนินการจัดให้มีการเลือกกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิใหม่ภายในเก้าสิบวัน
ก่อนวันครบวาระ
ให้กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งพ้นจากตำแหน่งตามวาระปฏิบัติหน้าที่ต่อไปจนกว่ากรรมการผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งได้รับเลือกใหม่เข้ารับ หน้าที่”
|
มาตรา 22 วรรคสอง
“ในกรณีที่กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิพ้นจากตำแหน่งก่อนวาระ
ให้ดำเนินการสรรหาและแต่งตั้งบุคคลเป็นกรรมการแทน
เว้นแต่วาระการดำรงตำแหน่งของกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิจะเหลือไม่ถึงเก้าสิบวันในกรณีนี้จะไม่ดำเนินการให้มีการสรรหาก็ได้”
มาตรา 22 วรรคสาม “ให้กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งแทนอยู่ในตำแหน่งเพียงเท่าวาระที่เหลืออยู่ของซึ่งตนแทน
|
มาตรา 6 ให้ยกเลิกความในวรรคสองและวรรคสามของมาตรา
22 แห่งพระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. 2547 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“กรณีเป็นที่สงสัยว่ากรรมการผู้ทรงคุณวุฒิผู้ใดพ้นจากตำแหน่งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิหรือไม่ให้ประธานกรรมการเสนอ
ก.ต.ช. เพื่อวินิจฉัยชี้ขาด
ในกรณีที่กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิพ้นจากตำแหน่งก่อนวาระ ให้ประธานกรรมการขอให้วุฒิสภาเลือกกรรมการแทนตามสาขาความเชี่ยวชาญนั้น
เว้นแต่วาระการดำรงตำแหน่งของกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิจะเหลือไม่ถึงเก้าสิบวัน
ในกรณีนี้จะไม่ดำเนินการให้มีการเลือกก็ได้
ให้กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งได้รับเลือกตามวรรคสามอยู่ในตำแหน่งได้เพียงวาระของผู้ซึ่งตนแทน
กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิที่ดำรงตำแหน่งตามวรรคสามหากมีวาระเหลืออยู่ไม่ถึงหนึ่งปีนับแต่วันดำรงตำแหน่งไม่ให้นับเป็นวาระการดำรงตำแหน่ง”
|
มาตรา
23 วรรคสอง
“ในการประชุม ก.ต.ช.
ถ้าประธานกรรมการไม่มาประชุมหรือไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ให้กรรมการที่มาประชุมเลือกกรรมการคนหนึ่งเป็นประธานในที่ประชุม”
มาตรา 23 วรรคสาม
“ประธานกรรมการและกรรมการโดยตำแหน่ง
จะมอบหมายบุคคลใดให้มาประชุมแทนไม่ได้”
|
มาตรา 7
ให้ยกเลิกความในวรรคสองและวรรคสามของมาตรา 23 แห่งพระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ
พ.ศ. 2547 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ในการประชุม ก.ต.ช.
ถ้าประธานกรรมการไม่มาหรือไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ให้รองประธานกรรมการเป็นประธานในที่ประชุม
ถ้าประธานกรรมการและรองประธานกรรมการไม่มาประชุมหรือไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ให้กรรมการที่มาประชุมเลือกกรรมการคนหนึ่งเป็นประธานในที่ประชุม
ประธานกรรมการ รองประธานกรรมการและกรรมการโดยตำแหน่ง
จะมอบหมายบุคคลใดให้มาประชุมแทนไม่ได้”
|
มาตรา 33 (ที่ถูกยกเลิก)
กรรมการข้าราชการตำรวจผู้ทรงคุณวุฒิต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา
20 และต้องไม่เป็นข้าราชการหรือกลับเข้ารับราชการ
สำหรับกรรมการข้าราชการตำรวจผู้ทรงคุณวุฒิตามมาตรา 30 (2)(ก)
และต้องไม่เป็นข้าราชการตำรวจ
สำหรับกรรมการข้าราชการตำรวจผู้ทรงคุณวุฒิตามมาตรา 30 (2)(ข)
ในกรณีที่มีปัญหาเกี่ยวกับคุณสมบัติหรือลักษณะต้องห้ามของกรรมการข้าราชการตำรวจผู้ทรงคุณวุฒิ
ให้ ก.ตร. เป็นผู้วินิจฉัย
มาตรา
42 การประชุม ก.ตร. ต้องมีกรรมการข้าราชการตำรวจมาประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมการข้าราชการตำรวจทั้งหมดจึงจะเป็นองค์ประชุม
ในกรณีที่ประธานกรรมการข้าราชการตำรวจไม่อยู่หรือไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้
ให้กรรมการข้าราชการตำรวจที่มาประชุมเลือกกรรมการข้าราชการตำรวจคนหนึ่งเป็นประธานในที่ประชุม
ให้ประธานกรรมการข้าราชการตำรวจเป็นผู้เรียกประชุม
แต่ในกรณีที่กรรมการข้าราชการตำรวจไม่น้อยกว่าหกคนร้องขอให้เรียกประชุมให้ประธานกรรมการข้าราชการตำรวจเรียกประชุมภายในเจ็ดวันนับแต่วันได้รับรองขอ
ให้
ก.ตร. มีอำนาจออกข้อบังคับว่าด้วยการประชุมและการลงมติของ ก.ตร.
และของอนุกรรมการตามมาตรา 31 (9)
|
มาตรา 8 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นมาตรา 33
มาตรา 34 มาตรา 35 มาตรา 36 มาตรา 37 และมาตรา 38
แห่งพระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. 2547
ซึ่งถูกยกเลิกโดยประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 88/2557
เรื่องการแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยตำรวจแห่งชาติลงวันที่ 10 กรกฎาคม
พุทธศักราช 2557
“มาตรา 33
กรรมการข้าราชการตำรวจผู้ทรงคุณวุฒิต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา
20
มาตรา 9 ให้ยกเลิกความในวรรคสองของมาตรา 42
แห่งพระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. 2547 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ในการประชุม ก.ตร. ถ้าประธานกรรมการข้าราชการตำรวจไม่มาประชุมหรือไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้
ให้รองประธานกรรมการข้าราชการตำรวจเป็นประธานในที่ประชุม
ถ้าประธานกรรมการข้าราชการตำรวจและรองประธานกรรมการข้าราชการตำรวจไม่มาประชุมหรือไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ให้กรรมการข้าราชการตำรวจที่มาประชุมเลือกกรรมการข้าราชการตำรวจคนหนึ่งเป็นประธานในที่ประชุม”
|
มาตรา 87
หลักเกณฑ์ วิธีการและระยะเวลาเกี่ยวกับการสืบสวน
และการสอบสวนที่ต้องดำเนินการตามมาตรา 84 และมาตรา 86 ให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎ
ก.ตร.
|
มาตรา 10
ให้ยกเลิกความในวรรคหนึ่งของมาตรา 87 แห่งพระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. 2547 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“มาตรา 87 หลักเกณฑ์ วิธีการและระยะเวลาเกี่ยวกับการพิจารณาในเบื้องต้น การสืบสวนและการสอบสวนที่ต้องดำเนินการตามมาตรา
84 และมาตรา 86 ให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎ ก.ตร.
|
มาตรา 94 ข้าราชการตำรวจผู้ใดถูกสอบสวนในกรณีการกระทำความผิดวินัยอย่างร้ายแรงหรือมีกรณีถูกชี้มูลความผิดตามกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริตไว้แล้ว
แม้ต่อมาข้าราชการตำรวจผู้นั้นจะออกจากราชการไปแล้วก็ให้ทำการสอบสวนต่อไปได้
แต่ต้องดำเนินการสอบสวนให้แล้วเสร็จภายในหนึ่งปีนับแต่วันออกจากราชการ
|
มาตรา 11 ให้ยกเลิกความในมาตรา 94
แห่งพระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. 2547 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“มาตรา 94 ข้าราชการตำรวจผู้ใดถูกสอบสวนในกรณีการกระทำความผิดวินัยอย่างร้ายแรงไว้แล้ว
แม้ต่อมาข้าราชการตำรวจผู้นั้นจะออกจากราชการไปแล้ว ก็ให้ทำการสอบสวนต่อไปได้
แต่ต้องดำเนินการสอบสวนให้แล้วเสร็จภายในหนึ่งปีนับแต่วันออกจากราชการ หากดำเนินการสอบสวนไม่แล้วเสร็จภายในกำหนดระยะเวลาดังกล่าว
ก็ให้ผู้สั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนสั่งขยายระยะเวลาได้ตามความจำเป็นไม่เกินสองครั้ง
โดยแต่ละครั้งจะต้องไม่เกินหกสิบวัน
ข้าราชการตำรวจผู้ใดมีกรณีถูกชี้มูลความผิดตามกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริตหรือกฎหมายว่าด้วยมาตรการของฝ่ายบริหารในการป้องกันและปราบปรามการทุจริตไว้แล้ว
แม่ต่อมาข้าราชการตำรวจผู้นั้นจะออกจากราชการไปแล้ว ก็ให้ดำเนินการตามที่คณะกรรมการ ป.ป.ช.
หรือคณะกรรมการ ป.ป.ท. มีมติต่อไปได้
การดำเนินการทางวินัยแก่ข้าราชการตำรวจตามวรรคหนึ่งและวรรคสอง ให้กระทำได้เสมือนว่าผู้นั้นยังมิได้ออกจากราชการ
เว้นแต่กรณีที่ผลการสอบสวนพิจารณาปรากฏว่าผู้นั้นกระทำผิดวินัยที่จะต้องลงโทษ ภาคทัณฑ์
ทัณฑกรรม กักยามหรือกักขัง ก็ให้งดโทษนั้นเสีย”
|
|
มาตรา
12 กรณีที่ข้าราชการตำรวจผู้ใดถูกสอบสวนในกรณีการกระทำความผิดวินัยอย่างร้ายแรงต่อมาข้าราชการตำรวจผู้นั้นได้ออกจากราชการไปแล้ว
ซึ่งต้องทำการสอบสวนต่อไปให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลาตามกฎหมายที่บังคับใช้อยู่ในขณะนั้นแต่ถ้ายังสอบสวนไม่แล้วเสร็จก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ
ก็ให้ทำการสอบสวนต่อไปให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลาตามกฎหมายเดิม
|
3. เรื่อง ร่างพระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท
พ.ศ. ....
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างพระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท
พ.ศ. .... ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้วตามที่กระทรวงสาธารณสุขเสนอ
และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาอีกครั้งหนึ่ง
แล้วส่งให้คณะกรรมการประสานงานสภานิติบัญญัติแห่งชาติพิจารณาก่อนเสนอสภานิติบัญญัติแห่งชาติต่อไป
สาระสำคัญของร่างพระราชบัญญัติฯ
1.
กำหนดให้ร่างพระราชบัญญัตินี้ไม่ใช้บังคับกับสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา
2.
กำหนดให้รัฐมนตรีโดยคำแนะนำของคณะกรรมการมีอำนาจประกาศกำหนดชื่อและจัดแบ่งประเภทวัตถุออกฤทธิ์
การเพิกถอนหรือเปลี่ยนแปลงชื่อหรือประเภทวัตถุออกฤทธิ์ การควบคุมวัตถุออกฤทธิ์
การกำหนดวัตถุออกฤทธิ์บางประเภทที่ต้องมีการควบคุมเฉพาะ
การกำหนดเพื่อเพิกถอนทะเบียนวัตถุตำรับ การควบคุมปริมาณของวัตถุออกฤทธิ์
ด่านตรวจสอบวัตถุออกฤทธิ์ และการกำหนดหน่วยงานของรัฐ
สถานพยาบาลและกำหนดระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการควบคุมการบำบัดรักษาและระเบียบวินัยสำหรับสถานพยาบาล
3.
กำหนดให้มีคณะกรรมการวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทโดยให้คณะกรรมการมีองค์ประกอบและอำนาจหน้าที่ตามที่กำหนด
4.
กำหนดหลักเกณฑ์ในการขออนุญาตและการออกใบอนุญาตผลิต ขาย
นำเข้าหรือส่งออกวัตถุออกฤทธิ์ในแต่ละประเภท
5.
กำหนดให้ผู้รับอนุญาตและเภสัชกรมีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามที่กฎหมายกำหนด
6.
กำหนดห้ามการผลิต ขาย นำเข้าหรือส่งออกซึ่งวัตถุออกฤทธิ์ปลอม วัตถุออกฤทธิ์ผิดมาตรฐาน
วัตถุออกฤทธิ์เสื่อมคุณภาพ
วัตถุออกฤทธิ์ที่มิได้ขึ้นทะเบียนวัตถุตำรับและวัตถุออกฤทธิ์ที่รัฐมนตรีสั่งเพิกถอนทะเบียนวัตถุตำรับ
และห้ามขายวัตถุออกฤทธิ์โดยจัดเป็นชุดไว้ล่วงหน้า
7.
กำหนดให้ผู้ที่จะผลิตหรือนำเข้าวัตถุตำรับที่มีวัตถุออกฤทธิ์ประเภท 3 หรือประเภท 4
ผสมอยู่ต้องขึ้นทะเบียนวัตถุตำรับ ใบสำคัญการขึ้นทะเบียนวัตถุตำรับมีอายุ 5 ปี
8.
กำหนดห้ามการโฆษณาวัตถุออกฤทธิ์
ยกเว้นในกรณีเป็นฉลากหรือเอกสารกำกับวัตถุออกฤทธิ์ซึ่งอยู่ที่ภาชนะหรือหีบห่อ
และในกรณีเป็นการโฆษณาที่กระทำโดยตรงต่อผู้ประกอบวิชาชีพที่กำหนดซึ่งการโฆษณาต้องได้รับอนุญาตก่อน
9.
กำหนดอำนาจหน้าที่ของพนักงานเจ้าหน้าที่ในการตรวจสอบสถานที่ทำการของผู้รับอนุญาต
ตรวจค้นเคหสถาน บุคคลหรือยานพาหนะ ยึดหรืออายัดวัตถุออกฤทธิ์
นำวัตถุออกฤทธิ์เพื่อเป็นตัวอย่างในการตรวจสอบหรือวิเคราะห์
10.
กำหนดให้ผู้อนุญาตโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการมีอำนาจสั่งพักใช้หรือเพิกถอนใบอนุญาต
11.
กำหนดมาตรการควบคุมพิเศษในการควบคุมวัตถุออกฤทธิ์ เช่น
กำหนดให้วัตถุตำรับที่มีวัตถุออกฤทธิ์ประเภทใดประเภทหนึ่งผสมอยู่
ให้ถือเป็นวัตถุออกฤทธิ์ในประเภทนั้นด้วย ในกรณีที่วัตถุตำรับมีวัตถุออกฤทธิ์ในประเภทต่างกันมากกว่าหนึ่งประเภทผสมอยู่
ให้ถือว่าวัตถุตำรับนั้นเป็นวัตถุออกฤทธิ์ในประเภทที่มีการควบคุมอย่างเข้มงวดที่สุด กำหนดห้ามกรณีมีไว้ในครอบครองหรือใช้ประโยชน์ซึ่งวัตถุออกฤทธิ์ทุกประเภท
เว้นแต่ได้รับอนุญาตกำหนดเรื่องการเสพวัตถุออกฤทธิ์
12.
กำหนดให้การนำเข้าหรือส่งออกวัตถุออกฤทธิ์ นอกจากจะได้รับใบอนุญาตผลิต ขาย
นำเข้าหรือส่งออกแล้ว
ผู้รับอนุญาตจะต้องได้รับใบอนุญาตเฉพาะคราวทุกครั้งที่นำเข้าหรือส่งออกด้วย
และกำหนดหลักเกณฑ์ในการนำเข้า ส่งออก หรือนำผ่านวัตถุออกฤทธิ์ในแต่ละประเภท
13.
กำหนดบทเฉพาะกาลรองรับคำขอ การดำเนินกิจการของผู้รับอนุญาตคณะกรรมการ
และกฎหมายลำดับรองตามพระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ. 2518
เพื่อความต่อเนื่องในการบังคับใช้กฎหมาย
4.
เรื่อง ร่างพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยปริญญาในสาขาวิชา อักษรย่อสำหรับสาขาวิชา
ครุยวิทยฐานะ เข็มวิทยฐานะ และครุยประจำตำแหน่งของมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ
(ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยปริญญาในสาขาวิชา
อักษรย่อสำหรับสาขาวิชา ครุยวิทยฐานะ เข็มวิทยฐานะ และครุยประจำตำแหน่งของมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ
(ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....
ตามที่กระทรวงศึกษาธิการเสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา
แล้วดำเนินการต่อไปได้
สาระสำคัญชองร่างพระราชกฤษฎีกา
กำหนดปริญญาในสาขาวิชา
อักษรย่อสำหรับสาขาวิชาของสาขาวิชารัฐศาสตร์ และสาขาวิชาวิศวกรรมศาสตร์
และกำหนดสีประจำสาขาวิชาดังกล่าว เพิ่มขึ้น
5. เรื่อง
ร่างกฎกระทรวงจัดตั้งส่วนราชการในสถาบันวิทยาลัยชุมชน กระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. ....
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบร่างกฎกระทรวงจัดตั้งส่วนราชการในสถาบันวิทยาลัยชุมชน
กระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. .... ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว
และให้สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีส่งร่างกฎกระทรวงดังกล่าวให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการลงนามและประกาศใน ราชกิจจานุเบกษาต่อไป
สาระสำคัญของร่างกฎกระทรวง
จัดตั้งส่วนราชการในสถาบันวิทยาลัยชุมชน
กระทรวงศึกษาธิการ รวม 21 ส่วนราชการ ดังนี้ 1. สำนักงานสถาบัน 2.
วิทยาลัยชุมชนตราด 3. วิทยาลัยชุมชนตาก 4. วิทยาลัยชุมชนนราธิวาส 5.
วิทยาลัยชุมชนน่าน 6. วิทยาลัยชุมชนบุรีรัมย์ 7. วิทยาลัยชุมชนปัตตานี 8.
วิทยาลัยชุมชนพังงา 9. วิทยาลัยชุมชนพิจิตร 10. วิทยาลัยชุมชนแพร่ 11.
วิทยาลัยชุมชนมุกดาหาร 12. วิทยาลัยชุมชนแม่ฮ่องสอน 13. วิทยาลัยชุมชนยโสธร 14. วิทยาลัยชุมชนยะลา 15.
วิทยาลัยชุมชนระนอง 16. วิทยาลัยชุมชนสงขลา 17. วิทยาลัยชุมชนสตูล 18.
วิทยาลัยชุมชนสมุทรสาคร 19. วิทยาลัยชุมชนสระแก้ว 20.
วิทยาลัยชุมชนหนองบัวลำภู และ 21.
วิทยาลัยชุมชนอุทัยธานี
6. เรื่อง
ร่างกฎกระทรวงกำหนดลักษณะของเหรียญกษาปณ์ที่ระลึก 100 ปี
สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน พ.ศ. ....
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงกำหนดลักษณะของเหรียญกษาปณ์ที่ระลึก
100 ปี สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงการคลัง (กค.) เสนอ
และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วดำเนินการต่อไปได้
กค. เสนอว่า ด้วยสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินได้ขอความร่วมมือ
กค. จัดทำเหรียญกษาปณ์ที่ระลึก 100 ปี สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน ในวันที่ 18
กันยายน 2558 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นที่ระลึก
และน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวที่ทรงโปรดเกล้าฯ
ให้จัดตั้งกรมตรวจเงินแผ่นดิน
เพื่อทำหน้าที่ตรวจตราการรับจ่ายเงินงบประมาณและการคลังให้รัดกุมเกี่ยวกับการเงินของรัฐ
ทั้งนี้ กค.
ได้ขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตจัดทำเหรียญกษาปณ์ที่ระลึกเนื่องในโอกาสดังกล่าวตามแบบที่ทูลเกล้าฯ
ถวาย และได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาตแล้ว
สาระสำคัญของร่างกฎกระทรวง
กำหนดลักษณะของเหรียญกษาปณ์ที่ระลึก
100 ปี สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน ชนิด ราคา โลหะ อัตราเนื้อโลหะ น้ำหนัก ขนาด
อัตราเผื่อเหลือเผื่อขาด ลวดลายและลักษณะอื่น ๆ ของเหรียญกษาปณ์โลหะสีขาว ราคา 20
บาท เพื่อเป็นที่ระลึกเนื่องในโอกาสครบ 100 ปี สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน
เศรษฐกิจ – สังคม
|
7. เรื่อง ขออนุมัติการดำเนินงานและงบประมาณ “โครงการปริญญาเอกกาญจนาภิเษก (คปก.) ระยะที่ 2 (พ.ศ. 2560 - 2579)”
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบในหลักการให้สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.)
ร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติจัดทำแผนให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ
ระยะ 20 ปี
แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 อุตสาหกรรมเป้าหมายของประเทศทั้ง 10
ประเภท และจัดทำแนวทางการประเมินผลในภาพรวมแล้วเสนอคณะกรรมการนโยบายและพัฒนาการศึกษาพิจารณาก่อนนำเสนอคณะรัฐมนตรีต่อไป
8. เรื่อง
ขยายระยะเวลาการจดทะเบียนแรงงานต่างด้าวในกิจการประมงทะเล และกิจการแปรรูปสัตว์น้ำ
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงแรงงาน
(รง.) เสนอดังนี้
1.
เห็นชอบการขยายระยะเวลาการจดทะเบียนแรงงานต่างด้าวสัญชาติเมียนมา ลาว
และกัมพูชา ดังนี้
1.1 กิจการประมงทะเล
(เดิมสิ้นสุดวันที่ 30 มกราคม 2559 ขยายเวลาเป็น
ตั้งแต่วันที่คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบให้ดำเนินการถึงวันที่ 31 กรกฎาคม 2559)
โดยให้อยู่ในประเทศและทำงานได้ถึงวันที่ 31 มกราคม 2560
1.2 กิจการแปรรูปสัตว์น้ำ
(เดิมสิ้นสุดวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2559 ขยายเวลาเป็น
ตั้งแต่วันที่คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบให้ดำเนินการถึงวันที่ 22 สิงหาคม 2559)
โดยให้อยู่ในประเทศและทำงานได้ถึงวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2560
2. เห็นชอบให้กระทรวงแรงงาน
พิจารณาระยะเวลาการผ่อนผันให้แรงงานต่างด้าวอยู่ในราชอาณาจักร
พิจารณาปรับเปลี่ยนวัน เวลา วิธีการ ขั้นตอนการจดทะเบียน
หรือรายละเอียดของการดำเนินการต่างๆ ได้ตามความเหมาะสม
เฉพาะการแก้ไขปัญหาการทำการประมงผิดกฎหมาย ขาดการรายงาน และไร้การควบคุม (IUU) และให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องสนับสนุนการดำเนินการ
โดยหากการปรับเปลี่ยนรายละเอียดดังกล่าวจำเป็นต้องปรับปรุงประกาศกระทรวงมหาดไทย
อนุมัติให้กระทรวงมหาดไทย ดำเนินการออกประกาศกระทรวงมหาดไทย โดยอาศัยอำนาจตามมาตรา
17 แห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 ให้สอดคล้องกับ การดำเนินการ โดยให้กระทรวงแรงงานประสานแจ้งกระทรวงมหาดไทยเพื่อดำเนินการต่อไป
9. เรื่อง
ขอสนับสนุนงบกลางเพื่อดำเนินโครงการตามแผนพัฒนาอาชีพเกษตรกรตามความต้องการของชุมชนเพื่อบรรเทาภัยแล้งปี
2558/59 ระยะที่ 2 ครั้งที่ 1
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติกรอบวงเงินงบประมาณเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายโครงการตามแผนพัฒนาอาชีพเกษตรกรตามความต้องการของชุมชนเพื่อบรรเทาภัยแล้ง
ปี 2558/59 ระยะที่ 2 ครั้งที่ 1 จำนวน 1,814,717,870 บาท
ตามความเห็นของสำนักงบประมาณ โดยใช้จ่ายจากแหล่งเงิน ดังนี้
1.
อนุมัติให้ใช้จากงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2559 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น
จำนวน 1,659,582,470 บาท ให้กรมส่งเสริมการเกษตร เพื่อเป็นค่าใช้จ่าย ดังนี้
(1)
ค่าใช้จ่ายการดำเนินโครงการตามแผนพัฒนาอาชีพเกษตรกรตามความต้องการของชุมชนเพื่อบรรเทาภัยแล้ง
ปี 2558/59 ระยะที่ 2 ครั้งที่ 1 จำนวน 3,135 โครงการ วงเงิน 1,614,043,920 บาท
ประกอบด้วย โครงการปลูกพืชใช้น้ำน้อย จำนวน 408 โครงการ โครงการเกษตรอื่น ๆ จำนวน 1,861
โครงการ โครงการนอกภาคเกษตร จำนวน 866 โครงการ
(2)
ค่าใช้จ่ายบริหารจัดการและส่งเสริมให้ความรู้เกษตรกรของโครงการตามแผนพัฒนาอาชีพเกษตรกรตามความต้องการของชุมชนเพื่อบรรเทาภัยแล้ง
ปี 2558/59 จำนวน 45,538,550 บาท
เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการให้ความรู้แก่เกษตรกรเกี่ยวกับการประกอบอาชีพทางเลือกใหม่ในช่วงฤดูแล้ง
รวมทั้งการปลูกพืชฤดูแล้งที่ใช้น้ำน้อย การทำการเกษตรอื่น ๆ เช่น การทำอาชีพประมง
ปศุสัตว์ และอาชีพนอกภาคการเกษตร
ตลอดจนการสร้างความรู้และความเข้าใจในมาตรการช่วยเหลือเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบจากภัยแล้ง
ปี 2558/59 จำนวน 8 มาตรการ ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 6 ตุลาคม 2558
2.
อนุมัติให้ดำเนินการปรับแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณ ประจำปีงบประมาณ
พ.ศ. 2559 ในวงเงิน 155,135,400 บาท จำแนกเป็นกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จำนวน
66,007,500 บาท และกระทรวงมหาดไทย จำนวน 89,127,900 บาท
เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายบริหารจัดการและส่งเสริมให้ความรู้เกษตรกรของโครงการตามแผนพัฒนาอาชีพเกษตรกรตามความต้องการของชุมชนเพื่อบรรเทาภัยแล้ง
ปี 2558/59
ต่างประเทศ
|
10. เรื่อง
ขออนุมัติร่างเอกสารผลลัพธ์การประชุมคณะกรรมาธิการร่วมว่าด้วยความร่วมมือทางเศรษฐกิจ พาณิชยกรรม อุตสาหกรรม
วิชาการ เกษตรกรรม วิทยาศาสตร์ ไทย-อิหร่าน ครั้งที่ 9
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบและอนุมัติตามที่กระทรวงการต่างประเทศ
(กต.) เสนอ ดังนี้
1.
เห็นชอบร่างเอกสารผลลัพธ์การประชุมคณะกรรมาธิการร่วมว่าด้วยความร่วมมือทางเศรษฐกิจ พาณิชยกรรม อุตสาหกรรม วิชาการ
เกษตรกรรมและวิทยาศาสตร์ ครั้งที่ 9 ระหว่างสาธารณรัฐอิสลามอิหร่านกับราชอาณาจักรไทย
2.
อนุมัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายลงนามในเอกสารผลลัพธ์การประชุมดังกล่าว
3.
หากมีความจำเป็นต้องแก้ไขปรับปรุงร่างเอกสารผลลัพธ์การประชุมฯ
ในส่วนที่จะเป็นประโยชน์ต่อการดำเนินความสัมพันธ์ แต่ไม่ใช่สาระสำคัญหรือกระทบต่อผลประโยชน์ของประเทศไทย
ให้ กต.
และคณะผู้แทนไทยที่เข้าร่วมประชุมดังกล่าวสามารถดำเนินการได้โดยไม่ต้องนำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาอีกครั้ง
ร่างเอกสารผลลัพธ์การประชุมฯ
ดังกล่าวมีสาระสำคัญเกี่ยวกับประเด็นความร่วมมือทวิภาคีที่ทั้งสองประเทศได้ดำเนินการร่วมกันไว้
ประเด็นที่ทั้งสองฝ่ายเห็นพ้องที่จะแก้ไข พัฒนาและ/หรือผลักดันให้เกิดความคืบหน้า
เพื่อประโยชน์ของการดำเนินความสัมพันธ์โดยมีประเด็นหลักที่หยิบยกขึ้นมาหารือระหว่างการประชุมเตรียมการในระดับเจ้าหน้าที่อาวุโส
ได้แก่ ความร่วมมือด้านเศรษฐกิจ การค้า
การลงทุน พลังงาน การท่องเที่ยว วัฒนธรรม การศึกษา วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เป็นต้น
11.
เรื่อง
ความคืบหน้าการสมัครขอรับเป็นเจ้าภาพจัดงาน ITU Telecom
World 2016
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบและเห็นชอบดังนี้
1.
รับทราบความคืบหน้าในการดำเนินการในการสมัครรับเป็นเจ้าภาพจัดงาน
ITU
Telecom
World
2016 ของไทย
รวมถึงกำหนดการและสถานที่ในการจัดงานดังกล่าวระหว่างวันที่ 14-17 พฤศจิกายน 2559 ณ
อิมแพ็ค เมืองทองธานี
2.
เห็นชอบให้กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารขอรับการสนับสนุนงบประมาณจาก
สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง
กิจการโทรทัศน์และกิจโทรคมนาคมแห่งชาติ ในการเป็นเจ้าภาพร่วมจัดงาน ITU Telecom
World 2016 ทั้งนี้
ให้เป็นไปตามกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องของ กสทช.
3.
เห็นชอบให้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการแห่งชาติเพื่อเตรียมการจัดงาน
ITU
Telecom World
2016 โดยมีองค์ประกอบและอำนาจหน้าที่ ตามที่กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเสนอ
สาระสำคัญของเรื่อง
คณะกรรมการแห่งชาติเพื่อเตรียมการจัดงาน
ITU
Telecom World 2016 มีองค์ประกอบและอำนาจหน้าที่ ดังนี้
รองนายกรัฐมนตรี (พลอากาศเอกประจิน จั่นตอง) เป็นประธานกรรมการ
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
และประธานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ
เป็นรองประธานกรรมการ กรรมการประกอบด้วย เลขาธิการนายกรัฐมนตรีหรือผู้แทน ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร หรือผู้แทน ปลัดกระทรวงมหาดไทย หรือผู้แทน
ปลัดกระทรวงการต่างประเทศ หรือผู้แทน ปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
หรือผู้แทน ปลัดกระทรวงการคลัง หรือผู้แทน ปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา
หรือผู้แทน ปลัดกระทรวงคมนาคม
หรือผู้แทน ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม
หรือผู้แทน ปลัดกระทรวงพาณิชย์
หรือผู้แทน ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี
หรือผู้แทน ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ
หรือผู้แทน
เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ หรือผู้แทน
ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ หรือผู้แทน
เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ หรือผู้แทน ผู้ว่าการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย
หรือผู้แทน ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ
(องค์การมหาชน) หรือผู้แทน
นายกสมาคมโทรคมนาคมแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ หรือผู้แทน
นายกสมาคมสมาพันธ์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารแห่งประเทศไทย หรือผู้แทน
นายกสมาคมธุรกิจคอมพิวเตอร์ไทย หรือผู้แทน
นายกสมาคมโรงแรมไทย หรือผู้แทน และประธานสภาอุตสาหกรรม หรือผู้แทน
โดยมีปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเป็นกรรมการและเลขานุการ เลขาธิการคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง
กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนามแห่งชาติ
เป็นกรรมการและเลขานุการร่วม
รองปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
สำนักงานปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
เป็นกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ
รองเลขาธิการคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง
กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ เป็นกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการร่วม
อำนาจหน้าที่
1.
กำหนดนโยบายและแนวทางการเตรียมการจัดงาน
ITU
Telecom World 2016 รวมถึงการ
จัด Thailand
Pavilion และการจัดประชุมที่เกี่ยวเนื่อง
ให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อย เหมาะสมและสร้างความประทับใจให้แก่ผู้เข้าร่วมงาน
2.
วางแผนและกำหนดกรอบแนวทางในการดำเนินการจัดการ
ITU
Telecom World 2016
ภายใต้เงื่อนไขของความตกลงระหว่างรัฐบาลไทยกับสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศในการเป็นเจ้าภาพจัดงาน
ITU
Telecom World 2016
3.
พิจารณาและให้ข้อเสนอแนะ
ตลอดจนข้อคิดเห็นที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานที่ครอบคลุมถึง
เนื้อหาสาระของการจัดงาน
ประมาณการค่าใช้จ่าย และอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
4.
แต่งตั้งคณะอนุกรรมการหรือคณะทำงานเพื่อปฏิบัติงานได้ตามความจำเป็น
5.
ติดตามและประเมินผลการทำงานของอนุกรรมการและคณะทำงานที่เกี่ยวข้อง
และสั่งการให้
ดำเนินการตามที่ได้รับมอบหมาย
6.
ให้รายงานผลการดำเนินงานให้คณะรัฐมนตรีทราบตามความเหมาะสม
12.
เรื่อง การออกกฎกระทรวงกำหนดอัตราค่าธรรมเนียมการตรวจลงตรา
ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน 2558
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงกำหนดอัตราค่าธรรมเนียมการตรวจลงตรา
และค่าธรรมเนียมคำขออนุญาตเพื่ออยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวต่อไปสำหรับคนต่างด้าวสัญชาติเมียนมา
ลาว กัมพูชาและเวียดนาม
ซึ่งเข้ามาเพื่อทำงานในราชอาณาจักรตามบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านการจ้างแรงงาน
หรือได้รับอนุญาตให้เข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษ พ.ศ. ....
ตามที่กระทรวงมหาดไทย (มท.) เสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา
แล้วดำเนินการต่อไปได้
มท. เสนอว่า
ได้ดำเนินการจัดทำร่างกฎกระทรวงตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน 2558
เพื่อบังคับใช้กับแรงงานต่างด้าวสัญชาติเมียนมา ลาว และกัมพูชา
ที่ผ่านการตรวจสัญชาติ หรือพิสูจน์สัญชาติ และแรงงานต่างด้าวสัญชาติเมียนมา ลาว
กัมพูชา และเวียดนาม ที่เข้ามาทำงาน
โดยถูกต้องตามกฎหมาย ตามข้อตกลงว่าด้วยการแรงงานระหว่างรัฐ
ตามนโยบายของรัฐบาลในการแก้ไขปัญหาแรงงานต่างด้าวผิดกฎหมายให้เข้าสู่ระบบ
และส่งเสริมการนำเข้าแรงงานต่างด้าวถูกกฎหมายเสร็จแล้ว จึงได้เสนอร่างกฎกระทรวงดังกล่าวมาเพื่อดำเนินการ
สาระสำคัญของร่างกฎกระทรวง
กำหนดค่าธรรมเนียมสำหรับคนต่างด้าวสัญชาติเมียนมา
ลาว กัมพูชา และเวียดนาม ซึ่งเข้ามาเพื่อทำงานในราชอาณาจักร
ประเภทของการกำหนด
|
อัตราปกติ
|
จำนวนคงเหลือ
|
|
1.
โดยข้อตกลงว่าด้วยความร่วมมือด้านการจ้างแรงงานระหว่างรัฐบาล
|
1.1
การตรวจลงตราประเภทคนอยู่ชั่วคราวใช้ได้ครั้งเดียว
|
2,000
|
500
|
1.2
คำขออนุญาตเพื่ออยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวต่อไป
|
1,900
|
500
|
|
2.
โดยได้รับอนุญาตให้เข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราว เพื่อรอการส่งกลับ
|
2.1
การตรวจลงตราประเภทคนอยู่ชั่วคราวใช้ได้ครั้งเดียว
|
500
|
500
|
2.2
คำขออนุญาตเพื่ออยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวต่อไป
|
500
|
500
|
13.
เรื่อง
ร่างบันทึกความเข้าใจระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐอินเดียว่าด้วยความร่วมมือในการควบคุมยาเสพติด
วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท สารตั้งตันและเคมีภัณฑ์
และการใช้ยาในทางที่ผิด
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบและอนุมัติตามที่กระทรวงยุติธรรม
(ยธ.) เสนอ ดังนี้
1.
เห็นชอบต่อร่างบันทึกความเข้าใจระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่ง
สาธารณรัฐอินเดีย
ว่าด้วยความร่วมมือในการควบคุมยาเสพติดวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท
สารตั้งต้นและเคมีภัณฑ์ และการใช้ยาในทางที่ผิด
2.
อนุมัติให้เลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดในฐานะหัวหน้าหน่วยงาน
กลางด้านยาเสพติดของไทย
เป็นผู้ลงนามในบันทึกความเข้าใจฯ ฝ่ายไทย
3.
มอบหมายให้กระทรวงการต่างประเทศ
จัดทำหนังสือมอบอำนาจเต็ม (Full
Powers) ให้แก่
นายณรงค์
รัตนานุกูล
เลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด เป็นผู้ลงนามในบันทึกความเข้าใจฯ
ดังกล่าว
4.
หากมีความจำเป็นให้สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด
(สำนักงาน
ป.ป.ส.)
ร่วมกับกระทรวงการต่างประเทศ สามารถแก้ไขปรับปรุงถ้อยคำของบันทึกความเข้าใจฯ ได้
เท่าที่ไม่ขัดต่อหลักการและสาระสำคัญที่จะได้รับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีหรือเป็นประโยชน์ต่อประเทศไทย
โดยไม่ต้องนำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาให้ความเห็นชอบอีกครั้ง
สาระสำคัญของร่างบันทึกความเข้าใจฯ
ข้อที่ 1
วัตถุประสงค์ เสริมสร้างความร่วมมือระหว่างคู่ภาคีในการต่อสู้กับการลักลอบปลูกพืชเสพติด
การลักลอบผลิตและการลักลอบค้ายาเสพติด และการใช้ยาในทางที่ผิด
ข้อที่
2 การเคารพในอธิปไตย
-
คู่ภาคีจะปฏิบัติตามข้อตกลงให้สอดคล้องกับหลักการแห่งความเท่าเทียมทางอธิปไตย
การไม่แทรกแซงในกิจการระหว่างประเทศ และเคารพในบูรณภาพแห่งดินแดนของรัฐ
-
คู่ภาคีจะต้องไม่ใช้อำนาจและดำเนินการใด
ๆ ในดินแดนของภาคีอีกฝ่ายที่เป็นอำนาจ
เฉพาะของภาคีอีกฝ่าย
ข้อ
3 ขอบเขตของความร่วมมือ มาตรการด้านการลดอุปสงค์และอุปทานของยาเสพติด
การบำบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติด การตรวจพิสูจน์ยาเสพติด
การแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ทางวิชาการ รวมถึงวิธีปฏิบัติที่ดีที่สุดของทั้งสองประเทศ
ในเรื่อง การควบคุมเคมีภัณฑ์และสารตั้งต้น
และการควบคุมการปลูกพืชฝิ่นอย่างถูกกฎหมายจากฝ่ายอินเดีย และความรู้ด้านการพัฒนาทางเลือกจากฝ่ายไทย
ข้อ
4 การประชุม คู่ภาคีจะจัดให้มีประชุม
เมื่อเห็นว่าจำเป็น เพื่อประสานงานและเสริมสร้าง
ประสิทธิภาพของความร่วมมือ
ข้อ
5 หน่วยงานดำเนินการ
-
ราชอาณาจักรไทย : สำนักงาน ป.ป.ส. ยธ.
-
สาธารณรัฐอินเดีย : สำนักงานควบคุมยาเสพติด กระทรวงมหาดไทย
ข้อ
6 การจัดการทางการเงิน คู่ภาคีแต่ละฝ่ายจะรับผิดชอบค่าใช้จ่ายและรายจ่ายของฝ่ายตน
ข้อ
7 การรักษาความลับ ข้อมูลและเอกสารจะเก็บรักษาเป็นความลับและใช้ตามจุดประสงค์ที่กำหนดโดยคู่ภาคีที่เป็นผู้ให้
และจะไม่ถูกส่งต่อไปยังบุคคลที่สาม
ข้อ
8 ภาษาที่ใช้ ภาษาอังกฤษ
ข้อ
9 การแก้ไข คู่ภาคีอาจทบทวนและแก้ไขเพิ่มเติม
โดยความยินยอมร่วมกันเป็นลายลักษณ์อักษร
ข้อ
10 การระงับข้อพิพาท ข้อขัดแย้งที่เกิดขึ้นตามร่างฯ
นี้ จะได้รับการระงับฉันท์มิตร โดยการปรึกษาหารือและเจรจาระหว่างคู่ภาคี
ข้อ
11 การมีผลบังคับใช้ระยะเวลาและการสิ้นสุด นับจากวันที่ลงนาม
และมีผลบังคับใช้เป็นระยะเวลา 3 ปี
และจะได้รับการต่ออายุโดยอัตโนมัติเป็นระยะเวลาเดียวกัน เว้นแต่ภาคีแจ้งเป็นลายลักษณ์อักษร ที่จะบอกเลิกบันทึกฯ
แต่งตั้ง
|
14. เรื่อง
การแต่งตั้งข้าราชการให้ดำรงตำแหน่งที่ปรึกษาด้านการประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
(นักวิเคราะห์นโยบายและแผนทรงคุณวุฒิ)
(สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ)
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริเสนอแต่งตั้ง
นายปวัตร์ นวะมะรัตน ที่ปรึกษาด้านการประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
(นักวิเคราะห์นโยบายและแผนเชี่ยวชาญ)
สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
ให้ดำรงตำแหน่ง ปรึกษาด้านการประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
(นักวิเคราะห์นโยบายและแผนทรงคุณวุฒิ)
สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
ตั้งแต่วันที่ 21 ตุลาคม 2558 ซึ่งเป็นวันที่มีคุณสมบัติครบถ้วนสมบูรณ์ ทั้งนี้
ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นต้นไป
15. เรื่อง
ขออนุมัติแต่งตั้งกงสุลกิตติมศักดิ์ ณ กรุงคาร์ทูม สาธารณรัฐซูดาน
(กระทรวงการต่างประเทศ)
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงการต่างประเทศเสนอแต่งตั้ง
นายอะห์มัด บาเชียร์ เอลเนอเฟดี (Ahmed Bashir Elnefeidi) เป็นกงสุลกิตติมศักดิ์
ณ กรุงคาร์ทูม สาธารณรัฐซูดาน สืบแทน นายกามาล บาเชียร์ เอลเนอเฟดี (Gamal
Bashir Elnefeidi) ซึ่งถึงแก่กรรม
16. เรื่อง
การแต่งตั้งข้าราชการให้ดำรงตำแหน่งรองเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ
(สำนักนายกรัฐมนตรี)
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติเสนอแต่งตั้ง
นายวีระ อุไรรัตน์ ที่ปรึกษาด้านนโยบายและยุทธศาสตร์ความมั่นคง
(นักวิเคราะห์นโยบายและแผนทรงคุณวุฒิ) สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ ดำรงตำแหน่ง
รองเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ
สำนักนายกรัฐมนตรี ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง
เพื่อทดแทนตำแหน่งที่ว่าง
17. เรื่อง
การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง
(ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้)
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้เสนออนุมัติรับโอน
นายจำนัล เหมือนดำ รองผู้ว่าราชการจังหวัดนราธิวาส สำนักงานปลัดกระทรวง
กระทรวงมหาดไทย และแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง
รองเลขาธิการศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ เพื่อทดแทนตำแหน่งที่ว่าง
ซึ่งกระทรวงมหาดไทยได้ตกลงยินยอมการโอนด้วยแล้ว ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
แต่งตั้งเป็นต้นไป
18.
เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญ (กระทรวงการต่างประเทศ)
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงการต่างประเทศเสนอแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญ
สังกัดกระทรวงการต่างประเทศ ให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง จำนวน 3 ราย
ดังนี้
1. นางสาวพัชนี กิจถาวร
กงสุลใหญ่ สถานกงสุลใหญ่ ณ นครหนานหนิง สาธารณรัฐประชาชนจีน ดำรงตำแหน่ง
เอกอัครราชทูต สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงดิลี สาธารณรัฐประชาธิปไตยติมอร์-เลสเต
2. นายสิงห์ทอง
ลาภพิเศษพันธุ์ รองอธิบดีกรมความร่วมมือระหว่างประเทศ ดำรงตำแหน่ง
อธิบดีกรมเอเชียตะวันออก
3. นายทรงพล สุขจันทร์
กงสุลใหญ่ สถานกงสุลใหญ่ ณ นครชิคาโก สหรัฐอเมริกา ดำรงตำแหน่ง อธิบดีกรมยุโรป
ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
แต่งตั้งเป็นต้นไป เพื่อทดแทนตำแหน่งที่ว่าง ซึ่งการแต่งตั้งเอกอัครราชทูตประจำต่างประเทศตามข้อ
1. ได้รับความเห็นชอบจากประเทศผู้รับ
19.
เรื่อง
การขอปรับปรุงแก้ไของค์ประกอบของคณะกรรมการแห่งชาติในการค้นหาและช่วยเหลืออากาศยานและเรือที่ประสบภัย
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอการปรับปรุงองค์ประกอบของคณะกรรมการแห่งชาติในการค้นหาและช่วยเหลืออากาศยานและเรือที่ประสบภัย
ให้มีความถูกต้อง ครบถ้วน สมบูรณ์ และเป็นปัจจุบัน โดยมีองค์ประกอบ รวม 28 คน
สำหรับอำนาจหน้าที่คงเดิม โดยมีรายละเอียดการแก้ไของค์ประกอบ ดังนี้
1. เปลี่ยน
รองปลัดกระทรวงคมนาคม (หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านการขนส่ง) ประธานกรรมการ เป็น
รองปลัดกระทรวงคมนาคม (ด้านอำนวยการ) ประธานกรรมการ
2. เปลี่ยน
อธิบดีกรมการบินพลเรือน รองประธานกรรมการ เป็น อธิบดีกรมท่าอากาศยาน
รองประธานกรรมการ
3. เพิ่ม ผู้แทนบริษัท
ทีโอที จำกัด (มหาชน) เป็น กรรมการ
4. เพิ่ม ผู้แทนสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย
เป็น กรรมการ
5. เปลี่ยน
ผู้อำนวยการสำนักมาตรฐานการบิน กรมการบินพลเรือน กรรมการและเลขานุการ เป็น
หัวหน้ากลุ่มงานค้นหาและช่วยเหลืออากาศยาน สำนักงานปลัดกระทรวงคมนาคม
กรรมการและเลขานุการ
6. เปลี่ยน
ผู้แทนสำนักกฎหมาย สำนักงานปลัดกระทรวงคมนาคม กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ เป็น
ผู้แทนสำนักกฎหมาย สำนักงานปลัดกระทรวงคมนาคม
7. ยกเลิก
นักวิชาการขนส่งชำนาญการพิเศษ กลุ่มค้นหาและช่วยเหลืออากาศยานและ เรือประสบภัย
กรมการบินพลเรือน กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ
20.
เรื่อง
แต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการบริหารสำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติ
แทนกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ซึ่งพ้นจากตำแหน่งก่อนครบวาระ
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเสนอแต่งตั้ง
นายธงรบ ด่านอำไพ
ให้ดำรงตำแหน่งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการบริหารสำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติ
แทน นายพันธ์ศักดิ์ ศิริรัชตพงษ์ ที่ลาออก ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 2 กุมภาพันธ์
2559 เป็นต้นไป
*****************************
ที่มา ; เว็บ เว็บรัฐบาล
( คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้
( คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้
เตรียมสอบผู้บริหารสถาน+การศึกษา
เตรียมสอบครูผู้ช่วย
เตรียมสอบผู้บริหารสถาน+การศึกษา
เตรียมสอบครูผู้ช่วย
ฟรี... ห้องเตรียม-ครูผู้ช่วย
-ผู้บริหาร-บุคลากรการศึกษา ที่
ฟรี... ห้องเตรียม-ครูผู้ช่วย
-ผู้บริหาร-บุคลากรการศึกษา ที่
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น