เรื่องใหม่น่าสนใจ
-คู่มือ 4 ชุด นโยบาย บริบริหาร ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้
http://academic.obec.go.th/web/node/1/77/govdoc_sec_detail/296
-เกณฑ์ประเมินคุณภาพภายนอกรอบสี่ โดย สมศ.
-เกณฑ์การย้ายครู พ.ศ.2558 http://www.otepc.go.th/images/document/2558/v16-2558.pdf
- พรบ.เงินเดือนใหม่ข้าราชการครูฯ พ.ศ.2558
http://tuewsob.blogspot.com/2015/05/4-10-1-57.html
ข้อสอบออนไลน์ ( พัฒนาความรู้ครู - ผู้บริหาร - บุคลากรการศึกษา) ชุดใหม่ โดย อ.นิกร
ข้อสอบออนไลน์ ( พัฒนาความรู้ครู - ผู้บริหาร - บุคลากรการศึกษา) ชุดใหม่ โดย อ.นิกร
เตรียมสอบ บน ยูทูป ทั้งหมด ได้ที่
'สว.เอี๊ยด' ผู้ต้องหาคดี ม.112 ผูกคอดับ 'ไพบูลย์' สั่งตั้ง กก.สอบด่วน
“สารวัตรเอี๊ยด” ผู้ต้องหาคดี ม.112 ผูกคอในเรือนจำ ไปเสียชีวิตที่ รพ. รายงานให้ รมว.ยธ. แล้ว สั่งตั้ง กก.สอบข้อเท็จจริง โดยด่วน ด้านกรมราชทัณฑ์ แจงผู้ต้องขังเป็นบุคคลที่มีชื่อเสียง อาจมีปัญหาในการปรับตัว...
จากกรณีกระแสข่าวว่า พ.ต.ต.ปรากรม วารุณประภา หรือ “สารวัตรเอี๊ยด” หนึ่งในผู้ต้องหา คดีหมิ่นสถาบันเบื้องสูง ตามประมวลกฎหมายอาญา ม.112 คู่คดี นายสุริยัน สุจริตพลวงศ์ หรือ หมอหยอง และ นายจิรวงศ์ วัฒนเทวาศิลป์ หรือ อาท เลขาฯ คนสนิทหมอหยอง ได้ผูกคอฆ่าตัวตาย ภายในเรือนจำชั่วคราวแขวงถนนนครไชยศรี หรือ มณฑลทหารบกที่ 11 (มทบ.11)
ล่าสุด พล.อ.ไพบูลย์ คุ้มฉายา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ยืนยันว่า ตนได้รับรายงานจาก นายวิทยา สุริยะวงค์ อธิบดีกรมราชทัณฑ์ว่า มีเหตุนักโทษผูกคอในเรือนจำ เมื่อเจ้าหน้าที่พบเห็นจึงเร่งนำตัวส่งโรงพยาบาล ต่อมานักโทษไปเสียชีวิตที่โรงพยาบาล จึงได้สั่งการให้ทำตามระเบียบกรมราชทัณฑ์ โดยตั้งคณะกรรมการสอบข้อเท็จจริง แล้วรายงานผลการสอบสวนอย่างเป็นทางการมายังสำนักงานรัฐมนตรีโดยด่วน
ขณะที่ ร.ต.อ.หญิง สุวนีย์ แสวงผล รองเลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินแห่งชาติ (ปปง.) เปิดเผยว่า ปปง. ได้รับการประสานส่งข้อมูลจากชุดสอบสวนคดีหมิ่นเบื้องสูงแล้ว หลังจากนี้จะต้องพิจารณารายละเอียดว่า มีการแจ้งข้อหากระทำผิดใดบ้าง เข้ามูลฐานความผิดตามกฎหมายฟอกเงิน ที่อยู่ในอำนาจ ปปง. หรือไม่ เนื่องจากมาตรา 112 ยังไม่อยู่ในมูลฐานความผิดตามกฎหมายฟอกเงิน ส่วนข้อหาอาวุธปืนและข้อหาปลอมแปลงเอกสาร ต้องพิจารณาในรายละเอียดพฤติการณ์ให้ครบถ้วนอีกครั้ง เช่น กรณีปลอมแปลงเอกสาร ว่าเป็นไปเพื่อการค้าหรือปกติธุระ มีการใช้บ่อยครั้งเพื่อได้ทรัพย์สิน เบื้องต้น ปปง. จะเร่งตรวจสอบเส้นทางการเงิน ขยายผลถึงผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง
ทั้งนี้ ทรัพย์สินที่ได้จากการกระทำผิด ถือเป็นของกลางในคดีอยู่แล้ว และหากพบส่วนเกี่ยวข้องเพิ่มเติม จะประสานพนักงานสอบสวนดำเนินคดีตามกฎหมายอื่นได้ อย่างไรก็ตาม ในวันที่ 29 ต.ค.นี้ จะมีการประชุมคณะกรรมการธุรกรรม ซึ่งจะเสนอเรื่องดังกล่าวเข้าสู่การพิจารณาของที่ประชุม ว่า ปปง.มีอำนาจดำเนินการยึดและอายัดได้หรือไม่
ส่วนกรณีมีกระแสข่าวว่า พ.ต.ต.ปรากรม ฆ่าตัวตายในเรือนจำนั้น ผลของการเสียชีวิต มีผลให้การดำเนินคดีอาญายุติลง แต่การตรวจสอบทรัพย์สินเป็นการดำเนินการในทางแพ่ง จึงยังต้องดำเนินการต่อไป ไม่มีผลยุติด้วยสาเหตุการเสียชีวิต
มีรายงานว่า กรมราชทัณฑ์ ได้ออกเอกสารเผยแพร่ เรื่อง “ผู้ต้องขังเสียชีวิต” ระบุว่า ได้รับรายงานเมื่อวันที่ 23 ต.ค. 2558 เวลาประมาณ 22.00 น. จากเรือนจำชั่วคราวแขวงถนนนครไชยศรี สังกัดเรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ ว่า ข.ช.ปรากรม วารุณประภา ผู้ต้องขังระหว่างสอบสวนในความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 ซึ่งได้รับตัวไว้ควบคุมตามหมายขังของศาลทหารกรุงเทพ ตั้งแต่วันที่ 21 ตุลาคม 2558 ได้พยายามฆ่าตัวตาย ด้วยการใช้ผ้าจากเสื้อผู้ต้องขังที่ทางเรือนจำจ่ายให้ตามระเบียบ ผูกคอตัวเองกับลูกกรงห้องขัง ภายในเรือนจำชั่วคราวแขวงถนนนครไชยศรี โดยเวรรักษาการณ์กลางคืนในวันดังกล่าวได้ตรวจพบ จึงได้รายงานผู้บังคับบัญชาและเปิดห้องขังเข้าไปให้การช่วยเหลือในทันที
ในเบื้องต้นพบว่า ผู้ต้องขังยังไม่เสียชีวิต จึงได้พยายามใช้เครื่องช่วยหายใจ และให้การปฐมพยาบาล พร้อมกับนำตัวส่งทัณฑสถานโรงพยาบาลราชทัณฑ์ในทันที จนกระทั่งนำตัวส่งถึงทัณฑสถานโรงพยาบาลราชทัณฑ์ และได้รับแจ้งจากแพทย์ในเวลาต่อมาว่า ผู้ต้องขังได้เสียชีวิตแล้ว ข้อเท็จจริงเบื้องต้น มีดังนี้
1. ห้องขังที่เรือนจำชั่วคราว ไม่ใช่ห้องขังเหมือนเรือนจำปกติทั่วไป แต่ใช้อาคารที่ทำการของหน่วยทหาร ซึ่งมีประตูทึบผนังปูน 4 ด้าน ไม่สามารถมองตรวจตราจากภายนอกได้ ต้องเปิดประตูจึงจะมองเห็น ภายในห้องขังมีเครื่องหลับนอนผู้ต้องขัง ใช้ระบบขังเดี่ยว ผู้ต้องขังทั้งหมดไม่มีโอกาสพบกัน
2. การควบคุมผู้ต้องขังเวลากลางคืน จะมีเวรผลัดละ 1 คน คอยเดินตรวจตรา ซึ่งขณะนี้ เรือนจำชั่วคราวมีผู้ต้องขังรวม 5 คน ประกอบกับเป็นวันหยุดราชการ ไม่มีการสอบสวน ผู้ต้องขังถูกขังห้องเพียงลำพัง ไม่มีโอกาสพบคู่คดี จะมีการเดินตรวจเป็นระยะเท่านั้น
3. คดีนี้เป็นคดีสำคัญ ผู้ต้องขังเป็นบุคคลที่มีชื่อเสียง อาจมีปัญหาในการปรับตัว เพราะเพิ่งรับตัวไว้เมื่อวันที่ 21 ต.ค. 2558
สำหรับการเสียชีวิตของผู้ต้องขังในครั้งนี้ เป็นการเสียชีวิตในระหว่างการควบคุมของเจ้าพนักงาน จึงต้องดำเนินการชันสูตรพลิกศพ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา และส่งศพให้สถาบันนิติเวช สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ดำเนินการตามขั้นตอนของกฎหมายต่อไป ทั้งนี้ ในส่วนของเรือนจำพิเศษกรุงเทพมหานคร ได้ดำเนินการแต่งตั้ง คณะกรรมการสอบข้อเท็จจริงในเรื่องดังกล่าวด้วย เพื่อแสวงหาข้อเท็จจริงและรวบรวมพยานหลักฐาน รายงานผู้บังคับบัญชาต่อไป
ที่มา ; เว็บ นสพ.ไทยรัฐ
“สารวัตรเอี๊ยด” ผู้ต้องหาคดี ม.112 ผูกคอในเรือนจำ ไปเสียชีวิตที่ รพ. รายงานให้ รมว.ยธ. แล้ว สั่งตั้ง กก.สอบข้อเท็จจริง โดยด่วน ด้านกรมราชทัณฑ์ แจงผู้ต้องขังเป็นบุคคลที่มีชื่อเสียง อาจมีปัญหาในการปรับตัว...
จากกรณีกระแสข่าวว่า พ.ต.ต.ปรากรม วารุณประภา หรือ “สารวัตรเอี๊ยด” หนึ่งในผู้ต้องหา คดีหมิ่นสถาบันเบื้องสูง ตามประมวลกฎหมายอาญา ม.112 คู่คดี นายสุริยัน สุจริตพลวงศ์ หรือ หมอหยอง และ นายจิรวงศ์ วัฒนเทวาศิลป์ หรือ อาท เลขาฯ คนสนิทหมอหยอง ได้ผูกคอฆ่าตัวตาย ภายในเรือนจำชั่วคราวแขวงถนนนครไชยศรี หรือ มณฑลทหารบกที่ 11 (มทบ.11)
ล่าสุด พล.อ.ไพบูลย์ คุ้มฉายา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ยืนยันว่า ตนได้รับรายงานจาก นายวิทยา สุริยะวงค์ อธิบดีกรมราชทัณฑ์ว่า มีเหตุนักโทษผูกคอในเรือนจำ เมื่อเจ้าหน้าที่พบเห็นจึงเร่งนำตัวส่งโรงพยาบาล ต่อมานักโทษไปเสียชีวิตที่โรงพยาบาล จึงได้สั่งการให้ทำตามระเบียบกรมราชทัณฑ์ โดยตั้งคณะกรรมการสอบข้อเท็จจริง แล้วรายงานผลการสอบสวนอย่างเป็นทางการมายังสำนักงานรัฐมนตรีโดยด่วน
ขณะที่ ร.ต.อ.หญิง สุวนีย์ แสวงผล รองเลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินแห่งชาติ (ปปง.) เปิดเผยว่า ปปง. ได้รับการประสานส่งข้อมูลจากชุดสอบสวนคดีหมิ่นเบื้องสูงแล้ว หลังจากนี้จะต้องพิจารณารายละเอียดว่า มีการแจ้งข้อหากระทำผิดใดบ้าง เข้ามูลฐานความผิดตามกฎหมายฟอกเงิน ที่อยู่ในอำนาจ ปปง. หรือไม่ เนื่องจากมาตรา 112 ยังไม่อยู่ในมูลฐานความผิดตามกฎหมายฟอกเงิน ส่วนข้อหาอาวุธปืนและข้อหาปลอมแปลงเอกสาร ต้องพิจารณาในรายละเอียดพฤติการณ์ให้ครบถ้วนอีกครั้ง เช่น กรณีปลอมแปลงเอกสาร ว่าเป็นไปเพื่อการค้าหรือปกติธุระ มีการใช้บ่อยครั้งเพื่อได้ทรัพย์สิน เบื้องต้น ปปง. จะเร่งตรวจสอบเส้นทางการเงิน ขยายผลถึงผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง
ทั้งนี้ ทรัพย์สินที่ได้จากการกระทำผิด ถือเป็นของกลางในคดีอยู่แล้ว และหากพบส่วนเกี่ยวข้องเพิ่มเติม จะประสานพนักงานสอบสวนดำเนินคดีตามกฎหมายอื่นได้ อย่างไรก็ตาม ในวันที่ 29 ต.ค.นี้ จะมีการประชุมคณะกรรมการธุรกรรม ซึ่งจะเสนอเรื่องดังกล่าวเข้าสู่การพิจารณาของที่ประชุม ว่า ปปง.มีอำนาจดำเนินการยึดและอายัดได้หรือไม่
ส่วนกรณีมีกระแสข่าวว่า พ.ต.ต.ปรากรม ฆ่าตัวตายในเรือนจำนั้น ผลของการเสียชีวิต มีผลให้การดำเนินคดีอาญายุติลง แต่การตรวจสอบทรัพย์สินเป็นการดำเนินการในทางแพ่ง จึงยังต้องดำเนินการต่อไป ไม่มีผลยุติด้วยสาเหตุการเสียชีวิต
ส่วนกรณีมีกระแสข่าวว่า พ.ต.ต.ปรากรม ฆ่าตัวตายในเรือนจำนั้น ผลของการเสียชีวิต มีผลให้การดำเนินคดีอาญายุติลง แต่การตรวจสอบทรัพย์สินเป็นการดำเนินการในทางแพ่ง จึงยังต้องดำเนินการต่อไป ไม่มีผลยุติด้วยสาเหตุการเสียชีวิต
มีรายงานว่า กรมราชทัณฑ์ ได้ออกเอกสารเผยแพร่ เรื่อง “ผู้ต้องขังเสียชีวิต” ระบุว่า ได้รับรายงานเมื่อวันที่ 23 ต.ค. 2558 เวลาประมาณ 22.00 น. จากเรือนจำชั่วคราวแขวงถนนนครไชยศรี สังกัดเรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ ว่า ข.ช.ปรากรม วารุณประภา ผู้ต้องขังระหว่างสอบสวนในความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 ซึ่งได้รับตัวไว้ควบคุมตามหมายขังของศาลทหารกรุงเทพ ตั้งแต่วันที่ 21 ตุลาคม 2558 ได้พยายามฆ่าตัวตาย ด้วยการใช้ผ้าจากเสื้อผู้ต้องขังที่ทางเรือนจำจ่ายให้ตามระเบียบ ผูกคอตัวเองกับลูกกรงห้องขัง ภายในเรือนจำชั่วคราวแขวงถนนนครไชยศรี โดยเวรรักษาการณ์กลางคืนในวันดังกล่าวได้ตรวจพบ จึงได้รายงานผู้บังคับบัญชาและเปิดห้องขังเข้าไปให้การช่วยเหลือในทันที
ในเบื้องต้นพบว่า ผู้ต้องขังยังไม่เสียชีวิต จึงได้พยายามใช้เครื่องช่วยหายใจ และให้การปฐมพยาบาล พร้อมกับนำตัวส่งทัณฑสถานโรงพยาบาลราชทัณฑ์ในทันที จนกระทั่งนำตัวส่งถึงทัณฑสถานโรงพยาบาลราชทัณฑ์ และได้รับแจ้งจากแพทย์ในเวลาต่อมาว่า ผู้ต้องขังได้เสียชีวิตแล้ว ข้อเท็จจริงเบื้องต้น มีดังนี้
1. ห้องขังที่เรือนจำชั่วคราว ไม่ใช่ห้องขังเหมือนเรือนจำปกติทั่วไป แต่ใช้อาคารที่ทำการของหน่วยทหาร ซึ่งมีประตูทึบผนังปูน 4 ด้าน ไม่สามารถมองตรวจตราจากภายนอกได้ ต้องเปิดประตูจึงจะมองเห็น ภายในห้องขังมีเครื่องหลับนอนผู้ต้องขัง ใช้ระบบขังเดี่ยว ผู้ต้องขังทั้งหมดไม่มีโอกาสพบกัน
2. การควบคุมผู้ต้องขังเวลากลางคืน จะมีเวรผลัดละ 1 คน คอยเดินตรวจตรา ซึ่งขณะนี้ เรือนจำชั่วคราวมีผู้ต้องขังรวม 5 คน ประกอบกับเป็นวันหยุดราชการ ไม่มีการสอบสวน ผู้ต้องขังถูกขังห้องเพียงลำพัง ไม่มีโอกาสพบคู่คดี จะมีการเดินตรวจเป็นระยะเท่านั้น
3. คดีนี้เป็นคดีสำคัญ ผู้ต้องขังเป็นบุคคลที่มีชื่อเสียง อาจมีปัญหาในการปรับตัว เพราะเพิ่งรับตัวไว้เมื่อวันที่ 21 ต.ค. 2558
สำหรับการเสียชีวิตของผู้ต้องขังในครั้งนี้ เป็นการเสียชีวิตในระหว่างการควบคุมของเจ้าพนักงาน จึงต้องดำเนินการชันสูตรพลิกศพ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา และส่งศพให้สถาบันนิติเวช สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ดำเนินการตามขั้นตอนของกฎหมายต่อไป ทั้งนี้ ในส่วนของเรือนจำพิเศษกรุงเทพมหานคร ได้ดำเนินการแต่งตั้ง คณะกรรมการสอบข้อเท็จจริงในเรื่องดังกล่าวด้วย เพื่อแสวงหาข้อเท็จจริงและรวบรวมพยานหลักฐาน รายงานผู้บังคับบัญชาต่อไป
ที่มา ; เว็บ นสพ.ไทยรัฐ
ฟรี... ห้องเตรียม-ครูผู้ช่วย
-ผู้บริหาร-บุคลากรการศึกษา ที่
ฟรี... ห้องเตรียม-ครูผู้ช่วย
-ผู้บริหาร-บุคลากรการศึกษา ที่
" ติวสอบดอทคอม " โดย อ.นิกร
เว็บฟรีข้อสอบออนไลน์
(พัฒนาความรู้เตรียมครู-ผู้บริหาร-บุคลากร การศึกษา)
" ติวสอบดอทคอม " โดย อ.นิกร
เว็บฟรีข้อสอบออนไลน์
(พัฒนาความรู้เตรียมครู-ผู้บริหาร-บุคลากร การศึกษา)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น