หน้าหลัก ติวสอบดอทคอม เว็บฟรีข้อสอบออนไลน์

หน้าหลัก ติวสอบดอทคอม เว็บฟรีข้อสอบออนไลน์
หน้าหลัก ติวสอบดอทคอม เว็บฟรีข้อสอบออนไลน์

พัฒนาความรู้ สู่ รอง./ผอ.รร. ปี 2567

พัฒนาความรู้ สู่ รอง./ผอ.รร. ปี 2567
พัฒนาความรู้ สู่ รอง./ผอ.รร. ปี 2567

คลิ๊ก "สมัครพัฒนาความรู้สู่ผู้บริหาร / ครูผู้ช่วย

คลิ๊ก... สมัคร พัฒนาความรู้ สู่ ครูผู้ช่วย
คลิ๊ก... สมัคร พัฒนาความรู้ สู่ ผู้บริหาร

ติวสอบดอทคอม (เตรียมสอบครูผู้ช่วย-ผู้บริหาร-บุคลากร การศึกษา)

ติวสอบดอทคอม (เตรียมสอบครูผู้ช่วย-ผู้บริหาร-บุคลากร การศึกษา)
ติวสอบดอทคอม (เว็บฟรีข้อสอบออนไลน์ สอบครู ผู้บริหาร บุคลากร)

วันจันทร์ที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2558

5ป.ป.ช.ใหม่ลอยลำ-ตามคาด

เรื่องใหม่น่าสนใจ 

-คู่มือ 4 ชุด นโยบาย บริบริหาร ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้

http://academic.obec.go.th/web/node/1/77/govdoc_sec_detail/296

-เกณฑ์ประเมินคุณภาพภายนอกรอบสี่ โดย สมศ.
-เกณฑ์การย้ายครู พ.ศ.2558  http://www.otepc.go.th/images/document/2558/v16-2558.pdf

- พรบ.เงินเดือนใหม่ข้าราชการครูฯ พ.ศ.2558  

http://tuewsob.blogspot.com/2015/05/4-10-1-57.html


              ข้อสอบออนไลน์ ( พัฒนาความรู้ครู - ผู้บริหาร - บุคลากรการศึกษาชุดใหม่  โดย  อ.นิกร


 เตรียมสอบ บน ยูทูป ทั้งหมด ได้ที่

 ติวสอบ บน ยูทูป

 คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้   
เตรียมสอบผู้บริหารสถาน+การศึกษา 

5ป.ป.ช.ใหม่ลอยลำ-ตามคาด



‘วิทยา-สุวณา’ได้เลยวัชรพล2รอบ-ศาล4พลเอกหืดจับ7รอบยธ.เรียกสสส.ชี้แจง
“นุรักษ์” นั่งหัวโต๊ะ กก.สรรหาตัดเชือกเคาะเลือก 5 ป.ป.ช.ใหม่ มีหลากหลายทุกสาย “วิทยา” คว้าแต้มสูงสุด 4 คะแนน รอบเดียวจบ เช่นเดียวกับ “สุวณา” ที่ได้ 3 คะแนน ขณะที่ “บุณยวัจน์” โหวต 7 รอบเสียงได้เสียงครบ 2 ใน 3 เบียดเข้าป้าย “วิษณุ” โต้ไม่มีตั๋วเด็กเส้น ขณะที่อดีตรองเลขาธิการนายกฯฝ่ายการเมืองไม่หวั่นถูกมองล็อกเก้าอี้ “ทินพันธุ์” ถก สปท.นัดแรก ตั้ง 25 กมธ. ยกร่างข้อบังคับฯ “อลงกรณ์” ปัดข่าวคลาดเคลื่อน สปท.เล็งตั้ง กก.ปรองดอง กรธ.ยำใหม่ร่าง รธน.หมวดเสรีภาพ สั้น-ไม่ต้องตีความ ใส่มาตรา 25/1 เรื่องใด รธน.-ก.ม.อื่นไม่ห้ามทำได้ มาตรา 25/2 กำหนดเกณฑ์ข้อห้าม ต้องระบุเหตุผล ป้องกันเลือกปฏิบัติ “ประพันธ์” จ่อโยนถามชาวบ้านเลือกที่มา ส.ส.-ส.ว. “ธีรชัย” มอบนโยบายเข้มหน่วยขึ้นตรง ลั่นทหารไม่ออกนอกแถว ไม่แทรกแซงการเมือง
จากกรณีที่มีกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) 5 คน จากทั้งหมด 9 คน พ้นวาระเนื่องจากดำรงตำแหน่งครบ 9 ปีเมื่อวันที่ 21 ก.ย.58 ล่าสุดคณะกรรมการสรรหากรรมการ ป.ป.ช. ที่มีนายนุรักษ์ มาประณีต ประธานศาลรัฐธรรมนูญ เป็นประธานการประชุมได้ลงมติคัดเลือกเรียบร้อยแล้ว

“พรเพชร” ชี้สเปก ป.ป.ช.คนดี–ซื่อสัตย์
เมื่อเวลา 09.45 น.วันที่ 19 ต.ค.ที่รัฐสภา นายพรเพชร วิชิตชลชัย ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) กล่าวถึงการสรรหากรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) แทนกรรมการ ป.ป.ช.เดิม ที่จะหมดวาระไป 5 คนว่า คณะกรรมการสรรหาจะเริ่มประชุมบ่ายวันที่ 19 ต.ค. บุคคลที่เหมาะสมจะเป็นกรรมการ ป.ป.ช. ต้องเป็นที่ประจักษ์เรื่องความซื่อสัตย์ มีประวัติการทำงานดี มีผลงานเป็นประโยชน์ต่อชาติ และมีความมุ่งมั่นตั้งใจในการปฏิบัติหน้าที่ ป.ป.ช.อย่างแท้จริง แต่ยังไม่แน่ใจว่าจะได้รายชื่อครบทั้งหมดภายในวันที่ 19 ต.ค.หรือไม่ เพราะกรรมการสรรหามีอยู่ 4 คน จากทั้งหมดต้องมี 5 คน เพราะว่างเว้นตำแหน่งประธานศาลปกครอง ตนทำการบ้านหาประวัติและความสัมพันธ์ส่วนตัวของผู้สมัครที่เข้ารับการสรรหาแล้ว เชื่อว่าจะมีผู้เหมาะสมดีพอ
“วิษณุ” ปัดไม่มีเด็กฝากคุณขอมา
นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะกรรมการสรรหากรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ป.ป.ช.กล่าวก่อนประชุมสรรหาถึง กระแสข่าวเด็กฝากว่า ไม่รู้ เพราะไม่ได้มาฝากตน คนที่เข้ามาคุยไม่ได้เป็นผู้มีบารมี หรือมีอิทธิพลอะไร แค่เข้ามาถามถึงพรรคพวกที่มาสมัคร เพราะเรียนวปอ.รุ่นเดียวกัน ไม่ได้มีความหมายอะไร เพราะมีหลักเกณฑ์อยู่แล้วต้องซื่อสัตย์สุจริตเป็นที่ประจักษ์ ดูชื่อเสียงเกียรติภูมิในอดีต คำนึงสุขภาพ ที่ต้องอยู่ในตำแหน่งอีกยาวนาน ที่สำคัญต้องเลือกให้เกิดความหลากหลายสาขาอาชีพ ต้องดูว่ากรรมการ ป.ป.ช.ที่เหลืออยู่มีความรู้ความสามารถด้านไหน ไม่ซ้ำซ้อนทางหนึ่งทางใดมากเกินไป เมื่อถามว่า ควรมีตำรวจเข้าไปบ้างหรือไม่ นายวิษณุกล่าวว่า ป.ป.ช.มีหน้าที่สอบสวนด้วย
กก.สรรหาตัดเชือกเลือก 5 ป.ป.ช.
ต่อมาเวลา 13.30 น. ที่รัฐสภา มีการประชุมคณะกรรมการสรรหากรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) จำนวน 4 คน ประกอบด้วยนายวีระพล ตั้งสุวรรณ ประธานศาลฎีกา นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี นายพรเพชร วิชิตชลชัย ประธาน สนช. โดยมีนายนุรักษ์ มาประณีต ประธานศาลรัฐธรรมนูญ ทำหน้าที่ประธานการประชุม เพื่อพิจารณาเลือกผู้สมควรได้รับเสนอชื่อเป็นกรรมการ ป.ป.ช.จำนวน 5 คน จากผู้เข้ารับการสรรหา 59 คน มาทำหน้าที่แทนกรรมการ ป.ป.ช.ชุดเดิม 5 คน จากกรรมการ ป.ป.ช.ทั้งหมด 9 คน ได้แก่ นายปานเทพ กล้าณรงค์ราญ นายวิชา มหาคุณ นายวิชัย วิวิตเสวี นายภักดี โพธิศิริ และนายประสาท พงษ์ศิวาภัย ที่พ้นวาระการดำรงตำแหน่งครบ 9 ปี ไปเมื่อวันที่ 21 ก.ย.58 โดยผู้ได้รับการคัดเลือกจะต้องได้คะแนนเสียงไม่น้อยกว่า 2 ใน 3 ของจำนวนกรรมการสรรหาทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ หรือ 3 คะแนน
“สุวณา–วิทยา–วัชรพล” ลอยลำ
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่ประชุมคณะกรรมการสรรหาฯใช้เวลา 1.30 ชั่วโมง จึงมีมติเลือกนายวิทยา อาคมพิทักษ์ อดีตกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน นางสุวณา สุวรรณจูฑะ ปลัดกระทรวงยุติธรรม พล.ต.อ.วัชรพล ประสารราชกิจ อดีตรอง ผบ.ตร. นายสุรศักดิ์ คีรีวิเชียร อดีตอธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญากรุงเทพใต้ และ พล.อ.บุณยวัจน์ เครือหงส์ อดีต ผอ.สำนักตรวจสอบ ภายในกองทัพบก เป็นผู้ได้รับการเสนอชื่อเป็นกรรมการป.ป.ช. หลังจากนี้คณะกรรมการสรรหาฯจะนำรายชื่อผู้ได้รับการเสนอชื่อทั้ง 5 คน เสนอต่อประธาน สนช. เพื่อให้ที่ประชุม สนช.ลงมติให้ความเห็นชอบต่อไป ทั้งนี้นางสุวณา สุวรรณจูฑะ ตัวเต็งที่จะได้รับเลือก ที่ประชุมลงมติเพียงรอบเดียว ได้คะแนน 2 ใน 3 คือ 3 คะแนน ส่วนนายวิทยา อาคมพิทักษ์ ที่ประชุมลงมติเพียงรอบเดียวเช่นกันได้คะแนนเติมมากกว่า 2 ใน 3 โดยได้คะแนนสูงสุด 4 คะแนน ขณะที่ พล.ต.อ.วัชรพล ประสารราชกิจ ซึ่งเป็นตัวเต็งอีกคนหนึ่ง ที่ประชุมลงมติ 2 รอบ จึงได้คะแนนเสียงครบ 2 ใน 3 ตามเกณฑ์
“บุณยวัจน์” ต้องลุ้นโหวต 7 รอบ
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ขณะที่การลงคะแนนเลือกสำหรับคนที่เหลือเป็นไปอย่างเข้มข้นขึ้น บางคนต้องมีการลงคะแนนกันหลายรอบ จึงได้คะแนนเสียง 2 ใน 3 หรือ 3 คะแนน โดยเฉพาะ พล.อ.บุณยวัจน์ เครือหงส์ ที่ประชุมคณะกรรมการสรรหาฯต้องพิจารณาลงคะแนนถึง 7 รอบ จึงได้คะแนน 2 ใน 3 โดยทำคะแนนขับเคี่ยวมากับนายชำนาญ รวิวรรณพงษ์ อดีตประธานศาลอุทธรณ์ภาค 9 และนางชุติมาบุณยประภัศร ปลัดกระทรวงพาณิชย์ ก่อนที่ พล.อ.บุณยวัจน์จะเบียดทำคะแนนชนะไปในรอบที่ 7 ขณะที่นายสุรศักดิ์ คีรีวิเชียร ต้องลงคะแนน 4 รอบ จึงได้คะแนน 2 ใน 3
“วัชรพล” ไม่หวั่นถูกมองล็อกเก้าอี้
พล.ต.อ.วัชรพล ประสารราชกิจ อดีตรองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีและ รมว.กลาโหม กล่าวภายหลังคณะกรรมการสรรหากรรมการ ป.ป.ช.มีมติเลือกให้เป็นผู้ได้รับการเสนอชื่อให้เป็นกรรมการป.ป.ช.ว่า ได้รับทราบข่าวแล้ว มีคนส่งข่าวมาให้ตน ก็ต้องขอขอบคุณ เมื่อถามว่า จากเคยเป็นรองเลขาธิการนายกรัฐมนตรี เป็นข้าราชการการเมืองมาก่อน หวั่นถูกมองว่าล็อกตำแหน่งหรือไม่ พล.ต.อ.วัชรพล กล่าวว่า ตนว่าเรื่องนี้กรรมการสรรหาพิจารณาดีแล้ว พิจารณาในทุกประเด็น โดยเฉพาะเรื่องของคุณสมบัติความเหมาะสม เมื่อถามว่ามองว่าความเป็นตำรวจช่วยงาน ป.ป.ช.ได้อย่างไรบ้าง พล.ต.อ.วัชรพล ตอบว่า เรื่องนี้ขอให้กระบวนการเสร็จสิ้นก่อน เพราะยังต้องส่งให้ สนช.พิจารณาต่ออีก และเมื่อ สนช.เห็นชอบแล้ว ก็ต้องรอนำเรื่องขึ้นทูลเกล้าฯ ยังอีกหลายขั้นตอน
ปลัด ยธ.รอไฟเขียวผ่านด่าน สนช.
นางสุวณา สุวรรณจูฑะ ปลัดกระทรวงยุติธรรม กล่าวว่า ยินดีหากได้รับการคัดเลือก เป็น 1 ใน 5 ป.ป.ช. แต่ยังต้องผ่านขั้นตอนคณะกรรมการสรรหานำรายชื่อผู้ได้รับการเสนอชื่อทั้ง 5 คน เสนอต่อประธาน สนช. เพื่อให้ที่ประชุม สนช.ให้ความเห็นชอบต่อไป หากไม่ผ่านการพิจารณา จะต้องสรรหาจนครบทั้ง 5 คน กระทั่งผ่านความเห็นชอบของ สนช.ให้ครบ จึงเสนอชื่อโปรดเกล้าฯ ตามขั้นตอน ต้องรอการโปรดเกล้าฯ หากได้รับการพิจารณารับเลือก จำเป็นต้องลาออกจากตำแหน่งปลัดกระทรวงยุติธรรม พล.อ.ไพบูลย์ คุ้มฉายา รมว.ยุติธรรม ไม่ได้ขัดข้องอะไร ยินดีให้ทำเพื่อชาติบ้านเมือง และตั้งใจจะทำเพื่อชาติบ้านเมืองให้ดีที่สุด
ไร้ ขรก.สภาฯแต่งดำท้วงคำสั่ง คสช.
อีกเรื่อง ผู้สื่อข่าวรายงานจากรัฐสภาว่า หลังจากที่มีการประกาศราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่คำสั่งหัวหน้า คสช.ที่ 38/2558 ช่วงกลางดึกวันที่ 18 ต.ค. เรื่องการยกเลิกการแต่งตั้งนายนัฑ ผาสุข ที่ปรึกษากฎหมาย สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา มาดำรงตำแหน่งเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ตามคำสั่งหัวหน้า คสช.เมื่อวันที่ 15 ต.ค. ทำให้บรรยากาศที่รัฐสภาเมื่อวันที่ 19 ต.ค. เป็นไปด้วยความเรียบร้อย ไม่มีข้าราชการสภาฯแต่งชุดดำมาทำงานที่รัฐสภา เพื่อแสดงความไม่พอใจกรณีการแต่งตั้งนายนัฑเป็นเลขาธิการสภาฯ ข้ามหน่วยงานจากสำนักงานเลขาธิการวุฒิสภามายังสำนักงานเลขาธิการสภาฯ โดยยังเหลืออายุราชการ 7 ปี ปิดเส้นทางเติบโตของข้าราชการสังกัดสภาผู้แทนราษฎร และรวมตัวให้กำลังใจส่งนายจเร พันธุ์เปรื่อง อดีตเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ไปเป็นที่ปรึกษาประจำสำนักนายกรัฐมนตรีตามที่เป็นข่าวมาก่อนหน้านี้
“พรเพชร” เคลียร์กลางดึกยุติปมร้อน
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ช่วงค่ำวันที่ 18 ต.ค.ก่อนจะมีประกาศราชกิจจานุเบกษา เรื่องคำสั่งหัวหน้า คสช. 37/2558 ออกมา นายพรเพชร วิชิตชลชัย ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ในฐานะประธานรัฐสภา ได้ส่งข้อความมาในไลน์ห้องสมาชิก สนช. ระบุเป็นสารจากประธานรัฐสภา มีข้อความว่าหลังจากคสช.มีคำสั่งให้นายจเร พันธุ์เปรื่อง พ้นจากตำแหน่งเลขาธิการสภาฯ และให้นายนัฑ ผาสุข ไปดำรงตำแหน่งแทน จนมีการแสดงความไม่เห็นด้วยว่า เป็นการแต่งตั้งบุคคลจากคนละสภามาดำรงตำแหน่ง เป็นการขัดขวางความเจริญก้าวหน้าของบุคลากร ขณะนี้รัฐสภากำลังทำหน้าที่สำคัญนำประเทศไปตามโรดแม็ปแม่น้ำ 3 สาย ไม่อยากเห็นความขัดแย้งของบุคลากร จึงเชิญผู้เกี่ยวข้อง รวมทั้งนายนัฑมาหารือ ทุกคนไม่อยากเห็นบรรยากาศเป็นอุปสรรคต่อความราบรื่นในการทำงาน จึงนำความกราบเรียนนายกฯในฐานะหัวหน้า คสช. เพื่อปรับปรุงแก้ไขคำสั่งดังกล่าวบางประการคือ จะยังไม่มีการแต่งตั้งตำแหน่งเลขาธิการสภาฯ แต่จะเป็นการรักษาราชการแทนให้ติดตามข่าวจากราชกิจจานุเบกษาต่อไป
รับดัน “นัฑ” ลืมดูผลกระทบข้ามฝั่ง
ช่วงเช้าที่รัฐสภา นายพรเพชร พิชิตชลชัย ประธาน สนช.แถลงถึงการแต่งตั้งผู้ดำรงตำแหน่งเลขาธิการสภาฯ แทนนายจเร พันธุ์เปรื่องว่า ยอมรับว่าเป็นผู้เสนอให้แต่งตั้งนายนัฑ ผาสุข ที่ปรึกษาด้านกฎหมาย สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา ให้ไปดำรงตำแหน่งเลขาธิการสภาฯแทน เพราะคิดว่าเหมาะสม แต่ไม่ได้คิดถึงผลกระทบจากการย้ายข้าราชการข้ามฝั่งว่าจะเกิดมีปฏิกิริยาตามมา ที่สุดแล้วได้ปรึกษากับนายกฯ จึงเป็นที่มาของคำสั่ง คสช.ที่ 38/2558 ให้นายนัฑกลับไปดำรงตำแหน่งเดิม และให้นางจันทร์เพ็ญ อานามวัฒน์ รองเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร อาวุโสสูงสุด รักษาการเลขาธิการสภาฯแทน ไปจนกว่าจะเสร็จสิ้นกระบวนการสรรหาคนใหม่
แจงเหตุย้าย “จเร” สอบโกงสภาฯอืด
นายพรเพชรกล่าวต่อว่า ส่วนมูลเหตุที่ทำให้นายจเร พันธุ์เปรื่อง พ้นจากตำแหน่งเลขาธิการสภาฯ เนื่องจากได้รับการร้องเรียนปัญหาการก่อสร้างรัฐสภาแห่งใหม่ว่า ล่าช้าจนเสียหาย เช่น ปัญหาที่บริษัทซิโน-ไทย ผู้รับเหมาก่อสร้างร้องเรียนว่า การส่งมอบที่ดินโรงเรียนโยธินบูรณะล่าช้าไปถึง 4 เดือน ด้วยความบกพร่องของเจ้าหน้าที่สภาฯ
โอนเงินไปเข้าบัญชีอื่นแทนบัญชีโรงเรียนเพื่อเตรียมการย้ายพื้นที่ รวมถึงได้รับการร้องเรียนทุจริตภายในสำนักงานเลขาธิการสภาฯก่อนหน้านี้ ทั้งการซื้อนาฬิกาดิจิตอล ตู้น้ำดื่ม การก่อสร้างต่างๆ ที่การตรวจสอบอย่างล่าช้า ขณะนี้อยู่ระหว่างรอผลการทำงานของคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงเรื่องที่เกิดขึ้น เฉพาะกรณีการสร้างรัฐสภาใหม่จะมีนางวรารัตน์ อติแพทย์ เลขาธิการวุฒิสภา เป็นประธาน

“จเร” รายงานตัวตำแหน่งใหม่
ขณะที่เวลา 08.30 น. ที่สำนักปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี (สปน.) ทำเนียบรัฐบาล นายจเร พันธุ์เปรื่อง ที่ปรึกษาประจำสำนักนายกฯ เดินทางเข้ารายงานตัวกับ พล.ต.อ.เอก อังสนานนท์ ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี โดยนายจเรให้สัมภาษณ์ทางโทรศัพท์เพียงสั้นๆว่า วันนี้มาเป็นข้าราชการในสังกัดสำนักนายกฯแล้ว พร้อมปฏิบัติหน้าที่ตามที่ได้รับมอบหมาย ด้าน พล.ต.อ.เอก กล่าวว่า ยังไม่มีการมอบหมายงานให้กับนายจเร ต้องรอหนังสือแต่งตั้งอย่างเป็นทางการก่อน เป็นเพียงการเข้ามารายงานตัวหลังมีคำสั่งเท่านั้น
“ทินพันธุ์” ไหว้สิ่งศักดิ์สิทธิ์เอาฤกษ์
เมื่อเวลา 09.00 น. ที่รัฐสภา ร.อ.ทินพันธุ์ นาคะตะ ประธานสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ (สปท.) พร้อมนายอลงกรณ์ พลบุตร รองประธานสปท.คนที่ 1 และ น.ส.วลัยรัตน์ ศรีอรุณ รองประธานสปท.คนที่ 2 เข้าสักการะพระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 และพระสยามเทวาธิราช ที่ประดิษฐานอยู่บริเวณหน้ารัฐสภา เพื่อความเป็นสิริมงคลในการทำงาน หลังเสร็จพิธี ร.อ.ทินพันธุ์ปฏิเสธให้สัมภาษณ์ใดๆ ต่อสื่อมวลชน ก่อนเดินไปร่วมประชุม สปท.ต่อไป
ตั้ง 25 กมธ.ยกร่างข้อบังคับ สปท.
ต่อมาเวลา 09.30 น. มีการประชุม สปท. มี ร.อ.ทินพันธุ์ทำหน้าที่ประธานการประชุมนัดแรก หลังจากได้รับเลือกเป็นประธาน สปท. โดยที่ประชุมพิจารณาหารือแนวทางการทำงาน และเห็นชอบให้มีการประชุม สปท.สัปดาห์ละ 2 วัน คือ วันจันทร์ และวันอังคาร เริ่มตั้งแต่เวลา 09.30 น. เป็นต้นไป จากนั้นที่ประชุมให้ความเห็นชอบตั้งคณะกรรมาธิการยกร่างข้อบังคับการประชุม จำนวน 25 คน อาทิ นายเสรี สุวรรณภานนท์ นายวันชัย สอนศิริ นายวิทยา แก้วภราดัย นายสุชน ชาลีเครือ พล.อ.เลิศรัตน์ รัตนวานิช กำหนดกรอบเวลาทำงานให้แล้วเสร็จภายใน 15 วัน โดยวางแนวทางการร่างข้อบังคับว่า ควรกำหนดแนวทางให้สานต่องานจากสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) และกำหนดให้มีกรรมาธิการปฏิรูปอย่างน้อย 11 ด้านตามที่รัฐธรรมนูญชั่วคราวปี 2557 กำหนดไว้ ตลอดจนให้มีคณะติดตามการร่างรัฐธรรมนูญของ กรธ.ด้วย ซึ่งบรรยากาศการประชุมเป็นไปอย่างราบรื่น จากนั้น ร.อ.ทินพันธุ์ได้สั่งปิดประชุมเวลา 13.30 น. พร้อมนัดประชุมครั้งต่อไปในวันที่ 20 ต.ค. เวลา 09.30 น.

เลือก “เสรี” ปธ.กมธ.–“นรรัตน์” รั้งเลขาฯ
จากนั้นเวลา 14.00 น. มีการประชุมคณะกมธ.ยกร่างข้อบังคับการประชุม สปท.สภานัดแรก เพื่อเลือกตำแหน่งต่างๆ โดยมีมติเลือกนายเสรี สุวรรณภานนท์ เป็นประธาน นายอโณทัย ฤทธิปัญญาวงศ์ เป็นรองประธาน คนที่ 1 พล.อ.จิระ โกมุทพงศ์ เป็นรองประธาน คนที่ 2 นางนรรัตน์ พิมเสน เป็น เลขานุการ นายจุมพล สุขมั่น เป็นผู้ช่วยเลขานุการ คุณหญิงพรทิพย์ โรจนสุนันท์ เป็นโฆษก พล.อ.เลิศรัตน์ รัตนวานิช เป็นประธานที่ปรึกษา นัดประชุมครั้งต่อไปวันที่ 21-22 ต.ค. เวลา 09.30 น. เบื้องต้น จะนำข้อบังคับการประชุม สปช.เป็นต้นแบบ ส่วนคณะ กมธ.สามัญประจำ สปท. เบื้องต้นคาดว่าจะมี 11 คณะแต่ไม่เกิน 18 คณะ เหมือน สปช. เนื่องจากสมาชิก สปท.200 คน ต้องการให้สมาชิกได้ทำงานการปฏิรูปอย่างทั่วถึงและเป็นรูปธรรมชัดเจน
ปัด สปท.เอาแน่ตั้ง กก.ปรองดอง
นายอลงกรณ์ พลบุตร รองประธาน สปท. คนที่หนึ่ง แถลงถึงกรณีที่มีข่าว สปท.จะตั้งคณะกรรมการเกี่ยวกับการปรองดองว่า เป็นความเข้าใจคลาดเคลื่อน ขณะนี้ สปท.ยังไม่มีแนวคิดดังกล่าว ยอมรับว่าการสร้างความปรองดองเป็นสิ่งสำคัญ ไม่แพ้การขับเคลื่อนการปฏิรูป แต่ สปท.จะตั้งคณะกรรมการศึกษาแนวทางการสร้างความปรองดอง เหมือนที่สภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) เคยตั้งหรือไม่ ต้องรอการพิจารณาก่อน แม้ สปท.ไม่เกี่ยวข้องกับ กรธ.โดยตรง แต่ สปท.ทำงานใกล้ชิดกับ กรธ. เพื่อผลักดันให้เกิดการขับเคลื่อนปฏิรูป ด้วยการออกกฎหมายลูกหรือกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญที่เกี่ยวข้อง ต้องรอเห็นร่างรัฐธรรมนูญแรกก่อน สปท.จึงหารือแสดงความคิดเห็นส่งให้ กรธ. ส่วนจะตั้ง กมธ.รวบรวมความเห็นสมาชิกต่อการร่างรัฐธรรมนูญหรือไม่ ขึ้นอยู่กับนโยบายของประธาน สปท.
กรธ.ยำหมวดเสรีภาพสั้น–เข้าใจง่าย
เมื่อเวลา 13.40 น. ที่รัฐสภา นายมีชัย ฤชุพันธุ์ ประธานคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) ให้สัมภาษณ์ก่อนการประชุมว่า กำลังร่างหมวดสิทธิเสรีภาพปวงชนชาวไทย หาวิธีเขียนใหม่ให้สั้นกระชับเข้าใจง่าย ขณะนี้อนุกรรมการรับฟังความคิดเห็นกำลังรวบรวมความเห็นประชาชนที่ส่งเข้ามาแล้วแยกแยะ ว่าอยู่ในส่วนใด มาตราใดบ้าง บางข้อเสนอใช้ได้ บางข้อเสนอไปไกลรุนแรง เราคงไม่อาจทำตามได้ แต่ขอให้ประชาชนเสนอเข้ามาอย่ากังวล เพราะบางข้อเสนอจุดประกายให้ กรธ.คิดสิ่งใหม่ได้ การกำหนดเนื้อหาเรื่องสิทธิเสรีภาพ กรธ.จะกลับตาลปัตร เขียนให้ชัดเจนว่าถ้าสิ่งใดที่กฎหมาย หรือรัฐธรรมนูญไม่ได้ห้ามไว้ถือว่าทำได้หมด เช่น เรื่องใดสุ่มเสี่ยงจะกระทบสิทธิประชาชน เราจะเขียนเงื่อนไขไว้ ไม่ต้องไปตีความกันวุ่นวาย
สร้างสมดุลอำนาจองค์กรอิสระ
เมื่อถามถึงการรับฟังความคิดเห็นจากองค์กรอิสระ นายมีชัยกล่าวว่า ต้องระวังว่าหากจะเพิ่มอำนาจตามที่องค์กรเหล่านี้ขอทั้งหมด วันหน้าจะมีอำนาจทับซ้อน ทะเลาะกันเองได้ จึงต้องสร้างสมดุล กรธ.กังวลเรื่องทำอย่างไรให้ประชาชนมั่นใจในความเที่ยงธรรม หากทำได้จะไม่มีปัญหาว่าเลือกที่รักมักที่ชังอย่างที่ผ่านมา เมื่อถามอีกว่า มีแนวโน้มจะยุบหรือตั้งองค์ใดหรือไม่ นายมีชัยกล่าวว่า เรื่องยุบไม่มีการพูดถึง อะไรที่ประชาชนคุ้นเคยแล้วก็ไม่ควรยุ่ง แต่ต้องหาวิธีการได้มากำหนดการทำงานให้มีความเชื่อมั่น ยอมรับ
รับลูกชงตัดสิทธิคนโกงตลอดชีพ
เมื่อถามถึงกรณีที่นายธานินทร์ กรัยวิเชียร องคมนตรี เสนอแนะให้ตัดสิทธินักการเมืองทุจริตตลอดชีวิต นายมีชัยตอบว่า ขอบคุณ ถือเป็นเจตนาดีห่วงใยบ้านเมือง ข้อเสนอลักษณะดังกล่าว กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญชั่วคราว มาตรา 35 อยู่แล้ว เป็นสิ่ง ที่ทุกคนเห็นร่วมกันว่าเป็นปัญหา เราจะพยายาม แต่จะได้แค่ไหนก็ขึ้นอยู่กับสติปัญญาของเรา
เขียนชัดอะไรทำไม่ได้เพราะเหตุใด
ต่อมาเวลา 15.00 น. นายอมร วาณิชวิวัฒน์ โฆษกกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) แถลงถึงความคืบหน้าการร่างรัฐธรรมนูญของ กรธ.ว่า สำหรับการพิจารณาในหมวด 3 สิทธิ เสรีภาพของบุคคล มีสาระสำคัญที่กำหนดขึ้นเพิ่มเติมคือ มาตรา 25/1 เรื่องใดที่ไม่ได้ถูกจำกัดไว้ในรัฐธรรมนูญหรือกฎหมายอื่นๆ ประชาชนย่อมมีสิทธิเสรีภาพที่จะกระทำได้ แต่ต้องไม่กระทบต่อความมั่นคง ความสงบเรียบร้อย รวมถึงไม่ละเมิดสิทธิเสรีภาพของบุคคลอื่น และมาตรา 25/2 มีหลักการเพื่อให้การบัญญัติกฎหมายในการจำกัดสิทธิเสรีภาพ ต้องระบุเหตุผลความจำเป็นของการจำกัดสิทธิเสรีภาพไว้ด้วย เพื่อให้ทราบถึงการเลือกปฏิบัติที่ไม่เป็นธรรม โดยตรงนี้เรายังไม่ได้ลงรายละเอียดว่าอย่างไร จะดูรายละเอียดอย่างระมัดระวังอีกครั้ง ในหมวดนี้ ยืนยันว่าไม่มีการบัญญัติ สิทธิ เสรีภาพลดน้อยลงกว่าฉบับนายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ แน่นอน ร่างของเราไม่ได้นิยามแต่ละคำไว้เหมือนของนายบวรศักดิ์ แต่ดูรายละเอียดต่างๆจากสาระสำคัญ เพราะหากเราบัญญัติรายละเอียดมากจะทำให้การร่างรัฐธรรมนูญยืดยาว ส่วนเรื่องการร่างเจตนารมณ์ไม่ได้มีเขียนไว้ แต่จะดูจากบันทึกการประชุมที่ผ่านมา สามารถแทนกันได้
จ่อถาม ปชช.โมเดลที่มา ส.ส.–ส.ว.
นายประพันธ์ นัยโกวิท กรธ. ในฐานะประธานอนุกรรมการศึกษาโครงสร้างฝ่ายนิติบัญญัติ กล่าวว่า ขณะนี้ทางอนุกรรมการฯอยู่ระหว่างการพิจารณาตั้งคำถามเพื่อนำไปให้ประชาชนแสดงความเห็น ผ่านสำนักงานสำรวจความคิดเห็น อาทิ ที่มาและจำนวน ส.ส. ระบบเลือกตั้ง หน้าที่และที่มาของ ส.ว. คาดว่าก่อนสิ้นเดือน ต.ค. จะได้รูปแบบคำถามที่จะออกไปสำรวจความเห็นและเมื่อได้รับผลสำรวจแล้วทางอนุกรรมการฯจะเสนอ กรธ.ให้พิจารณาเพื่อประกอบการเขียนรายมาตราต่อไป
เชิญ “สมบัติ” ให้ข้อมูลโครงสร้างบริหาร
นายศุภชัย ยาวะประภาษ กรธ.ในฐานะอนุกรรมการศึกษาโครงสร้างฝ่ายบริหาร กล่าวว่า ขณะนี้อยู่ระหว่างการเก็บรวบรวมข้อมูลจากส่วนต่างๆมาประกอบการพิจารณาศึกษา ก่อนหน้านี้ ได้เชิญอาจารย์ผู้เคยทำงานวิจัยเรื่องการได้มาซึ่งฝ่ายบริหารที่เป็นอิสระจากฝ่ายนิติบัญญัติ มานำเสนอผลการวิจัยให้รับทราบและร่วมแสดงความคิดเห็น ขณะเดียวกันที่ประชุมหารือกันว่าน่าจะเชิญนายสมบัติ ธำรงธัญวงศ์ อดีต สปช. มาให้ข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องนี้ด้วย เนื่องจากนายสมบัติเคยเป็นประธาน กมธ.ปฏิรูปการเมืองและเคยศึกษาโครงสร้างฝ่ายบริหาร เบื้องต้นทราบว่านายสมบัติ ยินดีมาพูดคุยและหารือกับอนุกรรมการฯ ส่วนจะเป็นวันและเวลาใดต้องรอดูกันอีกครั้งหนึ่ง เราพยายามฟังจากทุกฝ่ายเพื่อดูว่าจะมีข้อเสนอใด รูปแบบใดบ้าง แต่ละแบบมีจุดแข็งและจุดอ่อนอย่างไรบ้าง และสิ่งใดเหมาะสมกับสังคมไทยทั้งในปัจจุบันและอีก 5 ปีหรือ 10 ปีข้างหน้า จากนั้นจะนำเอาโมเดลเหล่านี้ไปสอบถามความคิดเห็นจากประชาชนด้วยว่ามีความคิดเห็นอย่างไรต่อไป
“นรชิต” พบคณะทูตแจงกรอบร่าง รธน.
เมื่อเวลา 10.00 น. ที่กระทรวงการต่างประเทศ นายนรชิต สิงหเสนี กรรมการร่างรัฐธรรมนูญ ในฐานะโฆษก กรธ.บรรยายสรุปความคืบหน้าในการร่างรัฐธรรมนูญให้แก่ผู้แทนสถานเอกอัครราชทูตจากประเทศต่างๆ 50 คน ในจำนวนนี้เป็นเอกอัครราชทูต 7 ประเทศ และ 9 องค์การระหว่างประเทศ จากนั้นนายนรชิตแถลงว่า ได้บรรยายสรุปถึงกรอบการร่างรัฐธรรมนูญ 5 ข้อ จาก คสช. และเนื้อหาสาระมาตรา 35 ของรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว พร้อมกับยืนยันกรอบเวลาการร่างฯใน 6 เดือน ส่วนคำถามจากผู้รับฟังว่าร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้คนไทยจะได้เห็นเร็วที่สุดเมื่อไรนั้น ตนชี้แจงว่าเนื้อหาของร่างฯ จะสื่อออกมาเป็นระยะเพื่อรับฟังเสียงสะท้อน แต่ร่างแรกของร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้จะเห็นใน 120 วัน คือ ม.ค.2559

4 องค์กรขอหลักประกันสกัดแทรกสื่อ
เมื่อเวลา 11.45 น. ที่รัฐสภา ตัวแทน 4 องค์กรวิชาชีพสื่อมวลชน คือ สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย สภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ สมาคมนักข่าวและโทรทัศน์ไทย และสภาวิชาชีพข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย นำโดยนายเทพชัย หย่อง ยื่นข้อเสนอแนะการร่างรัฐธรรมนูญต่อนายมีชัย ฤชุพันธุ์ ประธาน กรธ.ผ่านนายธิติพันธุ์ เชื้อบุญชัย กรธ.และประธานอนุ กมธ.รับฟังความคิดเห็นในการร่างรัฐธรรมนูญ โดย 1.ขอให้รัฐธรรมนูญต้องมีหลักประกันเรื่องเสรีภาพการแสดงความคิดเห็น การพูด การเขียน การพิมพ์ การโฆษณา และการสื่อความหมายโดยวิธีอื่น ทั้งต้องมีบทบัญญัติป้องกันการแทรกแซงสื่อมวลชน อาทิ ห้ามการสั่งปิดกิจการสื่อ การห้ามสื่อเสนอข่าวหรือแสดงความคิดเห็นทั้งหมดหรือบางส่วน ห้ามผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองเป็นเจ้าของกิจการหรือถือหุ้นในกิจการสื่อสารมวลชน หนังสือพิมพ์ วิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ หรือโทรคมนาคม 2.รัฐธรรมนูญต้องมีบทบัญญัติรับรองเสรีภาพของพนักงานหรือลูกจ้างของเอกชน รวมทั้งข้าราชการ พนักงาน หรือลูกจ้างของหน่วยงานราชการ หน่วยงานของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจที่ประกอบกิจการสื่อมวลชน 3.รัฐธรรมนูญต้องกำหนดให้คลื่นความถี่เป็นทรัพยากรสื่อสารของชาติ เพื่อประโยชน์สาธารณะ และให้มีองค์กรของรัฐที่เป็นอิสระ ทำหน้าที่จัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการ ให้ชุมชนท้องถิ่นเข้าถึง มีส่วนร่วมการดำเนินการสื่อมวลชนสาธารณะ
คสช.ส่ง นศท.แจงชุมชนร่าง รธน.
เมื่อเวลา 08.30 น.ที่กองบัญชาการกองทัพบก (บก.ทบ.) พล.อ.ธีรชัย นาควานิช ผบ.ทบ.ในฐานะเลขาธิการ คสช.เป็นประธานการประชุมสำนักเลขาธิการ คสช. โดย พ.อ.หญิงศิริจันทร์ งาทอง รองโฆษก คสช.กล่าวว่า เลขาธิการ คสช.สั่งการกองกำลังรักษาความสงบเรียบร้อย (กกล.รส.) ให้ข้อมูล สร้างการรับรู้ให้ประชาชนถึงระดับหมู่บ้าน ในลักษณะคณะทำงานร่วมกันของ กกล.รส. ศูนย์ปรองดองสมานฉันท์เพื่อการปฏิรูป (ศปป.) ศูนย์ดำรงธรรมและฝ่ายปกครอง โดยให้ความสำคัญอบรมนักศึกษาวิชาทหาร (นศท.) ให้เข้าใจในพื้นฐานกระบวนการและเนื้อหาร่างรัฐธรรมนูญ เพื่อนำไปชี้แจงให้กับครอบครัวและชุมชนอย่างถูกต้องต่อไป โดยสั่งการให้ทุกส่วนของ คสช.เร่งดำเนินการ อาทิ หน่วยบัญชาการรักษาดินแดน (นรด.) อบรมครูฝึก นศท.ช่วงเดือน ต.ค.-พ.ย.58 ให้มีความรู้เรื่องการจัดทำร่างรัฐธรรมนูญ จากนั้นช่วง ธ.ค.58-มี.ค.59 จะอบรม นศท.
กองทัพไทยตั้งกองสงครามไซเบอร์
เวลา 10.00 น.ที่กองบัญชาการกองทัพไทย ถนนแจ้งวัฒนะ พล.อ.สมหมาย เกาฏีระ ผบ.ทหารสูงสุด เป็นประธานการประชุม ผบ.เหล่าทัพครั้งที่ 1/2559 โดยมี พล.อ.ธีรชัย นาควานิช ผบ.ทบ. พล.ร.อ.ณะ อารีนิจ ผบ.ทร. พล.อ.อ.ตรีทศ สนแจ้ง ผบ.ทอ. พล.ต.อ.จักรทิพย์ ชัยจินดา ผบ.ตร.พร้อมคณะนายทหารชั้นผู้ใหญ่ร่วมประชุม โดย พล.อ.สมหมายกล่าวว่า กองทัพมีแผนยุทธศาสตร์ 5 ปีและทำแผนยุทธศาสตร์ 20 ปี ให้สอดคล้องกับนโยบายรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกฯ และหัวหน้า คสช. คือ 1.การถวายความจงรักภักดีและปกป้องสถาบันพระมหากษัตริย์ 2.การป้องกันประเทศรักษาผลประโยชน์ของชาติ 3.การพัฒนาประเทศช่วยเหลือประชาชนและการบรรเทาสาธารณภัย ไม่ว่าจะเกิดขึ้นภายในหรือต่างประเทศ รวมถึงเน้นย้ำเรื่องสงครามทางไซเบอร์ ที่ทวีความรุนแรงเพิ่มขึ้น กองทัพจึงตั้งกองสงครามไซเบอร์และจัดทำยุทธศาสตร์ไซเบอร์ของกองทัพขึ้น
เหล่าทัพหนุนเต็มสูบรัฐบาล–คสช.
เมื่อถามว่า ทหารเป็นกลไกของรัฐบาลและ คสช.มองทิศทางการปรองดองของคนในชาติอย่างไร พล.อ.สมหมายกล่าวว่า ต่อไปจะมีคณะกรรมการยุทธศาสตร์การปฏิรูปและการปรองดองแห่งชาติ (คปป.) เพื่อสร้างการปรองดองของคนในชาติ ขอให้ทุกคนอยู่กันอย่างสันติสุข มีความรักต่อกันและภารกิจปกป้องสถาบันกษัตริย์ เพราะเป็นภารกิจหลักที่กองทัพและทหารต้องกระทำโดยเข้มงวดตลอดเวลา เมื่อถามถึงจุดยืนกองทัพกับรัฐบาลเป็นอย่างไร เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับประชาชน พล.อ.สมหมายกล่าวว่า เราจะให้ความสนับสนุน ให้ความร่วมมือ พร้อมทั้งปฏิบัติงานตามคำสั่งและนโยบายของรัฐบาลและ คสช.รวมทั้ง รมว.กลาโหม
“บิ๊กหมู” ลั่นทหารไม่ออกนอกแถว
ช่วงบ่าย ที่ บก.ทบ. พล.อ.ธีรชัย นาควานิช ผบ.ทบ.เป็นประธานการประชุมผู้บังคับหน่วยขึ้นตรงกองทัพบก (นขต.ทบ.) ระดับกองพันทั่วประเทศครั้งแรก โดย พล.อ.ธีรชัยกล่าวว่า ได้เชิญผู้บังคับหน่วยระดับ ผบ.พัน. มาทำความเข้าใจถึงแนวทางการปฏิบัติงาน เน้นย้ำให้กำลังพลดูแลประชาชนและต้องตอบสนองนโยบายรัฐบาล โดยเฉพาะการสร้างความปรองดองที่ให้ กกล.รส.ทำงานสอดคล้องกับ ศปป.ร่วมกับศูนย์ดำรงธรรมระดับจังหวัดและอำเภอ โดยให้หน่วยทหารพัฒนาและ กกล.รส.ในพื้นที่ดูแลอิทธิพลอำนาจมืด
เมื่อถามว่า สถานการณ์ปัจจุบันรัฐบาลและ คสช.จะสร้างความมั่นใจให้ประชาชนได้หรือไม่ พล.อ.ธีรชัยกล่าวว่า ทหารจะไม่ออกนอกแถวและไม่ออกมาแทรกแซงทางการเมือง ยืนยันว่ากองทัพบก กองทัพไทยจะทำทุกอย่างทุกวิถีทางให้บ้านเมืองสงบปราศจากอิทธิพลอำนาจมืด สร้างความปรองดอง จะทำทุกวิถีทางให้บ้านเมืองอยู่ในภาวะสงบเรียบร้อยเพื่อให้ประชาชนมีความเป็นอยู่ที่ดีทั้งชีวิตและทรัพย์สิน เมื่อถามว่ากังวลเรื่องการร่างรัฐธรรมนูญหรือไม่ พล.อ.ธีรชัยกล่าวว่า รัฐธรรมนูญที่กำลังร่างยึดประชาชนเป็นหลัก จึงไม่ต้องห่วง เป็นหน้าที่ของ กกล.รส.ทำความเข้าใจกับประชาชนทั้งประเทศ ส่วนกลุ่มมวลชนต่างๆเป็นคนที่มีปัญหาไม่อยากให้บ้านเมืองสงบ
ศอตช.เรียก สสส.แจงสัปดาห์หน้า
ที่กระทรวงยุติธรรม พล.อ.ไพบูลย์ คุ้มฉายา รมว.ยุติธรรม ในฐานะประธานศูนย์อำนวยการต่อต้านการทุจริตแห่งชาติ (ศอตช.) ประชุมร่วมกับผู้แทนจากสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) คณะกรรมการติดตามและตรวจสอบการใช้จ่ายงบประมาณภาครัฐ (คตร.) คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ (ป.ป.ท.) และ ป.ป.ช.เพื่อพิจารณาตรวจสอบการใช้งบประมาณของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) จากนั้น พล.อ.ไพบูลย์เปิดเผยว่า คตร.และ สตง.รายงานผลสอบสรุปได้ 3 ประเด็นคือ 1.พบมีการใช้จ่ายงบประมาณไม่เป็นไปตามระเบียบการใช้จ่ายงบประมาณแผ่นดิน 2.เมื่อไม่เป็นไปตามระเบียบ ต้องมีคนรับผิดชอบ 3.ต้องแก้ไขระเบียบและกฎหมาย ศอตช.จะเชิญผู้บริหาร สสส.มาชี้แจงสัปดาห์หน้า ส่วนจะเข้าข่ายทุจริตหรือไม่ ยังไม่ขอตอบ จะรู้ถึงบุคคลที่สามทันที ต้องให้ความเป็นธรรม สสส. ต้องสอบเครือข่ายที่ได้รับงบฯ สสส. ถ้าถึงใครดำเนินการหมด คนอย่างไพบูลย์เอาจริง แต่ไม่อยากให้โยงว่าการตรวจสอบ สสส.เกี่ยวกับการให้งบฯ ศูนย์ข่าวอิศราที่เสนอข่าวตรวจสอบรัฐบาล จะมองว่ากลั่นแกล้ง ถูกผิดว่าตามหลักฐาน หลังตรวจสอบจะให้ คตร.และ สตง.ชี้แจงสื่อมวลชน
“วิลาศ” ฉะทีมรองผู้ว่าฯ กทม.ไม่โปร่งใส
นายวิลาศ จันทร์พิทักษ์ อดีต ส.ส.กทม.พรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงกรณีความไม่ชอบมาพากลในการบริหารงานของกรุงเทพมหานคร (กทม.) และการใช้งบประมาณดูงานต่างประเทศไม่เหมาะสมว่า หลังจากแถลงข่าวความไม่โปร่งใสในการบริหารงานของรองผู้ว่าฯ กทม.คนหนึ่งที่ให้บริษัทของคนสนิทมาประมูลงานสร้างสวนสาธารณะเฉลิมพระเกียรติใต้ทางด่วน ช่วงตัดถนนราชพฤกษ์กับถนนรัชดาฯ เขตธนบุรี มูลค่า 71 ล้านบาท ในสัญญาต้องสร้างอัฒจันทร์เชียร์กีฬาด้วย แต่บริษัทที่ประมูลได้กลับไม่ก่อสร้างอัฒจันทร์ แต่จะมาเรียกเก็บค่าสร้างเต็มจำนวนจากเขต ซ้ำผู้บริหารใน กทม.เรียกเจ้าหน้าที่เขตไปสั่งลักษณะบังคับกลายๆว่า “ทำไม ไม่เอาหูไปนา เอาตาไปไร่ ทำงานอย่างนี้สร้างไม่เสร็จเสียที” ล่าสุดครบกำหนดสัญญาไปหลายเดือนแล้ว แต่ยังตกลงค่าปรับงานล่าช้าไม่ได้ ที่ผ่านมารองผู้ว่าฯ กทม.คนหนึ่งมีพฤติกรรมช่วยเหลือบริษัทรายนี้มาตลอด มีการก่อสร้างเพิ่มหรือลดเนื้องานจากสัญญาหลัก จนสร้างเสร็จไปแล้ว แต่กลับไม่ทำสัญญาแก้ไขเพิ่มเติมผิดปกติ จึงต้องร้องต่อ ป.ป.ช.และ ปปง.ให้ตรวจสอบ
“ชุมพล” โบ้ยไม่ได้ผลาญงบทัวร์นอก
ด้านนายชุมพล สำเภาพล รองผู้ว่าฯ กทม.กล่าวถึงกรณีที่นายวิลาศระบุก่อนหน้านี้ว่า มีรองผู้ว่าฯ กทม.รายหนึ่งเดินทางไปต่างประเทศทุกเดือน และมีการแต่งตั้งโยกย้ายหวังผลประโยชน์ว่า ไม่อยากเกี่ยวกับเรื่องนี้ เพราะนายวิลาศไม่ได้ระบุว่าเป็นรองผู้ว่าฯ กทม.คนไหน และไม่ทราบว่าหมายถึงใคร เพราะไม่ได้เดินทางไปต่างประเทศทุกเดือน ไปราชการเพียงปีละครั้ง เพราะไม่ถนัดภาษาอังกฤษ ส่วนการใช้จ่ายงบประมาณมีระเบียบขั้นตอนชัดเจนอยู่แล้ว ไม่สามารถเบิกจ่ายส่วนตัวได้ ขณะที่การแต่งตั้งโยกย้ายข้าราชการ เป็นหน้าที่ของผู้ว่าฯ กทม.พิจารณาตำแหน่งระดับสูง ตำแหน่งรองจากนั้นเป็นอำนาจของปลัด กทม. ตนไม่สามารถดำเนินการได้ เช่นเดียวกับการจัดซื้อรถดูดไขมัน จัดซื้อมานานแล้วช่วงผู้ว่าฯ สุขุมพันธุ์ สมัยที่ 1 หากสำนักงานเขตจำเป็นต้องจัดซื้อก็ดำเนินการได้เอง ส่วนหนังสือเวียนให้เขตสำรวจเพื่อจัดซื้อเพิ่มไม่ทราบเรื่อง
“อมร” โยนส่งไม่รู้หมายถึงใคร
ขณะที่นายอมร กิจเชวงกุล รองผู้ว่าฯ กทม. กล่าวว่า ตนเพิ่งเดินทางกลับมาจากประเทศฝรั่งเศส เมื่อช่วงต้นเดือน ต.ค.ที่ผ่านมาจริง เพื่อร่วมการประชุมหุ่นกระบอกโลก นำตัวแทนประเทศไทยไปจัดแสดงเผยแพร่วัฒนธรรมไทยและส่งเสริมภาพลักษณ์การท่องเที่ยว เพราะกำกับดูแลสำนักวัฒนธรรม กีฬาและการท่องเที่ยว ส่วนการเดินทางไปต่างประเทศไม่ได้ไปบ่อยครั้ง ไปครั้งนี้ห่างจากครั้งแล้วกว่า 8 เดือน สำหรับการแต่งตั้งโยกย้ายข้าราชการ กทม.ก็ไม่ได้อยู่ในอำนาจหน้าที่ของตน ส่วนที่มีการระบุถึงสำนักงานเขตบางกอกใหญ่ ก็ไม่ได้กำกับดูแลเขตดังกล่าว เช่นเดียวกับกรณีขอซื้อรถดูดไขมันก็ไม่ได้อยู่ในความรับผิดชอบของหน่วยงานที่ตนกำกับดูแล และไม่ทราบเช่นกันว่าหมายถึงรองผู้ว่าฯ กทม.คนใด

 ที่มา ; เว็บ นสพ.ไทยรัฐ

 คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้   
เตรียมสอบผู้บริหารสถาน+การศึกษา 

ฟรี... ห้องเตรียม-ครูผู้ช่วย
-ผู้บริหาร-บุคลากรการศึกษา  ที่ 

" ติวสอบดอทคอม "  โดย อ.นิกร 

เว็บฟรีข้อสอบออนไลน์
(พัฒนาความรู้เตรียมครู-ผู้บริหาร-บุคลากร การศึกษา)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

พัฒนาความรู้ครูผู้ช่วย 4 ภาค

พัฒนาความรู้ครูผู้ช่วย 4 ภาค
พัฒนาความรู้ครูผู้ช่วย 4 ภาค

ห้องสนทนา บน facebook

ห้องสนทนา บน facebook
ห้องสนทนาติวสอบดอทคอม

ข้อสอบออนไลน์ "ติวสอบดอทคอม" ชุดใหม่

คู่มือเตรียมสอบผู้บริหาร ภาค ก ข ค

แจ้งย้ายเว็บไปที่ www.tuewsob.com

คู่มือเตรียมสอบผู้บริหาร ภาค ก ข ค (ปรับปรุงใหม่)

รวม เล่ม + แผ่นพับ + ชีตช่วยจำ + DVD เนื้อหา + เสียงบรรยาย + EMS = 800 บาท
สนใจ คู่มือ ภาค ก ข ค ผู้บริหาร คลิ๊กเลย

สั่งจอง... โอนเงินเข้าชื่อบัญชี นายนิกร เพ็งลี ธนาคารกรุงไทย สาขาจอหอ บัญชีเลขที่ 341-1-38912-5 โอนเงินแล้วกรุณาโทรแจ้ง
0872494141 หรือ 0839660030

คู่มือ เตรียมสอบผู้บริหาร

คู่มือ เตรียมสอบผู้บริหาร
คู่มือ เตรียมสอบผู้บริหาร

ติวสอบออนไลน์ บน facebook

ติวสอบออนไลน์ บน facebook
ติวสอบออนไลน์ บน facebook

คลังหนังสือ ติวสอบดอทคอม

คลังหนังสือ ติวสอบดอทคอม
คลังหนังสือ ติวสอบดอทคอม

ติวสอบดอทคอม

ติวสอบดอทคอม
ติวสอบดอทคอม