เรื่องใหม่น่าสนใจ
-นโยบาย ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้
http://tuewsob.blogspot.com/2015/09/blog-post_93.html
-เกณฑ์การย้ายครู พ.ศ.2558 http://www.otepc.go.th/images/document/2558/v16-2558.pdf
-รัฐธรรมนูญ 2557 แก้ไข ครั้งที่ 1 พ.ศ.2558
- พรบ.เงินเดือนใหม่ข้าราชการครูฯ พ.ศ.2558
http://tuewsob.blogspot.com/2015/05/4-10-1-57.html
ข้อสอบออนไลน์ ( พัฒนาความรู้ครู - ผู้บริหาร - บุคลากรการศึกษา) ชุดใหม่ โดย อ.นิกร
ข้อสอบออนไลน์ ( พัฒนาความรู้ครู - ผู้บริหาร - บุคลากรการศึกษา) ชุดใหม่ โดย อ.นิกร
เตรียมสอบ บน ยูทูป ทั้งหมด ได้ที่
ข่าวสำนักงานรัฐมนตรี 346/2558 ความก้าวหน้าการผลิตกำลังคนด้านอาชีวะ
ศึกษาธิการ – พลเอกดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานการประชุมเลขานุการ คณะอนุกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชนเพื่อพัฒนากำลังคนอาชีวศึกษา (อ.กรอ.อศ.) ครั้งที่ 1/2558 เมื่อวันจันทร์ที่ 12 ตุลาคม 2558 ณ ห้องประชุมราชวัลลภ
รมว.ศึกษาธิการ เปิดเผยกับสื่อมวลชนว่า การประชุมครั้งนี้เป็นการติดตามงานด้านข้อมูลความต้องการกำลังคนระดับอาชีวะในด้านต่างๆ ของภาคเอกชน ซึ่งที่ประชุมได้รับทราบผลการสำรวจข้อมูลความต้องการและการผลิตกำลังคนนำร่องใน 11 กลุ่มอาชีพ ได้แก่ ก่อสร้างสถาปัตย์โยธา, ไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์, โลจิสติกส์, บริการยานยนต์, โรงแรมและท่องเที่ยว, ค้าปลีก, เครื่องยนต์เล็ก, ธุรกิจและบริการอาหาร, ยานยนต์ชิ้นส่วน, เครื่องปรับอากาศและเครื่องทำความเย็น และเครื่องจักรกลและโลหะการและเครื่องจักรกลการเกษตร
แต่ข้อมูลดังกล่าวยังขาดความชัดเจน และมีที่มาจากหลากหลายแหล่ง ไม่ว่าจะเป็นกระทรวงต่างๆ สมาคมหรือสมาพันธ์ จึงขอให้ภาคเอกชนได้สำรวจข้อมูลเพิ่มเติมตามแบบฟอร์มของกระทรวงศึกษาธิการ เพื่อให้ได้ข้อมูลที่ชัดเจนมากยิ่งขึ้น เช่น ความสามารถในการผลิตของอาชีวะรัฐและเอกชนแต่ละระดับ ความต้องการของภาคเอกชน/สถานประกอบการ จำนวนที่สามารถผลิตได้ตรงกับความต้องการ
จากนั้นจะหารือในเรื่องการเก็บข้อมูลและการวางแผนการผลิตร่วมกับสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศ หอการค้าไทย และสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ตลอดจนหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาทิ กระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงแรงงาน กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
อย่างไรก็ตาม กระทรวงศึกษาธิการเป็นเพียงผู้ผลิตกำลังคนให้กับทั้งภาคอุตสาหกรรม ภาคเกษตรกรรม และภาคบริการ ดังนั้นสถานประกอบการและภาคเอกชนซึ่งเป็นผู้ที่ใช้กำลังคน จำเป็นต้องให้ข้อมูลความต้องการในแต่ละสาขา-ระดับการศึกษา/ความชำนาญ-กรอบเวลาที่ชัดเจน เพื่อจะได้ผลิตคนให้รองรับความต้องการ ซึ่งในปัจจุบันยังพบว่ามีบางสาขาที่เอกชนต้องการคน แต่กระทรวงศึกษาธิการไม่ได้ผลิต เช่น ผลิตภัณฑ์พลาสติก นอกจากนี้ได้มีข้อเสนอแนะให้แยกบางสาขาวิชาออกมาสอนโดยตรง เช่น การผลิตมอเตอร์ไซค์ที่จะต้องแยกออกจากสาขาวิชาเครื่องยนต์ เป็นต้น
ทั้งนี้ ขณะนี้กระทรวงศึกษาธิการกำลังขับเคลื่อนและเตรียมการที่จะดำเนินงานด้านการอาชีวศึกษาในหลายส่วน ได้แก่ ทวิภาคีซึ่งเริ่มดำเนินการไปแล้ว การเตรียมโอนภารกิจอาชีวะเอกชนของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน (สช.) ไปอยู่ในการกำกับดูแลของสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) ซึ่งอาจจะต้องแก้ไขกฎหมายและมีการบริหารจัดงานในระยะนี้ให้มีความคืบหน้าตามเป้าหมาย รวมทั้งการแก้ปัญหาผู้มาเข้าเรียนสายอาชีวะลดลง ทั้งในส่วนของอาชีวะรัฐที่ลดลงร้อยละ 4 และอาชีวะเอกชนที่ลดลงถึงร้อยละ 20 โดยได้มอบให้ สอศ. และ สช.หาข้อมูลจำนวนนักเรียนนักศึกษาอาชีวะที่กู้ยืมเงินจากกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) ย้อนหลังเป็นเวลา 3 ปี เพื่อนำมาวิเคราะห์ความต้องการและการเข้าถึงทุนว่ามีนัยสำคัญหรือไม่ อย่างไร
ภาพ : ยุทธพงศ์ เลือกกลั่นดี
หากพบว่าเด็กมีความต้องการ แต่ไม่สามารถเข้าถึงกองทุนดังกล่าวได้ ก็ต้องมีการหารือร่วมกับกระทรวงการคลัง เพื่อพิจารณาขยายโอกาสแก่นักเรียนนักศึกษาในสาขาวิชาที่ขาดแคลนและเป็นความต้องการกำลังคนของประเทศในลำดับแรกต่อไป
ข่าวสำนักงานรัฐมนตรี 346/2558 ความก้าวหน้าการผลิตกำลังคนด้านอาชีวะ
รมว.ศึกษาธิการ เปิดเผยกับสื่อมวลชนว่า การประชุมครั้งนี้เป็นการติดตามงานด้านข้อมูลความต้องการกำลังคนระดับอาชีวะในด้านต่างๆ ของภาคเอกชน ซึ่งที่ประชุมได้รับทราบผลการสำรวจข้อมูลความต้องการและการผลิตกำลังคนนำร่องใน 11 กลุ่มอาชีพ ได้แก่ ก่อสร้างสถาปัตย์โยธา, ไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์, โลจิสติกส์, บริการยานยนต์, โรงแรมและท่องเที่ยว, ค้าปลีก, เครื่องยนต์เล็ก, ธุรกิจและบริการอาหาร, ยานยนต์ชิ้นส่วน, เครื่องปรับอากาศและเครื่องทำความเย็น และเครื่องจักรกลและโลหะการและเครื่องจักรกลการเกษตร
แต่ข้อมูลดังกล่าวยังขาดความชัดเจน และมีที่มาจากหลากหลายแหล่ง ไม่ว่าจะเป็นกระทรวงต่างๆ สมาคมหรือสมาพันธ์ จึงขอให้ภาคเอกชนได้สำรวจข้อมูลเพิ่มเติมตามแบบฟอร์มของกระทรวงศึกษาธิการ เพื่อให้ได้ข้อมูลที่ชัดเจนมากยิ่งขึ้น เช่น ความสามารถในการผลิตของอาชีวะรัฐและเอกชนแต่ละระดับ ความต้องการของภาคเอกชน/สถานประกอบการ จำนวนที่สามารถผลิตได้ตรงกับความต้องการ
จากนั้นจะหารือในเรื่องการเก็บข้อมูลและการวางแผนการผลิตร่วมกับสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศ หอการค้าไทย และสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ตลอดจนหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาทิ กระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงแรงงาน กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
อย่างไรก็ตาม กระทรวงศึกษาธิการเป็นเพียงผู้ผลิตกำลังคนให้กับทั้งภาคอุตสาหกรรม ภาคเกษตรกรรม และภาคบริการ ดังนั้นสถานประกอบการและภาคเอกชนซึ่งเป็นผู้ที่ใช้กำลังคน จำเป็นต้องให้ข้อมูลความต้องการในแต่ละสาขา-ระดับการศึกษา/ความชำนาญ-กรอบเวลาที่ชัดเจน เพื่อจะได้ผลิตคนให้รองรับความต้องการ ซึ่งในปัจจุบันยังพบว่ามีบางสาขาที่เอกชนต้องการคน แต่กระทรวงศึกษาธิการไม่ได้ผลิต เช่น ผลิตภัณฑ์พลาสติก นอกจากนี้ได้มีข้อเสนอแนะให้แยกบางสาขาวิชาออกมาสอนโดยตรง เช่น การผลิตมอเตอร์ไซค์ที่จะต้องแยกออกจากสาขาวิชาเครื่องยนต์ เป็นต้น
ทั้งนี้ ขณะนี้กระทรวงศึกษาธิการกำลังขับเคลื่อนและเตรียมการที่จะดำเนินงานด้านการอาชีวศึกษาในหลายส่วน ได้แก่ ทวิภาคีซึ่งเริ่มดำเนินการไปแล้ว การเตรียมโอนภารกิจอาชีวะเอกชนของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน (สช.) ไปอยู่ในการกำกับดูแลของสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) ซึ่งอาจจะต้องแก้ไขกฎหมายและมีการบริหารจัดงานในระยะนี้ให้มีความคืบหน้าตามเป้าหมาย รวมทั้งการแก้ปัญหาผู้มาเข้าเรียนสายอาชีวะลดลง ทั้งในส่วนของอาชีวะรัฐที่ลดลงร้อยละ 4 และอาชีวะเอกชนที่ลดลงถึงร้อยละ 20 โดยได้มอบให้ สอศ. และ สช.หาข้อมูลจำนวนนักเรียนนักศึกษาอาชีวะที่กู้ยืมเงินจากกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) ย้อนหลังเป็นเวลา 3 ปี เพื่อนำมาวิเคราะห์ความต้องการและการเข้าถึงทุนว่ามีนัยสำคัญหรือไม่ อย่างไร
หากพบว่าเด็กมีความต้องการ แต่ไม่สามารถเข้าถึงกองทุนดังกล่าวได้ ก็ต้องมีการหารือร่วมกับกระทรวงการคลัง เพื่อพิจารณาขยายโอกาสแก่นักเรียนนักศึกษาในสาขาวิชาที่ขาดแคลนและเป็นความต้องการกำลังคนของประเทศในลำดับแรกต่อไป
ที่มา ; เว็บ สำนักงานรัฐมนตรี กระทรวงศึกษาธิการ
ฟรี... ห้องเตรียม-ครูผู้ช่วย
-ผู้บริหาร-บุคลากรการศึกษา ที่
ฟรี... ห้องเตรียม-ครูผู้ช่วย
-ผู้บริหาร-บุคลากรการศึกษา ที่
" ติวสอบดอทคอม " โดย อ.นิกร
เว็บฟรีข้อสอบออนไลน์
(พัฒนาความรู้เตรียมครู-ผู้บริหาร-บุคลากร การศึกษา)
" ติวสอบดอทคอม " โดย อ.นิกร
เว็บฟรีข้อสอบออนไลน์
(พัฒนาความรู้เตรียมครู-ผู้บริหาร-บุคลากร การศึกษา)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น