เรื่องใหม่น่าสนใจ
-นโยบาย ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้
http://tuewsob.blogspot.com/2015/09/blog-post_93.html
-เกณฑ์การย้ายครู พ.ศ.2558 http://www.otepc.go.th/images/document/2558/v16-2558.pdf
-รัฐธรรมนูญ 2557 แก้ไข ครั้งที่ 1 พ.ศ.2558
- พรบ.เงินเดือนใหม่ข้าราชการครูฯ พ.ศ.2558
http://tuewsob.blogspot.com/2015/05/4-10-1-57.html
ข้อสอบออนไลน์ ( พัฒนาความรู้ครู - ผู้บริหาร - บุคลากรการศึกษา) ชุดใหม่ โดย อ.นิกร
ข้อสอบออนไลน์ ( พัฒนาความรู้ครู - ผู้บริหาร - บุคลากรการศึกษา) ชุดใหม่ โดย อ.นิกร
เตรียมสอบ บน ยูทูป ทั้งหมด ได้ที่
ข่าวสำนักงานรัฐมนตรี 343/2558หารือกับ สมศ.
ศึกษาธิการ – พลเอกดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ประชุมหารือกับศาสตราจารย์ ดร.มณฑล สงวนเสริมศรี ประธานกรรมการบริหารสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน) (สมศ.) ดร.ชาญณรงค์ พรรุ่งโรจน์ ผู้อำนวยการฯ และคณะผู้บริหาร สมศ. เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 8 ตุลาคม 2558 ที่ห้องประชุมราชวัลลภ
ดร.ชาญณรงค์ พรรุ่งโรจน์ ผู้อำนวยการ สมศ. กล่าวว่า การเข้าพบในครั้งนี้เพื่อแสดงความยินดีรัฐมนตรีในโอกาสเข้ารับตำแหน่ง และเพื่อบูรณาการการใช้ประโยชน์จากผลการประเมินคุณภาพภายนอกในการพัฒนาคุณภาพการศึกษาให้ดียิ่งขึ้น ซึ่งที่ผ่านมาได้ทำการประเมินไปแล้ว 3 รอบ โดยมีผลการประเมินรอบสาม ดังนี้
- ผลการรับรองมาตรฐานระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน รอบสาม (พ.ศ.2554-2558) ในสถานศึกษาจำนวนทั้งสิ้น 32,844 แห่ง มีผลการรับรองระดับดีมาก 2,574 แห่ง ระดับดี 17,802 แห่ง และยังไม่รับรอง 12,468 แห่ง คือ
-
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) มีผลการรับรองระดับดีมาก 2,198 แห่ง ระดับดี 15,803 แห่ง และไม่รับรอง 11,556 แห่ง
-
สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน (สช.) มีผลการรับรองระดับดีมาก 277 แห่ง ระดับดี 1,143 แห่ง และไม่รับรอง 545 แห่ง
-
สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) มีผลการรับรองระดับดีมาก 27 แห่ง ระดับดี 14 แห่ง และไม่รับรอง 2 แห่ง
- ผลการรับรองมาตรฐานด้านการอาชีวศึกษา รอบสาม (พ.ศ.2554-2558) ในสถานศึกษาจำนวน 782 แห่ง มีผลการรับรองระดับดีมาก 75 แห่ง ระดับดี 547 แห่ง และไม่รับรอง 160 แห่ง คือ
-
สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (อาชีวศึกษาของรัฐ) มีผลการรับรองระดับดีมาก 60 แห่ง ระดับดี 340 แห่ง และไม่รับรอง 15 แห่ง
-
สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน (หรืออาชีวศึกษาของเอกชน) มีผลการรับรองระดับดีมาก 15 แห่ง ระดับดี 205 แห่ง และไม่รับรอง 144 แห่ง
- ผลการรับรองมาตรฐานระดับอุดมศึกษา รอบสาม (พ.ศ.2554-2558) ในสถานศึกษาจำนวน 260 แห่ง มีผลการรับรองระดับดีมาก 79 แห่ง ระดับดี 177 แห่ง และไม่รับรอง 4 แห่ง
ในส่วนของการประเมินประเมินคุณภาพภายนอก รอบสี่ (พ.ศ.2559-2563) สมศ. ใช้เกณฑ์การประเมินตามกฎกระทรวงฯ 4 ด้านคือ 1) ผลการจัดการศึกษาในแต่ละระดับและประเภทการศึกษา 2) การบริหารจัดการศึกษา 3) การจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ 4) การประกันคุณภาพภายใน โดยมีแผนที่จะประเมินสถานศึกษาที่รับประเมินคุณภาพภายนอกรอบสาม (ปีงบประมาณ 554) และประเมินเชิงพื้นที่ รวม 22 จังหวัด ตั้งแต่เดือนมกราคม 2559 เป็นต้นไป
อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ สมศ.ได้นำเสียงสะท้อนจากสังคมและรับนโยบายจากรองนายกรัฐมนตรี (พลเอกประจิน จั่นตอง) ที่กำกับดูแล มาพัฒนาและปรับปรุงรูปแบบการประเมินในรอบสี่ แบ่งเป็น 2 ส่วน คือ
1) การประเมินเพื่อพัฒนา เป็นการประเมินตามข้อกำหนดของกฎหมายด้วยระบบเทคโนโลยีสารสนเทศแบบออนไลน์ (Compulsory Online Assessment) เพื่อลดภาระด้านเอกสาร มีความสะดวกและรวดเร็ว ทันสถานการณ์ โดยจะทำการจัดกลุ่มประเมินสถานศึกษา เพื่อรายงานต่อสถานศึกษาและต้นสังกัด 5 กลุ่ม ได้แก่
กลุ่มที่ 5 ต้นสังกัดควรให้การส่งเสริมในการเป็นต้นแบบ
กลุ่มที่ 4 ต้นสังกัดควรให้การส่งเสริมเพื่อยกระดับมาตรฐาน
กลุ่มที่ 3 ต้นสังกัดต้องให้การสนับสนุนเพื่อพัฒนา
กลุ่มที่ 2 ต้นสังกัดต้องให้การสนับสนุนเพื่อแก้ปัญหา
กลุ่มที่ 1 ต้นสังกัดต้องให้การสนับสนุนเพื่อแก้ปัญหาเร่งด่วน
2) การประเมินเพื่อรับรองมาตรฐาน เป็นการขอรับการประเมินเพื่อรับรองมาตรฐานตามความสมัครใจ (Voluntary Accreditation) ของสถานศึกษา จำแนกมาตรฐานเป็น 2 ส่วนคือ
- มาตรฐานระดับชาติ เพื่อส่งเสริมให้สถานศึกษาพัฒนาคุณภาพให้ได้มาตรฐานที่กำหนดใน 3 รูปแบบ ได้แก่ ประเมินทั่วไป ประเมินเฉพาะทาง และประเมินโดยกำหนดเป้าหมายร่วม
- มาตรฐานระดับนานาชาติ เพื่อส่งเสริมให้สถานศึกษาสู่ความเป็นเลิศ พัฒนาคุณภาพและยกระดับมาตรฐานสากล ใน 2 รูปแบบ คือ แบบก้าวหน้า โดยการประเมินร่วมไทย-สากล หรือประเมินโดยองค์กรนานาชาติ และแบบท้าทาย โดยการจัดอันดับอาเซียน จัดอันดับภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก และจัดอันดับโลก
ภาพ : ยุทธพงศ์ เลือกกลั่นดี
พลเอกดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ รมว.ศึกษาธิการ กล่าวว่า จากการรับฟังบรรยายสรุปผลการดำเนินงานของ สมศ.พบว่า การประเมินภายนอกเป็นเรื่องที่ดีและมีประโยชน์ เพียงแต่ที่ผ่านมาทั้งสองฝ่ายคือ ผู้ประเมินและผู้ถูกประเมิน ยังไม่ได้หันหน้ามาคุยกันหรือมีส่วนร่วมในการประเมินร่วมกัน จึงต้องการให้ทั้งสองฝ่ายเกิดความเข้าใจที่ตรงกันก่อนโดยได้มอบให้ปลัดกระทรวงศึกษาธิการทำหน้าที่ประสานผู้แทนจาก สพฐ., สอศ., สกอ. เข้าร่วมประชุมหารือในรายละเอียดของตัวชี้วัดการประเมินรอบสี่ในทุกระดับอย่างรอบคอบเสียก่อน เพื่อจะได้มีความเข้าใจที่ตรงกัน และสามารถสื่อสารไปยังสถานศึกษา ครู นักเรียนนักศึกษา ตลอดจนผู้ปกครอง ได้รับรู้และเข้าใจในทิศทางเดียวกัน
กลุ่มที่ 5 ต้นสังกัดควรให้การส่งเสริมในการเป็นต้นแบบ
กลุ่มที่ 4 ต้นสังกัดควรให้การส่งเสริมเพื่อยกระดับมาตรฐาน
กลุ่มที่ 3 ต้นสังกัดต้องให้การสนับสนุนเพื่อพัฒนา
กลุ่มที่ 2 ต้นสังกัดต้องให้การสนับสนุนเพื่อแก้ปัญหา
กลุ่มที่ 1 ต้นสังกัดต้องให้การสนับสนุนเพื่อแก้ปัญหาเร่งด่วน
- มาตรฐานระดับชาติ เพื่อส่งเสริมให้สถานศึกษาพัฒนาคุณภาพให้ได้มาตรฐานที่กำหนดใน 3 รูปแบบ ได้แก่ ประเมินทั่วไป ประเมินเฉพาะทาง และประเมินโดยกำหนดเป้าหมายร่วม
- มาตรฐานระดับนานาชาติ เพื่อส่งเสริมให้สถานศึกษาสู่ความเป็นเลิศ พัฒนาคุณภาพและยกระดับมาตรฐานสากล ใน 2 รูปแบบ คือ แบบก้าวหน้า โดยการประเมินร่วมไทย-สากล หรือประเมินโดยองค์กรนานาชาติ และแบบท้าทาย โดยการจัดอันดับอาเซียน จัดอันดับภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก และจัดอันดับโลก
ที่มา ; เว็บ สำนักงานรัฐมนตรี กระทรวงศึกษาธิการ
ฟรี... ห้องเตรียม-ครูผู้ช่วย
-ผู้บริหาร-บุคลากรการศึกษา ที่
ฟรี... ห้องเตรียม-ครูผู้ช่วย
-ผู้บริหาร-บุคลากรการศึกษา ที่
" ติวสอบดอทคอม " โดย อ.นิกร
เว็บฟรีข้อสอบออนไลน์
(พัฒนาความรู้เตรียมครู-ผู้บริหาร-บุคลากร การศึกษา)
" ติวสอบดอทคอม " โดย อ.นิกร
เว็บฟรีข้อสอบออนไลน์
(พัฒนาความรู้เตรียมครู-ผู้บริหาร-บุคลากร การศึกษา)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น