เรื่องใหม่น่าสนใจ
-คู่มือ 4 ชุด นโยบาย บริบริหาร ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้
http://academic.obec.go.th/web/node/1/77/govdoc_sec_detail/296
-เกณฑ์ประเมินคุณภาพภายนอกรอบสี่ โดย สมศ.
-เกณฑ์การย้ายครู พ.ศ.2558 http://www.otepc.go.th/images/document/2558/v16-2558.pdf
- พรบ.เงินเดือนใหม่ข้าราชการครูฯ พ.ศ.2558
http://tuewsob.blogspot.com/2015/05/4-10-1-57.html
ข้อสอบออนไลน์ ( พัฒนาความรู้ครู - ผู้บริหาร - บุคลากรการศึกษา) ชุดใหม่ โดย อ.นิกร
ข้อสอบออนไลน์ ( พัฒนาความรู้ครู - ผู้บริหาร - บุคลากรการศึกษา) ชุดใหม่ โดย อ.นิกร
เตรียมสอบ บน ยูทูป ทั้งหมด ได้ที่
ทีมเศรษฐกิจระดมมาตรการ
“สมคิด”มุ่งเดินหน้าปฏิรูปทำให้ประเทศดีกว่าเดิม
นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี กล่าวปาฐกถาพิเศษในงาน โพสต์ ฟอรั่ม 2015 ว่า ในช่วง 1 เดือนที่ผ่านมา ทีมเศรษฐกิจชุดใหม่พยายามหยุดยั้งการชะลอตัว การทรุดตัวของเศรษฐกิจลง จะเห็นมาตรการหลายชุดที่ต้องการเพิ่มปริมาณเงินหมุนเวียนในระบบ ขณะเดียวกันได้พยายามวางพื้นฐาน ปูลู่ทางสำหรับการปฏิรูปเศรษฐกิจ ซึ่งเป็นจุดประสงค์ใหญ่ของรัฐบาลนี้ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ต้องการใช้เวลาที่เหลืออีก 1 ปีเศษ มุ่งไปที่การแก้ไขปัญหารากฐานของประเทศจริงๆ ไม่ใช่เพียงแค่การกระตุ้นเศรษฐกิจ จากวันนี้เป็นต้นไปจะเห็นการกระตุ้นเศรษฐกิจน้อยลงหรือเมื่อมีความจำเป็นเท่านั้น เพราะมาตรการที่ออกมาน่าจะประคับประคองให้เศรษฐกิจไทยผ่านพ้นในช่วงที่ยากลำบากนี้ไปได้
“การออกมาตรการช่วงเดือนเศษที่ผ่านมานั้น ไม่มีเจตนาผลักดันให้ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) เติบโตสวนกระแสโลกอย่างผิดปกติ แค่ต้องการยับยั้งการทรุดตัวของเศรษฐกิจและคิดว่ามาถึงจุดนี้ควรจะรอดู และประเมินผลว่าจะต้องใช้มาตรการอะไรแค่ไหน จากนี้ไปจะให้น้ำหนักอยู่ที่การปฏิรูปเป็นสำคัญ ถ้าไม่ทำในอนาคตจะลำบาก”
เปิด 4 ภารกิจปฏิรูปเศรษฐกิจ
นายสมคิดกล่าวว่า มีภารกิจ 4 กลุ่มงานที่อยากจะทำในเรื่องปฏิรูป ประกอบด้วย 1.การปรับโครงสร้างความสมดุลของการเติบโตของไทยโดยเฉพาะภาคที่เป็นรากฐานของประเทศ คือภาคเกษตรที่อ่อนแอ ยากจน ต้องสร้างความเข้มแข็งให้เกิดการเติบโตจากภายใน นโยบายต่อไปจะมองไปที่ภาคที่มีประชาชนส่วนใหญ่ คือ เกษตรกรและครอบครัวมีกว่า 30 ล้านคน มีส่วนแบ่งไม่ถึง 10% ของจีดีพี แล้วประเทศจะพัฒนาไปได้อย่างไร ถ้าตรงนี้ไม่ถูกยกระดับขึ้นมา อำนาจซื้อในประเทศจะเกิดขึ้นอย่างไร ดังนั้น นโยบายต่อไปจะมองไปที่พื้นที่ ทั้งการผลิต การแปรรูป การท่องเที่ยว วิสาหกิจชุมชน การสาธารณสุข การศึกษา
ภารกิจที่ 2 คือความสามารถในการแข่งขัน แปรสภาพจากการผลิตที่เน้นราคาถูก ต้นทุนต่ำ เน้นปริมาณ ไปสู่ประสิทธิภาพการผลิตนวัตกรรม และการเพิ่มคุณค่าให้สินค้า อยากเห็นเศรษฐกิจขับเคลื่อนโดยผู้ประกอบการจำนวนมากสร้างเอสเอ็มอี และธุรกิจใหม่หรือสตาร์ตอัพมากกว่าขับเคลื่อนกระจุกตัวแค่บริษัทใหญ่ 50 บริษัท ภารกิจที่ 3 เรื่องคลัสเตอร์ ในภาคอุตสาหกรรมหากจะแข่งขันตลาดโลกได้ต้องมีนวัตกรรม ระบบคลัสเตอร์มีความจำเป็นที่จะดึงนักลงทุนจากต่างประเทศเข้ามา และภารกิจที่ 4 คือการสร้างการเชื่อมโยง หรือคอนเนกติวิตี้ ไทยเป็นฮับหรือศูนย์กลางของอาเซียน ซึ่งจะไม่มีความหมายหากส่งสินค้าไปขายไม่ได้ จึงต้องสร้างระบบให้ประเทศไทยเป็นจุดตัดของเหนือ-ใต้ และตะวันออก-ตะวันตก จะเป็นกระบวนการลงทุนครั้งใหญ่อีก 4-5 ปีข้างหน้า
ทำให้เต็มที่จะเป็นเครื่องหมายไนกี้
นายสมคิดกล่าวว่า ภารกิจที่สำคัญอีกด้านคือ ให้กระทรวงการคลังดูขั้นตอนการให้เอกชนร่วมลงทุนในโครงการของรัฐหรือพีพีพีให้เร็วขึ้น และจะตามมาด้วยกองทุนโครงสร้างพื้นฐานหรืออินฟราสตรักเจอร์ฟันด์ รวมทั้งจะมีการจัดทำงบประมาณแบบบูรณาการ ใช้เวลา 2-3 ปี จะลงตัว สามารถประหยัดงบประมาณได้มหาศาล นอกจากนี้ ต้องมีเรื่องของการจัดระบบการเงินการคลังประเทศ เรื่องฐานภาษี การจ่ายภาษี เรื่องการปฏิรูปตลาดเงินตลาดทุน มีระบบที่ดีพอหรือยัง ต้นทุนต่ำพอหรือยัง วันนี้มีการพัฒนาอะไรแตกต่างจาก 10 ปีที่แล้ว มาร์เก็ตแคปที่มีอยู่สะท้อน การพัฒนาเศรษฐกิจในอนาคตหรือไม่ ได้บอกผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์แล้วว่าจะไปเยี่ยมจะพยายามให้รื้อกฎเกณฑ์ในตลาดหุ้นให้มีประสิทธิภาพสอดรับกับสากลและอนาคต
“สิ่งเหล่านี้ ผมฝันมา 10 กว่าปีแล้ว ไม่รู้ว่าจะมีเวลาทำแค่ไหน แต่อย่างน้อยๆทีมของผมเข้ามาแล้ว ผมจะไล่จี้ทุกวัน การที่จะปฏิรูปได้ไม่ใช่
แค่พวกผมอย่างเดียว ผมไม่ใช่เทวดา จะทำได้หรือไม่ได้อยู่ที่พวกคุณด้วย และเชื่อว่าถ้าเราทำแบบนี้อย่างไรก็ดีกว่าเดิมแน่นอน ผมไม่อยากให้ตื่นเต้นกับการทำนายเศรษฐกิจ ให้มั่นใจในตัวเองว่าควรจะทำในสิ่งที่ควรทำ ถ้ามีเวลามากพอประเทศไทยดีขึ้นแน่นอน ที่นายวีรพงษ์ รามางกูร อดีตรองนายกรัฐมนตรี บอกว่าเศรษฐกิจไทยจะค่อยๆเป็นตัว U ผมบอกว่าถ้าเราทำเต็มที่ในวันนี้จะเป็นเครื่องหมายไนกี้”
ขุนคลังวาง 3 แผนใหญ่เพื่ออนาคต
นายอภิศักดิ์ ตันติวรวงศ์ รมว.คลัง กล่าวว่า ได้วางแผนเอาไว้ 3 เรื่องใหญ่ที่จะดำเนินการต่อไปในอนาคตคือ 1.การส่งเสริมการลงทุนจากภาคเอกชน ได้ตั้งคณะทำงานเพื่อพิจารณาโดยตรง หวังว่ามาตรการนี้จะชักชวนให้เกิดการลงทุนในภาคเอกชนมากขึ้น 2. การปรับปรุงโครงสร้างภาษีภายในประเทศ แม้ว่าในปัจจุบันไทยจะลดภาษีเงินได้นิติบุคคลจาก 30% ลงมาเหลือ 20% แล้วก็ตาม แต่ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของไทยยังเก็บอยู่ในอัตราสูงสุดคือ 35% ขณะที่สิงคโปร์จัดเก็บ 17% เท่านั้น
“ขณะนี้การปรับปรุงภาษีเงินได้บุคคลธรรมดายังไม่สามารถทำได้ เพราะรัฐบาลจัดเก็บภาษีได้น้อยกว่ารายจ่าย จึงจำเป็นต้องวางแผนไปสู่แผนงานที่ 3 คือ ระบบการชำระเงินของประเทศด้วยการใช้อิเล็กทรอนิกส์ หรือ e-Payment เพื่อทำให้เศรษฐกิจไทยเติบโตอย่างยั่งยืนต่อไปอีก 10-20 ปี เพื่อให้ระบบนี้มาทดแทนการใช้เงินสดเพื่ออุดการรั่วไหลของภาษี ซึ่งคาดว่าภายใน 1 เดือนจากนี้ไปแผนงานที่ศึกษาเอาไว้จะแล้วเสร็จ ส่วนกรณีนายวีรพงษ์ รามางกูร อดีตรองนายกรัฐมนตรี ระบุว่า ภาพรวมเศรษฐกิจไทยยังคงชะลอตัวต่อเนื่องไปอีก 5 ปีว่า นายวีรพงษ์ เป็นกูรูทางด้านเศรษฐกิจคนหนึ่ง ซึ่งเรื่องดังกล่าวตนพร้อมรับฟังความเห็นจากท่าน”
นางอรรชกา ศรีบุญเรือง รมว.อุตสาหกรรม กล่าวว่า จะร่วมกับสำนักงานส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) กำหนดมาตรการเพิ่มสิทธิประโยชน์
การลงทุนเพิ่มเป็นกรณีพิเศษสำหรับกิจการที่จะขอนำเข้าบุคคลที่มีความสามารถพิเศษทางด้านการวิจัยและในธุรกิจนวัตกรรมใหม่ที่เก่งด้านเทค
โนโลยีระดับโลกเข้ามาทำงานในกิจการที่รับบีโอไอโดยจะเสนอให้กระทรวงการคลังยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเหลือ 0% เพื่อแข่งขันกับนโยบายของสิงคโปร์ดึงนักวิจัยระดับโลกเข้าไปทำงาน ที่ขณะนี้ยังเก็บภาษีดังกล่าว 10-20% ตามประเภทอุตสาหกรรม เมื่อได้ข้อสรุปจะเสนอกระทรวงการคลังพิจารณาเพื่อให้สามารถออกเป็นเงื่อนไขการลงทุนของบีโอไอให้เร็วที่สุดเพื่อเปิดโอกาสให้ผู้ต้องการใช้บุคลากรระดับโลกมายื่นขอบีโอไอได้ภายใน 31 ธ.ค.2559 และต้องเริ่มลงทุนในปี 2560 เป็นต้นไป
การลงทุนเพิ่มเป็นกรณีพิเศษสำหรับกิจการที่จะขอนำเข้าบุคคลที่มีความสามารถพิเศษทางด้านการวิจัยและในธุรกิจนวัตกรรมใหม่ที่เก่งด้านเทค
โนโลยีระดับโลกเข้ามาทำงานในกิจการที่รับบีโอไอโดยจะเสนอให้กระทรวงการคลังยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเหลือ 0% เพื่อแข่งขันกับนโยบายของสิงคโปร์ดึงนักวิจัยระดับโลกเข้าไปทำงาน ที่ขณะนี้ยังเก็บภาษีดังกล่าว 10-20% ตามประเภทอุตสาหกรรม เมื่อได้ข้อสรุปจะเสนอกระทรวงการคลังพิจารณาเพื่อให้สามารถออกเป็นเงื่อนไขการลงทุนของบีโอไอให้เร็วที่สุดเพื่อเปิดโอกาสให้ผู้ต้องการใช้บุคลากรระดับโลกมายื่นขอบีโอไอได้ภายใน 31 ธ.ค.2559 และต้องเริ่มลงทุนในปี 2560 เป็นต้นไป
เดินหน้าโครงสร้างพื้นฐานคมนาคม
นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รมว.คมนาคม เปิดเผยว่า การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเชื่อมโยงโครงข่ายคมนาคมที่เป็นโครงการขนาดใหญ่ หรือเมกะโปรเจกต์ไม่ใช่มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ แต่เป็นการสร้างโครงสร้างพื้นฐานในอนาคต ช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจระยะยาว โดยคาดว่าในอีก 5 ปีข้างหน้า เศรษฐกิจในต่างจังหวัดจะดีขึ้นเพราะเศรษฐกิจชายแดน ประกอบกับการพัฒนาการขนส่งที่ดีขึ้น
ทั้งนี้ กระทรวงคมนาคมมีกิจกรรม 3 ด้านที่จะตอบโจทย์การพัฒนากิจการด้านคมนาคม คือ 1. ขับเคลื่อนโครงการลงทุนภาครัฐ 2.ปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐาน 3.การแก้ไขปัญหาโดยขณะนี้คมนาคมอยู่ระหว่างพัฒนาโครงการรถไฟทางคู่ขนาด 1 เมตร 6 เส้นทาง ซึ่งอยู่ระหว่างการเปิดประกาศประกวด ราคา 2 เส้นทาง ส่วนอีก 4 เส้นทาง คาดว่าจะประกวดราคาได้ในปีหน้า
สำหรับโครงการความร่วมมือพัฒนาโครงการรถไฟขนาดราง 1.435 ม. เช่น โครงการรถไฟไทย-จีน รถไฟไทย-ญี่ปุ่น อยู่ระหว่างดำเนินการ ส่วนเรื่องการตั้งกองทุนโครงสร้างพื้นฐานนั้น เป็นการลดภาระจีดีพี หากต้องการให้ประชาชนและเอกชนทั่วไปสนใจกองทุนโครงสร้างพื้นฐานจะต้องมีผลตอบแทนคืนสู่นักลงทุนตั้งแต่ปีแรก
นายอุตตม สาวนายน รมว.เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) กล่าวว่า ได้เดินหน้าปฏิรูปประเทศเพื่อเปลี่ยนผ่านการใช้เทคโนโลยีไปสู่ยุคดิจิตอลหรือดิจิตอลไทยแลนด์ เนื่องจากการใช้เทคโนโลยีดิจิตอลจะช่วยยกระดับและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ และยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน อีกทั้งยังทำให้เกิดการพัฒนาต่อยอดนวัตกรรมต่างๆ และสร้างโอกาสใหม่ให้กับประเทศไทยด้วย สำหรับโจทย์ใหญ่ของกระทรวงไอซีทีที่จะขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมดิจิตอลให้เห็นผลเป็นรูปธรรมจับต้องได้ใน 3 เดือนข้างหน้า.
ที่มา ; เว็บ นสพ.ไทยรัฐ
ฟรี... ห้องเตรียม-ครูผู้ช่วย
-ผู้บริหาร-บุคลากรการศึกษา ที่
ฟรี... ห้องเตรียม-ครูผู้ช่วย
-ผู้บริหาร-บุคลากรการศึกษา ที่
" ติวสอบดอทคอม " โดย อ.นิกร
เว็บฟรีข้อสอบออนไลน์
(พัฒนาความรู้เตรียมครู-ผู้บริหาร-บุคลากร การศึกษา)
" ติวสอบดอทคอม " โดย อ.นิกร
เว็บฟรีข้อสอบออนไลน์
(พัฒนาความรู้เตรียมครู-ผู้บริหาร-บุคลากร การศึกษา)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น