เรื่องใหม่น่าสนใจ
-นโยบาย ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้
http://tuewsob.blogspot.com/2015/09/blog-post_93.html
-เขตที่เปิดสอบ-เกณฑ์สอบ-กำหนดการสอบครูผู้ช่วย รอบ 2 / 2558
-เกณฑ์การย้ายครู พ.ศ.2558 http://www.otepc.go.th/images/document/2558/v16-2558.pdf
-รัฐธรรมนูญ 2557 แก้ไข ครั้งที่ 1 พ.ศ.2558
- พรบ.เงินเดือนใหม่ข้าราชการครูฯ พ.ศ.2558
http://tuewsob.blogspot.com/2015/05/4-10-1-57.html
ข้อสอบออนไลน์ ( พัฒนาความรู้ครู - ผู้บริหาร - บุคลากรการศึกษา) ชุดใหม่ โดย อ.นิกร
ข้อสอบออนไลน์ ( พัฒนาความรู้ครู - ผู้บริหาร - บุคลากรการศึกษา) ชุดใหม่ โดย อ.นิกร
เตรียมสอบ บน ยูทูป ทั้งหมด ได้ที่
นายกฯ ลงนาม ตั้ง 21 กรธ.-200 สปท.แล้ว 'มีชัย'นั่ง ปธ.กรธ. รู้ไม่ง่าย
นายกฯลงนามแต่งตั้ง 21 กรธ.-200 สปท.แล้ว"มีชัย ฤชุพันธ์"นั่งประธาน กรธ.ตามคาด เจ้าตัว ยันรับได้เปิดใจ"รู้ไม่ง่ายต้องอดทนทำงาน"วางกรอบ5 ข้อร่าง รธน.ตาม รธน.ชั่วคราว ม.35
วันที่ 5 ต.ค. นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี แถลง ภายหลังร่วมประชุม คสช. กรณีแต่งตั้งกรรมการ ร่าง รธน. 21 คน (กรธ.) และสมาชิกสภาการขับเคลื่อนปฏิรูปประเทศ จำนวน 200 คน (สปท.) ว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้า คสช. ลงนาม แต่งตั้ง นายมีชัย ฤชุพันธ์ สมาชิก คสช.เป็นประธานกรรมการยกร่าง รธน.แล้ว พร้อมแต่งตั้ง กรรมการยกร่าง รธน.ทั้ง 21 คน และลงนาม แต่งตั้งสมาชิกสภาการขับเคลื่อนปฏิรูปประเทศ จำนวน 200 คนแล้ว
ขณะที่ นายมีชัย ฤชุพันธ์ ประธาน กรธ. กล่าวเปิดใจ ว่า ที่ผ่านมา ที่ไม่พูดอะไร เพราะเป็นไปตามกระบวนการ ส่วนที่ตนรับตำแหน่งดังกล่าว มีเหตุผลมาจาก ท่านนายกฯ ได้เชิญไปพบ เพื่อชวนทำงาน ตำแหน่งประธานร่าง รธน. ผมเองก็เรียนถามท่านว่า มีความจำเป็นขนาดไหน ให้ผมลงมาทำงานตรงนี้ นายกฯ ตอบว่ามีความจำเป็นอย่างมาก ที่ต้องให้มาทำงาน ผมจึงไม่มีเหตุผลอะไรซักไซ้มากกว่านี้ เพราะถือเป็นดุลพินิจท่านนายกฯ ที่จะพิจารณา ผมจึงต้องให้ความร่วมมือเต็ม ตามความสามารถ ผมจึงต้องเข้าช่วยงาน ซึ่งก็รู้งานครั้งนี้ ไม่ใช่เรื่องง่ายมีอุปสรรคไม่ใช่น้อย ซึ่งทุกคนก็ต้องช่วยกันทำให้ประเทศเดินสามารถไปข้างหน้าได้ ต้องอดทนทำงาน ส่วนเหตุผลที่ไม่ได้พูดรับหรือไม่รับตำแหน่ง ประธาน กรธ.จนต้องรอถึงวันนี้ เพราะมันมีขั้นตอน ต้องประชุม คสช. ท่านนายกฯ ก็ดีที่ทำตามวิธีการ นายกฯ ถามรับได้ไหม ก็บอกว่ารับได้
ส่วนประเด็นที่ว่า คนอาจสังสัยว่า ในที่สุดผมไม่เป็นตัวของตัวเองต้องร่างฯ ไปตามมีผู้สั่ง เรียนตามตรงว่า การร่าง รธน.ไม่มีใครสามารถร่าง รธน.ตามใจตัวเองได้ เพราะไม่ได้เอาไปใช้ในบ้าน แต่ต้องร่าง รธน.ตามกรอบ ร่าง รธน.ม.35 กำหนด ซึ่งคณะกรรมการ ร่าง รธน.ก็จะดำเนินการไปตามกรอบนั้น
ส่วนกรณี ที่ คสช. ซึ่งมีอำนาจรัฏฐาธิปัตย์ มีคนถามไถ่ว่า คสช.มีกรอบความคิดอย่างไร จากที่ผมได้ไปหารือมา สรุป มีทั้งหมด 5 ประการ 1.ร่าง รธน.ต้องให้เป็นที่ยอมรับของสากล แต่ขณะเดียวกันต้องร่างฯ รธน.ที่มีสอดคล้อง ธรรมเนียมเป็นไปตามวิถีชีวิตคนไทย 2. มีกลไกและประสิทธิภาพในการปฏิรูปขับเคลื่อนประเทศให้เดินหน้า 3. ต้องไม่ให้การเมืองใช้เงินไปหลอกลวงประชาชนทั้งประเทศ จนทำให้เกิดเสียหายร้ายแรง จนเกิดวิกฤติหาทางออกไม่ได้อีก 4. ต้องสามารถปราบปรามการทุจริตคอร์รัปชันได้อย่างมีประสิทธิภาพ 5.สร้างกลไกที่มีประสิทธิภาพ ในการให้มีส่วนร่วมของประชาชน
อย่างไรก็ตาม นายมีชัยกล่าวต่อว่า ในวันพรุ่งนี้ เวลาประมาณ 13.30 น. จะได้นัดประชุม กรธ.ทั้ง 21 คน เป็นนัดแรก เพื่อวางกรอบการทำงาน
รายชื่อ กรธ. 21 คน มีดังนี้
1. นายมีชัย ฤชุพันธ์ สมาชิกคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ปธ.กรธ.
2. นางกีระณา สุมาวงศ์ เนติบัณฑิต
3. นางจุรี วิจิตรวาทการ อดีตอธิการบดี สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (NIDA)
4. นายชาติชาย ณ เชียงใหม่ อดีตรองอธิการบดี สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (NIDA)
5. นายธนาวัฒน์ สังข์ทอง กรรมการร่างกฎหมายประจำสำนักงานคณะกรรมกฤษฎีกา
6. นายธิติพันธ์ เชื้อบุญชัย อดีตสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ
7. นายเธียรชัย ณ นคร อาจารย์คณะนิติศาสตร์ มสธ.
8. นายนรชิต สิงหเสนี อดีตปลัดกระทรวงการต่างประเทศ
9. พล.อ.นิวัติ ศรีเพ็ญ อดีตเจ้ากรมพระธรรมนูญ
10. นายปกรณ์ นิลประพันธ์ กรรมการร่างกฎหมายประจำสำนักงานคณะกรรมกฤษฎีกา
11. นายประพันธ์ นัยโกวิท อดีต กกต.
12. นายภัทระ คำพิทักษ์ ประธานสภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ
13. นายภุมรัตน์ ทักษาดิพงษ์ อดีตผู้อำนวยการ สำนักข่าวกรองแห่งชาติ
14. พล.ต.วิระ โรจนวาศ อดีตผู้อำนวยการสำนักพระธรรมนูญทหารบก
15. นายศุภชัย ยาวะประภาษ คณบดีคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
16. นายสุพจน์ ไข่มุกด์ อดีตตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ
17. นายอมร วาณิชวิวัฒน์ อาจารย์รัฐศาสตร์ จุฬาฯ และอดีต สปช.
18. นายอภิชาต สุขัคคานนท์ อดีต ประธาน กกต.
19. นายอุดม รัฐอมฤต รองอธิการบดี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
20. นายอัชพร จารุจินดา กรรมการกฤษฎีกาและอดีตเลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
21. พล.อ.อัตรพร เจริญพาณิช อดีตเจ้ากรมพระธรรมนูญ กระทรวงกลาโหม
ประวัติ
นายมีชัย ฤชุพันธุ์ เกิดเมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2481 ปัจจุบันอายุ 77 ปี จบการศึกษานิติศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, ปริญญาโทด้านกฎหมายเปรียบเทียบ จาก Southern Methodist University สหรัฐอเมริกา โดยทุนรัฐบาลไทย, ฝึกงานโครงการ Legislative Internship Program ของรัฐเทกซัส ประเทศสหรัฐอเมริกา
นอกจากนี้ยังได้รับปริญญากิตติมศักดิ์ นิติศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ จากมหาวิทยาลัยอดัมสัน สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ พ.ศ.2529, นิติศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ จากมหาวิทยาลัยศรีปทุม พ.ศ.2539, นิติศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ จากมหาวิทยาลัยรามคำแหง พ.ศ.2540, นิติศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ จากมหาวิทยาลัยกรุงเทพ พ.ศ.2545
ประวัติการทำงาน นายมีชัย เริ่มรับราชการที่สำนักงาน ก.พ. และมาใช้ทุนรัฐบาลที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา จนได้เป็นผู้อำนวยการกองยกร่างกฎหมายคนแรกของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา และก้าวหน้าในราชการเรื่อยมาจนได้รับตำแหน่งกรรมการร่างกฎหมายประจำ (นักกฎหมายกฤษฎีกาเชี่ยวชาญและนักกฎหมายกฤษฎีกาทรงคุณวุฒิ) สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ต่อมาได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งที่ปรึกษานายกรัฐมนตรีฝ่ายกฎหมาย ในรัฐบาล นายสัญญา ธรรมศักดิ์, ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช, ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช, ธานินทร์ กรัยวิเชียร และ พล.อ.เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ ใน พ.ศ. 2517-2518 ได้รับแต่งตั้งเป็นที่ปรึกษากฎหมายสำนักนายกรัฐมนตรี
อีกทั้ง ยังเคยดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในรัฐบาล พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ระหว่าง พ.ศ. 2523 - 2531 และรัฐบาล พล.อ.ชาติชาย ชุณหะวัณ ระหว่าง พ.ศ. 2531 - 2533 และดำรงตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรี ในรัฐบาล นายอานันท์ ปันยารชุน และรัฐบาล พล.อ.สุจินดา คราประยูร ระหว่าง พ.ศ. 2534 - 2535
ทั้งนี้ นายมีชัยยังเคยได้รับพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง ให้ดำรงตำแหน่งสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ 2 สมัย คือ ระหว่าง พ.ศ. 2520 - 2522 และระหว่าง พ.ศ. 2532 - 2534 และดำรงตำแหน่งสมาชิกวุฒิสภา 3 สมัย ระหว่าง พ.ศ. 2526-2532, พ.ศ. 2535-2539 และ พ.ศ. 2539-2543 โดยได้ดำรงตำแหน่งประธานวุฒิสภาและประธานรัฐสภา ระหว่างวันที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2535 ถึง 21 มีนาคม พ.ศ. 2543
โดย นายมีชัย ยังเป็นผู้ผลักดันให้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญ พุทธศักราช 2534 เพื่อจัดให้มีสภาร่างรัฐธรรมนูญ หรือ สสร. เพื่อดำเนินการยกร่างรัฐธรรมนูญ อันเป็นที่มาของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540
โดยในเหตุการณ์รัฐประหาร เมื่อ พ.ศ. 2549 นายมีชัยเป็นที่ปรึกษาคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (คปค.) ฝ่ายกฎหมาย มีบทบาทในการร่างแถลงการณ์ประกาศและคำสั่ง คปค. หลายฉบับ และร่างรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว ร่วมกับ นายวิษณุ เครืองาม และนายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ และถอนตัวออกไปหลังการประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว เนื่องจากถูกวิพากษ์วิจารณ์ถึงบทบาทการทำงานในอดีต
นอกจากนี้ นายมีชัย ยังได้ดำรงตำแหน่งประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ และเป็นกรรมการสำคัญๆ อีกหลายตำแหน่ง เช่น ประธานกรรมการกฤษฎีกา คณะที่ 1 (กฎหมายการเมืองการปกครอง) โดยได้รับโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้เป็นกรรมการกฤษฎีกา ตั้งแต่ พ.ศ. 2525 ถึงปัจจุบัน ประธานคณะกรรมการปรับปรุงกฎหมายเพื่อการพัฒนาประเทศ ประธานอนุกรรมการเพื่อพิจารณาร่างพระราชบัญญัติบรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย พ.ศ. ....ในคณะกรรมการปรับปรุงกฎหมายเพื่อการพัฒนาประเทศ ประธานอนุกรรมการสาขากฎหมายบริหารปกครอง ในคณะกรรมการปรับปรุงกฎหมายเพื่อการพัฒนาประเทศ ปะธานอนุกรรมการสาขากฎหมายล้มละลาย ในคณะกรรมการปรับปรุงกฎหมายเพื่อการพัฒนาประเทศ ประธานอนุกรรมการพิจารณาการปรับปรุงอัตราเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งข้าราชการอัยการ ในคณะกรรมการปรับปรุงกฎหมายเพื่อการพัฒนาประเทศ ประธานอนุกรรมการพิจารณาการปรับปรุงค่าตอบแทนสำหรับคณาจารย์คณะนิติศาสตร์ในมหาวิทยาลัยของรัฐ ในคณะกรรมการปรับปรุงกฎหมายเพื่อการพัฒนาประเทศ ประธานอนุกรรมการพิจารณายกเลิกกฎหมาย ในคณะกรรมการปรับปรุงกฎหมายเพื่อการพัฒนาประเทศ กรรมการจัดทำพจนานุกรมทางกฎหมาย ราชบัณฑิตยสภา กรรมการข้าราชการตำรวจผู้ทรงคุณวุฒิ.
ที่มา ; เว็บ นสพ.ไทยรัฐ
ฟรี... ห้องเตรียม-ครูผู้ช่วย
-ผู้บริหาร-บุคลากรการศึกษา ที่
ฟรี... ห้องเตรียม-ครูผู้ช่วย
-ผู้บริหาร-บุคลากรการศึกษา ที่
" ติวสอบดอทคอม " โดย อ.นิกร
เว็บฟรีข้อสอบออนไลน์
(พัฒนาความรู้เตรียมครู-ผู้บริหาร-บุคลากร การศึกษา)
" ติวสอบดอทคอม " โดย อ.นิกร
เว็บฟรีข้อสอบออนไลน์
(พัฒนาความรู้เตรียมครู-ผู้บริหาร-บุคลากร การศึกษา)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น