เรื่องใหม่ ...น่าโหลด...(วันนี้)
-1.ปฎิทินและเกณฑ์สอบผู้บริหารสถานศึกษา สพฐ.ปี 2558
3.เครื่องแบบพนักงานราชการ 2557
-เกณฑ์สอบผู้บริหารสถานศึกษา 2557
- คำแถลงนโยบายของคณะรัฐมนตรีต่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
-นโยบาย รัฐมนตรีกระทรวงศึกษาธิการ
- ครม.ประยุทธ์ 1 ที่ http://tuewsob.blogspot.com/2014/08/blog-post_29.html
- รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ.2557
http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2557/A/055/1.PDF
- ตัวบ่งชี้ ประเมินคุณภาพภายนอกรอบสี่ พื้นฐาน-อุดม-อาชีว
โดย สมศ.
-นโยบาย รัฐมนตรีกระทรวงศึกษาธิการ
- ครม.ประยุทธ์ 1 ที่ http://tuewsob.blogspot.com/2014/08/blog-post_29.html
- รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ.2557
http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2557/A/055/1.PDF
- ตัวบ่งชี้ ประเมินคุณภาพภายนอกรอบสี่ พื้นฐาน-อุดม-อาชีว
ข้อสอบออนไลน์ ( สอบครู - ผู้บริหาร - บุคลากรการศึกษา) ชุดใหม่ล่าสุด
ProProfs - ข้อสอบออนไลน์ ชุด 300 รอบรู้ ภาษาอังกฤษที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงาน »Online quiz software
ข้อสอบออนไลน์ ( สอบครู - ผู้บริหาร - บุคลากรการศึกษา) ชุดใหม่ล่าสุด
ProProfs - ข้อสอบออนไลน์ ชุด 300 รอบรู้ ภาษาอังกฤษที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงาน »Online quiz software
ติวสอบ บน ยูทูป ทั้งหมด ได้ที่
ติวสอบ บน ยูทูป ทั้งหมด ได้ที่
ขีดเส้นตายศุกร์นี้! 'อาเบะ' เหลือทางเลือกไม่มาก ช่วย 2 ตัวประกัน
เหตุการณ์กลุ่มติดอาวุธ 'รัฐอิสลามในซีเรีย' หรือ 'ไอซิส' จับตัวชายชาวญี่ปุ่น 2 คนเป็นตัวประกัน และเรียกค่าไถ่กับรัฐบาลแดนอาทิตย์อุทัยเป็นเงินถึง 200 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ โดยให้เวลาจ่ายเงินเพียง 72 ชั่วโมง มิเช่นนั้นจะสังหารตัวประกันทั้ง 2 คน กำลังเป็นเรื่องที่ทั่วโลกจับตามองที่สุดในขณะนี้ ว่านายกรัฐมนตรีชินโสะ อาเบะ จะช่วยเหลือพลเมืองของเขาอย่างไร ในขณะที่เวลากำลังจะหมดลงในอีกไม่กี่ชั่วโมงข้างหน้า
เมื่อวันอังคารที่ 20 ม.ค. ทั่วโลกโดยเฉพาะประชาชนชาวญี่ปุ่นต้องตกตะลึง เมื่อกลุ่มติดอาวุธรัฐอิสลามในซีเรีย เผยแพร่คลิปวีดิโอความยาว 1:40 นาที ชื่อว่า 'สารถึงรัฐบาลและประชาชนญี่ปุ่น' แสดงให้เห็นตัวประกันชาวญี่ปุ่น 2 คนได้แก่นาย เคนจิ โกโตะ อายุ 47 ปี และนาย ฮารูนะ ยูคาวะ อายุ 42 ปี คุกเข่าอยู่เบื้องหน้าชายชุดดำ ซึ่งชาวโลกน่าจะคุ้นตาแล้วจากคลิปวีดิโอสังหารโหดตัวประกันคลิปก่อนๆของกลุ่มไอซิส
ในคลิปวีดิโอ ชายชุดดำกล่าวแสดงความไม่พอใจที่ นายกรัฐมนตรีชินโสะ อาเบะ แห่งญี่ปุ่น ประกาศจะมอบเงินสนับสนุนที่ไม่เกี่ยวข้องกับการทหาร จำนวน 200 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ แก่ประเทศในตะวันออกที่กำลังต่อสู้กับกลุ่มไอซิส ซึ่งชายชุดดำระบุว่าญี่ปุ่นอาสาเขาร่วมสงครามศักดิ์สิทธิ์ครั้งนี้เอง และเรียกร้องเงินค่าไถ่เป็นจำนวน 200 ดอลลาร์สหรัฐฯเท่ากัน เพื่อแลกกับชีวิตของตัวประกันทั้ง 2 คน โดยให้เวลาตัดสินใจ 72 ชั่วโมง
ตามรายงานของสื่อสำนักต่างๆ ตัวประกันทั้ง 2 คนจับตัวไปในปี 2014 โดยนายยูคาวะถูกกลุ่มไอซิสจับตัวเมื่อ 17 ส.ค. ใกล้เมืองดาบิค ทางตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศซีเรีย ขณะที่นายโกโตะ ซึ่งเป็นนักเขียนและผู้สื่อข่าวอิสระ ถูกจับตัวเมือเดือนต.ค. หลังจากเดินทางไปทำข่าวที่เมืองรักกะ ฐานที่มั่นสำคัญของกลุ่มไอซิส
กรณีการจับตัวประกันเรียกค่าไถ่ของกลุ่มไอซิสในครั้งนี้ ทำให้นายกฯอาเบะตกที่นั่งลำบากอย่างมาก เขาประกาศว่าจะช่วยเหลือนายโกโตะ และนายยูคาวะให้ได้ ขณะที่ยืนยันจะรักษาแนวทางการต่อสู้กับกับผู้ก่อการร้ายโดยไม่ยอมจำนน หรือยอมจ่ายค่าไถ่เอาไว้ ทำให้ญี่ปุ่นเหลือทางเลือกในการช่วยเหลือตัวประกันทั้ง 2 คนเพียงไม่กี่ทางเท่านั้น และทุกทางก็ล้วนส่งผลสะท้อนในด้านลบกลับมาหาญี่ปุ่นทั้งสิ้น
ทางเลือกที่ 1 คือ ตัดใจยอมจ่ายเงินค่าไถ่
เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นได้ยาก เนื่องจากนายกฯอาเบะ ประกาศกร้าวเอาไว้แล้วว่าจะไม่ยอมก้มหัวให้แก่ผู้ก่อการร้ายดังที่กล่าวเอาไว้ในข้างต้น แต่ต้องไม่ลืมว่า นโยบายต่างประเทศของญี่ปุ่นในยุคหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นนโยบายด้านมนุษยธรรมเกือบทั้งหมด จึงมีความเป็นไปได้ที่ญี่ปุ่นจะยอมจ่ายเงินค่าไถ่แลกกับชีวิตพลเรือน
แต่หากยอมจ่ายค่าไถ่ นายกฯอาเบะจะต้องเผชิญเสียงตำหนิอย่างรุนแรงจากนานาชาติ เพราะกลืนน้ำลายตัวเองทั้งที่ลงนามในแถลงการณ์หลังการประชุม จี8 เมื่อ 2013 ซึ่งระบุว่าพวกเขาไม่ยอมรับการจ่ายเงินค่าไถ่แก่ผู้ก่อการร้าย และขอเรียกร้องให้ประเทศและบริษัทต่างๆทั่วโลก เจริญรอยตามการนำของพวกเขา
นอกจากนี้ยังเป็นการทำลายความน่าเชื่อถือของประเทศญี่ปุ่นในฐานะพันธมิตรใกล้ชิดกับสหรัฐฯและชาติยุโรป รวมทั้งเป็นการส่งเสริมให้เกิดการลักพาตัวขึ้นอีกในอนาคตด้วย
ทางเลือกที่ 2 คือ การเจรจาให้ปล่อยตัวประกันโดยไม่จ่ายเงินค่าไถ่
คล้ายกับข้อแรกคือนายกรัฐมนตรีญี่ปุ่นประกาศว่าจะไม่ยอมก้มหัวให้กับผู้ก่อการร้าย แต่เมื่อปีก่อน ลูกพี่ใหญ่อย่างสหรัฐอเมริกาซึ่งยึดมั่นในนโยบายแบบเดียวกันก็แสดงตัวอย่างให้เห็นมาแล้ว โดยเจรจากับกลุ่มตาลีบันเพื่อแลกเปลี่ยนตัวนักโทษกับทหารนายหนึ่ง
เหตุการณ์ดังกล่าวซึ่งเกิดขึ้นเมื่อเดือน มิ.ย. 2014 สหรัฐยอมปล่อยตัวสมาชิกตาลีบัน 5 คนในเรือนจำกวนตานาโม ในคิวบา แลกกับนายทหาร โบว เบิร์กดาห์ล ซึ่งถูกกลุ่มตาลีบันจับตัวเอาไว้นานถึง 5 ปี จนเกิดเสียงวิพากษ์วิจารณ์ภายในประเทศอย่างรุนแรงว่าสมควรหรือไม่ที่จะเจรจากับผู้ก่อการร้าย แต่ประธานาธิบดีบารัค โอบามา ออกมาปกป้องการตัดสินใจของเขาว่า เขาจะไม่ขอโทษกับการทำให้แน่ใจว่าเราจะได้ตัวชายหนุ่มคนนี้กลับไปหาครอบครัวของเขา
แต่ถึงกระนั้นก็ใช่ว่าญี่ปุ่นจะสามารถเสนอแลกเปลี่ยนตัวประกันแบบเดียวกับสหรัฐฯได้ เนื่องจากญี่ปุ่นไม่มีผู้ต้องสงสัยเชื่อมโยงกลุ่มไอซิสถูกคุมขังอยู่มากนัก ดังนั้นหากเลือกเจรจา ญี่ปุ่นต้องใช้สิ่งอื่นเดิมพัน เช่นยอมยกเลิกไม่จ่ายเงินช่วยเหลือมูลค่า 200 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เพื่อช่วยเหลือประเทศที่กำลังต่อสู้กับหลุ่มไอซิส แต่นายอาเบะก็กล่าวเอาไว้แล้วในวันอังคารที่ผ่านมา ว่า ญี่ป่นจะยังคงรักษาสัญญา
หรือญี่ปุ่นอาจจะพยายามโน้มน้าวให้ไอซิสเห็นข้อเท็จจริงว่า พวกเขาต่างจากสหรัฐฯหรือชาติตะวันกต คือไม่ได้เกี่ยวข้องโดยตรงกับปฏิบัติการทางทหารในอิรักหรือซีเรีย ก็อาจเป็นไปได้ว่าไอซิสจะยอมปล่อยตัวประกัน แม้ในประวัติศาสตร์จะเกิดขึ้นไม่มากนักก็ตาม
ทางเลือกที่ 3 คือ บุกช่วยเหลือตัวประกัน
การบุกช่วยเหลือตัวประกันโดยใช้ปฏิบัติการทางทหาร เป็นเรื่องที่แทบเป็นไปไม่ได้เลยสำหรับประเทศญี่ปุ่น ส่วนหนึ่งเพราะรัฐธรรมนูญญี่ปุ่น จำกัดปฏิบัติการทางทหารของญี่ปุ่นให้อยู่ในกรอบ การป้องกันตนเอง ภายในประเทศเท่านั้น
แต่ญี่ปุ่นก็อาจสามารถขอให้พันธมิตรอย่างสหรัฐฯส่งทหารช่วยเหลือตัวประกันได้ ซึ่งก็จะกลายเป็นความปัญหาสำหรับสหรัฐฯแทน เพราะหากยอมส่งทหารก็อาจเกิดปฏิกิริยาตอบโต้อย่างรุนแรงในประเทศ จากการทำให้ทหารอเมริกันต่องเข้าไปเสี่ยงเพื่อช่วยเหลือพลเมืองของประเทศอื่น
ในสถานการณ์ปัจจุบัน การบุกช่วยตัวประกันมีความเสี่ยงมาก เนื่องจากกลุ่มไอซิสขีดเส้นตายส่งเงินค่าไถ่ไว้ที่ 72 ชั่วโมง ทำให้เวลาในการรวบรวมข้อมูลมีจำกัด
หลายฝ่ายเชื่อว่าการเรียกค่าไถ่ชาวญี่ปุ่นในครั้งนี้ เป็นหนึ่งในยุทธศาสตร์การหาเงินทุนของกลุ่มไอซิส โดยตามการเปิดเผยของกระทรวงยุติธรรมสหรัฐฯ กลุ่มไอซิสทำเงินจากการเรียกค่าไถ่ได้ถึง 20 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯในปี 2014 และหากไม่ได้รับเงินตามที่ร้องขอ ก็สามารถใช้การสังหารตัวประกันจุดประเด็นสร้างความหวาดกลัวแก่สังคมได้อีกด้วย
ขณะที่นาย ยากากะ ทาคาโอกะ นักวิชาการประจำสถาบันตะวันออกกลางในญี่ปุ่น เชื่อว่าการที่กลุ่มไอซิสจับ 2 ตัวประกันชาวญี่ปุ่น อาจเป็นการกระทำเพื่อพยายามดึงความสนใจของชาวโลกให้กลับมาที่กลุ่มไอซิสอีกครั้ง หลังจากกลุ่มก่อการร้ายอัลเคดาในเยเมน โด่งดังขึ้นมาจนได้รับความสนใจจากเหตุการณ์โจมตีในฝรั่งเศส กอปรกับ นายกฯอาเบะกำลังอยู่ระหว่างการเยือนตะวันออกกลางพอดี ทำให้อาจจะยอมทำตามข้อเรียกร้องของกลุ่มไอซิส
หรือทางเลือกของญี่ปุ่นอาจจะไม่มีตั้งแต่ต้น นักวิเคราะห์หลายคนเห็นว่าการที่กลุ่มไอซิสตั้งค่าไถ่ตัวประกันชาวญี่ปุ่นเอาไว้ถึง 200 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือการเรียกร้องเงินค่าไถ่ถึง 132 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ แลกกับนายเจมส์ โฟลีย์ นักข่าวชาวอเมริกัน ซึ่งเป็นเหยื่อฆ่าตัดคอผ่านคลิปวีดิโอรายแรกของกลุ่มไอซิส เป็นจำนวนเงินที่สูงเกินไป ทำให้คิดได้ว่าไอซิสตั้งใจที่จะฆ่าตัวประกันตั้งแต่แรก โดยมีเรื่องเงินเป็นผลพลอยได้เท่านั้น
แต่ที่สุดแล้ว ไม่ว่าไอซิสจะมีเป้าหมายอย่างไร หรือญี่ปุ่นจะเลือกใช้วิธีใด ก็เป็นที่ชัดเจนว่า เวลาของ 2 ตัวประกันจะหมดลงในช่วงเที่ยงวันศุกร์นี้แล้ว
ที่มา: เว็บ สำนักงานรัฐมนตรี กระทรวงศึกษาธิการ
ที่มา: เว็บ สำนักงานรัฐมนตรี กระทรวงศึกษาธิการ
โดย www.tuewsob.com (ผอ.นิกร เพ็งลี)
อัพเดทเรื่องราว - ข้อสอบใหม่ ๆ
เข้าห้องสอบออนไลน์ ( ฟรี)
ห้องอื่น ๆ ที่น่าสนใจ
... ห้องติวสอบผู้บริหาร + การศึกษาพิเศษ
... ห้อง ติวสอบ (กรณีศึกษา)
ฟรี... ห้องติวสอบผู้บริหารสถานศึกษา-ครู-บุคลากรการศึกษา ที่
" ติวสอบดอทคอม " เขียน-สร้าง-บรรยาย โดย (ผอ.นิกร เพ็งลี)
อัพเดทเรื่องราว - ข้อสอบใหม่ ๆ
เข้าห้องสอบออนไลน์ ( ฟรี)
ห้องอื่น ๆ ที่น่าสนใจ
... ห้องติวสอบผู้บริหาร + การศึกษาพิเศษ
... ห้อง ติวสอบ (กรณีศึกษา)
ฟรี... ห้องติวสอบผู้บริหารสถานศึกษา-ครู-บุคลากรการศึกษา ที่
" ติวสอบดอทคอม " เขียน-สร้าง-บรรยาย โดย (ผอ.นิกร เพ็งลี)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น